2.3) การทดสอบประสิทธิภาพของ Streptomycin 2.5 mg/ml ต่อการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ
นำ Streptomycin 2.5 mg/ml มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ 5 ชนิด พบว่า มีประสิทธิภาพในการสร้างวงใสยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้แตกต่างกันดังแสดงในตารางที่ 26 แผนภาพที่ 2 และภาพที่ 130
ตารางที่ 26 ประสิทธิภาพของ Streptomycin 2.5 mg/ml ในการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ
แผนภาพที่ 2 ประสิทธิภาพของ Streptomycin 2.5 mg/ml ในการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบทั้ง 5 ชนิด
ภาพที่ 131 การสร้างวงใสของ Streptomycin 2.5 mg/ml ในการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบทดสอบ Bacillus cereus (A) และ Staphylococcus aureus 29231 (B)
3) ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ
3.1 ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด (Total Phenolic content)
ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 42 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกเท่ากับ 17.54 14.21 14.12 และ 10.23 mg gallic acid equivalent/g sample ตามลำดับ Deetae และ คณะ (2012) พบว่า ปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยง พบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และ แปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และ คณะ (2015) และ บทความวิชาการของ Tian และ คณะ (2016) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่าการสกัดในตัวทำละลายน้ำและบิวทานอล นอกจากนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกัน เนื่องจาก ชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกันทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสี กลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสดโดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่ม
คาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมีการหมักบางส่วนและชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenoloxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน(thearubigins, TRs) (Graham, 1992) (ดังภาพที่ 131)
ภาพที่ 132 ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)
3.2 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• (DPPH radical scavenging activity)
ค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 43 พบว่า กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• ของชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านโดยมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• เท่ากับ 45.14 35.46 37.89 และ 30.23 µmol Trolox equivalent/g sample ตามลำดับ สารประกอบฟีนอลิกใบชาเมี่ยงที่มีความสามารถในการให้ไฮโดรเจนอะตอมเพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชันของอนุมูลอิสระในขั้นต่อเนื่อง (chain reaction) ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงซึ่งทำ ปฏิกิริยากับ DPPH•
(2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl) ซึ่งเป็นแรดิคัลในตัวทำละลายเอทานอล สารละลายนี้มีสีม่วงซึ่งดูดกลืนแสงได้ดีที่ความยาวคลื่น 515-517 นาโนเมตร โดยเมื่อ DPPH• ทำปฏิกิริยากับสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สีของสารละลายสีม่วงจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองโดยสามารถเปรียบเทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน Trolox นอกจากนั้น ยัง บว่า สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดที่สูงจะมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมากตามไปด้วย จากการทดลองนี้พบว่า ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมีความสัมพันธ์กับค่าความสามารถในการจับกับอนุมูลอิสระ DPPH• โดยถ้ามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมากจะทําให้มีความสามารถในการจับกับอนุมูลอิสระ DPPH• ได้มากไปด้วย (ดังภาพที่ 132)
ภาพที่ 133 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกัน
บนกราฟแท่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)
3.3 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• (ABTS radical scavenging activity)
กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดน่าน แสดงดังภาพที่ 44 พบว่า กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• ของชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดน่าน โดยมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• เท่ากับ 123.15 122.89 114.23 และ 98.36 µmol Trolox equivalent/g sample ตามลำดับ อย่างไรก็ตามกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• ของชาเมี่ยงของจังหวัดแพร่และจังหวัดลำปางไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ซึ่งความสามารถในกำจัดอนุมูลอิสระ ABTS [2,2’-azinobis-(3-ethyl-benzothiazoline-6-sulfonic acid)] ใช้หลักการเหมือนกับการลดลงของอนุมูลอิสระ DPPH• แต่ในกรณี ABTS• เป็นอนุมูลอิสระที่มีประจุเป็นบวกในสารละลายจะมีสีเขียวเข้มและมีค่าการดูดกลืนแสงความยาวคลื่นสูงสุด (lmax) 734 นาโนเมตร ในการติดตามปฏิกิริยาโดยในการลดลงของการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นดังกล่าวจะใช้เป็นตัวชี้วัดปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น (สีเขียวของสารละลายจางลง) ในการเตรียมอนุมูลอิสระของABTS เพื่อใช้ทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าในกรณีของ DPPH นั่นคือ ต้องนำเอาABTS ไปบ่มกับ potassium persulfate ด้วยอัตราส่วน 1:0.5 (stoichiometry ratio) ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา12-16 ชั่วโมง เพื่อให้ได้อนุมูลอิสระที่เป็นประจุบวกของ ABTS• ก่อนนำไปใช้ในการทดสอบปฏิกิริยาการต้านอนุมูลอิสระต่อไป สำหรับคาเทชิน (catechins) เป็นสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยคาเทชินมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant capacity) ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการบริโภคชา สมบัติการต้านอนุมูลอิสระทำให้คาเทชินมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง ได้แก่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง (Yuan et al., 2011) ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (Hirano et al., 2002) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของในโรคเบาหวาน (Kao et al., 2006) และ ช่วยลดความอ้วน (Rain et al., 2011) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การบริโภคชาเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณคาเทชิน รวมทั้งชีวปริมาณสารออกฤทธิ์หรือชีวประสิทธิผล (bioavailability) (Mukhtar and Ahmad, 2000) จากการศึกษา Erba et al. (2005) พบว่า การดื่มชาเขียวมีส่วนช่วยลดสภาวะ oxidative stress และเป็นการป้องกันการเกิดออกซิเดชันในคน เนื่องจาก คาเทชินในชามีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ (Reactive oxygen species: ROS) จำพวก superoxideradical, singlet oxygen, hydroxyl radical, peroxyl radical, nitric oxide, nitrogen dioxide และ peroxy nitrite ซึ่งจะช่วยลดการถูกทำลายในเนื้อเยื่อไขมัน โปรตีนและกรดนิวคลีอิคในเซลล์ (ดังภาพที่ 133)
ภาพที่ 134 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกัน
บนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)
3.4 ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (Ferric Reducing Antioxidant Power; FRAP)
ค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (FRAP) ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 45 ค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกของชาเมี่ยงของจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดน่านโดยมีค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก เท่ากับ 954.23 913.36 789.32 และ 723.56 µmol Trolox equivalent/g sample ตามลำดับ Ferric Reducing Ability Power (FRAP) Assay เป็นวิธีการวัดสมบัติการต้านออกซิเดชันโดยอาศัยหลักการว่าสารต้านออกซิเดชันให้อิเล็กตรอนจึงจัดเป็นสารรีดิวซ์ (reducing agent) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า Total Antioxidant Capacity (TAC) เป็นการวัดความสามารถรวมในการรีดิวซ์โดยใช้สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กเฟอริค Fe3+ ซึ่ง TPTZ (ferric tripyridyltriazine) เป็นสารทดสอบอะตอมของเหล็กในสารนี้จะถูกรีดิวซ์โดยสารต้านออกซิเดชันได้สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็ก Fe2+ และ TPTZ ซึ่งมีสีน้ำเงินดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 593 นาโนเมตร การวัดด้วย FRAP assayได้ FRAP value ออกมา เป็นวิธีการวัดค่าออกซิเดชันโดยทางอ้อม ว่าชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการออกซิเดชันโดยอาศัยการ
ภาพที่135 ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (FRAP) ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกัน
บนกราฟแท่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)