5. ผลการวิเคราะห์ทางเคมี
5.1) ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) จากตัวอย่างใบชาเมี่ยง
หาตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารสำคัญ 3 ชนิด คือ คาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) จากตัวอย่างใบชาเมี่ยงโดยใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกันทั้งหมด 4 ชนิด คือ เมทานอล (MeOH) เอทานอล (EtOH) อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O) โดยผลการทดลองแสดงดังภาพที่ 150
ภาพที่ 151 อิทธิพลของตัวทำละลายชนิดต่างๆต่อปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC)
จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าที่ตัวทำละลายเมทานอลสามารถสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากที่สุดและตัวทำละลายอะซีโตนสกัดสารทั้ง 3 ชนิดได้น้อยที่สุด แต่ตัวทำละลายเมทานอล เอทานอล และน้ำ สามารถสกัดสารสำคัญทั้ง 3 ชนิดนี้ได้ในปริมาณที่ใกล้เคียงกันมาก ซึ่งเมทานอลเป็นตัวทำละลายที่มีความเป็นพิษมากกว่าเมื่อเทียบกับเอทานอลและน้ำ ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงเลือกตัวทำละลายเอทานอลในการสกัดตัวอย่าง ใบชาเมี่ยงและใช้ในการหาสภาวะที่เหมาะสมของการสกัดต่อไป
5.2) สภาวะที่เหมาะสมของอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล
จากการสกัดหาปริมาณคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) จากตัวอย่างใบชาเมี่ยงโดยทำการหาสภาวะที่เหมาะสมของอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล คือ 1:15, 1:20, 1:25, 1:30 และ 1:35 (g/mL) จากผลการทดลอง พบว่า ปริมาณ CAF, EGCG และ EC ที่ได้อยู่ในช่วง 11.16-12.41, 2.68-3.08 และ 2.73-3.42 mg/g ตามลำดับ (ภาพที่ 151)
ภาพที่ 152 อิทธิพลของอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอลในอัตราส่วนต่างๆ ต่อปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC)
จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าที่อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอลที่สามารถสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากที่สุด คือ 1:25 (g/mL) มีปริมาณ CAF, EGCG และEC เท่ากับ 12.41, 3.08 และ 3.42 mg/g ตามลำดับ ดังนั้นจึงเลือกอัตราส่วนนี้เพื่อใช้ในการหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าที่ใช้สกัดต่อไป
5.3) สภาวะที่เหมาะสมของของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด
จากการสกัดหาปริมาณ CAF, EGCG และ EC จากตัวอย่างใบชาเมี่ยงโดยทำการหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าของไมโครเวฟ คือ 70, 210, 350, 490 และ 630 วัตต์ จากผลการทดลอง พบว่า ปริมาณ CAF, EGCG และ EC ที่ได้อยู่ในช่วง 4.88-11.75, 1.24-2.67 และ 1.11-2.50 mg/g ตามลำดับ ดังภาพที่ 152
ภาพที่ 153 อิทธิพลของกำลังไฟฟ้าต่อปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC)
จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าปริมาณสาร CAF, EGCG และ EC จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเมื่อเพิ่มกำลังไฟฟ้าในการสกัดจาก 70 ถึง 350 วัตต์ และ ปริมาณ CAF, EGCG และ EC จะเริ่มคงที่เมื่อใช้กำลังไฟฟ้า 350 (CAF=11.61, EGCG=2.67, EC=2.50 mg/g) ถึง 630 วัตต์ (CAF=11.75, EGCG=2.69, EC=2.49 mg/g) ดังนั้นจึงเลือกกำลังไฟฟ้า 350 วัตต์ เพื่อใช้หาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในสกัดต่อไป
5.4) สภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัด
จากการสกัดหาปริมาณ CAF, EGCG และ EC จากตัวอย่างใบชาเมี่ยงโดยทำการหาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัด คือ 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที จากผลการทดลอง พบว่า ปริมาณ CAF, EGCG และ EC ที่ได้อยู่ในช่วง 11.54-12.43, 2.34-2.92 และ 2.25-2.78 mg/g ตามลำดับ แสดงดังภาพที่ 153
ภาพที่ 154 อิทธิพลของเวลาที่ใช้ในการสกัดต่อปริมาณปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC)
จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าเวลาที่ใช้ในการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากที่สุด คือ 20 นาที ซึ่งมีปริมาณ CAF, EGCG และ EC เท่ากับ 12.43, 2.92 และ 2.78 mg/g ตามลำดับ ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดสารทั้ง 3 ชนิด คือ 20 นาที
จากการทดลองหาสภาวะการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC จากตัวอย่างใบชาเมี่ยงโดยการสกัดแบบรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากและเหมาะสมที่สุด คือ ใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล 1:25 (g/mL) กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด 350 วัตต์และสกัดโดยใช้เวลา 20 นาที แสดงดังตารางที่ 31
ตารางที่ 31 สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) จากตัวอย่างใบชาเมี่ยง
5.5) การหาปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) ด้วยสภาวะที่เหมาะสมจากตัวอย่างใบชาเมี่ยง
นำใบชาเมี่ยงตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง น่านและแพร่ นำมาสกัดด้วยสภาวะที่เหมาะสม ดังตารางที่ 13 และทำการวิเคราะห์หาสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) ด้วยเทคนิค HPLC ให้ผลดังตารางที่ 32
ตารางที่ 32 การวิเคราะห์สารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) จากตัวอย่างใบชาเมี่ยง
พบว่า ใบชาเมี่ยงจากจังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณ CAF, EGCG และ EC เท่ากับ 12.43, 2.92 และ 2.78 mg/g โดยสารสำคัญที่มากกว่าแหล่งอื่นโดยต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ