แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน และ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน

1.    แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน
ความหมายการผลิต

            การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ อันได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน วัตถุดิบและผู้ประกอบการ ไปผ่านกระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีในการผลิต โดยใช้เครื่องจักร เครื่องมือและแรงงานในการผลิตสินค้าจากการใช้แรงงานจนถึงเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยการผลิตในงานอุตสาหกรรมสามารถแปรเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ อาหาร อาหารกระป๋อง วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเรือน ยารักษาโรค เหล็กแผ่น และเหล็กเส้น เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการสำเร็จรูปเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค (บุญธรรม ภัทราจารุกุล, 2554)
            ทฤษฎีต้นทุนการผลิตการที่ผู้ผลิตจะตัดสินใจทำการผลิตสินค้าหรือบริการเป็นจำนวนเท่าใดจากปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะได้รับกำไรสูงสุดหรือขาดทุนน้อยที่สุด ที่ผู้ผลิตจะต้องนำต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิตมาเปรียบเทียบกัน การศึกษาทฤษฎีต้นทุนการผลิต รายรับและกำไรจากการผลิต จึงเป็นการศึกษาทางด้านอุปทานของสินค้าหรือบริการซึ่งเป็นการพิจารณาทางด้านพฤติกรรมของผู้ผลิต เช่น เดียวกันกับทฤษฎีการผลิตซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางด้านทฤษฎีการผลิตเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์
           ต้นทุนการผลิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดว่าสินค้าจะมีราคาถูกหรือแพง เพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิตทั้งวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ดังนั้นการลดต้นทุนการผลิตจึงสำคัญอย่างมากในการทำให้สินค้ามีต้นทุนที่ต่ำลงหรือกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด
           ต้นทุนการผลิต (Cost of Production) เป็นต้นทุนทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การวางแผนการนำวัตถุดิบมาเปลี่ยนสภาพตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการผลิตจนกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นบรรจุหีบห่อที่สวยงามพร้อมที่จะนำออกจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจได้ ซึ่งจะวัดมูลค่าต้นทุนจากค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิตที่เกิดขึ้นทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่งในการผลิตผลิตภัณฑ์ของกิจการอุตสาหกรรม การผลิตอาจจะนำเอาวัตถุดิบมาประกอบหรือแปรสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยการใช้แรงงานและมีค่าใช้จ่ายการผลิตอื่น ๆ เกิดขึ้นด้วย ได้แก่ ค่าวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร ค่าเสื่อมราคา-อาคารโรงงานและค่าวัสดุโรงงาน เป็นต้น (เยาวพา  ณ นคร)

 

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน

            ต้นทุนมีความหมายสำหรับฝ่ายบริหารเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตหรือการซื้อสินค้า การกำหนดราคา การยกเลิกผลิตภัณฑ์ การเลือกกรรมวิธีการผลิต และประเภทสินค้า ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าจะต้องแสดงต้นทุนอย่างละเอียด จะช่วยผู้บริหาร           ให้สามารถวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิสูงสุด (เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์, 2554)แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ความหมายของต้นทุนการจำแนกประเภทต้นทุนตามพฤติกรรมต้นทุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 
             ต้นทุน (Cost) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการ โดยมูลค่านั้นจะต้องสามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตรา ซึ่งเป็นลักษณะของการลดลงในสินทรัพย์หรือเพิ่มขึ้นในหนี้สิน ต้นทุนที่เกิดขึ้นอาจจะให้ประโยชน์ในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ได้ เมื่อต้นทุนใดที่เกิดขึ้นแล้วและกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปทั้งสิ้นแล้ว ต้นทุนนั้นก็จะถือเป็น ค่าใช้จ่าย (Expense) ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจึงหมายถึง ต้นทุนที่ได้ให้ประโยชน์และกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปแล้วในขณะนั้นและสำหรับต้นทุนที่กิจการสูญเสียไป แต่จะให้ประโยชน์แก่กิจการในอนาคตเรียกว่า สินทรัพย์ (Asset)  (สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, 2551)
           ต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำต้นทุนไปใช้ของฝ่ายบริการ ต้นทุนมีความหมายกว้างและครอบคลุมไปถึงการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ  และมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้ความหมายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของ องค์กรธุรกิจและวัตถุประสงค์ของการใช้ต้นทุน ซึ่งในแต่ละลักษณะต่างก็มุ่งที่จะช่วยผู้บริหารให้ทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกประเภทต้นทุนตามวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลไปใช้ได้หลายประการ 
           การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน (Cost Behavior) มีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นการวิเคราะห์จำนวนของต้นทุนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต หรือระดับของกิจกรรมที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดต้นทุน (Cost Driver) ในการผลิตทั้งที่เกี่ยวกับการวางแผน การควบคุม การประเมินและวัดผลการดำเนินงาน การจำแนกต้นทุนตามความสัมพันธ์กับระดับของกิจกรรม เราสามารถที่จะจำแนกต้นทุนได้ 2 ชนิด คือ ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ อย่างไรก็ตามแนวคิดในการจำแนกต้นทุนใน 2 ชนิดนี้ เป็นการจำแนกต้นทุนที่อยู่ในช่วงของต้นทุนที่มีความหมายต่อการตัดสินใจ (Relevant Range) คือเป็นช่วงที่ต้นทุนคงที่รวมและต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ยังมีลักษณะคงที่หรือไม่เปลี่ยนแปลง
1.)   ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) หมายถึง ต้นทุนที่มีพฤติกรรมคงที่ หมายถึง ต้นทุนรวมที่มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามระดับของการผลิตในช่วงของการผลิตระดับหนึ่ง แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยก็จะเปลี่ยนแปลงในทางลดลงถ้าปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ต้นทุนคงที่ยังแบ่งออกเป็นต้นทุนคงที่อีก 2 ลักษณะ คือ ต้นทุนคงที่ระยะยาว (Committed Fixed Cost) เป็นต้นทุนคงที่ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระยะสั้น เช่น สัญญาเช่าระยะยาว ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น และต้นทุนคงที่ระยะสั้น (Discretionary Fixed Cost) จัดเป็นต้นทุนคงที่ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวจากการประชุมหรือตัดสินใจของผู้บริหาร เช่น ค่าโฆษณา ค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าและวิจัย เป็นต้น สำหรับในเชิงการบริหารแล้วต้นทุนคงที่ส่วนใหญ่มักจะควบคุมได้ด้วยผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น 
ซึ่งการคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรมีหลายวิธีที่ใช้กัน ค่าเสื่อมราคาที่ใช้ในแต่ละวิธีก็จะทำให้มีเงินทุนภายในสะสมเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนแตกต่างกัน แต่เมื่อกิจการได้เลือกวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีใดแล้ว ก็จำเป็นต้องใช้วิธีนั้นอย่างสม่ำเสมอทุกงวดบัญชี จะเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ตัวอย่างเช่น บริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งซื้อเครื่องจักรมาใหม่มูลค่า 26,800 บาท โดยคาดว่ามีอายุการใช้งาน 5 ปี และมีมูลค่าซากในปลายปีที่ 4 มูลค่า 800 บาท ธุรกิจจึงได้กระจายมูลค่าการใช้งานของเครื่องจักร โดยคิดค่าเสื่อมราคาแต่ละปี ซึ่งวิธีคิดค่าเสื่อมราคาสามารถคิดได้ดังนี้


           วิธี Straight - Line : เป็นวิธีคิดค่าเสื่อมราคาโดยเฉลี่ยมูลค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ ให้เป็นค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีเท่า ๆ กัน ตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวรนั้น ๆ                       
 สูตรในการคำนวณค่าเสื่อมราคา มีดังนี้

ยกตัวอย่าง เช่น 
   มูลค่าเครื่องจักร    26,800    บาท
   มูลค่าซาก    800    บาท
   มูลค่าเครื่องจักรหลังหักมูลค่าซาก    26,000    บาท
   อายุการใช้งาน    4    ปี
        ฉะนั้น ค่าเสื่อมราคาต่อปี คือ 26,000 / 4 = 6,500 บาท


2.)    ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) หมายถึง ต้นทุนที่จะมีต้นทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปตามสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงในระดับกิจกรรมหรือปริมาณการผลิต ในขณะที่ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่เท่ากันทุก ๆ หน่วย โดยทั่วไปแล้วต้นทุนผันแปรนี้จะสามารถควบคุมได้โดยแผนกหรือหน่วยงานที่ทำให้เกิดต้นทุนผันแปรนั้น
            ต้นทุนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ไม่สามารถใช้การจำแนกต้นทุนตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ได้ เนื่องจากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยงนั้น ไม่มีข้อมูลทางด้านวัตถุดิบทางตรง เพราะเกษตรกรที่ทำสวนเมี่ยงได้รับการสืบทอดต้นเมี่ยงมารุ่นสู่รุ่น ทำให้เกษตรกรในรุ่นหลังไม่ได้มีการปลูกเมี่ยงหรือเสียต้นทุนในการปลูกเมี่ยงเอง ตามหลักการบัญชีในธุรกิจผลิตสินค้าไม่ว่าจะเป็นผลิตสินค้าชนิดใดขนาดใดจะมีต้นทุนการผลิตสินค้า (Product Cost) ที่เหมือนกันซึ่งประกอบไปด้วยต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต หรือที่เรียกว่า  การจำแนกต้นทุนตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
การจำแนกต้นทุนตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบของต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด (Cost of a Manufactured Product) ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งถ้าพิจารณาในด้านทรัพยากรที่เป็นส่วนประกอบของสินค้าแล้ว ประกอบด้วย
1.)    ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material Cost : DM) หมายถึง วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตและสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าใช้ในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในปริมาณและต้นทุนเท่าใด รวมทั้งจัดเป็นวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ เช่น ไม้แปรรูปจัด เป็นวัตถุดิบทางตรงของการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ผ้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยางดิบที่ใช้ในการผลิตยางรถยนต์ แร่เหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก กระดาษที่ใช้ในธุรกิจสิ่งพิมพ์ เป็นต้น             
2.)    ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor Cost : DL) หมายถึง ค่าจ้างหรือผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง หรือคนงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า การคำนวณค่าแรงงานในกิจการขนาดใหญ่มักเป็นหน้าที่ของแผนกค่าแรง (Payroll Department) แต่ถ้าหากเป็นกิจการขนาดเล็กการคำนวณค่าแรงมักเป็นหน้าที่ของพนักงานคนหนึ่งคนใดของแผนกบัญชี ส่วนการจ่ายค่าแรงงานจะเป็นหน้าที่ของแผนกการเงิน  ดังนั้นหากเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการคำนวณค่าแรงงานนั้นจะต้องรวบรวมบัตรลงเวลาการทำงานของพนักงานทุกคน โดยค่าแรงงานที่เกิดขึ้นเป็นค่าแรงงานก่อนหักรายการต่าง ๆ ได้แก่ เงินยืมพนักงานเงินสมทบประกันสังคม เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือเรียกว่า ค่าแรงขั้นต้น การคำนวณค่าแรงปกติ กิจการมีการจ่ายค่าแรงโดยใช้เกณฑ์การจ่ายค่าแรงงานเป็นรายวันข้อดีคือง่ายต่อการคำนวณ แต่ข้อเสียคือ การจ่ายค่าแรงโดยวิธีนี้ไม่สามารถจูงใจพนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะไม่ว่าจะทำมากหรือน้อยก็จะได้ค่าแรงงานเท่าเดิม การคำนวณหาค่าแรงปกติ สามารถคำนวณได้จากสูตร ดังนี้ 

               ทั้งนี้การจ่ายค่าแรงงานข้างต้นนั้นอัตราจ้างต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
3.)    ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing – Overhead : OH)  หมายถึง แหล่งรวบรวมค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าซึ่งนอกเหนือจากวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง เช่น วัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม ค่าใช้จ่ายในการผลิตทางอ้อมอื่นๆ ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า ค่าเสื่อมราคา ค่าประกันภัย ค่าภาษี เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินการผลิตในโรงงานเท่านั้น ไม่รวมถึงเงินเดือน ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าเสื่อมราคา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในสำนักงาน ดังนั้น  ค่าใช้จ่ายการผลิตจึงถือเป็น ที่รวมของค่าใช้จ่ายในการผลิตทางอ้อมต่าง ๆ (Cost Pool of Indirect Manufacturing Costs) นอกจากนี้ยังจะพบว่าในบางกรณีก็มีการเรียกค่าใช้จ่ายการผลิตในชื่ออื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายโรงงาน (Factory Overhead) โสหุ้ยการผลิต (Manufacturing Burden) ต้นทุนผลิตทางอ้อม (Indirect Costs) เป็นต้นดังนั้น ค่าใช้จ่ายการผลิตจึงถือเป็นที่รวมของค่าใช้จ่ายในการผลิตทางอ้อมต่าง ๆ  (Cost Pool of Indirect Manufacturing Costs) นอกจากนี้ ยังจะพบว่า ในบางกรณีก็มีการเรียกค่าใช้จ่ายการผลิต ในชื่ออื่นๆ เช่น ต้นทุนผลิตทางอ้อม (Indirect Costs) เป็นต้น (อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์, 2554)
            ต้นทุนรวม (Total Cost) หมายถึง การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปรที่เกิดจากการผลิตประกอบด้วย ต้นทุนของวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต


           สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1.)    ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ตามปกติของกิจการ
2.)    อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย หรือ
3.)    อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ
            การหาสินค้าคงเหลือ กิจการต้องใช้วิธีการคำนวณต้นทุนด้วยวิธีเดียวกันสำหรับสินค้าคงเหลือทุกชนิดที่มีลักษณะและการใช้คล้ายคลึงกัน สำหรับสินค้าคงเหลือที่มีลักษณะและการใช้ต่างกันอาจใช้วิธีคำนวณต้นทุนที่ต่างกันไปได้หากเหมาะสม โดยทางคณะผู้จัดทำได้เลือกวิธีการคำนวณสินค้าคงเหลือ ดังนี้
            วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (The First-In, First-Out :FIFO) การคำนวณต้นทุนสินค้าตามวิธีเข้าก่อน ออกก่อน ถือเป็นเกณฑ์สมมติว่า สินค้าคงเหลือรายการที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้นก่อนจะขายออกไปก่อน จึงเป็นผลให้รายการสินค้าคงเหลือที่เหลืออยู่ ณ วันสิ้นงวดเป็นสินค้าที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้นในครั้งหลังสุดตามลำดับ วิธีนี้นิยมถือปฏิบัติเพราะสามารถคิดราคาทุนของสินค้าคงเหลือได้ใกล้เคียงความจริง ไม่ว่าราคาของสินค้าจะขึ้นหรือลง เพราะสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจะใกล้เคียงกับราคาตลาดในขณะนั้นมากที่สุด 
            ต้นทุนของสินค้าคงเหลือต้องประกอบด้วยต้นทุนทั้งหมดในการซื้อ ต้นทุนแปลงสภาพและต้นทุนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้นอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
ซึ่งได้แก่ ราคาซื้อ อากรขาเข้าและภาษีอื่น (สุทธิจากจำนวนที่กิจการจะได้รับคืนในภายหลังจากหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี) รวมทั้งค่าขนส่ง ค่าขนถ่าย และต้นทุนอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งสินค้าสำเร็จรูปวัตถุดิบและบริการ ในการคำนวณต้นทุนในการซื้อสินค้าให้นำส่วนลดการค้า เงินที่ได้รับคืนและรายการอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันมาหักออก 
            ต้นทุนแปลงสภาพของสินค้าคงเหลือ หมายถึง ต้นทุนการผลิตที่ใช้ในการแปลงสภาพวัตถุดิบ ทางตรงให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ต้นทุนแปลงสภาพ ประกอบด้วย ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่าย การผลิตคงที่ และค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ คือ ต้นทุนการผลิตทางอ้อมที่ เกิดขึ้นในการผลิตโดยไม่สัมพันธ์กับปริมาณการผลิต เช่น ค่าเสื่อมราคา ส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร คือ ต้นทุนการผลิตทางอ้อมที่ผันแปรโดยตรงหรือค่อนข้างจะผันแปร โดยตรงกับปริมาณการผลิต เช่น วัตถุดิบทางอ้อม และค่าแรงงานทางอ้อม เป็นต้น (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ , 2559)

ระบบต้นทุนช่วงการผลิต (Process Costing)
             ความหมายของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้คำจำกัดความของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิตไว้ว่า การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต หมายถึง วิธีการบัญชีต้นทุนอย่างหนึ่งใช้ในกิจการที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการมีลักษณะเป็นช่วง ๆ วัตถุดิบ แรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตต่าง ๆ อาจจะใส่เข้ามาในช่วงการผลิตต่าง ๆ ได้
             การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิตถือ เป็นวิธีการในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์อีกวิธีหนึ่งที่มักจะถูกนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการผลิตแบบต่อเนื่องเป็นกระบวนการและในสายการผลิตหนึ่งๆ ก็จะทำการผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียว หลังจากที่ผลิตเสร็จแล้วก็จะนำไปเก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอการจำหน่ายต่อไป (สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, 2557) ซึ่งเป็นการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์อีกวิธีหนึ่งที่ใช้กับกิจการที่มีการผลิตต่อเนื่องกันไปและในระหว่างการผลิตไม่สามารถแยกได้ว่าส่วนใดของการผลิตเป็นของงานชิ้นใด เป็นการผลิตรวมกันไป ปกติจะผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ขายในภายหลัง (ดวงมณี  โกมารทัต, 2559 และ เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์, 2547)     
             การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต ใช้สำหรับกิจการที่ผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมากเพื่อเก็บไว้ขาย ไม่ได้ผลิตตามคำสั่งของลูกค้าแต่ละราย สินค้าที่ผลิตทุกหน่วยจะเหมือนกัน โดยผ่านการผลิตเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกันไปและเป็นมาตรฐานเดียวกัน (เยาวพา ณ นคร,2545)
             การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต เป็นการคำนวณต้นทุนการผลิตซึ่งใช้กับกิจการที่ทำการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมากมีการผลิตต่อเนื่องกันไป ปกติจะผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ขายในภายหลัง  เช่น  กิจการผลิตปูนซีเมนต์ น้ำมัน นอกจากนี้การผลิตที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายแผนก  กิจการจะต้องกำหนดกระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและมีการแบ่งงานกันในแต่ละแผนก ต้นทุนการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่สามารถคิดเข้ากับงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้ การรายงานต้นทุนและรายงานสรุปต้นทุนแต่ละแผนกจะทำได้เมื่อสิ้นงวดโดยทั่วไปนิยมรวบรวมต้นทุนของแผนกต่าง ๆ ตามงวดเวลา  1 เดือน ลักษณะสำคัญของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิตคือ
1.)     จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตและจัดทำรายงานแยกเป็นรายแผนก ซึ่งถือว่าเป็นการบันทึกและสรุปต้นทุนการผลิตประจำงวด ตามปกติจะจัดทำตามลักษณะของการทำงาน เช่น แผนกตัด แผนกเลื่อย เป็นการบันทึกและสรุปต้นทุนการผลิตประจำงวด
2.)    ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วยต้นทุนที่เป็นวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละแผนกจะถูกรวบรวมเป็นงวด ๆ และนำไปบันทึกบัญชีด้านเดบิต ของบัญชีงานระหว่างทำของแต่ละแผนก เมื่อทำการผลิตเสร็จในแผนกแต่ละแผนกแล้วจะโอนสินค้าไปผลิตในแผนกต่อไป กิจการจะต้องโอนต้นทุนที่เกี่ยวข้องไปด้วย โดยเครดิตบัญชีงานระหว่างทำของแผนกที่โอนออก และเดบิตงานระหว่างทำของแผนกที่รับโอน
3.)    มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนหน่วยที่ผลิตเสร็จของแต่ละแผนก ในกรณีที่มีงานระหว่างทำคงเหลือต้นงวดและปลายงวดจะต้องปรับหน่วยงานระหว่างทำให้อยู่ในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป
4.)    คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละแผนกตามงวดที่จัดทำรายงานต้นทุน ซึ่งต้นทุนการผลิตจะประกอบด้วย วัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งตามวิธีนี้จะแยกต้นทุนทั้ง 3 ตัว ออกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนเปลี่ยนสภาพ (ค่าแรงงาน + ค่าใช้จ่ายการผลิต)
5.)    ต้นทุนของหน่วยที่ผลิตเสร็จจะโอนออกจากงานระหว่างทำไปยังบัญชีงานระหว่างทำของแผนกถัดไปหรือสินค้าสำเร็จรูป ต้นทุนการผลิตแต่ละแผนกจะถูกสะสมไว้ตั้งแต่แผนกแรกจนถึงแผนกสุดท้ายที่ผลิตสินค้านั้นเสร็จ ซึ่งต้นทุนที่สะสมไว้ในแผนกแรก เมื่อโอนไปแผนกที่ 2 จะเรียกว่าต้นทุนโอนมา และเมื่อสะสมไปจนถึงแผนกสุดท้ายเมื่อผลิตสินค้าเสร็จก็จะเรียกว่าต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป
6.)    การสะสมต้นทุนรวมและต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละแผนกจะนำไปแสดงไว้ในรายงานต้นทุนการผลิต ซึ่งจัดทำแยกตามแผนกการผลิต
ลักษณะการผลิตตามวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต
         การผลิตตามวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต มีหลายแบบที่แตกต่างกันตามลักษณะกระบวนการผลิต ซึ่งแยกออกเป็น
1.)    การผลิตแบบเรียงลำดับ (Sequential Processing) เป็นการผลิตที่ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดผ่านกระบวนการผลิตทุกแผนกตามลำดับ ต้นทุนจะเก็บสะสมจากแผนกที่ 1 โอนไปจนถึงแผนกสุดท้าย และเมื่อผลิตเสร็จในแผนกสุดท้าย ต้นทุนที่ได้จะเรียกว่าต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป การผลิตแบบนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียวหรือผลิตสินค้าที่เหมือน ๆ กัน เช่น โรงงานผลิตขนมปัง โรงงานผลิตน้ำตาล
2.)    การผลิตแบบขนาน (Parallel Processing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์มากกว่าหนึ่งชนิดเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลาย ๆ ส่วน ผ่านกระบวนการผลิตในแผนกที่ต่างกัน ซึ่งอาจจะดำเนินการผลิตไปพร้อมกันหรือไม่ก็ได้และจะนำมารวมเป็นสินค้าสำเร็จรูปในแผนกสุดท้าย เช่น อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ จะแยกการผลิตเป็นแผนกต่าง ๆ และนำมาประกอบเป็นรถยนต์ในแผนกสุดท้าย
3.)    การผลิตแบบจำแนก (Selective Processing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เริ่มกระบวนการผลิตในแผนกที่ 1 เหมือนกัน ใช้ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตด้วยกัน แต่ได้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แช่แข็ง การผลิตทั้งหมดจะเริ่มในแผนกแรกคือแผนกชำแหละจะได้เนื้อส่วนต่าง ๆ เนื้อแต่ละส่วนจะแยกสู่กระบวนการผลิตแต่ละชนิด และได้สินค้าสำเร็จรูปแตกต่างกันไปเกินกว่า 1 ชนิด
วงจรการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตตามวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต  ประกอบด้วย
1.)    บันทึกการจัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตโดย เดบิต บัญชีวัตถุดิบ และจัดทำบัตรวัตถุดิบเพื่อใช้ในการควบคุมวัตถุดิบเมื่อมีการรับ–จ่ายวัตถุดิบ
2.)    เมื่อเบิกวัตถุดิบไปใช้ การบันทึกบัญชีจะต้องระบุแผนกที่เบิกไปใช้ และการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเบิกวัตถุดิบไปใช้ จะเดบิต งานระหว่างทำ-แผนกที่เบิกใช้ เครดิต วัตถุดิบ
3.)    รวบรวมค่าแรงงานที่เกิดขึ้นเป็นค่าแรงงานทางตรง และค่าแรงงานทางอ้อม ตามบัตรบันทึกการทำงานของคนงาน และบันทึกบัญชีโดย เดบิตบัญชีงานระหว่างทำ-แผนกที่เกิดค่าแรงงาน เครดิต ต้นทุนเปลี่ยนสภาพ เนื่องจากค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายการผลิตตามวิธีต้นทุนช่วงการผลิตจะรวมเรียกว่าต้นทุนเปลี่ยนสภาพ
4.)    เมื่อโอนต้นทุนการผลิตจากแผนกหนึ่งไปสะสมในแผนกถัดไป จะต้องบันทึกบัญชีการโอนต้นทุน โดย เดบิต งานระหว่างทำแผนกที่รับโอน และเครดิต งานระหว่างทำแผนกที่โอน
5.)    ในแผนกสุดท้ายที่ทำการผลิตเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูปและนำเข้าเก็บในคลังสินค้า จะต้องบันทึกต้นทุนการผลิตสินค้า โดยเดบิต สินค้าสำเร็จรูป เครดิต งานระหว่างทำ
6.)    เมื่อนำสินค้าออกจำหน่ายจะต้องบันทึกต้นทุนของสินค้าด้วยโดย เดบิต ต้นทุนขาย เครดิต สินค้าสำเร็จรูป
2.    แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับผลตอบแทนการผลิต


ความหมายของผลตอบแทน
            ผลตอบแทน หมายถึง สิ่งที่ได้รับจากการนำทรัพยากรที่มีใช้ไปในการลงทุน เพื่อผลิต สร้าง หรือเพิ่มเพาะปลูก แล้วได้รับกลับมาอาจได้รับมาในรูปของตัวเงินหรือปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน และอาจจะเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนมุ่งหวังจะได้จากการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในธุรกิจ ในหลักทรัพย์หรือในอสังหาริมทรัพย์คือ ผลตอบแทนหรืออัตราผลตอบแทน ซึ่งคำว่าอัตราผลตอบแทนนี้มีความหมายในมุมกว้าง ผลตอบแทน หมายถึง อัตราผลตอบแทน จากสินทรัพย์รวม อัตราผลตอบแทนจากเงินทุนระยะยาว อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ และอัตราผลตอบแทนที่มีความหมายแคบ คือ อัตราผลตอบแทนจากโครงการลงทุนเฉพาะโครงการ ซึ่งอาจมีรูปแบบการวัดและการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์เป็นสำคัญ อัตราส่วนผลตอบแทนนอกจากใช้ประโยชน์ในการประเมินของโครงการปฏิบัติงานแล้วยังช่วยในการตัดสินใจลงทุนวางแผนควบคุมและปรับปรุงการดำเนินงานอีกด้วย
ดังนั้น ผลตอบแทนอาจหมายถึง รายรับที่ได้จากการประกอบการและความสามารถของเงินทุนที่จะก่อให้เกิดรายได้ที่คุ้มค่ากับเงินลงทุนนั้น ๆ
     2.2.2 ทฤษฎีผลตอบแทนการผลิต
            ทฤษฎีผลตอบแทนที่นำมาใช้ประกอบการศึกษา เพื่อประเมินการลงทุนของการผลิตเมี่ยง คือ อัตรากำไรขั้นต้น การวิเคระห์จุดคุ้มทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน (โสภณ ฟองเพชร, 2545: หน้า 91) โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.)     อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กำไรขั้นต้นกับขายสุทธิ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการหากำไรขั้นตอนของกิจการ ซึ่งยังไม่คำนึงถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่น ๆ


            อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return On Investment: ROI)  เป็นการวัดผลตอบแทนการลงทุนในธุรกิจที่มีการลงทุน ใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบเลือกทางเลือกในการลงทุน หาทางเลือกต่างๆ ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน แต่มีระดับความเสี่ยงที่เท่ากัน กรณีเช่นนี้จะเลือกทางเลือกที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนสูงที่สุด อัตราผลตอบแทนจึงใช้ประโยชน์ในการประเมินผลการดำเนินงานว่าผลตอบแทนที่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ เช่น การทำการตลาด การวัดผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการลงทุนเราจะวัดจากวิธี ROI ซึ่งถ้าค่า ROI สูงแสดงว่าการจ่ายเพื่อลงทุนนั้นๆ น้อย แต่สามารถทำกำไรได้สูง วิธีผลตอบแทนจากการลงทุนสามารถแสดงได้ดังสมการ ดังนี้ (เพชรี  ขุมทรัพย์, 2554)

อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน เป็นเครื่องวัดการดำเนินงานของธุรกิจได้สองลักษณะ คือ
-    ใช้เป็นเครื่องมือชี้ความมีประสิทธิภาพในการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ว่ากำไรที่ได้เพียงพอหรือมากกว่าค่าของทุนในเงินที่จ่ายลงทุนในธุรกิจหรือไม่ 
-    ใช้เป็นเครื่องมือในการคาดคะเนกำไร 
2.)     การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break Even Point) จะช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจวางแผนการผลิตการใช้ปัจจัยในการผลิตได้และราคาในตลาดได้ในระดับหนึ่ง การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการผลิตเมี่ยง จึงประกอบด้วยการวิเคราะห์ผลผลิตที่จุดคุ้มทุนและการวิเคราะห์ราคาที่จุดคุ้มทุน โดยจุดคุ้มทุนในที่นี่คือจุดที่รายได้ทั้งหมดเท่ากับต้นทุนทั้งหมด

 

3.    แนวคิดการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
            โลจิสติกส์ (Logistics) กำเนิดมาจากกองทัพอังกฤษในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อจัดระบบส่งกำลังบำรุงทางทหาร ซึ่งมีทั้งระบบสารธารณูปการ เช่น ทางรถไฟ ถนน ท่าเรือ สนามบิน สถานที่จัดเก็บเสบียงอาวุธ สัมภาระ และยานพาหนะ ศาสตร์แห่งโลจิสติกส์ มีวิวัฒนาเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาเริ่มมีการแพร่กระจายสินค้าทางการเกษตร การจัดการโลจิสติกส์ (Logistic Management) เป็นกระบวนการทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ การควบคุมการทำงานขององค์กร รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร และธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ให้มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม กระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบและบริการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ (The Council of Logistic Management: CLM) โลจิสติกส์จึงเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวเนื่องกับทุกกิจกรรม ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การขนส่ง การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัตถุดิบในกระบวนการผลิตและคลังสินค้า การขนส่งสินค้า การกระจายสินค้า ค้าปลีก ค้าส่งจนกระทั่งสินค้านั้นส่งถึงมือผู้บริโภค (สศช, 2550 อ้างอิงใน สสว., 2550) ซึ่ง ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ กลยุทธ์ในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรและคู่ค้าที่เกี่ยวข้องภายในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีเป้าหมายในการปรับปรุง พัฒนา ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในระยะยาว ตั้งแต่ต้นน้ำ หรือแหล่งกำเนิดวัตถุดิบจนกระทั่งถึงปลายน้ำ ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด กิจกรรมแต่ละกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทาน เปรียบเสมือนข้อโซ่แต่ละโซ่ที่นำมาเชื่อมต่อประสานกับเป็นโครงสร้างของกิจกรรมให้ผู้ผลิตพบผู้บริโภค ซึ่งอาจจะมีขนาดสั้นยาวของห่วงโซ่ที่แตกต่างกัน ในขณะที่ โลจิสติกส์ เป็นวิธีการจัดการกิจกรรมต่างๆที่อยู่บนข้อโซ่แต่ละข้อซึ่งจะมีรายละเอียดมากกว่า ทำให้ โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานจะต้องไปด้วยกันเสมอ
            ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เป็นกระบวนการเคลื่อนย้ายสิ่งของ 3  ชนิด ได้แก่ การจัดหา และการจัดส่งสินค้า ทั้งปัจจัยการผลิต สินค้าสำเร็จรูป และบริการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่ายสารและการชำระเงิน แนวคิดโลจิสติกส์เป็นการบริหารจัดการด้านเวลา และการทำงานโดยลดความสูญเปล่า กำจัดทุกสิ่งที่ไม่มีมูลค่าเพิ่ม มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เน้นกระแสการเคลื่อนย้ายหรือไหลเวียน ของสินค้า บริการ ข้อมูลมากกว่าการเก็บสินค้าในคลัง
องค์ประกอบของโลจิสติกส์
1.)    การพยากรณ์อุปสงค์
2.)    การจัดหา
3.)    การขนส่ง
4.)    การบริหารสินค้าคงคลัง
5.)    การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
6.)    โกดังสินค้า
7.)    บรรจุภัณฑ์และหีบห่อง
8.)    การตอบสนองคำสั่งซื้อ
            สุปรีดี ศรวัฒนา (2551) กล่าวว่า ห่วงโซ่อุปทาน หมายถึงความพยายามที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิจและการจัดส่งสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตสินค้าถึงผู้ซื้อ หรือลูกค้าโดยจะเน้นที่การทำให้เกิดกิจกรรมการสั่งซื้อวัตถุดิบและส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างราบรื่นและประหยัดที่สุด การจัดการโซ่อุปทานเป็นวิธีการบูรณาการ (Integrate) หน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่ผู้จัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต คลังสินค้า และร้านค้า เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การผลิตและกระจายสินค้าดำเนินไปอย่างถูกต้องในแง่ของปริมาณ สถานที่ และเวลา โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของทั้งระบบให้ต่ำที่สุด และยังคงสามารถตอบสนองต่อระดับบริการที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้น การจัดการโซ่อุปทานจึงมีความเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนและมีบทบาทในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า โดยเริ่มตั้งแต่ ผู้ผลิตสินค้าไปยังคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าไปสู่ผู้ค้าปลีก และร้านค้าต่างๆ การวิเคราะห์โซ่อุปทานในบางกรณีอาจพิจารณาครอบคลุมไปถึงผู้จัดหาวัตถุดิบ (Suppliers’ Suppliers) หรือลูกค้าของลูกค้า (Customers’ Customers) เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของโซ่อุปทานด้วย วัตถุประสงค์ของการจัดการโซ่อุปทาน คือ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านต้นทุนรวมทั้งระบบ (Total System Wide Costs) นับแต่การขนส่งและการกระจายคลังวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปให้มีต้นทุนต่ำที่สุด โดยการจัดการโซ่อุปทานนั้น ไม่ใช่การมุ่งลดต้นทุนการขนส่งหรือลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าให้ต่ำที่สุดเท่านั้น แต่ต้องพิจารณากิจกรรมทั้งหมดในภาพรวมของทั้งระบบที่มีผลกระทบต่อกัน ในลักษณะการบูรณาการระหว่าง ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ผู้ผลิต คลังสินค้า และร้านค้า เข้าด้วยกันให้มีประสิทธิภาพ จึงเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของธุรกิจหลายระดับ ตั้งแต่ ระดับกลยุทธ์ (Strategic) ระดับยุทธวิธี (Tactical) และระดับปฏิบัติการ (Operational) ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะแยกความแตกต่างระห่างการจัดการโลจิสติกส์ กับ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
            ชุติระ ระบอบ (2553) กล่าวถึง การดำเนินงานของโซ่อุปทานมีบุคคลที่เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. ผู้จัดหาวัตถุดิบ (Suppliers) 2. ผู้ผลิต (Manufacturers) 3. ผู้ขายส่ง/ผู้กระจายสินค้า (Wholesales / Distributors) 4. ผู้ขายปลีก (Retailers) 5. ลูกค้า (Customers) การออกแบบโซ่อุปทานที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าและบทบาทของหน่วยธุรกิจในแต่ละขั้นตอนที่จะสามารถตอบสนองความต้องการนั้นได้ ในบางกรณี เช่น ผู้ผลิตอาจสั่งซื้อวัตถุดิบโดยตรง เป็นลักษณะผลิตตามลูกค้าสั่งซื้อจากลูกค้าเท่านั้น นั่นคือลูกค้ามีค้าสั่งซื้อสินค้าตรงไปยังโรงงานผลิต เนื่องจากในกรณีนี้ ไม่มีผู้ขายปลีก ผู้ขายส่ง หรือผู้กระจายสินค้า อีกกรณีหนึ่งเช่น ผู้ผลิตไม่ได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยตรง กล่าวคือ บริษัทมีคลังเก็บสินค้าไว้สำหรับจัดส่งให้กับลูกค้าตามใบสั่งซื้อโดยตรง อาจมีหน่วยงานอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นระหว่างลูกค้าและผู้ผลิต ในกรณีร้านค้าปลีกขนาดเล็ก โซ่อุปทานอาจมีเพียงผู้ค้าส่ง ผู้จัดจ้าหน่ายอยู่ระหว่างผู้ผลิตและห้างสรรพสินค้าแสดงผู้เกี่ยวข้องในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ดังภาพ


 

            กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการไหล การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูปและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค นั้น มักมีอุปสรรคที่เกี่ยวข้อกับประเด็นดังนี้
1.)    เป็นสิ่งท้าทายที่สามารถออกแบบและดำเนินการโซ่อุปทานใดๆ ให้ทั้งระบบที่มีต้นทุนต่ำที่สุด และยังคงสามารถรักษาระดับบริการตามที่กำหนดไว้ได้ตลอดโซ่อุปทาน อันที่จริงแล้ว เพียงแค่หน่วยงานเดียว ก็ยากที่จะดำเนินการให้ได้ทั้งต้นทุนที่ต่ำที่สุดพร้อมๆ กับให้บริการสนองต่อความต้องการที่กำหนดไว้แล้ว ความยุ่งยากจะเพิ่มขึ้น หากต้องเชื่อมโยงหลายๆหน่วยงานเข้าด้วยกัน เป็นห่วงโซ่อุปทาน กระบวนการค้นหากลยุทธ์ที่ดีที่สุดนั้นเรียกว่า Global Optimization ซึ่งเป็นความเหมาะสมต่อระบบโดยรวมมากที่สุดที่ทุกหน่วยงานมีความร่วมมือกันในการบริหารจัดการโซ่อุปทาน
2.)    ความไม่แน่นอน (Uncertainty) มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในห่วงโซ่อุปทาน เช่นความไม่สามารถพยากรณ์อุปสงค์ หรือความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ความผันแปรของระยะเวลาในการขนส่ง เครื่องจักรและยานพาหนะที่ไม่ทราบว่าจะชำรุดเมื่อใด การออกแบบโซ่อุปทานจะต้องพยายามกำจัดความไม่แน่นอนออกจากระบบให้ได้มากที่สุด และหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพเตรียไว้รับมือกับความไม่แน่นอนที่ยังเหลืออยู่
3.)    หน่วยงานต่างๆภายในห่วงโซ่อุปทานมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างและขัดแย้งกัน ซึ่งปกติผู้ส่งวัตถุดิบต้องให้ผู้ผลิตสั่งซื้อครั้งละจำนวนมาก ในปริมาณการสั่งซื้อที่คงที่ และให้ความยืดหยุ่นในวันส่งมอบสินค้า แต่การผลิตจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ ดังนั้นเป้าหมายของผู้ส่งวัตถุดิบจึงขัดแย้งโดยตรงกับความต้องการของผู้ผลิตที่ต้องการความยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองต่อลูกค้าที่อยู่ในขั้นถัดไป โดยปกติแล้วการผลิตนั้นผู้ผลินจะไม่รู้จำนวนที่แน่นอนที่ลูกค้าต้องการอย่างถูกต้อง ความสามารถที่จะทำการผลิตในจำนวนที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิตในการยืดหยุ่นการผลิตโดยสามารถเปลี่ยนแปลงการผลิตได้ เมื่อมีข้อมูลความต้องการของลูกค้า 
4.)    โซ่อุปทานเป็นระบบพลวัต (Dynamic System) เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาซึ่งนอกจากความต้องการของลูกค้าและประสิทธิภาพในการผลิตของผู้ส่งวัตถุดิบแล้ว ความสัมพันธ์ภายในโซ่อุปทานก็เปลี่ยนไปตลอดเวลาเช่นเดียวกัน เช่น เมื่อลูกค้าต่อลองเพิ่มขึ้น จะเพิ่มความกดดันไปยังผู้ผลิต ผู้ส่งวัตถุดิบที่ต้องสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพสูง
5.)    ระบบมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้ว่าในบางกรณีจะทราบถึงความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าแล้ว หรือมีการทำสัญญาตกลงกันแล้ว การวางแผนต้องคำนึงถึงระดับความต้องการและต้นทุนต่างๆที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา อันเนื่องจากผลกระทบต่างๆ เช่น ฤดูกาล แนวโน้ม ความนิยมของผู้บริโภค ราคาและคู่แข่ง จึงเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดกลยุทธ์โซ่อุปทานที่มีประสิทธิผลในการบรรลุถึงต้นทุนทั้งระบบให้ต่ำที่สุด และให้บริการได้ตามความต้องการของลูกค้า


วิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรในห่วงโซ่อุปทาน
1.)    กระบวนการผลิตและกระบวนการธุรกิจที่จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เร็วขึ้น ดีขึ้น มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อลดต้นทุน ตั้งแต่ การจัดหาวัตถุดิบ การออกแบบ การผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง การเก็บรักษา การตลาด และการขาย
2.)    การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภค โดยการศึกษาพฤติกรรม ความพึงพอใจ ความสนใจของผู้บริโภค
            การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานในสินค้าเกษตร คือ กิจกรรมการจัดการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงมีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้าจัดส่งให้ด้วยต้นทุนต่ำ การสร้างพันธมิตรธุรกิจด้วยเกษตรพันธสัญญาเป็นการวางแผนร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับบริษัทอย่างชัดเจนเพื่อลดความเสี่ยง ด้านราคา และด้านการตลาด ระบบพันธสัญญาเริ่มต้นจากบริษัทญี่ปุ่นที่ดำเนินการในประเทศไต้หวัน ในช่วงปี ค.ศ. 1930-1950 ในอุตสาหกรรมอาหาร ต่อมีช่วงปี ค.ศ. 1960-1980 เกษตรกรชาวแมกซิกันได้ปลูกผักและผลไม้ส่งเข้าตลาดอเมริกาโดยใช้ระบบพันธสัญญา ช่วงท้ายศตวรรษที่ 20 เกษตรพันธสัญญาได้แพร่หลายในยุโรปตะวัตก ญี่ปุ่นและอเมริการจนถึงกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในปัจจุบัน (Kristen and Sartorius, 2002 ในกัลปพฤกษ์ ผิวทอง และคณะ, 2552) การสร้างพันธสัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดความกังวลด้านความปลอดภัยของการแปรรูปอาหารไม่ให้เกิดการเน่าเสีย ต้องการจัดการปริมาณวัตถุดิบในโรงงานแปรรูปอย่างสม่ำเสมอในราคาที่เหมาะสม เกษตรกรพันธสัญญาเป็นระบบที่เชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรรายย่อยให้เข้าสู่ตลาดส่งออก อุตสาหกรรมอาหารและผู้ส่งออก และยังมีวัตถุประประสงค์ที่ขยายวงกว้างไปถึง การเมือง สังคมและเศรษฐกิจ สัญญาบางชนิดระบุถึงการเข้าถึงทรัพยากรที่สำคัญ ความเป็นเจ้าของสินค้า การเช่าแรงงาน สิ่งก่อสร้าง สถานที่ การบริการและผู้รับผิดชอบค่าบริการ รายละเอียดของสัญญาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำสัญญา ความต้องการของตลาด และอำนาจในการต่อรองของคู่สัญญา โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ระบบประกันตลาด ระบบประกันราคา และระบบประกันรายได้
1.)    ระบบประกันตลาด เป็นระบบที่เกษตรกรขายวัตถุดิบให้กับผู้แปรรูป ภายใต้คุณภาพและเวลาที่กำหนด โดยเกษตรกรมีอำนาจการตัดสินใจด้วยการผลิตเต็มตัว
2.)    ระบบประกันราคา เป็นระบบที่บริษัทควบคุมปัจจัยการผลิตบางส่วนและเกษตรกรทำสัญญาขายผลผลิตให้บริษัทในราคา ปริมาณ และคุณภาพตามกำหนด
3.)    ระบบประกันรายได้ เป็นระบบที่บริษัทควบคุมการผลิต ปัจจัยการผลิตและบริการต่างๆ โดยเกษตกรจะได้รับรายได้ตามที่ตกลงกันไว้เบื้องต้น
            การตัดสินใจทำเกษตรพันธสัญญา ทั้งเกษตรกรและบริษัทต้องคำนวณต้นทุนและผลตอบแทนที่เกิดขึ้นว่าคุ้มค่ากว่าการไม่ทำสัญญา ต้นทุนดังกล่าว รวมถึง ต้นทุนการผลิต และต้นทุนการทำธุรกรรม สำหรับเกษตรกรต้นทุนที่ต้องคำนึง ได้แก่ ต้นทุนในการทำตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท การลงทุนเครื่องมือและอุปกรณ์ สำหรับบริษัท ควรคำนึงถึง ต้นทุนที่ให้คำปรึกษาด้านการจัดการ ต้นทุนด้านการช่วยเหลือทางการเงิน และปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร
            ประโยชน์ของการทำเกษตรพันธสัญญา บริษัทจะสามารถอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรรายย่อยในด้านต่างๆ เช่น เงินทุน ข่าวสาร เทคโนโลยี และการตลาด ที่เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงได้ และยังสามารถตั้งเงื่อนไขร่วมกับเกษตรกรเพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการตลาด เช่น การใช้สารเคมี ระเบียบความปลอดภัยของอาหาร มาตรฐานฟาร์มเพื่อป้องกันโรคระบาด การเชื่อมโยงกับหน่วยอื่นในห่วงโซ่อุปทานจะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งและค่าการตลาดลดลง เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงปัจจัยการผลิตราคาถูกกว่าได้ เท่ากับการใช้ประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด นอกจากนี้ ยังทำให้ต้นทุนในการควบคุมคุณภาพและความผันผวนของปริมาณวัตถุดิบลดลง ผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้นเมื่อนำไปแปรรูป และการที่บริษัทเข้าถึงกลุ่มเกษตกรอย่างใกล้ชิดยังเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทมีอำนวจต่อรองทางการเมืองโดยอ้อม ซึ่งทำให้บริษัทเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐได้ง่าย
            ปัญหาที่เกิดจากการทำเกษตรพันธสัญญา ได้แก่ ด้านคุณภาพการบริการที่บริษัทให้กับเกษตรกรมีคุณภาพต่ำ การตั้งราคาค่าบริการที่สูงเกินไป การถ่ายทอดความเสี่ยงด้านราคาให้กับเกษตรกร วิธีการตั้งราคาที่ซับซ้อน การรับซื้อในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การตรวจรับผลผลิตที่ไม่โปร่งใส การจ่ายเงินช้า การผูกสัญญาผลผลิตหลายชนิดเข้าไว้ด้วยกัน การโกงบัญชีของบริษัท
            การจัดสมดุลระหว่างระดับอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของสินค้าเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้า เพราะจะเป็นส่วนช่วยให้การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นไรอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยในการตัดสินใจในการวางแผนในหลายๆด้าน เช่น การวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ การจัดการซัพพลายเออร์ การวางแผนการผลิต และการวางแผนสินค้าคงคลัง ซึ่งการจะวางแผนให้อุปทานมีความใกล้เคียงกับอุปสงค์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทั้งสองด้านมีความแปรปรวนและไม่แน่นอน (Supply and demand uncertainty) ในสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทางไอที และอิเลกทรอนิกส์ มักให้ความสำคัญในการจัดการเพื่อให้ระดับของอุปทานมีความใกล้เคียงกับระดับของอุปสงค์ เพื่อไม่ให้เกิดสินค้าคงคลัง (Inventory) ในระบบมากเกินไปแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าเพื่อไม่ให้เกิดความเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากสินค้าขาดแคลน แต่เนื่องจากการควบคุมปัจจัยในอุตสาหกรรมนี้ที่ส่วนใหญ่จะเป็น คนและเครื่องจักร ปัญหาความแปรปรวนด้านอุปทานจึงมีไม่มากนัก แต่เมื่อพิจารณาในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตร จะพบว่า มีความแตกต่างจากห่วงโซ่อุปทานของสินค้าอื่นๆ เนื่องจากมีความแปรปรวนหรือความไม่แน่นอนด้านอุปทานเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะผลผลิตสินค้าเกษตรแต่ละปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง และส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น สภาพและชนิดของดินที่ใช้เพาะปลูกพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ที่ใช้ สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำ โรคระบาด ภัยธรรมชาติ และความเป็นฤดูกาลของสินค้าเกษตรแต่ละชนิด นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับความสามารถและทักษะของเกษตรกร (Farming Skill) อีกด้วย จึงทำให้ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรแตกต่างจากห่วงโซ่อุปทานในสินค้าอื่นๆ เพราะสินค้าเกษตรมีความแปรปรวนด้านอุปทานเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพราะสินค้าเกษตรนั้นเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย (Perishable Product) ไม่สามารถจัดเก็บได้นาน เมื่อมีจำนวนมากจึงล้นตลาดได้ง่ายราคาสินค้าตำต่ำอย่างรวดเร็ว เพราะต้องรีบระบายสินค้าออกจากแหล่งปลูก หรือแหล่งรับซื้อก่อนการเน่าเสีย ดังนั้น การจัดการด้านอุปทานของสินค้าเกษตรจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆที่ต้องให้ความสำคัญ การจัดการความแปรปรวนด้านอุปทานของสินค้าเกษตรทำได้ 2 แนวทาง คือ การลดความแปรปรวนของผลผลิตลงโดยการควบคุมปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อความแปรปรวนนั้น รวมถึงการเพิ่มศักยภาพ ทักษะ ความชำนาญของเกษตรกร เพื่อให้สามารถจัดการต่อความแปรปรวนทางธรรมชาติได้ดีขึ้น อีกแนวทางหนึ่งคือ การรู้เท่าทันความแปรปรวนที่จะเกิดขึ้น หรือการประเมินผลกระทบต่างๆที่จะเกิดกับผลผลิตของสินค้าเกษตร ซึ่งสามารถทำได้โดยผ่านการพยากรณ์ผลผลิต (Yield Prediction) ซึ่งหากสามารถพยากรณ์ผลผลิตทางการเกษตรล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำแล้วจะสามารถนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบาย รวมทั้งวางแผนจัดการตลอดโซ่อุปทานได้ล่วงหน้า และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 

 

 

 


 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน และ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน

1.    แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน ความหมายการผลิต             การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ อันได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน วัตถุดิบและผู้ประกอบการ ไปผ่านกระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีในการผลิต โดยใช้เครื่องจักร เครื่องมือและแรงงานในการผลิตสินค้าจากการใช้แรงงานจนถึงเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยการผลิตในงานอุตสาหกรรมสามารถแปรเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ อาหาร อาหารกระป๋อง วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเรือน ยารักษาโรค เหล็กแผ่น และเหล็กเส้น เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการสำเร็จรูปเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค (บุญธรรม ภัทราจารุกุล, 2554)             ทฤษฎีต้นทุนการผลิตการที่ผู้ผลิตจะตัดสินใจทำการผลิตสินค้าหรือบริการเป็นจำนวนเท่าใดจากปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะได้รับกำไรสูงสุดหรือขาดทุนน้อยที่สุด ที่ผู้ผลิตจะต้องนำต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิตมาเปรียบเทียบกัน การศึกษาทฤษฎีต้นทุนการผลิต รายรับและกำไรจากการผลิต จึงเป็นการศึกษาทางด้านอุปทานของสินค้าหรือบริการซึ่งเป็นการพิจารณาทางด้านพฤติกรรมของผู้ผลิต เช่น เดียวกันกับทฤษฎีการผลิตซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางด้านทฤษฎีการผลิตเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์            ต้นทุนการผลิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดว่าสินค้าจะมีราคาถูกหรือแพง เพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิตทั้งวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ดังนั้นการลดต้นทุนการผลิตจึงสำคัญอย่างมากในการทำให้สินค้ามีต้นทุนที่ต่ำลงหรือกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด            ต้นทุนการผลิต (Cost of Production) เป็นต้นทุนทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การวางแผนการนำวัตถุดิบมาเปลี่ยนสภาพตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการผลิตจนกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นบรรจุหีบห่อที่สวยงามพร้อมที่จะนำออกจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจได้ ซึ่งจะวัดมูลค่าต้นทุนจากค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิตที่เกิดขึ้นทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่งในการผลิตผลิตภัณฑ์ของกิจการอุตสาหกรรม การผลิตอาจจะนำเอาวัตถุดิบมาประกอบหรือแปรสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยการใช้แรงงานและมีค่าใช้จ่ายการผลิตอื่น ๆ เกิดขึ้นด้วย ได้แก่ ค่าวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร ค่าเสื่อมราคา-อาคารโรงงานและค่าวัสดุโรงงาน เป็นต้น (เยาวพา  ณ นคร)   ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน             ต้นทุนมีความหมายสำหรับฝ่ายบริหารเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตหรือการซื้อสินค้า การกำหนดราคา การยกเลิกผลิตภัณฑ์ การเลือกกรรมวิธีการผลิต และประเภทสินค้า ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าจะต้องแสดงต้นทุนอย่างละเอียด จะช่วยผู้บริหาร           ให้สามารถวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิสูงสุด (เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์, 2554)แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ความหมายของต้นทุนการจำแนกประเภทต้นทุนตามพฤติกรรมต้นทุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้               ต้นทุน (Cost) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการ โดยมูลค่านั้นจะต้องสามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตรา ซึ่งเป็นลักษณะของการลดลงในสินทรัพย์หรือเพิ่มขึ้นในหนี้สิน ต้นทุนที่เกิดขึ้นอาจจะให้ประโยชน์ในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ได้ เมื่อต้นทุนใดที่เกิดขึ้นแล้วและกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปทั้งสิ้นแล้ว ต้นทุนนั้นก็จะถือเป็น ค่าใช้จ่าย (Expense) ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจึงหมายถึง ต้นทุนที่ได้ให้ประโยชน์และกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปแล้วในขณะนั้นและสำหรับต้นทุนที่กิจการสูญเสียไป แต่จะให้ประโยชน์แก่กิจการในอนาคตเรียกว่า สินทรัพย์ (Asset)  (สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, 2551)            ต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำต้นทุนไปใช้ของฝ่ายบริการ ต้นทุนมีความหมายกว้างและครอบคลุมไปถึงการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ  และมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้ความหมายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของ องค์กรธุรกิจและวัตถุประสงค์ของการใช้ต้นทุน ซึ่งในแต่ละลักษณะต่างก็มุ่งที่จะช่วยผู้บริหารให้ทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกประเภทต้นทุนตามวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลไปใช้ได้หลายประการ             การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน (Cost Behavior) มีลัก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

คุณประโยชน์ใบชา

คุณประโยชน์ใบชา (สถาบันชา, 2555)             องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่มีอยู่ในใบชา ได้แก่ สารกลุ่มคาเทชิน เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญของใบชา ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ผลิตจากใบชา จึงประกอบด้วย สารสำคัญที่มีคุณประโยชน์ เช่นเดียวกัน คุณประโยชน์ของเมี่ยงหมักสามารถจำแนกตามฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้ดังต่อไปนี้  1. ชากับการต้านอนุมูลอิสระ             ชา ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ประเภท ฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า คาเทชิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง  โรคหัวใจ  และ ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้ 2. ชากับโรคมะเร็ง             การดื่มน้ำชาเป็นประจำสามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งเต้านม สารคาเทชิน (Catechins) ในชามีผลยับยั้งมะเร็ง ด้วยกลไกที่หลากหลาย คาเทชินที่ ออกฤทธิ์ต้านมะเร็งที่สำคัญคือ Epigallocatechin gallate (EGCG) 3. ชากับโรคหัวใจ             คาเทชิน (Catechins)  ช่วยลดการเกร็งของเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอนในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด อัมพฤษ์ และ อัมพาฒจากเส้นเลือดตีบตัน นอกจากนี้ Epigallocatechin gallate (EGCG) ยังช่วยลด                       การเกิดออกซิเดชันของโคเลสเตอรอล ลดการสะสม และ การสร้างตะกอนในเส้นเลือดจากโคเลสเตอรอล ลดการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน และ ลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 4. ชากับโรคเบาหวาน           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยแป้ง คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ทั้งในน้ำลายและลำไส้  ทำให้แป้งถูกย่อยได้ช้าลง ช่วยให้การเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ นอกจากนั้น ชาเขียวยังลดการดูดซึมของกลูโคสที่ลำไส้ 5. ชากับสุขภาพช่องปาก           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากซึ่งมีทั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องปาก Porphyromonas gingivilis และ แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ Stretococcus mutans คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย ทำให้มีปริมาณกลูโคส และ มอลโตสน้อยลง ซึ่งเป็นผลลดปริมาณอาหารของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้ คาเทชินยังช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ป้องกันฟันผุ 6. ชากับโรคอุจจาระร่วง             Polyphenols มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย โดย Polyphenols สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย การดื่มชา สามารถใช้รักษาโรคอุจจาระร่วงได้ และ สามารถฆ่าสปอร์ของ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ และ สามารถฆ่าแบคทีเรียที่ทนความร้อน เช่น Bacillus subtilis, B. cereus, Vibrio parahaemolyticus และ Clostridium perfringens 7. ชากับโรคอ้วน             ชา ประกอบด้วยสารสำคัญ เรียกว่า โพลิฟีนอล (Polyphenols) ที่มีความสามารถยับยั้งเอนไซม์ Catechol-O-methyl transferase จึงช่วยกระตุ้นการสร้างความร้อนของร่างกาย มีส่วนช่วยเผาผลาญพลังงาน และ ช่วยจัดการกับโรคอ้วน ทั้งยังมีคุณสมบัติในการชะลอการปล่อยกลูโคส (Glucose) สู่กระแสเลือด ทำให้ชะลอการสร้างอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้ร่างกายสะสมไขมัน ดังนั้น ร่างกายจึงเผาผลาญไขมันแทนที่จะสะสมไขมัน 8. ชากับการผ่อนคลายของระบบประสาท
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (ต่อ 4)

6. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบชาเมี่ยง 6.1) การผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง คณะผู้วิจัยทำการออกแบบผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง 4 ชนิด ได้แก่ 1)    แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วง สูตร 1 ชาเมี่ยง (ภาพที่ 64)        การปรับสูตรโดยการคัดเลือกวัตถุดิบชนิดต่างๆ ได้แก่ สารชำระล้าง สารเพิ่มความหนืด สารเพิ่มความคงตัวของสูตร สารปรับสภาพผมไม่ให้แห้งหลังสระและสารเพิ่มความนุ่มลื่นของเส้นผม เป็นต้น นอกจากนั้นยังพัฒนาสูตรน้ำหอมจากการผสมน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือและน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลไม้จนได้กลิ่นที่เหมาะสมและได้สูตรที่มีความคงตัวดีโดยมีส่วนผสมธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปแชมพู ชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้   1)    ส่วนผสมธรรมชาติ         ผงมุก ลาโนลีน น้ำผึ้ง น้ำมันงาสกัดเย็น มะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดหลินจือ สารสกัดหนานเฉาเหว่ย สารสกัดใบขี้เหล็ก สารสกัดอินทนิลน้ำ ใบหมี่ เกลือแกง สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ สำหรับใช้เป็นสารกันเสีย และน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติจากดอกไม้กลิ่นตามความชอบ    2)    ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปแชมพู         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบเมี่ยงสดที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0 ครีมนวดผมชาเมี่ยง        สำหรับส่วนผสมธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้ 1)    สารสกัดสมุนไพร         สารสกัดว่านหางจระเข้ สารสกัดมะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดอัญชัน สารสกัดอินทนิลน้ำ      2)    สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ         มะขามป้อม มะคำดีควาย ส้มป่อย บอระเพ็ด หนานเฉาเหว่ย หลินจือ ในปริมาณที่เหมาะสม 3)    สารอื่นๆ          Wax AB น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ผงมุก      ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยง         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบชาเมี่ยงที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0  4)    ผลการสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2      การสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผลการสำรวจ แบ่งออกเป็น 6  ส่วน ดังนี้     ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2     ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจในคุณสมบัติของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 3 ผลหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 5 การตัดสินใจหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 6 ข้อเสนอแนะสำหรับผลิตภัณฑ์ ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวด สมุนไพร สูตร 2   ตารางที่ 33  เพศของผู้ทดลองใช้
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ             สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

องค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก

          ใบชาเมี่ยง (Camellia sinensis var. assamica) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์เมี่ยง มีสารในกลุ่มของ Flavonoids และ polyphenols อื่นๆเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะสารในกลุ่มที่ เรียกว่า คาเทชิน (flavanols) ซึ่งพบว่า มีอยู่ในใบเมี่ยงสดเป็นจำนวนมาก (Engelhardt, 2010) โดยมีปริมาณถึง 60-70 % ของปริมาณโพลิฟีนอลทั้งหมด (Higdon & Frei, 2003) สารกลุ่มคาเทชินที่มีมากในใบเมี่ยงสด คือ (-)-epigallocatechin gallate (EGCG), (-)-epigallocatechin (EGC), (-)-epicatechin gallate (ECG) and (-)-epicatechin (EC) (ภาพ 4) (Wang et al., 2000) ปริมาณขององค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของใบเมี่ยงสด ผลิตภัณฑ์เมี่ยง รวมถึงของเสียที่ได้ระหว่างกระบวนการผลิตเมี่ยง (น้ำนึ่งเมี่ยง และ น้ำหมักเมี่ยง) แสดงเป็น ปริมาณโพลิฟีนอลทั้งหมด ดังตาราง 1
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

องค์ประกอบทางเคมีของใบชาสด

    ชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่มาจาก 2 สายพันธ์ุ คือ Camellia sinensis var. sinensis (ชาจีน, Chinese tea) และ Camellia sinensis var. assamica (ชาเมี่ยง หรือ ชาเมี่ยง, Assam tea) การเก็บใบชาสดที่มีคุณภาพเพื่อนำมาเข้ากระบวนการผลิตจะใช้แรงงานคนในการเก็บ โดยเลือกเก็บเฉพาะยอดชาที่ตูมและใบที่ต่ำจากยอดตูมลงมา 2-3 ใบ (1 ยอด 2-3 ใบ) โดยทั่วไป      ยอดใบชาสด ประกอบด้วย ความชื้นประมาณ 75-80 % โดยน้ำหนัก ส่วนที่เหลือ (20-25 %) เป็นของแข็งทั้งหมด      ของแข็งทั้งหมด ประกอบด้วย ส่วนที่ไม่ละลายน้ำ (insoluble matter) และส่วนที่ละลายน้ำ (soluble matter) องค์ประกอบทางเคมีของส่วนที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ได้แก่     องค์ประกอบสำคัญในส่วนที่ละลายน้ำ คือ โพลิฟีนอล (polyphenols) มีอยู่ประมาณ 10-25 % โดยน้ำหนักแห้ง (Haslam, 2003) โพลิฟีนอล เป็นองค์ประกอบในใบชาสด ประกอบด้วย กลุ่มของสารประกอบ 6 กลุ่ม คือ flavanols, hydroxy-4-flavonols, anthocyanins, flavones, flavonols และ phenolic acids โดยฟลาวานอล (flavanols) เป็นองค์ประกอบที่พบมากที่สุด (60-80 % ของโพลิฟีนอล) เรียกว่า คาเทชิน (catechins) คาเทชินที่พบมากในชา ได้แก่ (-)-Epigallocatechin-3-gallate (EGCG), (-)-Epigallocatechin (EGC), (-)-Epicatechin-3-gallate (ECG) และ (-)-Epicatechin (EC) คาเทชินเหล่านี้มีอยู่ประมาณ 90 % ของ คาเทชินทั้งหมดและกลุ่มของคาเทชินที่พบในปริมาณน้อย ได้แก่ (+)-Gallocatechin (GC), (+)-Catechin (C) และคาเทชินอื่นๆ เช่น (-)-Gallocatechin gallate (GCG) และ (-)-Catechin gallate (CG) (Zhen et. al., 2002) หน้าที่หลักของสารประกอบฟลาโวนอยด์ในใบชา (Major functions of tea flavonoids)    1. Antioxidant activity      สารประกอบฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) โดยทำหน้าที่เป็นตัวขัดขวางหรือหยุดปฏิกิริยาต่อเนื่องของอนุมูลอิสระ (free radical chain terminator) ตัวจับออกซิเจน (oxygen scavenger) หรือเป็น chelating agent ของโลหะ เป็นต้น กลไกการทำงานของสารต้านออกซิเดชัน (Antioxidant)      จะทำหน้าที่เป็นสารรีดิวซ์ (reducing agent) ถ่ายเทไฮโดรเจนอะตอมออกจากโมเลกุลและให้กับออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาได้ ถ้าเป็นในอาหารออกซิเจนจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่างๆของอาหาร เช่น สี กลิ่นและคุณค่าทางอาหาร เป็นต้น แต่ถ้าเป็นในร่างกายจะทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (free radicals) ในร่างกาย ส่งผลให้เนื้อเยื่อหรือเซลล์ต่างๆ ในร่างกายถูกทำลาย ยิ่งปริมาณอนุมูลอิสระสูงมากเพียงใดก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ รอยเหี่ยวย่นและความแก่ จากการศึกษาพบว่าระดับความเครียดจะส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระกับออกซิเจนสูงขึ้น นอกจากนั้นอายุยิ่งมากขึ้นการสะสมของอนุมูลอิสระก็จะสูงเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นการรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) จะสามารถช่วยปกป้องจากการท้าลายของอนุมูลอิสระได้     จากการศึกษา พบว่าสารประกอบฟลาโวนอยด์ในใบชามีศักยภาพในการเป็นสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) และเป็นตัวจับอนุมูลอิสระ (free radical scavenging) ได้สูงกว่าวิตามินซี (vitamin C หรือ ascorbic acid) และวิตามินอี (vitamin E หรือ tocopherol) เพื่อป้องกันการเสื่อมของเซลล์จากอนุมูลอิสระ (Vison et. al.1995) การที่สารที่มีอยู่ในธรรมชาติสามารถแสดงสมบัติการเป็นสารต้านออกซิเดชันได้นั้นจะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการให้ไฮโดรเจนอิออน (H+) ของหมู่ไฮดรอกซิล (OH) ในสารประกอบฟีนอล ความสามารถในการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารต้านการเกิดออกซิเดชัน (antioxidant activity; AOA) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและจำนวนของหมู่ไฮดรอกซิล รวมทั้งโครงสร้างอื่นๆ ในโมเลกุลด้วย     สารประกอบฟีนอลที่มีหมู่แทนที่เป็นหมู่ให้อิเล็คตรอน (electron donating group) เช่น หมู่ไฮดรอกซิล (-OH) หมู่เมธอกซิล (-OCH3) หมู่เมธิล (-CH3) หมู่เอธิล (-C2H5) หรือ หมู่ t-butyl (-C(CH3)3) อยู่ที่ตำแหน่งออร์โท (ortho) หรือพารา (para) จะเพิ่ม ค่า AOA สารต้านออกซิเดชัน (antioxidants) กลุ่มที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ ได้แก่ กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ฟลาโวนอยด์ในพืชเป็นสารอินทรีย์ประเภทโพลีฟีนอล (polyphenol) มีโครงสร้างเป็นไดฟีนิลโพรเพน (diphenylpropane) มีการจัดเรียงตัวเป็นแบบ C6-C3-C6 ฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่มีสมบัติในการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่มีในอาหารประเภทไขมันและไขมัน โครงสร้างของสารในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน และ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน

1.    แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน ความหมายการผลิต             การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ อันได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน วัตถุดิบและผู้ประกอบการ ไปผ่านกระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีในการผลิต โดยใช้เครื่องจักร เครื่องมือและแรงงานในการผลิตสินค้าจากการใช้แรงงานจนถึงเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยการผลิตในงานอุตสาหกรรมสามารถแปรเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ อาหาร อาหารกระป๋อง วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเรือน ยารักษาโรค เหล็กแผ่น และเหล็กเส้น เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการสำเร็จรูปเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค (บุญธรรม ภัทราจารุกุล, 2554)             ทฤษฎีต้นทุนการผลิตการที่ผู้ผลิตจะตัดสินใจทำการผลิตสินค้าหรือบริการเป็นจำนวนเท่าใดจากปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะได้รับกำไรสูงสุดหรือขาดทุนน้อยที่สุด ที่ผู้ผลิตจะต้องนำต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิตมาเปรียบเทียบกัน การศึกษาทฤษฎีต้นทุนการผลิต รายรับและกำไรจากการผลิต จึงเป็นการศึกษาทางด้านอุปทานของสินค้าหรือบริการซึ่งเป็นการพิจารณาทางด้านพฤติกรรมของผู้ผลิต เช่น เดียวกันกับทฤษฎีการผลิตซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางด้านทฤษฎีการผลิตเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์            ต้นทุนการผลิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดว่าสินค้าจะมีราคาถูกหรือแพง เพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิตทั้งวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ดังนั้นการลดต้นทุนการผลิตจึงสำคัญอย่างมากในการทำให้สินค้ามีต้นทุนที่ต่ำลงหรือกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด            ต้นทุนการผลิต (Cost of Production) เป็นต้นทุนทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การวางแผนการนำวัตถุดิบมาเปลี่ยนสภาพตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการผลิตจนกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นบรรจุหีบห่อที่สวยงามพร้อมที่จะนำออกจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจได้ ซึ่งจะวัดมูลค่าต้นทุนจากค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิตที่เกิดขึ้นทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่งในการผลิตผลิตภัณฑ์ของกิจการอุตสาหกรรม การผลิตอาจจะนำเอาวัตถุดิบมาประกอบหรือแปรสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยการใช้แรงงานและมีค่าใช้จ่ายการผลิตอื่น ๆ เกิดขึ้นด้วย ได้แก่ ค่าวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร ค่าเสื่อมราคา-อาคารโรงงานและค่าวัสดุโรงงาน เป็นต้น (เยาวพา  ณ นคร)   ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน             ต้นทุนมีความหมายสำหรับฝ่ายบริหารเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตหรือการซื้อสินค้า การกำหนดราคา การยกเลิกผลิตภัณฑ์ การเลือกกรรมวิธีการผลิต และประเภทสินค้า ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าจะต้องแสดงต้นทุนอย่างละเอียด จะช่วยผู้บริหาร           ให้สามารถวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิสูงสุด (เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์, 2554)แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ความหมายของต้นทุนการจำแนกประเภทต้นทุนตามพฤติกรรมต้นทุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้               ต้นทุน (Cost) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการ โดยมูลค่านั้นจะต้องสามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตรา ซึ่งเป็นลักษณะของการลดลงในสินทรัพย์หรือเพิ่มขึ้นในหนี้สิน ต้นทุนที่เกิดขึ้นอาจจะให้ประโยชน์ในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ได้ เมื่อต้นทุนใดที่เกิดขึ้นแล้วและกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปทั้งสิ้นแล้ว ต้นทุนนั้นก็จะถือเป็น ค่าใช้จ่าย (Expense) ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจึงหมายถึง ต้นทุนที่ได้ให้ประโยชน์และกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปแล้วในขณะนั้นและสำหรับต้นทุนที่กิจการสูญเสียไป แต่จะให้ประโยชน์แก่กิจการในอนาคตเรียกว่า สินทรัพย์ (Asset)  (สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, 2551)            ต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำต้นทุนไปใช้ของฝ่ายบริการ ต้นทุนมีความหมายกว้างและครอบคลุมไปถึงการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ  และมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้ความหมายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของ องค์กรธุรกิจและวัตถุประสงค์ของการใช้ต้นทุน ซึ่งในแต่ละลักษณะต่างก็มุ่งที่จะช่วยผู้บริหารให้ทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกประเภทต้นทุนตามวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลไปใช้ได้หลายประการ             การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน (Cost Behavior) มีลัก
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา

    การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา มักแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิต (biotic factors) ซึ่งได้แก่ มนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมพืช และปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic factors) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากนั้นปัจจัยแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายประการดังนี้    1. ปัจจัยที่เกี่ยวกับดิน (edaphic factors) ดินเป็นเทหวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติปกคลุมผิวโลกอยู่บาง ๆ เกิดจากการแปรสภาพหรือผุสลายของหิน แร่ และอินทรีย์วัตถุ ผสมคลุกเคล้ากัน(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536) ดินเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวของพืชส่วนใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงมักถือเป็นสิ่งวัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งต่าง ๆ ได้ นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ความชื้นของดินก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพืชในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฤดูแล้งเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นจุดวิกฤติสำหรับการรอดตายของพืช (Sakurai et al., 1991) สอดคล้องกับรายงานของ Marod et al. (2002) ที่พบว่ากล้าไม้สำคัญในป่าผสมผลัดใบส่วนใหญ่มีอัตราการรอดตายลดต่ำลงมากเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งโดยทั่วไปพรรณไม้ส่วนใหญ่มีการพักตัวในฤดูแล้ง ซึ่งจะมีการผลัดใบและจัดสภาพทางสรีระวิทยาเพื่อการเจริญเติบโตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อย่างไรก็ตามการออกดอกออกผลของไม้ป่าหลายชนิดเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งทั้งนี้เพื่อการโปรยเมล็ดในจังหวะที่พอเหมาะกับการมีความชื้นที่ผิวดินเพื่อการงอกและเจริญเติบโตของกล้าไม้(Marod et al., 2002) ปริมาณน้ำในดินยังเป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดรากพืชตามธรรมชาติ (Donahue et al., 1971) นอกจากนั้นความชื้นในดินยังเป็นตัวควบคุมชนิดและการกระจายของพันธุ์พืช (อมลรัตน์, 2544)และยังจำเป็นต่อกระบวนการต่าง ๆ ของพืช กล่าวคือ น้ำ เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้เซลล์เต่ง และเป็นตัวกลางในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร อีกทั้งยังเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิภายในเซลล์พืช(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536)    2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ (topographic factor) สภาพภูมิประเทศนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทางอ้อมต่อสังคมพืช โดยเฉพาะมีผลต่อความแปรผันของปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ดิน และพลังงานที่ได้รับ การกระจายของสังคมพืชและพรรณพืชบางชนิดสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่กับภูมิประเทศ ในขณะที่ อุทิศ (2542) ได้อธิบายลักษณะภูมิประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ดังนี้         2.1 ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล (altitude) สภาพภูมิอากาศบางพื้นที่มีความผันแปรอย่างใกล้ชิดกับระดับความสูง ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศในระดับต่ำของโลกคือในชั้น troposphere มีอุณหภูมิลดลงตามความสูง โดยในสภาพอากาศที่แห้งอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 1 องศาเซลเซียส ต่อ 100 เมตร นอกจากนั้นอิทธิพลของความสูงที่มีผลต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายและการเจริญเติบโตของพรรณพืชโดยตรง แสดงให้เห็นทั้งในระดับกว้างและระดับแคบเฉพาะท้องถิ่น ในระดับกว้างแสดงให้เห็นได้ชัดจากการกระจายของสังคมพืชต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะการเรียงตัวของป่าชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนในระดับแคบแสดงให้เห็นการจากกระจายของสังคมพืชชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนถึงยอดเขาซึ่งมีความแตกต่างกัน (สคาร และ พงษ์ศักดิ์, 2546)            2.2 ความลาดชัน (slope) ความลาดเอียงของพื้นที่ มีผลโดยตรงต่อสังคมพืชน้อย แต่มีผลต่อปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและโอกาสของการปรากฏของไม้แต่ละชนิด และต่อโครงสร้างสังคมพืชส่วนรวม ระบบการระบายน้ำทั้งในผิวดินและส่วนลึกของดินขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ น้ำที่ไหลตามผิวดินมีความเร็วสูงเมื่อมีความลาดชันสูง ฉะนั้นโอกาสการซึมลงส่วนลึกของดินมีน้อย ในที่ลาดชันมากความชื้นค่อนข้างต่ำ ดินตื้นเนื่องจากการกัดชะของน้ำผิวดิน สังคมพืชคลุมดินจึงเป็นสังคมที่ต้องปรับตัวกับความแห้งแล้งได้ดี การจำแนกความลาดชันของพื้นที่ทางด้านป่าไม้นิยมแบ่งเป็นสี่ระดับคือ  1)  ระดับความลาดชันน้อย 5 – 10 องศา  2)  ความลาดชันปานกลาง 11 – 20 องศา  3)  ความลาดชันมาก 21 – 30 องศา และ  4)  ที่ลาดชันมาก ๆ 31 – 45 องศา (นิพนธ์, 2545)            2.3 ทิศด้านลาด (aspect) มีผลต่อการได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ปริมาณฝนที่ตกและลมที่พัดเอาความแห้งแล้งเข้ามาในพื้นที่ โดยปกติทิศด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกย่อมได้รับพลังงานมากกว่าทางทิศเหนือและทิศใต้ แต่เนื่องจากแกนโลกเอียงฉะนั้นในทางซีกโลกเหนือด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะได้รับพลังงานสูงสุด ในขณะที่ด้านที่หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับพลังงานน้อยที่สุด ในประเทศไทยทิศด้านลาดของภูเขามีผลอย่างยิ่งต่อการได้รับปริมาณน้ำฝน ซึ่งจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (ต่อ1)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มตัวอย่างแบ่งตามรายจังหวัด

อัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มตัวอย่างแบ่งตามรายจังหวัด   ตารางที่ 55 แสดงอัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มตัวอย่างจังหวัดแพร่ (กลุ่มตัวอย่างที่ 1-3)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคม

ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษาบ้านไม้ฮุง ตําบลปางมะผ้า อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมี 53.1 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนเพศชายมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 40.6 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 34.4 และอายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 25.0      ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3       อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0     รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ รายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 และรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 96.3 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 และย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ตารางที่ 23