ความสัมพันธ์ของสมบัติดินทางฟิสิกส์และทางเคมีในสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ (ต่อ1)

ภาพที่ 31 ความแข็งดินและ Exch. Mg ดินชั้นบนบ้านเหล่า ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 32 ความแข็งดินและ Sand ดินชั้นบนบ้านเหล่า ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 33 ความแข็งดินและ Silt ดินชั้นบนบ้านเหล่า ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 34 ความแข็งดินและ Clay ดินชั้นบนบ้านเหล่า ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 35 ความแข็งดินและ pH ดินชั้นล่างบ้านเหล่า ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 36 ความแข็งดินและ CEC ดินชั้นล่างบ้านเหล่า ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 37 ความแข็งดินและ OM ดินชั้นล่างบ้านเหล่า ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของสมบัติดินทางฟิสิกส์และทางเคมีในสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

-บ้านเหล่า (BL) ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 23 ถึง ภาพที่ 44) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 30 ถึง ภาพที่ 40) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านแม่ลัว (ML) ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ (ต่อ1)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (ต่อ1)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ1)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความสำคัญของปัญหา

      ป่าเมี่ยง เป็นระบบวนเกษตร ที่มีการทำการเกษตรภายใต้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการรักษาต้นไม้ การทำแนวกันไฟ การไม่ใช้สารเคมีในการจัดการ ซึ่ง Preechapanya (1996) ได้ทำการสำรวจตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ป่าเมี่ยง ลุ่มน้ำแม่ตอนหลวง พบว่าป่าเมี่ยง ประกอบด้วยความหลายหลายทางชีวมากกมาย จากนั้นพรชัย และพงษ์ศักดิ์ (2542) กล่าวว่าป่าเมี่ยงมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีตจันถึงปัจจุบัน เป็นการระบบวนเกตรดั้งเดิมที่เก่าแก่ ที่บรรพบุรุษของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือเรียนรู้จากธรรมชาติ และนำมาปฏิบัติมาช้านานเป็นระบบเพาะปลูกที่ผสมผสานระหว่างป่าไม้ เกษตร และเลี้ยงสัตว์ ที่มุ่งการผลิตอาหาร สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต และรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตสินค้า หมู่บ้านป่าเมี่ยงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายรอบป่าใหญ่ ประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านเหล่านี้ทำหน้าที่ผู้รักษาปกปักรักษาผืนป่า เป็นบ้านเล็กในป่าใหญ่ เป็นตัวอย่างของคนกับป่าที่อยู่กันได้เกื้อกูลซึ่งกันและกันประชาชนเหล่านี้ประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจเลี้ยงตนเอง ควบคู่ไปกับรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ป่าเมี่ยงเป็นพื้นที่ป่ากันชนที่ปกป้องป่าดิบเขาที่ควรศึกษาเรียนรู้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแบบอย่างของภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวกับระบบวนเกษตร เพื่อการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กในเขตภูเขา หมู่บ้านป่าเมี่ยง ตั้งอยู่กระจายล้อมรอบบริเวณเทือกเขาผีปันน้ำบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นเขตกันชนระหว่างพื้นที่เกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี ป้องกันการบุกรุกของคนที่ใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหนึ่งบุกรุกเขาไปทำประโยชน์ที่ดินข้างเคียงตัวอย่าง เช่น เป็นพื้นที่ป้องกันชาวไร่ที่ทำไร่เลื่อนลอยบุกรุกเข้าไปทำลายป่าธรรมชาติ หรือเป็นเขตที่ป้องกันภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ จากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งอาทิ เช่น เป็นแนวป้องกันไฟป่า ความรุนแรงของลมกระแสน้ำในลำธาร การซะล้างพังทลายของหน้าดิน การขยายตัวของความแห้งแล้ง เป็นต้น ในปัจจุบันบางส่วนกลายเป็นอุทยานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา เป็นต้น เป็นแหล่งต้นนำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำปิงตอนบน บริเวณที่ผ่านอำเภอเชียงดาว แม่น้ำแม่งัด กวง ลาว อิง วัง และยม เมี่ยงยังเป็นพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญ และทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ในปัจจุบันสวนเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ค่อยๆ เริ่มหายออกไปจากพื้นที่ที่เคยเป็นสวนเมี่ยงมาก่อน เพราะราคาเมี่ยงในปัจจุบันมีราคาที่ต่ำ เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการบริโภค อีกทั้งยังขาดแคลนแรงงาน และมีพืชเกษตรชนิดอื่นเข้ามาแล้วมีราคาสูงกว่า เช่น กาแฟ ยางพารา เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงสนใจที่จะทำการศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชในเมี่ยง คุณสมบัติดิน เพื่อที่จะเป็นแนวทางการฟื้นฟู และอนุรักษ์สวนเมี่ยงให้คงอยู่ต่อไป      Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในช่องปากโดยเฉพาะที่ผิวฟันและเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดฟันผุโดยเฉพาะในเด็กเพราะเชื้อสามารถสร้าง extracellular polysaccharide (EPS) ได้ทั้งแบบละลายน้ำ (soluble) และไม่ละลายน้ำ (insoluble) จากการใช้น้ำตาล sucrose ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ (plaque formation) หรือ biofilm ที่ผิวฟัน นอกจากนี้ S. mutans สามารถสร้างกรดจากการใช้น้ำตาลและทนกรดได้ดีจึงทำให้สามารถอยู่รอดในสภาวะที่มีค่า pH ต่ำ กรดที่เชื้อสร้างขึ้นภายในช่องปากจะไปสลายผิวฟันเป็นผลทำให้เกิดฟันผุตามมา (Loesche, 2007)         การป้องกันการเกิดฟันผุสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้น้ำตาลเทียมทดแทนน้ำตาล sucrose การใช้ fluoride การใช้ sealants เคลือบหลุมร่องฟัน การใช้สารป้องกันการก่อคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากที่มี chlorhexidine เป็นส่วนประกอบ แต่ในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุนั้นต้องใช้ต้นทุนสูงและเชื้อก่อโรคในช่องปากหลายชนิดมีความสามารถในการดื้อยาเพิ่มขึ้นและยาปฎิชีวนะหลายชนิดเริ่มใช้ไม่ได้ผล เช่น penicillin, erythromycin, tetracycline, cephalosporins และ metronidazole (Bidault et. al., 2007) อีกทั้งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการอาเจียน ท้องเสียและมีคราบสีเกิดขึ้นที่ฟัน หลายประเทศจึงต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคในช่องปากที่มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง มีประสิทธิภาพในการรักษาและราคาถูก (Palombo, 201
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการวิจัย

ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา             ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน พื้นที่ในการทำสนเมี่ยง ความสูงจากระดับน้ำทะเล ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้             ผู้ให้ข้อมูลจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง    อายุ ผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 61 ปีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 คนต่อครัวเรือน              พื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง โดยเฉลี่ยของแต่ละหมู่บ้าน ณบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ  13.20 ไร่/ครัวเรือน รองลงคือบ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เท่ากับ  4.60 ไร่/ครัวเรือน บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง 4.24 ไร่/ครัวเรือน และมีพื้นที่น้อยที่สุด เท่ากับ 2.2 ไร่/ครัวเรือน ที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางของสวนเมี่ยงมีค่าเฉลี่ย ระหว่าง 819-1,028 เมตร และบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านมีความสูง 379 เมตร ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะมีภูมิลำเนาในหมู่บ้านที่ทำสวนเมี่ยง ระยะเวลาในการทำสวนเมี่ยง ทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนมีระยะเวลาในการทำมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป (ตารางที่ 2)   ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อภิปรายผล

อภิปรายผล                 ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ อาจไม่สามารถนำไปเป็นต้นแบบของการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่เป็นหลักสำคัญของชาติ และอาจไม่ใช่แม่บทสำหรับการบริหารห่วงโซ่อุปทานที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับสินค้าชนิดอื่นได้ เนื่องจากชาเมี่ยง เป็นผลผลิตทางการเกษตรเชิงวัฒนธรรม ในพื้นที่สูงเข้าถึงได้ยากซึ่งไม่ได้มีพื้นที่ในลักษณะนี้มากนักในประเทศไทย ผืนป่าชาเมี่ยงแต่ละแห่งเป็นการรับสืบทอดมรดกจากบรรพบุรุษกันมามากกว่า 3 รุ่น หรือมากกว่า 200 ปี ป่าชาเมี่ยงมักมีลักษณะที่เป็นวนเกษตรที่สมดุล และเป็นระบบที่รักษาสภาพแวดล้อมปกป้องผืนป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำและทรัพยากรที่มีคุณค่า  ป่าชาเมี่ยงเป็นพื้นที่กันชน ป้องกันแหล่งต้นน้ำ ป้องกันการบุกรุกของกลุ่มคนที่เข้าไปยึดครองใช้ประโยชน์ภายในเขตป่า และยังป้องกันภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ  สภาพป่าชาเมี่ยงเป็นโครงสร้างที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ พบพืชพันธุ์ พืชอาหารและสัตว์อื่นอีกมากมาย               การพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เกิดจากการออกแบบกระบวนการใหม่กับพันธมิตรธุรกิจ การบริการรูปแบบใหม่ หรือ การร่วมมือกันเพื่อเกิดโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ แต่ในประเด็นของความยั่งยืนของการผลิตชาเมี่ยงอาจมีความแตกต่างออกไปเนื่องจากควรมุ่งเน้นให้เกิดการจัดการวัฒนธรรมดั่งเดิมที่ทำให้ชุมชนยังคงอยู่ ฉนั้นหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการที่จะเข้ามาพัฒนา อาจจำเป็นต้องวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานส่วนขยาย (Extended Supply Chain) โดยมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าของลูกค้า เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม อาจเป็นลักษณะการหาผู้ร่วมทุนทำโครงการ โดยนำแนวคิด Farmer Equity มาปรับใช้ เพื่อรักษาผืนแผ่นดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์ทรัพย์ยากรน้ำ และพลังงาน การจ่ายค่าตอบแทนที่สูงกว่าการขายให้กับ สหกรณ์หรือพ่อค้าคนกลาง การสร้างความโปร่งใสให้เกิดการรับจ่ายเงินจนถึงเกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อสร้างความมั่นใจในตลาดให้กับเกษตรกร นอกจากนั้นควรมีการดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน รวมถึงการให้ทุนการศึกษาแก่บุตรหลานของคนในพื้นที่ เพื่อให้คนรุ่นหลังตระหนักถึงการอนุรักษ์และควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์และเรียนรู้วัฒนธรรมในพื้นที่ร่วมกัน   ข้อเสนอแนะ                       หน่วยงานรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนช่วยในการสร้างเครือข่ายเกษตรกรในแต่ละชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม อาจเริ่มจากการพัฒนาวิสาหกิจที่มีอยู่เดิมของชุมชน ให้มีความเข้มแข็งจากกลไกเศรษฐกิจฐานราก โดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ทุนนิยม แต่คำนึกถึงสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชุมชนเป็นหลัก มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจผลิตแบบพึ่งตนเอง การสร้างกองทุนในชุมชน จนเชื่อมเป็นเครือข่ายการผลิตชาเมี่ยงระหว่างจังหวัด แบบพหุภาคี สู่การพัฒนาเครือข่ายผลผลิตทางการเกษตรเชิงวัฒนธรรมที่มั่นคง ตามความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป                     ออกแบบเครื่องมือดัชนีชี้วัดความสุขของคนในชุมชน เปรียบเทียบกับผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ ศึกษาความต้องการของชุมชนอย่างลึกซึ่งก่อนการพัฒนาในเชิงเศรษฐศาสตร์ สร้างวิธีการให้เกิดการจัดการอย่างสร้างสรรค์โดยชุมชน ให้มีการจัดการทุนธรรมชาติ ทุนทรัพยากร ทุนที่เป็นผลผลิตที่เกิดจากชาเมี่ยง ทุนทางภูมิปัญญาในการผลิตชาเมี่ยง รวมถึงทุนทางสังคมในชุมชน เพื่อเสริมสร้างพลังและชีวิตที่ดีให้กับชุมชน  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 4-27 เมตรขึ้นไป ลักษณะของการปกคลุมของเรือนยอดของไม้ใหญ่ที่โดดเด่นไม่ต่อเนื่องกัน ปรากฏเป็นเรือนยอดชั้นบนสุดซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ คอแลน มะแขว่น มะขม ยางพารา เก็ดดำ เป็นต้น เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร ลักษณะของไม้ในชั้นเรือนยอดนี้มีการปกคลุมของเรือนยอด ที่ไม่ต่อเนื่องกันหรือมีความต่อเนื่องกันเล็กน้อย พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ได้แก่ ชาเมี่ยง เป็นต้น ตารางที่ 16 ภาพที่ 29  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

            สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่