ประวัติการปลูกชา


    แหล่งกำเนิดชาตามธรรมชาติ มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิระวดี แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ ลักษณะคล้ายรูปพัด จากด้านทิศตะวันตก ระหว่างเทือกเขานากามานิปุริและลูไซ่ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัมและสหภาพพม่า ไปยังมณฑลซีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออกแล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของสหภาพพม่าตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนามโดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกกว้างถึง 1,500 ไมล์ หรือ 2,400 กิโลเมตร ระหว่างเส้นลองจิจูด 95 -120 องศาตะวันออก และจากทิศเหนือ จรดทิศใต้ ยาว 1,200 ไมล์หรือ 1,920 กิโลเมตร ระหว่างเส้นละติจูดที่ 29 -11 องศาเหนือ 


ประวัติการปลูกชาของโลก
     การดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาลตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่า จักรพรรดิเสินหนงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชา โดยบังเอซ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชาขณะรอคอยให้น้ำเดือดกิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชาสักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมาเมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่มชากันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้วพระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์ อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึง นักบวชชื่อธรรม ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียวได้เดินทางมาจาริกบุญ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีน ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ. 519 จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองนานกิง ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เกิดเผลอหลับไปทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะเพื่อเป็นการลงโทษตนเองมิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก ท่านธรรมจึงตัดหนังตาของตนทิ้งเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชาชาวจีนจึงเก็บชามาชงดื่มเพื่อรักษาโรค นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกว่าในสมัยหนึ่งได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดในเมืองจีนผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมากเกี้ยอุยซินแสพบว่าสาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนพากันดื่มน้ำสกปรกจึงแนะน่าให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่มและเพื่อให้ชาวบ้านเชื่อจึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ชาลงไปในน้ำต้มเกี้ยอุยซินแสดพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำ ตามซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง เรื่องชาถูกบันทึกไว้ในหนังสือจีนโบราณชื่อเอ๋อหยา (Er Ya : On Tea) โดยขุนนางในจักรพรรดิ Zhou โดยให้คำจำกัดความของคำว่าชาคือสมุนไพรรสขมชนิดหนึ่งจากบันทึกของมณฑลหัวหยางปัจจุบัน คือ มณฑลซิฉวน) ในช่วงการทำสงครามระหว่างกษัตริย์วู (Wu) ในราชวงศ์ Zhou กับจักรพรรพิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Shang (ในปี 1066 ก่อนคริสตกาล) ทหารจากมณฑลซู (Shu) ซึ่งมาร่วมรบได้น้ำชาและผึ้งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์ด้วยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ "คัมภีร์ชาของหลูอยู่ (Lu Yu)" โดยหลูอยู่เกิดในมณฑลเหอเป่อระหว่าง ค.ศ. 728 - 804 หลูอยู่มีความสนใจในเรื่องชามาก ได้เขียนตำราไว้ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 780 ชื่อว่า "ชาชิง" (Tea classic ซึ่งเป็นตำราที่ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง 10 บท ถือว่าเป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก โดยเนื้อหาในหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของการดื่มชาเครื่องมือการผลิตชา อุปกรณ์การชงชา การชงชาที่ถูกวิธี วิธีการดื่มชา ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชา แหล่งกำเนิดของชา การแบ่งคุณภาพของชาและธรรมเนียมการชงชา สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 618 - 1260) การดื่มชาเป็นที่นิยมมาก มีร้านน้ำชาอยู่ทุกหนทุกแห่งในแต่ละมณฑลจนถึงเมืองหลวง แต่กรรมวิธีชงชาในสมัยราชวงศ์พังจะผิดแผกแตกต่างจากการชงชาที่รู้จักกันสมัยนั้นจะนำใบชาไปนึ่งกับข้าวแล้วเติมเกลือขิง เปลือกส้มและเครื่องเทศ จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนไว้สำหรับละลายน้ำดื่มส่วนในสมัยราชวงศ์ซ้อง การชงได้เปลี่ยนจากก้อนชานึ่งมาเป็นใบชาแห้งโดยนำใบชามาโม่จนเป็นผงแล้วชงกับน้ำร้อน ในยุคนี้เองที่คนจีนเริ่มมีวัฒนธรรมจิบน้ำชา พระสงฆ์หันมาใช้การชงชาเพื่อสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญาจนกระทั่งเมื่อชาวตาดรุกรานจีนจนราชวงศ์ซ้องถูกท่าลายไปท่าให้การท่าและชงชาสูญสิ้นไปด้วย ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1208 - 1368) คนจีนหันมาชงชาด้วยใบซึ่งต้องชงชาในป้าน (กาน้ำชา) ป้านชาจะช่วยกรองเศษชาไม่ให้หล่นลงจอกในขณะรินจากประเทศจีนชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเซียเช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีนโดยเริ่มรู้จักและมีการนำ ชาเข้าญี่ปุ่น โดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูตเพื่อมาศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingaken ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1191 การปลูกชาได้กระจายทั่วไปและพระชาวญี่ปุ่น ชื่อไปไซ (Eisai) ได้ไปเยือนจีนในปี ค.ศ. 1196 และ 1192 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preserving.Health.in Drinking Tea) เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับชาที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นจึงทำให้เกิดประเพณีการดื่มชาในประเทศญี่ปุ่นซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นประเพณีการชงชาของญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในประเทศมาเลเซียชาพันธุ์จีนถูกนำเข้าไปปลูกในปี ค.ศ. 1802 ต่อมา ปี ค.ศ. 1822 ได้นำไปปลูกที่สิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์ได้จัดซื้อต้นชาเพิ่มเติมจากประเทศและอินเดียใน ปี ค.ศ. 1893 การปลูกชาในลักษณะเป็นสวนขนาดใหญ่เริ่มประสบผลสำเร็จที่รัฐยะโฮว์และเปรัคปี ค.ศ. 1910 ได้มีการทดลองปลูกชาที่ Gunong Angsi และชาวจีนได้นำเมล็ดชาจากประเทศจีนมาทดลองปลูกที่รัฐเซลังงอต่อมากระทรวงเกษตรของมาเลเซียได้นำเมล็ดชาจากอินเดียมาทดลองปลูกบริเวณที่ต่ำของรัฐเซอร์ดังและบนที่สูงคาเมอรอน Comeron Highlands ในประเทศอินเดีย ช่วงศตวรรษที่ 18 - 19 บริษัท West India ได้นำเมล็ดชาจีนมาทดลองปลูกตามไหล่เขาหิมาลัย ส่วนการขยายตัวของอุตสาหกรรมชาเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1818.-.1834 บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการพบชาป่าแถบเนปาลและมานิเปอร์เป็นเหตุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลและมีการปลูกชาขึ้นที่กัลกัตตาในปี ค.ศ. 1834 และได้มีการค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับชาที่สวนพฤกษศาสตร์แห่งกัลกัตตาโดยได้รับความช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์จากประเทศจีนต่อมาจีนงดส่งพันธุ์ชามาให้เนื่องจากกลับว่าอินเดียจะผลิตชามาแข่งขัน อินเดียจึงต้องดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์ชาขึ้นมาเองโดยใช้พันธุ์ชาที่ปลูกอยู่แล้วและพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชายแดนเนปาลจนถึงพรมแดนประเทศจีนแถบมณฑลยูนาน ในประเทศอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1690 ได้มีการนำชาต้นแรกมาปลูกและในปี ค.ศ. 1824 ได้นำเมล็ดพันธุ์ชาจากประเทศญี่ปุ่นมาปลูก ต่อมาในปี ค.ศ. 1827.-.1833 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อเก็บรวบรวมเมล็ดชาและนำคนงานเข้ามาทำงานการปลูกชาได้ถูกผูกขาดโดยรัฐมาจนถึงปี ค.ศ. 1860 ต่อมาในปี ค.ศ. 1872 ได้มีการนำชาพันธุ์อัสสัมมาปลูกแต่ยังไม่ได้ผลจริงจังจนกระทั่งปี ค.ศ. 1878 ได้มีการเปลี่ยนกระบวนการผลิตชาจากการใช้มือมาเป็นเครื่องจักรมีการปรับปรุงคุณภาพและนำเมล็ดชามาจากศรีลังกา ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 บริษัทชาของอังกฤษได้มาวางรากฐานการปลูกชาบนเกาะสุมาตราแต่พอถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อุตสาหกรรมชาถูกละเลย ทำให้ผู้ผลิตชาประสบปัญหาจนกระทั่งในช่วง ปี ค.ศ. 1941 - 1973 พื้นที่ปลูกชาถูกรื้อถอนตัดทิ้งไปปลูกพืชอื่นๆ เป็นจำนวนมากถึง 70% 
      ในประเทศศรีลังกา ปี ค.ศ. 1824 ได้นำเมล็ดชาจากประเทศจีนเข้ามาปลูกและนำมาจากอัสสัมใน ปี ค.ศ. 1839 แต่ไม่ได้มีการปลูกอย่างจริงจังจนในปี ค.ศ. 1867 ได้เริ่มมีการปลูกชาที่ใช้เมล็ดพันธุ์จากจีนโดยพี่น้อง Soloman และ Gabrid ที่เมือง Rambodo ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 เกิดการระบาดของโรคราสนิมทำให้กาแฟได้รับความเสียหายมากจึงมีการปลูกชาทดแทนกาแฟ 5 ปีต่อมาจึงมีพื้นที่ปลูกชามากกว่า 150,000 เอเคอร์ และมีการบุกเบิกพื้นที่ใหม่ จึงทำให้ปัจจุบันนี้ประเทศศรีลังกามีพื้นที่ปลูกชาประมาณ 220,000 เอเคอร์
    ในทวีปยุโรป อังกฤษเป็นประเทศแรกที่รู้จักนำใบชามาใช้ประโยชน์โดยมีการนำใบชามาจากประเทศจีนในปี ค.ศ. 1657 และในช่วงปี ค.ศ. 1657 - 1833 บริษัทอินเดียวตะวันออกของอังกฤษได้เป็นผู้ผูกขาดการนำเข้าชาและชาวอังกฤษก็ยอมรับการบริโภคชาได้เร็วกว่าชาติอื่นๆ โดยมี เซอร์โทมัส การ์ราเวย์ เป็นผู้บุกเบิกวงการอุตสาหกรรมชาของอังกฤษต่อมานายทอมมี่ ลิปตันและนายดาเนียล ทวินนิ่ง ได้จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตชายี่ห้อลิปตันหรือทวินนิ่งที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันนี้
    ในประเทศฝรั่งเศสชาถูกยอมรับเป็นเครื่องดื่มในศตวรรษที่ 17 สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเสวยชาเพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นและแรงเสริมอีกอย่างคืออุตสาหกรรมชาในอังกฤษเข้ามาตีตลาดในฝรั่งเศส
    ในประเทศรัสเซีย เริ่มปลูกชาครั้งแรกที่ Sukhum Botonic Gardens บนฝั่งทะเลดำในปี ค.ศ. 1847 โดยอุปราชของเมืองคอเคซัสเมื่อต้นชาเริ่มให้ผลผลิตทำให้ความนิยมปลูกชาเพิ่มมากขึ้นปี ค.ศ. 1884 มีการนำต้นกล้าชาจากประเทศจีนมาปลูกในเนื้อที่ประมาณ 5.5 เอเคอร์ หลังจากนั้นได้มีกลุ่มผู้สนับสนุนการปลูกชาขึ้นโดยจัดซื้อสวนบนฝั่งทะเลดำจำนวน 3 สวน เพื่อปลูกชาจำนวน 385 เอเคอร์ ใช้เมล็ดพันธุ์จากประเทศจีน อินเดีย และศรีลังกา รวมทั้งจ้างคนชำนาญเรื่องขากับคนงานจากประเทศจีนมาฝึกสอนโดยจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำชามาจากประเทศอังกฤษต่อมาในปี ค.ศ. 1900 กระทรวงเกษตรของรัฐเริ่มได้จัดตั้งสถานีทดลองและผลิตต้นพันธุ์แจกจ่าย โดยไม่คิดมูลค่าจากการส่งเสริมนี้ทำให้การปลูกชาขยายตัวมากขึ้นจนในปัจจุบันประเทศรัสเซียจัดได้ว่ามีการปลูกชากันมากในรัฐจอร์เจีย Georgia ชายฝั่งทะเลดำ
    ในทวีปแอฟริกา การปลูกชาเริ่มต้นที่ Durban Botanic Gradens ในปี ค.ศ. 1850 โดยปลูกทดแทนกาแฟที่ประสบความล้มเหลวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกาใต้สำหรับอุตสาหกรรมชาที่เก่าแก่ที่สุดของแอฟริกาเริ่มที่มาลาวีโดยมีการนำเมล็ดชามาทดลองปลูกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1878 แต่ชาตายหมด ต่อมาในปี ค.ศ. 1886 - 1888 นักบวชชาวอังกฤษเป็นผู้นำ เมล็ดชาจาก Kew และ Edinburgh Botanic Gradens มาปลูกได้สำเร็จจากนั้นได้มีการนำต้นพันธุ์ไปปลูกที่เคนยา อูกันดา และแทนซาเนีย และในช่วงปี ค.ศ. 1920 - 1930 การพัฒนาอุตสาหกรรมชาจึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยระหว่างปี ค.ศ. 1921 - 1925 บริษัทเอกชน 3 แห่ง ได้เริ่มปลูกชาขึ้นที่ Rift Valley ในเคนยา ปี ค.ศ. 1924 อุตสาหกรรมชาของแทนซาเนียได้เริ่มขึ้นที่ Tukuyu บริเวณเขตที่สูงทางตอนใต้ของประเทศจากนั้นได้ขยายมายังเทือกเขา Usambara ในปี ค.ศ. 1931 ส่วนในยูกันดานั้นมีการปลูกชาเริ่มค่อนข้างล่าช้าโดยมีการเริ่มปลูกชาในปี ค.ศ. 1930
    ในทวีปออสเตรเลียมีการนำเมล็ดพันธุ์ชาจาก Kew Botanic Gardens ประเทศอังกฤษเข้ามาทดลองปลูกที่รัฐควีนส์แลนด์ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 สถานีวิจัย South Johnstone ได้นำ เมล็ดพันธุ์จากไร่ทดลองนำมาเพาะ และในปี ค.ศ. 1942 จึงได้ทำการทดลองปลูกชาขึ้นในสถานีทดลองพื้นที่ครึ่งเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1950 และ 1960 ได้เกิดบริษัทชาขึ้น 3 บริษัท ตั้งอยู่ที่ Nerada และ Tully และได้มีการคิดวิธีเก็บชาโดยใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน


ประวัติการปลูกชาของไทย
 ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนพบว่าได้มีการดื่มชากันแต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไรและเมื่อใดแต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปี พ.ศ. 2530 ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้วโดยนิยมชงชาเพื่อรับแขกการดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล
    สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศโดยจะกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปางและตากจากการสำรวจของคณะทำงานโครงการหลวงวิจัยชาได้พบแหล่งชาป่าที่บ้างไม้ฮุง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนบริเวณเขตติดต่อชายแดนประเทศพม่า ต้นชาป่าที่พบเป็นชาเมี่ยง (Assam tea) อายุหลายร้อยปี เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 0.5 เมตร ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกต้นชาพันปี เข้าใจว่าต้นชาป่าขนาดใหญ่ สามารถพบได้อีกตามบริเวณเทือกเขาสูงของจังหวัดแพร่และน่านโดยสวนชาส่วนใหญ่ทางภาคเหนือจะเป็นส่วนเก่าที่ได้จากการถางต้นไม้ชนิดอื่นออกเหลือไว้แต่ต้นชาป่าที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ต้นเมี่ยง จำนวนต้นต่อไร่ต่ำ ประมาณ 50 - 200 ต้น/ไร่ ผลผลิตใบชาสดต่ำเพียง 100 - 140 กิโลกรัม/ไร่ ชาวบ้านจะเก็บใบชาป่าด้วยมือโดยการรูดใบทิ้งกิ่งแล้วนำใบมาผลิตเป็นเมี่ยง ในปัจจุบันช่วงใดที่เมี่ยงมีราคาสูงใบชาป่าจะถูกนำมาผลิตเป็นเมี่ยงแต่เมื่อเมี่ยงมีราคาถูก ใบชาป่าจะถูกนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตชาจีนขนาดเล็กท่าให้ชาจีนที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำ การพัฒนาอุตสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2480 โดย นายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้งบริษัทใบชาตราภูเขาจำกัดและสร้างโรงงานชาขนาดเล็กขึ้นที่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้วแต่ปรากฏว่าพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำปริมาณไม่เพียงพอชาวบ้านขาดความรู้ความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชาและการตัดแต่งต้นชา ส่วนที่อำเภอฝางนั้น นายพร เกี่ยวการค้า ได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชาชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้อง ตระกูลพุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบโดยเริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเองใช้เมล็ดพันธุ์ชาพื้นเมืองมาเพาะสวนขาตั้งอยู่ที่แก่งพันท้าว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ และต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมาที่บ้านเหมืองกึด และบ้านช้าง ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งเสริมการผลิตมากขึ้นโดยขอสัมปทานทำสวนชาจากกรมป่าไม้จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านบางห้วยตาก ตำบลอินทขิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในนามของบริษัทชาระมิงค์และท่าสวนชาที่ตำบลสันมหาพน อำเภทแม่แตง ในนามของบริษัทชาบุญประธานชาที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นชาฝรั่งต่อมาเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสาหกรรมการผลิตชามากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2530 บริษัทชาระมิงค์ได้ขายสัมปทานสวนชาให้แก่บริษัทชาสยามจากนั้นชาสยามได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียงปลูกสวนชาแบบใหม่และรับซื้อใบชาสดจากเกษตรกรนำมาผลิตชาฝรั่งในนามชาลิปตัน จนกระทั่งปัจจุบันนี้ สำหรับภาครัฐนั้นการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2483 โดยปลัดกระทรวงเกษตร (ม.ล.เพช สนิทวงศ์) อธิบดีกรมเกษตร (คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ) และหัวหน้ากองพืชสวน (ม.จ.ลักษณากร เกษมสันต์) ได้เดินทางไปสำรวจหาแหล่งที่จะทำการปลูกและปรับปรุงชาที่อำเภอฝาง จังหวัด เชียงใหม่ ในที่สุดได้เลือกบริเวณโป่งน้ำร้อนเป็นที่ทดลองปลูกชา โดยตั้งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝางมี นายพ่วง สุวรรณธาดา เป็นหัวหน้าสถานีระยะแรกเมล็ดพันธุ์ชาที่นำมาปลูก ได้ทำการเก็บมาจากท้องที่ตำบลม่อนบินและดอยขุนสวยที่มีต้นชาป่าขึ้นอยู่ต่อมามีการนำชาพันธุ์ดีจากประเทศอินเดียไต้หวันและญี่ปุ่นมาทดลองปลูก เพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยต่อไป ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรนั้นได้ขยายการศึกษาทดลองเกี่ยวกับชาออกไปยังสถานีเกษตรที่สูงหลายแห่ง เช่น สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2518 ฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้เริ่มโครงการปลูกชาในพื้นที่หมู่บ้านอพยพ 6 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองอุ แกน้อย แม่แอบ ถ้ำงอบ ถ้ำเปรียงหลวง และแม่สลอง โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวันจัดส่งเมล็ดพันธุ์ชาลูกผสมมาให้ทดลองปลูกพร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดเทคนิคการปลูกและการผลิตให้ด้วยต่อมาอีก 3 ปีมีการสร้างแปลงสาธิตการปลูกชาขึ้นที่บ้านแม่สลองหนองอุและแกน้อยในปี พ.ศ. 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ใบชาแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทำให้สมาชิกที่ปลูกใบชาได้รับความช่วยเหลือในด้านการเงินและการแนะน่าด้านต่างๆ ในปี พ.ศ. 2525 กองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียได้จัดทุนดูงานด้านอุตสาหกรรมชาแก่ผู้ประกอบกิจการชาจำนวน 12 คน ณ ประเทศไต้หวันและศรีลังกาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2526 ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านชาจีนจากประเทศไต้หวัน 2 คน คือ นายซูหยิงเลียน และนายจางเหลียนฟูมาให้คำแนะนำด้านการทำสวนชาและเทคนิคการผลิตชาจีน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527 ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญสวนชาฝรั่งจากประเทศศรีลังกา คือ นายเจซี รามานาเคน มาให้คำแนะนำและ สาธิตเทคนิคการผลิตชาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2530 กรมวิชาการเกษตรได้ขอผู้เชี่ยวชาญจาก F.A.O. มาส่ารวจและศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตอุตสาหกรรมชาซึ่งทาง F.A.O. ได้ส่ง Dr..A..K..Aich ผู้เชี่ยวชาญชาฝรั่งจากประเทศอินเดียเข้ามาศึกษาเป็นเวลา 1 เดือน และมีการส่งนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรไปดูงานด้านการปลูกและการผลิตชาฝรั่งที่ประเทศอินเดียการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกและการผลิตชานอกจากกรมวิชาการเกษตรที่รับผิดชอบโดยตรงแล้ว ในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัยนั้น ในปีพ.ศ. 2520 งานเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศาสตราจารย์ปวิน ปุณศรี ได้ขอผู้เชี่ยวชาญจากสถานีทดลองชาไต้หวัน คือ Dr.Juan I - Ming เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชาของไทยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในขณะเดียวกันทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ.ดร.วิเชียร ภู่สว่าง ก็ได้เริ่มงานศึกษาวิจัยทางด้านสรีรวิทยาของชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 สาขาไม้ผล สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้โดยการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากโครงการหลวงได้เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาชาขึ้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อท่าการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ชาจีน ศึกษาวิธีขยายพันธุ์ ผลิตต้นกล้าชาพันธุ์ดีและปรับปรุงขบวนการผลิตใบชาให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่างๆซึ่งอีก 3 ปีต่อมา ม.จ. ภีศเดช รัรชนี ผู้อำนวยการโครงการหลวงได้ทรงอนุมัติให้จัดตั้งสถานีวิจัยชาขึ้นที่บ้านห้วยน้ำขุ่น อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันทางสถานีได้ทำการผลิตต้นกล้าชาจีนพันธ์ห้วยน้ำขุ่น เบอร์ 3 (HK. NO. 3) ที่คัดเลือกจากแม่พันธุ์ชาจีนลูกผสมของไต้หวันเพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในโครงการและหน่วยงานที่สนใจ ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยจัดทำแปลงขยายพันธุ์ชาพันธุ์ดีที่ศูนย์ส่งเสริมผลิตพันธุ์พืชสวนเชียงรายจัดทำแปลงส่งเสริมการปลูกชาพันธุ์ดีเป็นสวนแก่เกษตรกร และส่งเสริมการปรับปรุงสวนชาเก่าโดยส่งเสริมให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ดูแล รักษาและปลูกต้นชาเสริมในแปลงสวนชาเก่า พร้อมทั้งฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกและการผลิตชาแก่เกษตรกรผู้สนใจ พร้อมทั้งจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกชา และประสานงานด้านการตลาดระหว่างเกษตรกรและพ่อค้าผู้รับซื้อใบชาด้วย 


 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ประวัติการปลูกชา

    แหล่งกำเนิดชาตามธรรมชาติ มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิระวดี แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ ลักษณะคล้ายรูปพัด จากด้านทิศตะวันตก ระหว่างเทือกเขานากามานิปุริและลูไซ่ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัมและสหภาพพม่า ไปยังมณฑลซีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออกแล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของสหภาพพม่าตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนามโดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกกว้างถึง 1,500 ไมล์ หรือ 2,400 กิโลเมตร ระหว่างเส้นลองจิจูด 95 -120 องศาตะวันออก และจากทิศเหนือ จรดทิศใต้ ยาว 1,200 ไมล์หรือ 1,920 กิโลเมตร ระหว่างเส้นละติจูดที่ 29 -11 องศาเหนือ  ประวัติการปลูกชาของโลก      การดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาลตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่า จักรพรรดิเสินหนงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชา โดยบังเอซ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชาขณะรอคอยให้น้ำเดือดกิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชาสักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมาเมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่มชากันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้วพระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์ อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึง นักบวชชื่อธรรม ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียวได้เดินทางมาจาริกบุญ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีน ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ. 519 จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองนานกิง ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เกิดเผลอหลับไปทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะเพื่อเป็นการลงโทษตนเองมิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก ท่านธรรมจึงตัดหนังตาของตนทิ้งเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชาชาวจีนจึงเก็บชามาชงดื่มเพื่อรักษาโรค นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกว่าในสมัยหนึ่งได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดในเมืองจีนผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมากเกี้ยอุยซินแสพบว่าสาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนพากันดื่มน้ำสกปรกจึงแนะน่าให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่มและเพื่อให้ชาวบ้านเชื่อจึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ชาลงไปในน้ำต้มเกี้ยอุยซินแสดพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำ ตามซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง เรื่องชาถูกบันทึกไว้ในหนังสือจีนโบราณชื่อเอ๋อหยา (Er Ya : On Tea) โดยขุนนางในจักรพรรดิ Zhou โดยให้คำจำกัดความของคำว่าชาคือสมุนไพรรสขมชนิดหนึ่งจากบันทึกของมณฑลหัวหยางปัจจุบัน คือ มณฑลซิฉวน) ในช่วงการทำสงครามระหว่างกษัตริย์วู (Wu) ในราชวงศ์ Zhou กับจักรพรรพิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Shang (ในปี 1066 ก่อนคริสตกาล) ทหารจากมณฑลซู (Shu) ซึ่งมาร่วมรบได้น้ำชาและผึ้งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์ด้วยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ "คัมภีร์ชาของหลูอยู่ (Lu Yu)" โดยหลูอยู่เกิดในมณฑลเหอเป่อระหว่าง ค.ศ. 728 - 804 หลูอยู่มีความสนใจในเรื่องชามาก ได้เขียนตำราไว้ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 780 ชื่อว่า "ชาชิง" (Tea classic ซึ่งเป็นตำราที่ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง 10 บท ถือว่าเป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก โดยเนื้อหาในหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของการดื่มชาเครื่องมือการผลิตชา อุปกรณ์การชงชา การชงชาที่ถูกวิธี วิธีการดื่มชา ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชา แหล่งกำเนิดของชา การแบ่งคุณภาพของชาและธรรมเนียมการชงชา สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 618 - 1260) การดื่มชาเป็นที่นิยมมาก มีร้านน้ำชาอยู่ทุกหนทุกแห่งในแต่ละมณฑลจนถึงเมืองหลวง แต่กรรมวิธีชงชาในสมัยราชวงศ์พังจะผิดแผกแตกต่างจากการชงชาที่รู้จักกันสมัยนั้นจะนำใบชาไปนึ่งกับข้าวแล้วเติมเกลือขิง เปลือกส้มและเครื่องเทศ จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนไว้สำหรับละลายน้ำดื่มส่วนในสมัยราชวงศ์ซ้อง การชงได้เปลี่ยนจากก้อนชานึ่งมาเป็นใบชาแห้งโดยนำใบชามาโม่จนเป็นผงแล้วชงกับน้ำร้อน ในยุคนี้เองที่คนจีนเริ่มมีวัฒนธรรมจิบน้ำชา พระสงฆ์หันมาใช้การชงชาเพื่อสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญาจนกระทั่งเมื่อชาวตาดรุกรานจีนจนราชวงศ์ซ้องถูกท่าลายไปท่าให้การท่าและชงชาสูญสิ้นไปด้วย ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1208 - 1368) คนจีนหันมาชงชาด้วยใบซึ่งต้องชงชาในป้าน (กาน้ำชา) ป้านชาจะช่วยกรองเศษชาไม่ให้หล่นลงจอกในขณะรินจากประเทศจีนชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเซียเช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีนโดยเริ่มรู้จักและมีการนำ ชาเข้าญี่ปุ่น โดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูตเพื่อมาศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingaken ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1191 การปลูกชาได้กระจายทั่วไปและพระชาวญี่ปุ่น ชื่อไปไซ (Eisai) ได้ไปเยือนจีนในปี ค.ศ. 1196 และ 1192 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preserving.Health.in Drinking Tea) เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับชาที่เกิดขึ้นในญี
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

จุดคุ้มทุน (Break Even Point)

จุดคุ้มทุน (Break Even Point)             จุดคุ้มทุน (Break Even Point) หมายถึง จุดขายแสดงในรูปปริมาณหน่วยขายหรือราคาขาย ณ จุดที่ไม่เกิดกำไรหรือขาดทุน หากพิจารณาจะพบว่า ณ จุดคุ้มทุน คือ การที่กิจการจะต้องขาย เพื่อให้ยอดขาย ณ จุดดังกล่าวครอบคลุมทั้งต้นทุนผันแปรที่เกิดขึ้นทุกๆ หน่วยที่ขาย และขายด้วยปริมาณมากพอที่กำไรเกิดขึ้นแต่ละหน่วย เมื่อรวมกันแล้วมีมูลค่าเท่ากับต้นทุนคงที่ทั้งหมด จึงทำให้เกิดการเสมอตัว ไม่ขาดทุนหรือกำไร 
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความสำคัญของปัญหา

      ป่าเมี่ยง เป็นระบบวนเกษตร ที่มีการทำการเกษตรภายใต้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการรักษาต้นไม้ การทำแนวกันไฟ การไม่ใช้สารเคมีในการจัดการ ซึ่ง Preechapanya (1996) ได้ทำการสำรวจตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ป่าเมี่ยง ลุ่มน้ำแม่ตอนหลวง พบว่าป่าเมี่ยง ประกอบด้วยความหลายหลายทางชีวมากกมาย จากนั้นพรชัย และพงษ์ศักดิ์ (2542) กล่าวว่าป่าเมี่ยงมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีตจันถึงปัจจุบัน เป็นการระบบวนเกตรดั้งเดิมที่เก่าแก่ ที่บรรพบุรุษของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือเรียนรู้จากธรรมชาติ และนำมาปฏิบัติมาช้านานเป็นระบบเพาะปลูกที่ผสมผสานระหว่างป่าไม้ เกษตร และเลี้ยงสัตว์ ที่มุ่งการผลิตอาหาร สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต และรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตสินค้า หมู่บ้านป่าเมี่ยงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายรอบป่าใหญ่ ประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านเหล่านี้ทำหน้าที่ผู้รักษาปกปักรักษาผืนป่า เป็นบ้านเล็กในป่าใหญ่ เป็นตัวอย่างของคนกับป่าที่อยู่กันได้เกื้อกูลซึ่งกันและกันประชาชนเหล่านี้ประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจเลี้ยงตนเอง ควบคู่ไปกับรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ป่าเมี่ยงเป็นพื้นที่ป่ากันชนที่ปกป้องป่าดิบเขาที่ควรศึกษาเรียนรู้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแบบอย่างของภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวกับระบบวนเกษตร เพื่อการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กในเขตภูเขา หมู่บ้านป่าเมี่ยง ตั้งอยู่กระจายล้อมรอบบริเวณเทือกเขาผีปันน้ำบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นเขตกันชนระหว่างพื้นที่เกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี ป้องกันการบุกรุกของคนที่ใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหนึ่งบุกรุกเขาไปทำประโยชน์ที่ดินข้างเคียงตัวอย่าง เช่น เป็นพื้นที่ป้องกันชาวไร่ที่ทำไร่เลื่อนลอยบุกรุกเข้าไปทำลายป่าธรรมชาติ หรือเป็นเขตที่ป้องกันภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ จากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งอาทิ เช่น เป็นแนวป้องกันไฟป่า ความรุนแรงของลมกระแสน้ำในลำธาร การซะล้างพังทลายของหน้าดิน การขยายตัวของความแห้งแล้ง เป็นต้น ในปัจจุบันบางส่วนกลายเป็นอุทยานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา เป็นต้น เป็นแหล่งต้นนำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำปิงตอนบน บริเวณที่ผ่านอำเภอเชียงดาว แม่น้ำแม่งัด กวง ลาว อิง วัง และยม เมี่ยงยังเป็นพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญ และทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ในปัจจุบันสวนเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ค่อยๆ เริ่มหายออกไปจากพื้นที่ที่เคยเป็นสวนเมี่ยงมาก่อน เพราะราคาเมี่ยงในปัจจุบันมีราคาที่ต่ำ เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการบริโภค อีกทั้งยังขาดแคลนแรงงาน และมีพืชเกษตรชนิดอื่นเข้ามาแล้วมีราคาสูงกว่า เช่น กาแฟ ยางพารา เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงสนใจที่จะทำการศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชในเมี่ยง คุณสมบัติดิน เพื่อที่จะเป็นแนวทางการฟื้นฟู และอนุรักษ์สวนเมี่ยงให้คงอยู่ต่อไป      Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในช่องปากโดยเฉพาะที่ผิวฟันและเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดฟันผุโดยเฉพาะในเด็กเพราะเชื้อสามารถสร้าง extracellular polysaccharide (EPS) ได้ทั้งแบบละลายน้ำ (soluble) และไม่ละลายน้ำ (insoluble) จากการใช้น้ำตาล sucrose ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ (plaque formation) หรือ biofilm ที่ผิวฟัน นอกจากนี้ S. mutans สามารถสร้างกรดจากการใช้น้ำตาลและทนกรดได้ดีจึงทำให้สามารถอยู่รอดในสภาวะที่มีค่า pH ต่ำ กรดที่เชื้อสร้างขึ้นภายในช่องปากจะไปสลายผิวฟันเป็นผลทำให้เกิดฟันผุตามมา (Loesche, 2007)         การป้องกันการเกิดฟันผุสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้น้ำตาลเทียมทดแทนน้ำตาล sucrose การใช้ fluoride การใช้ sealants เคลือบหลุมร่องฟัน การใช้สารป้องกันการก่อคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากที่มี chlorhexidine เป็นส่วนประกอบ แต่ในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุนั้นต้องใช้ต้นทุนสูงและเชื้อก่อโรคในช่องปากหลายชนิดมีความสามารถในการดื้อยาเพิ่มขึ้นและยาปฎิชีวนะหลายชนิดเริ่มใช้ไม่ได้ผล เช่น penicillin, erythromycin, tetracycline, cephalosporins และ metronidazole (Bidault et. al., 2007) อีกทั้งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการอาเจียน ท้องเสียและมีคราบสีเกิดขึ้นที่ฟัน หลายประเทศจึงต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคในช่องปากที่มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง มีประสิทธิภาพในการรักษาและราคาถูก (Palombo, 201
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มตัวอย่างแบ่งตามรายจังหวัด

อัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มตัวอย่างแบ่งตามรายจังหวัด   ตารางที่ 55 แสดงอัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มตัวอย่างจังหวัดแพร่ (กลุ่มตัวอย่างที่ 1-3)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

กระบวนการผลิตเมี่ยง (ต่อ)

กระบวนการผลิตเมี่ยง               กระบวนการผลิตเมี่ยงเป็นความรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ  ในแต่ละพื้นที่จึงอาจมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ วัตถุดิบที่เป็นใบเมี่ยงสด วิธีการเก็บใบเมี่ยงสด การหมักเมี่ยง รวมถึง ภาชนะบรรจุ ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียด ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิต ดังนี้ 1. การเก็บใบเมี่ยงสด การเก็บใบเมี่ยงสดอาจเก็บโดยใช้มือเด็ด หรือ อาจใช้ปลอกใบมีดสวมติดนิ้วมือในการตัด การเก็บใบเมี่ยงสดมักจะมี 2 แบบ กล่าวคือ แบบแรกจะเก็บในส่วนของใบเมี่ยงอ่อน (ใบที่ 4-6) โดยตัดเอาส่วนปลายใบประมาณ 2 ในสามส่วนมัดเป็นก้อนให้ได้ขนาดประมาณ 400-500 กรัม จะพบได้ในแหล่งผลิตเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และ เชียงราย อีกแบบหนึ่ง คือ การเก็บใบเมี่ยงทั้งใบ เก็บทั้งส่วนที่เป็นใบอ่อน และ การเก็บส่วนยอด รวบมัดเป็นกำๆ เรียงใบ เรียกว่า เมี่ยงแหลบ ส่วนยอด สามารถเก็บรวมมากับใบเมี่ยงได้ ขนาดประมาณ 150 - 200 กรัม พบได้ในแหล่งผลิตเมี่ยง ในพื้นที่จังหวัดแพร่ และ น่าน    2. การนึ่งเมี่ยง ใบเมี่ยงสด ที่รวบมัดเป็นกำในขั้นตอนแรก จะนำมาเรียงในไหนึ่งเมี่ยง แล้วนึ่งด้วยไอน้ำร้อนจนสุก ใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับ จำนวนเมี่ยงสดที่นึ่งแต่ละครั้ง เมี่ยงสุกได้ที่ จะมีลักษณะสีเหลืองนิ่ม ถ้านึ่งเมี่ยงไม่สุก จะทำให้ใบเมี่ยงมีสีเข้มแดงหลังหมัก จากนั้น เทเมี่ยงที่นึ่งเสร็จแล้วออกจากไหลงบนพื้นที่ปูด้วยพลาสติกสะอาด ผึ่งให้เย็น แล้ว มัดเมี่ยงอีกครั้งให้แน่น หรือ มัดใหม่ให้ได้กำเมี่ยงที่เล็กลง เมี่ยงที่มัดได้ในขั้นตอนนี้จะเป็นมัดที่จะใช้จำหน่ายในขั้นตอนสุดท้าย   3. การหมักเมี่ยง เมี่ยงสุกที่ผ่านการนึ่งแล้ว จะนำมาหมักในสภาวะไร้อากาศ ซึ่งเป็นการหมักโดยแบคทีเรียแลคติก (Lactic acid bacteria) โดยระหว่างการหมัก แบคทีเรียแลคติคจะผลิตสารต่าง ๆ เช่น กรดอินทรีย์ต่าง ๆ เอนไซม์โปรติเอส สารให้กลิ่นรส และ สารที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียอื่น เช่น bacteriocin จึงทำให้เมี่ยงหมักมีรสเปรี้ยว   การหมักเมี่ยงสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ              “แบบที่ไม่ใช้รา” กล่าวคือ เมี่ยงนึ่งจะถูกอัดเรียงลงไปในภาชนะตะกร้าไม้ไผ่ซึ่งรองด้วยพลาสติกหนา และ ใบตองจนแน่น (ภาพที่ 3) จากนั้น เติมน้ำให้ท่วม แล้วมัดหรือปิดภาชนะให้แน่น หากอัดเมี่ยงไม่แน่นน้ำจะซึมเข้าไปในเนื้อเมี่ยงมากเกินไปทำให้เกิดรสเปรี้ยวไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค การหมักเมี่ยงแบบนี้พบในพื้นที่แหล่งผลิตในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย              “แบบที่ใช้รา” กล่าวคือ จะนำเมี่ยงนึ่งใส่ตะกร้าทิ้งไว้ให้เกิดราขาวก่อนที่จะนำไปหมัก (ภาพที่ 3) เหมือนแบบแรก ซึ่งการหมักเมี่ยงแบบหลังนี้ จะใช้หมักเมี่ยงแหลบที่ผลิตในจังหวัดแพร่ การหมักเมี่ยงจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่  1 เดือน ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ได้จะนำไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่ายสู่ผู้บริโภคต่อไป