นิเวศวิทยา และ องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา และ หน้าที่ของระบบนิเวศ

นิเวศวิทยา
            คำว่านิเวศวิทยา เริ่มใช้ในจดหมายเหตุของ Henry Thoreau ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 ต่อมา Reiter ได้นำคำนี้มาใช้ในผลงานของเขาซึ่งพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานในปี ค.ศ. 1865 โดยนิเวศวิทยา มาจากรากศัพท์เดิมในภาษากรีก จากคำว่า oikos ซึ่งแปลว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัย ผสมกับคำว่า logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา รวมเป็น oecology และต่อมาได้เขียนตามหลักภาษาอังกฤษว่า ecology ใช้เรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย แม้ว่าวิชานิเวศวิทยาได้แยกตัวออกมาจากวิชาชีววิทยาแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักและสนใจกันเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี ค.ศ.1866 นักสัตววิทยาท่านหนึ่งคือ Ernst Haeckel ได้หยิบยกเอาคำนี้ขึ้นมาใช้และให้คำนิยามไว้ว่า "นิเวศวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ อย่างประหยัดของธรรมชาติ คือการศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ทั้งมวลของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ" จากคำนิยามนี้จึงเป็นการกำหนดแนวทางการศึกษาทางนิเวศวิทยาแก่นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในแนวดังกล่าว จึงยกย่องให้ Haeckel เป็นบิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านนี้
             Charles Elton (1927)"นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านประวัติศาสตร์ของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของสัตว์"
Shelford (1911) "นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านสังคม" 
E. P. Odum (1971) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาทางโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ" 
H. J. Oosting (1956) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของมัน"
            Kimmins (1987) กล่าวว่าป่ามิใช่เป็นเพียงการมีต้นไม้มายืนร่วมกันแต่ยังประกอบด้วย (1) ต้นไม้ (2) วัตถุสารที่ต้นไม้และสัตว์ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ธาตุอาหารและความชื้น (3) พันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มาร่วมกระทำกันก่อให้เกิดร่มเงาต่อกัน แก่งแย่งกัน อาศัยประโยชน์ต่อกัน หรือทำลายกัน (4) สัตว์ที่ใช้อาหารจากพืช อาศัยประโยชน์และให้ประโยชน์ต่อพืช (5) จุลินทรีย์ที่ได้และให้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อต้นไม้ (6) ดินและบรรยากาศรวมถึงไฟป่าและความชื้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในป่า
           Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก ecological system นี้ว่า ecosystem ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้ว แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า Tansley เป็นเวลาช้านาน เพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า microcosm หรือ biosystem เป็นต้น สำหรับนักนิเวศวิทยาชาวรัสเซียนิยมเรียกระบบนิเวศว่า biogeocoenoses หรือ biocoenosis คำว่า ecosystem ของ Tansley เป็นคำที่กะทัดรัดและเป็นที่ยอมรับกัน จึงเป็นที่นิยมใช้กันตั้งแต่นั้นมา การยอมรับระบบนิเวศว่าเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา นับเป็นประโยชน์และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการศึกษา และพัฒนาการในด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อ มาอย่างรวดเร็ว
โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นจะต้องศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง (structure)  และหน้าที่ (function) ต่างๆ ของระบบนิเวศนั้นซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของแต่ละระบบนิเวศซึ่งไม่เหมือนกัน 

 

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา

            องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้ 
1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต
            สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน (carnivore) มนุษย์กินสัตว์เป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งเรียกว่า top carnivore การบริโภคแบบต่อเนื่องในลักษณะดังกล่าวก็คือห่วงโซ่อาหาร (food chain) ซึ่งหมายถึงการบริโภคอย่างมีขั้นตอนจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งไม่มีความยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน เช่น แพลงค์ตอนปรุงอาหารได้เอง ปลาเล็กกินแพลงค์ตอน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และมนุษย์กินปลาใหญ่ เป็นต้น บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามลำดับแต่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่าใยอาหาร (food web)  
ส่วนประกอบที่มีชีวิตซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะกิจกรรมในระบบนิเวศหนึ่งๆ   มีดังนี้ 
1.1.ผู้ผลิต (producer organism) หรือพวก autotrophs ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีเพียงพืชสีเขียวที่มีสารคลอโรฟิลล์ในตัวเองและสามารถตรึงพลังงานแสงอาทิตย์มาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับวัตถุดิบในธรรมชาติ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และธาตุอาหารที่ละลายน้ำให้กลายเป็นสารมวลชีวภาพหรือสารประกอบอินทรีย์เคมีในรูปต่างๆ ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับส่วนประกอบอื่นที่ไม่มีชีวิตในแต่ละระบบนิเวศ
1.2.ผู้บริโภค (consumer organism) หรือพวก herbivore และ carnivore ด้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่จะบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่งในลักษณะที่มีระดับชั้นการกินอาหาร (trophic level) และถ่ายเทเป็นทอดๆ ผ่านไปในระบบนิเวศทำให้เกิดการไหลของพลังงานและสารในระบบ ผู้บริโภคสามารถแบ่งตามลำดับขั้นได้ดังนี้
1.2.1 ผู้บริโภคระดับปฐมภูมิ (primary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร  (herbivores) สามารถนำเอาพลังงานที่อยู่ในรูปเนื้อเยื่อพืชมาใช้ได้ ได้แก่ แมลงต่างๆ เป็นต้น
1.2.2   ผู้บริโภคระดับทุติยภูมิ (secondary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ (carnivore) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่หรือแข็งแรงกว่าเหยื่อร่างกายมีพัฒนาเพื่อเหมาะแก่การล่า เช่น มีเขี้ยวเล็บแหลมคม มีพิษ ได้แก่ เสือ สิงโต งู และเหยี่ยว เป็นต้น 
1.2.3  ผู้บริโภคระดับตติยภูมิ (tertiary consumer) หมายถึง สัตว์กินสัตว์ที่กินสัตว์อีกทีหนึ่ง (top carnivore) หรือเป็นพวกที่สามารถกินสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นของอาหารได้มากกว่าหนึ่งลำดับขั้น คือ อาจกินได้ทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) หลายชนิดก็ได้
1.2.4  ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตพวก heterotrophic organism ที่สามารถย่อยสลายซากสารอินทรีย์ของสิ่งที่ตายแล้วให้เน่าเปื่อย และเปลี่ยนกลับไปเป็นสารอิสระหรือสารอนินทรีย์กลับคืนสู่สภาพแวดล้อมได้ ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ พวกแบคทีเรียหรือเห็ดราต่างๆ เป็นต้น ผู้ย่อยสลายนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะมีหน้าที่เป็นผู้ทำลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป และยังเป็นผู้ที่ทำให้มีสารอินทรีย์กลับกลายเป็นสารอิสระหรือสาร อนินทรีย์ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการถ่ายเทสารกลับสู่สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ย่อยสลายจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic components) กับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components) ในระบบนิเวศนั่นเอง 
การนำเอาขั้นการกินอาหารที่ระดับต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมาสร้างเป็นกราฟแท่งรูปทรงปิรามิด โดยที่มีระดับของผู้ผลิตอยู่ตรงฐานของปิรามิดถัดขึ้นไปเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่งและปลายสุดจะเป็นผู้บริโภคอันดับที่สูงกว่าเรียกกราฟแท่งเหล่านี้ว่าปิรามิดทางนิเวศวิทยา (ecological pyramid) ซึ่งจะสามารถแบ่งปิรามิดออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
    ปิรามิดของจำนวน (pyramid of number) บอกถึงจำนวนของสิ่งมีชีวิตในแต่ละระดับขั้นการกินอาหาร เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบในธรรมชาติตามสภาพแว.2คล้อม รูปแบบที่ผู้ผลิตขนาดเล็ก ผู้บริโภคในลำดับต่อๆไป ส่วนใหญ่เป็นพวกสัตว์กินเนื้อ เมื่อผู้ผลิตมีขนาดใหญ่จะสามารถรองรับผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อมีปรสิตเข้ามาเกี่ยวข้อง ปิรามิดจะมีลักษณะคว่ำหัวลงได้เนื่องจากมีปรสิตที่เข้าเบียนจำนวนมากนั่นเอง
   ปิรามิดของมวลชีวภาพ (pyramid of biomass) บอกถึงขนาดของน้ำหนักแห้งของแต่ละระดับขั้นอาหาร โดยทั่วไปถ้าขนาดของสิ่งมีชีวิตที่ระดับการกินต่างๆ ไม่แตกต่างกันจนเกิน ไปปิรามิดของมวลชีวภาพนั้นมักจะเป็นรูปฐานกว้างปลายเล็ก ซึ่งจะแตกต่างจากปิระมิดของจำนวนเมื่อเป็นสิ่งมีชิวิตชนิดเดียวกัน
ปิรามิดพลังงาน (pyramid of energy) บอกถึงอัตราการถ่ายเทพลังงานของแต่ละระดับขั้นอาหารซึ่งเป็นแสดงถึงการส่งพลังงานผ่านทางห่วงโซ่อาหาร โดยขนาดและอัตราการเผาผลาญของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวจะไม่มีอิทธิพลต่อรูปร่างปิรามิดของพลังงาน 
2.องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components)
         สิ่งไม่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนประกอบที่อยู่ในรูปของธาตุ สารประกอบและของผสม รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ลักษณะต่างๆ ตามธรรมชาติองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตมีดังนี้
2.1  สารที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม (abiotic substance) แบ่งออกเป็น
         กลุ่มอินทรีย์สาร (organic substance) ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และ ฮิวมัส รวมทั้งซากพืชซากสัตว์ต่างๆ ที่ยังไม่สลายตัว
         กลุ่มอนินทรีย์สาร (inorganic substance)  ได้แก่ ธาตุและสารประกอบในธรรมชาติทุกชนิดได้แก่ คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำในธรรมชาติ ดิน หิน และแร่ธาตุต่างๆ

2.2   สภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ฯลฯ
         สภาพทางกายภาพ ได้แก่ พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ  พื้นฐานสำคัญที่สุดที่เป็นต้นกำเนิดของส่วนประกอบต่างๆ ข้างต้นรวมทั้งสภาวะทางกายภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาวะอุณหภูมิ และความกดดัน ตลอดจนความชื้นของอากาศ กระแสน้ำในมหาสมุทร เป็นต้น 

 

หน้าที่ของระบบนิเวศ
            Odum et al. (1962) ได้แบ่งหน้าที่ที่สำคัญของระบบนิเวศออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.    การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ 
2.    การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุต่างๆ ในระบบนิเวศ  
3.    กลไกการควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยปัจจัยแวดล้อม
           ความต้องการแสงสว่างของพืชและการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมจากการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่น การตรึงไนโตรเจนด้วยจุลินทรีย์บางชนิด เป็นต้น การจำแนกทำนองนี้ทำให้สะดวกต่อการศึกษาหน้าที่ของระบบนิเวศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างของระบบที่แตกต่างกันย่อมมีผลให้อัตราการถ่ายทอด การสะสมพลังงาน การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุอาหารผิดแปลกแตกต่างกันไปอีกด้วย (นิวัติ, 2541)
1.การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตในระบบนิเวศ
       เริ่มต้นจากการถ่ายทอดพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของพลังงานแสง (photo energy) พืชสีเขียวจะตรึงพลังงานจากแสงมาแปรสภาพเป็นแป้ง และน้ำตาลสะสมในรูปมวลชีวภาพของพืช จากนั้นพลังงานบางส่วนในพืชจะสูญเสียไปในกระบวนการการหายใจ บางส่วนจะถ่ายทอดผ่าน  ผู้บริโภคและจุลินทรีย์ในดิน ทุกขั้นตอนที่มีการถ่ายทอดพลังงานผ่านระดับชีวิตจะเกิดการสูญเสียพลังงานไปจากระบบนิเวศในรูปของความร้อน การถ่ายเทวัตถุและพลังงานทำให้ระบบนิเวศมีการเคลื่อนไหวถ่ายเท เช่น การดูดซับแสงโดยพื้นดินและพื้นน้ำทำให้เกิดบริเวณที่ร้อนและเย็นขึ้นจึงทำให้
        5.3) พืชที่ต้องการน้ำปริมาณน้อย เป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในที่ที่ปริมาณฝนตกน้อย ขาดแคลนน้ำ หรือในที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายซึ่งอุ้มน้ำได้ไม่ดี เช่น มันสำปะหลัง ป่านศรนารายณ์ กระบองเพชร เป็นต้น
        5.4) พืชที่มีระบบรากพิเศษ คือ พืชที่มีส่วนประกอบบางส่วน เปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปดูดซึมความชื้นในอากาศไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้พืชสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี เช่น กล้วยไม้ สกุลต่างๆ เป็นต้น
    
2.3 อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช และมีผลต่อขบวนการต่างๆ ของพืช เช่น ขบวนการหายใจ ขบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช เป็นต้น พืชแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิสูงต่ำแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเราแบ่งพืชออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
            1) พืชเมืองหนาวเป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20 องศาเซลเซียส เช่น แอปเปิล พลับ ท้อ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง ข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี เป็นต้น แต่ถ้านำพืชเหล่านี้มาปลูกในท้องถิ่นที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิดอาการใบไหม้ เนื่องจากมีการคายน้ำมากหรือเกิดการแข็งตัวของโปรโตพลาสซึมในเซลล์ใบพืช
            2) พืชเมืองร้อน เป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน ส้ม มะขาม ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หางนกยูง ราชพฤกษ์ ขี้เหล็ก สัก เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำไปปลูกในอุณหภูมิต่ำกว่านี้ จะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง
2.4 แสงสว่าง (Light) แสงสว่างที่ได้จากดวงอาทิตย์ จัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะแสงสว่างเป็นปัจจัยควบคุมสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ การหมุนเวียนของอากาศ การเกิดลมและฝน เป็นต้น สำหรับพืช แสงสว่างจัดเป็นพลังงานที่พืชนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล นอกจากแสงจะมีผลโดยตรงต่อขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นขบวนการ รากฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน และเป็นแหล่งของสารประกอบขั้นต้น เพื่อน ามาสังเคราะห์เป็น สารประกอบอินทรีย์ในพืช อันเป็นปัจจัยโดยตรงในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชแล้ว แสง ยังควบคุมขบวนการรากฐานของการเจริญเติบโตในระดับต่าง ๆ จนได้ผลรวมออกมาในรูปการ เจริญและเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง นอกจากนี้ แสงยังมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ใน การเจริญเติบโตของพืชด้วย เช่น การงอกของเมล็ด การพักตัวของเมล็ด การออกดอก แสงสว่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้
1) แสงมีความสำคัญต่อพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
2) แสงมีอิทธิพลต่อกำรสร้างผลผลิตพืช
3) คุณภาพของแสง
4) ความเข้มของแสง

2.5 อากาศ (Air) อากาศ คือ กลุ่มก๊าซชนิดต่ำงๆ ที่อยู่ในบรรยากาศทั่วไปและในดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซอื่นๆ มีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในดินในการหายใจ ถ้าในดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้รากพืชไม่เจริญเติบโต มีผลโดยตรงต่อการดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารพืช ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นพิษต่อพืช รากพืชดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อยลงเช่นกัน พืชใช้ก๊าซออกซิเจนเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อกระบวนการหายใจและใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงหรือการปรุงอาหารของพืช เพื่อให้ได้แป้งและน้ำตาล ในขณะที่ลมพัด โมเลกุลของก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และโมเลกุลของน้ำจะเคลื่อนที่เข้าและออกทางปากใบพืช ทำให้เกิดขบวนการและปฏิกิริยาต่างๆ ในพืช เช่น การหายใจ การคายน้ำ การสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชที่ปลูกอยู่ในที่ลมสงบ นอกจากนี้ ลมยังช่วยการผสมเกสรของพืชได้เป็นอย่างดี และช่วยทำให้เมล็ดปลิวกระจายไปกับสายลม เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้มีการกระจายพันธุ์พืชได้เป็นอย่างดี แต่ในบางครั้งลมก็มีโทษก็พืชเช่นกัน บางครั้งเมื่อเกิดพายุความแรงของลมทำให้ต้นไม้โค่นล้ม เสียหาย และยังเป็นปัจจัยการแพร่กระจายเชื้อโรคของพืชได้ เช่น รา สามารถฟุ้งกระจายไปในระยะไกล ก็ให้เกิดความเสียกายต่อพืชได้

2.6 แร่ธาตุอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช เนื่องจากแร่ธาตุอาหารเป็นส่วนประกอบของอาหาร เป็นส่วนประกอบของสารอินทรีย์ในขบวนการ สังเคราะห์แสงและการหายใจ และเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในกิจกรรมการสังเคราะห์แสงและ การหายใจ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่าแร่ธาตุใดจัดเป็นแร่ธาตุอาหารของพืช คือ 
1) ธาตุนั้นต้องมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และการสืบพันธุ์ ของพืช ถ้าขาดธาตุหนึ่งธาตุใด จะทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการ และการสืบพันธุ์ไม่สมบูรณ์ 
2) ความต้องการธาตุแต่ละธาตุต้องมีขอบเขตจ ากัด และไม่สามารถทดแทนกันได้ 
3) ธาตุเหล่านั้นต้องมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และไม่เป็น สาเหตุที่ไม่ททำให้ธาตุชนิดอื่น เกิดความเหมาะสม หรือเป็นอันตรายต่อพืช 
แร่ธาตุอาหารของพืช มีอยู่ด้วยกัน 16 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส เหล็ก ทองแดง กำมะถัน โมลิบดีนัม สังกะสี คลอรีน โบรอน แคลเซียม นอกจากนี้ วิทยาการสมัยใหม่ ยังค้นพบว่า ยังมีอีกหลายธาตุที่ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชเช่นกัน แต่ไม่ถูกจัดไว้ในบัญชีรายชื่อแร่ ธาตุอาหาร เช่น นิเกิล เป็นต้น กลุ่มของรายชื่อแร่ธาตุอาหารที่ระบุข้างต้นนี้ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 
1) ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก หรือธาตุอาหารหลัก มี 10 ธาตุ เรียกว่า Macronutrients ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แคลเซียม กำมะถัน 
2) ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย หรือธาตุอาหารรอง มี 6 ธาตุ เรียกว่า Micronutrients ได้แก่ แมงกานีส ทองแดง โมลิบดีนัม สังกะสี คลอรีน โบรอน อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าธาตุอาหารพืชใด จัดอยู่ในกลุ่มธาตุอาหารหลักหรือธาตุ อาหารรอง จะต้องพิจารณาจากพืชแต่ละชนิดเป็นสำคัญ เนื่องจากวิทยาการสมัยใหม่ กลับพบว่า ธาตุอาหารพืชบางชนิด อาจเป็นธาตุอาหารรองในพืชชนิดหนึ่ง แต่อาจเป็นธาตุอาหารหลักในพืช อีกชนิดหนึ่งก็ได้ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน (Carbon, C; Hydrogen, H, O) ; Oxygen ธาตุอาหารหลักทั้ง 3 นี้ เป็นองค์ประกอบของทุกสารประกอบ โดยประกอบกัน เป็นสารประกอบ hydrocarbon และทุกเซลล์ของพืช โดยเป็นส่วนต่าง ๆ ในระดับเซล ธาตุทั้ง 3 พืช มักไม่ขาดแคลน เพราะสามารถแสวงหาได้เอง จากอากาศ (สังคม,2558)
 

 



 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การตรวจเอกสาร

ระบบนิเวศ     ระบบนิเวศเป็นกระบวนการของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในระบบนิเวศ ได้แก่ กระบวนการสังเคราะห์แสง การผุสลายตัวของอินทรียวัตถุ กิจกรรมในการดำเนินชีวิตในฐานะเป็นผู้ล่า เป็นเหยื่อ เป็นสัตว์กินพืช กินเนื้อ เป็นพวกคอยเกาะกินผู้อื่น หรือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ปฏิกริยาร่วม (interaction) ภายในหรือระหว่างระดับชีวิต (trophic levels) ที่จัดเรียงตามลำดับขั้นของการบริโภคต่าง ๆ ดังกล่าวล้วนถือได้ว่าเป็นกระบวนการชีวิตที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเท และการสะสมพลังงานสาร และแร่ธาตุอาหาร  รวมทั้งการกระจายผ่านไปในวงจรต่าง ๆ ห่วงโซ่อาหารเป็นตัวอย่างอย่างดีในเรื่องของการถ่ายทอดพลังงาน และการหมุนเวียนของสาร และแร่ธาตุอาหารจากระดับชีวิตหนึ่งไปยังอีกระดับชีวิตหนึ่ง     นอกจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวแล้ว สิ่งไม่มีชีวิตในระบบนิเวศต่างก็ทำหน้าที่ช่วยให้เกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเท การสะสมพลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหารโดยผ่านกระบวนการทางกายภาพเช่นการหมุนเวียนของน้ำในโลกการพังทลายของดินการตกตะกอนการหมุนเวียนเปลี่ยนสภาพของสารและแร่ธาตุอาหารโดยกระบวนการทางกายภาพและธรณีเคมีอื่น ๆ เป็นต้นดังนั้นนักนิเวศวิทยาจึงมักเกี่ยวข้องและมุ่งศึกษาถึงปริมาณและอัตราที่พลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหารผ่านเข้ามาสะสมไว้และปลดปล่อยออกไปจากระบบ นิเวศการศึกษาถึงชนิดและบทบาทของสังคมชีวิตระดับต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบนิเวศแต่ละระบบรวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมในการดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่จึงมีความสำคัญต่อปริมาณคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตของระบบนิเวศแต่ละระบบซึ่งไม่เหมือนกัน     ลักษณะที่สำคัญของระบบนิเวศอีกอย่างหนึ่ง คือ ระบบนิเวศแต่ละระบบมีกลไกการควบคุมตัวเองอย่างสลับซับซ้อนที่สามารถ จำกัด จำนวนประชากรให้สมดุลกับสภาวะแวดล้อม และมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางสรีรวิทยา และพฤติกรรมของชีวิต รวมทั้งควบคุมปริมาณ และอัตราการเคลื่อนย้ายถ่ายเทพลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหาร กระบวนการเจริญเติบโตการสืบพันธุ์อัตราการตายแบบแผนการอพยพเข้า อพยพออก อุปนิสัย และความสามารถในการปรับตัว ล้วนเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลไกในการควบคุมตนเองของระบบ ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศทั้งสิ้น     ตามปกติพืชและสัตว์ซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของระบบนิเวศ มักจะมีด้วยกันมากมายหลายชนิดแต่ละต้นแต่ละตัวของแต่ละชนิดต่างก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชากรนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ประชากรแต่ละประชากรถือได้ว่าเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจัดได้ว่าเป็นหน่วยหนึ่งของระบบนิเวศที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือมองในอีกด้านหนึ่งจะเห็นว่าสัตว์และพืชแต่ละตัวแต่ละต้น เมื่อรวมเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบก็ถือได้ว่าเป็นระบบนิเวศย่อย ๆ หน่วยหนึ่งหรือถ้าหากรวมเอาทุกชีวิตในโลกเข้ากับสิ่งแวดล้อมทั้งหมดในชีวภพ (biosphere) ก็เป็นระบบนิเวศอีกลักษณะหนึ่งที่มีขอบเขตกว้างขวางออกไป ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวของสังคมชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ณ ที่หนึ่งที่ใด และจะมากน้อยขนาดไหนก็จัดเป็นระบบนิเวศได้ทั้งสิ้น ระบบนิเวศจึงมีรูปลักษณะโครงสร้างขนาดใหญ่หรือเล็กแค่ไหนอย่างไรก็ได้ แต่ระบบนิเวศทุกระบบจะเป็นหน่วยที่สำคัญในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา ซึ่งเปรียบความสำคัญได้เท่ากับชนิด (species) พืชและสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยที่สำคัญมากในการศึกษาด้านอนุกรมวิธานของพืชและสัตว์ เป็นต้น     อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศระดับใด ระบบนิเวศนั้นจะไม่ใช่ระบบปิด แต่จะเป็นระบบเปิดเสมอ พลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหาร จะสูญเสียไปจากระบบโดยผ่านกระบวนการชีวิตและกระบวนการทางกายภาพ พลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหาร ที่สูญเสียไปจะถูกแทนที่เข้ามาใหม่อีกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มิฉะนั้นระบบนิเวศนั้นจะไม่สามารถดำรงสภาพอยู่ได้ทางผ่านที่ทำให้เกิดการสูญเสียและการเข้ามาแทนที่ของพลังงานสารและแร่ธาตุอาหารเป็นสะพานเชื่อมระหว่างระบบนิเวศแต่ละระบบเข้าด้วยกัน จึงเป็นการยากที่จะกำหนดขอบเขตของระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่งให้แน่นอนลงไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีนักนิเวศวิทยาบางท่านไม่ยอมรับแนวความคิดเรื่องระบบนิเวศ เพราะเป็นหน่วยที่ปราศจากขอบเขตที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่ลืมว่า ความจริงแล้วก็เป็นการยากที่จะไปกำหนดพืชและสัตว์ว่าเป็นชนิดนั้นชนิดนี้ให้แตกต่างไปจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของมันโดยเด็ดขาดได้เหมือนกัน ดังนั้นแนวความคิดเรื่องระบบนิเวศจึงยังคงมีประโยชน์และใช้ได้อยู่ แต่เหมาะที่จะใช้ในระดับของสังคมชีวิต (community) มากกว่าในระดับประชากร (population) หรือในระดับแต่ละชีวิต (individual) ของชนิดประชากร อย่างไรก็ดี แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศนี้ก็ยังคงสามารถนำไปประยุกต์ในทุกระดับสังคมชีวิตได้อยู่ดี     Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก อีโคโลจิคอลซิสเต็ม (ecological system) นี้ว่าอีโคซีสเต็ม (ecosystem) ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้วแนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้าทานส
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา

    การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา มักแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิต (biotic factors) ซึ่งได้แก่ มนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมพืช และปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic factors) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากนั้นปัจจัยแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายประการดังนี้    1. ปัจจัยที่เกี่ยวกับดิน (edaphic factors) ดินเป็นเทหวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติปกคลุมผิวโลกอยู่บาง ๆ เกิดจากการแปรสภาพหรือผุสลายของหิน แร่ และอินทรีย์วัตถุ ผสมคลุกเคล้ากัน(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536) ดินเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวของพืชส่วนใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงมักถือเป็นสิ่งวัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งต่าง ๆ ได้ นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ความชื้นของดินก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพืชในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฤดูแล้งเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นจุดวิกฤติสำหรับการรอดตายของพืช (Sakurai et al., 1991) สอดคล้องกับรายงานของ Marod et al. (2002) ที่พบว่ากล้าไม้สำคัญในป่าผสมผลัดใบส่วนใหญ่มีอัตราการรอดตายลดต่ำลงมากเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งโดยทั่วไปพรรณไม้ส่วนใหญ่มีการพักตัวในฤดูแล้ง ซึ่งจะมีการผลัดใบและจัดสภาพทางสรีระวิทยาเพื่อการเจริญเติบโตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อย่างไรก็ตามการออกดอกออกผลของไม้ป่าหลายชนิดเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งทั้งนี้เพื่อการโปรยเมล็ดในจังหวะที่พอเหมาะกับการมีความชื้นที่ผิวดินเพื่อการงอกและเจริญเติบโตของกล้าไม้(Marod et al., 2002) ปริมาณน้ำในดินยังเป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดรากพืชตามธรรมชาติ (Donahue et al., 1971) นอกจากนั้นความชื้นในดินยังเป็นตัวควบคุมชนิดและการกระจายของพันธุ์พืช (อมลรัตน์, 2544)และยังจำเป็นต่อกระบวนการต่าง ๆ ของพืช กล่าวคือ น้ำ เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้เซลล์เต่ง และเป็นตัวกลางในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร อีกทั้งยังเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิภายในเซลล์พืช(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536)    2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ (topographic factor) สภาพภูมิประเทศนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทางอ้อมต่อสังคมพืช โดยเฉพาะมีผลต่อความแปรผันของปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ดิน และพลังงานที่ได้รับ การกระจายของสังคมพืชและพรรณพืชบางชนิดสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่กับภูมิประเทศ ในขณะที่ อุทิศ (2542) ได้อธิบายลักษณะภูมิประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ดังนี้         2.1 ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล (altitude) สภาพภูมิอากาศบางพื้นที่มีความผันแปรอย่างใกล้ชิดกับระดับความสูง ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศในระดับต่ำของโลกคือในชั้น troposphere มีอุณหภูมิลดลงตามความสูง โดยในสภาพอากาศที่แห้งอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 1 องศาเซลเซียส ต่อ 100 เมตร นอกจากนั้นอิทธิพลของความสูงที่มีผลต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายและการเจริญเติบโตของพรรณพืชโดยตรง แสดงให้เห็นทั้งในระดับกว้างและระดับแคบเฉพาะท้องถิ่น ในระดับกว้างแสดงให้เห็นได้ชัดจากการกระจายของสังคมพืชต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะการเรียงตัวของป่าชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนในระดับแคบแสดงให้เห็นการจากกระจายของสังคมพืชชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนถึงยอดเขาซึ่งมีความแตกต่างกัน (สคาร และ พงษ์ศักดิ์, 2546)            2.2 ความลาดชัน (slope) ความลาดเอียงของพื้นที่ มีผลโดยตรงต่อสังคมพืชน้อย แต่มีผลต่อปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและโอกาสของการปรากฏของไม้แต่ละชนิด และต่อโครงสร้างสังคมพืชส่วนรวม ระบบการระบายน้ำทั้งในผิวดินและส่วนลึกของดินขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ น้ำที่ไหลตามผิวดินมีความเร็วสูงเมื่อมีความลาดชันสูง ฉะนั้นโอกาสการซึมลงส่วนลึกของดินมีน้อย ในที่ลาดชันมากความชื้นค่อนข้างต่ำ ดินตื้นเนื่องจากการกัดชะของน้ำผิวดิน สังคมพืชคลุมดินจึงเป็นสังคมที่ต้องปรับตัวกับความแห้งแล้งได้ดี การจำแนกความลาดชันของพื้นที่ทางด้านป่าไม้นิยมแบ่งเป็นสี่ระดับคือ  1)  ระดับความลาดชันน้อย 5 – 10 องศา  2)  ความลาดชันปานกลาง 11 – 20 องศา  3)  ความลาดชันมาก 21 – 30 องศา และ  4)  ที่ลาดชันมาก ๆ 31 – 45 องศา (นิพนธ์, 2545)            2.3 ทิศด้านลาด (aspect) มีผลต่อการได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ปริมาณฝนที่ตกและลมที่พัดเอาความแห้งแล้งเข้ามาในพื้นที่ โดยปกติทิศด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกย่อมได้รับพลังงานมากกว่าทางทิศเหนือและทิศใต้ แต่เนื่องจากแกนโลกเอียงฉะนั้นในทางซีกโลกเหนือด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะได้รับพลังงานสูงสุด ในขณะที่ด้านที่หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับพลังงานน้อยที่สุด ในประเทศไทยทิศด้านลาดของภูเขามีผลอย่างยิ่งต่อการได้รับปริมาณน้ำฝน ซึ่งจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 1* และคณะ Thanakorn Lattirasuvan1*  1*สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 ……………………………………………………………….. บทคัดย่อ             การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ โดยทำการเลือกพื้นที่ 3 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดประกอบด้วย บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านกอก จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่สุ่มเลือกตัวแทนพื้นที่ละ 5 แปลง  วางแปลงสำรวจพืชที่ขึ้นร่วมกับสวนชาเมี่ยง เก็บตัวอย่างดิน ทั้งดินชั้นบน (0-5 cm) และดินชั้นล่าง (20-25 cm) วิเคราะห์สมบัติดินทั้งทางเคมีและกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางด้านเคมี พบว่าดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร     กิจกรรมนี้มีการวิจัยด้านค้นคว้าหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans โดยใช้สารสกัดจาก ใบเมี่ยงอบแห้งโดยสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ คำสำคัญ: ชาเมี่ยง สารต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรียสาเหตุโรคทางเดินอาหาร คาเทซิน กรรมวิธีการสกัด นิเวศวิทยา ภาคเหนือประเทศไทย การใช้ประโยชน์   ABSTRACT The study of “The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern” was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) and 2) to research the isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

บทที่5

สรุปและข้อเสนอแนะ สรุปผลการศึกษา        การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ พื้นที่สวนชาเมี่ยง พื้นที่หย่อมป่า พื้นที่สวนเกษตร และพื้นที่สวนหลังบ้าน ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากสวนชาเมี่ยงทั้ง 3 พื้นที่มีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน และมีการเหลือไว้ซึ่งต้นไม้ใหญ่เป็นที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเนื่องจากชาเมี่ยงต้องการร่มเงาเพื่อการเติบโตค่อนข้างสูง และจะได้ผลผลิตของชาเมี่ยงจำนวนมาก ถ้ามีต้นไม้ใหญ่มากจนเกินไปก็จะทำให้ผลผลิตของชาเมี่ยงลดลง ถ้าไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเลยก็จะทำให้ไม่ได้ผลผลิต สายลม และคณะ (2551) และพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังเป็นพื้นที่แนวกันชนระหว่างพื้นที่ทำการเกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี มีการป้องกันพื้นที่ ทำแนวกันไฟ อนุรักษ์พื้นที่ป่า รักษ์และหวงแหนในพื้นที่ป่าที่ตนทำสวนชาเมี่ยง ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางเคมี พบว่าทั้ง 3 พื้นที่ คุณสมบัติของดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร        การนำสารสกัดชั้นเอทานอลของใบชาเมี่ยงอบแห้ง (Camellia sinensis var. assamica) มาศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นในฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans และ Lactobacillus spp. และนำสารสกัดไปตรวจสอบองค์ประกอบในใบชาเมี่ยงอบแห้ง จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp.  สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.80 และ 18.00± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบชาเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ สำหรับงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพของใบเมี่ยงอบแห้งได้และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงอบแห้ง        การหาสภาวะการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC จากตัวอย่างใบเมี่ยง โดยการสกัดแบบรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากและเหมาะสมที่สุด คือ ใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล 1:25 (g/mL) กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด 350 วัตต์ และสกัดโดยใช้เวลา 20 นาที         การวิเคราะห์หาปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) พบว่าใบชาเมี่ยงจากจังหวัดเชียงราย มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 5.27 และ 2.51 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ ใบชาเมี่ยงจากจังหวัดพะเยา มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 11.71 และ 0.33 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ และใบชาเมี่ยงจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 10.11 และ 1.50 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ       การแยกองค์ประกอบทางเคมีของใบชาเมี่ยง ด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล แยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟี และการยืนยันโครงสร้างสารด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโกปี พบว่าสามารถแยกสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ได้น้ำหนัก 0.7293 กรัม และสารคาเทชิน (catechin) ได้น้ำหนัก 0.8951 กรัม ข้อเสนอแนะ     1. ควรมีการศึกษาการเพิ่มมูลค่าในพื้นที่สวนชาเมี่ยงรูปแบอื่นๆ เช่นการปลูกกาแฟ การเลี้ยงผึ้ง และ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน (carnivore) มนุษย์กินสัตว์เป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งเรียกว่า top carnivore การบริโภคแบบต่อเนื่องในลักษณะดังกล่าวก็คือห่วงโซ่อาหาร (food chain) ซึ่งหมายถึงการบริโภคอย่างมีขั้นตอนจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งไม่มีความยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน เช่น แพลงค์ตอนปรุงอาหารได้เอง ปลาเล็กกินแพลงค์ตอน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และมนุษย์กินปลาใหญ่    เป็นต้น บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามลำดับแต่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่าใยอาหาร (food web)   ส่วนประกอบที่มีชีวิตซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะกิจกรรมในระบบนิเวศหนึ่งๆ   มีดังนี้  1.1.ผู้ผลิต (producer organism) หรือพวก autotrophs ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีเพียงพืชสีเขียวที่มีสารคลอโรฟิลล์ในตัวเองและสามารถตรึงพลังงานแสงอาทิตย์มาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับวัตถุดิบในธรรมชาติ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และธาตุอาหารที่ละลายน้ำให้กลายเป็นสารมวลชีวภาพหรือสารประกอบอินทรีย์เคมีในรูปต่างๆ ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับส่วนประกอบอื่นที่ไม่มีชีวิตในแต่ละระบบนิเวศ 1.2.ผู้บริโภค (consumer organism) หรือพวก herbivore และ carnivore ได้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่จะบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่งในลักษณะที่มีระดับชั้นการกินอาหาร (trophic level) และถ่ายเทเป็นทอดๆ ผ่านไปในระบบนิเวศทำให้เกิดการไหลของพลังงานและสารในระบบ ผู้บริโภคสามารถแบ่งตามลำดับขั้นได้ดังนี้ 1.2.1 ผู้บริโภคระดับปฐมภูมิ (primary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร  (herbivores) สามารถนำเอาพลังงานที่อยู่ในรูปเนื้อเยื่อพืชมาใช้ได้ ได้แก่ แมลงต่างๆ เป็นต้น 1.2.2   ผู้บริโภคระดับทุติยภูมิ (secondary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ (carnivore) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่หรือแข็งแรงกว่าเหยื่อร่างกายมีพัฒนาเพื่อเหมาะแก่การล่า เช่น มีเขี้ยวเล็บแหลมคม มีพิษ ได้แก่ เสือ สิงโต งู และเหยี่ยว เป็นต้น  1.2.3  ผู้บริโภคระดับตติยภูมิ (tertiary consumer) หมายถึง สัตว์กินสัตว์ที่กินสัตว์อีกทีหนึ่ง (top carnivore) หรือเป็นพวกที่สามารถกินสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นของอาหารได้มากกว่าหนึ่งลำดับขั้น คือ อาจกินได้ทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) หลายชนิดก็ได้ 1.2.4  ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตพวก heterotrophic organism ที่สามารถย่อยสลายซากสารอินทรีย์ของสิ่งที่ตายแล้วให้เน่าเปื่อย และเปลี่ยนกลับไปเป็นสารอิสระหรือสาร   อนินทรีย์กลับคืนสู่สภาพแวดล้อมได้ ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ พวกแบคทีเรียหรือเห็ดราต่างๆ เป็นต้น ผู้ย่อยสลายนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะมีหน้าที่เป็นผู้ทำลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป และยังเป็นผู้ที่ทำให้มีสารอินทรีย์กลับกลายเป็นสารอิสระหรือสาร     อนินทรีย์ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการถ่ายเทสารกลับสู่สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ย่อยสลายจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic components) กับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components) ในระบบนิเวศนั่นเอง  การนำเอาขั้นการกินอาหารที่ระดับต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมาสร้างเป็นกราฟแท่งรูปทรงปิรามิด โดยที่มีระดับของผู้ผลิตอยู่ตรงฐานของปิรามิดถัดขึ้นไปเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่งและปลายสุดจะเป็นผู้บริโภคอันดับที่สูงกว่า เรียกกราฟแท่งเหล่านี้ว่าปิรามิดทางนิเวศวิทยา (ecological pyramid) ซึ่งจะสามารถแบ่งปิรามิดออกได้เป็น 3 ประเภท คือ &
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง การวิเคราะห์ปัจจัย โดยใช้การวิเคราะห์แบบ PCA (Principle Component Analysis) โดยใช้ปัจจัยทางเคมีของดิน ทั้ง 11 ปัจจัย ได้แก่ pH, CEC, OM, P, K, Na, Ca, Mg, Sand , Silt และ Clay  สำหรับพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยทางเคมีดินในพื้นที่สวนเมี่ยงที่แดสงออกเด่นชัดได้แก่ Ca, Mg และ K (รายละเอียดในตารางที่ 11 และภาพที่ 20) ตารางที่ 11 ปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง ของบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ผลการวิจัย

  ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษาบ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเพศชายมี 56 คน คิดเป็นร้อยละ 64.4 ส่วนเพศหญิงมี 31 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 47.1 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 26.4 และอายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 26.4     ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 70.0 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 8.0 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 และการศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรี จำนวน 3 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 3.4     อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 95.4 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ ประกออบอาชีพรับราชการ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 และประกอบอาชีพรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 1.1       รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้มากกว่า 90,001 บาทขึ้นไป จำนวน 41 คิดเป็นร้อยละ 16.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ มีรายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 18.4 มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 16.1 รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6.9 รายได้ 50,001-70,000 บาท มีจำนวน 5 คน คิดเป็ยร้อยละ 5.7 และรายได้ 70,001-90,000 จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 80.5 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 16.1 และย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 (ตารางที่ 3)  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการวิจัย

ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา             ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน พื้นที่ในการทำสนเมี่ยง ความสูงจากระดับน้ำทะเล ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้             ผู้ให้ข้อมูลจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง    อายุ ผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 61 ปีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 คนต่อครัวเรือน              พื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง โดยเฉลี่ยของแต่ละหมู่บ้าน ณบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ  13.20 ไร่/ครัวเรือน รองลงคือบ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เท่ากับ  4.60 ไร่/ครัวเรือน บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง 4.24 ไร่/ครัวเรือน และมีพื้นที่น้อยที่สุด เท่ากับ 2.2 ไร่/ครัวเรือน ที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางของสวนเมี่ยงมีค่าเฉลี่ย ระหว่าง 819-1,028 เมตร และบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านมีความสูง 379 เมตร ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะมีภูมิลำเนาในหมู่บ้านที่ทำสวนเมี่ยง ระยะเวลาในการทำสวนเมี่ยง ทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนมีระยะเวลาในการทำมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป (ตารางที่ 2)   ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความหลากหลายในภาพรวมทั้งพื้นที่ศึกษา และ สมบัติดินทางด้านเคมีในพื้นที่สวนชาเมี่ยง

ความหลากหลายในภาพรวมทั้งพื้นที่ศึกษา             พบชนิดพืชในพื้นที่ศึกษาจำนวน 14-22 ชนิด จำนวนวงศ์ เท่ากับ 12-16 วงศ์ ความหนาแน่นตั้งแต่ 1,040- 4,473 ต้นต่อเฮกแตร์ และพื้นที่หน้าตัด 4.07-11.13 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยง (IVI) เท่ากับ 134.31-226.08 ดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 0.65-1.24 ที่พื้นที่สวนเมี่ยงบ้านศรีนาป่านมีความสูงจากระดับน้ำทะเลในระดับต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆ (379 เมตร จากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง) เป็นไปได้ว่าในพื้นที่ระบบนิเวศดั้งเดิมเป็นป่าเบญจพรรณทำให้พื้นที่ศึกษามีความหลากหลายค่อนข้างต่ำ ประกอบกับมีความหนาแน่นของชนิดพืชสูง ทำให้ผลรวมพื้นที่หน้าตัดมีค่าสูง (11.13 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์) และค่าดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยง (IVI) มีค่ามากที่สุดเพราะการจัดการสวนชาเมี่ยงที่บ้านศรีนาป่านมีการปลูกระยะชิด และเป็นสวนชาเมี่ยงเริ่มปลูกได้ 3-5 ปี (ตารางที่ 8) ตารางที่ 8 ความหลากหลายในภาพรวมทั้งพื้นที่ศึกษา  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

ด้านวัฒนธรรม                  “เมี่ยง” นำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆโดยคนล้านนานิยมนำเมี่ยงมาอมหรือเคี้ยวหลังอาหารหรือยามว่าง ตัวอย่างวิถีล้านนากับการทานเมี่ยงแสดงดังภาพเขียนโบราณ “บ่าว-สาว ทานเมี่ยง” ที่ปรากฏเป็นภาพเขียนสีในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 118)  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน (carnivore) มนุษย์กินสัตว์เป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งเรียกว่า top carnivore การบริโภคแบบต่อเนื่องในลักษณะดังกล่าวก็คือห่วงโซ่อาหาร (food chain) ซึ่งหมายถึงการบริโภคอย่างมีขั้นตอนจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งไม่มีความยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน เช่น แพลงค์ตอนปรุงอาหารได้เอง ปลาเล็กกินแพลงค์ตอน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และมนุษย์กินปลาใหญ่    เป็นต้น บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามลำดับแต่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่าใยอาหาร (food web)   ส่วนประกอบที่มีชีวิตซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะกิจกรรมในระบบนิเวศหนึ่งๆ   มีดังนี้  1.1.ผู้ผลิต (producer organism) หรือพวก autotrophs ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีเพียงพืชสีเขียวที่มีสารคลอโรฟิลล์ในตัวเองและสามารถตรึงพลังงานแสงอาทิตย์มาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับวัตถุดิบในธรรมชาติ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และธาตุอาหารที่ละลายน้ำให้กลายเป็นสารมวลชีวภาพหรือสารประกอบอินทรีย์เคมีในรูปต่างๆ ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับส่วนประกอบอื่นที่ไม่มีชีวิตในแต่ละระบบนิเวศ 1.2.ผู้บริโภค (consumer organism) หรือพวก herbivore และ carnivore ได้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่จะบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่งในลักษณะที่มีระดับชั้นการกินอาหาร (trophic level) และถ่ายเทเป็นทอดๆ ผ่านไปในระบบนิเวศทำให้เกิดการไหลของพลังงานและสารในระบบ ผู้บริโภคสามารถแบ่งตามลำดับขั้นได้ดังนี้ 1.2.1 ผู้บริโภคระดับปฐมภูมิ (primary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร  (herbivores) สามารถนำเอาพลังงานที่อยู่ในรูปเนื้อเยื่อพืชมาใช้ได้ ได้แก่ แมลงต่างๆ เป็นต้น 1.2.2   ผู้บริโภคระดับทุติยภูมิ (secondary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ (carnivore) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่หรือแข็งแรงกว่าเหยื่อร่างกายมีพัฒนาเพื่อเหมาะแก่การล่า เช่น มีเขี้ยวเล็บแหลมคม มีพิษ ได้แก่ เสือ สิงโต งู และเหยี่ยว เป็นต้น  1.2.3  ผู้บริโภคระดับตติยภูมิ (tertiary consumer) หมายถึง สัตว์กินสัตว์ที่กินสัตว์อีกทีหนึ่ง (top carnivore) หรือเป็นพวกที่สามารถกินสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นของอาหารได้มากกว่าหนึ่งลำดับขั้น คือ อาจกินได้ทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) หลายชนิดก็ได้ 1.2.4  ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตพวก heterotrophic organism ที่สามารถย่อยสลายซากสารอินทรีย์ของสิ่งที่ตายแล้วให้เน่าเปื่อย และเปลี่ยนกลับไปเป็นสารอิสระหรือสาร   อนินทรีย์กลับคืนสู่สภาพแวดล้อมได้ ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ พวกแบคทีเรียหรือเห็ดราต่างๆ เป็นต้น ผู้ย่อยสลายนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะมีหน้าที่เป็นผู้ทำลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป และยังเป็นผู้ที่ทำให้มีสารอินทรีย์กลับกลายเป็นสารอิสระหรือสาร     อนินทรีย์ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการถ่ายเทสารกลับสู่สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ย่อยสลายจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic components) กับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components) ในระบบนิเวศนั่นเอง  การนำเอาขั้นการกินอาหารที่ระดับต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมาสร้างเป็นกราฟแท่งรูปทรงปิรามิด โดยที่มีระดับของผู้ผลิตอยู่ตรงฐานของปิรามิดถัดขึ้นไปเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่งและปลายสุดจะเป็นผู้บริโภคอันดับที่สูงกว่า เรียกกราฟแท่งเหล่านี้ว่าปิรามิดทางนิเวศวิทยา (ecological pyramid) ซึ่งจะสามารถแบ่งปิรามิดออกได้เป็น 3 ประเภท คือ &
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

นิเวศวิทยา และ องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา และ หน้าที่ของระบบนิเวศ

นิเวศวิทยา             คำว่านิเวศวิทยา เริ่มใช้ในจดหมายเหตุของ Henry Thoreau ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 ต่อมา Reiter ได้นำคำนี้มาใช้ในผลงานของเขาซึ่งพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานในปี ค.ศ. 1865 โดยนิเวศวิทยา มาจากรากศัพท์เดิมในภาษากรีก จากคำว่า oikos ซึ่งแปลว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัย ผสมกับคำว่า logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา รวมเป็น oecology และต่อมาได้เขียนตามหลักภาษาอังกฤษว่า ecology ใช้เรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย แม้ว่าวิชานิเวศวิทยาได้แยกตัวออกมาจากวิชาชีววิทยาแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักและสนใจกันเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี ค.ศ.1866 นักสัตววิทยาท่านหนึ่งคือ Ernst Haeckel ได้หยิบยกเอาคำนี้ขึ้นมาใช้และให้คำนิยามไว้ว่า "นิเวศวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ อย่างประหยัดของธรรมชาติ คือการศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ทั้งมวลของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ" จากคำนิยามนี้จึงเป็นการกำหนดแนวทางการศึกษาทางนิเวศวิทยาแก่นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในแนวดังกล่าว จึงยกย่องให้ Haeckel เป็นบิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านนี้              Charles Elton (1927)"นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านประวัติศาสตร์ของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของสัตว์" Shelford (1911) "นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านสังคม"  E. P. Odum (1971) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาทางโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ"  H. J. Oosting (1956) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของมัน"             Kimmins (1987) กล่าวว่าป่ามิใช่เป็นเพียงการมีต้นไม้มายืนร่วมกันแต่ยังประกอบด้วย (1) ต้นไม้ (2) วัตถุสารที่ต้นไม้และสัตว์ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ธาตุอาหารและความชื้น (3) พันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มาร่วมกระทำกันก่อให้เกิดร่มเงาต่อกัน แก่งแย่งกัน อาศัยประโยชน์ต่อกัน หรือทำลายกัน (4) สัตว์ที่ใช้อาหารจากพืช อาศัยประโยชน์และให้ประโยชน์ต่อพืช (5) จุลินทรีย์ที่ได้และให้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อต้นไม้ (6) ดินและบรรยากาศรวมถึงไฟป่าและความชื้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในป่า            Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก ecological system นี้ว่า ecosystem ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้ว แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า Tansley เป็นเวลาช้านาน เพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า microcosm หรือ biosystem เป็นต้น สำหรับนักนิเวศวิทยาชาวรัสเซียนิยมเรียกระบบนิเวศว่า biogeocoenoses หรือ biocoenosis คำว่า ecosystem ของ Tansley เป็นคำที่กะทัดรัดและเป็นที่ยอมรับกัน จึงเป็นที่นิยมใช้กันตั้งแต่นั้นมา การยอมรับระบบนิเวศว่าเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา นับเป็นประโยชน์และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการศึกษา และพัฒนาการในด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อ มาอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นจะต้องศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง (structure)  และหน้าที่ (function) ต่างๆ ของระบบนิเวศนั้นซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของแต่ละระบบนิเวศซึ่งไม่เหมือนกัน    องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต             สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กิ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อภิปรายผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

ด้านวิทยาศาสตร์               ได้ข้อมูลสำคัญหลายประการ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่ปลูกและคุณภาพทางเคมีกายภาพของใบชาเมี่ยงและได้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ของใบเมี่ยงหมัก (คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีและทางจุลชีววิทยา รวมถึงข้อมูลทางสุขอนามัยของเมี่ยงหมัก) สรุปสาระสำคัญดังนี้  1)    พื้นที่ปลูกเมี่ยง     เมี่ยงหมักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เมี่ยงฝาด และเมี่ยงส้ม โดยเมี่ยงฝาดจะมีการนำใบชาเมี่ยงมานึ่งและหมัก ประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถนำออกจำหน่ายได้ สำหรับเมี่ยงส้ม (ชาเมี่ยงที่มีการหมักจนกระทั่งความฝาดหายไปและเกิดรสเปรี้ยว) ได้จากการหมักใบชาเมี่ยง โดยใช้ระเวลานานหลายเดือน หรือ อาจถึง 1 ปี  2)    การวิเคราะห์ทางเคมี                เมี่ยงฝาด มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 4.5-6.0 และ เมี่ยงส้ม มีค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ในช่วง 3.0–4.0                 ปริมาณสารคาเทชินและอนุพันธ์ในตัวอย่างเมี่ยง พบว่า ใบชาเมี่ยงสดมีปริมาณสารคาเทชินมากกว่าใบเมี่ยงหมัก ซึ่งสารคาเทชินและอนุพันธ์ที่พบในใบชาเมี่ยงช่วยให้คำตอบคนที่อมเมี่ยงกล่าวว่า กินเมี่ยง แล้วรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิธีการหมักเมี่ยง ระยะเวลาและสถานที่ สภาพแวดล้อม ส่งผล โดยตรงต่อสารสำคัญในใบชาเมี่ยงสดและใบเมี่ยงหมัก 3)    ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย                องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมี่ยงในงานวิจัยนี้ พบว่า สารสกัดจากใบชาเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาเหตุแผลอักเสบได้ดีกว่าแบคทีเรียสาเหตุการเกิดท้องเสีย เมื่อปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ระหว่างจุลินทรีย์แกรมบวกและแกรมลบ มีแนวโน้มว่าสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแกรมลบ (โดยเฉพาะ Escherichia coli) สารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงยับยั้งการเจริญได้น้อย ทั้งนี้สารสกัดจากใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงสามารถยับยั้งการเจริญของ Propionibacterium acnes> Staphylococcus epidermidis > Bacillus cereus > S. aureus > Escherichia coli โดยให้ผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ Ikigai และคณะ (1993) ซึ่งพบว่า แบคทีเรียแกรมลบสามารถต้านทานต่อการทำลายชั้นไขมันที่ผนังเซลล์จากคาเทชินได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวก ถึงแม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้ Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์แกรมลบมีความสามารถในการต้านทานสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงได้ดีพอๆกับ Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก คุณสมบัติของสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงที่ได้จากพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในประเทศไทยแตกต่างจากแหล่งปลูกชาเมี่ยงอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาเมี่ยงต่อไปได้เป็นอย่างดี รวมถึง เป็นข้อมูลสนับสนุนหรือส่งเสริมให้คนกลับมาบริโภคเมี่ยงกันมากขึ้น               ในโครงการวิจัยนี้นอกจากจะชี้ให้เห็นประโยชน์อันทรงคุณค่าของชาเมี่ยงแล้ว ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของใบชาเมี่ยงในส่วนของใบชาเมี่ยงอ่อนโดยนำไปสกัดด้วยตัวทำละลายเพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในสารสกัด รวมถึง การใช้ใบชาเมี่ยงอ่อนไปทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และนำสารคาเทชินไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงที่พัฒนาขึ้น ได้แก่       (1) ผลิตภัณฑ์สปา                 แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และสบู่สำหรับบำรุงผิวหน้า ลดรอยด่างดำ เพื่อผิวหน้ากระจ่างใส                 สารสกัดจากใบชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus,S. epidermidis และ Propionibacterium acnes เมื่อนำผลิตภัณฑ์สปาทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ แชมพูและครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ใน อาสาสมัคร จำนวน 25 คน ด้วยวิธี Single Patch Test พบว่า ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากอาสาสมัครอยู่ในระดับมาก ในอนาคตองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สปาจากชาเมี่ยงควรนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดต่างๆ โดยสามารถใช้ข้อมูลที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้สนับสนุนการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้โดยชาวบ้านมามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยงโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำเสนอในที่พักแบบโฮมสเตย์ ตลอดจนจัดจำหน่ายเป็นของที่ระลึก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การเตรียมสมุนไพรสำหรับนำไปใช้ในเครื่องสำอางและยา

    สมุนไพรสามารถจำแนกตามรูปแบบการนำไปใช้งาน (Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center, 2013; Phongmanee and Sanampol, 2007) ดังนี้      กลุ่มที่ 1    สมุนไพรล้างพิษ ได้แก่ รางจืด ย่านาง หมอน้อย พลูคาว เป็นต้น กลุ่มที่ 2    สมุนไพรที่ให้ความชุ่มชื้นแก่เส้นผม ผิวหนัง ลดและป้องกันรอยเหี่ยวย่น ได้แก่ น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ว่านหางจระเข้ บัวบก น้ำผึ้ง ข้าวกล้อง กล้วย แครอท แตงกวา  บอระเพ็ด เกสรทั้งห้า ( มะลิ  พิกุล บุนนาค สารภี บัวหลวง) เป็นต้น กลุ่มที่ 3    สมุนไพรที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น ลดรอยแผลเป็น ลดรอยด่างดำ ได้แก่ มังคุด ทับทิม ว่านหางจระเข้ บัวบก ขมิ้น จันทร์แดง หม่อน พญายอ ทองพันชั่ง เป็นต้น กลุ่มที่ 4    สมุนไพรที่ใช้ทำความสะอาด ชะล้างความมัน เร่งการผลัดเซลล์ ได้แก่ มะขาม มะเขือเทศ ส้มป่อย มะขามป้อม กระเจี๊ยบ ไพล มะคำดีควาย สัปปะรด เป็นต้น กลุ่มที่ 5    สมุนไพรที่ลดการอักเสบ ลดอาการแพ้ ระคายเคืองและโรคผิวหนัง ได้แก่ ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร บัวบก กานพูล พญายอ จันทร์แดง เท้ายายม่อม ทองพันชั่ง เมล็ดดอกบานเย็น ย่ายางแดง รางจืด ตำลึง ผักบุ้ง พลู ชุมเห็ดเทศ ผักบุ้งทะเล บอระเพ็ด ชุมเห็ดไทย เป็นต้น กลุ่มที่ 6    สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ช่วยแต่งกลิ่นและมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ เกสรทั้งห้า การบูร ขมิ้นชัน ว่านนางดำ ไพร กรรณิการ์ แก้ว ลีลาวดี ปีป โมก กระดังงาน กุหลาบ กานพลู จำปี มะกรูด ขิง ข่า ตะไคร้ มะนาว ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง เป็นต้น กลุ่มที่ 7    สมุนไพรที่ให้สีสันสวยงาม ใช้แต่งแต้มอาหารและเครื่องสำอาง ได้แก่ ขมิ้นชัน ใบเตย อัญชัน แครอท ผักปลัง ครั่ง ฝางเสน กรรณิการ์ เป็นต้น   การเตรียมสมุนไพรแบบสกัด การเตรียมสมุนไพรแบบสกัด ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ (Azwanida, 2015) 1.    การเตรียมสมุนไพรแบบผง (Plant material preparation) 2.    การสกัด (Extraction) ด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสม จึงเป็นต้องทราบถึงความมีขั้วของสารสำคัญ เพื่อที่จะสามารถเลือกตัวทำละลายและวิธ๊การสกัดได้อย่างเหมาะสม 3.    การทำให้เข้มข้น (Concentration) ด้วยการระเหยด้วยเครื่องกลั่นระเหยสารแบบหมุน (Rotary-evaporation) หรือ การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze dehydration หรือ Lyophilization) 4.    การแยกสารสำคัญ (Separation) เพื่อให้ได้สารสำคัญที่มีความบริสุทธิ์มากขึ้น 5.   การวิเคราะห์สารสำคัญ (Identification) ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ ยกตัวอย่างเช่น Thin-Layer Chromatography (TLC), High Performance Liquid Chromatography (HPLC), Infrared (IR), UV-Visible Spectrophotometric, Mass Spectrometry (MS), Nuclear Magnetic Resonance Spectroscopy (NMR) เป็นต้น การสกัดสารสำคัญมีหลายวิธี เช่น การต้ม (Decoction) การคั้นน้ำสด (Juice Extraction) การสกัดเชิงกล (Mechanical Extraction) การกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam Distillation) และ การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction)              การสกัดด้วยตัวทำละลาย แบ่งออกเป็น การสกัดแบบชง (Percolation) การสกัดแบบต่อเนื่อง (Soxhlet Extraction) และ การหมัก (Maceration) การต้ม              เหมาะกับสารสำคัญที่สามารถละลายน้ำและทนความร้อนได้เป็นอย่างดี  ส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเปลือกไม้ รากไม้ เมล็ด หรือ ผลของพืชสมุนไพร การสกัดด้วยวิธีการต้ม สามารถนำไปใช้งานได้ทันที สำหรับข้อเสีย คือ สารสำคัญไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เนื่องจาก เกิดการเน่าเสีย การคั้นน้ำสด             สารสกัดที่ได้ เรียกว่า น้ำสกัด หรือ น้ำคั้น ทำโดยบีบเอาน้ำออกจากส่วนต่างของพืชสมุนไพรสด เช่น ผล ใบ ส่วนเหนือดิน ซึ่งการสกัดวิธีนี้เหมาะกับพืชไม่ทนความร้อน  สำหรับของเสียของการคั้นน้ำสด คือ สารสกัดสมุนไพรที่ได้ไม่ค่อยคงตัว เมื่อทิ้งไว้นานจะเกิดการเน่าเสีย หากต้องการเก็บไว้ใช้งานในระยะยาว จำเป็นต้องใช้สารกันเสีย หรือ ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรค
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การแยกองค์ประกอบทางเคมีของใบชาเมี่ยง

ใบชาเมี่ยงแห้งปั่นละเอียด จำนวน 1 กิโลกรัม สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล 4 ลิตร ด้วยการแช่ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน ทำการสกัดซ้ำอีก 3 ครั้ง กรองแล้วนำไประเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศ ได้สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยง 82.17 กรัม จากนั้น นำสารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงแยกด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทราฟีเฟสคงที่ซิลิกาเจล (คอลัมน์ความสูง 12 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร) เฟสเคลื่อนใช้ตัวทำละลายแบบเพิ่มขั้ว (แกรเดี่ยน) เริ่มจาก EA: Hexane (0: 100) ถึง EA: Hexane (100:0) และ MeOH: EA (100:0) เก็บสารละลายในภาชนะใบละ 50 ml เมื่อระเหยตัวทำละลายออกและทำการรวมแฟลกชันสารด้วย TLC ได้ทั้งหมด 12 แฟลกชัน ดังแผนภาพที่ 9 ภายใต้แสงยูวี 254 นาโนเมตร (A) และ พ่นด้วยสารละลาย ?-anisaldehyde (B) จากนั้นทำการการเก็บน้ำหนักและลักษณะทางกายภาพ ดังตารางที่ 4
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (ต่อ 4)

6. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบชาเมี่ยง 6.1) การผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง คณะผู้วิจัยทำการออกแบบผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง 4 ชนิด ได้แก่ 1)    แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วง สูตร 1 ชาเมี่ยง (ภาพที่ 64)        การปรับสูตรโดยการคัดเลือกวัตถุดิบชนิดต่างๆ ได้แก่ สารชำระล้าง สารเพิ่มความหนืด สารเพิ่มความคงตัวของสูตร สารปรับสภาพผมไม่ให้แห้งหลังสระและสารเพิ่มความนุ่มลื่นของเส้นผม เป็นต้น นอกจากนั้นยังพัฒนาสูตรน้ำหอมจากการผสมน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือและน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลไม้จนได้กลิ่นที่เหมาะสมและได้สูตรที่มีความคงตัวดีโดยมีส่วนผสมธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปแชมพู ชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้   1)    ส่วนผสมธรรมชาติ         ผงมุก ลาโนลีน น้ำผึ้ง น้ำมันงาสกัดเย็น มะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดหลินจือ สารสกัดหนานเฉาเหว่ย สารสกัดใบขี้เหล็ก สารสกัดอินทนิลน้ำ ใบหมี่ เกลือแกง สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ สำหรับใช้เป็นสารกันเสีย และน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติจากดอกไม้กลิ่นตามความชอบ    2)    ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปแชมพู         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบเมี่ยงสดที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0 ครีมนวดผมชาเมี่ยง        สำหรับส่วนผสมธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้ 1)    สารสกัดสมุนไพร         สารสกัดว่านหางจระเข้ สารสกัดมะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดอัญชัน สารสกัดอินทนิลน้ำ      2)    สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ         มะขามป้อม มะคำดีควาย ส้มป่อย บอระเพ็ด หนานเฉาเหว่ย หลินจือ ในปริมาณที่เหมาะสม 3)    สารอื่นๆ          Wax AB น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ผงมุก      ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยง         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบชาเมี่ยงที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0  4)    ผลการสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2      การสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผลการสำรวจ แบ่งออกเป็น 6  ส่วน ดังนี้     ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2     ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจในคุณสมบัติของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 3 ผลหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 5 การตัดสินใจหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 6 ข้อเสนอแนะสำหรับผลิตภัณฑ์ ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวด สมุนไพร สูตร 2   ตารางที่ 33  เพศของผู้ทดลองใช้
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

หน้าที่ของระบบนิเวศ

หน้าที่ของระบบนิเวศ             Odum et al. (1962) ได้แบ่งหน้าที่ที่สำคัญของระบบนิเวศออกเป็น 3 ประเภทคือ 1.    การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ  2.    การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุต่างๆ ในระบบนิเวศ   3.    กลไกการควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยปัจจัยแวดล้อม ความต้องการแสงสว่างของพืชและการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมจากการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่น การตรึงไนโตรเจนด้วยจุลินทรีย์บางชนิด เป็นต้น การจำแนกทำนองนี้ทำให้สะดวกต่อการศึกษาหน้าที่ของระบบนิเวศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างของระบบที่แตกต่างกันย่อมมีผลให้อัตราการถ่ายทอด การสะสมพลังงาน การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุอาหารผิดแปลกแตกต่างกันไปอีกด้วย (นิวัติ, 2541) 1.การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตในระบบนิเวศ เริ่มต้นจากการถ่ายทอดพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของพลังงานแสง (photo energy) พืชสีเขียวจะตรึงพลังงานจากแสงมาแปรสภาพเป็นแป้ง และน้ำตาลสะสมในรูปมวลชีวภาพของพืช จากนั้นพลังงานบางส่วนในพืชจะสูญเสียไปในกระบวนการการหายใจ บางส่วนจะถ่ายทอดผ่านผู้บริโภคและจุลินทรีย์ในดิน ทุกขั้นตอนที่มีการถ่ายทอดพลังงานผ่านระดับชีวิตจะเกิดการสูญเสียพลังงานไปจากระบบนิเวศในรูปของความร้อน การถ่ายเทวัตถุและพลังงานทำให้ระบบนิเวศมีการเคลื่อนไหวถ่ายเท เช่น การดูดซับแสงโดยพื้นดินและพื้นน้ำทำให้เกิดบริเวณที่ร้อนและเย็นขึ้นจึงทำให้              5.3) พืชที่ต้องการน้ำปริมาณน้อย เป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในที่ที่ปริมาณฝนตกน้อย ขาดแคลนน้ำ หรือในที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายซึ่งอุ้มน้ำได้ไม่ดี เช่น มันสำปะหลัง ป่านศรนารายณ์ กระบองเพชร เป็นต้น              5.4) พืชที่มีระบบรากพิเศษ คือ พืชที่มีส่วนประกอบบางส่วน    เปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปดูดซึมความชื้นในอากาศไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้พืชสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี เช่น กล้วยไม้ สกุลต่างๆ เป็นต้น      2.3 อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช และมีผลต่อขบวนการต่างๆ ของพืช เช่น ขบวนการหายใจ ขบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช เป็นต้น พืชแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิสูงต่ำแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเราแบ่งพืชออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้             1) พืชเมืองหนาวเป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20 องศาเซลเซียส เช่น แอปเปิล พลับ ท้อ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง ข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี เป็นต้น แต่ถ้านำพืชเหล่านี้มาปลูกในท้องถิ่นที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิดอาการใบไหม้ เนื่องจากมีการคายน้ำมากหรือเกิดการแข็งตัวของโปรโตพลาสซึมในเซลล์    ใบพืช             2) พืชเมืองร้อน เป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน ส้ม มะขาม ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง  หางนกยูง ราชพฤกษ์ ขี้เหล็ก สัก เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำไปปลูกในอุณหภูมิต่ำกว่านี้   จะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง 2.4 แสงสว่าง (Light) แสงสว่างที่ได้จากดวงอาทิตย์ จัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะแสงสว่างเป็นปัจจัยควบคุมสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ การหมุนเวียนของอากาศ การเกิดลมและฝน เป็นต้น สำหรับพืช แสงสว่างจัดเป็นพลังงานที่พืชนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล นอกจากแสงจะมีผลโดยตรงต่อขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นขบวนการ รากฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน และเป็นแหล่งของสารประกอบขั้นต้น เพื่อน ามาสังเคราะห์เป็น สารประกอบอินทรีย์ในพืช อันเป็นปัจจัยโดยตรงในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชแล้ว แสง ยังควบคุมขบวนการรากฐานของการเจริญเติบโตในระดับต่าง ๆ จนได้ผลรวมออกมาในรูปการ เจริญและเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง นอกจากนี้ แสงยังมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ใน การเจริญเติบโตของพืชด้วย เช่น การงอกของเมล็ด การพักตัวของเมล็ด การออกดอก แสงสว่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้ 1) แสงมีความสำคัญต่อพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด 2) แสงมีอิทธิพลต่อกำรสร้างผลผลิตพืช 3) คุณภาพของแสง 4) ความเข้มของแสง 2.5 อากาศ (Air) อากาศ คือ กลุ่มก๊าซชนิดต่ำงๆ ที่อยู่ในบรรยากาศทั่วไปและในดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซอื่นๆ มีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในดินในการหายใจ ถ้าในดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้รากพืชไม่เจริญเติบโต มีผลโดยตรงต่อการดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารพืช ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นพิษต่อพืช รากพืชดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อยลงเช่นกัน พืชใช้ก๊าซออกซิเจนเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อกระบวนการหายใจและใ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

นิเวศวิทยา และ องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา และ หน้าที่ของระบบนิเวศ

นิเวศวิทยา             คำว่านิเวศวิทยา เริ่มใช้ในจดหมายเหตุของ Henry Thoreau ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 ต่อมา Reiter ได้นำคำนี้มาใช้ในผลงานของเขาซึ่งพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานในปี ค.ศ. 1865 โดยนิเวศวิทยา มาจากรากศัพท์เดิมในภาษากรีก จากคำว่า oikos ซึ่งแปลว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัย ผสมกับคำว่า logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา รวมเป็น oecology และต่อมาได้เขียนตามหลักภาษาอังกฤษว่า ecology ใช้เรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย แม้ว่าวิชานิเวศวิทยาได้แยกตัวออกมาจากวิชาชีววิทยาแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักและสนใจกันเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี ค.ศ.1866 นักสัตววิทยาท่านหนึ่งคือ Ernst Haeckel ได้หยิบยกเอาคำนี้ขึ้นมาใช้และให้คำนิยามไว้ว่า "นิเวศวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ อย่างประหยัดของธรรมชาติ คือการศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ทั้งมวลของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ" จากคำนิยามนี้จึงเป็นการกำหนดแนวทางการศึกษาทางนิเวศวิทยาแก่นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในแนวดังกล่าว จึงยกย่องให้ Haeckel เป็นบิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านนี้              Charles Elton (1927)"นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านประวัติศาสตร์ของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของสัตว์" Shelford (1911) "นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านสังคม"  E. P. Odum (1971) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาทางโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ"  H. J. Oosting (1956) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของมัน"             Kimmins (1987) กล่าวว่าป่ามิใช่เป็นเพียงการมีต้นไม้มายืนร่วมกันแต่ยังประกอบด้วย (1) ต้นไม้ (2) วัตถุสารที่ต้นไม้และสัตว์ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ธาตุอาหารและความชื้น (3) พันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มาร่วมกระทำกันก่อให้เกิดร่มเงาต่อกัน แก่งแย่งกัน อาศัยประโยชน์ต่อกัน หรือทำลายกัน (4) สัตว์ที่ใช้อาหารจากพืช อาศัยประโยชน์และให้ประโยชน์ต่อพืช (5) จุลินทรีย์ที่ได้และให้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อต้นไม้ (6) ดินและบรรยากาศรวมถึงไฟป่าและความชื้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในป่า            Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก ecological system นี้ว่า ecosystem ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้ว แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า Tansley เป็นเวลาช้านาน เพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า microcosm หรือ biosystem เป็นต้น สำหรับนักนิเวศวิทยาชาวรัสเซียนิยมเรียกระบบนิเวศว่า biogeocoenoses หรือ biocoenosis คำว่า ecosystem ของ Tansley เป็นคำที่กะทัดรัดและเป็นที่ยอมรับกัน จึงเป็นที่นิยมใช้กันตั้งแต่นั้นมา การยอมรับระบบนิเวศว่าเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา นับเป็นประโยชน์และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการศึกษา และพัฒนาการในด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อ มาอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นจะต้องศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง (structure)  และหน้าที่ (function) ต่างๆ ของระบบนิเวศนั้นซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของแต่ละระบบนิเวศซึ่งไม่เหมือนกัน    องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต             สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กิ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก            การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน   สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย       ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้   สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50         ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดล
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

หน้าที่ของระบบนิเวศ

หน้าที่ของระบบนิเวศ             Odum et al. (1962) ได้แบ่งหน้าที่ที่สำคัญของระบบนิเวศออกเป็น 3 ประเภทคือ 1.    การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ  2.    การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุต่างๆ ในระบบนิเวศ   3.    กลไกการควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยปัจจัยแวดล้อม ความต้องการแสงสว่างของพืชและการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมจากการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่น การตรึงไนโตรเจนด้วยจุลินทรีย์บางชนิด เป็นต้น การจำแนกทำนองนี้ทำให้สะดวกต่อการศึกษาหน้าที่ของระบบนิเวศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างของระบบที่แตกต่างกันย่อมมีผลให้อัตราการถ่ายทอด การสะสมพลังงาน การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุอาหารผิดแปลกแตกต่างกันไปอีกด้วย (นิวัติ, 2541) 1.การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตในระบบนิเวศ เริ่มต้นจากการถ่ายทอดพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของพลังงานแสง (photo energy) พืชสีเขียวจะตรึงพลังงานจากแสงมาแปรสภาพเป็นแป้ง และน้ำตาลสะสมในรูปมวลชีวภาพของพืช จากนั้นพลังงานบางส่วนในพืชจะสูญเสียไปในกระบวนการการหายใจ บางส่วนจะถ่ายทอดผ่านผู้บริโภคและจุลินทรีย์ในดิน ทุกขั้นตอนที่มีการถ่ายทอดพลังงานผ่านระดับชีวิตจะเกิดการสูญเสียพลังงานไปจากระบบนิเวศในรูปของความร้อน การถ่ายเทวัตถุและพลังงานทำให้ระบบนิเวศมีการเคลื่อนไหวถ่ายเท เช่น การดูดซับแสงโดยพื้นดินและพื้นน้ำทำให้เกิดบริเวณที่ร้อนและเย็นขึ้นจึงทำให้              5.3) พืชที่ต้องการน้ำปริมาณน้อย เป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในที่ที่ปริมาณฝนตกน้อย ขาดแคลนน้ำ หรือในที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายซึ่งอุ้มน้ำได้ไม่ดี เช่น มันสำปะหลัง ป่านศรนารายณ์ กระบองเพชร เป็นต้น              5.4) พืชที่มีระบบรากพิเศษ คือ พืชที่มีส่วนประกอบบางส่วน    เปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปดูดซึมความชื้นในอากาศไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้พืชสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี เช่น กล้วยไม้ สกุลต่างๆ เป็นต้น      2.3 อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช และมีผลต่อขบวนการต่างๆ ของพืช เช่น ขบวนการหายใจ ขบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช เป็นต้น พืชแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิสูงต่ำแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเราแบ่งพืชออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้             1) พืชเมืองหนาวเป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20 องศาเซลเซียส เช่น แอปเปิล พลับ ท้อ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง ข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี เป็นต้น แต่ถ้านำพืชเหล่านี้มาปลูกในท้องถิ่นที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิดอาการใบไหม้ เนื่องจากมีการคายน้ำมากหรือเกิดการแข็งตัวของโปรโตพลาสซึมในเซลล์    ใบพืช             2) พืชเมืองร้อน เป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน ส้ม มะขาม ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง  หางนกยูง ราชพฤกษ์ ขี้เหล็ก สัก เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำไปปลูกในอุณหภูมิต่ำกว่านี้   จะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง 2.4 แสงสว่าง (Light) แสงสว่างที่ได้จากดวงอาทิตย์ จัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะแสงสว่างเป็นปัจจัยควบคุมสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ การหมุนเวียนของอากาศ การเกิดลมและฝน เป็นต้น สำหรับพืช แสงสว่างจัดเป็นพลังงานที่พืชนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล นอกจากแสงจะมีผลโดยตรงต่อขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นขบวนการ รากฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน และเป็นแหล่งของสารประกอบขั้นต้น เพื่อน ามาสังเคราะห์เป็น สารประกอบอินทรีย์ในพืช อันเป็นปัจจัยโดยตรงในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชแล้ว แสง ยังควบคุมขบวนการรากฐานของการเจริญเติบโตในระดับต่าง ๆ จนได้ผลรวมออกมาในรูปการ เจริญและเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง นอกจากนี้ แสงยังมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ใน การเจริญเติบโตของพืชด้วย เช่น การงอกของเมล็ด การพักตัวของเมล็ด การออกดอก แสงสว่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้ 1) แสงมีความสำคัญต่อพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด 2) แสงมีอิทธิพลต่อกำรสร้างผลผลิตพืช 3) คุณภาพของแสง 4) ความเข้มของแสง 2.5 อากาศ (Air) อากาศ คือ กลุ่มก๊าซชนิดต่ำงๆ ที่อยู่ในบรรยากาศทั่วไปและในดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซอื่นๆ มีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในดินในการหายใจ ถ้าในดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้รากพืชไม่เจริญเติบโต มีผลโดยตรงต่อการดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารพืช ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นพิษต่อพืช รากพืชดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อยลงเช่นกัน พืชใช้ก๊าซออกซิเจนเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อกระบวนการหายใจและใ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการวิเคราะข้อมูลในงานวิจัย ครั้งนี้จะสรุปผลจากการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน คือผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชี และการวิเคราห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทาน อธิบายได้ดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชี การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative analysis)  เป็นการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยรวบรวมข้อมูล จากข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รวบรวมจากแบบสัมภาษณ์จากผู้ผลิตเมี่ยง โดยการบรรยายสรุปและใช้สถิติในรูปของค่าเฉลี่ยและร้อยละในการอธิบาย เพื่อให้ทราบถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเมี่ยงของผู้ผลิต การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)   นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเมี่ยงเพื่อคำนวณหาต้นทุน รายได้ และกำไรจากการลงทุนการผลิตเมี่ยง ซึ่งจะคำนวณผลตอบแทนดังนี้ 1.    ต้นทุนคงที่ (Total Fixed Cost : TFC)      
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคม

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมี 53.1 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนเพศชายมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 40.6 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 34.4 และอายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 25.0      ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3       อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0     รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ รายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 และรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 96.3 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 และย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ตารางที่ 23
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี และ สรุปและอภิปรายผลงานวิจัยลักษณะนิเวศของสวนชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี             ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีมีค่าสูงสุดในจังหวัดเชียงใหม่เท่ากับ 1,280.58 มิลลิเมตร รองลงมาที่จังหวัดแพร่ น่าน และลำปาง มีค่าเท่ากับ 1,260.64,  1,169.29 และ 1,109.72 มิลลิเมตรตามลำดับ (ตารางที่ 23) ตารางที่ 23 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี (มิลลิเมตร)