ผลการวิจัย

 

ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษาบ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้
    เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเพศชายมี 56 คน คิดเป็นร้อยละ 64.4 ส่วนเพศหญิงมี 31 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6 
    อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 47.1 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 26.4 และอายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 26.4
    ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 70.0 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 8.0 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 และการศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรี จำนวน 3 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 3.4
    อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 95.4 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ ประกออบอาชีพรับราชการ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 และประกอบอาชีพรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 1.1  
    รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้มากกว่า 90,001 บาทขึ้นไป จำนวน 41 คิดเป็นร้อยละ 16.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ มีรายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 18.4 มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 16.1 รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6.9 รายได้ 50,001-70,000 บาท มีจำนวน 5 คน คิดเป็ยร้อยละ 5.7 และรายได้ 70,001-90,000 จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7
    ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 80.5 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 16.1 และย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 (ตารางที่ 3)
 

        การจัดการสวนชาเมี่ยง ในหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น โดยจะมีวิธีการจัดการด้วยการตัดแต่งกิ่ง และลำต้นของต้นชาเมี่ยง ไม่ให้ลำต้นชาเมี่ยงนั้นสูงจนเกินไป ทำให้เก็บใบชาเมี่ยงได้ง่าย และมีขนาดทรงพุ่มที่กว้างขึ้นได้ผลิตที่มากขึ้น  จะมีการตัดแต่ง 1-2 ปี ต่อ 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการเติบโตของต้นชาเมี่ยง และเจ้าของแปลง ส่วนการดูแลสวนชาเมี่ยง ไม่มีการรดน้ำ ไม่มีการใส่ปุ๋ย ไม่ใช้สารเคมี ในการจัดการ จะมีเพียงการกำจัดวัชพืช เพื่อง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และทำให้พื้นที่โล่งป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษ มีการกำจัดวัชพืชปีละ 3-4 ครั้ง โดยจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง การเก็บเกี่ยวผลผลิตของชาเมี่ยงนั้นจะเก็บเป็นยอดชา 1 ยอด 2 ใบ ไปแปรรูปแป็นชาเมี่ยงตากแห้งเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยมีวิธีในการทำคือ นำใบชาเมี่ยงมาคั่วให้พอประมาณ นำชาเมี่ยงที่คั่วแล้วมานวดนวด ต่อจากนั้นนำมาตากแดดให้แห้ง และก็สามารถขายได้ ขายกิโลกรัมละ 200-300 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่บ้าน รายได้เฉลี่ยจากการทำชาเมี่ยงแปรรูปเฉลี่ยครัวเรือนละ 10,000 บาทต่อปี

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อภิปรายผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

ด้านวิทยาศาสตร์               ได้ข้อมูลสำคัญหลายประการ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่ปลูกและคุณภาพทางเคมีกายภาพของใบชาเมี่ยงและได้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ของใบเมี่ยงหมัก (คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีและทางจุลชีววิทยา รวมถึงข้อมูลทางสุขอนามัยของเมี่ยงหมัก) สรุปสาระสำคัญดังนี้  1)    พื้นที่ปลูกเมี่ยง     เมี่ยงหมักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เมี่ยงฝาด และเมี่ยงส้ม โดยเมี่ยงฝาดจะมีการนำใบชาเมี่ยงมานึ่งและหมัก ประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถนำออกจำหน่ายได้ สำหรับเมี่ยงส้ม (ชาเมี่ยงที่มีการหมักจนกระทั่งความฝาดหายไปและเกิดรสเปรี้ยว) ได้จากการหมักใบชาเมี่ยง โดยใช้ระเวลานานหลายเดือน หรือ อาจถึง 1 ปี  2)    การวิเคราะห์ทางเคมี                เมี่ยงฝาด มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 4.5-6.0 และ เมี่ยงส้ม มีค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ในช่วง 3.0–4.0                 ปริมาณสารคาเทชินและอนุพันธ์ในตัวอย่างเมี่ยง พบว่า ใบชาเมี่ยงสดมีปริมาณสารคาเทชินมากกว่าใบเมี่ยงหมัก ซึ่งสารคาเทชินและอนุพันธ์ที่พบในใบชาเมี่ยงช่วยให้คำตอบคนที่อมเมี่ยงกล่าวว่า กินเมี่ยง แล้วรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิธีการหมักเมี่ยง ระยะเวลาและสถานที่ สภาพแวดล้อม ส่งผล โดยตรงต่อสารสำคัญในใบชาเมี่ยงสดและใบเมี่ยงหมัก 3)    ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย                องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมี่ยงในงานวิจัยนี้ พบว่า สารสกัดจากใบชาเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาเหตุแผลอักเสบได้ดีกว่าแบคทีเรียสาเหตุการเกิดท้องเสีย เมื่อปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ระหว่างจุลินทรีย์แกรมบวกและแกรมลบ มีแนวโน้มว่าสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแกรมลบ (โดยเฉพาะ Escherichia coli) สารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงยับยั้งการเจริญได้น้อย ทั้งนี้สารสกัดจากใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงสามารถยับยั้งการเจริญของ Propionibacterium acnes> Staphylococcus epidermidis > Bacillus cereus > S. aureus > Escherichia coli โดยให้ผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ Ikigai และคณะ (1993) ซึ่งพบว่า แบคทีเรียแกรมลบสามารถต้านทานต่อการทำลายชั้นไขมันที่ผนังเซลล์จากคาเทชินได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวก ถึงแม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้ Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์แกรมลบมีความสามารถในการต้านทานสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงได้ดีพอๆกับ Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก คุณสมบัติของสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงที่ได้จากพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในประเทศไทยแตกต่างจากแหล่งปลูกชาเมี่ยงอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาเมี่ยงต่อไปได้เป็นอย่างดี รวมถึง เป็นข้อมูลสนับสนุนหรือส่งเสริมให้คนกลับมาบริโภคเมี่ยงกันมากขึ้น               ในโครงการวิจัยนี้นอกจากจะชี้ให้เห็นประโยชน์อันทรงคุณค่าของชาเมี่ยงแล้ว ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของใบชาเมี่ยงในส่วนของใบชาเมี่ยงอ่อนโดยนำไปสกัดด้วยตัวทำละลายเพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในสารสกัด รวมถึง การใช้ใบชาเมี่ยงอ่อนไปทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และนำสารคาเทชินไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงที่พัฒนาขึ้น ได้แก่       (1) ผลิตภัณฑ์สปา                 แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และสบู่สำหรับบำรุงผิวหน้า ลดรอยด่างดำ เพื่อผิวหน้ากระจ่างใส                 สารสกัดจากใบชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus,S. epidermidis และ Propionibacterium acnes เมื่อนำผลิตภัณฑ์สปาทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ แชมพูและครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ใน อาสาสมัคร จำนวน 25 คน ด้วยวิธี Single Patch Test พบว่า ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากอาสาสมัครอยู่ในระดับมาก ในอนาคตองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สปาจากชาเมี่ยงควรนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดต่างๆ โดยสามารถใช้ข้อมูลที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้สนับสนุนการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้โดยชาวบ้านมามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยงโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำเสนอในที่พักแบบโฮมสเตย์ ตลอดจนจัดจำหน่ายเป็นของที่ระลึก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการวิจัย

ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา             ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน พื้นที่ในการทำสนเมี่ยง ความสูงจากระดับน้ำทะเล ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้             ผู้ให้ข้อมูลจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง    อายุ ผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 61 ปีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 คนต่อครัวเรือน              พื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง โดยเฉลี่ยของแต่ละหมู่บ้าน ณบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ  13.20 ไร่/ครัวเรือน รองลงคือบ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เท่ากับ  4.60 ไร่/ครัวเรือน บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง 4.24 ไร่/ครัวเรือน และมีพื้นที่น้อยที่สุด เท่ากับ 2.2 ไร่/ครัวเรือน ที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางของสวนเมี่ยงมีค่าเฉลี่ย ระหว่าง 819-1,028 เมตร และบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านมีความสูง 379 เมตร ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะมีภูมิลำเนาในหมู่บ้านที่ทำสวนเมี่ยง ระยะเวลาในการทำสวนเมี่ยง ทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนมีระยะเวลาในการทำมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป (ตารางที่ 2)   ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ผลการวิจัย

  ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษาบ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเพศชายมี 56 คน คิดเป็นร้อยละ 64.4 ส่วนเพศหญิงมี 31 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 47.1 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 26.4 และอายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 26.4     ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 70.0 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 8.0 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 และการศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรี จำนวน 3 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 3.4     อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 95.4 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ ประกออบอาชีพรับราชการ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 และประกอบอาชีพรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 1.1       รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้มากกว่า 90,001 บาทขึ้นไป จำนวน 41 คิดเป็นร้อยละ 16.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ มีรายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 18.4 มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 16.1 รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6.9 รายได้ 50,001-70,000 บาท มีจำนวน 5 คน คิดเป็ยร้อยละ 5.7 และรายได้ 70,001-90,000 จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 80.5 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 16.1 และย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 (ตารางที่ 3)  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก            การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน   สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย       ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้   สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50         ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดล
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความต้องการของชาและการดูแลรักษา

        ชาเจริญเติบโตได้ดีในภูมิประเทศต่าง ๆ กัน กล่าวคือ สามารถเจริญได้ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาว ยกเว้นในพื้นที่ที่มีน้ำแข็ง ซึ่งได้แก่บริเวณเส้นรุ้งที่ 29 องศาเหนือ กับเส้นแวงที่  98 องศาตะวันออก ปัจจัยสำคัญในการปลูกชา ควรพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้คือ ดิน ชาเจริญงอกงามในดินร่วนที่มีการระบายน้ำได้ดี หน้าดินมีอินทรียวัตถุสูง มีธาตุไนโตรเจนมาก และดินเป็นกรดเล็กน้อย มี pH 4.5-6.0 ความลาดชันไม่ควรเกิน 45°  ความชื้นและปริมาณน้ำฝน ควรเป็นพื้นทีที่มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ปริมาณน้ำฝนอย่างต่ำควรอยู่ในช่วง 40-50 นิ้ว/ปี หรือ 1,140-1,270 มิลลิเมตร/ปี เพราะถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นชาชะงักการเจริญเติบโต ไม่แตกยอด ทำให้ผลผลิตลดลง     อุณหภูมิ ชาสามารถเจริญได้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยชาจะเจริญเติบโตดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ตลอดปี ทำให้ชาสร้างยอดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ความสูง จากระดับน้ำทะเล ชาที่ปลูกในพื้นที่สูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป มีอากาศเย็นจะทำให้ผลผลิตใบชาที่ได้มีคุณภาพสูง ใบชามีกลุ่นและรสชาติดี แต่ปริมาณผลผลิตที่ได้จะต่ำ ส่วนการปลูกชาในที่ต่ำ อากาศค่อนข้างร้อน ชาจะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพต่ำกว่าชาที่ปลูกในที่สูง 1.ปัจจัยที่ไม่เหมาะสมในการปลูกชา        1.1 ดินชั้นล่างเป็นหิน หรือลูกรัง ทำให้ชาหยั่งรากลงไปหาอาหารได้ตื้น        1.2 เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการระบายน้ำ เป็นหนองบึง และที่ ๆ มีน้ำขัง        1.3 เป็นพื้นที่ที่มีหินปูนและมี pH เกินกว่า 6        1.4 พื้นที่มีความลาดชันมาก        1.5 ดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย และไม่สามาถเก็บความชุ่มชื้นได้        1.6 บริเวณที่มีลมแรง จนไม่สามารถทำที่บังลมได้        1.7 เป็นแหล่งที่มีไส้เดือนฝอย     2.การดูแล         2.1 การให้น้ำ ชาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอตลอดปี เพื่อให้มีการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบ การให้น้ำในสวนชามี 3 แบบ คือ             2.1.1 การให้น้ำแบบปล่อยให้ท่วมแปลง พื้นที่ที่ปลูกชาจะต้องมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์และควรมีความลาดเทเล็กน้อย เพื่อการกระบายน้ำ             2.1.2 การให้น้ำแบบพ่นฝอย เป็นการให้น้ำที่นอยมกันมากในพื้นที่ปลูกชาใหญ่ๆ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน วิธีนี้ต้องลงทุนสูงแต่ให้ผลคุ้มค่า             2.1.3 การให้น้ำแบบหยด เหมาะสำหรับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ เช่น การปลูกชาบนที่สูง เพราะเป็นการใช้น้ำแบบประหยัด แต่การลงทุนค่อนข้างสูง        2.2 การทำไม้บังร่ม ชามีความต้องการร่วมเงา เหมือนกับโกโก้และกาแฟ การทำไม้บังร่มจะช่วยลดอุณหภูมิในช่วงกลางวันลง ลดปริมาณของแสงแดดที่ส่องยังต้นชาโดยตรง ทำให้ใบชาสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น เพราะถ้าต้นชาได้รับแสงแดดจัดเต็มที่โดยตรงจะทำให้ใบมีขนาดเล็ก เหลือง หรือทำให้เกิดใบไหม้ ใบชาไม่มีการปรุงอาหาร ต้นจะโทรมและตายในที่สุด การปลูกไม้บังร่ม ควรปลูกระหว่างแถวชา ซึ่งไม้บังร่มชาที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ             2.2.1 ไม้บังร่มชั่วคราว เมื่อปลูกชาใหม่ๆ ต้นชายังมีขนาดเล็กอยู่ และในบริเวณนั้นไม่มีไม้บังร่มป่าธรรมชาติอยู่ และไม่ได้ปลูกไม้บังร่มถาวรไว้ก่อน การปลูกไม้บังร่มชั่วคราวจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ พืชที่ใช้เป็นไม้บังร่มชั่วคราว ได้แก่ ถั่วแระหรือมะแฮะ ปอเทือง กล้วย ฯลฯ การปลูกไม้บังชั่วคราวควรปลูกระหว่างแถวต้นชา โดยปลูกในแนวขวางกับแสงแดด และควรปลูกก่อนปลูกชาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี             2.2.2 ไม้บังร่มถาวร อาจเป็นไม้บังร่มป่าตามธรรมชาติ หรือจะปลูกในแปลงไว้ก่อนปลูกชาประมาณ 1 ปี คือปลูกให้ไม้บังร่มมีพุ่มใบพอที่จะเป็นร่มชาได้ หรือจะปลูกไม้บังร่มถาวรร่วมกับการปลูกไม้บังร่มชั่วคราวก็ได้ เมื่อไม้บังร่มถาวรโตพอที่จะเป็นร่มชาได้ก็ค่อยๆ ตัดไม้บังร่มชั่วคราวออก พืชที่ใช้เป็นไม้บังร่มถาวรได้แก่ แคฝรั่ง ทองหลาง กระถิน เหรียง สะตอ            2.2.3 การกำจัดวัชพืช วัชพืชต่าง ๆ เป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของต้นชาโดยเฉพาะต้นชาที่ยังเล็กดังนั้นการกำจัดวัชพืชจึงเป็นเรื่องสำคัญในการปลูกสร้างสวนชา ควรกระทำอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง โดยการพรวนดินในระดับตื้นๆ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบรากของเขา การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชก็เป็นวิธีการที่สะดวกและได้ผลดี นอกจา
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

นิเวศวิทยา และ องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา และ หน้าที่ของระบบนิเวศ

นิเวศวิทยา             คำว่านิเวศวิทยา เริ่มใช้ในจดหมายเหตุของ Henry Thoreau ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 ต่อมา Reiter ได้นำคำนี้มาใช้ในผลงานของเขาซึ่งพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานในปี ค.ศ. 1865 โดยนิเวศวิทยา มาจากรากศัพท์เดิมในภาษากรีก จากคำว่า oikos ซึ่งแปลว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัย ผสมกับคำว่า logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา รวมเป็น oecology และต่อมาได้เขียนตามหลักภาษาอังกฤษว่า ecology ใช้เรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย แม้ว่าวิชานิเวศวิทยาได้แยกตัวออกมาจากวิชาชีววิทยาแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักและสนใจกันเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี ค.ศ.1866 นักสัตววิทยาท่านหนึ่งคือ Ernst Haeckel ได้หยิบยกเอาคำนี้ขึ้นมาใช้และให้คำนิยามไว้ว่า "นิเวศวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ อย่างประหยัดของธรรมชาติ คือการศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ทั้งมวลของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ" จากคำนิยามนี้จึงเป็นการกำหนดแนวทางการศึกษาทางนิเวศวิทยาแก่นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในแนวดังกล่าว จึงยกย่องให้ Haeckel เป็นบิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านนี้              Charles Elton (1927)"นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านประวัติศาสตร์ของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของสัตว์" Shelford (1911) "นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านสังคม"  E. P. Odum (1971) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาทางโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ"  H. J. Oosting (1956) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของมัน"             Kimmins (1987) กล่าวว่าป่ามิใช่เป็นเพียงการมีต้นไม้มายืนร่วมกันแต่ยังประกอบด้วย (1) ต้นไม้ (2) วัตถุสารที่ต้นไม้และสัตว์ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ธาตุอาหารและความชื้น (3) พันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มาร่วมกระทำกันก่อให้เกิดร่มเงาต่อกัน แก่งแย่งกัน อาศัยประโยชน์ต่อกัน หรือทำลายกัน (4) สัตว์ที่ใช้อาหารจากพืช อาศัยประโยชน์และให้ประโยชน์ต่อพืช (5) จุลินทรีย์ที่ได้และให้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อต้นไม้ (6) ดินและบรรยากาศรวมถึงไฟป่าและความชื้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในป่า            Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก ecological system นี้ว่า ecosystem ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้ว แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า Tansley เป็นเวลาช้านาน เพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า microcosm หรือ biosystem เป็นต้น สำหรับนักนิเวศวิทยาชาวรัสเซียนิยมเรียกระบบนิเวศว่า biogeocoenoses หรือ biocoenosis คำว่า ecosystem ของ Tansley เป็นคำที่กะทัดรัดและเป็นที่ยอมรับกัน จึงเป็นที่นิยมใช้กันตั้งแต่นั้นมา การยอมรับระบบนิเวศว่าเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา นับเป็นประโยชน์และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการศึกษา และพัฒนาการในด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อ มาอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นจะต้องศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง (structure)  และหน้าที่ (function) ต่างๆ ของระบบนิเวศนั้นซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของแต่ละระบบนิเวศซึ่งไม่เหมือนกัน    องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต             สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กิ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน และ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน

1.    แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน ความหมายการผลิต             การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ อันได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน วัตถุดิบและผู้ประกอบการ ไปผ่านกระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีในการผลิต โดยใช้เครื่องจักร เครื่องมือและแรงงานในการผลิตสินค้าจากการใช้แรงงานจนถึงเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยการผลิตในงานอุตสาหกรรมสามารถแปรเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ อาหาร อาหารกระป๋อง วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเรือน ยารักษาโรค เหล็กแผ่น และเหล็กเส้น เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการสำเร็จรูปเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค (บุญธรรม ภัทราจารุกุล, 2554)             ทฤษฎีต้นทุนการผลิตการที่ผู้ผลิตจะตัดสินใจทำการผลิตสินค้าหรือบริการเป็นจำนวนเท่าใดจากปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะได้รับกำไรสูงสุดหรือขาดทุนน้อยที่สุด ที่ผู้ผลิตจะต้องนำต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิตมาเปรียบเทียบกัน การศึกษาทฤษฎีต้นทุนการผลิต รายรับและกำไรจากการผลิต จึงเป็นการศึกษาทางด้านอุปทานของสินค้าหรือบริการซึ่งเป็นการพิจารณาทางด้านพฤติกรรมของผู้ผลิต เช่น เดียวกันกับทฤษฎีการผลิตซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางด้านทฤษฎีการผลิตเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์            ต้นทุนการผลิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดว่าสินค้าจะมีราคาถูกหรือแพง เพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิตทั้งวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ดังนั้นการลดต้นทุนการผลิตจึงสำคัญอย่างมากในการทำให้สินค้ามีต้นทุนที่ต่ำลงหรือกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด            ต้นทุนการผลิต (Cost of Production) เป็นต้นทุนทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การวางแผนการนำวัตถุดิบมาเปลี่ยนสภาพตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการผลิตจนกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นบรรจุหีบห่อที่สวยงามพร้อมที่จะนำออกจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจได้ ซึ่งจะวัดมูลค่าต้นทุนจากค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิตที่เกิดขึ้นทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่งในการผลิตผลิตภัณฑ์ของกิจการอุตสาหกรรม การผลิตอาจจะนำเอาวัตถุดิบมาประกอบหรือแปรสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยการใช้แรงงานและมีค่าใช้จ่ายการผลิตอื่น ๆ เกิดขึ้นด้วย ได้แก่ ค่าวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร ค่าเสื่อมราคา-อาคารโรงงานและค่าวัสดุโรงงาน เป็นต้น (เยาวพา  ณ นคร)   ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน             ต้นทุนมีความหมายสำหรับฝ่ายบริหารเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตหรือการซื้อสินค้า การกำหนดราคา การยกเลิกผลิตภัณฑ์ การเลือกกรรมวิธีการผลิต และประเภทสินค้า ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าจะต้องแสดงต้นทุนอย่างละเอียด จะช่วยผู้บริหาร           ให้สามารถวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิสูงสุด (เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์, 2554)แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ความหมายของต้นทุนการจำแนกประเภทต้นทุนตามพฤติกรรมต้นทุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้               ต้นทุน (Cost) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการ โดยมูลค่านั้นจะต้องสามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตรา ซึ่งเป็นลักษณะของการลดลงในสินทรัพย์หรือเพิ่มขึ้นในหนี้สิน ต้นทุนที่เกิดขึ้นอาจจะให้ประโยชน์ในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ได้ เมื่อต้นทุนใดที่เกิดขึ้นแล้วและกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปทั้งสิ้นแล้ว ต้นทุนนั้นก็จะถือเป็น ค่าใช้จ่าย (Expense) ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจึงหมายถึง ต้นทุนที่ได้ให้ประโยชน์และกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปแล้วในขณะนั้นและสำหรับต้นทุนที่กิจการสูญเสียไป แต่จะให้ประโยชน์แก่กิจการในอนาคตเรียกว่า สินทรัพย์ (Asset)  (สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, 2551)            ต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำต้นทุนไปใช้ของฝ่ายบริการ ต้นทุนมีความหมายกว้างและครอบคลุมไปถึงการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ  และมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้ความหมายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของ องค์กรธุรกิจและวัตถุประสงค์ของการใช้ต้นทุน ซึ่งในแต่ละลักษณะต่างก็มุ่งที่จะช่วยผู้บริหารให้ทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกประเภทต้นทุนตามวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลไปใช้ได้หลายประการ             การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน (Cost Behavior) มีลัก
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชาเมี่ยง

    ชาเป็นพืชในวงศ์ (family)  Theaceae  สกุล (genus) Camellia ที่มีมากกกว่า 300 ชนิด (species)  ชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่มาจาก 2 สายพันธุ์ คือ Camellia sinensis var. sinensis (Chinese tea) และ Camellia sinensis var. assamica (Assam tea  หรือ Indian tea) ชาสายพันธุ์จีนเป็นชาที่ใบมีขนาดเล็ก และแคบ  การจำแนกสายพันธุ์ชานอกจากพันธุ์ชาทางการค้า 2 กลุ่มหลักที่กล่าวไว้แล้วยังพบสายพันธุ์ลูกผสม (hybrid) ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ทำให้ได้ชาลูกผสมที่มีลักษณะทางฟีโนไทป์แตกต่างกัน (heterogeneous) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ การปรับปรุงพันธุ์ชา (tea breeding)  การปรับปรุงพันธุ์ชาทำให้ได้พันธุ์ชามีลักษณะทางกายภาพ ขนาดและลักษณะใบที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งให้รสชาติของน้ำชาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน ประเทศไทยได้ทดลองนำเอาชาสายพันธุ์จีนที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศไต้หวันเข้ามาปลูก แล้วขยายพันธุ์ พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง      1.ต้นชาเมี่ยง ต้นชาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้      1.1 ราก ชาเป็นพืชที่มีรากแก้วและรากฝอย แต่ไม่มีรากขน ต้นชาที่ได้จากการปักชำจะไม่มีรากแก้ว รากชาจะมีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตในรูปของแป้ง การแตกยอดของต้นชาขึ้นอยู่กับอาหารสำรองคาร์โบไฮเดรตในราก       1.2 ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง-ใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ต้นใหญ่สูงประมาณ 6-18 เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มชาจีนอย่างเด่นชัด กิ่งที่มีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา        1.3 ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับและเวียน (spiral) ใบมีความกว้างประมาณ 3.0-6.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.0-16.0 เซนติเมตร แต่อาจพบใบที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กล่าว คือใบมีความกว้าง 5.6-7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 17.0-22.0 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด จำนวนหยักฟันเลื่อยเฉลี่ยประมาณ 9 หยัก/ความกว้างของใบ 1.0 นิ้ว ส่วนของก้านใบและด้านท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม      1.4 ดอก เจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง ในแต่ละตาประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา ส่วนใหญ่ดอกออกติดกันเป็นกลุ่ม ช่อละประมาณ 2-4 ดอก/ตา ก้านดอกยาวประมาณ 10.0-12.0 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมนยาว กลีบดอกติดอยู่กับวง corolla ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยหงาย กลีบดอกมีจำนวน 5-6 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก วงเกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 5.0 มิลลิเมตร เกสรตัวเมีย (style) มีลักษณะเป็นก้านกลม ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 1-3 ช่อง ดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.65 เซนติเมตร         1.5 ผล เป็นแคปซูล เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-4.0 เซนติเมตร         1.6 เมล็ด ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11.0-12.0 มิลลิเมตร ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ     2. พันธุ์ชาที่ปลูกทางการค้าของไทย โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ ได้แก่        2.1 กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. assamica สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น ชาเมี่ยง ชาพื้นเมือง ชาป่า หรือชาเมี่ยง เป็นต้น ชาเมี่ยงเป็นพันธุ์ชาที่ใบใหญ่กว่าชาพันธุ์จีน เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในป่าเขตร้อนชื้นที่มีร่มไม้และแสงแดดพอประมาณ ชาพันธุ์อัสสัม พบมากบนเขตพื้นที่สูงแถบภาคเหนือของไทยในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และแพร่        2.2 กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea) กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. sinensis เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน และจีน เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 หรืออู่หลงก้านอ่อน (Chin Shin Oolong No.17) อู่หลงเบอร์ 12 (Chin Hsuan Oolong No.12) พันธุ์สี่ฤดู (Si Ji  หรือ Four Season) พันธุ์ถิกวนอิม (Tieguanyin) เป็นต้น เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเนื่องจากให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การปลูกจะปลูกเป็นแถวแบบขั้นบันได มีการจัดการแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ และตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ชาแตกยอดใหม่และส