บทที่5

สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา


       การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ พื้นที่สวนชาเมี่ยง พื้นที่หย่อมป่า พื้นที่สวนเกษตร และพื้นที่สวนหลังบ้าน ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากสวนชาเมี่ยงทั้ง 3 พื้นที่มีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน และมีการเหลือไว้ซึ่งต้นไม้ใหญ่เป็นที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเนื่องจากชาเมี่ยงต้องการร่มเงาเพื่อการเติบโตค่อนข้างสูง และจะได้ผลผลิตของชาเมี่ยงจำนวนมาก ถ้ามีต้นไม้ใหญ่มากจนเกินไปก็จะทำให้ผลผลิตของชาเมี่ยงลดลง ถ้าไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเลยก็จะทำให้ไม่ได้ผลผลิต สายลม และคณะ (2551) และพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังเป็นพื้นที่แนวกันชนระหว่างพื้นที่ทำการเกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี มีการป้องกันพื้นที่ ทำแนวกันไฟ อนุรักษ์พื้นที่ป่า รักษ์และหวงแหนในพื้นที่ป่าที่ตนทำสวนชาเมี่ยง ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางเคมี พบว่าทั้ง 3 พื้นที่ คุณสมบัติของดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร
       การนำสารสกัดชั้นเอทานอลของใบชาเมี่ยงอบแห้ง (Camellia sinensis var. assamica) มาศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นในฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans และ Lactobacillus spp. และนำสารสกัดไปตรวจสอบองค์ประกอบในใบชาเมี่ยงอบแห้ง จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp.  สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.80 และ 18.00± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบชาเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ สำหรับงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพของใบเมี่ยงอบแห้งได้และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงอบแห้ง
       การหาสภาวะการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC จากตัวอย่างใบเมี่ยง โดยการสกัดแบบรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากและเหมาะสมที่สุด คือ ใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล 1:25 (g/mL) กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด 350 วัตต์ และสกัดโดยใช้เวลา 20 นาที 
       การวิเคราะห์หาปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) พบว่าใบชาเมี่ยงจากจังหวัดเชียงราย มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 5.27 และ 2.51 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ ใบชาเมี่ยงจากจังหวัดพะเยา มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 11.71 และ 0.33 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ และใบชาเมี่ยงจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 10.11 และ 1.50 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ 
     การแยกองค์ประกอบทางเคมีของใบชาเมี่ยง ด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล แยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟี และการยืนยันโครงสร้างสารด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโกปี พบว่าสามารถแยกสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ได้น้ำหนัก 0.7293 กรัม และสารคาเทชิน (catechin) ได้น้ำหนัก 0.8951 กรัม

ข้อเสนอแนะ
    1. ควรมีการศึกษาการเพิ่มมูลค่าในพื้นที่สวนชาเมี่ยงรูปแบอื่นๆ เช่นการปลูกกาแฟ การเลี้ยงผึ้ง และการหยอดเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่าในรากชาเมี่ยง
    2. ควรศึกการให้บริการนิเวศวิทยาของสวนชาเมี่ยงในด้านต่างๆ ดังนี้ การประเมินการดูดซับคาร์บอน การประเมินการให้น้ำท่า การประเมินการสูญเสียดิน การประเมินผลผลิตของไม้ยืนต้นที่ให้เนื้อไม้ และผลผลิตที่ไม่ใช่เนื้อไม้ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง
    3. ควรมีการศึกษาหาวิธีการสกัดสารจากใบชาเมี่ยง และเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุน และได้สารสำคัญจากใบชาเมี่ยงที่เป็นประโยชน์ต่ออาหาร การแพทย์มากยิ่งขึ้น
    4. ควรอนุรักษ์พื้นที่ปลูกชาเมี่ยง ในพื้นที่ดั้งเดิมที่มีพื้ที่สมบูรณ์ และควรฟื้นฟู ในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชยน์ที่ดิน โดยเฉพาะต้นน้ำลำธารในภาคเหนือประเทศไทย ในจุดสำคัญบางพื้นที่ เช่น บริเวณตาน้ำ ควรปลูกและฟื้นฟูด้วยต้นชาเมี่ยง เพราะลดการใช้สารเคมีเชิงการเกษตร
    5. ควรทำพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาของแต่ละพื้นที่ 
    6. ควรวิจัยศึกษาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในพื้นที่สวนชาเมี่ยงทั้งศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของเกษตรกรเอง


 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

บทที่5

สรุปและข้อเสนอแนะ สรุปผลการศึกษา        การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ พื้นที่สวนชาเมี่ยง พื้นที่หย่อมป่า พื้นที่สวนเกษตร และพื้นที่สวนหลังบ้าน ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากสวนชาเมี่ยงทั้ง 3 พื้นที่มีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน และมีการเหลือไว้ซึ่งต้นไม้ใหญ่เป็นที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเนื่องจากชาเมี่ยงต้องการร่มเงาเพื่อการเติบโตค่อนข้างสูง และจะได้ผลผลิตของชาเมี่ยงจำนวนมาก ถ้ามีต้นไม้ใหญ่มากจนเกินไปก็จะทำให้ผลผลิตของชาเมี่ยงลดลง ถ้าไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเลยก็จะทำให้ไม่ได้ผลผลิต สายลม และคณะ (2551) และพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังเป็นพื้นที่แนวกันชนระหว่างพื้นที่ทำการเกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี มีการป้องกันพื้นที่ ทำแนวกันไฟ อนุรักษ์พื้นที่ป่า รักษ์และหวงแหนในพื้นที่ป่าที่ตนทำสวนชาเมี่ยง ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางเคมี พบว่าทั้ง 3 พื้นที่ คุณสมบัติของดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร        การนำสารสกัดชั้นเอทานอลของใบชาเมี่ยงอบแห้ง (Camellia sinensis var. assamica) มาศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นในฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans และ Lactobacillus spp. และนำสารสกัดไปตรวจสอบองค์ประกอบในใบชาเมี่ยงอบแห้ง จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp.  สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.80 และ 18.00± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบชาเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ สำหรับงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพของใบเมี่ยงอบแห้งได้และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงอบแห้ง        การหาสภาวะการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC จากตัวอย่างใบเมี่ยง โดยการสกัดแบบรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากและเหมาะสมที่สุด คือ ใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล 1:25 (g/mL) กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด 350 วัตต์ และสกัดโดยใช้เวลา 20 นาที         การวิเคราะห์หาปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) พบว่าใบชาเมี่ยงจากจังหวัดเชียงราย มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 5.27 และ 2.51 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ ใบชาเมี่ยงจากจังหวัดพะเยา มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 11.71 และ 0.33 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ และใบชาเมี่ยงจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 10.11 และ 1.50 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ       การแยกองค์ประกอบทางเคมีของใบชาเมี่ยง ด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล แยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟี และการยืนยันโครงสร้างสารด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโกปี พบว่าสามารถแยกสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ได้น้ำหนัก 0.7293 กรัม และสารคาเทชิน (catechin) ได้น้ำหนัก 0.8951 กรัม ข้อเสนอแนะ     1. ควรมีการศึกษาการเพิ่มมูลค่าในพื้นที่สวนชาเมี่ยงรูปแบอื่นๆ เช่นการปลูกกาแฟ การเลี้ยงผึ้ง และ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วัตถุประสงค์

                                                                                                                                               1. เพื่อศึกษานิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม                                                                                                      2. เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ                                                                                                      3. เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ                                                                                                      4. เพื่อศึกษากรรมวิธีการสกัดสาร catechins ที่เหมาะสม จากชาเมี่ยงให้ได้ปริมาณสูง                                                                                                      5. เพื่อศึกษาความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ ความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์  ก่อโรคท้องร่วงของสาร catechins ที่สกัด                                                                                                           จากชาเมี่ยง                                                                                                     6. เพื่อแยกองค์ประกอบทางเคมี และ พิสูจน์เอกลักษณ์ของสาร catechins ที่แยกได้จากชาเมี่ยง โดย การใช้เทคนิคทางโครมาโตกราฟฟี                                                                                                              และ สเปกโตรสโคปี     
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค

2). การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค     2.1 ค่าความเป็นกรดด่างของตัวอย่างน้ำเมี่ยง             ทำการเก็บตัวอย่างน้ำเมี่ยงจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่และน่าน จำนวน 10 ตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างน้ำเมี่ยงที่เก็บมาได้จากการไปซื้อจากชาวบ้านที่หมักเองโดยตรงมีลักษณะดังภาพที่126 จากนั้นทำการบันทึกสถานที่เก็บ ลักษณะทางกายภาพ สีของน้ำเมี่ยงและวัดค่า pH ของน้ำเมี่ยง (ตารางที่ 24) และนำตัวอย่าง น้ำเมี่ยงมาคั้นเอาเฉพาะส่วนน้ำเก็บไว้ในหลอดไมโครเซ็นตริฟิวก์ นำไปปั่นเหวี่ยงให้ตกตะกอนใส่หลอด tube จากนั้นเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4oC เพื่อรอใช้งาน (ภาพที่ 127)  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ1)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ              สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (ต่อ3)