ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

4.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 
 

                                                                                                                                                                                                                             

ภาพที่ 171 แผนที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

 

ข้อมูลจำเพาะบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
              ประวัติและความเป็นมาของคนในชุมชนบ้านเหล่า  ดังเดิมสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษเป็นคนในพื้นที่ไม่ห่างไกลจากอำเภอแม่แตงมากนักและโยกย้ายที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่บ้านเมืองกื้ด ตำบลกื้ดช้าง, บ้านวังแดง ตำบลอินทขิล ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานไปยังบ้านเหล่า (แต่เดิมเรียกป่าเส้า) ตำบลแม่แตง  และได้ยกฐานะเป็นอำเภอสันมหาพน มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2450 เป็นต้นมา มีนายอำเภอคนแรกชื่อ ขุนมิกสันสุรบาล (ฟ้อน) ป. แต่เนื่องจาก พื้นที่ตั้งติดกับลำน้ำแม่แตง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอแม่แตง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
              ในการศึกษากระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายชาเมี่ยงบ้านเหล่ามีกระบวนการทั้งหมด 5 ขั้นตอนได้แก่
1.)    กระบวนการปลูก ในพื้นที่บ้านเหล่ามีการปลูกชาเมี่ยงครัวเรือนละ 5-6 ไร่ 1 ไร่มีต้นชาเมี่ยง 150-170 ต้นโดยระยะห่างระหว่างต้น 2 เมตรซึ่งมีความคล้ายคลึงกับพื้นที่แพร่ และลำปาง  ปลูกในพื้นที่ป่าและส่วนใหญ่เป็นต้นชาเมี่ยงที่บรรพบุรุษของเกษตกรปลูกไว้เมื่อในอดีต และได้สืบทอดมรดกมาจากบรรพบุรุษ 
2.)    กระบวนการดูแลรักษา มีความคล้ายคลึงกับพื้นที่แพร่ และ ลำปาง เกษตรกรจะทำการเพาะปลูกชาเมี่ยงโดยปล่อยตามธรรมชาติ  และมีการตัดแต่งกิ่งและตัดหญ้า การตัดแต่งกิ่งจะตัดปีละ 2 ครั้ง และการตัดหญ้าจะตัดโดยจ้างคนงาน 1 - 2 คนต่อพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ โดยค่าจ้างคนงานคนละ 350 บาทต่อวัน
3.)    กระบวนการเก็บเกี่ยว ในการเก็บชาเมี่ยงบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จะมีอุปกรณ์ในการเก็บดังนี้    
 


ภาพที่ 172 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บชาเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่


               การเก็บชาเมี่ยง เกษตรกรจะนำตะกร้าแขวนติดตัวไว้ แล้วนำตอกเสียบไว้ที่ผ้า/เชือกมัดเอว พร้อมกับตะขอเชือก เพื่อใช้ในกรณีที่ต้นชาเมี่ยงมีความสูงเกินไปจะเอาตะขอเชือกโน้มกิ่งเพื่อช่วยในการเก็บ เกษตรกรจะทำการเก็บและมัดกำไปพร้อมกัน การเก็บใบชาเมี่ยงของพื้นที่เชียงใหม่ จะเด็ดใบชาเมี่ยงอ่อนเด็ดทุกใบบนกิ่ง เมื่อเด็ดได้ประมาณ 1 กำมือ (เต็มกำมือ) จะใช้ตอกไม้ไผ่ดิบมัดใส่ตะกร้าที่เตียมมา  ความสามารถในการเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะเก็บได้ประมาณ 20 - 30 กำต่อคน ต่อวัน (ประมาณ 10 – 15 กิโลกรัม) และมีการจ้างคนงานเก็บชาเมี่ยง โดยให้ค่าจ้างต่อกิโลกรัม กิโลกรัมละ 16 บาท ซึ่งการเก็บใบชาเมี่ยงจะยืนเก็บทั้งวัน ใน 1 ปีชาวบ้านในพื้นที่นี้ จะเก็บชาเมี่ยงได้เฉลี่ยปีละมากกว่า 10,000 กำต่อครัวเรือน (ประมาณ5,000 กิโลกรัม)  
ช่วงระยะเวลาในการเก็บชาเมี่ยงมี 4  ช่วง คล้ายคลึงกับช่วงระยะเวลาการเก็บในพื้นที่จังหวัดลำปาง ได้แก่
    - ช่วงแรกชาเมี่ยงหัวปีเก็บในเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน
    - ช่วงที่สองชาเมี่ยงกลางเก็บในเดือนกรกฎาคม - เดือนกันยายน
    - ช่วงที่สามชาเมี่ยงสร้อยเก็บในเดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม
    - ช่วงที่สี่ชาเมี่ยงเหมยเก็บในเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม
4.)    กระบวนการผลิตชาเมี่ยง แบ่งเป็น  2 ขั้นตอน คือ การนึ่งและการหมัก มีขั้นตอนดังนี้


การนึ่ง อุปกรณ์ที่ใช้ในการนึ่งชาเมี่ยง มีดังนี้


ภาพที่ 173 อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการนึ่งชาเมี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่


    
    กระบวนการในการนึ่งชาเมี่ยง
-    หลังจากจุดไฟที่เตาด้วยฟืนแล้วจะนำชาเมี่ยงสดที่เก็บมาได้เรียงในไหนึ่งชาเมี่ยง (ขนาดกว้าง 42  เซนติเมตร สูง 53  เซนติเมตร)  ให้เต็มพรหมด้วยน้ำสะอาดเพื่อให้ชาเมี่ยงนวล (นุ่ม)   ยกไหนึ่งชาเมี่ยงวางบนเตา โดยทั่วไป 1 ไห จะนึ่งชาเมี่ยงได้ประมาณ 60 - 70 กำต่อครั้ง (ประมาณ 30-35 กิโลกรัม)
-    ก่อนทำการนึ่งชาเมี่ยง จะมีการนำ “ตาด” มารองก้นไห (ขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร) ลักษณะของตาด จะเป็นตะแกรงทำจากกาบกล้วยห่อด้วยถุงพลาสติก
-    ใช้ฝาปิดปากไหและนำผ้าชุบน้ำจนชุ่มมาอัดรอบๆ บริเวณด้านล่างระหว่างเตากับไห เพื่อให้ความร้อนจากเตาไหลเข้าสู่ไหได้เต็มที่ ที่มีกระบวนการทำในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่แพร่ และลำปาง
-    เมื่อเริ่มนึ่ง เมื่อใบชาเมี่ยงยุบตัวลง จะปรับระดับความร้อนของไฟให้คงที่ โดยใช้ระยะเวลาในการนึ่งเท่ากันกับพื้นที่ ลำปาง คือ ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที เมื่อนึ่งได้ที่ ใบชาเมี่ยงมีกลิ่นหอม และลักษณะเนื้อนิ่ม 
-    เมื่อนึ่งเสร็จ ก่อนที่จะยกไหลงจากเตา พรหมด้วยน้ำสะอาดอีกหนึ่งรอบ และหาบไหลงเทชาเมี่ยงผึ่งรอให้เย็น 
-    เมื่อชาเมี่ยงเย็นแล้วทำการเปลี่ยนตอกไม้ไผ่ เป็นตอกมัดชาเมี่ยงนึ่งเมื่อเสร็จแล้วนำมาเรียงในถุงพลาสติก 1 ถุงใส่ชาเมี่ยงได้ 150 - 200 กำ (ประมาณ 75-100 กิโลกรัม)

 

การหมัก อุปกรณ์ที่ใช้ในการหมักชาเมี่ยง มีดังนี้

                                                             

ภาพที่ 174 อุปกรณ์ในการหมักชาเมี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่


    กระบวนการในการหมัก
-    นำชาเมี่ยงมาเรียงในต่าง (ขนาดกว้าง 44 เซนติเมตร สูง 64 เซนติเมตร) ใส่ชาเมี่ยงได้  150 - 200 กำ (ประมาณ 75-100 กิโลกรัม)  
-    ปิดปากถุงให้มิดชิด ไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในถุง (ขั้นตอนนี้ถ้าต้องการให้ชาเมี่ยงฝาดจะใช้เวลาในการหมักขั้นต่ำ 1 อาทิตย์ และชาเมี่ยงส้มใช้เวลาในการหมักขั้นต่ำ 2 - 3 เดือน)

5.)   การบรรจุและจัดจำหน่าย การบรรจุจะนำชาเมี่ยงที่หมักแล้วใส่ลงในตะกร้าไม้ไผ่สานขนาดใหญ่   ที่เรียกว่า ต่างหรือเข่ง (ขนาดกว้าง 44  เซนติเมตร สูง 64 เซนติเมตร) ที่บรรจุชาเมี่ยงได้ประมาณ 150 - 200 กำ (ประมาณ 75-100 กิโลกรัม) การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงส่วนใหญ่จะขายชาเมี่ยงสด ชาเมี่ยงนึ่งและชาเมี่ยงหมักราคาขายในแต่ละปีจะไม่เท่ากันโดยราคาขายชาเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จะอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อกิโลกรัม 
การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในจังหวัดเชียงใหม่ แสดงในภาพที่ 24 จะเห็นได้ว่า ในกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานนี้มีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder)  ภายในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด 3 ส่วน คือ เกษตรกรผู้ทำการปลูก การเก็บเกี่ยวและการแปรรูป, พ่อค้าคนกลาง และลูกค้าซึ่งคล้ายคลึงกับห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดแพร่ แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ ในพื้นที่นี้มีผู้นำชุมชนร่วมมือกับเกษตรกรในลักษณะตัวแทนกลุ่ม มีบทบาทให้ความช่วยเหลือติดต่อผู้รับซื้อชาเมี่ยงและรับซื้อใบชาที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวหรือใบชาที่คัดทิ้ง ลงมาขายให้กับโรงงานทำชา โดยคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเฉพาะค่าน้ำมัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากผลผลิต นอกจากนี้ในชุมชนยังมีแนวคิดที่จะออกแบบพื้นที่ในชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่เด่นชัดกว่าในอีก 2 พื้นที่ โดยมีการจัดที่พัก และแหล่งท่องเที่ยวซึ่งได้นำสวนป่าชาเมี่ยงและการผลิตชาเมี่ยงรวมถึงเมนูอาหารที่มีชาเมี่ยงเป็นส่วนประกอบ มาจัดไว้ในตารางการนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย 

ภาพที่ 175 ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยงบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

            ความสามารถของแรงงานในการเก็บใบชาจะเก็บได้ประมาณ 10-15 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน กระบวนการในการผลิตจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดลำปางโดยใช้เวลานึ่งเฉลี่ยประมาณ 1.30 ชั่วโมง มีการจัดจำหน่ายอยู่ 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ ชาเมี่ยงฝาด ใช้เวลาหมักอย่างน้อย 1 อาทิตย์ และชาเมี่ยงส้ม ใช้เวลาหมักอย่างน้อย 3 เดือน ขายให้พ่อค้าคนกลางภายนอกที่ตัวแทนนำไปขายให้ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท จากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปในตารางได้ ดังนี้ 


ตารางที่ 69 ตารางสรุปผลการศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดเชียงใหม่

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการผลิตชาเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่
จุดแข็ง
-    มีตลาดที่รองรับการจัดจำหน่ายชาเมี่ยงโดยสมาชิกของชุมชนในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย
-    มีการนำวิถีการผลิตชาเมี่ยงมาสอดรับการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน
-    เป็นชุมชนที่เข้มแข็งส่วนใหญ่คนในพื้นที่มีอาชีพหลากหลายมากว่า 1 อาชีพ
-    วิธีการเก็บชาเมี่ยงเก็บ3ใน4ของใบทำให้ระยะเวลาการออกใบใหม่ในครั้งต่อไปใช้เวลาสั้นลง
-    ผลผลิตของชาเมี่ยงสามารถเก็บและจัดจำหน่ายได้ตลอดทั้งปีรวมไปถึงมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
-    มีการทำงานอย่างเป็นระบบเนื่องจากมีผู้นำชุมชนเป็นสื่อกลางในการรับซื้อสินค้าและจัดจำหน่ายชาเมี่ยง
จุดอ่อน
-    ประชากรในครอบครัวไม่เพียงพอต่อกระบวนการในการผลิตชาเมี่ยงทำให้ต้องมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาช่วย    
-    ประชากรส่วนใหญ่หันไปทำการเกษตรแบบอื่นมากกว่าการทำชาเมี่ยงเป็นนหลัก
-    มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นน้อยเพราะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ยังนิยมทำการผลิตชาเมี่ยงนึ่ง
โอกาส
-    มีหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนเข้ามาสนับสนุนในการผลิตชาเมี่ยง
-    ชาเมี่ยงมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นเช่น ชาชาเมี่ยง เป็นต้น
-    อยู่ภายใต้จังหวัดใหญ่ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว
-    พื้นที่อยู่ไม่ห่างไกลจากในเมืองเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่จะจัดตารางการเที่ยวเพิ่มจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นภายในตัวจังหวัด
อุปสรรค
-    วัฒนธรรมการรับประทานชาเมี่ยงเป็นที่รู้จักเฉพาะคนรุ่นก่อนทำให้คนสมัยนี้ไม่นิยมในการรับประทานชาเมี่ยง
-    มีพืชอย่างอื่นมาทดแทนชาเมี่ยงในระหว่างรอบระยะเวลาที่ไม่มีผลมีผลผลิตของชาเมี่ยงทำให้การทำชาเมี่ยงเกิดการลดจำนวนลง
-    การสร้างแหล่งท่องเที่ยวโดยมีชาเมี่ยงเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นและต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้จัก
 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

4.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

          5.)    การบรรจุและจัดจำหน่าย  ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงถูกบรรจุลงในตะกร้าไม้ไผ่ ขนาดกว้าง 65 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร โดยจะมีการนำถุงพลาสติกมาลองในเข่งที่บรรจุชาเมี่ยงได้ประมาณ 100 กำ (ประมาณ 50 กิโลกรัม) ก่อนปิดฝาด้านบน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงส่วนใหญ่จะขายชาเมี่ยงนึ่ง และชาเมี่ยงหมักราคาขายในแต่ละปีจะไม่เท่ากันเพราะความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นและจำนวนชาเมี่ยงที่เก็บได้น้อยลง จะอยู่ในช่วงประมาณ 24-26 บาทต่อกิโลกรัม                 การจัดการห่วงโซ่อุทานการผลิตชาเมี่ยง ในจังหวัดลำปาง แสดงในภาพที่ 19 จะเห็นว่า ในกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ภายในห่วงโซ่มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ เกษตรกรผู้ทำการปลูก เก็บเกี่ยวและกระบวนการนึ่งที่เป็นเฉพาะครัวเรือน, เกษตรกรผู้รับซื้อของเพื่อนบ้านมาหมักต่อ, ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่ง และ ลูกค้า เมื่อเปรียบเทียบกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรในระดับพื้นฐาน การผลิตชาเมี่ยงในบริเวณนี้ยังถือว่าเป็นลักษณะห่วงโซ่ที่ไม่มีความซับซ้อนแต่จะแตกต่างจากจังหวัดแพร่ คือมีลักษณะของผู้แปรรูปในกระบวนการหมักแยกจากกลุ่มผู้ปลูกและผู้เก็บเกี่ยว มีการวางแผนการรับซื้อ และมีการลงทุนในอุปกรณ์การแปรรูปอย่างชัดเจน การตลาดยังคงมีลักษณะการผลิตแบบกึ่งพันธสัญญา จากการที่เกษตรกร ส่งให้กับพ่อค้าคนกลางรายเดิมทุกปี และมีบางส่วนที่เกษตรกรเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าของตนเอง โดยมีแหล่งลูกค้าประจำ ยังไม่พบในลักษณะการซื้อขายแบบประกันราคา การจัดสมดุลระหว่างระดับอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของชาเมี่ยงถือว่ามีความสมดุล คือไม่เกิดเหตุการณ์สินค้าขาดแคลน หรือสินค้าล้นตลาด แต่บางครั้งพบว่ามีการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

  การบ่ม อุปกรณ์ในการบ่มชาเมี่ยง  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

4.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดิน และ สมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง             การวิเคราะห์ปัจจัย โดยใช้การวิเคราะห์แบบ PCA (Principle Component Analysis) โดยใช้ปัจจัยทางเคมีของดิน ทั้ง 11 ปัจจัย ได้แก่ pH, CEC, OM, P, K, Na, Ca, Mg, Sand , Silt และ Clay  สำหรับพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยทางเคมีดินในพื้นที่สวนเมี่ยงที่แดสงออกเด่นชัดได้แก่ Ca, Mg และ K (รายละเอียดในตารางที่ 11 และภาพที่ 20) ตารางที่ 11 ปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง ของบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินทางด้านกายภาพ (ความแข็งของดิน) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง และ ความแข็งของดินในแนวนอน

สมบัติดินทางด้านกายภาพ (ความแข็งของดิน) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่             จากภาพที่ 3-5 ความแข็งของดินของบ้านเหล่า แปลงที่ 1.1 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 3 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 4-29 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 30 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.2 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 8 เซนติเมตร ตั้งแต่ระดับลึก 9-68 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินปานกลาง และตั้งแต่ระดับลึก 69 เซนติเมตร ความแข็งของดินของบ้านเหล่า แปลงที่ 1.3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 2 เซนติเมตร ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 3 เซนติเมตรลงไป 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

4.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง กิ่งกนก พิทยานุคุณ และคณะ. 2527. การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.หน้า 152 – 160. กรมส่งเสริมสหกรณ์. 2559.  ประวัติการส่งเสริมสหกรณ์. [ระบบออน์ไลน์]. แหล่งที่มา             http://www.cpd.go.th/web_cpd/cpd_Allabout.html. (22 มิถุนายน 2560). โกมล วงศ์อนันต์ และ อภิชา ประกอบเส้ง. 2559.  SWOT Analysis ด้าน Planning [ระบบออน์ไลน์]. แหล่งที่มา  http://promrucsa-dba04.blogspot.com/2012/10/swot-analysis-swot-swot-humphrey-swot-2.html. (11 มิถุนายน 2562). กัลทิมา พิชัย และคณะ 2551. เพิ่มศักยภาพผู้ผลิตชาชาเมี่ยงโดยการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในการผลิตพืชให้ประโยชน์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เขตพื้นที่ปลูกชาเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. 2555. การเงินธุรกิจ. ซีเอ็ดยูเคชั่น. ชวลิต และคณะ. 2553 ความหลากหลายของชาพื้นเมืองบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ดวงใจ และคณะ. 2558.คู่มือการศึกษาป่าไม้ไทย. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ดอกรัก มารอด. 2555. นิเวศวิทยาป่าไม้ประยุกต์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์. 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. กองทุนจัดพิมพ์ตำราคณะ วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 532 หน้า เดชา อินเด. 2545. การบัญชีต้นทุน. ธนาเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. นิวัติ เรืองพานิช. 2541. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินิเวศวิทยา. นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. บุญธรรม บุญเลา ประสิทธิ์ กาบจันทร์ และสมยศ มีสุข. 2553. การวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ของชาจีนในพื้นที่สูง. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://librae.mju.ac.th/goverment/20111119104834_librae/26169.pdf. (16 สิงหาคม 2562). ปฐวี แสงฉาย. 2536. ทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกชา (เมี่ยง) ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปิ่นมณี  ขวัญเมือง. (2547). แบคทีเรียกรดแลคติกในผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 3 : 62-69. พุทธพงษ์ และคณะ 2561 การศึกษาความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์ของเมี่ยง จังหวัดสุโขทัย ตาก แพร่ และน่าน วิทยาศาสตร์เกษตร พรชัย ปรีชาปัญญา และคณะ 2528. ระบบวนเกษตรที่สูง. โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน, เชียงใหม่. 153 หน้า. พรชัย ปรีชาปัญญาและ พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. 2542. ภูมิปัญญาชาวป่าเมี่ยง (ชา) เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการจัดการลุ่มน้ำที่สูงภาคเหนือ ประเทศไทย. [ระบบออนไลน์]. แหล่ง                                                   ที่มาhttp://frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/ws_document/R044202.pdf. (20 สิงหาคม 2562). พรชัย และคณะ 2546. การจัดการลุ่มน้ำป่าเมี่ยงโดยชุมชนมีส่วนร่วม สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่มวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม เพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. 2533. การงบประมาณ กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 152  - 154. ลัดดา ปินตา. 2560. การพัฒนาสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาชีพทำสวนเมี่ยง กรณีศึกษา ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เยาวพา ณ นคร. 2545. การบัญชีต้นทุน 1 กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. วารีรัตน์ หนูหตี. (2557). การยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนพื้นผิวสัมผัสโดยใช้สารสกัดจากพืชตระกูลขิง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงคลานครินทร์ ศุภชัย ปทุมนากุล และคณะ. 2552. โซ่อุปทานสินค้าเกษตรเล่มที่ 1 การจัดการซัพพลายเออร์ (Agricultural Supply Chain). กลุ่มวิจัยระบบโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2550. แนวทางในกาลดต้นทุน. โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน SMEs Projects. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาด               กลางและย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 1 สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. 2538. ศัพท์บัญชี. กรุงเทพฯ: บริษัทพี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด, หน้า 25. สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, ธีรพงธ์  เทพกรณ์, พนม  วิญญายอง และ ประภัสสร  อึ้งวณิชยพันธ์. (
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์และวิธีการ               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย 1.การเลือกพื้นที่ศึกษา             การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 4 ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหมู่บ้านทั้ง  หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A  สภาพที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในหุบเขา มีลำห้วยไหลผ่าน สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่อ ยางปาย ทะโล้ เป็นต้น เป็นชุมชนคนป่าเมี่ยง มีอาชีพหลักในการทำเมี่ยง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการวิจัย

ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา             ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน พื้นที่ในการทำสนเมี่ยง ความสูงจากระดับน้ำทะเล ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้             ผู้ให้ข้อมูลจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง    อายุ ผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 61 ปีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 คนต่อครัวเรือน              พื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง โดยเฉลี่ยของแต่ละหมู่บ้าน ณบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ  13.20 ไร่/ครัวเรือน รองลงคือบ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เท่ากับ  4.60 ไร่/ครัวเรือน บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง 4.24 ไร่/ครัวเรือน และมีพื้นที่น้อยที่สุด เท่ากับ 2.2 ไร่/ครัวเรือน ที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางของสวนเมี่ยงมีค่าเฉลี่ย ระหว่าง 819-1,028 เมตร และบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านมีความสูง 379 เมตร ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะมีภูมิลำเนาในหมู่บ้านที่ทำสวนเมี่ยง ระยะเวลาในการทำสวนเมี่ยง ทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนมีระยะเวลาในการทำมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป (ตารางที่ 2)   ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (ต่อ 2)

       3.5 ความสามารถในการจับโลหะ (Metal chelating activity)             ค่าความสามารถในการจับโลหะของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 46 ค่าความสามารถในการจับโลหะของชาเมี่ยงของจังหวัดเชียงใหม่สูงกว่าจังหวัดน่าน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่ ซึ่งมีค่าความสามารถในการจับโลหะเท่ากับ 1,127.25 1,157.35 1,356.12 และ 1,198.65 µmol EDTA equivalent/g sample ตามลำดับการศึกษาฤทธิ์คีเลชันของโลหะ (Metal Chelating Activity) ด้วยวิธี Ferrous Metal Chelating เป็นตรวจสอบหาสารสกัดที่สามารถลดการเกิดปฏิกิริยาของสารเฟอร์โรซีน (Ferrozine) กับไอออนของโลหะ (Kim et al., 2008) Ebrahimzadeh และ คณะ (2008) พบว่า สารประเภทฟลาโวนอยด์และแทนนินมีฤทธิ์ในการจับโลหะได้ดีอีกทัั้งงานวิจัยของ Mohan และ คณะ (2012) พบว่า มีีสารกลุ่มแทนนินและฟีนอลิกมีฤทธิ์ในการจับโลหะได้เช่นกัน (ดังภาพที่ 135)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ            งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน            ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview)  2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ 3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method 3.1 การเตรียมแบคทีเรีย           นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M  3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง          นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง          นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) 4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ     งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน           ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1. การสำรวจแหล่งผลิตเมี่ยงแบบดั้งเดิมในภาคเหนือตอนบน              งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจแหล่งปลูกเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นต้นแบบในการศึกษาแหล่งเพาะปลูกเมี่ยง ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่จะเป็นพื้นที่สูง มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำไหลตลอดทั้งปี (ภาพที่ 111)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

ด้านวัฒนธรรม                  “เมี่ยง” นำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆโดยคนล้านนานิยมนำเมี่ยงมาอมหรือเคี้ยวหลังอาหารหรือยามว่าง ตัวอย่างวิถีล้านนากับการทานเมี่ยงแสดงดังภาพเขียนโบราณ “บ่าว-สาว ทานเมี่ยง” ที่ปรากฏเป็นภาพเขียนสีในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 118)  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    ความหนาแน่นของสวนชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทั้งหมด 10 ตำบล 117 หมู่บ้าน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพบว่า ในอดีตมีการทำสวนชาเมี่ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน             เพื่อเป็นรายได้ในครอบครัว แต่ปัจจุบัน เนื่องจากราคาของชาเมี่ยงที่ตกต่ำ ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ตัดต้นชาเมี่ยงออกจากพื้นที่แล้วหันมาปลูกพืชเกษตรชนิดอื่นที่ให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าแทน เช่น ข้าวโพด ยางพารา ข้าวไร่ ลำไย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดเชียงคำมีการทำสวนชาเมี่ยงลดลง เหลืออยู่เพียง 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ตำบลแม่ลาว หมู่ที่ 5  บ้านแฮะ มีทั้งหมด 160 ครัวเรือน มีการปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 6 บ้านน้ำมิน มีทั้งหมด 180 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 10 บ้านคะแนง มีทั้งหมด 110 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 งาน หมู่ที่ 11 บ้านกอก มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ และหมู่ที่ 13 บ้านน้ำมินเหนือ มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ปัจจุบันสวนชาเมี่ยงที่ยังมีการเก็บผลผลิตอยู่ ด้านการจัดการและการดูแลสวนชาเมี่ยง จะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ชาเมี่ยงแตกยอดใหม่ 1-2 ปีต่อ 1ครั้ง โดยจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง มีการตัดหญ้าก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ปีละ 3-4 ครั้ง ไม่มีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และใช้สารเคมี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งทั้งปี แต่ยังคงเป็นเพียงอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน และยังขาดการสืบทอดให้รุ่นลูกหลาน เนื่องจากมีราคาที่ต่ำ เป็นผลทำให้สวนชาเมี่ยงนั้นเริ่มหายไป ส่วนสวนชาเมี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่บางส่วนชาวบ้านจะปล่อยให้พื้นที่อนุรักษ์ของหมู่บ้านและเป็นป่าต้นน้ำต่อไป ตารางที่ 22 ภาพที่ 43
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 4-27 เมตรขึ้นไป ลักษณะของการปกคลุมของเรือนยอดของไม้ใหญ่ที่โดดเด่นไม่ต่อเนื่องกัน ปรากฏเป็นเรือนยอดชั้นบนสุดซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ คอแลน มะแขว่น มะขม ยางพารา เก็ดดำ เป็นต้น เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร ลักษณะของไม้ในชั้นเรือนยอดนี้มีการปกคลุมของเรือนยอด ที่ไม่ต่อเนื่องกันหรือมีความต่อเนื่องกันเล็กน้อย พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ได้แก่ ชาเมี่ยง เป็นต้น ตารางที่ 16 ภาพที่ 29  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สมบัติดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงบ้านห้วยน้ำขุ่น ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

       สมบัติดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยง พื้นที่หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร มีความเป็นกรดสูง ทั้งดินชั้นล่างและดินชั้นบน สมบัติดินชั้นบนมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าดินชั้นล่าง ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) เป็นความสามารถของสารในการดูดยึดและแลกเปลี่ยนประจุบวก พบว่า หย่อมป่ามีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) มากที่สุด ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) พบฟอสฟอรัส (P) ของพื้นที่ทั้ง 3 พื้นที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน ส่วนธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) พบว่าพื้นที่เกษตรมีค่าสูงที่สุดและเนื้อดิน (Soil texture) แสดงองค์ประกอบเชิงกายภาพของดิน ที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดคืออนุภาคทราย (Sand) รองลงมาคืออนุภาคทรายแป้ง (Silt) และอนุภาคขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว (Clay) พบว่าทั้ง 3 พื้นที่แสดงออกเด่นชัดในลักษณะของอนุภาคดินเหนียวมีสัดส่วนที่สูงทั้ง 3 พื้นที่ ตารางที่ 7 ภาพที่ 15
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินทางด้านกายภาพ (ความแข็งของดิน) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง และ ความแข็งของดินในแนวนอน

สมบัติดินทางด้านกายภาพ (ความแข็งของดิน) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่             จากภาพที่ 3-5 ความแข็งของดินของบ้านเหล่า แปลงที่ 1.1 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 3 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 4-29 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 30 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.2 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 8 เซนติเมตร ตั้งแต่ระดับลึก 9-68 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินปานกลาง และตั้งแต่ระดับลึก 69 เซนติเมตร ความแข็งของดินของบ้านเหล่า แปลงที่ 1.3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 2 เซนติเมตร ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 3 เซนติเมตรลงไป 
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (ต่อ)