การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง


               การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก 
          การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี  
             การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน
 

สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย


      ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้
 

สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ
ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50 
       ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง ไม่พบต้นทุนวัตถุดิบ และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 400-4,000 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ความแตกต่างของต้นทุนที่มีนัยสำคัญคือต้นทุนการซื้อตอก ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนค่าแรงงานทางตรง อยู่ระหว่าง 0-97,200 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ขึ้นอยู่กับแต่ละครัวเรือนจะเก็บเกี่ยวด้วยตนเองหรือจ้างเหมา, จังหวัดลำปาง ไม่พบต้นทุนค่าแรงงานทางตรง และ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,550-3,050 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายในการผลิต (Overhead Expense) พบว่า จังหวัดเชียงใหม่มีค่าใช้จ่ายในการผลิต อยู่ระหว่าง 0-4,935 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,944-3,264 บาท ต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน และ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 3,480-6,325 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ซึ่งความแตกต่างกันของค่าใช้จ่ายประเภทนี้ขึ้นอยู่กับ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ผลจากการศึกษาต้นทุนรวมต่อกิโลกรัม พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนรวมเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 12.62 บาทต่อกิโลกรัม จังหวัดลำปางอยู่ที่ประมาณ 0.69 บาทต่อกิโลกรัม และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ที่ประมาณ 4.96 บาทต่อกิโลกรัม
       ผลการศึกษาอัตรากำไรขั้นต้นต่อต้นทุนขาย พบว่า จังหวัดแพร่ มีอัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายอยู่ระหว่าง ร้อยละ 31.90-88.64 จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่างร้อยละ  88.76-97.95 และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่างร้อยละ 47.59-84.02 ผลจากการศึกษาผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) พบว่า จังหวัดแพร่ มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนระหว่าง ร้อยละ 780.13-4,782.18 จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่างร้อยละ 90.80-789.80 และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่างร้อยละ 90.8-525.63 ผลจากการศึกษาจุดคุ้มทุน(Break Even Point) ของการผลิตชาเมี่ยง พบว่า จังหวัดเชียงใหม่ มีจุดคุ้มทุนในการผลิตชาเมี่ยงอยู่ที่ 27.32-460.4 กิโลกรัม จังหวัดลำปาง อยู่ที่ 133.22-152.63 กิโลกรัม และ จังหวัดเชียงใหม่อยู่ที่ 19.5-23.95 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่าพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนจุดคุ้มทุนต่ำที่สุด เนื่องจากเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากถึงเฉลี่ยปีละประมาณ 5,000 กิโลกรัม ในขณะที่ อีก 2 พื้นที่ เก็บผลผลิตได้เฉลี่ยปีละประมาณ 400-500 กิโลกรัม จากผลสรุปการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 พื้นที่ จำนวน 8 กลุ่มตัวอย่าง ถึงแม้จะมีความแตกต่างในเรื่องต้นทุนและผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญ และไม่ได้มีผลตอบแทนที่ดึงดูดความสนใจต่อธุรกิจอื่นที่จะเข้ามาร่วมลงทุนมากนัก แต่ในมุมมองของเกษตรกรในพื้นที่แล้ว ยังคงมองว่า การผลิตชาเมี่ยงเป็นอาชีพที่มั่นคง ถึงแม้จะไม่ได้มีกำไรจากการผลิตมากนักแต่ยังมีผลตอบแทนที่ได้รับในรูปแบบอื่น เช่น การได้อยู่ในพื้นที่ทำกินที่ดี มีทั้งอากาศ น้ำ ที่บริสุทธิปราศจากสารปนเปื้อนใดๆ มีชุมชนที่ปราศจากอาชญากรรม มีวัฒนธรรมที่ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีการปันน้ำใจกันในชุมชน จนทำให้คนส่วนใหญ่ที่นี่มีความสุขและอายุยืน ทำให้เกษตรกรยังยึดมั่นที่จะประกอบอาชีพหลักในการผลิตชาเมี่ยง ถึงแม้ว่าตนเองสามารถประกอบอาชีพอื่นที่มีรายได้มากกว่าก็ตาม
 

ผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ
          ผลจากการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือภาคเหนือ จากข้อมูลที่รวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 กลุ่ม พบว่า ห่วงโซ่อุปทานของชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่มีระดับความซับซ้อนน้อย ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ส่วนใหญ่ จะมีเพียงเกษตรกรผู้ปลูก ดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว, ตัวแทนสมาชิกผู้รวบรวมเพื่อแปรรูป, ผู้จัดจำหน่าย และลูกค้า บางครั้งอาจทับซ้อนกันในหน้าที่ของสมาชิกภายในห่วงโซ่ พื้นที่ปลูกชาเมี่ยงส่วนใหญ่มีการปลูกมายาวนามตามประวัติศาสตร์ความเป็นมาเริ่มแรกในแต่ละท้องถิ่น มีการดูแลรักษาชาเมี่ยงที่คล้ายคลึงกัน คือ จะทำเพียงเพียงตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มไม่มีความสูงมากเกินไปที่ยากต่อการเก็บเกี่ยว และตัดหญ้าบริเวณโดยรอบเพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ได้ง่าย ไม่ค่อยพบโรคระบาดและโรคแมลงในชาเมี่ยง จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาและสารเคมี ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือบำรุงดินเพราะพื้นที่ป่าที่ชาเมี่ยงอาศัยอยู่ได้ต้องมีความสมบูรณ์ในระบบนิเวศน์ที่เพียงพอ และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ไม่พบการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากนัก แต่พบว่า ในจังหวัดแพร่มีการเพาะเมล็ดเพื่อปลูกทดแทนต้นที่ตายไป ลักษณะการเก็บชาเมี่ยงจะใช้วิธีกะประมาณ และเรียกเป็นกำ ซึ่งจะได้น้ำหนักที่ไม่เท่ากันต่อกำในแต่ละพื้นที่ ทำให้ต้องแปลงค่าน้ำหนักเป็นกิโลกรัมเพื่อเทียบเคียงเป็นหน่วยสากล การเด็ดใบขณะเก็บเกี่ยวพบว่า ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน จึงทำให้ระยะเวลาในการผลิใบของต้นมีความแตกต่างกัน ในกระบวนการผลิต มีเทคนิคและอุปกรณ์ที่ใช้อาจมีความแตกต่างกันไปตามภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น แต่มีจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์ไม่ต่างกันมากนัก และเมื่อทดลองรสชาติแล้วคุณสมบัติแล้ว ไม่ได้ทำให้เห็นถึงความแตกต่างของผลผลิตในแต่ละแห่งอย่างชัดเจน การจัดจำหน่าย สามารถขายได้ทั้งใบสด หรือขายเมื่อนึ่งเสร็จ หรือขายเมื่อผ่านกระบวนการหมักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ใช้ตัดสินใจในการขาย พบว่า ราคาไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาว่าจะขายในรูปแบบใด แต่ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจของเกษตรกรคือ แรงงาน และเวลาในการผลิต 
          ผลจากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis) ในภาพรวมของทั้ง 3 พื้นที่ มีดังนี้
      จุดแข็ง อยู่ที่ผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดฤดู ต้นทุนผลิตต่ำ วัฒนธรรมการรับประทานชาเมี่ยงในพื้นที่ยังคงมีอยู่ บางพื้นที่ยังสามารถเชื่อมโยงสู่การพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน อย่างที่เห็นได้เด่นชัดในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนั้นคนในชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างกลมเกลียวถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน คนในชุมชนมีฐานะความเป็นอยู่ทที่ใกล้เคียงกัน มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้
     จุดอ่อน ที่พบคือ แรงงานในครัวเรือนไม่เพียงพอต่อการผลิต ทำให้ต้องแบกภาระต้นทุนการผลิตในค่าแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในบางพื้นที่อาจมีผลกระทบต่อการบุกรุกของแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เช่นในจังหวัดเชียงใหม่ และยังคงพบจุดอ่อนในเรื่องการแปรรูปเพื่อในการเพิ่มมูลค่า และไม่มีผู้รับสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ในรุ่นถัดไป 
      โอกาส พบว่า เนื่องจากป่าชาเมี่ยงแต่ละแห่งเป็นพื้นที่ใกล้กับเขตป่า อาจะทำให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ และพื้นที่บางแห่งเริ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น ชาชาเมี่ยง การทำหมอนชาเมี่ยง เป็นต้น มีหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่เนื่องจากเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเหนือ 
       อุปสรรค วัฒนธรรมการรับประทานชาเมี่ยงลดน้อยลง ป่าไม้ถูกทำลายมากขึ้น โดยเฉพาะการเผาป่าในช่วงฤดูแล้ง, ข้อมูลเชิงวิชาการและการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่การผลิตชาเมี่ยงยังมีน้อย และยังไม่มีแผนการดำรงรักษาภูมิปัญญาและการผลิตชาเมี่ยงให้ยืนยาวอย่างชัดเจน



 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก            การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน   สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย       ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้   สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50         ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดล
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคม

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมี 53.1 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนเพศชายมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 40.6 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 34.4 และอายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 25.0      ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3       อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0     รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ รายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 และรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 96.3 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 และย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ตารางที่ 23
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

คุณประโยชน์ใบชา

คุณประโยชน์ใบชา (สถาบันชา, 2555)             องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่มีอยู่ในใบชา ได้แก่ สารกลุ่มคาเทชิน เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญของใบชา ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ผลิตจากใบชา จึงประกอบด้วย สารสำคัญที่มีคุณประโยชน์ เช่นเดียวกัน คุณประโยชน์ของเมี่ยงหมักสามารถจำแนกตามฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้ดังต่อไปนี้  1. ชากับการต้านอนุมูลอิสระ             ชา ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ประเภท ฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า คาเทชิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง  โรคหัวใจ  และ ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้ 2. ชากับโรคมะเร็ง             การดื่มน้ำชาเป็นประจำสามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งเต้านม สารคาเทชิน (Catechins) ในชามีผลยับยั้งมะเร็ง ด้วยกลไกที่หลากหลาย คาเทชินที่ ออกฤทธิ์ต้านมะเร็งที่สำคัญคือ Epigallocatechin gallate (EGCG) 3. ชากับโรคหัวใจ             คาเทชิน (Catechins)  ช่วยลดการเกร็งของเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอนในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด อัมพฤษ์ และ อัมพาฒจากเส้นเลือดตีบตัน นอกจากนี้ Epigallocatechin gallate (EGCG) ยังช่วยลด                       การเกิดออกซิเดชันของโคเลสเตอรอล ลดการสะสม และ การสร้างตะกอนในเส้นเลือดจากโคเลสเตอรอล ลดการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน และ ลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 4. ชากับโรคเบาหวาน           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยแป้ง คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ทั้งในน้ำลายและลำไส้  ทำให้แป้งถูกย่อยได้ช้าลง ช่วยให้การเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ นอกจากนั้น ชาเขียวยังลดการดูดซึมของกลูโคสที่ลำไส้ 5. ชากับสุขภาพช่องปาก           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากซึ่งมีทั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องปาก Porphyromonas gingivilis และ แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ Stretococcus mutans คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย ทำให้มีปริมาณกลูโคส และ มอลโตสน้อยลง ซึ่งเป็นผลลดปริมาณอาหารของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้ คาเทชินยังช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ป้องกันฟันผุ 6. ชากับโรคอุจจาระร่วง             Polyphenols มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย โดย Polyphenols สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย การดื่มชา สามารถใช้รักษาโรคอุจจาระร่วงได้ และ สามารถฆ่าสปอร์ของ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ และ สามารถฆ่าแบคทีเรียที่ทนความร้อน เช่น Bacillus subtilis, B. cereus, Vibrio parahaemolyticus และ Clostridium perfringens 7. ชากับโรคอ้วน             ชา ประกอบด้วยสารสำคัญ เรียกว่า โพลิฟีนอล (Polyphenols) ที่มีความสามารถยับยั้งเอนไซม์ Catechol-O-methyl transferase จึงช่วยกระตุ้นการสร้างความร้อนของร่างกาย มีส่วนช่วยเผาผลาญพลังงาน และ ช่วยจัดการกับโรคอ้วน ทั้งยังมีคุณสมบัติในการชะลอการปล่อยกลูโคส (Glucose) สู่กระแสเลือด ทำให้ชะลอการสร้างอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้ร่างกายสะสมไขมัน ดังนั้น ร่างกายจึงเผาผลาญไขมันแทนที่จะสะสมไขมัน 8. ชากับการผ่อนคลายของระบบประสาท
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา

    การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา มักแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิต (biotic factors) ซึ่งได้แก่ มนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมพืช และปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic factors) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากนั้นปัจจัยแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายประการดังนี้    1. ปัจจัยที่เกี่ยวกับดิน (edaphic factors) ดินเป็นเทหวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติปกคลุมผิวโลกอยู่บาง ๆ เกิดจากการแปรสภาพหรือผุสลายของหิน แร่ และอินทรีย์วัตถุ ผสมคลุกเคล้ากัน(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536) ดินเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวของพืชส่วนใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงมักถือเป็นสิ่งวัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งต่าง ๆ ได้ นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ความชื้นของดินก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพืชในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฤดูแล้งเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นจุดวิกฤติสำหรับการรอดตายของพืช (Sakurai et al., 1991) สอดคล้องกับรายงานของ Marod et al. (2002) ที่พบว่ากล้าไม้สำคัญในป่าผสมผลัดใบส่วนใหญ่มีอัตราการรอดตายลดต่ำลงมากเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งโดยทั่วไปพรรณไม้ส่วนใหญ่มีการพักตัวในฤดูแล้ง ซึ่งจะมีการผลัดใบและจัดสภาพทางสรีระวิทยาเพื่อการเจริญเติบโตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อย่างไรก็ตามการออกดอกออกผลของไม้ป่าหลายชนิดเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งทั้งนี้เพื่อการโปรยเมล็ดในจังหวะที่พอเหมาะกับการมีความชื้นที่ผิวดินเพื่อการงอกและเจริญเติบโตของกล้าไม้(Marod et al., 2002) ปริมาณน้ำในดินยังเป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดรากพืชตามธรรมชาติ (Donahue et al., 1971) นอกจากนั้นความชื้นในดินยังเป็นตัวควบคุมชนิดและการกระจายของพันธุ์พืช (อมลรัตน์, 2544)และยังจำเป็นต่อกระบวนการต่าง ๆ ของพืช กล่าวคือ น้ำ เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้เซลล์เต่ง และเป็นตัวกลางในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร อีกทั้งยังเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิภายในเซลล์พืช(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536)    2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ (topographic factor) สภาพภูมิประเทศนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทางอ้อมต่อสังคมพืช โดยเฉพาะมีผลต่อความแปรผันของปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ดิน และพลังงานที่ได้รับ การกระจายของสังคมพืชและพรรณพืชบางชนิดสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่กับภูมิประเทศ ในขณะที่ อุทิศ (2542) ได้อธิบายลักษณะภูมิประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ดังนี้         2.1 ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล (altitude) สภาพภูมิอากาศบางพื้นที่มีความผันแปรอย่างใกล้ชิดกับระดับความสูง ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศในระดับต่ำของโลกคือในชั้น troposphere มีอุณหภูมิลดลงตามความสูง โดยในสภาพอากาศที่แห้งอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 1 องศาเซลเซียส ต่อ 100 เมตร นอกจากนั้นอิทธิพลของความสูงที่มีผลต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายและการเจริญเติบโตของพรรณพืชโดยตรง แสดงให้เห็นทั้งในระดับกว้างและระดับแคบเฉพาะท้องถิ่น ในระดับกว้างแสดงให้เห็นได้ชัดจากการกระจายของสังคมพืชต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะการเรียงตัวของป่าชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนในระดับแคบแสดงให้เห็นการจากกระจายของสังคมพืชชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนถึงยอดเขาซึ่งมีความแตกต่างกัน (สคาร และ พงษ์ศักดิ์, 2546)            2.2 ความลาดชัน (slope) ความลาดเอียงของพื้นที่ มีผลโดยตรงต่อสังคมพืชน้อย แต่มีผลต่อปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและโอกาสของการปรากฏของไม้แต่ละชนิด และต่อโครงสร้างสังคมพืชส่วนรวม ระบบการระบายน้ำทั้งในผิวดินและส่วนลึกของดินขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ น้ำที่ไหลตามผิวดินมีความเร็วสูงเมื่อมีความลาดชันสูง ฉะนั้นโอกาสการซึมลงส่วนลึกของดินมีน้อย ในที่ลาดชันมากความชื้นค่อนข้างต่ำ ดินตื้นเนื่องจากการกัดชะของน้ำผิวดิน สังคมพืชคลุมดินจึงเป็นสังคมที่ต้องปรับตัวกับความแห้งแล้งได้ดี การจำแนกความลาดชันของพื้นที่ทางด้านป่าไม้นิยมแบ่งเป็นสี่ระดับคือ  1)  ระดับความลาดชันน้อย 5 – 10 องศา  2)  ความลาดชันปานกลาง 11 – 20 องศา  3)  ความลาดชันมาก 21 – 30 องศา และ  4)  ที่ลาดชันมาก ๆ 31 – 45 องศา (นิพนธ์, 2545)            2.3 ทิศด้านลาด (aspect) มีผลต่อการได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ปริมาณฝนที่ตกและลมที่พัดเอาความแห้งแล้งเข้ามาในพื้นที่ โดยปกติทิศด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกย่อมได้รับพลังงานมากกว่าทางทิศเหนือและทิศใต้ แต่เนื่องจากแกนโลกเอียงฉะนั้นในทางซีกโลกเหนือด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะได้รับพลังงานสูงสุด ในขณะที่ด้านที่หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับพลังงานน้อยที่สุด ในประเทศไทยทิศด้านลาดของภูเขามีผลอย่างยิ่งต่อการได้รับปริมาณน้ำฝน ซึ่งจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ             สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก            การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน   สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย       ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้   สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50         ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดล
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ3)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

แบคทีเรียก่อโรคฟันผุ

      โรคทางช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น การเกิดกลิ่นปาก เป็นต้น ซึ่งโรคทางช่องปากที่พบบ่อย คือ ฟันผุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม เป็นต้น โดยสาเหตุสำคัญ คือ แบคทีเรียกลุ่มสเตรปโตค็อกไค (Streptococci) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก เช่น Streptococcus mutans, S. oralis, S. sanguinis, S. sobrinus และ Lactobacillus spp. เป็นต้น ที่ทำให้เกิดฟันผุได้เนื่องจากแบคทีเรียย่อยน้ำตาลที่ติดอยู่เป็นคราบบนฟันในคนที่ทำความสะอาดหรืออาหารติดซอกฟันเพื่อเอาไปใช้ในการสร้างกลูแคน (glucan) โดยการย่อยสลายทำให้ pH ต่ำ ซึ่งสภาวะเป็นกรดทำให้เคลือบฟันเสียแร่ธาตุในที่สุดสูญเสียเนื้อฟัน ผลที่เกิด คือ มีกลิ่นปาก ทำให้เหงือกอักเสบและปวดฟัน การเบาเทาอาการเบื้องต้น คือ ทานยาแก้ปวด หรือใช้น้ำยาบ้วนปากซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฆ่าแบคทีเรียซึ่งลดกลิ่นปากได้ (Papapanou et.al., 1998) นอกจากนี้โรคทางช่องปากที่พบบ่อยอีกชนิดหนึ่ง คือ การเจ็บคอซึ่งสาเหตุเกิดจากแบคทีเรียหลายๆ ชนิด ที่พบบ่อย คือ Group A beta haemolytic Streptococcus, Staphylococcus aureus ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบากร้าวไปถึงหู ทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่คางบวมโต ซึ่งการรักษา คือ ใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มเพนนิซิลิน (กรีฑาและคณะ, 2548) สำหรับแบคทีเรียที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นแบคทีเรียแกรมบวก คือ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp.  Streptococcus mutans   ลักษณะทั่วไป     Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม (Gram-positive cocci) ขนาด 0.5-0.75 µm เรียงตัวเป็นสายสั้นๆหรือสายยาวปานกลาง ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ (non-motile) เมื่อทดสอบ catalase ให้ผลลบ ถ้าเพาะเลี้ยงบนอาหาร blood agar (BA) และบ่มในสภาวะไม่มีออกซิเจน (anaerobic) เป็นเวลา 2 วัน โคโลนีจะมีสีขาวหรือเทา รูปร่างกลมหรือไม่แน่นอน (irregular) ขนาด 0.5-1.0 µm (ภาพ 1) บางครั้งโคโลนีจะค่อนข้างแข็ง มีแนวโน้มที่จะเกาะติดบนผิวอาหาร ไม่สลายเม็ดเลือดแดง (alpha or non-hemolytic) แต่มีโอกาสพบ beta-hemolytic บนอาหารที่มีส่วนผสมของ sucrose เช่น mitis salivarius agar (MSA) หรือ trytone, yeast extract, cystine (TYC) agar ซึ่งโคโลนีจะมีรูปร่างขรุขระกองทับกัน ขนาด 1.0 µm บางครั้งจะพบโคโลนีมีลักษณะคล้ายเม็ดบีดส์ droplets หรือของเหลวซึ่งเกิดจากเชื้อสร้าง extracellular polysaccharide หรือ glucan ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้อยู่รอบๆโคโลนี แต่บางครั้งจะพบเป็นแบบผงเรียบๆหรือเป็นเมือก (Sneath et al. 1986) S. mutans ส่วนใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีอากาศ หรือ มี N2 + CO2 หรือ CO2 เป็นหลัก แต่จะเจริญได้ดีในสภาวะที่ไม่มีอากาศ อุณหภูมิที่ทำให้สามารถเจริญได้ดี คือ 37?C และสามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิสูงสุด 45?C และต่ำสุดที่ 10?C (Sneath et. al. 1986)    ความสำคัญทางการแพทย์     Streptococcus mutans มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นทำให้เกิดโรคฟันผุที่ผิวฟันและรากฟัน (Takahashi and Nyvad, 2010) โรคฟันผุ     โรคฟันผุเป็นโรคที่พบบ่อยในช่องปากจัดเป็นโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียประจำถิ่นในช่องปาก  โรคฟันผุเกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อของฟันเฉพาะที่โดยเกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (demineralization) จากภาวะความเป็นกรดที่เกิดจากการย่อยสลายอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตของแบคทีเรียบางชนิดในคราบจุลินทรีย์ (dental plaque) หรือ biofilm ได้แก่ mutans streptococci (S. mutans และ S. sobrinus) และ lactobacilli (Loesche, 2007) กลไกการก่อโรคฟันผุของ Streptococcus mutans 1. Adhesion     ความสามารถในการยึดเกาะของเชื้อ S. mutans เป็นปัจจัยหลักในการเกิดคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm ที่ผิวฟัน ซึ่งจะเกิดฟันผุตามมาโดยจะขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการ ดังนี้    1.1.    Sucrose – independent adhesion      เป็นการยึดเกาะโดยใช้โปรตีนที่เรียกว่า antigen I / II เป็นโปรตีนที่มีขนาด 185 kDa โปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน Streptococcus sp. ที่อยู่ในช่องปากสายพันธุ์อื่นๆได้ด้วย (Ma et al., 1995) โดยมีระบบเรียกแตกต่างออกไป เช่น P1, Spa, O, Sr, Pac และ antigen B โปรตีนในกลุ่ม antigen I / II จะมีโครงสร้างของส่วนที่เหมือนกันแต่มีบางส่วนที่ต่างกันจึงทำให้ความสามารถในการยึดเกาะกับโปรตีนต่างๆในน้ำลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

       ความหนาแน่นของสวนชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ทั้งหมด 7 ตำบล 128 หมู่บ้าน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพบว่า มีการทำสวนชาเมี่ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน เพื่อเป็นรายได้หลัก และรายได้เสริมให้กับครอบครัว มีการปลูกเพิ่มเติมในพื้นที่โดยนำเมล็ดจากต้นมาเพาะ แล้วนำไปปลูกแซมภายในพื้นที่ และยังมีการปลูกพืชเกษตรอื่นควบคู่ไปกับสวนชาเมี่ยง เช่น บ๊วย เชอรี่ กาแฟ อะโวคาโด โดยชาเมี่ยงจะมีรูปแบบการเก็บผลผลิตในรูปแบบของชาสั้น 1 ยอด 2 ใบ และเก็บเป็นชายาว โดยจะมีกรรมวิธีที่แตกต่างกัน โดยกรรมวิธีหลักที่มีความคล้ายคลึงกันคือ การขั้วใบชาเมี่ยง การนวดใบชาเมี่ยง และการตากใบชาเมี่ยงให้แห้ง ชาเมี่ยงสั้นแห้งกิโลกรัมละ 150-300 บาท และชาเมี่ยงยาวแห้งกิโลกรัมละ 50-100 บาท หมู่บ้านในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ที่ทำสวนชาเมี่ยงมีจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่บ้านดอยงาม มีทั้งหมด 160 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยงทุกครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 400 ไร่ บ้านห้วยน้ำขุ่น มีทั้งหมด 400 ครัวเรือน ทำสวชาเมี่ยง 350 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 3,000 ไร่ บ้านลอจอ มีทั้งหมด 90 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยง 20 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 200 ไร่ บ้านพนาเสรี มีทั้งหมด 122 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยงทุกหลังคาเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 130 ไร่ และบ้านใหม่จะคะ มีทั้งหมด 170 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยง 100 ครัวเรือน มีพื้นที่สวนชาเมี่ยงทั้งหมด 1,000 ไร่ ปัจจุบันสวนชาเมี่ยงยังเป็นที่นิยมของเกษตรกร เนื่องจากยังมีความต้องการของผู้บริโภคสูง ส่วนด้านการจัดการและการดูแลสวนชาเมี่ยง มีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ชาเมี่ยงแตกยอดใหม่ ตัดลำต้นให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บผลผลิต และต้นชาเมี่ยงจะมีทรงพุ่มและยอดที่สวยงาม โดยการจัดการนั้นจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง และมีการตัดหญ้าก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ปีละ 3-4 ครั้ง ไม่มีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และใช้สารเคมีในการดูแล โดยปล่อยให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตตามธรรมชาติ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งทั้งปี ตารางที่ 12 ภาพที่ 28
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างของระบบนิเวศ

        ตามความหมายของ Odum (1962) โครงสร้างของระบบนิเวศหมายถึง (1) องค์ประกอบของสังคมชีวิตซึ่ง ได้แก่ ชนิด จำนวน ความหนาแน่น มวลชีวภาพ รูปชีวิต ชั้นอายุ และการกระจายของประชากรของทั้งพืชและสัตว์ รวมตลอดถึงมนุษย์ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศที่สำคัญยิ่ง (2) ปริมาณและการกระจายของสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ ดิน หิน น้ำ แร่ธาตุอาหาร รวมทั้งลักษณะสภาพภูมิประเทศต่าง ๆ และ (3) สภาพและช่วงความแตกต่างในด้านปัจจัยแวดล้อม เช่นอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ปริมาณน้ำฝน และสภาพลมฟ้าอากาศอื่น ๆ จะเห็นว่าระบบนิเวศแต่ละระบบจะมีลักษณะโครงสร้างแตกต่างกัน การจำแนกลักษณะโครงสร้างของระบบนิเวศออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังกล่าวช่วยให้การศึกษาและวิเคราะห์ระบบนิเวศได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี โครงสร้างของระบบนิเวศไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศบนบก หรือ ระบบนิเวศในน้ำต่างก็มีลักษณะหลาย ๆ อย่างที่คล้าย ๆ กันและบางอย่างก็แตกต่างกันไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่างก็มีองค์ประกอบของชีวิตที่สำคัญแบ่งตามลักษณะการบริโภคอยู่ 3 ระดับชีวิต (trophic levels) ด้วยกันคือ     1) ผู้ผลิต (primary producers) ได้แก่ พืชใบเขียวทุกชนิดที่สามารถปรุงอาหารเองได้เราเรียกพวกนี้ว่าออโตทรอพฟิค (autotrophic) พืชพวกนี้จะตรึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง แล้วเปลี่ยนพลังงานแสงมาเป็นพลังงานทางชีวเคมีในรูปของแป้งและน้ำตาลที่อยู่ในพืชซึ่งใช้สำหรับการดำรงชีพของพืชเองและใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ด้วย      2) ผู้บริโภค (Consumers) ได้แก่ สัตว์ที่บริโภคแยกแยะและกระจายพลังงานที่พืชตรึงเอาไว้โดยทางตรงและทางอ้อม พวกกินพืชโดยตรงเรียกเฮอร์บีวอร์ (herbivores) หรือผู้บริโภคขั้นปฐมภูมิ (primary consumers) พวกนี้ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ควาย แพะ แกะ กวาง และกระต่าย เป็นต้น สำหรับสัตว์ที่ไม่กินพืชโดยตรง แต่อาศัยพลังงานจากพืชทางอ้อมด้วยการกินเนื้อของสัตว์ที่กินพืชอีกทอดหนึ่ง พวกนี้เรียกว่าคาร์นิวอร์ (carnivores) หรือผู้บริโภคขั้นทุติยภูมิ (secondary consumers) เช่นสุนัขจิ้งจอก เสือ และสิงโต เป็นต้น สำหรับสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่กว่าบริโภคสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดเล็กกว่า กรณีเช่นนี้อาจจัดสัตว์ที่บริโภคสัตว์กินเนื้อด้วยกันเองไว้เป็นผู้บริโภคขั้นตติยภูมิ (tertiary Consumers) ก็ได้สำหรับมนุษย์เราซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการควบคุมและเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศนั้น เป็นผู้บริโภคได้ทั้งพืชและสัตว์จึงเรียกพวกที่บริโภคได้ทั้งพืชและสัตว์นี้ว่า โอมนิวอร์ (omivores) จะเห็นว่าผู้บริโภคระดับต่าง ๆ ดังกล่าวไม่สามารถปรุงอาหารไว้กินเองเหมือนผู้ผลิตได้ พวกนี้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งจัดเป็นอาหารสำเร็จรูปแล้วเราจึงเรียกพวกนี้ ว่าเฮทเทอโรทรอพฟิค (heterotrophic)      3) ผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร (decomposers) ได้แก่ พวกเห็ดรา จุลินทรีย์ หรือบักเตรีบางชนิด เป็นพวกที่ดำรงชีวิตโดยการดูดซับอาหารจากซากพืชและสัตว์ จัดเป็นพวกเฮทเทอโรทรอพฟิค ที่ช่วยให้ซากพืชและสัตว์ผสลายและปลดปล่อยธาตุต่าง ๆ กลับสู่ดินไปเป็นอาหารแก่พืชหรือผู้ผลิตอีกครั้งหนึ่ง    นอกจากจะมีองค์ประกอบของชีวิตเหมือนกันแล้ว ระบบนิเวศบนบกและในน้ำยังต้องการสารและแร่ธาตุอาหารที่คล้าย ๆ กัน เช่นในโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกทั้งถูก จำกัด และควบคุมโดยปัจจัยแวดล้อมที่คล้าย ๆ กัน เช่นอุณหภูมิ และแสงสว่าง เป็นต้น ประการสุดท้ายระบบนิเวศทั้งบนบก และในน้ำ ยังมีการจัดเรียงหน่วยของสังคมชีวิตในแนวตั้งแบบเดียวกันด้วย คือจะมีพวกออโตทรอพฟิคอยู่ชั้นบน และเฮทเทอโรทรอพรีคอยู่ชั้นล่าง กระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งกระทำโดยผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงเกิดในชั้นบนที่ได้รับแสงสว่าง ขณะที่กิจกรรมของผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารจะดำเนินอยู่ในระดับที่ต่ำลงมา และขอเน้นในที่นี้ว่าถึงชั้นความหนาในแนวตั้งของระบบนิเวศจะแตกต่างกันไปมากก็ตาม แต่พลังงานจากแสงที่ระบบนิเวศได้รับในแนวระดับจะเท่ากันหมด ดังนั้นการศึกษาเปรียบเทียบระบบนิเวศต่าง ๆ จึงควรเปรียบเทียบต่อหน่วยพื้นที่มากกว่าต่อหน่วยปริมาตร     อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศบนบกและในน้ำต่างก็มีโครงสร้างทั้งที่แตกต่างกันและเหมือนกัน เช่น องค์ประกอบชนิดพืชและสัตว์มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บทบาทของผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายอินทรียสาร มีความแตกต่างกันมากตามความสามารถในการปรับตัวและจากผลของการวิวัฒนาการ โครงสร้างระหว่างระดับชีวิตที่จัดเรียงตามลำดับขั้นของการบริโภคก็แตกต่างกันมาก โดยที่ผู้ผลิตในระบบนิเวศบนบกส่วนมากจะมีขนาดใหญ่ แต่มีจำนวนน้อยขณะที่ผู้ผลิตของระบบนิเวศในน้ำส่วนมากมีขนาดเล็ก แต่มีเป็นจำนวนมากปกติระบบนิเวศบนบกหรือ โดยทั่วไปจะมีมวลชีวภาพของผู้ผลิตมากที่สุดและมวลชีวภาพของผู้บริโภคในระดับสวดถัดขึ้นไปจะลดน้อยลงตามลำดับ สำหรับระบบนิเวศในน้ำมวลชีวภาพของผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นพวกแพลงตอนพืช ซึ่งอาจมีน้อยกว่ามวลชีวภาพของผู้บริโภคได้เ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก            การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน   สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย       ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้   สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50         ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดล
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง และ ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)             จะนำข้อมูลที่เก็บรวมรวมได้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการถอดเทปสัมภาษณ์และการค้นหาเอกสารอ้างอิง ถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบสรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) และอธิบายสรุป เป็นข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมและศักยภาพในการผลิต ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเมี่ยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในห่วงโซ่อุปทานการเพาะปลูกชาเมี่ยง รวมถึงการหาแนวทางในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานของการผลิตเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)   โดยการบรรยายสรุปข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้สถิติในรูปของค่าเฉลี่ย (Mean) และร้อยละ(Percentage) เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการผลิตเป็นเมี่ยงหมัก ปริมาณผลผลิต   ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย             วิธีดำเนินงานศึกษาศึกษาการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย มีขั้นตอนดังต่อไปนี้  1.)    การสร้างแบบสัมภาษณ์ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง 2.)    นำแบบสัมภาษณ์มาตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมในประเด็นคำถาม และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในงานวิจัย 3.)   นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง 4.)    นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  5.)    สรุปผลจากการศึกษา 6.)    จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง กิ่งกนก พิทยานุคุณ และคณะ. 2527. การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.หน้า 152 – 160. กรมส่งเสริมสหกรณ์. 2559.  ประวัติการส่งเสริมสหกรณ์. [ระบบออน์ไลน์]. แหล่งที่มา             http://www.cpd.go.th/web_cpd/cpd_Allabout.html. (22 มิถุนายน 2560). โกมล วงศ์อนันต์ และ อภิชา ประกอบเส้ง. 2559.  SWOT Analysis ด้าน Planning [ระบบออน์ไลน์]. แหล่งที่มา  http://promrucsa-dba04.blogspot.com/2012/10/swot-analysis-swot-swot-humphrey-swot-2.html. (11 มิถุนายน 2562). กัลทิมา พิชัย และคณะ 2551. เพิ่มศักยภาพผู้ผลิตชาชาเมี่ยงโดยการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในการผลิตพืชให้ประโยชน์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เขตพื้นที่ปลูกชาเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. 2555. การเงินธุรกิจ. ซีเอ็ดยูเคชั่น. ชวลิต และคณะ. 2553 ความหลากหลายของชาพื้นเมืองบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ดวงใจ และคณะ. 2558.คู่มือการศึกษาป่าไม้ไทย. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ดอกรัก มารอด. 2555. นิเวศวิทยาป่าไม้ประยุกต์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์. 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. กองทุนจัดพิมพ์ตำราคณะ วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 532 หน้า เดชา อินเด. 2545. การบัญชีต้นทุน. ธนาเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. นิวัติ เรืองพานิช. 2541. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินิเวศวิทยา. นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. บุญธรรม บุญเลา ประสิทธิ์ กาบจันทร์ และสมยศ มีสุข. 2553. การวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ของชาจีนในพื้นที่สูง. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://librae.mju.ac.th/goverment/20111119104834_librae/26169.pdf. (16 สิงหาคม 2562). ปฐวี แสงฉาย. 2536. ทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกชา (เมี่ยง) ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปิ่นมณี  ขวัญเมือง. (2547). แบคทีเรียกรดแลคติกในผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 3 : 62-69. พุทธพงษ์ และคณะ 2561 การศึกษาความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์ของเมี่ยง จังหวัดสุโขทัย ตาก แพร่ และน่าน วิทยาศาสตร์เกษตร พรชัย ปรีชาปัญญา และคณะ 2528. ระบบวนเกษตรที่สูง. โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน, เชียงใหม่. 153 หน้า. พรชัย ปรีชาปัญญาและ พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. 2542. ภูมิปัญญาชาวป่าเมี่ยง (ชา) เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการจัดการลุ่มน้ำที่สูงภาคเหนือ ประเทศไทย. [ระบบออนไลน์]. แหล่ง                                                   ที่มาhttp://frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/ws_document/R044202.pdf. (20 สิงหาคม 2562). พรชัย และคณะ 2546. การจัดการลุ่มน้ำป่าเมี่ยงโดยชุมชนมีส่วนร่วม สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่มวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม เพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. 2533. การงบประมาณ กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 152  - 154. ลัดดา ปินตา. 2560. การพัฒนาสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาชีพทำสวนเมี่ยง กรณีศึกษา ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เยาวพา ณ นคร. 2545. การบัญชีต้นทุน 1 กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. วารีรัตน์ หนูหตี. (2557). การยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนพื้นผิวสัมผัสโดยใช้สารสกัดจากพืชตระกูลขิง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงคลานครินทร์ ศุภชัย ปทุมนากุล และคณะ. 2552. โซ่อุปทานสินค้าเกษตรเล่มที่ 1 การจัดการซัพพลายเออร์ (Agricultural Supply Chain). กลุ่มวิจัยระบบโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2550. แนวทางในกาลดต้นทุน. โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน SMEs Projects. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาด               กลางและย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 1 สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. 2538. ศัพท์บัญชี. กรุงเทพฯ: บริษัทพี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด, หน้า 25. สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, ธีรพงธ์  เทพกรณ์, พนม  วิญญายอง และ ประภัสสร  อึ้งวณิชยพันธ์. (
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก            การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน   สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย       ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้   สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50         ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดล
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชในสวนชามี่ยงบ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย              พบชนิดพรรณไม้ทั้งหมด 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ มีความหนาแน่นเท่ากับ 1,066 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 0.40 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ ความหลากหลายของพรรณไม้ตามดัชนีของ Shannon-Weiner เท่ากับ 0.78 ไม้ที่มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ชาเมี่ยง ทะโล้ บ๊วย เชอรี่ และอะโวคาโด มีค่าเท่ากับ 82.50, 5.00, 3.12, 2.50 และ2.50 ไม้ที่มีค่าความเด่นสัมพัทธ์ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ทะโล้ มะขามแป ชาเมี่ยง ปอหูช้าง และเหมือดโลด มีค่าเท่ากับ 66.27, 12.69, 10.58, 6.60 และ2.29 ตามลำดับ มีพันธุ์ไม้เด่นที่พิจารณาจาก ค่าดัชนีความสำคัญ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ชาเมี่ยง ทะโล้ มะขามแป ปอหูช้าง และเชอรี่ มีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 131.97, 93.49, 22.90, 13.40 และ11.88 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ พบว่าในพื้นที่บ้านห้วยน้ำขุ่น ที่ทำสวนชาเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่จะปลูกพืชชนิดอื่นขึ้นมาแทนชาเมี่ยง เช่น มีเชอรี่ บ๊วย อะโวคาโด เข้ามาในแปลงโดยมีการมาปลูกแซมในพื้นที่สวนชาเมี่ยง และกันพื้นที่ไว้ปลูกไม้ผล เช่น การถางป่าเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกพืชชนิดใหม่ มีการใช้สารเคมีในแปลง เป็นการทำลายระบบนิเวศเดิม หรือเป็นการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้น ทำลายป่าต้นน้ำ (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ค่าความหนาแน่น (D; ต้น/เฮกแตร์) ความเด่น (Do; ตรม/เฮกแตร์) ความถี่ (F; %) ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (RD; %) ความเด่นสัมพัทธ์ (RDo; %) ความถี่สัมพัทธ์ (RF; %) และ ดัชนีความสำคัญ (IVI; %) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี และ สรุปและอภิปรายผลงานวิจัยลักษณะนิเวศของสวนชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี             ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีมีค่าสูงสุดในจังหวัดเชียงใหม่เท่ากับ 1,280.58 มิลลิเมตร รองลงมาที่จังหวัดแพร่ น่าน และลำปาง มีค่าเท่ากับ 1,260.64,  1,169.29 และ 1,109.72 มิลลิเมตรตามลำดับ (ตารางที่ 23) ตารางที่ 23 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี (มิลลิเมตร)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (ต่อ 1)

2.3) การทดสอบประสิทธิภาพของ Streptomycin 2.5 mg/ml ต่อการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ             นำ Streptomycin 2.5 mg/ml มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ 5 ชนิด พบว่า มีประสิทธิภาพในการสร้างวงใสยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้แตกต่างกันดังแสดงในตารางที่ 26 แผนภาพที่ 2 และภาพที่ 130 ตารางที่ 26  ประสิทธิภาพของ Streptomycin 2.5 mg/ml ในการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

กระบวนการผลิต

      กระบวนการผลิตเมี่ยงโดยทั่วไปดังแสดงไว้ในภาพ ผลิตภัณฑ์เมี่ยงของแต่ละแหล่งผลิตจะมีความแตกต่างกัน อันเนื่องมาจากความแตกต่างของวัตถุดิบ รายละเอียดในกระบวนการผลิต และบรรจุภัณฑ์มีดังนี้     1.วัสดุอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเมี่ยงเป็นวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นที่สามารถผลิตได้เองหรือจัดหาได้ทั่วไปท้องถิ่น ในขั้นตอนการเก็บใบเมี่ยงสดจะใช้อุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วย ตะกร้า ตะขอพร้อมเชือก ตอกไม้ไผ่ และใบมีดสวมติดนิ้ว จากนั้นใบเมี่ยงสดที่รวบเป็นกำจะถูกนำมาเรียงลงในอุปกรณ์นึ่งที่เรียกว่า “ไหนึ่งเมี่ยง” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ขนาดใหญ่เจาะรูกลวงตรงกลาง เมี่ยงที่ผ่านการนึ่งจะนำมาหมักในตะกร้าไม้ไผ่สานที่เรียกว่า “ต่าง” “ทอ” และ “ก๋วย” ซึ่งรองด้วยพลาสติกหนาและใบตอง แต่ละพื้นที่ก็จะใช้ภาชนะที่แตกต่างกัน ต่างจะมี 2 ขนาด คือ ต่างเล็กจะบรรจุเมี่ยงได้ 150-160 กำ ต่างใหญ่จะบรรจุเมี่ยงได้มากกว่า คือ 180-190 กำ ทอจะบรรจุเมี่ยงได้ 50 กำเท่าๆ กัน ส่วนก๋วยจะมีขนาดแตกต่างกัน ถ้าขนาดใหญ่สามารถจุเมี่ยงได้ถึง 2,000 กำ เมี่ยงหมักที่ได้จะนำไปบรรจุในภาชนะในรูปแบบเดียวกับที่ใช้หมักเมี่ยงแต่จะนำไปจัดเรียงในภาชนะอันใหม่เพื่อจำหน่ายต่อไป      2.กระบวนการผลิต กระบวนการผลิตเมี่ยงเป็นความรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ดังนั้นในแต่ละพื้นที่จึงอาจมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ตั้งแต่วัตถุดิบที่เป็นใบเมี่ยงสด วิธีการเก็บใบเมี่ยงสด การหมักเมี่ยง รวมถึงภาชนะบรรจุ ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิต ดังนี้         2.1 การเก็บใบเมี่ยงสด การเก็บใบเมี่ยงสดในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ยังผลทำให้เกิดลักษณะการบริโภคผลิตภัณฑ์เมี่ยงที่แตกต่างกัน การเก็บใบเมี่ยงสดอาจเก็บโดยใช้มือเด็ด หรืออาจใช้ปลอกใบมีดสวมติดนิ้วมือในการตัด การเก็บใบเมี่ยงสดมักจะมี 2 แบบ กล่าวคือ แบบแรกจะเก็บในส่วนของใบเมี่ยงอ่อน (ใบที่ 4-6) โดยตัดเอาส่วนปลายใบประมาณ 2 ในสามส่วนมัดเป็นก้อนให้ได้ขนาดประมาณ 400-500 กรัม จะพบได้ในแหล่งผลิตเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย อีกแบบหนึ่งคือการเก็บใบเมี่ยงทั้งใบ เก็บทั้งส่วนที่เป็นใบอ่อนและการเก็บส่วนยอด รวบมัดเป็นกำๆ เรียงใบ เรียกว่าเก็บเป็นแหลบ เรียกว่า เมี่ยงแหลบ ส่วนยอดสามารถเก็บรวมมากับใบเมี่ยงได้ขนาดประมาณ 150 – 200 กรัม จะพบได้ในแหล่งผลิตเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดแพร่และน่าน         2.2 การนึ่งเมี่ยง ใบเมี่ยงสดที่รวบมัดเป็นกำในขั้นตอนแรกจะนำมาเรียงในไหนึ่งเมี่ยง แล้วนึ่งด้วยไอน้ำร้อนจนสุก ใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับจำนวนเมี่ยงสดที่นึ่งแต่ละครั้ง การนึ่งเมี่ยงอาศัยความชำนาญของผู้ผลิต สังเกตว่าเมี่ยงสุกได้ที่จะมีลักษณะสีเหลืองนิ่ม ถ้านึ่งเมี่ยงไม่สุกจะทำให้ใบเมี่ยงที่มีสีเข้มแดงหลังหมัก จากนั้นเทเมี่ยงที่นึ่งเสร็จแล้วออกจากไหลงบนพื้นที่ปูด้วยพลาสติกสะอาด เพื่อผึ่งให้เย็น แล้วมัดเมี่ยงอีกครั้งให้แน่นหรือมัดใหม่ให้ได้กำเมี่ยงที่เล็กลง เมี่ยงที่มัดได้ในขั้นตอนนี้จะเป็นมัดที่จะใช้จำหน่ายในขั้นตอนสุดท้าย         2.3 การหมักเมี่ยง เมี่ยงสุกที่ผ่านการนึ่งแล้วจะนำมาหมักในสภาวะไร้อากาศ  ซึ่งเป็นการหมักโดยแบคทีเรียแลคติก (Lactic acid bacteria) โดยระหว่างการหมัก แบคทีเรียแลคติคจะผลิตสารต่าง ๆ เช่น กรดอินทรีย์ต่าง ๆ เอนไซม์โปรติเอส สารให้กลิ่นรส และสารที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียอื่น จึงทำให้เมี่ยงหมักมีรสเปรี้ยว การหมักเมี่ยงสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ “แบบที่ไม่ใช้รา” กล่าวคือ เมี่ยงนึ่งจะถูกอัดเรียงลงไปในภาชนะตะกร้าไม้ไผ่ซึ่งรองด้วยพลาสติกหนาและใบตองจนแน่น จากนั้นเติมน้ำให้ท่วม แล้วมัดหรือปิดภาชนะให้แน่น หากอัดเมี่ยงไม่แน่นน้ำจะซึมเข้าไปในเนื้อเมี่ยงมากเกินไปจะทำให้เกิดรสเปรี้ยวที่ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค การหมักเมี่ยงแบบนี้พบในพื้นที่แหล่งผลิตในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ส่วนการหมักเมี่ยงอีกแบบหนึ่งเป็น “แบบที่ใช้รา” กล่าวคือ จะนำเมี่ยงนึ่งใส่ตะกร้าทิ้งไว้ให้เกิดราขาวก่อนที่จะนำไปหมักเหมือนแบบแรก ซึ่งการหมักเมี่ยงแบบหลังนี้จะใช้หมักเมี่ยงแหลบที่ผลิตในจังหวัดแพร่ การหมักเมี่ยงจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือน ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ได้จะนำไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่ายสู่ผู้บริโภคต่อไป        2.4 การบรรจุ การบรรจุผลิตภัณฑ์เมี่ยงในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันซึ่งเป็นไปตามรูปแบบของการหมักเมี่ยง แหล่งผลิตเมี่ยงในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายจะมีลักษณะการบรรจุผลิตภัณฑ์เมี่ยงลงในตะกร้าไม้ไผ่สานขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “ต่าง” หรือ “ทอ” ส่วนผลิตภัณฑ์เมี่ยงที่เป็น
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 1* และคณะ Thanakorn Lattirasuvan1*  1*สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 ……………………………………………………………….. บทคัดย่อ             การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ โดยทำการเลือกพื้นที่ 3 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดประกอบด้วย บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านกอก จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่สุ่มเลือกตัวแทนพื้นที่ละ 5 แปลง  วางแปลงสำรวจพืชที่ขึ้นร่วมกับสวนชาเมี่ยง เก็บตัวอย่างดิน ทั้งดินชั้นบน (0-5 cm) และดินชั้นล่าง (20-25 cm) วิเคราะห์สมบัติดินทั้งทางเคมีและกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางด้านเคมี พบว่าดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร     กิจกรรมนี้มีการวิจัยด้านค้นคว้าหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans โดยใช้สารสกัดจาก ใบเมี่ยงอบแห้งโดยสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ คำสำคัญ: ชาเมี่ยง สารต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรียสาเหตุโรคทางเดินอาหาร คาเทซิน กรรมวิธีการสกัด นิเวศวิทยา ภาคเหนือประเทศไทย การใช้ประโยชน์   ABSTRACT The study of “The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern” was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) and 2) to research the isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay