วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ
           งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่
1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่
2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่
4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน

           ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview) 

2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ
            นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ

3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method
3.1 การเตรียมแบคทีเรีย
          นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M 
3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง
         นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง
3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง
         นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm)

4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ
4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ
    งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่
1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่
2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่
4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน
          ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อนแบบถาด (tray dryer) (Teunaks, Ts7472, Bergen, Norway) ที่อุณหภูมิ 60°C เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ก่อนนำตัวอย่างชาเมี่ยงทั้ง 4 จังหวัด มาบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบด (BE-120, OTTO, Bangkok, Thailand) จะได้ชาเมี่ยงาผง จากนั้น นำไปเก็บในถุงโพลีเอททีลีนก่อนนำเข้าเก็บในตู้แช่แข็ง (-20 °C) เพื่อรอการวิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระต่อไป
 4.2.การเตรียมสารสกัดชาเมี่ยง
          เตรียมสารสกัดจากชาเมี่ยงโดยดัดแปลงวิธีของ Buamard และคณะ (2015) โดยนำชาเมี่ยง มาผสมกับเอทานอลที่มีความเข้มข้น 80 % (v/v) ในอัตราส่วน 1: 10 (w/v) จากนั้นกวนเป็นเวลา 30 นาทีโดยเครื่องกวนสารละลาย magnetic stirrer (model BIG SQUID, IKA-Werke GmbH & CO.KG, Staufen, Germany) จากนั้น นำตัวอย่างทั้งสามชุดการทดลองไปทำการโฮโมจีไนส์ด้วยเครื่องโฮโมจีไนส์เซอร์ (IKA-Labortechnik homogenize, Starfeh, Germany) ที่ความเร็ว 13500 rpm เป็นเวลา 4 นาที แล้วนำส่วนผสมไปทำการปั่นเหวี่ยงด้วยเครื่องเซนติฟิวส์ (SORVALL RC50, N.Y.R, Bangkok, Thailand) ที่ความเร็ว 5000 ×g  เป็นเวลา 10 นาที เพื่อแยกเอาส่วนใส (supernatant) และ นำส่วนใสที่ได้มากรองด้วยกระดาษกรองเบอร์ 4 (Whatman No.4) (Whatman International Ltd., Maid stone, England) จากนั้น นำไประเหยตัวทำละลายเอทานอลออกด้วยเครื่องระเหยแบบหมุน (VV 2000 LIFT, Heiodolph, Germany) จะได้สารสกัดชาเมี่ยง บรรจุสารสกัดที่ได้ในถุงโพลีเอทีลีนและนำไปเก็บที่อุณหภูมิ -20?C ก่อนเพื่อรอการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระต่อไป
  4.3. การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยง
    1) วิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด (Total Phenolic content)
นำสารสกัดชาเมี่ยง (10 mg/ml) ปริมาตร 100 µl ผสมกับ Folin – Ciocalteau reagent ปริมาณ 0.75 ml ซึ่งผ่านการเจือจางด้วยน้ำ DI 10 เท่า หลังจากผสมแล้วตั้งทิ้งไว้ 5 นาที จากนั้นเติมสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (6 %, w/v) ปริมาตร 0.75 ml  ผสมให้เข้ากัน บ่มเป็นเวลา 1 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง  วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 760 nm โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer (Confirm 800 VA, Bangkok, Thailand) โดยใช้ gallic acid เป็นสารมาตรฐานและรายงานความเข้มข้นในหน่วย catechin equivalent/g sample (Ismailและคณะ, 2004)
    2) กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH (DPPH radical scavenging activity) 
นำตัวอย่างสารสกัดชาเมี่ยง (5 mg/ml) ปริมาตร 1.5 ml ผสมกับสารละลาย DPPH เข้มข้น 0.15 mmol ในเมทานอลเข้มข้น 95% ปริมาตร 1.5 ml ผสมให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้อุณหภูมิห้อง 30 นาทีในที่มืด วัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่อง Spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 517 nm และเตรียม Blank โดยใช้น้ำกลั่นแทนตัวอย่าง จากนั้นเตรียมกราฟมาตรฐานซึ่งถูกเตรียมโดยใช้ Trolox ในช่วงความเข้มข้น 10-60 µmol และรายงานผลในหน่วย µmol Trolox equivalent/g sample (Li et al., 2008)
    3) กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• (ABTS radical scavenging activity) 
เตรียม Stock Solution ที่มี 7.4 mmol ของสารละลาย ABTS และ 2.6 mmol ของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์ซัลเฟต ซึ่งสารละลายจะถูกเตรียมโดยผสมสารละลาย ABTS และสารละลายโพแทสเซียมเปอร์ซัลเฟตที่เท่ากันและตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 12 ชั่วโมงในที่มืด จากนั้น ทำการเจือจางสารละลายโดยผสมสารละลาย ABTS 1 ml ด้วยเมทานอล 50 ml เพื่อให้ได้ค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 734 nm เท่ากับของ 1.1 ± 0.02 โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer นำสารสกัดชาเมี่ยง 150 µl ผสมกับ 2850 µl ของสารละลาย ABTS และ ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 2 ชั่วโมงในที่มืด นำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 734 nm โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer จากนั้น เตรียมกราฟมาตรฐานของ Trolox ช่วง 50 ถึง 600 µmolและรายงานผลในหน่วย µmol Trolox equivalent/g sample ตามวิธีของ Re และคณะ (1999)
    4) ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก FRAP (Ferric reducing antioxidant power; FRAP) 
เตรียม Stock Solution ของอะซิเตตบัฟเฟอร์ที่มีความเข้มข้น 300 mmol (pH 3.6) โดยการเติม 10 mmol ของสารละลาย TPTZ (2,4,6-tripyridyl-s-triazine) ใน HCl ปริมาตร 40 mmol และ 20 mmol ของสารละลาย FeCl3 .6H2O และเตรียม working solution โดยการผสม 25 ml ของ acetate buffer 2.5 ml TPTZ solution และ 2.5 ml ของ FeCl3 .6H2O และ นำไปบ่มที่ 37?C เป็นเวลา 30 นาที นำตัวอย่างสารสกัดชาเมี่ยง (10mg/ ml; 150 µmol) ผสมกับ 2850 µl ของสารละลาย FRAP และ เก็บไว้ 30 นาทีในที่มืดตรวจสอบปริมาณของ ferrous tripyridyltriazine complex (coloured product) โดยวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 593 nm และกราฟมาตรฐานของ Trolox ช่วง 50 ถึง 600 µmol และ รายงานผลในหน่วย µmol Trolox equivalent/g sample ตามวิธีของ Benzie และ Strain (1996)
    5) ความสามารถในการจับโลหะ (Metal Chelating activity) 
นำสารสกัดตัวอย่างชาเมี่ยง (10 mg/ ml) ปริมาตร 4.7 ml ผสมกับ 0.1 ml ของ 2 mmol FeCl2 และ 0.2 ml ของ 5 โมลาร์ Ferrozine ตั้งทิ้งไว้ 20 นาที ที่อุณหภูมิห้อง วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 562 nm โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer เตรียม Blank เช่นเดียวกันโดยใช้น้ำกลั่นแทนตัวอย่างเทียบกราฟมาตรฐานความเข้มข้น 0-50 µmol โดยมี EDTA เป็นสารมาตรฐานและรายงานผลในหน่วย µmol EDTA equivalent/ g sampleตามวิธีของ Ebrahimzadeh และ คณะ (2008)
    6) การวิเคราะห์ทางสถิติ
ทำการทดลอง 3 ซ้ำในแต่ละปัจจัยที่ศึกษาวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลด้วย ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่ศึกษาด้วย Duncans Multiple Range Test วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อประมวลผลทางสถิติ SPSS (SPSS 11.0 for Windows, SPSS Inc, Chicago, IL, USA) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

5. การแยกองค์ประกอบทางเคมีของใบชาเมี่ยง
           ใบชาเมี่ยงแห้งปั่นละเอียด จำนวน 1 กิโลกรัม สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล 4 ลิตร ด้วยการแช่ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 2 วัน ทำการสกัดซ้ำอีก 2 ครั้ง กรองแล้วนำไประเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศ ได้สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยง 82.17 กรัม จากนั้นนำสารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงแยกด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทราฟี เฟสคงที่ซิลิกาเจล (คอลัมน์ สูง 12 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร) เฟสเคลื่อนใช้ตัวทำละลายแบบเพิ่มขั้ว (แกรเดี่ยน) เริ่มจาก EA: Hexane (0: 100) ถึง EA: Hexane (100:0) และ MeOH: EA (100:0) เก็บสารละลายในภาชนะ ใบละ 50 ml ได้สาร 32 ใบ ทำการรวมแฟลกชัน ด้วย TLC ได้ทั้งหมด 12 แฟลกชัน

6. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยง
    สารสกัดชาเมี่ยงสำหรับผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่ม ได้แก่ 
1.    ผลิตภัณฑ์สปา ได้แก่ แชมพู ครีมนวดผมและสบู่สำหรับผิวหน้า 
2.    ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ ชานมอัสสัมพร้อมดื่มและกาแฟชาเมี่ยงพร้อมดื่ม
    งานวิจัยนี้ใช้สารสกัดใบชาเมี่ยงเป็นส่วนผสม เนื่องจาก ข้อมูลการวิจัยจากการวิเคราะห์ทางเคมี พบว่าสารสกัดใบชาเมี่ยงมีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูงกว่าสารสกัดใบเมี่ยงหมัก นอกจากนั้น ในกิจกรรมการพัฒนาครีมสำหรับใช้ภายนอกจากชาเมี่ยงต้องใช้สารสกัดที่ให้ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุการเกิดการอักเสบบริเวณผิวหนังได้ด้วย ดังนั้น จึงได้สกัดใบชาเมี่ยงโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลหรือน้ำ ก่อนนำสารสกัดไปผสมในสูตรผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้วิเคราะห์ฤทธิ์ต่างๆของสารสกัด เช่น ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH 
    6.1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แชมพู ครีมนวดผมและสบู่สำหรับผิวหน้าชาเมี่ยง 
          โดยการพัฒนาสูตรตำรับพื้นให้มีคุณสมบัติที่ดีและมีความคงตัวก่อนที่จะคัดเลือกสูตรตำรับพื้นไปผสมกับสารสกัดชาเมี่ยง โดยขั้นตอนการตั้งตำรับได้คัดเลือกวัตถุดิบหลักและวัตถุดิบเสริมที่นำมาใช้แล้วทำให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะ ดังนี้ คือ มีความคงตัวดี มีความน่าใช้ ดึงดูดใจผู้บริโภค มีความอ่อนโยนต่อผิว มีคุณสมบัติของการเป็นแชมพูและสบู่เหลวที่ดี คือ ประสิทธิภาพการชำระล้างที่ดีแต่ไม่ทำให้เกิดการแห้งตึงต่อผิวและผมและมีความเป็นธรรมชาติ
    6.2 เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบความคงตัวแล้วนำไปทดสอบการระคายเคืองของผลิตภัณฑ์ในอาสาสมัครและทดสอบความพึงพอใจของอาสาสมัครต่อผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ
    6.3 การผลิตแชมพูและครีมนวดผมชาเมี่ยง
แชมพูสำหรับลดผมหลุดร่วงชาเมี่ยง และ ครีมนวดผมชาเมี่ยง


แชมพูสำหรับลดผมหลุดร่วงชาเมี่ยง
ส่วนผสม

ขั้นตอนการผลิต
1. ฝานผิวมะกรูด แล้วปั่นให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำ นำมะกรูดที่ฝานผิวแล้วผ่าซีก บีบเอาแต่น้ำ
2. คั้นใบหมี่ กรองเอาแต่น้ำ
3. นำลาโนลีน ละลายในน้ำอุ่นค่อนข้างร้อน ตวงน้ำผึ้งและน้ำมันงาสกัดเย็นตามส่วนผสมที่เตรียมไว้
4. นำเกลือละลายในน้ำสะอาดส่วนที่เหลือ
5. เท N 70 ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ใช้ไม้พายคนไปในทางเดียวกัน ประมาณ 15 – 30 นาที จนมีลักษณะเนื้อเป็น    ครีมสีขาวละเอียด
6. เติมน้ำมะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง(ภาพที่ 21) สารสกัดใบขี้เหล็ก สารสกัดอินทนิลน้ำ สารสกัดสมุนไพรอื่นๆที่ใช้เป็นสารกันบูดธรรมชาติ และ น้ำชาเมี่ยงไปทีละน้อย คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
7. เติมลาโนลีน ที่ละลายไว้ลงไป คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน เติมน้ำที่ละลายเกลือไว้ลงไป ทีละน้อย เติมน้ำผึ้ง น้ำมันงาสกัดเย็นลงไป คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
8. ตั้งพักไว้ประมาณ 16 –24 ชั่วโมง เพื่อให้ฟองยุบ
9. เติมน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติจากดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมตามชอบ แล้วจึงบรรจุลงภาชนะ


 

 

ภาพที่ 7  ชาเมี่ยงและสารสกัดชาเมี่ยงที่ผ่านกรรมวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำก่อนนำมา
ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบชาเมี่ยง
 

สูตรครีมนวดผมชาเมี่ยง สูตร 1
    สารสกัดสมุนไพร
  

วิธีการทำครีมนวดผม
            การทำครีมนวดผมชาเมี่ยง มีขั้นตอนวิธีการทำ ดังนี้ คือ 
1.    ตวงน้ำสะอาด 1 ลิตร ตั้งไฟให้เดือด
2.    ใส่สารสกัดว่านหางจระเข้  สารสกัดมะกรูด  สารสกัดชาเมี่ยง  สารสกัดอัญชัน สารสกัดอินทนิลน้ำ และ สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ คนให้เข้ากัน ต้มให้เดือด
3.    นำส่วนผสมทั้งหมดกรองเอากากทิ้ง ด้วยเครื่องกรองหยาบ และ กรองอีกครั้งด้วยเครื่องกรองละเอียด
4.    นำขึ้นตั้งไฟ เติมน้ำที่เหลือ 3 ลิตร ให้เดือดอีกครั้ง
5.    ใส่ Wax AB คนให้ละลายหมด  ยกลงจากเตา คนเรื่อยๆพออุ่น 
6.    ใส่ผงมุก คนให้เข้ากัน ครีมจะเริ่มข้นขึ้น มีลักษณะครีมข้น
7.    ใส่ น้ำมันหอมระเหย (essential oil) ที่สกัดจากเปลือกผลไม้  คนให้เข้ากัน


สบู่สำหรับบำรุงผิวหน้าชาเมี่ยง
            สูตรสบู่สำหรับบำรุงผิวหน้า มี 2 สูตร ได้แก่ สูตร 1 สบู่บำรุงผิวหน้าชาเมี่ยง และ สูตร 2 สบู่บำรุงผิวหน้าชาเมี่ยงผสมหลินจือและหนานเฉาเหว่ย มีรายละเอียด ดังนี้
สูตร 1 สบู่บำรุงผิวหน้าชาเมี่ยง
ส่วนผสม
  

วิธีผลิต
    1. คั้นมะขามป้อม เอาแต่น้ำ กรองกากทิ้ง 
    2. ตวงน้ำผึ้ง และ น้ำมันงาสกัดเย็นตามส่วนผสมที่เตรียมไว้
    3. นำเกลือละลายในน้ำสะอาดตามส่วนที่เหลือ
    4. เทกลีเซอรีน ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ในภาชนะอลูมิเนียมที่แช่ในอ่างน้ำร้อน ใช้ไม้พายคนไปในทางเดียวกันประมาณ 15-30 นาที จนมีลักษณะเป็นเนื้อครีมละเอียด
    5. เติมน้ำส่วนที่ละลายเกลือลงไปทีละน้อย คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
    6. เติมน้ำผึ้ง และ น้ำมันงาสกัดเย็นลงไป คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
    7. เติมสารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดหลินจือ สารสกัดหนานเฉาเหว่ย สารสกัดอินทนิลน้ำ และ สารสกัดสมุนไพรอื่นๆที่ใช้เป็นสารกันเสีย คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
    8. เติมน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติจากดอกไม้ หรือ กลิ่นหอมตามความชอบ คนไปในทางเดียวกัน แล้วจึงเทใส่แม่พิมพ์ ทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์คงตัวและแห้ง เมื่อแห้งแกะออกจากพิมพ์ใช้ได้เลย

สมุนไพรที่แนะนำให้ใช้ร่วมกับชาเมี่ยงสูตร 1
1). มะขามป้อม ช่วยขัดเซลล์ผิวเก่าให้หลุดออก สามารถนำน้ำไปต้มพร้อมกับเนื้อสบู่ได้
2). เปลือก ใบ และ ดอกอินทนิลน้ำ ช่วยฆ่าแบคทีเรีย รักษาและบำรุงผิวพรรณ
3). น้ำผึ้ง ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง และ สมานแผลที่เกิดจากการอักเสบ

สูตร 2 สบู่บำรุงผิวหน้าชาเมี่ยงผสมหลินจือและหนานเฉาเหว่ย
    
ส่วนผสม

ขั้นตอนการผลิต
1. คั้นมะนาว เอาแต่น้ำ กรองกากทิ้ง  
2. ตวงน้ำผึ้ง และ น้ำมันงาสกัดเย็นตามส่วนผสมที่เตรียมไว้
3. นำเกลือละลายในน้ำสะอาดตามส่วนที่เหลือ
4. เท กลีเซอรีน ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ใช้ไม้พายคนไปในทางเดียวกันประมาณ 15-30 นาที จนมีลักษณะเป็นเนื้อครีมละเอียด
5. เติมน้ำส่วนที่ละลายเกลือลงไปทีละน้อย คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
6. เติมน้ำผึ้ง และ น้ำมันงาสกัดเย็นลงไป คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
7. เติมสารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดหลินจือ สารสกัดหนานเฉาเหว่ย สารสกัดอินทนิลน้ำ และ สารสกัดสมุนไพรอื่นๆที่ใช้เป็นสารกันเสีย คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน          
8. เติมน้ำมันหอมระเหยจากผลไม้ หรือ กลิ่นหอมตามความชอบ คนไปในทางเดียวกัน แล้วจึงเทใส่แม่พิมพ์ ทิ้งไว้  5-7 วัน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์คงตัวและแห้ง เมื่อแห้งแกะออกจากพิมพ์ใช้ได้เลย

7.การทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค
           ผลิตภัณฑ์ต้นแบบชาเมี่ยง แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วง นำมาทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค ในกลุ่มเป้าหมาย อายุ 18 ปี เป็นต้นไป ทั้งเพศชาย และ เพศหญิง โดยการวิเคราะห์จากแบบทดสอบความพอใจของผู้บริโภค และ วิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมทางสถิติ
7.1 การสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2
          การสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยผลการสำรวจ แบ่งออกเป็น 6  ส่วนดังนี้
    ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพู และครีมนวดสมุนไพร สูตร 2
    ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจในคุณสมบัติของแชมพูและครีมนวด
    ส่วนที่ 3 ผลหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด
    ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ของแชมพูและครีมนวด
    ส่วนที่ 5 การตัดสินใจหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด
    ส่วนที่ 6 ข้อเสนอแนะสำหรับผลิตภัณฑ์

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ            งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน            ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview)  2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ 3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method 3.1 การเตรียมแบคทีเรีย           นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M  3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง          นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง          นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) 4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ     งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน           ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การแยกองค์ประกอบทางเคมีของใบชาเมี่ยง

ใบชาเมี่ยงแห้งปั่นละเอียด จำนวน 1 กิโลกรัม สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล 4 ลิตร ด้วยการแช่ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน ทำการสกัดซ้ำอีก 3 ครั้ง กรองแล้วนำไประเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศ ได้สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยง 82.17 กรัม จากนั้น นำสารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงแยกด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทราฟีเฟสคงที่ซิลิกาเจล (คอลัมน์ความสูง 12 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร) เฟสเคลื่อนใช้ตัวทำละลายแบบเพิ่มขั้ว (แกรเดี่ยน) เริ่มจาก EA: Hexane (0: 100) ถึง EA: Hexane (100:0) และ MeOH: EA (100:0) เก็บสารละลายในภาชนะใบละ 50 ml เมื่อระเหยตัวทำละลายออกและทำการรวมแฟลกชันสารด้วย TLC ได้ทั้งหมด 12 แฟลกชัน ดังแผนภาพที่ 9 ภายใต้แสงยูวี 254 นาโนเมตร (A) และ พ่นด้วยสารละลาย ?-anisaldehyde (B) จากนั้นทำการการเก็บน้ำหนักและลักษณะทางกายภาพ ดังตารางที่ 4
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยง และ สายพันธุ์ชาที่ใช้ผลิตเมี่ยง และ กระบวนการผลิตเมี่ยง

ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยง                        ชาเมี่ยง มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึง “ของกินเล่นที่ใช้ใบไม้บางชนิด เช่น ใบชาหมัก ใบชะพลู ใบทองหลาง ห่อเครื่อง มีถั่วลิสง มะพร้าว กุ้งแห้ง หัวหอม ขิง เป็นต้น มีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาว เมี่ยงส้ม” และอีกความหมายหนึ่งก็คือ “ต้นชา” ผลิตภัณฑ์เมี่ยงที่จะกล่าวถึงในการศึกษาวิจัยนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาใบชาที่มัดรวมเป็นก้อนไปผ่านการนึ่งและแช่ในถังหมักให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะกับการหมักดองใบชา
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความแข็งของดินในแนวตั้ง บ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

       ความแข็งของดินในแนวตั้งของสวนชาเมี่ยง แปลงที่ 1 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 5 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 6 เซนติเมตรลงไป ความแข็งของดินเป็นดินแข็งระดับปานกลาง แปลงที่ 2 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 5 เซนติเมตร ตั้งแต่ระดับลึก 6-20 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินปานกลาง และตั้งแต่ระดับลึก 21 เซนติเมตรลงไปมีลักษณะเป็นดินที่แข็งมาก และแปลงที่ 3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 7 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 8 เซนติเมตรลงไป ความแข็งของดินเป็นดินแข็งระดับปานกลาง   
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ประโยชน์ของชาเมี่ยง

      1.ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (fitness) ต่อต้านโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ชาพุเออ ที่ผลิตในยูนาน มีชื่อเสียงในด้านสรรพคุณทางเภสัชกรรม จากการวิจัยพบว่า ชาเถา (Tuocha).เป็นชาที่ช่วยลดความอ้วน และช่วยรักษาโรคหลอดเลือดอุดตันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการดื่มชาเถา จะช่วยลดปริมาณสารประกอบ antilipoidic แก่บุคคลที่มีปัญหาเรื่องอ้วน เครียดและโรคหลอดเลือดอุดตัน     2.ช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ ช่วยสมานแผล ช่วยในการขับถ่ายและชะล้างสารพิษในร่างกาย เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (colon bacillus).เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ฯลฯ โดยทำให้โปรตีนของเชื้อแบคทีเรียนั้นแข็งตัว(solidifying) จากหลักฐานโบราณของจีน พบว่า น้ำชาแก่ 1 ถ้วย ใช้รักษาโรคบิดได้อย่างดี ช่วยรักษาบาดแผลลดความเป็นพิษและอาการอักเสบ ดังนั้น บริษัทผลิตยาสำเร็จรูปจึงใช้ชาเป็นองค์ประกอบในการผลิตยาสำหรับรักษาโรคบิดและหวัด สารโพลีฟีนอล ในใบชาสามารถย่อย (decompose). อะลูนิเนียม สังกะสี และสารอัลคาลอยที่อยู่ในน้ำได้ ช่วยให้น้ำสะอาดขึ้น นอกจากนี้ชายังสามารถช่วยรักษาโรคพิษสุราเรื้องรังและสารพิษในบุหรี่ น้ำชาแก่ 1 หรือ 2 ถ้วย ช่วยละลายสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปโดยสารคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะทำปฏิกิริยาเป็นกลางกับอัลกอฮอล์ (neutralization)   3.ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากชามีสารคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบซึ่งคาเฟอีนนี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบหมุนเวียนของโลหิต ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมีอิทธิพลต่อขบวนการเมตตาโบลิซึมของเซลล์ร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือดและป้องกันโรคใจตีบตัน นอกจากนี้ชายังสามารถรักษาอาการเจ็บหน้าอก และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง รักษาโรคหวัด โรคปวดหัวโดยไม่มีผลข้างเคียงช่วยแก้กระหายและช่วยในการย่อยอาหาร ในช่วงอากาศร้อน การดื่มชาจะช่วยให้มีความรู้สึกสดชื่นขึ้น เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล (polyphenol)คาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบ เมื่อสารเหล่านี้เกิดปฏิกิริยากับน้ำลาย จะช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่างกาย พร้อมกับชะล้างสารพิษต่างๆ ออกไป ช่วยเร่งให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ขับสารเมตตาโบลิซึม เกิดความสมดุล หรือในช่วงหลังตื่นนอน เรามักรู้สึกขมปาก และกระหายน้ำ การดื่มชาถ้วยหนึ่งจะช่วยล้างปาก และกระตุ้นให้มีความอยากรับประทาน นอกจากนั้นชายังให้สารไอโอดีน และฟลูออไรด์ที่เป็นสารป้องกันภาวะไทรอยด์ผิดปกติ (hyperthyroidism) ซึ่งฟลูออไรด์เพียงพอกับความต้องการจะช่วยป้องกันฟันผุ หรือ หลังจากรับประทานอาหารแล้วดื่มชาแก่ๆ สักถ้วย จะช่วยกระตุ้นการหลั่ง น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารจ่าพวกวิตามินกลุ่มต่างๆ เช่น inositol folio acid, pantothenic acid เป็นต้น นอกจากนี้ใบชายังมีสารประกอบอื่นอีก เช่น methionine thenylcyoteine ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมขบวนการเมตตาโบลิซึมเพื่อย่อยไขมัน ส่วนสารให้กลิ่น (aromatic) ที่เป็นองค์ประกอบในชาจะช่วยย่อยอาหารและระงับกลิ่นปาก เพราะว่าไขมันสามารถละลายในสารให้กลิ่นเหล่านี้ ดังนั้น ชาจึงเป็นเครื่องดื่มของชนชาติที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ และเนยเป็นอาหารหลัก      4.ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะชาเขียวจะมีวิตามินซี วิตามินบีคอมเพล็คและกรดเพนโทเทนิค รวมทั้งวิตามินบี ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยคาเทคชิน (catechine) ที่เป็นองค์ประกอบใน polyphenol เช่น วิตามินพี ช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (permeable) ช่วยไม่ให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย, กรด pantothenic ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น, วิตามินบี 1 สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล็ดเลือด, วิตามินบี 2 ช่วยลดการอักเสบ เช่น การอักเสบที่ผิวหนัง เป็นต้น ชาฝรั่ง (black tea) มีวิตามินเอมาก การดื่มชาฝรั่งวันละ 5 ถ้วย จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินเอ พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย (สถาบันชา, 2555)   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย

              เมี่ยง  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในเขต พื้นที่ภาคเหนือมาช้านาน เมี่ยงทำจากชาหมักพันธุ์อัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) สามารถแบ่ง เมี่ยง เป็น 2 แบบ คือ เมี่ยงที่ทำจากใบชาอ่อน เรียกว่า ประเทศไทย มีการผลิตเมี่ยงในหลายๆ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน เป็นต้น การสำรวจรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมการผลิตเมี่ยงหมักพื้นบ้าน ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา “เมี่ยงฝาด” และ เมี่ยงที่ทำจากใบชาแก่ เรียกว่า “เมี่ยงส้ม” (สายลม และ คณะ, 2551) มีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย เช่นมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้เมี่ยงยังสร้างรายได้มูลค่าถึง 229,360,251 บาท ในปี พ.ศ. 2550 (สายลม และ คณะ, 2551) สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ศึกษาห่วงโซ่อุปทาน และประเมินมูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เมี่ยง เพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากเมี่ยง ต่อยอดสร้างอาชีพและรายได้จากการทำอาชีพเมี่ยงให้มีความยั่งยืน มี 3 โครงการย่อยดังนี้               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาถึงลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของสวนเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า บางพื้นที่ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง ศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง            โครงการวิจัยย่อยที่ 2 เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากเมี่ยงหมัก เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยทำการศึกษาการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม มีที่มาและความสำคัญดังนี้ เมี่ยงหมัก และ ผลิตภัณฑ์ชาหมักต่างๆมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจาก เมี่ยงมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ antimicrobial มีจุลินทรีย์ชนิด probiotic เป็นองค์ประกอบหลัก (Klayraung et al., 2008) การศึกษาโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากน้ำหมักเมี่ยง จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก สาร caffeine และ catechins เป็นสารที่พบมากในชา แต่ยังไม่มีการนำผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง มาสกัดและผสมเป็นตำรับยา เพื่อใช้ในการรักษาแผลเรื้อรังที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย ในโครงการย่อยที่ 1 นี้จะทำการศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลติดเชื้อเรื้อรัง และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยเตรียมสารสกัดเมี่ยงหมัก หรือ น้ำเมี่ยง ที่มีคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลเรื้อรัง นำมาแยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการรักษาเชื้อดื้อยาปฎิชีวนะ              โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ทำการศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของเมี่ยงหมัก การวิเคราะห์การไหลของกระแสเงินและสินค้า โดยใช้ทฤษฎีการบริการจัดการและการออกแบบโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีทางการบัญชีบริหาร การบัญชีต้นทุน เพื่ออธิบายกิจกรรมทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขายและความต้องการของ        ผู้บริโภคใช้วิธีการเปรียบเทียบกับปีฐาน และใช้การลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเมี่ยงในเชิงพาณิชย์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม และ ข้อเสนอแนะ

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม             ชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือมีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ เหมาะแก่การนำมาบริโภคเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุจากอนุมูลอิสระ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งต่างๆ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาชาเมี่ยงในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ในกระบวนการผลิตชาควรมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทางด้าน GAP และ GMP เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่สำคัญหากจะให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนต่อประเทศในอนาคต ควรมีการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจในคุณประโยชน์ของชาเมี่ยงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมิติทางสังคม วัฒนธรรม มิติทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางวิทยาศาสตร์ ควรมีการสนับสนุนงานวิจัยต่อยอดในการประยุกต์เอาคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพของชาเมี่ยงที่ค้นพบดังได้กล่าวไว้ข้างต้นไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ใช้ในวงการยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เวชสำอางต่อไป ข้อเสนอแนะ             จากการที่ชาเมี่ยงมีสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อในเครื่องสำอางโดยใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ แชมพูสระผม ครีมนวดผม ลิปปาล์ม และ ยาสีฟัน เป็นต้น หรือ ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่มากขึ้น เนื่องจาก สารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ที่สกัดได้จากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยสูงในการนำไปใช้ รวมทั้งการที่สารอิพิคาเทชินมีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีความสำคัญมิใช่เฉพาะต่อวงการแพทย์เท่านั้น แต่มีความสำคัญในระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งจะเห็นได้จากงานวิจัยต่างๆที่นำสารคาเทชินมาทำการทดลองในการลดการเกิดออกซิเดชันที่จะทำให้เกิดกลิ่นหืนขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมันเป็นองค์ประกอบซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ            งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน            ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview)  2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ 3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method 3.1 การเตรียมแบคทีเรีย           นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M  3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง          นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง          นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) 4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ     งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน           ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

ด้านวัฒนธรรม                  “เมี่ยง” นำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆโดยคนล้านนานิยมนำเมี่ยงมาอมหรือเคี้ยวหลังอาหารหรือยามว่าง ตัวอย่างวิถีล้านนากับการทานเมี่ยงแสดงดังภาพเขียนโบราณ “บ่าว-สาว ทานเมี่ยง” ที่ปรากฏเป็นภาพเขียนสีในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 118)  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ประวัติการปลูกชา

    แหล่งกำเนิดชาตามธรรมชาติ มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิระวดี แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ ลักษณะคล้ายรูปพัด จากด้านทิศตะวันตก ระหว่างเทือกเขานากามานิปุริและลูไซ่ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัมและสหภาพพม่า ไปยังมณฑลซีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออกแล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของสหภาพพม่าตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนามโดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกกว้างถึง 1,500 ไมล์ หรือ 2,400 กิโลเมตร ระหว่างเส้นลองจิจูด 95 -120 องศาตะวันออก และจากทิศเหนือ จรดทิศใต้ ยาว 1,200 ไมล์หรือ 1,920 กิโลเมตร ระหว่างเส้นละติจูดที่ 29 -11 องศาเหนือ  ประวัติการปลูกชาของโลก      การดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาลตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่า จักรพรรดิเสินหนงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชา โดยบังเอซ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชาขณะรอคอยให้น้ำเดือดกิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชาสักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมาเมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่มชากันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้วพระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์ อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึง นักบวชชื่อธรรม ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียวได้เดินทางมาจาริกบุญ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีน ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ. 519 จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองนานกิง ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เกิดเผลอหลับไปทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะเพื่อเป็นการลงโทษตนเองมิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก ท่านธรรมจึงตัดหนังตาของตนทิ้งเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชาชาวจีนจึงเก็บชามาชงดื่มเพื่อรักษาโรค นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกว่าในสมัยหนึ่งได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดในเมืองจีนผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมากเกี้ยอุยซินแสพบว่าสาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนพากันดื่มน้ำสกปรกจึงแนะน่าให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่มและเพื่อให้ชาวบ้านเชื่อจึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ชาลงไปในน้ำต้มเกี้ยอุยซินแสดพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำ ตามซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง เรื่องชาถูกบันทึกไว้ในหนังสือจีนโบราณชื่อเอ๋อหยา (Er Ya : On Tea) โดยขุนนางในจักรพรรดิ Zhou โดยให้คำจำกัดความของคำว่าชาคือสมุนไพรรสขมชนิดหนึ่งจากบันทึกของมณฑลหัวหยางปัจจุบัน คือ มณฑลซิฉวน) ในช่วงการทำสงครามระหว่างกษัตริย์วู (Wu) ในราชวงศ์ Zhou กับจักรพรรพิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Shang (ในปี 1066 ก่อนคริสตกาล) ทหารจากมณฑลซู (Shu) ซึ่งมาร่วมรบได้น้ำชาและผึ้งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์ด้วยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ "คัมภีร์ชาของหลูอยู่ (Lu Yu)" โดยหลูอยู่เกิดในมณฑลเหอเป่อระหว่าง ค.ศ. 728 - 804 หลูอยู่มีความสนใจในเรื่องชามาก ได้เขียนตำราไว้ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 780 ชื่อว่า "ชาชิง" (Tea classic ซึ่งเป็นตำราที่ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง 10 บท ถือว่าเป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก โดยเนื้อหาในหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของการดื่มชาเครื่องมือการผลิตชา อุปกรณ์การชงชา การชงชาที่ถูกวิธี วิธีการดื่มชา ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชา แหล่งกำเนิดของชา การแบ่งคุณภาพของชาและธรรมเนียมการชงชา สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 618 - 1260) การดื่มชาเป็นที่นิยมมาก มีร้านน้ำชาอยู่ทุกหนทุกแห่งในแต่ละมณฑลจนถึงเมืองหลวง แต่กรรมวิธีชงชาในสมัยราชวงศ์พังจะผิดแผกแตกต่างจากการชงชาที่รู้จักกันสมัยนั้นจะนำใบชาไปนึ่งกับข้าวแล้วเติมเกลือขิง เปลือกส้มและเครื่องเทศ จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนไว้สำหรับละลายน้ำดื่มส่วนในสมัยราชวงศ์ซ้อง การชงได้เปลี่ยนจากก้อนชานึ่งมาเป็นใบชาแห้งโดยนำใบชามาโม่จนเป็นผงแล้วชงกับน้ำร้อน ในยุคนี้เองที่คนจีนเริ่มมีวัฒนธรรมจิบน้ำชา พระสงฆ์หันมาใช้การชงชาเพื่อสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญาจนกระทั่งเมื่อชาวตาดรุกรานจีนจนราชวงศ์ซ้องถูกท่าลายไปท่าให้การท่าและชงชาสูญสิ้นไปด้วย ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1208 - 1368) คนจีนหันมาชงชาด้วยใบซึ่งต้องชงชาในป้าน (กาน้ำชา) ป้านชาจะช่วยกรองเศษชาไม่ให้หล่นลงจอกในขณะรินจากประเทศจีนชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเซียเช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีนโดยเริ่มรู้จักและมีการนำ ชาเข้าญี่ปุ่น โดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูตเพื่อมาศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingaken ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1191 การปลูกชาได้กระจายทั่วไปและพระชาวญี่ปุ่น ชื่อไปไซ (Eisai) ได้ไปเยือนจีนในปี ค.ศ. 1196 และ 1192 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preserving.Health.in Drinking Tea) เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับชาที่เกิดขึ้นในญี
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

กระบวนการผลิต

      กระบวนการผลิตเมี่ยงโดยทั่วไปดังแสดงไว้ในภาพ ผลิตภัณฑ์เมี่ยงของแต่ละแหล่งผลิตจะมีความแตกต่างกัน อันเนื่องมาจากความแตกต่างของวัตถุดิบ รายละเอียดในกระบวนการผลิต และบรรจุภัณฑ์มีดังนี้     1.วัสดุอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเมี่ยงเป็นวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นที่สามารถผลิตได้เองหรือจัดหาได้ทั่วไปท้องถิ่น ในขั้นตอนการเก็บใบเมี่ยงสดจะใช้อุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วย ตะกร้า ตะขอพร้อมเชือก ตอกไม้ไผ่ และใบมีดสวมติดนิ้ว จากนั้นใบเมี่ยงสดที่รวบเป็นกำจะถูกนำมาเรียงลงในอุปกรณ์นึ่งที่เรียกว่า “ไหนึ่งเมี่ยง” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ขนาดใหญ่เจาะรูกลวงตรงกลาง เมี่ยงที่ผ่านการนึ่งจะนำมาหมักในตะกร้าไม้ไผ่สานที่เรียกว่า “ต่าง” “ทอ” และ “ก๋วย” ซึ่งรองด้วยพลาสติกหนาและใบตอง แต่ละพื้นที่ก็จะใช้ภาชนะที่แตกต่างกัน ต่างจะมี 2 ขนาด คือ ต่างเล็กจะบรรจุเมี่ยงได้ 150-160 กำ ต่างใหญ่จะบรรจุเมี่ยงได้มากกว่า คือ 180-190 กำ ทอจะบรรจุเมี่ยงได้ 50 กำเท่าๆ กัน ส่วนก๋วยจะมีขนาดแตกต่างกัน ถ้าขนาดใหญ่สามารถจุเมี่ยงได้ถึง 2,000 กำ เมี่ยงหมักที่ได้จะนำไปบรรจุในภาชนะในรูปแบบเดียวกับที่ใช้หมักเมี่ยงแต่จะนำไปจัดเรียงในภาชนะอันใหม่เพื่อจำหน่ายต่อไป      2.กระบวนการผลิต กระบวนการผลิตเมี่ยงเป็นความรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ดังนั้นในแต่ละพื้นที่จึงอาจมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ตั้งแต่วัตถุดิบที่เป็นใบเมี่ยงสด วิธีการเก็บใบเมี่ยงสด การหมักเมี่ยง รวมถึงภาชนะบรรจุ ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิต ดังนี้         2.1 การเก็บใบเมี่ยงสด การเก็บใบเมี่ยงสดในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ยังผลทำให้เกิดลักษณะการบริโภคผลิตภัณฑ์เมี่ยงที่แตกต่างกัน การเก็บใบเมี่ยงสดอาจเก็บโดยใช้มือเด็ด หรืออาจใช้ปลอกใบมีดสวมติดนิ้วมือในการตัด การเก็บใบเมี่ยงสดมักจะมี 2 แบบ กล่าวคือ แบบแรกจะเก็บในส่วนของใบเมี่ยงอ่อน (ใบที่ 4-6) โดยตัดเอาส่วนปลายใบประมาณ 2 ในสามส่วนมัดเป็นก้อนให้ได้ขนาดประมาณ 400-500 กรัม จะพบได้ในแหล่งผลิตเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย อีกแบบหนึ่งคือการเก็บใบเมี่ยงทั้งใบ เก็บทั้งส่วนที่เป็นใบอ่อนและการเก็บส่วนยอด รวบมัดเป็นกำๆ เรียงใบ เรียกว่าเก็บเป็นแหลบ เรียกว่า เมี่ยงแหลบ ส่วนยอดสามารถเก็บรวมมากับใบเมี่ยงได้ขนาดประมาณ 150 – 200 กรัม จะพบได้ในแหล่งผลิตเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดแพร่และน่าน         2.2 การนึ่งเมี่ยง ใบเมี่ยงสดที่รวบมัดเป็นกำในขั้นตอนแรกจะนำมาเรียงในไหนึ่งเมี่ยง แล้วนึ่งด้วยไอน้ำร้อนจนสุก ใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับจำนวนเมี่ยงสดที่นึ่งแต่ละครั้ง การนึ่งเมี่ยงอาศัยความชำนาญของผู้ผลิต สังเกตว่าเมี่ยงสุกได้ที่จะมีลักษณะสีเหลืองนิ่ม ถ้านึ่งเมี่ยงไม่สุกจะทำให้ใบเมี่ยงที่มีสีเข้มแดงหลังหมัก จากนั้นเทเมี่ยงที่นึ่งเสร็จแล้วออกจากไหลงบนพื้นที่ปูด้วยพลาสติกสะอาด เพื่อผึ่งให้เย็น แล้วมัดเมี่ยงอีกครั้งให้แน่นหรือมัดใหม่ให้ได้กำเมี่ยงที่เล็กลง เมี่ยงที่มัดได้ในขั้นตอนนี้จะเป็นมัดที่จะใช้จำหน่ายในขั้นตอนสุดท้าย         2.3 การหมักเมี่ยง เมี่ยงสุกที่ผ่านการนึ่งแล้วจะนำมาหมักในสภาวะไร้อากาศ  ซึ่งเป็นการหมักโดยแบคทีเรียแลคติก (Lactic acid bacteria) โดยระหว่างการหมัก แบคทีเรียแลคติคจะผลิตสารต่าง ๆ เช่น กรดอินทรีย์ต่าง ๆ เอนไซม์โปรติเอส สารให้กลิ่นรส และสารที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียอื่น จึงทำให้เมี่ยงหมักมีรสเปรี้ยว การหมักเมี่ยงสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ “แบบที่ไม่ใช้รา” กล่าวคือ เมี่ยงนึ่งจะถูกอัดเรียงลงไปในภาชนะตะกร้าไม้ไผ่ซึ่งรองด้วยพลาสติกหนาและใบตองจนแน่น จากนั้นเติมน้ำให้ท่วม แล้วมัดหรือปิดภาชนะให้แน่น หากอัดเมี่ยงไม่แน่นน้ำจะซึมเข้าไปในเนื้อเมี่ยงมากเกินไปจะทำให้เกิดรสเปรี้ยวที่ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค การหมักเมี่ยงแบบนี้พบในพื้นที่แหล่งผลิตในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ส่วนการหมักเมี่ยงอีกแบบหนึ่งเป็น “แบบที่ใช้รา” กล่าวคือ จะนำเมี่ยงนึ่งใส่ตะกร้าทิ้งไว้ให้เกิดราขาวก่อนที่จะนำไปหมักเหมือนแบบแรก ซึ่งการหมักเมี่ยงแบบหลังนี้จะใช้หมักเมี่ยงแหลบที่ผลิตในจังหวัดแพร่ การหมักเมี่ยงจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือน ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ได้จะนำไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่ายสู่ผู้บริโภคต่อไป        2.4 การบรรจุ การบรรจุผลิตภัณฑ์เมี่ยงในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันซึ่งเป็นไปตามรูปแบบของการหมักเมี่ยง แหล่งผลิตเมี่ยงในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายจะมีลักษณะการบรรจุผลิตภัณฑ์เมี่ยงลงในตะกร้าไม้ไผ่สานขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “ต่าง” หรือ “ทอ” ส่วนผลิตภัณฑ์เมี่ยงที่เป็น
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยง และ สายพันธุ์ชาที่ใช้ผลิตเมี่ยง และ กระบวนการผลิตเมี่ยง

ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยง                        ชาเมี่ยง มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึง “ของกินเล่นที่ใช้ใบไม้บางชนิด เช่น ใบชาหมัก ใบชะพลู ใบทองหลาง ห่อเครื่อง มีถั่วลิสง มะพร้าว กุ้งแห้ง หัวหอม ขิง เป็นต้น มีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาว เมี่ยงส้ม” และอีกความหมายหนึ่งก็คือ “ต้นชา” ผลิตภัณฑ์เมี่ยงที่จะกล่าวถึงในการศึกษาวิจัยนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาใบชาที่มัดรวมเป็นก้อนไปผ่านการนึ่งและแช่ในถังหมักให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะกับการหมักดองใบชา
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. ลักษณะนิเวศของเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม ประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง โดยใช้ปัจจัย เช่น สมบัติของดิน และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง 2. สร้างทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากเมี่ยง เพื่อรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มเกษตรกรที่ทำสวนเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย 3.แยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก โดยการใช้เทคนิคทางโครมาโตกราฟฟี และ พัฒนาตำรับสารสกัดขากผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก เป็นเวชภัณฑ์ต้นแบบที่ใช้เป็นทางเลือกในการรักษาแผลติดเชื้อเรื้อรังที่มีการติดเชื้อจากแบคทีเรีย 4. ศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ของเมี่ยงหมักในพื้นที่ภาคเหนือประเทศไทยและวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณและพฤติกรรมของผู้บริโภค  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ประโยชน์ของชาเมี่ยง

      1.ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (fitness) ต่อต้านโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ชาพุเออ ที่ผลิตในยูนาน มีชื่อเสียงในด้านสรรพคุณทางเภสัชกรรม จากการวิจัยพบว่า ชาเถา (Tuocha).เป็นชาที่ช่วยลดความอ้วน และช่วยรักษาโรคหลอดเลือดอุดตันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการดื่มชาเถา จะช่วยลดปริมาณสารประกอบ antilipoidic แก่บุคคลที่มีปัญหาเรื่องอ้วน เครียดและโรคหลอดเลือดอุดตัน     2.ช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ ช่วยสมานแผล ช่วยในการขับถ่ายและชะล้างสารพิษในร่างกาย เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (colon bacillus).เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ฯลฯ โดยทำให้โปรตีนของเชื้อแบคทีเรียนั้นแข็งตัว(solidifying) จากหลักฐานโบราณของจีน พบว่า น้ำชาแก่ 1 ถ้วย ใช้รักษาโรคบิดได้อย่างดี ช่วยรักษาบาดแผลลดความเป็นพิษและอาการอักเสบ ดังนั้น บริษัทผลิตยาสำเร็จรูปจึงใช้ชาเป็นองค์ประกอบในการผลิตยาสำหรับรักษาโรคบิดและหวัด สารโพลีฟีนอล ในใบชาสามารถย่อย (decompose). อะลูนิเนียม สังกะสี และสารอัลคาลอยที่อยู่ในน้ำได้ ช่วยให้น้ำสะอาดขึ้น นอกจากนี้ชายังสามารถช่วยรักษาโรคพิษสุราเรื้องรังและสารพิษในบุหรี่ น้ำชาแก่ 1 หรือ 2 ถ้วย ช่วยละลายสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปโดยสารคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะทำปฏิกิริยาเป็นกลางกับอัลกอฮอล์ (neutralization)   3.ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากชามีสารคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบซึ่งคาเฟอีนนี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบหมุนเวียนของโลหิต ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมีอิทธิพลต่อขบวนการเมตตาโบลิซึมของเซลล์ร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือดและป้องกันโรคใจตีบตัน นอกจากนี้ชายังสามารถรักษาอาการเจ็บหน้าอก และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง รักษาโรคหวัด โรคปวดหัวโดยไม่มีผลข้างเคียงช่วยแก้กระหายและช่วยในการย่อยอาหาร ในช่วงอากาศร้อน การดื่มชาจะช่วยให้มีความรู้สึกสดชื่นขึ้น เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล (polyphenol)คาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบ เมื่อสารเหล่านี้เกิดปฏิกิริยากับน้ำลาย จะช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่างกาย พร้อมกับชะล้างสารพิษต่างๆ ออกไป ช่วยเร่งให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ขับสารเมตตาโบลิซึม เกิดความสมดุล หรือในช่วงหลังตื่นนอน เรามักรู้สึกขมปาก และกระหายน้ำ การดื่มชาถ้วยหนึ่งจะช่วยล้างปาก และกระตุ้นให้มีความอยากรับประทาน นอกจากนั้นชายังให้สารไอโอดีน และฟลูออไรด์ที่เป็นสารป้องกันภาวะไทรอยด์ผิดปกติ (hyperthyroidism) ซึ่งฟลูออไรด์เพียงพอกับความต้องการจะช่วยป้องกันฟันผุ หรือ หลังจากรับประทานอาหารแล้วดื่มชาแก่ๆ สักถ้วย จะช่วยกระตุ้นการหลั่ง น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารจ่าพวกวิตามินกลุ่มต่างๆ เช่น inositol folio acid, pantothenic acid เป็นต้น นอกจากนี้ใบชายังมีสารประกอบอื่นอีก เช่น methionine thenylcyoteine ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมขบวนการเมตตาโบลิซึมเพื่อย่อยไขมัน ส่วนสารให้กลิ่น (aromatic) ที่เป็นองค์ประกอบในชาจะช่วยย่อยอาหารและระงับกลิ่นปาก เพราะว่าไขมันสามารถละลายในสารให้กลิ่นเหล่านี้ ดังนั้น ชาจึงเป็นเครื่องดื่มของชนชาติที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ และเนยเป็นอาหารหลัก      4.ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะชาเขียวจะมีวิตามินซี วิตามินบีคอมเพล็คและกรดเพนโทเทนิค รวมทั้งวิตามินบี ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยคาเทคชิน (catechine) ที่เป็นองค์ประกอบใน polyphenol เช่น วิตามินพี ช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (permeable) ช่วยไม่ให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย, กรด pantothenic ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น, วิตามินบี 1 สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล็ดเลือด, วิตามินบี 2 ช่วยลดการอักเสบ เช่น การอักเสบที่ผิวหนัง เป็นต้น ชาฝรั่ง (black tea) มีวิตามินเอมาก การดื่มชาฝรั่งวันละ 5 ถ้วย จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินเอ พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย (สถาบันชา, 2555)   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อภิปรายผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

ด้านวิทยาศาสตร์               ได้ข้อมูลสำคัญหลายประการ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่ปลูกและคุณภาพทางเคมีกายภาพของใบชาเมี่ยงและได้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ของใบเมี่ยงหมัก (คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีและทางจุลชีววิทยา รวมถึงข้อมูลทางสุขอนามัยของเมี่ยงหมัก) สรุปสาระสำคัญดังนี้  1)    พื้นที่ปลูกเมี่ยง     เมี่ยงหมักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เมี่ยงฝาด และเมี่ยงส้ม โดยเมี่ยงฝาดจะมีการนำใบชาเมี่ยงมานึ่งและหมัก ประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถนำออกจำหน่ายได้ สำหรับเมี่ยงส้ม (ชาเมี่ยงที่มีการหมักจนกระทั่งความฝาดหายไปและเกิดรสเปรี้ยว) ได้จากการหมักใบชาเมี่ยง โดยใช้ระเวลานานหลายเดือน หรือ อาจถึง 1 ปี  2)    การวิเคราะห์ทางเคมี                เมี่ยงฝาด มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 4.5-6.0 และ เมี่ยงส้ม มีค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ในช่วง 3.0–4.0                 ปริมาณสารคาเทชินและอนุพันธ์ในตัวอย่างเมี่ยง พบว่า ใบชาเมี่ยงสดมีปริมาณสารคาเทชินมากกว่าใบเมี่ยงหมัก ซึ่งสารคาเทชินและอนุพันธ์ที่พบในใบชาเมี่ยงช่วยให้คำตอบคนที่อมเมี่ยงกล่าวว่า กินเมี่ยง แล้วรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิธีการหมักเมี่ยง ระยะเวลาและสถานที่ สภาพแวดล้อม ส่งผล โดยตรงต่อสารสำคัญในใบชาเมี่ยงสดและใบเมี่ยงหมัก 3)    ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย                องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมี่ยงในงานวิจัยนี้ พบว่า สารสกัดจากใบชาเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาเหตุแผลอักเสบได้ดีกว่าแบคทีเรียสาเหตุการเกิดท้องเสีย เมื่อปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ระหว่างจุลินทรีย์แกรมบวกและแกรมลบ มีแนวโน้มว่าสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแกรมลบ (โดยเฉพาะ Escherichia coli) สารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงยับยั้งการเจริญได้น้อย ทั้งนี้สารสกัดจากใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงสามารถยับยั้งการเจริญของ Propionibacterium acnes> Staphylococcus epidermidis > Bacillus cereus > S. aureus > Escherichia coli โดยให้ผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ Ikigai และคณะ (1993) ซึ่งพบว่า แบคทีเรียแกรมลบสามารถต้านทานต่อการทำลายชั้นไขมันที่ผนังเซลล์จากคาเทชินได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวก ถึงแม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้ Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์แกรมลบมีความสามารถในการต้านทานสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงได้ดีพอๆกับ Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก คุณสมบัติของสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงที่ได้จากพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในประเทศไทยแตกต่างจากแหล่งปลูกชาเมี่ยงอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาเมี่ยงต่อไปได้เป็นอย่างดี รวมถึง เป็นข้อมูลสนับสนุนหรือส่งเสริมให้คนกลับมาบริโภคเมี่ยงกันมากขึ้น               ในโครงการวิจัยนี้นอกจากจะชี้ให้เห็นประโยชน์อันทรงคุณค่าของชาเมี่ยงแล้ว ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของใบชาเมี่ยงในส่วนของใบชาเมี่ยงอ่อนโดยนำไปสกัดด้วยตัวทำละลายเพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในสารสกัด รวมถึง การใช้ใบชาเมี่ยงอ่อนไปทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และนำสารคาเทชินไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงที่พัฒนาขึ้น ได้แก่       (1) ผลิตภัณฑ์สปา                 แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และสบู่สำหรับบำรุงผิวหน้า ลดรอยด่างดำ เพื่อผิวหน้ากระจ่างใส                 สารสกัดจากใบชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus,S. epidermidis และ Propionibacterium acnes เมื่อนำผลิตภัณฑ์สปาทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ แชมพูและครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ใน อาสาสมัคร จำนวน 25 คน ด้วยวิธี Single Patch Test พบว่า ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากอาสาสมัครอยู่ในระดับมาก ในอนาคตองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สปาจากชาเมี่ยงควรนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดต่างๆ โดยสามารถใช้ข้อมูลที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้สนับสนุนการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้โดยชาวบ้านมามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยงโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำเสนอในที่พักแบบโฮมสเตย์ ตลอดจนจัดจำหน่ายเป็นของที่ระลึก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย

              เมี่ยง  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในเขต พื้นที่ภาคเหนือมาช้านาน เมี่ยงทำจากชาหมักพันธุ์อัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) สามารถแบ่ง เมี่ยง เป็น 2 แบบ คือ เมี่ยงที่ทำจากใบชาอ่อน เรียกว่า ประเทศไทย มีการผลิตเมี่ยงในหลายๆ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน เป็นต้น การสำรวจรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมการผลิตเมี่ยงหมักพื้นบ้าน ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา “เมี่ยงฝาด” และ เมี่ยงที่ทำจากใบชาแก่ เรียกว่า “เมี่ยงส้ม” (สายลม และ คณะ, 2551) มีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย เช่นมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้เมี่ยงยังสร้างรายได้มูลค่าถึง 229,360,251 บาท ในปี พ.ศ. 2550 (สายลม และ คณะ, 2551) สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ศึกษาห่วงโซ่อุปทาน และประเมินมูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เมี่ยง เพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากเมี่ยง ต่อยอดสร้างอาชีพและรายได้จากการทำอาชีพเมี่ยงให้มีความยั่งยืน มี 3 โครงการย่อยดังนี้               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาถึงลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของสวนเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า บางพื้นที่ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง ศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง            โครงการวิจัยย่อยที่ 2 เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากเมี่ยงหมัก เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยทำการศึกษาการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม มีที่มาและความสำคัญดังนี้ เมี่ยงหมัก และ ผลิตภัณฑ์ชาหมักต่างๆมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจาก เมี่ยงมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ antimicrobial มีจุลินทรีย์ชนิด probiotic เป็นองค์ประกอบหลัก (Klayraung et al., 2008) การศึกษาโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากน้ำหมักเมี่ยง จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก สาร caffeine และ catechins เป็นสารที่พบมากในชา แต่ยังไม่มีการนำผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง มาสกัดและผสมเป็นตำรับยา เพื่อใช้ในการรักษาแผลเรื้อรังที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย ในโครงการย่อยที่ 1 นี้จะทำการศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลติดเชื้อเรื้อรัง และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยเตรียมสารสกัดเมี่ยงหมัก หรือ น้ำเมี่ยง ที่มีคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลเรื้อรัง นำมาแยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการรักษาเชื้อดื้อยาปฎิชีวนะ              โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ทำการศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของเมี่ยงหมัก การวิเคราะห์การไหลของกระแสเงินและสินค้า โดยใช้ทฤษฎีการบริการจัดการและการออกแบบโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีทางการบัญชีบริหาร การบัญชีต้นทุน เพื่ออธิบายกิจกรรมทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขายและความต้องการของ        ผู้บริโภคใช้วิธีการเปรียบเทียบกับปีฐาน และใช้การลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเมี่ยงในเชิงพาณิชย์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม และ ข้อเสนอแนะ

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม             ชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือมีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ เหมาะแก่การนำมาบริโภคเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุจากอนุมูลอิสระ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งต่างๆ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาชาเมี่ยงในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ในกระบวนการผลิตชาควรมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทางด้าน GAP และ GMP เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่สำคัญหากจะให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนต่อประเทศในอนาคต ควรมีการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจในคุณประโยชน์ของชาเมี่ยงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมิติทางสังคม วัฒนธรรม มิติทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางวิทยาศาสตร์ ควรมีการสนับสนุนงานวิจัยต่อยอดในการประยุกต์เอาคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพของชาเมี่ยงที่ค้นพบดังได้กล่าวไว้ข้างต้นไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ใช้ในวงการยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เวชสำอางต่อไป ข้อเสนอแนะ             จากการที่ชาเมี่ยงมีสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อในเครื่องสำอางโดยใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ แชมพูสระผม ครีมนวดผม ลิปปาล์ม และ ยาสีฟัน เป็นต้น หรือ ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่มากขึ้น เนื่องจาก สารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ที่สกัดได้จากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยสูงในการนำไปใช้ รวมทั้งการที่สารอิพิคาเทชินมีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีความสำคัญมิใช่เฉพาะต่อวงการแพทย์เท่านั้น แต่มีความสำคัญในระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งจะเห็นได้จากงานวิจัยต่างๆที่นำสารคาเทชินมาทำการทดลองในการลดการเกิดออกซิเดชันที่จะทำให้เกิดกลิ่นหืนขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมันเป็นองค์ประกอบซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

ด้านวัฒนธรรม                  “เมี่ยง” นำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆโดยคนล้านนานิยมนำเมี่ยงมาอมหรือเคี้ยวหลังอาหารหรือยามว่าง ตัวอย่างวิถีล้านนากับการทานเมี่ยงแสดงดังภาพเขียนโบราณ “บ่าว-สาว ทานเมี่ยง” ที่ปรากฏเป็นภาพเขียนสีในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 118)  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความแข็งของดินในแนวนอน ความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน

    สมบัติดินทางกายภาพสมบัติดินทางกายภาพพื้นที่สวนชาเมี่ยงบ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พบว่า ค่าความแข็งของดิน (Soil hardness) ที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีความแข็งมากกว่าดินที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร เนื่องจากดินชั้นบนมีการทับถมของซากพืช และมีการย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ ค่าความชื้นของดิน (Soil moisture) ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีค่าความชื้นมากกว่าดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร เพราะดินชั้นบน มีการระเหยของน้ำ สัมผัสลม และสัมผัสแสงแดดอยู่ตลอดเวลา และค่าการนำไฟฟ้าของดิน (CEC) ที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร มีค่าการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าดินที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร ตารางที่ 18
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    ความหนาแน่นของสวนชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทั้งหมด 10 ตำบล 117 หมู่บ้าน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพบว่า ในอดีตมีการทำสวนชาเมี่ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน             เพื่อเป็นรายได้ในครอบครัว แต่ปัจจุบัน เนื่องจากราคาของชาเมี่ยงที่ตกต่ำ ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ตัดต้นชาเมี่ยงออกจากพื้นที่แล้วหันมาปลูกพืชเกษตรชนิดอื่นที่ให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าแทน เช่น ข้าวโพด ยางพารา ข้าวไร่ ลำไย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดเชียงคำมีการทำสวนชาเมี่ยงลดลง เหลืออยู่เพียง 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ตำบลแม่ลาว หมู่ที่ 5  บ้านแฮะ มีทั้งหมด 160 ครัวเรือน มีการปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 6 บ้านน้ำมิน มีทั้งหมด 180 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 10 บ้านคะแนง มีทั้งหมด 110 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 งาน หมู่ที่ 11 บ้านกอก มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ และหมู่ที่ 13 บ้านน้ำมินเหนือ มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ปัจจุบันสวนชาเมี่ยงที่ยังมีการเก็บผลผลิตอยู่ ด้านการจัดการและการดูแลสวนชาเมี่ยง จะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ชาเมี่ยงแตกยอดใหม่ 1-2 ปีต่อ 1ครั้ง โดยจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง มีการตัดหญ้าก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ปีละ 3-4 ครั้ง ไม่มีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และใช้สารเคมี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งทั้งปี แต่ยังคงเป็นเพียงอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน และยังขาดการสืบทอดให้รุ่นลูกหลาน เนื่องจากมีราคาที่ต่ำ เป็นผลทำให้สวนชาเมี่ยงนั้นเริ่มหายไป ส่วนสวนชาเมี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่บางส่วนชาวบ้านจะปล่อยให้พื้นที่อนุรักษ์ของหมู่บ้านและเป็นป่าต้นน้ำต่อไป ตารางที่ 22 ภาพที่ 43
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน