อภิปรายผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

ด้านวิทยาศาสตร์
              ได้ข้อมูลสำคัญหลายประการ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่ปลูกและคุณภาพทางเคมีกายภาพของใบชาเมี่ยงและได้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ของใบเมี่ยงหมัก (คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีและทางจุลชีววิทยา รวมถึงข้อมูลทางสุขอนามัยของเมี่ยงหมัก) สรุปสาระสำคัญดังนี้ 
1)    พื้นที่ปลูกเมี่ยง
    เมี่ยงหมักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เมี่ยงฝาด และเมี่ยงส้ม โดยเมี่ยงฝาดจะมีการนำใบชาเมี่ยงมานึ่งและหมัก ประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถนำออกจำหน่ายได้ สำหรับเมี่ยงส้ม (ชาเมี่ยงที่มีการหมักจนกระทั่งความฝาดหายไปและเกิดรสเปรี้ยว) ได้จากการหมักใบชาเมี่ยง โดยใช้ระเวลานานหลายเดือน หรือ อาจถึง 1 ปี 
2)    การวิเคราะห์ทางเคมี
               เมี่ยงฝาด มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 4.5-6.0 และ เมี่ยงส้ม มีค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ในช่วง 3.0–4.0 
               ปริมาณสารคาเทชินและอนุพันธ์ในตัวอย่างเมี่ยง พบว่า ใบชาเมี่ยงสดมีปริมาณสารคาเทชินมากกว่าใบเมี่ยงหมัก ซึ่งสารคาเทชินและอนุพันธ์ที่พบในใบชาเมี่ยงช่วยให้คำตอบคนที่อมเมี่ยงกล่าวว่า กินเมี่ยง แล้วรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิธีการหมักเมี่ยง ระยะเวลาและสถานที่ สภาพแวดล้อม ส่งผล โดยตรงต่อสารสำคัญในใบชาเมี่ยงสดและใบเมี่ยงหมัก
3)    ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย
               องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมี่ยงในงานวิจัยนี้ พบว่า สารสกัดจากใบชาเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาเหตุแผลอักเสบได้ดีกว่าแบคทีเรียสาเหตุการเกิดท้องเสีย เมื่อปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ระหว่างจุลินทรีย์แกรมบวกและแกรมลบ มีแนวโน้มว่าสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแกรมลบ (โดยเฉพาะ Escherichia coli) สารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงยับยั้งการเจริญได้น้อย ทั้งนี้สารสกัดจากใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงสามารถยับยั้งการเจริญของ Propionibacterium acnes> Staphylococcus epidermidis > Bacillus cereus > S. aureus > Escherichia coli โดยให้ผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ Ikigai และคณะ (1993) ซึ่งพบว่า แบคทีเรียแกรมลบสามารถต้านทานต่อการทำลายชั้นไขมันที่ผนังเซลล์จากคาเทชินได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวก ถึงแม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้ Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์แกรมลบมีความสามารถในการต้านทานสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงได้ดีพอๆกับ Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก คุณสมบัติของสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงที่ได้จากพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในประเทศไทยแตกต่างจากแหล่งปลูกชาเมี่ยงอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาเมี่ยงต่อไปได้เป็นอย่างดี รวมถึง เป็นข้อมูลสนับสนุนหรือส่งเสริมให้คนกลับมาบริโภคเมี่ยงกันมากขึ้น
              ในโครงการวิจัยนี้นอกจากจะชี้ให้เห็นประโยชน์อันทรงคุณค่าของชาเมี่ยงแล้ว ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของใบชาเมี่ยงในส่วนของใบชาเมี่ยงอ่อนโดยนำไปสกัดด้วยตัวทำละลายเพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในสารสกัด รวมถึง การใช้ใบชาเมี่ยงอ่อนไปทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และนำสารคาเทชินไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงที่พัฒนาขึ้น ได้แก่  
    (1) ผลิตภัณฑ์สปา 
               แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และสบู่สำหรับบำรุงผิวหน้า ลดรอยด่างดำ เพื่อผิวหน้ากระจ่างใส 
               สารสกัดจากใบชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus,S. epidermidis และ Propionibacterium acnes เมื่อนำผลิตภัณฑ์สปาทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ แชมพูและครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ใน อาสาสมัคร จำนวน 25 คน ด้วยวิธี Single Patch Test พบว่า ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากอาสาสมัครอยู่ในระดับมาก ในอนาคตองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สปาจากชาเมี่ยงควรนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดต่างๆ โดยสามารถใช้ข้อมูลที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้สนับสนุนการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้โดยชาวบ้านมามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยงโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำเสนอในที่พักแบบโฮมสเตย์ ตลอดจนจัดจำหน่ายเป็นของที่ระลึก ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชาเขียวอัสสัม ชมการสาธิตตั้งแต่การเก็บใบชาเมี่ยงไปจนถึงแปรรูปและร่วมทำชาเมี่ยงในทุกขั้นตอน พร้อมสามารถนำชาเขียวที่ทำได้เก็บกลับไปเป็นของที่ระลึกรวมถึงมีการแปรรูปชาเมี่ยงเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการดึงนักท่องเที่ยวมาชมวิถีชีวิตท้องถิ่น กระจายรายได้สู่ชุมชน ชุมชนต้นแบบชาเมี่ยงสามารถเป็นต้นแบบสำหรับเครือข่ายชุมชนต่างๆในการที่จะสืบสานภูมิปัญญาและเพิ่มมูลค่าทางเศรฐกิจเป็นอย่างดี ส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจจากการมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้านสังคมจากการที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีการทำงานร่วมกันในท้องถิ่นและด้านวัฒนธรรมจากการดำรงและสืบทอดภูมิปัญญาผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมี่ยงจะคงดำรงอยู่เป็นอัตลักษณ์ของล้านนา หากชนรุ่นหลังเล็งเห็นประโยชน์อันทรงคุณค่า องค์ความรู้และผลกระทบจากโครงการวิจัยนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในชุมชนบางกลุ่ม ช่วยให้เกิดชุมชนคนป่าเมี่ยง เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งผลดีต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้น เป็นทางเลือกให้คนหนุ่มสาวกลับมาทำงานในท้องถิ่นมากขึ้น 

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อภิปรายผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

ด้านวิทยาศาสตร์               ได้ข้อมูลสำคัญหลายประการ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่ปลูกและคุณภาพทางเคมีกายภาพของใบชาเมี่ยงและได้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ของใบเมี่ยงหมัก (คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีและทางจุลชีววิทยา รวมถึงข้อมูลทางสุขอนามัยของเมี่ยงหมัก) สรุปสาระสำคัญดังนี้  1)    พื้นที่ปลูกเมี่ยง     เมี่ยงหมักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เมี่ยงฝาด และเมี่ยงส้ม โดยเมี่ยงฝาดจะมีการนำใบชาเมี่ยงมานึ่งและหมัก ประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถนำออกจำหน่ายได้ สำหรับเมี่ยงส้ม (ชาเมี่ยงที่มีการหมักจนกระทั่งความฝาดหายไปและเกิดรสเปรี้ยว) ได้จากการหมักใบชาเมี่ยง โดยใช้ระเวลานานหลายเดือน หรือ อาจถึง 1 ปี  2)    การวิเคราะห์ทางเคมี                เมี่ยงฝาด มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 4.5-6.0 และ เมี่ยงส้ม มีค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ในช่วง 3.0–4.0                 ปริมาณสารคาเทชินและอนุพันธ์ในตัวอย่างเมี่ยง พบว่า ใบชาเมี่ยงสดมีปริมาณสารคาเทชินมากกว่าใบเมี่ยงหมัก ซึ่งสารคาเทชินและอนุพันธ์ที่พบในใบชาเมี่ยงช่วยให้คำตอบคนที่อมเมี่ยงกล่าวว่า กินเมี่ยง แล้วรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิธีการหมักเมี่ยง ระยะเวลาและสถานที่ สภาพแวดล้อม ส่งผล โดยตรงต่อสารสำคัญในใบชาเมี่ยงสดและใบเมี่ยงหมัก 3)    ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย                องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมี่ยงในงานวิจัยนี้ พบว่า สารสกัดจากใบชาเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาเหตุแผลอักเสบได้ดีกว่าแบคทีเรียสาเหตุการเกิดท้องเสีย เมื่อปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ระหว่างจุลินทรีย์แกรมบวกและแกรมลบ มีแนวโน้มว่าสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแกรมลบ (โดยเฉพาะ Escherichia coli) สารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงยับยั้งการเจริญได้น้อย ทั้งนี้สารสกัดจากใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงสามารถยับยั้งการเจริญของ Propionibacterium acnes> Staphylococcus epidermidis > Bacillus cereus > S. aureus > Escherichia coli โดยให้ผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ Ikigai และคณะ (1993) ซึ่งพบว่า แบคทีเรียแกรมลบสามารถต้านทานต่อการทำลายชั้นไขมันที่ผนังเซลล์จากคาเทชินได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวก ถึงแม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้ Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์แกรมลบมีความสามารถในการต้านทานสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงได้ดีพอๆกับ Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก คุณสมบัติของสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงที่ได้จากพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในประเทศไทยแตกต่างจากแหล่งปลูกชาเมี่ยงอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาเมี่ยงต่อไปได้เป็นอย่างดี รวมถึง เป็นข้อมูลสนับสนุนหรือส่งเสริมให้คนกลับมาบริโภคเมี่ยงกันมากขึ้น               ในโครงการวิจัยนี้นอกจากจะชี้ให้เห็นประโยชน์อันทรงคุณค่าของชาเมี่ยงแล้ว ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของใบชาเมี่ยงในส่วนของใบชาเมี่ยงอ่อนโดยนำไปสกัดด้วยตัวทำละลายเพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในสารสกัด รวมถึง การใช้ใบชาเมี่ยงอ่อนไปทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และนำสารคาเทชินไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงที่พัฒนาขึ้น ได้แก่       (1) ผลิตภัณฑ์สปา                 แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และสบู่สำหรับบำรุงผิวหน้า ลดรอยด่างดำ เพื่อผิวหน้ากระจ่างใส                 สารสกัดจากใบชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus,S. epidermidis และ Propionibacterium acnes เมื่อนำผลิตภัณฑ์สปาทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ แชมพูและครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ใน อาสาสมัคร จำนวน 25 คน ด้วยวิธี Single Patch Test พบว่า ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากอาสาสมัครอยู่ในระดับมาก ในอนาคตองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สปาจากชาเมี่ยงควรนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดต่างๆ โดยสามารถใช้ข้อมูลที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้สนับสนุนการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้โดยชาวบ้านมามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยงโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำเสนอในที่พักแบบโฮมสเตย์ ตลอดจนจัดจำหน่ายเป็นของที่ระลึก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

4.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การหาปริมาณองค์ประกอบหลักทางเคมีของสารสกัดจากตัวอย่างใบชาเมี่ยง โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High performance liquid chromatography, HPLC)

ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) จากตัวอย่างใบชาเมี่ยง หาตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารสำคัญ 3 ชนิด คือ คาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) จากตัวอย่างใบชาเมี่ยง โดยใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกันทั้งหมด 4 ชนิด คือ เมทานอล (MeOH) เอทานอล (EtOH) อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O) โดยผลการทดลองแสดงดังภาพที่ 4  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินทางด้านกายภาพ (ความแข็งของดิน) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง และ ความแข็งของดินในแนวนอน

สมบัติดินทางด้านกายภาพ (ความแข็งของดิน) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่             จากภาพที่ 3-5 ความแข็งของดินของบ้านเหล่า แปลงที่ 1.1 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 3 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 4-29 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 30 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.2 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 8 เซนติเมตร ตั้งแต่ระดับลึก 9-68 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินปานกลาง และตั้งแต่ระดับลึก 69 เซนติเมตร ความแข็งของดินของบ้านเหล่า แปลงที่ 1.3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 2 เซนติเมตร ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 3 เซนติเมตรลงไป 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม และ ข้อเสนอแนะ

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม             ชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือมีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ เหมาะแก่การนำมาบริโภคเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุจากอนุมูลอิสระ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งต่างๆ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาชาเมี่ยงในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ในกระบวนการผลิตชาควรมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทางด้าน GAP และ GMP เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่สำคัญหากจะให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนต่อประเทศในอนาคต ควรมีการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจในคุณประโยชน์ของชาเมี่ยงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมิติทางสังคม วัฒนธรรม มิติทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางวิทยาศาสตร์ ควรมีการสนับสนุนงานวิจัยต่อยอดในการประยุกต์เอาคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพของชาเมี่ยงที่ค้นพบดังได้กล่าวไว้ข้างต้นไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ใช้ในวงการยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เวชสำอางต่อไป ข้อเสนอแนะ             จากการที่ชาเมี่ยงมีสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อในเครื่องสำอางโดยใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ แชมพูสระผม ครีมนวดผม ลิปปาล์ม และ ยาสีฟัน เป็นต้น หรือ ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่มากขึ้น เนื่องจาก สารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ที่สกัดได้จากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยสูงในการนำไปใช้ รวมทั้งการที่สารอิพิคาเทชินมีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีความสำคัญมิใช่เฉพาะต่อวงการแพทย์เท่านั้น แต่มีความสำคัญในระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งจะเห็นได้จากงานวิจัยต่างๆที่นำสารคาเทชินมาทำการทดลองในการลดการเกิดออกซิเดชันที่จะทำให้เกิดกลิ่นหืนขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมันเป็นองค์ประกอบซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อภิปรายผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

ด้านวิทยาศาสตร์               ได้ข้อมูลสำคัญหลายประการ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่ปลูกและคุณภาพทางเคมีกายภาพของใบชาเมี่ยงและได้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ของใบเมี่ยงหมัก (คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีและทางจุลชีววิทยา รวมถึงข้อมูลทางสุขอนามัยของเมี่ยงหมัก) สรุปสาระสำคัญดังนี้  1)    พื้นที่ปลูกเมี่ยง     เมี่ยงหมักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เมี่ยงฝาด และเมี่ยงส้ม โดยเมี่ยงฝาดจะมีการนำใบชาเมี่ยงมานึ่งและหมัก ประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถนำออกจำหน่ายได้ สำหรับเมี่ยงส้ม (ชาเมี่ยงที่มีการหมักจนกระทั่งความฝาดหายไปและเกิดรสเปรี้ยว) ได้จากการหมักใบชาเมี่ยง โดยใช้ระเวลานานหลายเดือน หรือ อาจถึง 1 ปี  2)    การวิเคราะห์ทางเคมี                เมี่ยงฝาด มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 4.5-6.0 และ เมี่ยงส้ม มีค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ในช่วง 3.0–4.0                 ปริมาณสารคาเทชินและอนุพันธ์ในตัวอย่างเมี่ยง พบว่า ใบชาเมี่ยงสดมีปริมาณสารคาเทชินมากกว่าใบเมี่ยงหมัก ซึ่งสารคาเทชินและอนุพันธ์ที่พบในใบชาเมี่ยงช่วยให้คำตอบคนที่อมเมี่ยงกล่าวว่า กินเมี่ยง แล้วรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิธีการหมักเมี่ยง ระยะเวลาและสถานที่ สภาพแวดล้อม ส่งผล โดยตรงต่อสารสำคัญในใบชาเมี่ยงสดและใบเมี่ยงหมัก 3)    ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย                องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมี่ยงในงานวิจัยนี้ พบว่า สารสกัดจากใบชาเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาเหตุแผลอักเสบได้ดีกว่าแบคทีเรียสาเหตุการเกิดท้องเสีย เมื่อปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ระหว่างจุลินทรีย์แกรมบวกและแกรมลบ มีแนวโน้มว่าสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแกรมลบ (โดยเฉพาะ Escherichia coli) สารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงยับยั้งการเจริญได้น้อย ทั้งนี้สารสกัดจากใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงสามารถยับยั้งการเจริญของ Propionibacterium acnes> Staphylococcus epidermidis > Bacillus cereus > S. aureus > Escherichia coli โดยให้ผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ Ikigai และคณะ (1993) ซึ่งพบว่า แบคทีเรียแกรมลบสามารถต้านทานต่อการทำลายชั้นไขมันที่ผนังเซลล์จากคาเทชินได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวก ถึงแม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้ Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์แกรมลบมีความสามารถในการต้านทานสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงได้ดีพอๆกับ Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก คุณสมบัติของสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงที่ได้จากพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในประเทศไทยแตกต่างจากแหล่งปลูกชาเมี่ยงอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาเมี่ยงต่อไปได้เป็นอย่างดี รวมถึง เป็นข้อมูลสนับสนุนหรือส่งเสริมให้คนกลับมาบริโภคเมี่ยงกันมากขึ้น               ในโครงการวิจัยนี้นอกจากจะชี้ให้เห็นประโยชน์อันทรงคุณค่าของชาเมี่ยงแล้ว ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของใบชาเมี่ยงในส่วนของใบชาเมี่ยงอ่อนโดยนำไปสกัดด้วยตัวทำละลายเพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในสารสกัด รวมถึง การใช้ใบชาเมี่ยงอ่อนไปทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และนำสารคาเทชินไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงที่พัฒนาขึ้น ได้แก่       (1) ผลิตภัณฑ์สปา                 แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และสบู่สำหรับบำรุงผิวหน้า ลดรอยด่างดำ เพื่อผิวหน้ากระจ่างใส                 สารสกัดจากใบชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus,S. epidermidis และ Propionibacterium acnes เมื่อนำผลิตภัณฑ์สปาทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ แชมพูและครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ใน อาสาสมัคร จำนวน 25 คน ด้วยวิธี Single Patch Test พบว่า ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากอาสาสมัครอยู่ในระดับมาก ในอนาคตองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สปาจากชาเมี่ยงควรนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดต่างๆ โดยสามารถใช้ข้อมูลที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้สนับสนุนการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้โดยชาวบ้านมามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยงโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำเสนอในที่พักแบบโฮมสเตย์ ตลอดจนจัดจำหน่ายเป็นของที่ระลึก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

ด้านวัฒนธรรม                  “เมี่ยง” นำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆโดยคนล้านนานิยมนำเมี่ยงมาอมหรือเคี้ยวหลังอาหารหรือยามว่าง ตัวอย่างวิถีล้านนากับการทานเมี่ยงแสดงดังภาพเขียนโบราณ “บ่าว-สาว ทานเมี่ยง” ที่ปรากฏเป็นภาพเขียนสีในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 118)  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม และ ข้อเสนอแนะ

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม             ชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือมีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ เหมาะแก่การนำมาบริโภคเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุจากอนุมูลอิสระ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งต่างๆ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาชาเมี่ยงในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ในกระบวนการผลิตชาควรมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทางด้าน GAP และ GMP เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่สำคัญหากจะให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนต่อประเทศในอนาคต ควรมีการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจในคุณประโยชน์ของชาเมี่ยงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมิติทางสังคม วัฒนธรรม มิติทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางวิทยาศาสตร์ ควรมีการสนับสนุนงานวิจัยต่อยอดในการประยุกต์เอาคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพของชาเมี่ยงที่ค้นพบดังได้กล่าวไว้ข้างต้นไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ใช้ในวงการยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เวชสำอางต่อไป ข้อเสนอแนะ             จากการที่ชาเมี่ยงมีสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อในเครื่องสำอางโดยใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ แชมพูสระผม ครีมนวดผม ลิปปาล์ม และ ยาสีฟัน เป็นต้น หรือ ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่มากขึ้น เนื่องจาก สารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ที่สกัดได้จากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยสูงในการนำไปใช้ รวมทั้งการที่สารอิพิคาเทชินมีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีความสำคัญมิใช่เฉพาะต่อวงการแพทย์เท่านั้น แต่มีความสำคัญในระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งจะเห็นได้จากงานวิจัยต่างๆที่นำสารคาเทชินมาทำการทดลองในการลดการเกิดออกซิเดชันที่จะทำให้เกิดกลิ่นหืนขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมันเป็นองค์ประกอบซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1. การสำรวจแหล่งผลิตเมี่ยงแบบดั้งเดิมในภาคเหนือตอนบน              งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจแหล่งปลูกเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นต้นแบบในการศึกษาแหล่งเพาะปลูกเมี่ยง ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่จะเป็นพื้นที่สูง มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำไหลตลอดทั้งปี (ภาพที่ 111)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความแข็งของดินในแนวนอน ความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน

    สมบัติดินทางกายภาพสมบัติดินทางกายภาพพื้นที่สวนชาเมี่ยงบ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พบว่า ค่าความแข็งของดิน (Soil hardness) ที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีความแข็งมากกว่าดินที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร เนื่องจากดินชั้นบนมีการทับถมของซากพืช และมีการย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ ค่าความชื้นของดิน (Soil moisture) ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีค่าความชื้นมากกว่าดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร เพราะดินชั้นบน มีการระเหยของน้ำ สัมผัสลม และสัมผัสแสงแดดอยู่ตลอดเวลา และค่าการนำไฟฟ้าของดิน (CEC) ที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร มีค่าการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าดินที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร ตารางที่ 18
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    ความหนาแน่นของสวนชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทั้งหมด 10 ตำบล 117 หมู่บ้าน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพบว่า ในอดีตมีการทำสวนชาเมี่ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน             เพื่อเป็นรายได้ในครอบครัว แต่ปัจจุบัน เนื่องจากราคาของชาเมี่ยงที่ตกต่ำ ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ตัดต้นชาเมี่ยงออกจากพื้นที่แล้วหันมาปลูกพืชเกษตรชนิดอื่นที่ให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าแทน เช่น ข้าวโพด ยางพารา ข้าวไร่ ลำไย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดเชียงคำมีการทำสวนชาเมี่ยงลดลง เหลืออยู่เพียง 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ตำบลแม่ลาว หมู่ที่ 5  บ้านแฮะ มีทั้งหมด 160 ครัวเรือน มีการปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 6 บ้านน้ำมิน มีทั้งหมด 180 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 10 บ้านคะแนง มีทั้งหมด 110 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 งาน หมู่ที่ 11 บ้านกอก มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ และหมู่ที่ 13 บ้านน้ำมินเหนือ มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ปัจจุบันสวนชาเมี่ยงที่ยังมีการเก็บผลผลิตอยู่ ด้านการจัดการและการดูแลสวนชาเมี่ยง จะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ชาเมี่ยงแตกยอดใหม่ 1-2 ปีต่อ 1ครั้ง โดยจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง มีการตัดหญ้าก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ปีละ 3-4 ครั้ง ไม่มีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และใช้สารเคมี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งทั้งปี แต่ยังคงเป็นเพียงอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน และยังขาดการสืบทอดให้รุ่นลูกหลาน เนื่องจากมีราคาที่ต่ำ เป็นผลทำให้สวนชาเมี่ยงนั้นเริ่มหายไป ส่วนสวนชาเมี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่บางส่วนชาวบ้านจะปล่อยให้พื้นที่อนุรักษ์ของหมู่บ้านและเป็นป่าต้นน้ำต่อไป ตารางที่ 22 ภาพที่ 43