ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย

 

            เมี่ยง  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในเขต พื้นที่ภาคเหนือมาช้านาน เมี่ยงทำจากชาหมักพันธุ์อัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) สามารถแบ่ง เมี่ยง เป็น 2 แบบ คือ เมี่ยงที่ทำจากใบชาอ่อน เรียกว่า ประเทศไทย มีการผลิตเมี่ยงในหลายๆ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน เป็นต้น การสำรวจรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมการผลิตเมี่ยงหมักพื้นบ้าน ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา “เมี่ยงฝาด” และ เมี่ยงที่ทำจากใบชาแก่ เรียกว่า “เมี่ยงส้ม” (สายลม และ คณะ, 2551) มีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย เช่นมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้เมี่ยงยังสร้างรายได้มูลค่าถึง 229,360,251 บาท ในปี พ.ศ. 2550 (สายลม และ คณะ, 2551)
สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ศึกษาห่วงโซ่อุปทาน และประเมินมูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เมี่ยง เพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากเมี่ยง ต่อยอดสร้างอาชีพและรายได้จากการทำอาชีพเมี่ยงให้มีความยั่งยืน มี 3 โครงการย่อยดังนี้
 
            โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาถึงลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของสวนเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า บางพื้นที่ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง ศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง


           โครงการวิจัยย่อยที่ 2 เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากเมี่ยงหมัก เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยทำการศึกษาการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม มีที่มาและความสำคัญดังนี้ เมี่ยงหมัก และ ผลิตภัณฑ์ชาหมักต่างๆมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจาก เมี่ยงมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ antimicrobial มีจุลินทรีย์ชนิด probiotic เป็นองค์ประกอบหลัก (Klayraung et al., 2008) การศึกษาโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากน้ำหมักเมี่ยง จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก สาร caffeine และ catechins เป็นสารที่พบมากในชา แต่ยังไม่มีการนำผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง มาสกัดและผสมเป็นตำรับยา เพื่อใช้ในการรักษาแผลเรื้อรังที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย ในโครงการย่อยที่ 1 นี้จะทำการศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลติดเชื้อเรื้อรัง และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยเตรียมสารสกัดเมี่ยงหมัก หรือ น้ำเมี่ยง ที่มีคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลเรื้อรัง นำมาแยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการรักษาเชื้อดื้อยาปฎิชีวนะ


             โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ทำการศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของเมี่ยงหมัก การวิเคราะห์การไหลของกระแสเงินและสินค้า โดยใช้ทฤษฎีการบริการจัดการและการออกแบบโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีทางการบัญชีบริหาร การบัญชีต้นทุน เพื่ออธิบายกิจกรรมทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขายและความต้องการของ        ผู้บริโภคใช้วิธีการเปรียบเทียบกับปีฐาน และใช้การลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเมี่ยงในเชิงพาณิชย์
 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย

              เมี่ยง  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในเขต พื้นที่ภาคเหนือมาช้านาน เมี่ยงทำจากชาหมักพันธุ์อัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) สามารถแบ่ง เมี่ยง เป็น 2 แบบ คือ เมี่ยงที่ทำจากใบชาอ่อน เรียกว่า ประเทศไทย มีการผลิตเมี่ยงในหลายๆ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน เป็นต้น การสำรวจรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมการผลิตเมี่ยงหมักพื้นบ้าน ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา “เมี่ยงฝาด” และ เมี่ยงที่ทำจากใบชาแก่ เรียกว่า “เมี่ยงส้ม” (สายลม และ คณะ, 2551) มีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย เช่นมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้เมี่ยงยังสร้างรายได้มูลค่าถึง 229,360,251 บาท ในปี พ.ศ. 2550 (สายลม และ คณะ, 2551) สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ศึกษาห่วงโซ่อุปทาน และประเมินมูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เมี่ยง เพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากเมี่ยง ต่อยอดสร้างอาชีพและรายได้จากการทำอาชีพเมี่ยงให้มีความยั่งยืน มี 3 โครงการย่อยดังนี้               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาถึงลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของสวนเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า บางพื้นที่ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง ศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง            โครงการวิจัยย่อยที่ 2 เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากเมี่ยงหมัก เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยทำการศึกษาการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม มีที่มาและความสำคัญดังนี้ เมี่ยงหมัก และ ผลิตภัณฑ์ชาหมักต่างๆมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจาก เมี่ยงมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ antimicrobial มีจุลินทรีย์ชนิด probiotic เป็นองค์ประกอบหลัก (Klayraung et al., 2008) การศึกษาโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากน้ำหมักเมี่ยง จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก สาร caffeine และ catechins เป็นสารที่พบมากในชา แต่ยังไม่มีการนำผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง มาสกัดและผสมเป็นตำรับยา เพื่อใช้ในการรักษาแผลเรื้อรังที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย ในโครงการย่อยที่ 1 นี้จะทำการศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลติดเชื้อเรื้อรัง และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยเตรียมสารสกัดเมี่ยงหมัก หรือ น้ำเมี่ยง ที่มีคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลเรื้อรัง นำมาแยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการรักษาเชื้อดื้อยาปฎิชีวนะ              โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ทำการศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของเมี่ยงหมัก การวิเคราะห์การไหลของกระแสเงินและสินค้า โดยใช้ทฤษฎีการบริการจัดการและการออกแบบโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีทางการบัญชีบริหาร การบัญชีต้นทุน เพื่ออธิบายกิจกรรมทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขายและความต้องการของ        ผู้บริโภคใช้วิธีการเปรียบเทียบกับปีฐาน และใช้การลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเมี่ยงในเชิงพาณิชย์  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความแข็งของดินในแนวนอน ความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน

    สมบัติดินทางกายภาพสมบัติดินทางกายภาพพื้นที่สวนชาเมี่ยงบ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พบว่า ค่าความแข็งของดิน (Soil hardness) ที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีความแข็งมากกว่าดินที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร เนื่องจากดินชั้นบนมีการทับถมของซากพืช และมีการย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ ค่าความชื้นของดิน (Soil moisture) ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีค่าความชื้นมากกว่าดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร เพราะดินชั้นบน มีการระเหยของน้ำ สัมผัสลม และสัมผัสแสงแดดอยู่ตลอดเวลา และค่าการนำไฟฟ้าของดิน (CEC) ที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร มีค่าการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าดินที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร ตารางที่ 18
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    ความหนาแน่นของสวนชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทั้งหมด 10 ตำบล 117 หมู่บ้าน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพบว่า ในอดีตมีการทำสวนชาเมี่ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน             เพื่อเป็นรายได้ในครอบครัว แต่ปัจจุบัน เนื่องจากราคาของชาเมี่ยงที่ตกต่ำ ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ตัดต้นชาเมี่ยงออกจากพื้นที่แล้วหันมาปลูกพืชเกษตรชนิดอื่นที่ให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าแทน เช่น ข้าวโพด ยางพารา ข้าวไร่ ลำไย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดเชียงคำมีการทำสวนชาเมี่ยงลดลง เหลืออยู่เพียง 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ตำบลแม่ลาว หมู่ที่ 5  บ้านแฮะ มีทั้งหมด 160 ครัวเรือน มีการปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 6 บ้านน้ำมิน มีทั้งหมด 180 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 10 บ้านคะแนง มีทั้งหมด 110 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 งาน หมู่ที่ 11 บ้านกอก มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ และหมู่ที่ 13 บ้านน้ำมินเหนือ มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ปัจจุบันสวนชาเมี่ยงที่ยังมีการเก็บผลผลิตอยู่ ด้านการจัดการและการดูแลสวนชาเมี่ยง จะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ชาเมี่ยงแตกยอดใหม่ 1-2 ปีต่อ 1ครั้ง โดยจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง มีการตัดหญ้าก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ปีละ 3-4 ครั้ง ไม่มีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และใช้สารเคมี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งทั้งปี แต่ยังคงเป็นเพียงอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน และยังขาดการสืบทอดให้รุ่นลูกหลาน เนื่องจากมีราคาที่ต่ำ เป็นผลทำให้สวนชาเมี่ยงนั้นเริ่มหายไป ส่วนสวนชาเมี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่บางส่วนชาวบ้านจะปล่อยให้พื้นที่อนุรักษ์ของหมู่บ้านและเป็นป่าต้นน้ำต่อไป ตารางที่ 22 ภาพที่ 43