องค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก

          ใบชาเมี่ยง (Camellia sinensis var. assamica) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์เมี่ยง มีสารในกลุ่มของ Flavonoids และ polyphenols อื่นๆเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะสารในกลุ่มที่ เรียกว่า คาเทชิน (flavanols) ซึ่งพบว่า มีอยู่ในใบเมี่ยงสดเป็นจำนวนมาก (Engelhardt, 2010) โดยมีปริมาณถึง 60-70 % ของปริมาณโพลิฟีนอลทั้งหมด (Higdon & Frei, 2003) สารกลุ่มคาเทชินที่มีมากในใบเมี่ยงสด คือ (-)-epigallocatechin gallate (EGCG), (-)-epigallocatechin (EGC), (-)-epicatechin gallate (ECG) and (-)-epicatechin (EC) (ภาพ 4) (Wang et al., 2000) ปริมาณขององค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของใบเมี่ยงสด ผลิตภัณฑ์เมี่ยง รวมถึงของเสียที่ได้ระหว่างกระบวนการผลิตเมี่ยง (น้ำนึ่งเมี่ยง และ น้ำหมักเมี่ยง) แสดงเป็น ปริมาณโพลิฟีนอลทั้งหมด ดังตาราง 1

 

 

ตารางที่ 1  ปริมาณโพลิฟีนอลทั้งหมดของใบเมี่ยงสด ผลิตภัณฑ์เมี่ยง รวมถึงของเสียที่ได้ระหว่างกระบวนการผลิตเมี่ยง ปริมาณคาเทชินแต่ละชนิดในใบเมี่ยงสดที่เก็บจากแหล่งพื้นที่ที่ต่างกัน โดยพบ คาเทชินชนิด EGC, EGCG, EC และ ECG ในปริมาณมาก ส่วนคาเทชินชนิด GC, GCG, C และ CG พบในปริมาณน้อย (สายลม และ คณะ, 2552)

 

ตารางที่ 1  ปริมาณโพลิฟีนอลทั้งหมดของใบเมี่ยงสด ผลิตภัณฑ์เมี่ยง รวมถึงของเสียที่ได้ระหว่างกระบวนการผลิตเมี่ยง

 

 

            ปริมาณคาเทชินแต่ละชนิดในใบเมี่ยงสดที่เก็บจากแหล่งพื้นที่ที่ต่างกัน โดยพบ คาเทชินชนิด EGC, EGCG, EC และ ECG ในปริมาณมาก ส่วนคาเทชินชนิด GC, GCG, C และ CG พบในปริมาณน้อย (สายลม และ คณะ, 2552)

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

องค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก

          ใบชาเมี่ยง (Camellia sinensis var. assamica) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์เมี่ยง มีสารในกลุ่มของ Flavonoids และ polyphenols อื่นๆเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะสารในกลุ่มที่ เรียกว่า คาเทชิน (flavanols) ซึ่งพบว่า มีอยู่ในใบเมี่ยงสดเป็นจำนวนมาก (Engelhardt, 2010) โดยมีปริมาณถึง 60-70 % ของปริมาณโพลิฟีนอลทั้งหมด (Higdon & Frei, 2003) สารกลุ่มคาเทชินที่มีมากในใบเมี่ยงสด คือ (-)-epigallocatechin gallate (EGCG), (-)-epigallocatechin (EGC), (-)-epicatechin gallate (ECG) and (-)-epicatechin (EC) (ภาพ 4) (Wang et al., 2000) ปริมาณขององค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของใบเมี่ยงสด ผลิตภัณฑ์เมี่ยง รวมถึงของเสียที่ได้ระหว่างกระบวนการผลิตเมี่ยง (น้ำนึ่งเมี่ยง และ น้ำหมักเมี่ยง) แสดงเป็น ปริมาณโพลิฟีนอลทั้งหมด ดังตาราง 1
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

คุณประโยชน์ใบชา

คุณประโยชน์ใบชา (สถาบันชา, 2555)             องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่มีอยู่ในใบชา ได้แก่ สารกลุ่มคาเทชิน เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญของใบชา ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ผลิตจากใบชา จึงประกอบด้วย สารสำคัญที่มีคุณประโยชน์ เช่นเดียวกัน คุณประโยชน์ของเมี่ยงหมักสามารถจำแนกตามฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้ดังต่อไปนี้  1. ชากับการต้านอนุมูลอิสระ             ชา ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ประเภท ฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า คาเทชิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง  โรคหัวใจ  และ ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้ 2. ชากับโรคมะเร็ง             การดื่มน้ำชาเป็นประจำสามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งเต้านม สารคาเทชิน (Catechins) ในชามีผลยับยั้งมะเร็ง ด้วยกลไกที่หลากหลาย คาเทชินที่ ออกฤทธิ์ต้านมะเร็งที่สำคัญคือ Epigallocatechin gallate (EGCG) 3. ชากับโรคหัวใจ             คาเทชิน (Catechins)  ช่วยลดการเกร็งของเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอนในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด อัมพฤษ์ และ อัมพาฒจากเส้นเลือดตีบตัน นอกจากนี้ Epigallocatechin gallate (EGCG) ยังช่วยลด                       การเกิดออกซิเดชันของโคเลสเตอรอล ลดการสะสม และ การสร้างตะกอนในเส้นเลือดจากโคเลสเตอรอล ลดการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน และ ลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 4. ชากับโรคเบาหวาน           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยแป้ง คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ทั้งในน้ำลายและลำไส้  ทำให้แป้งถูกย่อยได้ช้าลง ช่วยให้การเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ นอกจากนั้น ชาเขียวยังลดการดูดซึมของกลูโคสที่ลำไส้ 5. ชากับสุขภาพช่องปาก           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากซึ่งมีทั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องปาก Porphyromonas gingivilis และ แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ Stretococcus mutans คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย ทำให้มีปริมาณกลูโคส และ มอลโตสน้อยลง ซึ่งเป็นผลลดปริมาณอาหารของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้ คาเทชินยังช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ป้องกันฟันผุ 6. ชากับโรคอุจจาระร่วง             Polyphenols มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย โดย Polyphenols สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย การดื่มชา สามารถใช้รักษาโรคอุจจาระร่วงได้ และ สามารถฆ่าสปอร์ของ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ และ สามารถฆ่าแบคทีเรียที่ทนความร้อน เช่น Bacillus subtilis, B. cereus, Vibrio parahaemolyticus และ Clostridium perfringens 7. ชากับโรคอ้วน             ชา ประกอบด้วยสารสำคัญ เรียกว่า โพลิฟีนอล (Polyphenols) ที่มีความสามารถยับยั้งเอนไซม์ Catechol-O-methyl transferase จึงช่วยกระตุ้นการสร้างความร้อนของร่างกาย มีส่วนช่วยเผาผลาญพลังงาน และ ช่วยจัดการกับโรคอ้วน ทั้งยังมีคุณสมบัติในการชะลอการปล่อยกลูโคส (Glucose) สู่กระแสเลือด ทำให้ชะลอการสร้างอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้ร่างกายสะสมไขมัน ดังนั้น ร่างกายจึงเผาผลาญไขมันแทนที่จะสะสมไขมัน 8. ชากับการผ่อนคลายของระบบประสาท
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ( Return on Investment : ROI) และ จุดคุ้มทุน (Break Even Point)

            ผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ( Return on Investment : ROI)หมายถึง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ที่จะเปรียบเทียบระหว่าง เงินลงทุน กับกำไร ที่ได้จากการลงทุน สามารถคำนวณได้จากสูตร ดังนี้
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ            งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน            ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview)  2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ 3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method 3.1 การเตรียมแบคทีเรีย           นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M  3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง          นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง          นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) 4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ     งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน           ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

       โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีสายพระเนตรยาวไกล โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และทรงมีโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากร พัฒนาแหล่งน้ำ การอนุรักษ์ และพัฒนาดิน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช ให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ เพื่อปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าธรรมชาติ การสำรวจรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูก และรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพ และปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช ทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย        การดําเนินงานโดย ความร่วมมือของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ อพ.สธ. และหน่วยงานรวมสนองพระราชดําริ อพ.สธ. หรือ สมาชิกและนักวิจัยในชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ในหน่วยงานที่เข้าร่วมสนอง พระราชดําริ อพ.สธ. มีจํานวนหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดําริในกิจกรรมนี้ 80 หน่วยงาน ได้ดําเนินงานวิจัยมากกว่า 1,000 เรื่อง พืชที่ได้วิจัยค้นคว้าศึกษาประเมินพันธุกรรมพืชที่สํารวจ เก็บรวบรวมและปลูกรักษาไว้ได้ดําเนินการไปแล้วจํานวนมากกว่า 20 สกุล ได้แก่ ทุเรียน มะตูม มะเกี๋ยง ก่อ มะแขว่น มะพอก มะม่วง หว้า ขนุน อ้อย ดองดึง หวาย มังคุด กระเจียว บุกคางคก ผักลิ้นห่าน ฮ่อม ผักเค็ด กล้วยไม้ป่า พืชสกุลอบเชย ผักพื้นเมือง พืชสมุนไพร ฯลฯ และศึกษา ด้านชีวโมเลกุล การทํา DNA Fingerprint ใน มะตูม หวาย กล้วยไม้ม้าวิ่ง ทุเรียน ขนุน ฯลฯ และ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อพ.สธ. ได้ขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยในการตั้งคณะกรรมการกํากับ ดูแลการดําเนินงานการอนุรักษ์ และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชอนุรักษ์ อพ.สธ. 8 ชนิดได้แก่ ทุเรียน มะเกี๋ยง สัก มะกิ๊ง น้อยหน่าเครือ ตีนฮุ้งดอย กล้วยไม้ และชาเมี่ยง และเพิ่มพืชที่ 9 คือ ยางนา ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 และมีแนวโน้มที่จะดําเนินการให้พรรณพืชที่มีคุณค่าเพื่อการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ต่อไป        ผานิตย์ (2549) ได้ศึกษาเรื่องการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยพรรณไม้โครงสร้างบางชนิดต่อระบบนิเวศป่าดิบเขา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ป่าโครงสร้างมีชนิดพรรณไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหลากชนิดกว่าป่าเสื่อมโทรม ชนิดพรรณไม้ที่ขึ้นเป็นพรรณไม้ดัชนีในพื้นที่ป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นเท่านั้น คือ สารภีป่า ส่วนชนิดพรรณไม้ธรรมชาติที่ขึ้นบริเวณที่โล่งแจ้งและแห้งแล้งกว่า เช่น มะขามป้อม และเมื่อเปรียบเทียบการเจริญของไม้ปลูกเฉพาะในป่าโครงสร้างทั้ง 3 แปลง พบว่าการเจริญเติบโตด้านความสูงสัมพัทธ์และอัตราการล้มตายของพรรณไม้ทุกชนิดรวมกันไม่มีค่าความแตกต่างทางสถิติ ส่วนการเจริญเติบโตด้านความโตของเส้นผ่าศูนย์กลางระดับคอรากแตกต่างกันในทุกแปลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยแปลงป่าโครงสร้าง 2 มีการเจริญเติบโตสัมพันธ์ทั้งความโตและความสูงมากที่สุด แต่อัตราการรอดตายอยู่อันดับสอง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่และแปลง พบว่าแปลงป่าโครงสร้าง 2 มีหน้าดินลึกถึง 32 เซนติเมตร มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดสูงกว่าทุกแปลง ซึ่งสัมพันธ์กับค่าอินทรียวัตถุในดินและน้ำหนักซากพืชที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับป่าโครงสร้างปีเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับป่าอนุรักษ์ของชุมชนบ้านแม่สาใหม่ พบว่าป่าโครงสร้างมีชนิดพรรณไม้ที่ขึ้นในแปลงและลักษณะทางกายภาพของดินใกล้เคียงกับป่าอนุรักษ์มากกว่าป่าเสื่อมโทรม         อัตถ์ (2561) ได้ทำการศึกษาศักยภาพการให้ผลผลิตและลักษณะการเจริญเติบโตของชาเมี่ยง (camellia sinensis var. assamica) ในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาศักยภาพในการเจริญเติบโตของต้นชาเมี่ยง พบว่า 1) ความสูงของต้นชาเมี่ยงมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 1 เดือน โดยเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตร 2) มีจำนวนใบที่แตกใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2 ใบ และ 3) ความยาวของใบที่แตกใหม่โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.7 เซนติเมตร สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพในการให้ผลผลิตของต้นชาเมี่ยงในแปลงสาธิตที่มีอายุมากกว่า 10 ปี พบว่า มีขนาดทรงพุ่ม (กว้าง X ยาว) โดยเฉลี่ยเท่ากับ (70