ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

4.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 
 

                                                                                                                                                                                                                             

ภาพที่ 171 แผนที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

 

ข้อมูลจำเพาะบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
              ประวัติและความเป็นมาของคนในชุมชนบ้านเหล่า  ดังเดิมสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษเป็นคนในพื้นที่ไม่ห่างไกลจากอำเภอแม่แตงมากนักและโยกย้ายที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่บ้านเมืองกื้ด ตำบลกื้ดช้าง, บ้านวังแดง ตำบลอินทขิล ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานไปยังบ้านเหล่า (แต่เดิมเรียกป่าเส้า) ตำบลแม่แตง  และได้ยกฐานะเป็นอำเภอสันมหาพน มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2450 เป็นต้นมา มีนายอำเภอคนแรกชื่อ ขุนมิกสันสุรบาล (ฟ้อน) ป. แต่เนื่องจาก พื้นที่ตั้งติดกับลำน้ำแม่แตง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอแม่แตง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
              ในการศึกษากระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายชาเมี่ยงบ้านเหล่ามีกระบวนการทั้งหมด 5 ขั้นตอนได้แก่
1.)    กระบวนการปลูก ในพื้นที่บ้านเหล่ามีการปลูกชาเมี่ยงครัวเรือนละ 5-6 ไร่ 1 ไร่มีต้นชาเมี่ยง 150-170 ต้นโดยระยะห่างระหว่างต้น 2 เมตรซึ่งมีความคล้ายคลึงกับพื้นที่แพร่ และลำปาง  ปลูกในพื้นที่ป่าและส่วนใหญ่เป็นต้นชาเมี่ยงที่บรรพบุรุษของเกษตกรปลูกไว้เมื่อในอดีต และได้สืบทอดมรดกมาจากบรรพบุรุษ 
2.)    กระบวนการดูแลรักษา มีความคล้ายคลึงกับพื้นที่แพร่ และ ลำปาง เกษตรกรจะทำการเพาะปลูกชาเมี่ยงโดยปล่อยตามธรรมชาติ  และมีการตัดแต่งกิ่งและตัดหญ้า การตัดแต่งกิ่งจะตัดปีละ 2 ครั้ง และการตัดหญ้าจะตัดโดยจ้างคนงาน 1 - 2 คนต่อพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ โดยค่าจ้างคนงานคนละ 350 บาทต่อวัน
3.)    กระบวนการเก็บเกี่ยว ในการเก็บชาเมี่ยงบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จะมีอุปกรณ์ในการเก็บดังนี้    
 


ภาพที่ 172 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บชาเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่


               การเก็บชาเมี่ยง เกษตรกรจะนำตะกร้าแขวนติดตัวไว้ แล้วนำตอกเสียบไว้ที่ผ้า/เชือกมัดเอว พร้อมกับตะขอเชือก เพื่อใช้ในกรณีที่ต้นชาเมี่ยงมีความสูงเกินไปจะเอาตะขอเชือกโน้มกิ่งเพื่อช่วยในการเก็บ เกษตรกรจะทำการเก็บและมัดกำไปพร้อมกัน การเก็บใบชาเมี่ยงของพื้นที่เชียงใหม่ จะเด็ดใบชาเมี่ยงอ่อนเด็ดทุกใบบนกิ่ง เมื่อเด็ดได้ประมาณ 1 กำมือ (เต็มกำมือ) จะใช้ตอกไม้ไผ่ดิบมัดใส่ตะกร้าที่เตียมมา  ความสามารถในการเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะเก็บได้ประมาณ 20 - 30 กำต่อคน ต่อวัน (ประมาณ 10 – 15 กิโลกรัม) และมีการจ้างคนงานเก็บชาเมี่ยง โดยให้ค่าจ้างต่อกิโลกรัม กิโลกรัมละ 16 บาท ซึ่งการเก็บใบชาเมี่ยงจะยืนเก็บทั้งวัน ใน 1 ปีชาวบ้านในพื้นที่นี้ จะเก็บชาเมี่ยงได้เฉลี่ยปีละมากกว่า 10,000 กำต่อครัวเรือน (ประมาณ5,000 กิโลกรัม)  
ช่วงระยะเวลาในการเก็บชาเมี่ยงมี 4  ช่วง คล้ายคลึงกับช่วงระยะเวลาการเก็บในพื้นที่จังหวัดลำปาง ได้แก่
    - ช่วงแรกชาเมี่ยงหัวปีเก็บในเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน
    - ช่วงที่สองชาเมี่ยงกลางเก็บในเดือนกรกฎาคม - เดือนกันยายน
    - ช่วงที่สามชาเมี่ยงสร้อยเก็บในเดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม
    - ช่วงที่สี่ชาเมี่ยงเหมยเก็บในเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม
4.)    กระบวนการผลิตชาเมี่ยง แบ่งเป็น  2 ขั้นตอน คือ การนึ่งและการหมัก มีขั้นตอนดังนี้


การนึ่ง อุปกรณ์ที่ใช้ในการนึ่งชาเมี่ยง มีดังนี้


ภาพที่ 173 อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการนึ่งชาเมี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่


    
    กระบวนการในการนึ่งชาเมี่ยง
-    หลังจากจุดไฟที่เตาด้วยฟืนแล้วจะนำชาเมี่ยงสดที่เก็บมาได้เรียงในไหนึ่งชาเมี่ยง (ขนาดกว้าง 42  เซนติเมตร สูง 53  เซนติเมตร)  ให้เต็มพรหมด้วยน้ำสะอาดเพื่อให้ชาเมี่ยงนวล (นุ่ม)   ยกไหนึ่งชาเมี่ยงวางบนเตา โดยทั่วไป 1 ไห จะนึ่งชาเมี่ยงได้ประมาณ 60 - 70 กำต่อครั้ง (ประมาณ 30-35 กิโลกรัม)
-    ก่อนทำการนึ่งชาเมี่ยง จะมีการนำ “ตาด” มารองก้นไห (ขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร) ลักษณะของตาด จะเป็นตะแกรงทำจากกาบกล้วยห่อด้วยถุงพลาสติก
-    ใช้ฝาปิดปากไหและนำผ้าชุบน้ำจนชุ่มมาอัดรอบๆ บริเวณด้านล่างระหว่างเตากับไห เพื่อให้ความร้อนจากเตาไหลเข้าสู่ไหได้เต็มที่ ที่มีกระบวนการทำในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่แพร่ และลำปาง
-    เมื่อเริ่มนึ่ง เมื่อใบชาเมี่ยงยุบตัวลง จะปรับระดับความร้อนของไฟให้คงที่ โดยใช้ระยะเวลาในการนึ่งเท่ากันกับพื้นที่ ลำปาง คือ ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที เมื่อนึ่งได้ที่ ใบชาเมี่ยงมีกลิ่นหอม และลักษณะเนื้อนิ่ม 
-    เมื่อนึ่งเสร็จ ก่อนที่จะยกไหลงจากเตา พรหมด้วยน้ำสะอาดอีกหนึ่งรอบ และหาบไหลงเทชาเมี่ยงผึ่งรอให้เย็น 
-    เมื่อชาเมี่ยงเย็นแล้วทำการเปลี่ยนตอกไม้ไผ่ เป็นตอกมัดชาเมี่ยงนึ่งเมื่อเสร็จแล้วนำมาเรียงในถุงพลาสติก 1 ถุงใส่ชาเมี่ยงได้ 150 - 200 กำ (ประมาณ 75-100 กิโลกรัม)

 

การหมัก อุปกรณ์ที่ใช้ในการหมักชาเมี่ยง มีดังนี้

                                                             

ภาพที่ 174 อุปกรณ์ในการหมักชาเมี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่


    กระบวนการในการหมัก
-    นำชาเมี่ยงมาเรียงในต่าง (ขนาดกว้าง 44 เซนติเมตร สูง 64 เซนติเมตร) ใส่ชาเมี่ยงได้  150 - 200 กำ (ประมาณ 75-100 กิโลกรัม)  
-    ปิดปากถุงให้มิดชิด ไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในถุง (ขั้นตอนนี้ถ้าต้องการให้ชาเมี่ยงฝาดจะใช้เวลาในการหมักขั้นต่ำ 1 อาทิตย์ และชาเมี่ยงส้มใช้เวลาในการหมักขั้นต่ำ 2 - 3 เดือน)

5.)   การบรรจุและจัดจำหน่าย การบรรจุจะนำชาเมี่ยงที่หมักแล้วใส่ลงในตะกร้าไม้ไผ่สานขนาดใหญ่   ที่เรียกว่า ต่างหรือเข่ง (ขนาดกว้าง 44  เซนติเมตร สูง 64 เซนติเมตร) ที่บรรจุชาเมี่ยงได้ประมาณ 150 - 200 กำ (ประมาณ 75-100 กิโลกรัม) การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงส่วนใหญ่จะขายชาเมี่ยงสด ชาเมี่ยงนึ่งและชาเมี่ยงหมักราคาขายในแต่ละปีจะไม่เท่ากันโดยราคาขายชาเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จะอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อกิโลกรัม 
การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในจังหวัดเชียงใหม่ แสดงในภาพที่ 24 จะเห็นได้ว่า ในกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานนี้มีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder)  ภายในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด 3 ส่วน คือ เกษตรกรผู้ทำการปลูก การเก็บเกี่ยวและการแปรรูป, พ่อค้าคนกลาง และลูกค้าซึ่งคล้ายคลึงกับห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดแพร่ แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ ในพื้นที่นี้มีผู้นำชุมชนร่วมมือกับเกษตรกรในลักษณะตัวแทนกลุ่ม มีบทบาทให้ความช่วยเหลือติดต่อผู้รับซื้อชาเมี่ยงและรับซื้อใบชาที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวหรือใบชาที่คัดทิ้ง ลงมาขายให้กับโรงงานทำชา โดยคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเฉพาะค่าน้ำมัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากผลผลิต นอกจากนี้ในชุมชนยังมีแนวคิดที่จะออกแบบพื้นที่ในชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่เด่นชัดกว่าในอีก 2 พื้นที่ โดยมีการจัดที่พัก และแหล่งท่องเที่ยวซึ่งได้นำสวนป่าชาเมี่ยงและการผลิตชาเมี่ยงรวมถึงเมนูอาหารที่มีชาเมี่ยงเป็นส่วนประกอบ มาจัดไว้ในตารางการนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย 

ภาพที่ 175 ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยงบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

            ความสามารถของแรงงานในการเก็บใบชาจะเก็บได้ประมาณ 10-15 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน กระบวนการในการผลิตจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดลำปางโดยใช้เวลานึ่งเฉลี่ยประมาณ 1.30 ชั่วโมง มีการจัดจำหน่ายอยู่ 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ ชาเมี่ยงฝาด ใช้เวลาหมักอย่างน้อย 1 อาทิตย์ และชาเมี่ยงส้ม ใช้เวลาหมักอย่างน้อย 3 เดือน ขายให้พ่อค้าคนกลางภายนอกที่ตัวแทนนำไปขายให้ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท จากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปในตารางได้ ดังนี้ 


ตารางที่ 69 ตารางสรุปผลการศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดเชียงใหม่

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการผลิตชาเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่
จุดแข็ง
-    มีตลาดที่รองรับการจัดจำหน่ายชาเมี่ยงโดยสมาชิกของชุมชนในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย
-    มีการนำวิถีการผลิตชาเมี่ยงมาสอดรับการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน
-    เป็นชุมชนที่เข้มแข็งส่วนใหญ่คนในพื้นที่มีอาชีพหลากหลายมากว่า 1 อาชีพ
-    วิธีการเก็บชาเมี่ยงเก็บ3ใน4ของใบทำให้ระยะเวลาการออกใบใหม่ในครั้งต่อไปใช้เวลาสั้นลง
-    ผลผลิตของชาเมี่ยงสามารถเก็บและจัดจำหน่ายได้ตลอดทั้งปีรวมไปถึงมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
-    มีการทำงานอย่างเป็นระบบเนื่องจากมีผู้นำชุมชนเป็นสื่อกลางในการรับซื้อสินค้าและจัดจำหน่ายชาเมี่ยง
จุดอ่อน
-    ประชากรในครอบครัวไม่เพียงพอต่อกระบวนการในการผลิตชาเมี่ยงทำให้ต้องมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาช่วย    
-    ประชากรส่วนใหญ่หันไปทำการเกษตรแบบอื่นมากกว่าการทำชาเมี่ยงเป็นนหลัก
-    มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นน้อยเพราะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ยังนิยมทำการผลิตชาเมี่ยงนึ่ง
โอกาส
-    มีหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนเข้ามาสนับสนุนในการผลิตชาเมี่ยง
-    ชาเมี่ยงมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นเช่น ชาชาเมี่ยง เป็นต้น
-    อยู่ภายใต้จังหวัดใหญ่ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว
-    พื้นที่อยู่ไม่ห่างไกลจากในเมืองเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่จะจัดตารางการเที่ยวเพิ่มจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นภายในตัวจังหวัด
อุปสรรค
-    วัฒนธรรมการรับประทานชาเมี่ยงเป็นที่รู้จักเฉพาะคนรุ่นก่อนทำให้คนสมัยนี้ไม่นิยมในการรับประทานชาเมี่ยง
-    มีพืชอย่างอื่นมาทดแทนชาเมี่ยงในระหว่างรอบระยะเวลาที่ไม่มีผลมีผลผลิตของชาเมี่ยงทำให้การทำชาเมี่ยงเกิดการลดจำนวนลง
-    การสร้างแหล่งท่องเที่ยวโดยมีชาเมี่ยงเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นและต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้จัก
 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

4.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

4.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

  การบ่ม อุปกรณ์ในการบ่มชาเมี่ยง  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

          5.)    การบรรจุและจัดจำหน่าย  ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงถูกบรรจุลงในตะกร้าไม้ไผ่ ขนาดกว้าง 65 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร โดยจะมีการนำถุงพลาสติกมาลองในเข่งที่บรรจุชาเมี่ยงได้ประมาณ 100 กำ (ประมาณ 50 กิโลกรัม) ก่อนปิดฝาด้านบน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงส่วนใหญ่จะขายชาเมี่ยงนึ่ง และชาเมี่ยงหมักราคาขายในแต่ละปีจะไม่เท่ากันเพราะความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นและจำนวนชาเมี่ยงที่เก็บได้น้อยลง จะอยู่ในช่วงประมาณ 24-26 บาทต่อกิโลกรัม                 การจัดการห่วงโซ่อุทานการผลิตชาเมี่ยง ในจังหวัดลำปาง แสดงในภาพที่ 19 จะเห็นว่า ในกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ภายในห่วงโซ่มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ เกษตรกรผู้ทำการปลูก เก็บเกี่ยวและกระบวนการนึ่งที่เป็นเฉพาะครัวเรือน, เกษตรกรผู้รับซื้อของเพื่อนบ้านมาหมักต่อ, ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่ง และ ลูกค้า เมื่อเปรียบเทียบกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรในระดับพื้นฐาน การผลิตชาเมี่ยงในบริเวณนี้ยังถือว่าเป็นลักษณะห่วงโซ่ที่ไม่มีความซับซ้อนแต่จะแตกต่างจากจังหวัดแพร่ คือมีลักษณะของผู้แปรรูปในกระบวนการหมักแยกจากกลุ่มผู้ปลูกและผู้เก็บเกี่ยว มีการวางแผนการรับซื้อ และมีการลงทุนในอุปกรณ์การแปรรูปอย่างชัดเจน การตลาดยังคงมีลักษณะการผลิตแบบกึ่งพันธสัญญา จากการที่เกษตรกร ส่งให้กับพ่อค้าคนกลางรายเดิมทุกปี และมีบางส่วนที่เกษตรกรเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าของตนเอง โดยมีแหล่งลูกค้าประจำ ยังไม่พบในลักษณะการซื้อขายแบบประกันราคา การจัดสมดุลระหว่างระดับอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของชาเมี่ยงถือว่ามีความสมดุล คือไม่เกิดเหตุการณ์สินค้าขาดแคลน หรือสินค้าล้นตลาด แต่บางครั้งพบว่ามีการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์และวิธีการ               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย 1.การเลือกพื้นที่ศึกษา             การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 4 ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหมู่บ้านทั้ง  หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A  สภาพที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในหุบเขา มีลำห้วยไหลผ่าน สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่อ ยางปาย ทะโล้ เป็นต้น เป็นชุมชนคนป่าเมี่ยง มีอาชีพหลักในการทำเมี่ยง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

4.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินทางด้านกายภาพ (ความแข็งของดิน) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง และ ความแข็งของดินในแนวนอน

สมบัติดินทางด้านกายภาพ (ความแข็งของดิน) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่             จากภาพที่ 3-5 ความแข็งของดินของบ้านเหล่า แปลงที่ 1.1 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 3 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 4-29 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 30 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.2 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 8 เซนติเมตร ตั้งแต่ระดับลึก 9-68 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินปานกลาง และตั้งแต่ระดับลึก 69 เซนติเมตร ความแข็งของดินของบ้านเหล่า แปลงที่ 1.3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 2 เซนติเมตร ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 3 เซนติเมตรลงไป 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ            งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน            ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview)  2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ 3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method 3.1 การเตรียมแบคทีเรีย           นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M  3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง          นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง          นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) 4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ     งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน           ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

       โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีสายพระเนตรยาวไกล โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และทรงมีโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากร พัฒนาแหล่งน้ำ การอนุรักษ์ และพัฒนาดิน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช ให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ เพื่อปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าธรรมชาติ การสำรวจรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูก และรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพ และปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช ทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย        การดําเนินงานโดย ความร่วมมือของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ อพ.สธ. และหน่วยงานรวมสนองพระราชดําริ อพ.สธ. หรือ สมาชิกและนักวิจัยในชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ในหน่วยงานที่เข้าร่วมสนอง พระราชดําริ อพ.สธ. มีจํานวนหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดําริในกิจกรรมนี้ 80 หน่วยงาน ได้ดําเนินงานวิจัยมากกว่า 1,000 เรื่อง พืชที่ได้วิจัยค้นคว้าศึกษาประเมินพันธุกรรมพืชที่สํารวจ เก็บรวบรวมและปลูกรักษาไว้ได้ดําเนินการไปแล้วจํานวนมากกว่า 20 สกุล ได้แก่ ทุเรียน มะตูม มะเกี๋ยง ก่อ มะแขว่น มะพอก มะม่วง หว้า ขนุน อ้อย ดองดึง หวาย มังคุด กระเจียว บุกคางคก ผักลิ้นห่าน ฮ่อม ผักเค็ด กล้วยไม้ป่า พืชสกุลอบเชย ผักพื้นเมือง พืชสมุนไพร ฯลฯ และศึกษา ด้านชีวโมเลกุล การทํา DNA Fingerprint ใน มะตูม หวาย กล้วยไม้ม้าวิ่ง ทุเรียน ขนุน ฯลฯ และ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อพ.สธ. ได้ขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยในการตั้งคณะกรรมการกํากับ ดูแลการดําเนินงานการอนุรักษ์ และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชอนุรักษ์ อพ.สธ. 8 ชนิดได้แก่ ทุเรียน มะเกี๋ยง สัก มะกิ๊ง น้อยหน่าเครือ ตีนฮุ้งดอย กล้วยไม้ และชาเมี่ยง และเพิ่มพืชที่ 9 คือ ยางนา ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 และมีแนวโน้มที่จะดําเนินการให้พรรณพืชที่มีคุณค่าเพื่อการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ต่อไป        ผานิตย์ (2549) ได้ศึกษาเรื่องการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยพรรณไม้โครงสร้างบางชนิดต่อระบบนิเวศป่าดิบเขา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ป่าโครงสร้างมีชนิดพรรณไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหลากชนิดกว่าป่าเสื่อมโทรม ชนิดพรรณไม้ที่ขึ้นเป็นพรรณไม้ดัชนีในพื้นที่ป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นเท่านั้น คือ สารภีป่า ส่วนชนิดพรรณไม้ธรรมชาติที่ขึ้นบริเวณที่โล่งแจ้งและแห้งแล้งกว่า เช่น มะขามป้อม และเมื่อเปรียบเทียบการเจริญของไม้ปลูกเฉพาะในป่าโครงสร้างทั้ง 3 แปลง พบว่าการเจริญเติบโตด้านความสูงสัมพัทธ์และอัตราการล้มตายของพรรณไม้ทุกชนิดรวมกันไม่มีค่าความแตกต่างทางสถิติ ส่วนการเจริญเติบโตด้านความโตของเส้นผ่าศูนย์กลางระดับคอรากแตกต่างกันในทุกแปลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยแปลงป่าโครงสร้าง 2 มีการเจริญเติบโตสัมพันธ์ทั้งความโตและความสูงมากที่สุด แต่อัตราการรอดตายอยู่อันดับสอง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่และแปลง พบว่าแปลงป่าโครงสร้าง 2 มีหน้าดินลึกถึง 32 เซนติเมตร มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดสูงกว่าทุกแปลง ซึ่งสัมพันธ์กับค่าอินทรียวัตถุในดินและน้ำหนักซากพืชที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับป่าโครงสร้างปีเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับป่าอนุรักษ์ของชุมชนบ้านแม่สาใหม่ พบว่าป่าโครงสร้างมีชนิดพรรณไม้ที่ขึ้นในแปลงและลักษณะทางกายภาพของดินใกล้เคียงกับป่าอนุรักษ์มากกว่าป่าเสื่อมโทรม         อัตถ์ (2561) ได้ทำการศึกษาศักยภาพการให้ผลผลิตและลักษณะการเจริญเติบโตของชาเมี่ยง (camellia sinensis var. assamica) ในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาศักยภาพในการเจริญเติบโตของต้นชาเมี่ยง พบว่า 1) ความสูงของต้นชาเมี่ยงมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 1 เดือน โดยเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตร 2) มีจำนวนใบที่แตกใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2 ใบ และ 3) ความยาวของใบที่แตกใหม่โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.7 เซนติเมตร สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพในการให้ผลผลิตของต้นชาเมี่ยงในแปลงสาธิตที่มีอายุมากกว่า 10 ปี พบว่า มีขนาดทรงพุ่ม (กว้าง X ยาว) โดยเฉลี่ยเท่ากับ (70
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก            การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน   สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย       ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้   สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50         ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดล
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของสมบัติดินทางฟิสิกส์และทางเคมีในสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

-บ้านเหล่า (BL) ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 23 ถึง ภาพที่ 44) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 30 ถึง ภาพที่ 40) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดิน และ สมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง             การวิเคราะห์ปัจจัย โดยใช้การวิเคราะห์แบบ PCA (Principle Component Analysis) โดยใช้ปัจจัยทางเคมีของดิน ทั้ง 11 ปัจจัย ได้แก่ pH, CEC, OM, P, K, Na, Ca, Mg, Sand , Silt และ Clay  สำหรับพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยทางเคมีดินในพื้นที่สวนเมี่ยงที่แดสงออกเด่นชัดได้แก่ Ca, Mg และ K (รายละเอียดในตารางที่ 11 และภาพที่ 20) ตารางที่ 11 ปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง ของบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง และ ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)             จะนำข้อมูลที่เก็บรวมรวมได้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการถอดเทปสัมภาษณ์และการค้นหาเอกสารอ้างอิง ถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบสรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) และอธิบายสรุป เป็นข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมและศักยภาพในการผลิต ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเมี่ยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในห่วงโซ่อุปทานการเพาะปลูกชาเมี่ยง รวมถึงการหาแนวทางในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานของการผลิตเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)   โดยการบรรยายสรุปข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้สถิติในรูปของค่าเฉลี่ย (Mean) และร้อยละ(Percentage) เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการผลิตเป็นเมี่ยงหมัก ปริมาณผลผลิต   ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย             วิธีดำเนินงานศึกษาศึกษาการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย มีขั้นตอนดังต่อไปนี้  1.)    การสร้างแบบสัมภาษณ์ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง 2.)    นำแบบสัมภาษณ์มาตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมในประเด็นคำถาม และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในงานวิจัย 3.)   นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง 4.)    นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  5.)    สรุปผลจากการศึกษา 6.)    จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของสมบัติดินทางฟิสิกส์และทางเคมีในสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

-บ้านเหล่า (BL) ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 23 ถึง ภาพที่ 44) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 30 ถึง ภาพที่ 40) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ              สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

เอกสารอ้างอิง

    นิวัติ เรืองพานิช. 2558. นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. กองทุนจัดพิมพ์ตำราป่าไม้.           ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเพพฯ 258 หน้า ณัฐธัญ เจริญศรีวิไลวัฒน์ (2562) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดชันชันโรงโครงการวิจัยประเภทงบประมาณรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำ                 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ปฐวี แสงฉาย. 2536. ทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกชา (เมี่ยง) ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตำบล            ป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ผานิตย์ นาขยัน.  2549.  การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยพรรณไม้โครงสร้างบางชนิดต่อระบบนิเวศป่าดิบ เขา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัด                                         เชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.  มหาวิทยาลัยแม่โจ้. พรชัย ปรีชาปัญญา, ชลาธร  จูเจริญ, มงคล  โกไคยพิพัฒน์ และ กาญจนา  ขันคำ.  2547.           การจัดการลุ่มน้ำป่าเมี่ยงโดยชุมชนมีส่วนร่วม. เชียงใหม่: สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่ม วิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติ และ              สิ่งแวดล้อม. พรชัย ปรีชาปัญญา, ชลาธร จูเจริญ, มงคล โภไคยพิพัฒน์, ปภาดา อุทุมพันธ์, วารินทร์ จิระสุขทวีกุล และ อินทร สิงห์คํา. 2546. ภูมิปัญญานิเวศท้องถิ่นเกี่ยวกับวนเกษตรและการจัดการลุ่มน้ำที่สูง. กรุงเทพฯ: สถานีวิจัย                ลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่มวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. ศิวาพร ศิวเวช. (2546). วัตถุเจือปนอาหาร. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ. นครปฐม. 380 หน้า.                                                                                                                            สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, พนม  วิญญายอง, ธีรพงษ์  เทพกรณ์ และ ประภัสสร  ดำรงกุล อึ้งวณิชยพันธ์. 2551. การศึกษาสถานภาพปัจจุบันของชาในประเทศไทย.  กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัย สนับสนุนโดยสำนักงาน                  กองทุนสนับสนุนการวิจัย Abdullah, A. R., Bakhari, N. A., & Osman, H. (2013). Study on the relationship of the phenolic, flavonoid and tannin content to the antioxidant activity of Garcinia atroviridis. Universal Journal of                  Applied Science, 1(3), 95-100.                                                                                                                                              Aliaga, C., & Lissi, E. (1998). Reactio
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (ต่อ2)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

4.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านแม่ลัว (ML) ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

-บ้านแม่ลัว (ML) ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่             ด้วยข้อจำกัดของการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านแม่ลัวมีพื้นที่สวนชาเมี่ยง สวนหลังบ้าน และพื้นที่หย่อมป่า ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่บ้านป่าแหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 67 ถึง ภาพที่ 88) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 74 ถึง ภาพที่ 84) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูง ในขณะที่ความแข็งของดินสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)