5.) การบรรจุและจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงถูกบรรจุลงในตะกร้าไม้ไผ่ ขนาดกว้าง 65 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร โดยจะมีการนำถุงพลาสติกมาลองในเข่งที่บรรจุชาเมี่ยงได้ประมาณ 100 กำ (ประมาณ 50 กิโลกรัม) ก่อนปิดฝาด้านบน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงส่วนใหญ่จะขายชาเมี่ยงนึ่ง และชาเมี่ยงหมักราคาขายในแต่ละปีจะไม่เท่ากันเพราะความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นและจำนวนชาเมี่ยงที่เก็บได้น้อยลง จะอยู่ในช่วงประมาณ 24-26 บาทต่อกิโลกรัม
การจัดการห่วงโซ่อุทานการผลิตชาเมี่ยง ในจังหวัดลำปาง แสดงในภาพที่ 19 จะเห็นว่า ในกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ภายในห่วงโซ่มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ เกษตรกรผู้ทำการปลูก เก็บเกี่ยวและกระบวนการนึ่งที่เป็นเฉพาะครัวเรือน, เกษตรกรผู้รับซื้อของเพื่อนบ้านมาหมักต่อ, ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่ง และ ลูกค้า เมื่อเปรียบเทียบกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรในระดับพื้นฐาน การผลิตชาเมี่ยงในบริเวณนี้ยังถือว่าเป็นลักษณะห่วงโซ่ที่ไม่มีความซับซ้อนแต่จะแตกต่างจากจังหวัดแพร่ คือมีลักษณะของผู้แปรรูปในกระบวนการหมักแยกจากกลุ่มผู้ปลูกและผู้เก็บเกี่ยว มีการวางแผนการรับซื้อ และมีการลงทุนในอุปกรณ์การแปรรูปอย่างชัดเจน การตลาดยังคงมีลักษณะการผลิตแบบกึ่งพันธสัญญา จากการที่เกษตรกร ส่งให้กับพ่อค้าคนกลางรายเดิมทุกปี และมีบางส่วนที่เกษตรกรเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าของตนเอง โดยมีแหล่งลูกค้าประจำ ยังไม่พบในลักษณะการซื้อขายแบบประกันราคา การจัดสมดุลระหว่างระดับอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของชาเมี่ยงถือว่ามีความสมดุล คือไม่เกิดเหตุการณ์สินค้าขาดแคลน หรือสินค้าล้นตลาด แต่บางครั้งพบว่ามีการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
ภาพที่ 170 ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยงบ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
การผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดลำปางจะมีความแตกต่างจากจังหวัดแพร่ ในกระบวนการผลิตที่ผู้เก็บเกี่ยว ภายหลังจากการนึ่งซึ่งใช้เวลาในการนึ่งน้อยกว่า ในจังหวัดแพร่โดยใช้เวลานึ่งเพียง 1.30 ชั่วโมง จากนั้นนำมาขายต่อให้กับเกษตรกรที่ทำหน้าที่เหมือนกับพ่อค้าคนกลางในหมู่บ้านที่ทำการรับซื้อชาเมี่ยงเพื่อนำมาหมักต่อ ราคาซื้อขายจะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 20 บาท ชาเมี่ยงที่ผ่านการหมักแล้วจะถูกจัดจำหน่ายใน 2 ลักษณะ คือ 1.ชาเมี่ยงฝาด ใช้เวลาหมักอย่างน้อย 1 อาทิตย์ 2.ชาเมี่ยงส้ม ใช้เวลาหมักอย่างน้อย 3 เดือน ราคาขายชาเมี่ยงให้พ่อค้าคนกลางภายนอกพื้นที่อยู่ที่ราคาประมาณ กิโลกรัมละ 24-26 บาท และจะส่งต่อไปยังพ่อค้าคนกลาง หรือผู้ค้าปลีก เพื่อขายให้กับลูกค้าต่อไป จากการศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานสามารถสรุปได้ในตารางที่ 4-23 ดังนี้
ตารางที่ 68 ตารางสรุปผลการศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดลำปาง
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ จังหวัดลำปาง
จุดแข็ง
- มีตลาดที่รองรับการจัดจำหน่ายชาเมี่ยงในหลายจังหวัด และชาเมี่ยงในพื้นที่มีคุณภาพสูง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
- ผลผลิตชาเมี่ยงสามารถเก็บและจัดจำหน่ายได้ตลอดทั้งฤดู มีต้นทุนการผลิตต่ำ
- คนรุ่นจุดใหม่ยังนิยมอยู่และทำงานในถิ่นฐานของตน
อ่อน
- วิธีการเก็บชาเมี่ยงที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่น ที่เก็บหมดทั้งใบทำให้ระยะเวลาการผลิใบใหม่จนถึงการเก็บเกี่ยวครั้งต่อไปใช้เวลานานกว่าพื้นที่อื่น
- จำนวนคนในครัวเรือนไม่เพียงพอต่อกระบวนการในการผลิตชาเมี่ยงทำให้ต้องมีการจ้างแรงงานเพิ่มเติม ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
- ถึงแม้จะมีตลาดรองรับในหลายจังหวัดแต่พ่อค้าคนกลางไม่มีมากราย ทำให้บางครั้งประสบปัญหาการถูกกดราคา
โอกาส
- อยู่ใกล้กลับอุทยานแจ้ซ้อนซึ่งมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการเป็นประจำ สามารถต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมได้ในอนาคต
- ชาเมี่ยงมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นเช่น ชาชาเมี่ยง หมอนชาเมี่ยง เป็นต้น
- มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้มีแหล่งความรู้และงบประมาณในการส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน
อุปสรรค
- วัฒนธรรมการรับประทานชาเมี่ยงเป็นที่รู้จักเฉพาะคนรุ่นก่อนทำให้คนสมัยนี้ไม่นิยมในการรับประทานชาเมี่ยง
- มีพืชอย่างอื่นมาทดแทนชาเมี่ยงในระหว่างรอบระยะเวลาที่ไม่มีผลมีผลผลิตของชาเมี่ยงทำให้การทำชาเมี่ยงเกิดการลดจำนวนลง