การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด


    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)

ภาพที่ 60 ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

2.2 ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (Total Flavonoid content)

ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 5 พบว่า ปริมาณปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg mg quercetin eqi/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg quercetin eqi/g extract ตามลำดับ ซึ่งหลักการของ Al-flavonoid complexation reaction คือ การทำปฏิกิริยากันระหว่างอะลูมิเนียมไอออน และกลุ่ม o-dihydroxyl (3', 4'-OH) ในวงแหวน B และ o-dihydroxy ในโมเลกุลของสารประกอบฟลาโวนอยด์ซึ่งสามารถประสานกันช่วยเสริมให้จับกับอะลูมิเนียมไอออนได้ดียิ่งขึ้นเกิดผลิตภัณฑ์เป็นสารประกอบเชิงซ้อนของอะลูมิเนียมกับฟลาโวนอยด์ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ ฟลาโวนอยด์เป็นสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระพบในเม็ดสีชนิดละลายในน้ำของผักผลไม้เมล็ดธัญพืช ใบไม้และเปลือกไม้ฟลาโวนอยด์มีอยู่มากมายหลายชนิด และพืชแต่ละชนิดจะมีฟลาโวนอยด์แต่ละประเภทในความเข้มข้นที่ต่างกันไป แท้จริงแล้วมีการศึกษาหลายชิ้นพบว่าฟลาโวนอยด์บางชนิดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเหนือกว่าวิตามินซีหรือวิตามินอีถึง 50 เท่า และฟลาโวนอยด์ในองุ่นแดงมีความสามารถในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันแอลดีแอล (LDL-fat) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการอุดตันของเส้นเลือดแดงและการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าวิตามินอีถึงกว่าหนึ่งพันเท่า ในการการศึกษาทางคลินิกสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ได้ถูกพัฒนาเป็นยารักษาโรคมะเร็งซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์และชักนำการตายของเซลล์มะเร็งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติ และมีการออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุลบ่งชี้ว่าการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งของฟลาโวนอยด์ ได้แก่ การยับยั้งการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งซึ่งเป็นผลมาจากการหยุดวงวัฏจักรของเซลล์ และชักนำการตายแบบอะพอพโตซิส โดยกลไกการออกฤทธิ์ของสารกลุ่มฟลาโวนอยด์เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการส่งสัญญาณภายในเซลล์ และการแสดงออกของยีนส์ที่ขึ้นอยู่กับทรานสคริปชันแฟคเตอร์ NFKB รวมถึงการทำให้เกิดความเสียหายที่ระดับไมโทคอนเดรียของซึ่งส่งผลต่อสถานะเชิงพลังงานของเซลล์มะเร็ง (Rice-Evans, 2001)

ภาพที่ 61 ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

 

2.3 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• (DPPH radical scavenging activity) 
    ค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 6 พบว่า กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ของชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 322.16 224.29 225.00 และ 172.87 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 550.71 415.25 274.82 และ 200.35 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ สารประกอบฟีนอลิกใชชาเมี่ยงที่มีความสามารถในการให้ไฮโดรเจนอะตอมเพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชันของอนุมูลอิสระในขั้นต่อเนื่อง (chain reaction) ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงซึ่งทำ ปฏิกิริยากับ DPPH•  (2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl) ซึ่งเป็นแรดิคัลในตัวทำละลายเอทานอล สารละลายนี้มีสีม่วงซึ่งดูดกลืนแสงได้ดีที่ความยาวคลื่น 515-517 นาโนเมตร โดยเมื่อ DPPH• ทำปฏิกิริยากับสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สีของสารละลายสีม่วงจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยสามารถเปรียบเทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน Trolox (XJ Li & Cui, 2011) นอกจากนั้นยัง พบว่า สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดที่สูงจะมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมากตามไปด้วย  จากการทดลองนี้พบว่าปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมีความสัมพันธ์กับค่าความสามารถในการจับกับอนุมูลอิสระ DPPH•  โดยถ้ามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมาก จะทําให้มีความสามารถในการจับกับอนุมูลอิสระ DPPH•  ได้มากไปด้วย (Kim และคณะ 2007)

 

ภาพที่ 62 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

 

2.4 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• (ABTS radical scavenging activity)
กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 7 พบว่า กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ของชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน น่าน โดยมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 8,043.33 5,876.67 4,743.33 และ 3,843.33 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 5,154.67 4,141.33 4,008.00 และ 888.00 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ อย่างไรก็ตามกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ของชาเมี่ยงของจังหวัดแพร่และจังหวัดลำปางไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ซึ่งความสามารถในกำจัดอนุมูลอิสระ ABTS [2,2’-azinobis-(3-ethyl-benzothiazoline-6-sulfonic acid)] ใช้หลักการเหมือนกับการลดลงของอนุมูลอิสระ DPPH• แต่ในกรณี ABTS•  เป็นอนุมูลอิสระที่มีประจุเป็นบวก ในสารละลายจะมีสีเขียวเข้มและมีค่าการดูดกลืนแสงความยาวคลื่นสูงสุด 734 นาโนเมตร ในการติดตามปฏิกิริยา โดยในการลดลงของการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นดังกล่าว จะใช้เป็นตัวชี้วัดปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น (สีเขียวของสารละลายจางลง) ในการเตรียมอนุมูลอิสระของ ABTS เพื่อใช้ทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าในกรณีของ DPPH นั่นคือ ต้องนำเอา ABTS ไปบ่มกับ potassium persulfate ด้วยอัตราส่วน 1:0.5 (stoichiometry ratio) ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา12-16 ชั่วโมง เพื่อให้ได้อนุมูลอิสระที่เป็นประจุบวกของ ABTS•  ก่อนนำไปใช้ในการทดสอบปฏิกิริยาการต้านอนุมูลอิสระต่อไป (Aliaga & Lissi, 1998) ส่วนคาเทชิน (catechins) เป็นสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยคาเทชินมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant capacity) ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการบริโภคชา สมบัติการต้านอนุมูลอิสระทำให้คาเทชินมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง ได้แก่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง (Suganuma และคณะ 2011) ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (Matsuyama และคณะ 2008) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของในโรคเบาหวาน (Kao และคณะ 2006) และช่วยลดความอ้วน (Liu และคณะ 2014) เป็นต้น อย่างไรก็ตามการบริโภคชาเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณคาเทชิน รวมทั้งชีวปริมาณสารออกฤทธิ์หรือชีวประสิทธิผล (bioavailability) (Mukhtar and Ahmad, 2000) จากการศึกษา พบว่าการดื่มชาเขียวมีส่วนช่วยลดสภาวะ oxidative stress และเป็นการป้องกันการเกิด Erba และคณะ (2005) ออกซิเดชันในคน เนื่องจากคาเทชินในชามีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ (Reactive oxygen species: ROS) จำพวก superoxide radical, singlet oxygen, hydroxyl radical, peroxyl radical, nitric oxide, nitrogen dioxide และ peroxy nitrite ซึ่งจะช่วยลดการถูกทำลายในเนื้อเยื่อไขมัน โปรตีน และกรดนิวคลีอิคในเซลล์

ภาพที่ 63 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

 

2.5 ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (Ferric Reducing Antioxidant Power; FRAP) 
ค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (FRAP) ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 8 ค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกของชาเมี่ยงของจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 11,562.22  9,362.22 8,362.22 และ 5,006.67 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 14,984.44 10,384.44 9,095.56 และ 5,251.11 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ Ferric Reducing Ability Power (FRAP) Assay เป็นวิธีการวัดสมบัติการต้านออกซิเดชันโดยอาศัยหลักการวาสารต้านออกซิเดชันให้อิเล็กตรอนจึงจัดเป็นสารรีดิวซ์ (reducing agent) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า Total Antioxidant Capacity (TAC) เป็นการวัดความสามารถรวมในการรีดิวซ์ โดยใช้สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กเฟอริ ค Fe3+ ซึ่ง TPTZ (ferric tripyridyltriazine) เป็นสารทดสอบอะตอมของเหล็กในสารนี้จะถูกรีดิวซ์โดยสารต้านออกซิเดชัน ได้สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็ก Fe2+ และ TPTZ ซึ่งมีสีน้ำเงิน ดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 593 นาโนเมตรการวัดด้วย FRAP assayได้ FRAP value ออกมา เป็นวิธีการวัดค่าออกซิเดชันโดยทางอ้อม ว่าชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการอ๊อกซิเดชันโดยอาศัยการทำงานของกราฟมาตรฐานของ Trolox ในการเทียบ ถ้า Trolox อยู่สูง ฤทธิ์ต้านอนูมูลอิสระอยู่สูงเช่นกัน (Gliszczy?ska-?wig?o, 2006)

ภาพที่ 64 ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (FRAP) ของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

 

2.6 ความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส (Metal chelating activity)
ค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัสของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 9 ค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัสของชาเมี่ยงของจังหวัดเชียงใหม่สูงกว่าจังหวัดน่าน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่ โดยมีค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัสที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 164.69 138.90 135.47 และ 106.35 µmol EDTA equivalent/g sample ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัสที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 173.02 142.73 140.08 และ 115.18 µmol EDTA equivalent/g sample การศึกษาความสามารถในการจับโลหะ (Metal Chelating Activity) ด้วยวิธี Ferrous Metal Chelating เป็นตรวจสอบหาสารสกดัที่สามารถลดการเกิดปฏิกิริยาของสารเฟอร์โรซีน (Ferrozine) กับไอออนของ(Xican Li และคณะ 2011) Ebrahimzadeh และคณะ (2008) พบว่า สารประเภทฟลาโวนอยด์และแทนนินมีฤทธิ์ในการจับโลหะได้ดี นอกจากนี้ Mohan และคณะ (2012) รายงานว่าสารกลุ่มแทนนินและฟีนอลิกมีฤทธิ์ในการจับโลหะได้เช่นกัน

ภาพที่ 65 ค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส ของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยง
    ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ขากชาอัญสัม จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง และผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยงแสดงดังตารางที่ 1 พบว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง มีปริมาณฟีนิลิกทั้งหมด 40.19±0.42 mg gallic eqi/ กรัม ตัวอย่าง ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด 17.17±0.54 mg quercetin eqi/กรัม ตัวอย่าง กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• 6.44±0.31 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าง กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• 160.87±1.26 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าง ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก 231.24±2.43 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่างและค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส 3.29±0.12 μM EDTA eqi/กรัมตัวอย่าง ขณะที่ ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง มีปริมาณฟีนิลิกทั้งหมด 66.98±0.64 mg gallic eqi/ กรัม ตัวอย่าง ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด 28.62±0.52mg quercetin eqi/กรัม ตัวอย่าง กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• 10.74±0.22 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าง กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• 268.11±1.45 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าง ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก385.41±2.87μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าและค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส 5.49±0.14 μM EDTA eqi/กรัม ตัวอย่าง มีรายงานว่าณัฐธัญ เจริญศรีวิไลวัฒน์ (2562)  เตรียมตำรับน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันที่ใส่สารสกัดชันของชันโรง โดยศึกษาความคงตัวของตำรับที่อุณหภูมิ 30 องศาเซสเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60% (สภาวะปกติ) และอุณหภูมิ 45 องศาเซสเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75% (สภาวะเร่ง) เป็นเวลา 12 เดือน และประเมินลักษณะคุณภาพ พบว่าตำรับที่มีสารสกัดชันของชันโรงจะมีสีเหลือง เมื่อเก็บไว้มากกว่า 6 เดือนจะมีสีเหลืองเข้มข้น ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำยาบ้วนปากอยู่ในช่วง 5.87 – 6.15 และลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ในช่วง 4.60 – 5.01 เมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน เมื่อเก็บไว้ในสภาวะเร่งเป็นเวลา 6 เดือน น้ำยาบ้วนปากแสดงค่าร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH อยู่ในช่วง ร้อยละ 20.2 – 79.5 ตำรับยาสีฟันและเจลทาแผลในปาก มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง 7.62 – 7.93 และ 6.63 – 7.25 ตามลำดับ ร้อยละที่ระบุ ไว้ในฉลากของยาสีฟันและเจลทาแผลในปาก ลดลงจากช่วงร้อยละ 99 – 102.1 และ 105.9 – 109.1 อยู่ ในช่วง ร้อยละ 79.1 – 81 และ 88.2 – 90.3 เมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน ที่สภาวะเร่ง ค่า IC50 ตำรับยาสีฟัน และเจลทาแผลในปาก อยู่ในช่วง 73.01 – 488.15 และ 75.72 – 490.69 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เมื่อเก็บไว้ ในทั้งสองสภาวะเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งน้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟันและ เจลทาแผลในปากที่มีสารสกัดชันชันโรงที่ทราบปริมาณสารสกัดได้สำเร็จมีความคงตัวที่ดีในระยะเวลา 6 เดือน
 

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

          5.)    การบรรจุและจัดจำหน่าย  ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงถูกบรรจุลงในตะกร้าไม้ไผ่ ขนาดกว้าง 65 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร โดยจะมีการนำถุงพลาสติกมาลองในเข่งที่บรรจุชาเมี่ยงได้ประมาณ 100 กำ (ประมาณ 50 กิโลกรัม) ก่อนปิดฝาด้านบน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงส่วนใหญ่จะขายชาเมี่ยงนึ่ง และชาเมี่ยงหมักราคาขายในแต่ละปีจะไม่เท่ากันเพราะความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นและจำนวนชาเมี่ยงที่เก็บได้น้อยลง จะอยู่ในช่วงประมาณ 24-26 บาทต่อกิโลกรัม                 การจัดการห่วงโซ่อุทานการผลิตชาเมี่ยง ในจังหวัดลำปาง แสดงในภาพที่ 19 จะเห็นว่า ในกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ภายในห่วงโซ่มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ เกษตรกรผู้ทำการปลูก เก็บเกี่ยวและกระบวนการนึ่งที่เป็นเฉพาะครัวเรือน, เกษตรกรผู้รับซื้อของเพื่อนบ้านมาหมักต่อ, ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่ง และ ลูกค้า เมื่อเปรียบเทียบกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรในระดับพื้นฐาน การผลิตชาเมี่ยงในบริเวณนี้ยังถือว่าเป็นลักษณะห่วงโซ่ที่ไม่มีความซับซ้อนแต่จะแตกต่างจากจังหวัดแพร่ คือมีลักษณะของผู้แปรรูปในกระบวนการหมักแยกจากกลุ่มผู้ปลูกและผู้เก็บเกี่ยว มีการวางแผนการรับซื้อ และมีการลงทุนในอุปกรณ์การแปรรูปอย่างชัดเจน การตลาดยังคงมีลักษณะการผลิตแบบกึ่งพันธสัญญา จากการที่เกษตรกร ส่งให้กับพ่อค้าคนกลางรายเดิมทุกปี และมีบางส่วนที่เกษตรกรเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าของตนเอง โดยมีแหล่งลูกค้าประจำ ยังไม่พบในลักษณะการซื้อขายแบบประกันราคา การจัดสมดุลระหว่างระดับอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของชาเมี่ยงถือว่ามีความสมดุล คือไม่เกิดเหตุการณ์สินค้าขาดแคลน หรือสินค้าล้นตลาด แต่บางครั้งพบว่ามีการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินการวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย และ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการดำเนินการวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย ประชากร              ขอบเขตประชากรที่นำมาคัดเลือกเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่เพาะปลูกเมี่ยง 890 ไร่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 178 ครัวเรือน, เกษตรกร บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง มีพื้นที่เพาะปลูกเมี่ยง 995 ไร่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 199 ครัวเรือน และเกษตรกรบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูกเมี่ยง 805 ไร่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 161 ครัวเรือน  กลุ่มตัวอย่าง              เนื่องจากประชากรในแต่ละชุมชนอาศัยอยู่แบบกระจายตัวและลักษณะของพื้นที่เข้าถึงได้ยาก การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการแนะนำของผู้นำชุมชน และหน่วยตัวอย่างที่ได้เก็บข้อมูลก่อนหน้าที่มีการเก็บข้อมูลจากผู้ที่ผลิตเมี่ยงโดยการสัมภาษณ์และสอบถามแล้วขอคำแนะนำ ให้ติดต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมี่ยงรายอื่นๆ ต่อไป จึงได้กลุ่มตัวอย่างใน 3 พื้นที่ ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่ม บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่ม และบ้านเหล่า ตำบลเหมืองก่าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีทั้งหมด 2 ชุด เพื่อให้ได้ข้อมูลครบสมบูรณ์ ทั้งด้านโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน และ ด้านต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตเมี่ยง มีรายละเอียดดังนี้ เครื่องมือชุดที่ 1 ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) กับผู้นำชุมชนและกลุ่มเกษตรกร โดยกำหนดข้อคำถามจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ และปฐมภูมิ และการใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การกำหนดหัวข้อในการสนทนากำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์ประเด็นร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกเมี่ยง ข้อมูลด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการจดบันทึก การถ่ายภาพ และเครื่องบันทึกเสียงระหว่างการสัมภาษณ์และการสนทนา              งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยข้อมูลที่ได้จากการถอดเทปสัมภาษณ์จะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบสรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถามถูกนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)  ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่เป็นจำนวนร้อยละ (Percentage) และการหาค่าเฉลี่ย (Mean)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทาน สภาพแวดล้อมและการบริหารงาน ได้แก่ แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งแบ่งแบบสัมภาษณ์ ออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับข้อมูลการปลูกเมี่ยง ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของการปลูกเมี่ยง  พื้นที่ในการปลูก การดูแลรักษาเมี่ยง ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวเมี่ยง ได้แก่  อุปกรณ์ วิธีเก็บเมี่ยง  ผลผลิต  ส่วนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเมี่ยง ได้แก่ การเตรียมการนึ่งเมี่ยง การบ่มเมี่ยง การหมักเมี่ยง เวลา อุณหภูมิ การรักษาสินค้าคงคลัง ส่วนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับกระบวนการจัดจำหน่ายจากการผลิตเมี่ยง และปริมาณ          การผลผลิตการผลิตเมี่ยง ส่วนที่ 5 คำถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และศักยภาพ ได้แก่ จุดแข็งสภาพแวดล้อมภูมิอากาศ พื้นที่ในการปลูกเมี่ยง จุดอ่อนปัญหาเกี่ยวกับการเก็บ ปัญหาเกี่ยวกับการขาย การควบคุมราคาขาย เครื่องมือชุดที่ 2 ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง โดยแบ่งแบบสัมภาษณ์ออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้         ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์         ส่วนที่ 2 ต้นทุนและผลตอบแทน         การสร้างเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโดยใช้วิธีการคำนวณตามพฤติกรรมของต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร ผลผลิตทางการเกษตร รวมเป็นต้นทุนรวม อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน และจุดคุ้มทุน ประกอบไปด้วย             1. ต้นทุนจากการดูแลรักษาเมี่ยง            &nbs
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

4.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่