จุดคุ้มทุน (Break Even Point)
จุดคุ้มทุน (Break Even Point) หมายถึง จุดขายแสดงในรูปปริมาณหน่วยขายหรือราคาขาย ณ จุดที่ไม่เกิดกำไรหรือขาดทุน หากพิจารณาจะพบว่า ณ จุดคุ้มทุน คือ การที่กิจการจะต้องขาย เพื่อให้ยอดขาย ณ จุดดังกล่าวครอบคลุมทั้งต้นทุนผันแปรที่เกิดขึ้นทุกๆ หน่วยที่ขาย และขายด้วยปริมาณมากพอที่กำไรเกิดขึ้นแต่ละหน่วย เมื่อรวมกันแล้วมีมูลค่าเท่ากับต้นทุนคงที่ทั้งหมด จึงทำให้เกิดการเสมอตัว ไม่ขาดทุนหรือกำไร
การคำนวณจุดคุ้มทุน ในพื้นที่หมู่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีความแตกต่างกันในด้านต้นทุนคงที่ ราคาขาย และต้นทุนผันแปรจึงจำแสดงผลแยกรายตัวอย่างเพื่อให้เห็นความชัดเจนของผลลัพธ์ของจุดคุ้มทุนได้ตามลำดับดังนี้
ตารางที่ 59 แสดงการคำนวณจุดคุ้มทุนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัด แพร่ กลุ่มตัวอย่างที่ 1
จากตาราง 59 จุดคุ้มทุน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 1 มีต้นทุนคงที่ เท่ากับ 3,483 บาท ราคาขาย ชาเมี่ยง 28 บาทต่อกิโลกรัม ดั้งนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ 1 ต้องขายชาเมี่ยง ให้ได้ 139.32 กิโลกรัม ถึงจะคุ้มทุน
ตารางที่ 60 แสดงการคำนวณจุดคุ้มทุนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่ 2
จากตารางที่ 60 จุดคุ้มทุน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 2 มีต้นทุนคงที่ เท่ากับ 4,604 บาท ราคาขาย ชาเมี่ยง 28 บาทต่อกิโลกรัม ดั้งนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ 2 ต้องขายชาเมี่ยง ให้ได้ 460.4 กิโลกรัมถึงจะคุ้มทุน
ตารางที่ 61 แสดงการคำนวณจุดคุ้มทุนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่ 3
จากตาราง 61 จุดคุ้มทุน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 3 มีต้นทุนคงที่ เท่ากับ 683 บาท ราคาขาย ชาเมี่ยง 28 บาทต่อกิโลกรัม ดั้งนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ 3 ต้องขายชาเมี่ยง ให้ได้ 27.32 กิโลกรัมถึงจะคุ้มทุน
ตารางที่ 62 แสดงการคำนวณจุดคุ้มทุนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ 4
จากตารางที่ 62 จุดคุ้มทุน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 4 มีต้นทุนคงที่ เท่ากับ 2,635 บาท ราคาขาย ชาเมี่ยง 20 บาทต่อกิโลกรัม ดั้งนั้นกลุ่มตัวอย่างต้องขายชาเมี่ยง ให้ได้ 133.22 กิโลกรัมถึงจะคุ้มทุน
ตารางที่ 63 แสดงการคำนวณจุดคุ้มทุนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ 5
จากตารางที่ 63 จุดคุ้มทุน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 5 มีต้นทุนคงที่ เท่ากับ 2,900 บาท ราคาขาย ชาเมี่ยง 20 บาทต่อกิโลกรัม ดั้งนั้นกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวต้องขายชาเมี่ยง ให้ได้ 152.63 กิโลกรัมถึงจะคุ้มทุน
ตารางที่ 64 แสดงการคำนวณจุดคุ้มทุนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ 6
จากตารางที่ 64 จุดคุ้มทุน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 6 มีต้นทุนคงที่ เท่ากับ 273 บาท ราคาขาย ชาเมี่ยง 28 บาทต่อกิโลกรัม ดั้งนั้นกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ต้องขายชาเมี่ยง ให้ได้ 19.5 กิโลกรัมถึงจะคุ้มทุน
ตารางที่ 65 แสดงการคำนวณจุดคุ้มทุนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ 7
จากตารางที่ 65 จุดคุ้มทุน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 7 มีต้นทุนคงที่ เท่ากับ 575 บาท ราคาขาย ชาเมี่ยง 28 บาทต่อกิโลกรัม ดั้งนั้นกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวต้องขายชาเมี่ยง ให้ได้ 23.95 กิโลกรัมถึงจะคุ้มทุน
ตารางที่ 66 แสดงการคำนวณจุดคุ้มทุนการผลิตชาเมี่ยงของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ 8
จากตารางที่ 66 จุดคุ้มทุน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 8 มีต้นทุนคงที่ เท่ากับ 542 บาท ราคาขายชาเมี่ยง 28 บาทต่อกิโลกรัม ดั้งนั้นกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวต้องขายชาเมี่ยง ให้ได้ 22.58 กิโลกรัมถึงจะคุ้มทุน