การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion


    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ

หมายเหตุ - คือ ไม่มี Inhibition zone; ผลการทดลองแสดงข้อมูลค่า mean ± SD ซึ่งได้จากการทดลอง 3 ครั้ง และทดลองในแต่ละครั้ง 3 ซ้ำ
    ปริมาณสารสกัดใบชาเมี่ยง 20 µL/disc (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร)
    ชุดควบคุมผลลบใช้ (-)-Catechins 
    ชุดควบคุมผลบวกใช้ยาปฎิชีวนะ tetracycline ความเข้มข้น 30 µg/disc  
 

                                                                                                    ภาพที่ 59 การยับยั้งของแบคทีเรีย Streptococcus mutans ของสารสกัดใบชาเมี่ยง
                                                                                                                           1 = สารสกัดใบชาเมี่ยงพะเยา
                                                                                                                           2 = สารสกัดใบชาเมี่ยงเชียงราย       
                                                                                                                           3 = สารสกัดใบชาเมี่ยงแม่ฮ่องสอน 
                                                                                                                           4 = (-)-Catechins 
                                                                                                                           5 = ชุดควบคุมผลบวกใช้ยาปฎิชีวนะ tetracycline

                                                                                                                        A, B, C= ทำการทดลอง 3 ซ้ำ กับแบคทีเรียทดสอบ Streptococcus mutans

 

 2. การทดสอบหาค่า MIC และ MBC โดยวิธี broth microdilution
    จากการทดสอบหาค่า MIC ของสารสกัดใบชาเมี่ยง (ตารางที่ 2) พบว่าสารสกัดใบชาเมี่ยงสามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ S. mutans และ Lactobacillus spp. โดยให้ค่า MIC อยู่ในช่วง 125-256 µg/mL สำหรับยาปฎิชีวนะ tetracycline มีค่า MIC เท่ากับ 0.015 µg/mL ตามลำดับ

 

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสีฟันใบชาเมี่ยงและน้ำยาบ้วนปากใบชาเมี่ยง
ยาสีฟันใบชาเมี่ยง
     คุณสมบัติทางกายภาพ: ครีมข้น สีเขียว กลิ่นหอม pH 6-7 
 

 

น้ำยาบ้วนปากใบชาเมี่ยง 
      คุณสมบัติทางกายภาพ: สารละลายใส สีเขียวอ่อน กลิ่นหอม pH 6-7
 

         ช่องปากของมนุษย์เป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์มากกว่า 750 ชนิด โดยมีสภาวะที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดโรคในช่องปากได้ เช่น โรคปริทัศน์และโรคฟันผุ (Jenkinson and Lamont, 2005) โดยโรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่มีสาเหตุหลักจากแบคทีเรีย แบคทีเรียที่มีบทบาทสำคัญในการก่อโรค คือ S. mutans (Ban et al., 2010) การป้องกันโรคฟันผุไม่นิยมใช้ยาปฎิชีวนะเพราะยาปฎิชีวนะส่วนใหญ่ใช้รักษาโรคปริทัศต์อักเสบซึ่งมีสาเหตุจากแบคทีเรียแกรมลบ (Roberts and Mullany, 2010) ปัจจุบันจึงมีการศึกษาสารสกัดพืชเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในช่องปากเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการต้านเชื้อ S. mutans และป้องกันโรคฟันผุ เช่น น้ำยาบ้วนปากผสมสารสกัดกระเทียม (Chavan et. al., 2010) และสารสกัดสมุนไพรอื่นๆ (Haffajee et. al., 2008; Srikanth et. al., 2008) มีรายงานการศึกษาพืชหลายชนิดพบว่ามีฤทธิ์ในการต้านเชื้อก่อโรคฟันผุ เช่น สารสกัดเอทานอลจาก Piper cubeba มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย Streptococcus salivarius และ Streptococcus mitis โดยให้ค่า MIC = 90-200 µg/mL (Silva et. al., 2007) สารสกัดเอทานอลจาก Aristolochia cymbifera มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus casei ที่ MIC = 0.1-4.0 mg/mL (Alviano et. al., 2008)             ในการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อแบคทีเรีย S. mutans ให้ค่า MIC อยู่ระหว่าง 64-256 µg/mL และ MBC อยู่ระหว่าง 125-256 µg/mL (ตารางที่ 2) จากการรายงานก่อนหน้านี้สารสกัดจากชา (Camellia sinensis) สามารถต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. ได้โดยให้ค่า MIC และ MBC คือ16-32 µg/mL, 64-128 µg/mL และ 16-64 µg/mL, 64-256 µg/mL ตามลำดับ ขณะที่ (-) Catechin ซึ่งเป็นสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากสารสกัดใบชาเมี่ยงพบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. โดยให้ค่าMIC อยู่ระหว่าง 0.59-1.8 µg/mL สารสกัดใบชาเมี่ยงจึงมีฤทธิ์ที่ดีในการยับยั้งและฆ่าเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp.
    ปัจจัยสำคัญในการก่อโรคฟันผุและโรคอื่นๆในช่องปากโดยเฉพาะโรคปริทัศต์ คือ การก่อคราบจุลินทรีย์ที่ผิวฟันและบริเวณเหงือกของแบคทีเรียซึ่งเป็นปัจจัยแรกที่นำไปสู่การก่อโรคในช่องปาก (Marsh, 2006) แบคทีเรีย S. mutans เป็นแบคทีเรียชนิดแรกที่เริ่มสร้างคราบจุลินทรีย์เนื่องจากเชื้อสร้างเอนไซม์ glucosyltransferase จากการใช้น้ำตาล sucrose เอนไซม์ชนิดนี้จะไปสังเคราะห์ glucan หรือ extracellular polysaccharide มายึดเกาะที่ผิวฟันทำให้ยากการกำจัดออก (Bowen and Koo, 2011) glucan จึงเป็นตัวกลางให้แบคทีเรียชนิดอื่นมายึดเกาะรวมกันเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีความหนาและมีจุลินทรีย์ที่หลากหลาย (Colby and Russell, 1997) การยับยั้งการติดหรือยับยั้งการสร้าง biofilm จึงเป็นเหตุผลสำคัญในการยับยั้งการเกิดโรคฟันผุ สารสกัดจากพืชสามารถยับยั้งการเกาะติดและยับยั้งการสร้างเอนไซม์ของเชื้อ S. mutans ยกตัวอย่างเช่น การใช้สารสกัดจากพืช D. crassirhizoma สามารถยับยั้งการเกาะติดและการสร้างเอนไซม์ glucosyltransferase ทำให้สามารถลดการสร้าง glucan ชนิดที่ไม่ละลายน้ำลงได้อย่างมีนัยสำคัญ (Ban et. al., 2012) Xu และคณะ ได้ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดใบชาต่อการสร้าง biofilm พบว่าที่ความเข้มข้น 15.6 µg/mL สารสกัดสามารถยับยั้งการสร้าง biofilm ของเชื้อ S. mutans ได้อย่างน้อย 90 % (Xu et. al., 2011) ดังนั้นการป้องกันการยึดเกาะของแบคทีเรียพื้นผิวซึ่งเป็นระยะแรกของการพัฒนา biofilm หรือป้องกันการสังเคราะห์ glucan โดยเอนไซม์ glucosyltransferase จะทำให้แบคทีเรียติดกับผิวฟันได้น้อยลง (Palombo, 2011) ส่งผลให้เกิด biofilm หรือคราบจุลินทรีย์น้อยลงด้วย
    การสร้างกรดของแบคทีเรีย S. mutans ที่อยู่ภายใน biofilm จะไปสลายผิวฟันและทำให้เกิดฟันผุ การสร้างกรดของเชื้อ S. mutans เกิดจากการเมแทบอไลต์อาหารประเภทน้ำตาลไปเป็นกรดอินทรีย์โดยเฉพาะกรดแลคติก ทำให้ pH ภายใน biofilm ลดต่ำลง โดย pH ที่ทำให้เกิดการสลายผิวฟันได้ คือ pH ที่ต่ำกว่า 5 (Takahashi and Nyvad, 2011) และน้ำลายเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุม pH ในช่องปากและมีอิทธิพลต่อแบคทีเรียในช่องปาก pH ในช่องปากมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 6.75-7.25 หลังรับประทานอาหาร pH ในช่องปากจะเป็นกรด แต่ในสภาวะที่มีปริทัศต์อักเสบ น้ำลายจะมี pH ประมาณ 7.8 แบคทีเรียส่วนใหญ่ที่ตรวจพบในช่องปากสามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะ pH เป็นกลาง หากสภาวะ pH ในช่องปากเปลี่ยนแปลงไปความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ของแบคทีเรียก็แตกต่างกันไป เช่น แบคทีเรียกลุ่ม mutans streptococci จะเจริญได้ในสภาวะ pH ต่ำกว่า 5 และ Porphyromonas gingivalis เจริญได้ pH เป็นด่าง (Marsh, 2003) จากการศึกษา พบว่ามีพืชบางชนิดที่ pH 7.0 และ 5.5 ไม่ได้มีผลให้การออกฤทธิ์ของสารสกัดเปลี่ยนแปลงไป เช่น สารสกัดจาก garlic, cinnamon, yucca, arise, oregano, capsicum และ Camellia sinensis (Cardozo et. al., 2005) โดยปกติสภาวะในช่องปากมีค่า pH เป็นกลาง จึงไม่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของสารสกัดเมื่อนำไปใช้ในช่องปาก แม้ว่าสภาวะน้ำลายในช่องปากจะมีค่า pH เป็นกรดเนื่องจากเกิดฟันผุก็ตาม การเลือกใช้สารสกัดใบชาเมี่ยงในการทดสอบการยับยั้งเชื้อ S. mutans เนื่องจากชา (Camellia sinensis) มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางและอาหารหลายชนิด เช่น อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม ขนมอบและขนมหวาน ดังนั้นการนำสารสกัดใบชาเมี่ยงไปประยุกต์ใช้กับร่างกายมนุษย์จึงมีความปลอดภัยสูงและเป็นที่ยอมรับ

 

ผลการสำรวจความพึงพอใจการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดใบชาเมี่ยง
การสำรวจความพึงพอใจการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดใบชาเมี่ยง เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 31 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยผลการสำรวจ แบ่งออกเป็น 2  ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก จากสารสกัดจากใบชาเมี่ยง

ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป ของผู้ตอบแบบสอบถาม

       จากตารางพบว่า ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดใบชาเมี่ยง เป็นเพศชาย จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 58.06 และเป็นเพศหญิง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 41.94  มีสถานภาพโสด จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 77.42 สมรส จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.13 และหย่าร้าง/หม้าย/แยกกันอยู่ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.45 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 74.19 มัธยมศึกษา จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 9.68 ปวช./ปวส./อนุปริญญา จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 9.68 และปริญญาโทหรือสูงกว่า จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.45

 

ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดจากใบชาเมี่ยง
ด้านผลิตภัณฑ์ 
 

จากตารางพบว่า ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดใบชาเมี่ยงมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ด้านรสสัมผัสของผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.94) โดยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 61.29 รองลงมาคือ ระดับน้อย จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 19.35 ระดับมาก จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.90 ระดับมากที่สุดและน้อยที่สุด จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.23

ความคิดเห็นเพิ่มเติม
•    เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์แล้วรู้สึกสดชื่นและสะอาด แต่ระดับความเย็นมากเกินไป และมีรสเปรี้ยว ฝาดตามมา ทำให้ต้องบ้วนน้ำเปล่าอีกครั้ง ทำให้อาจจะไม่เหมาะกับผู้ที่มีแผลในช่องปาก
•    รสชาติของน้ำยามีความฝาดนิดหนึ่ง
•    ทำให้ปากชา ลิ้นชา
•    นำยามีความร้อน ซ่ามากเกินไป ทำให้ปากชา ลิ้นชา
•    รสชาติคล้ายยาธาตุน้ำขาว
 

จากตารางพบว่า ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดใบชาเมี่ยงมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ด้านกลิ่นของผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.00) โดยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 58.06 รองลงมาคือ ระดับมาก จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 22.58 ระดับน้อย จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.14 ระดับมากที่สุด จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.23
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
•    กลิ่นจากการดมมีความเย็นเกินไป เลยทำให้มีความรู้สึกไม่กล้าใช้ผลิตภัณฑ์ ทำให้เข้าใจว่าเป็นความเย็นจากแอลกอฮอร์ และอาจทำให้แสบช่องปาก 
•    กลิ่นอ่อนดี
 

จากตารางพบว่า ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดใบชาเมี่ยงมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ด้านสีของผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.29) โดยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 58.06 รองลงมาคือ ระดับมาก จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 25.81 ระดับน้อย จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 9.68 ระดับมากที่สุด จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.45
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
•    ควรใช้การแต่งสีจากธรรมชาติ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ดูน่าใช้มากขึ้น และป้องกันความเข้าใจผิดเมื่อเทใส่แก้วแล้ววางข้างน้ำเปล่า

 

จากตารางพบว่า ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดใบชาเมี่ยงหลังจากทดลองใช้ มีกลิ่นปากลดลง จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 59.37 เหงือกอักเสบลดลง จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.59 และมีผลไม่แตกต่างจากเดิม จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 28.13
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
•    กลิ่นปากหอมสดชื่นขึ้นหลังใช้ทันที 
•    กลิ่นปากลดลงจากเดิมในระดับหนึ่ง
•    ใช้แล้วลิ้นชา ลิ้นไร้ความรู้สึกในการทานอาหาร
•    ระหว่างวันจะให้ความรู้สึกเย็น ๆ อยู่ทั่วปาก ประมาณ 1-3 ชม.


ความเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
•    ลดความชา/ลดสารที่ทำให้ชาลงหน่อย
•    ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก เป็นตะกอนเห็นชัด
 

จากตารางพบว่า ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดใบชาเมี่ยง พอใจในวัสดุของบรรจุภัณฑ์ จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 80.65 และไม่พอใจ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 19.35
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
•    มีขนาดพอดีสามารถพกพาได้สะดวก
•    ฝาเล็ก ควรเป็นฝาที่ดวงน้ำยาได้
 

จากตารางพบว่า ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดใบชาเมี่ยง พอใจในข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 81.25 และไม่พอใจ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75

ความคิดเห็นเพิ่มเติม
•    ควรแสดงข้อมูลที่เป็นจุดขายให้ชัดเจน เลือกใช้รูปแบบตัวอักษรให้มีความทันสมัย และอ่านง่าย
•    ข้อมูลหลังขวดผลิตภัณฑ์มีความชัดเจนและละเอียด
•    การให้ข้อมูลควรตรวจทานให้ดีว่า ตัวอักษรทุกตัวมีความถูกต้อง (มีคำผิด)
 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

แบคทีเรียก่อโรคฟันผุ

      โรคทางช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น การเกิดกลิ่นปาก เป็นต้น ซึ่งโรคทางช่องปากที่พบบ่อย คือ ฟันผุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม เป็นต้น โดยสาเหตุสำคัญ คือ แบคทีเรียกลุ่มสเตรปโตค็อกไค (Streptococci) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก เช่น Streptococcus mutans, S. oralis, S. sanguinis, S. sobrinus และ Lactobacillus spp. เป็นต้น ที่ทำให้เกิดฟันผุได้เนื่องจากแบคทีเรียย่อยน้ำตาลที่ติดอยู่เป็นคราบบนฟันในคนที่ทำความสะอาดหรืออาหารติดซอกฟันเพื่อเอาไปใช้ในการสร้างกลูแคน (glucan) โดยการย่อยสลายทำให้ pH ต่ำ ซึ่งสภาวะเป็นกรดทำให้เคลือบฟันเสียแร่ธาตุในที่สุดสูญเสียเนื้อฟัน ผลที่เกิด คือ มีกลิ่นปาก ทำให้เหงือกอักเสบและปวดฟัน การเบาเทาอาการเบื้องต้น คือ ทานยาแก้ปวด หรือใช้น้ำยาบ้วนปากซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฆ่าแบคทีเรียซึ่งลดกลิ่นปากได้ (Papapanou et.al., 1998) นอกจากนี้โรคทางช่องปากที่พบบ่อยอีกชนิดหนึ่ง คือ การเจ็บคอซึ่งสาเหตุเกิดจากแบคทีเรียหลายๆ ชนิด ที่พบบ่อย คือ Group A beta haemolytic Streptococcus, Staphylococcus aureus ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบากร้าวไปถึงหู ทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่คางบวมโต ซึ่งการรักษา คือ ใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มเพนนิซิลิน (กรีฑาและคณะ, 2548) สำหรับแบคทีเรียที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นแบคทีเรียแกรมบวก คือ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp.  Streptococcus mutans   ลักษณะทั่วไป     Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม (Gram-positive cocci) ขนาด 0.5-0.75 µm เรียงตัวเป็นสายสั้นๆหรือสายยาวปานกลาง ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ (non-motile) เมื่อทดสอบ catalase ให้ผลลบ ถ้าเพาะเลี้ยงบนอาหาร blood agar (BA) และบ่มในสภาวะไม่มีออกซิเจน (anaerobic) เป็นเวลา 2 วัน โคโลนีจะมีสีขาวหรือเทา รูปร่างกลมหรือไม่แน่นอน (irregular) ขนาด 0.5-1.0 µm (ภาพ 1) บางครั้งโคโลนีจะค่อนข้างแข็ง มีแนวโน้มที่จะเกาะติดบนผิวอาหาร ไม่สลายเม็ดเลือดแดง (alpha or non-hemolytic) แต่มีโอกาสพบ beta-hemolytic บนอาหารที่มีส่วนผสมของ sucrose เช่น mitis salivarius agar (MSA) หรือ trytone, yeast extract, cystine (TYC) agar ซึ่งโคโลนีจะมีรูปร่างขรุขระกองทับกัน ขนาด 1.0 µm บางครั้งจะพบโคโลนีมีลักษณะคล้ายเม็ดบีดส์ droplets หรือของเหลวซึ่งเกิดจากเชื้อสร้าง extracellular polysaccharide หรือ glucan ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้อยู่รอบๆโคโลนี แต่บางครั้งจะพบเป็นแบบผงเรียบๆหรือเป็นเมือก (Sneath et al. 1986) S. mutans ส่วนใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีอากาศ หรือ มี N2 + CO2 หรือ CO2 เป็นหลัก แต่จะเจริญได้ดีในสภาวะที่ไม่มีอากาศ อุณหภูมิที่ทำให้สามารถเจริญได้ดี คือ 37?C และสามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิสูงสุด 45?C และต่ำสุดที่ 10?C (Sneath et. al. 1986)    ความสำคัญทางการแพทย์     Streptococcus mutans มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นทำให้เกิดโรคฟันผุที่ผิวฟันและรากฟัน (Takahashi and Nyvad, 2010) โรคฟันผุ     โรคฟันผุเป็นโรคที่พบบ่อยในช่องปากจัดเป็นโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียประจำถิ่นในช่องปาก  โรคฟันผุเกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อของฟันเฉพาะที่โดยเกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (demineralization) จากภาวะความเป็นกรดที่เกิดจากการย่อยสลายอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตของแบคทีเรียบางชนิดในคราบจุลินทรีย์ (dental plaque) หรือ biofilm ได้แก่ mutans streptococci (S. mutans และ S. sobrinus) และ lactobacilli (Loesche, 2007) กลไกการก่อโรคฟันผุของ Streptococcus mutans 1. Adhesion     ความสามารถในการยึดเกาะของเชื้อ S. mutans เป็นปัจจัยหลักในการเกิดคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm ที่ผิวฟัน ซึ่งจะเกิดฟันผุตามมาโดยจะขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการ ดังนี้    1.1.    Sucrose – independent adhesion      เป็นการยึดเกาะโดยใช้โปรตีนที่เรียกว่า antigen I / II เป็นโปรตีนที่มีขนาด 185 kDa โปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน Streptococcus sp. ที่อยู่ในช่องปากสายพันธุ์อื่นๆได้ด้วย (Ma et al., 1995) โดยมีระบบเรียกแตกต่างออกไป เช่น P1, Spa, O, Sr, Pac และ antigen B โปรตีนในกลุ่ม antigen I / II จะมีโครงสร้างของส่วนที่เหมือนกันแต่มีบางส่วนที่ต่างกันจึงทำให้ความสามารถในการยึดเกาะกับโปรตีนต่างๆในน้ำลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 1* และคณะ Thanakorn Lattirasuvan1*  1*สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 ……………………………………………………………….. บทคัดย่อ             การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ โดยทำการเลือกพื้นที่ 3 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดประกอบด้วย บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านกอก จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่สุ่มเลือกตัวแทนพื้นที่ละ 5 แปลง  วางแปลงสำรวจพืชที่ขึ้นร่วมกับสวนชาเมี่ยง เก็บตัวอย่างดิน ทั้งดินชั้นบน (0-5 cm) และดินชั้นล่าง (20-25 cm) วิเคราะห์สมบัติดินทั้งทางเคมีและกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางด้านเคมี พบว่าดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร     กิจกรรมนี้มีการวิจัยด้านค้นคว้าหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans โดยใช้สารสกัดจาก ใบเมี่ยงอบแห้งโดยสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ คำสำคัญ: ชาเมี่ยง สารต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรียสาเหตุโรคทางเดินอาหาร คาเทซิน กรรมวิธีการสกัด นิเวศวิทยา ภาคเหนือประเทศไทย การใช้ประโยชน์   ABSTRACT The study of “The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern” was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) and 2) to research the isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความสำคัญของปัญหา

      ป่าเมี่ยง เป็นระบบวนเกษตร ที่มีการทำการเกษตรภายใต้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการรักษาต้นไม้ การทำแนวกันไฟ การไม่ใช้สารเคมีในการจัดการ ซึ่ง Preechapanya (1996) ได้ทำการสำรวจตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ป่าเมี่ยง ลุ่มน้ำแม่ตอนหลวง พบว่าป่าเมี่ยง ประกอบด้วยความหลายหลายทางชีวมากกมาย จากนั้นพรชัย และพงษ์ศักดิ์ (2542) กล่าวว่าป่าเมี่ยงมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีตจันถึงปัจจุบัน เป็นการระบบวนเกตรดั้งเดิมที่เก่าแก่ ที่บรรพบุรุษของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือเรียนรู้จากธรรมชาติ และนำมาปฏิบัติมาช้านานเป็นระบบเพาะปลูกที่ผสมผสานระหว่างป่าไม้ เกษตร และเลี้ยงสัตว์ ที่มุ่งการผลิตอาหาร สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต และรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตสินค้า หมู่บ้านป่าเมี่ยงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายรอบป่าใหญ่ ประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านเหล่านี้ทำหน้าที่ผู้รักษาปกปักรักษาผืนป่า เป็นบ้านเล็กในป่าใหญ่ เป็นตัวอย่างของคนกับป่าที่อยู่กันได้เกื้อกูลซึ่งกันและกันประชาชนเหล่านี้ประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจเลี้ยงตนเอง ควบคู่ไปกับรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ป่าเมี่ยงเป็นพื้นที่ป่ากันชนที่ปกป้องป่าดิบเขาที่ควรศึกษาเรียนรู้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแบบอย่างของภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวกับระบบวนเกษตร เพื่อการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กในเขตภูเขา หมู่บ้านป่าเมี่ยง ตั้งอยู่กระจายล้อมรอบบริเวณเทือกเขาผีปันน้ำบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นเขตกันชนระหว่างพื้นที่เกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี ป้องกันการบุกรุกของคนที่ใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหนึ่งบุกรุกเขาไปทำประโยชน์ที่ดินข้างเคียงตัวอย่าง เช่น เป็นพื้นที่ป้องกันชาวไร่ที่ทำไร่เลื่อนลอยบุกรุกเข้าไปทำลายป่าธรรมชาติ หรือเป็นเขตที่ป้องกันภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ จากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งอาทิ เช่น เป็นแนวป้องกันไฟป่า ความรุนแรงของลมกระแสน้ำในลำธาร การซะล้างพังทลายของหน้าดิน การขยายตัวของความแห้งแล้ง เป็นต้น ในปัจจุบันบางส่วนกลายเป็นอุทยานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา เป็นต้น เป็นแหล่งต้นนำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำปิงตอนบน บริเวณที่ผ่านอำเภอเชียงดาว แม่น้ำแม่งัด กวง ลาว อิง วัง และยม เมี่ยงยังเป็นพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญ และทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ในปัจจุบันสวนเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ค่อยๆ เริ่มหายออกไปจากพื้นที่ที่เคยเป็นสวนเมี่ยงมาก่อน เพราะราคาเมี่ยงในปัจจุบันมีราคาที่ต่ำ เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการบริโภค อีกทั้งยังขาดแคลนแรงงาน และมีพืชเกษตรชนิดอื่นเข้ามาแล้วมีราคาสูงกว่า เช่น กาแฟ ยางพารา เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงสนใจที่จะทำการศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชในเมี่ยง คุณสมบัติดิน เพื่อที่จะเป็นแนวทางการฟื้นฟู และอนุรักษ์สวนเมี่ยงให้คงอยู่ต่อไป      Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในช่องปากโดยเฉพาะที่ผิวฟันและเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดฟันผุโดยเฉพาะในเด็กเพราะเชื้อสามารถสร้าง extracellular polysaccharide (EPS) ได้ทั้งแบบละลายน้ำ (soluble) และไม่ละลายน้ำ (insoluble) จากการใช้น้ำตาล sucrose ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ (plaque formation) หรือ biofilm ที่ผิวฟัน นอกจากนี้ S. mutans สามารถสร้างกรดจากการใช้น้ำตาลและทนกรดได้ดีจึงทำให้สามารถอยู่รอดในสภาวะที่มีค่า pH ต่ำ กรดที่เชื้อสร้างขึ้นภายในช่องปากจะไปสลายผิวฟันเป็นผลทำให้เกิดฟันผุตามมา (Loesche, 2007)         การป้องกันการเกิดฟันผุสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้น้ำตาลเทียมทดแทนน้ำตาล sucrose การใช้ fluoride การใช้ sealants เคลือบหลุมร่องฟัน การใช้สารป้องกันการก่อคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากที่มี chlorhexidine เป็นส่วนประกอบ แต่ในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุนั้นต้องใช้ต้นทุนสูงและเชื้อก่อโรคในช่องปากหลายชนิดมีความสามารถในการดื้อยาเพิ่มขึ้นและยาปฎิชีวนะหลายชนิดเริ่มใช้ไม่ได้ผล เช่น penicillin, erythromycin, tetracycline, cephalosporins และ metronidazole (Bidault et. al., 2007) อีกทั้งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการอาเจียน ท้องเสียและมีคราบสีเกิดขึ้นที่ฟัน หลายประเทศจึงต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคในช่องปากที่มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง มีประสิทธิภาพในการรักษาและราคาถูก (Palombo, 201
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

แบคทีเรียก่อโรคฟันผุ

      โรคทางช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น การเกิดกลิ่นปาก เป็นต้น ซึ่งโรคทางช่องปากที่พบบ่อย คือ ฟันผุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม เป็นต้น โดยสาเหตุสำคัญ คือ แบคทีเรียกลุ่มสเตรปโตค็อกไค (Streptococci) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก เช่น Streptococcus mutans, S. oralis, S. sanguinis, S. sobrinus และ Lactobacillus spp. เป็นต้น ที่ทำให้เกิดฟันผุได้เนื่องจากแบคทีเรียย่อยน้ำตาลที่ติดอยู่เป็นคราบบนฟันในคนที่ทำความสะอาดหรืออาหารติดซอกฟันเพื่อเอาไปใช้ในการสร้างกลูแคน (glucan) โดยการย่อยสลายทำให้ pH ต่ำ ซึ่งสภาวะเป็นกรดทำให้เคลือบฟันเสียแร่ธาตุในที่สุดสูญเสียเนื้อฟัน ผลที่เกิด คือ มีกลิ่นปาก ทำให้เหงือกอักเสบและปวดฟัน การเบาเทาอาการเบื้องต้น คือ ทานยาแก้ปวด หรือใช้น้ำยาบ้วนปากซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฆ่าแบคทีเรียซึ่งลดกลิ่นปากได้ (Papapanou et.al., 1998) นอกจากนี้โรคทางช่องปากที่พบบ่อยอีกชนิดหนึ่ง คือ การเจ็บคอซึ่งสาเหตุเกิดจากแบคทีเรียหลายๆ ชนิด ที่พบบ่อย คือ Group A beta haemolytic Streptococcus, Staphylococcus aureus ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบากร้าวไปถึงหู ทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่คางบวมโต ซึ่งการรักษา คือ ใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มเพนนิซิลิน (กรีฑาและคณะ, 2548) สำหรับแบคทีเรียที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นแบคทีเรียแกรมบวก คือ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp.  Streptococcus mutans   ลักษณะทั่วไป     Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม (Gram-positive cocci) ขนาด 0.5-0.75 µm เรียงตัวเป็นสายสั้นๆหรือสายยาวปานกลาง ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ (non-motile) เมื่อทดสอบ catalase ให้ผลลบ ถ้าเพาะเลี้ยงบนอาหาร blood agar (BA) และบ่มในสภาวะไม่มีออกซิเจน (anaerobic) เป็นเวลา 2 วัน โคโลนีจะมีสีขาวหรือเทา รูปร่างกลมหรือไม่แน่นอน (irregular) ขนาด 0.5-1.0 µm (ภาพ 1) บางครั้งโคโลนีจะค่อนข้างแข็ง มีแนวโน้มที่จะเกาะติดบนผิวอาหาร ไม่สลายเม็ดเลือดแดง (alpha or non-hemolytic) แต่มีโอกาสพบ beta-hemolytic บนอาหารที่มีส่วนผสมของ sucrose เช่น mitis salivarius agar (MSA) หรือ trytone, yeast extract, cystine (TYC) agar ซึ่งโคโลนีจะมีรูปร่างขรุขระกองทับกัน ขนาด 1.0 µm บางครั้งจะพบโคโลนีมีลักษณะคล้ายเม็ดบีดส์ droplets หรือของเหลวซึ่งเกิดจากเชื้อสร้าง extracellular polysaccharide หรือ glucan ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้อยู่รอบๆโคโลนี แต่บางครั้งจะพบเป็นแบบผงเรียบๆหรือเป็นเมือก (Sneath et al. 1986) S. mutans ส่วนใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีอากาศ หรือ มี N2 + CO2 หรือ CO2 เป็นหลัก แต่จะเจริญได้ดีในสภาวะที่ไม่มีอากาศ อุณหภูมิที่ทำให้สามารถเจริญได้ดี คือ 37?C และสามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิสูงสุด 45?C และต่ำสุดที่ 10?C (Sneath et. al. 1986)    ความสำคัญทางการแพทย์     Streptococcus mutans มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นทำให้เกิดโรคฟันผุที่ผิวฟันและรากฟัน (Takahashi and Nyvad, 2010) โรคฟันผุ     โรคฟันผุเป็นโรคที่พบบ่อยในช่องปากจัดเป็นโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียประจำถิ่นในช่องปาก  โรคฟันผุเกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อของฟันเฉพาะที่โดยเกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (demineralization) จากภาวะความเป็นกรดที่เกิดจากการย่อยสลายอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตของแบคทีเรียบางชนิดในคราบจุลินทรีย์ (dental plaque) หรือ biofilm ได้แก่ mutans streptococci (S. mutans และ S. sobrinus) และ lactobacilli (Loesche, 2007) กลไกการก่อโรคฟันผุของ Streptococcus mutans 1. Adhesion     ความสามารถในการยึดเกาะของเชื้อ S. mutans เป็นปัจจัยหลักในการเกิดคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm ที่ผิวฟัน ซึ่งจะเกิดฟันผุตามมาโดยจะขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการ ดังนี้    1.1.    Sucrose – independent adhesion      เป็นการยึดเกาะโดยใช้โปรตีนที่เรียกว่า antigen I / II เป็นโปรตีนที่มีขนาด 185 kDa โปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน Streptococcus sp. ที่อยู่ในช่องปากสายพันธุ์อื่นๆได้ด้วย (Ma et al., 1995) โดยมีระบบเรียกแตกต่างออกไป เช่น P1, Spa, O, Sr, Pac และ antigen B โปรตีนในกลุ่ม antigen I / II จะมีโครงสร้างของส่วนที่เหมือนกันแต่มีบางส่วนที่ต่างกันจึงทำให้ความสามารถในการยึดเกาะกับโปรตีนต่างๆในน้ำลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความสำคัญของปัญหา

      ป่าเมี่ยง เป็นระบบวนเกษตร ที่มีการทำการเกษตรภายใต้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการรักษาต้นไม้ การทำแนวกันไฟ การไม่ใช้สารเคมีในการจัดการ ซึ่ง Preechapanya (1996) ได้ทำการสำรวจตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ป่าเมี่ยง ลุ่มน้ำแม่ตอนหลวง พบว่าป่าเมี่ยง ประกอบด้วยความหลายหลายทางชีวมากกมาย จากนั้นพรชัย และพงษ์ศักดิ์ (2542) กล่าวว่าป่าเมี่ยงมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีตจันถึงปัจจุบัน เป็นการระบบวนเกตรดั้งเดิมที่เก่าแก่ ที่บรรพบุรุษของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือเรียนรู้จากธรรมชาติ และนำมาปฏิบัติมาช้านานเป็นระบบเพาะปลูกที่ผสมผสานระหว่างป่าไม้ เกษตร และเลี้ยงสัตว์ ที่มุ่งการผลิตอาหาร สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต และรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตสินค้า หมู่บ้านป่าเมี่ยงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายรอบป่าใหญ่ ประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านเหล่านี้ทำหน้าที่ผู้รักษาปกปักรักษาผืนป่า เป็นบ้านเล็กในป่าใหญ่ เป็นตัวอย่างของคนกับป่าที่อยู่กันได้เกื้อกูลซึ่งกันและกันประชาชนเหล่านี้ประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจเลี้ยงตนเอง ควบคู่ไปกับรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ป่าเมี่ยงเป็นพื้นที่ป่ากันชนที่ปกป้องป่าดิบเขาที่ควรศึกษาเรียนรู้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแบบอย่างของภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวกับระบบวนเกษตร เพื่อการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กในเขตภูเขา หมู่บ้านป่าเมี่ยง ตั้งอยู่กระจายล้อมรอบบริเวณเทือกเขาผีปันน้ำบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นเขตกันชนระหว่างพื้นที่เกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี ป้องกันการบุกรุกของคนที่ใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหนึ่งบุกรุกเขาไปทำประโยชน์ที่ดินข้างเคียงตัวอย่าง เช่น เป็นพื้นที่ป้องกันชาวไร่ที่ทำไร่เลื่อนลอยบุกรุกเข้าไปทำลายป่าธรรมชาติ หรือเป็นเขตที่ป้องกันภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ จากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งอาทิ เช่น เป็นแนวป้องกันไฟป่า ความรุนแรงของลมกระแสน้ำในลำธาร การซะล้างพังทลายของหน้าดิน การขยายตัวของความแห้งแล้ง เป็นต้น ในปัจจุบันบางส่วนกลายเป็นอุทยานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา เป็นต้น เป็นแหล่งต้นนำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำปิงตอนบน บริเวณที่ผ่านอำเภอเชียงดาว แม่น้ำแม่งัด กวง ลาว อิง วัง และยม เมี่ยงยังเป็นพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญ และทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ในปัจจุบันสวนเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ค่อยๆ เริ่มหายออกไปจากพื้นที่ที่เคยเป็นสวนเมี่ยงมาก่อน เพราะราคาเมี่ยงในปัจจุบันมีราคาที่ต่ำ เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการบริโภค อีกทั้งยังขาดแคลนแรงงาน และมีพืชเกษตรชนิดอื่นเข้ามาแล้วมีราคาสูงกว่า เช่น กาแฟ ยางพารา เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงสนใจที่จะทำการศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชในเมี่ยง คุณสมบัติดิน เพื่อที่จะเป็นแนวทางการฟื้นฟู และอนุรักษ์สวนเมี่ยงให้คงอยู่ต่อไป      Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในช่องปากโดยเฉพาะที่ผิวฟันและเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดฟันผุโดยเฉพาะในเด็กเพราะเชื้อสามารถสร้าง extracellular polysaccharide (EPS) ได้ทั้งแบบละลายน้ำ (soluble) และไม่ละลายน้ำ (insoluble) จากการใช้น้ำตาล sucrose ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ (plaque formation) หรือ biofilm ที่ผิวฟัน นอกจากนี้ S. mutans สามารถสร้างกรดจากการใช้น้ำตาลและทนกรดได้ดีจึงทำให้สามารถอยู่รอดในสภาวะที่มีค่า pH ต่ำ กรดที่เชื้อสร้างขึ้นภายในช่องปากจะไปสลายผิวฟันเป็นผลทำให้เกิดฟันผุตามมา (Loesche, 2007)         การป้องกันการเกิดฟันผุสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้น้ำตาลเทียมทดแทนน้ำตาล sucrose การใช้ fluoride การใช้ sealants เคลือบหลุมร่องฟัน การใช้สารป้องกันการก่อคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากที่มี chlorhexidine เป็นส่วนประกอบ แต่ในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุนั้นต้องใช้ต้นทุนสูงและเชื้อก่อโรคในช่องปากหลายชนิดมีความสามารถในการดื้อยาเพิ่มขึ้นและยาปฎิชีวนะหลายชนิดเริ่มใช้ไม่ได้ผล เช่น penicillin, erythromycin, tetracycline, cephalosporins และ metronidazole (Bidault et. al., 2007) อีกทั้งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการอาเจียน ท้องเสียและมีคราบสีเกิดขึ้นที่ฟัน หลายประเทศจึงต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคในช่องปากที่มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง มีประสิทธิภาพในการรักษาและราคาถูก (Palombo, 201
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

คุณประโยชน์ใบชา

คุณประโยชน์ใบชา (สถาบันชา, 2555)             องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่มีอยู่ในใบชา ได้แก่ สารกลุ่มคาเทชิน เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญของใบชา ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ผลิตจากใบชา จึงประกอบด้วย สารสำคัญที่มีคุณประโยชน์ เช่นเดียวกัน คุณประโยชน์ของเมี่ยงหมักสามารถจำแนกตามฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้ดังต่อไปนี้  1. ชากับการต้านอนุมูลอิสระ             ชา ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ประเภท ฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า คาเทชิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง  โรคหัวใจ  และ ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้ 2. ชากับโรคมะเร็ง             การดื่มน้ำชาเป็นประจำสามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งเต้านม สารคาเทชิน (Catechins) ในชามีผลยับยั้งมะเร็ง ด้วยกลไกที่หลากหลาย คาเทชินที่ ออกฤทธิ์ต้านมะเร็งที่สำคัญคือ Epigallocatechin gallate (EGCG) 3. ชากับโรคหัวใจ             คาเทชิน (Catechins)  ช่วยลดการเกร็งของเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอนในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด อัมพฤษ์ และ อัมพาฒจากเส้นเลือดตีบตัน นอกจากนี้ Epigallocatechin gallate (EGCG) ยังช่วยลด                       การเกิดออกซิเดชันของโคเลสเตอรอล ลดการสะสม และ การสร้างตะกอนในเส้นเลือดจากโคเลสเตอรอล ลดการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน และ ลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 4. ชากับโรคเบาหวาน           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยแป้ง คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ทั้งในน้ำลายและลำไส้  ทำให้แป้งถูกย่อยได้ช้าลง ช่วยให้การเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ นอกจากนั้น ชาเขียวยังลดการดูดซึมของกลูโคสที่ลำไส้ 5. ชากับสุขภาพช่องปาก           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากซึ่งมีทั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องปาก Porphyromonas gingivilis และ แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ Stretococcus mutans คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย ทำให้มีปริมาณกลูโคส และ มอลโตสน้อยลง ซึ่งเป็นผลลดปริมาณอาหารของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้ คาเทชินยังช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ป้องกันฟันผุ 6. ชากับโรคอุจจาระร่วง             Polyphenols มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย โดย Polyphenols สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย การดื่มชา สามารถใช้รักษาโรคอุจจาระร่วงได้ และ สามารถฆ่าสปอร์ของ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ และ สามารถฆ่าแบคทีเรียที่ทนความร้อน เช่น Bacillus subtilis, B. cereus, Vibrio parahaemolyticus และ Clostridium perfringens 7. ชากับโรคอ้วน             ชา ประกอบด้วยสารสำคัญ เรียกว่า โพลิฟีนอล (Polyphenols) ที่มีความสามารถยับยั้งเอนไซม์ Catechol-O-methyl transferase จึงช่วยกระตุ้นการสร้างความร้อนของร่างกาย มีส่วนช่วยเผาผลาญพลังงาน และ ช่วยจัดการกับโรคอ้วน ทั้งยังมีคุณสมบัติในการชะลอการปล่อยกลูโคส (Glucose) สู่กระแสเลือด ทำให้ชะลอการสร้างอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้ร่างกายสะสมไขมัน ดังนั้น ร่างกายจึงเผาผลาญไขมันแทนที่จะสะสมไขมัน 8. ชากับการผ่อนคลายของระบบประสาท
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดิน และ สมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง             การวิเคราะห์ปัจจัย โดยใช้การวิเคราะห์แบบ PCA (Principle Component Analysis) โดยใช้ปัจจัยทางเคมีของดิน ทั้ง 11 ปัจจัย ได้แก่ pH, CEC, OM, P, K, Na, Ca, Mg, Sand , Silt และ Clay  สำหรับพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยทางเคมีดินในพื้นที่สวนเมี่ยงที่แดสงออกเด่นชัดได้แก่ Ca, Mg และ K (รายละเอียดในตารางที่ 11 และภาพที่ 20) ตารางที่ 11 ปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง ของบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินการวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย และ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการดำเนินการวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย ประชากร              ขอบเขตประชากรที่นำมาคัดเลือกเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่เพาะปลูกเมี่ยง 890 ไร่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 178 ครัวเรือน, เกษตรกร บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง มีพื้นที่เพาะปลูกเมี่ยง 995 ไร่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 199 ครัวเรือน และเกษตรกรบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูกเมี่ยง 805 ไร่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 161 ครัวเรือน  กลุ่มตัวอย่าง              เนื่องจากประชากรในแต่ละชุมชนอาศัยอยู่แบบกระจายตัวและลักษณะของพื้นที่เข้าถึงได้ยาก การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการแนะนำของผู้นำชุมชน และหน่วยตัวอย่างที่ได้เก็บข้อมูลก่อนหน้าที่มีการเก็บข้อมูลจากผู้ที่ผลิตเมี่ยงโดยการสัมภาษณ์และสอบถามแล้วขอคำแนะนำ ให้ติดต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมี่ยงรายอื่นๆ ต่อไป จึงได้กลุ่มตัวอย่างใน 3 พื้นที่ ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่ม บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่ม และบ้านเหล่า ตำบลเหมืองก่าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีทั้งหมด 2 ชุด เพื่อให้ได้ข้อมูลครบสมบูรณ์ ทั้งด้านโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน และ ด้านต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตเมี่ยง มีรายละเอียดดังนี้ เครื่องมือชุดที่ 1 ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) กับผู้นำชุมชนและกลุ่มเกษตรกร โดยกำหนดข้อคำถามจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ และปฐมภูมิ และการใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การกำหนดหัวข้อในการสนทนากำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์ประเด็นร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกเมี่ยง ข้อมูลด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการจดบันทึก การถ่ายภาพ และเครื่องบันทึกเสียงระหว่างการสัมภาษณ์และการสนทนา              งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยข้อมูลที่ได้จากการถอดเทปสัมภาษณ์จะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบสรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถามถูกนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)  ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่เป็นจำนวนร้อยละ (Percentage) และการหาค่าเฉลี่ย (Mean)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทาน สภาพแวดล้อมและการบริหารงาน ได้แก่ แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งแบ่งแบบสัมภาษณ์ ออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับข้อมูลการปลูกเมี่ยง ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของการปลูกเมี่ยง  พื้นที่ในการปลูก การดูแลรักษาเมี่ยง ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวเมี่ยง ได้แก่  อุปกรณ์ วิธีเก็บเมี่ยง  ผลผลิต  ส่วนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเมี่ยง ได้แก่ การเตรียมการนึ่งเมี่ยง การบ่มเมี่ยง การหมักเมี่ยง เวลา อุณหภูมิ การรักษาสินค้าคงคลัง ส่วนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับกระบวนการจัดจำหน่ายจากการผลิตเมี่ยง และปริมาณ          การผลผลิตการผลิตเมี่ยง ส่วนที่ 5 คำถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และศักยภาพ ได้แก่ จุดแข็งสภาพแวดล้อมภูมิอากาศ พื้นที่ในการปลูกเมี่ยง จุดอ่อนปัญหาเกี่ยวกับการเก็บ ปัญหาเกี่ยวกับการขาย การควบคุมราคาขาย เครื่องมือชุดที่ 2 ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง โดยแบ่งแบบสัมภาษณ์ออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้         ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์         ส่วนที่ 2 ต้นทุนและผลตอบแทน         การสร้างเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโดยใช้วิธีการคำนวณตามพฤติกรรมของต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร ผลผลิตทางการเกษตร รวมเป็นต้นทุนรวม อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน และจุดคุ้มทุน ประกอบไปด้วย             1. ต้นทุนจากการดูแลรักษาเมี่ยง            &nbs
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย

              เมี่ยง  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในเขต พื้นที่ภาคเหนือมาช้านาน เมี่ยงทำจากชาหมักพันธุ์อัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) สามารถแบ่ง เมี่ยง เป็น 2 แบบ คือ เมี่ยงที่ทำจากใบชาอ่อน เรียกว่า ประเทศไทย มีการผลิตเมี่ยงในหลายๆ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน เป็นต้น การสำรวจรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมการผลิตเมี่ยงหมักพื้นบ้าน ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา “เมี่ยงฝาด” และ เมี่ยงที่ทำจากใบชาแก่ เรียกว่า “เมี่ยงส้ม” (สายลม และ คณะ, 2551) มีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย เช่นมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้เมี่ยงยังสร้างรายได้มูลค่าถึง 229,360,251 บาท ในปี พ.ศ. 2550 (สายลม และ คณะ, 2551) สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ศึกษาห่วงโซ่อุปทาน และประเมินมูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เมี่ยง เพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากเมี่ยง ต่อยอดสร้างอาชีพและรายได้จากการทำอาชีพเมี่ยงให้มีความยั่งยืน มี 3 โครงการย่อยดังนี้               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาถึงลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของสวนเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า บางพื้นที่ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง ศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง            โครงการวิจัยย่อยที่ 2 เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากเมี่ยงหมัก เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยทำการศึกษาการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม มีที่มาและความสำคัญดังนี้ เมี่ยงหมัก และ ผลิตภัณฑ์ชาหมักต่างๆมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจาก เมี่ยงมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ antimicrobial มีจุลินทรีย์ชนิด probiotic เป็นองค์ประกอบหลัก (Klayraung et al., 2008) การศึกษาโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากน้ำหมักเมี่ยง จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก สาร caffeine และ catechins เป็นสารที่พบมากในชา แต่ยังไม่มีการนำผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง มาสกัดและผสมเป็นตำรับยา เพื่อใช้ในการรักษาแผลเรื้อรังที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย ในโครงการย่อยที่ 1 นี้จะทำการศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลติดเชื้อเรื้อรัง และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยเตรียมสารสกัดเมี่ยงหมัก หรือ น้ำเมี่ยง ที่มีคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลเรื้อรัง นำมาแยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการรักษาเชื้อดื้อยาปฎิชีวนะ              โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ทำการศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของเมี่ยงหมัก การวิเคราะห์การไหลของกระแสเงินและสินค้า โดยใช้ทฤษฎีการบริการจัดการและการออกแบบโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีทางการบัญชีบริหาร การบัญชีต้นทุน เพื่ออธิบายกิจกรรมทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขายและความต้องการของ        ผู้บริโภคใช้วิธีการเปรียบเทียบกับปีฐาน และใช้การลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเมี่ยงในเชิงพาณิชย์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (ต่อ 3)

4.4) การหาปริมาณองค์ประกอบหลักทางเคมีของสารสกัดจากตัวอย่างใบชาเมี่ยงโดยใช้เทคนิคโคร                            มาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High performance liquid chromatography, HPLC)             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดปริมาณสารสำคัญ คือ คาเฟอีน (CAF), อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) จากใบชาเมี่ยงโดยวิธีรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) และทำการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด คือ ชนิดของตัวทำละลาย อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด (วัตต์) และ เวลาในการสกัด (นาที) จากนั้นนำสกัดที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญด้วยเทคนิค HPLC 4.5) การหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) จากใบชาเมี่ยงโดยกระบวนการสกัดแบบรีฟลัก (reflux) โดยใช้เครื่องไมโครเวฟ            ในการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารสารคาเฟอีน (CAF), อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) ได้ทำการหาสภาวะที่เหมาะสมของตัวแปร ดังต่อไปนี้ -    ชนิดของตัวทำละลาย คือ เมทานอล (MeOH) เอทานอล (EtOH) อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O) -    อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย คือ 1:15, 1:20, 1:25, 1:30 และ 1:35 g/mL -    กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด คือ 70, 210, 350, 490 และ 630 วัตต์ -    เวลาในการสกัด (นาที) คือ 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที      โดยขั้นตอนในการสกัดแสดงดังภาพที่ 144 1.1) การหาสภาวะที่เหมาะสมของชนิดของตัวทำละลาย             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยง 5.00xx กรัม มาสกัดโดยวิธีรีฟลักโดยใช้เครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) ด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน คือ เมทานอล (MeOH), เอทานอล (EtOH), อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O) ซึ่งใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย 1:30 (g/mL) โดยใช้กำลังไฟฟ้าในการสกัด คือ 280 วัตต์ เป็นเวลา 10 นาที ทำการกรองสารสกัดที่ได้ออกจากตัวอย่าง จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ 2 mL มาเจือจางด้วยเอทานอลในขวดวัดปริมาตรขนาด 10 mL นำสารสกัดไปทำการกรองผ่านแผ่นเมมเบรนที่มีขนาดของรูพรุน 0.45 ไมโครเมตร ก่อนนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC แล้วนำผลการวิเคราะห์จากสารสกัดมาเทียบกับกราฟมาตรฐานเพื่อหาปริมาณสารสารคาเฟอีน อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลตและอิพิคาเทชินที่มีอยู่ในตัวอย่างใบชาเมี่ยงเพื่อหาตัวทำละลายที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดสารดังกล่าวเพื่อใช้ในการหาสภาวะต่อไป โดยขั้นตอนการสกัดแสดงดังภาพที่144 1.2) การหาสภาวะที่เหมาะสมของอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย                 เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน  อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และ อิพิคาเทชินในใบชาเมี่ยง โดยการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายที่แตกต่างกัน คือ 1:15, 1:20, 1:25, 1:30 และ 1:35 (g/mL) โดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลทำการสกัดเป็นระยะเวลา 10 นาที และ ใช้กำลังไฟฟ้า คือ 280 วัตต์ โดยวิธีการสกัดแสดงดังภาพที่ 144                                                                                                                                                                            1.3) การหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด              เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และ อิพิคาเทชิน ในการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล คือ 1:25 (g/mL) โดยใช้เวลาในการสกัด คือ 10 นาที แต่ใช้กำลังไฟฟ้าในการสกัดแตกต่างกันออกไป คือ 70, 210, 350, 490 และ 630 วัตต์ โดยวิธีการสกัดแสดงดังภาพที่ 144 1.4) การหาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัด             เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และ อิพิคาเทชินในใบชา
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (ต่อ 4)

6. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบชาเมี่ยง 6.1) การผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง คณะผู้วิจัยทำการออกแบบผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง 4 ชนิด ได้แก่ 1)    แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วง สูตร 1 ชาเมี่ยง (ภาพที่ 64)        การปรับสูตรโดยการคัดเลือกวัตถุดิบชนิดต่างๆ ได้แก่ สารชำระล้าง สารเพิ่มความหนืด สารเพิ่มความคงตัวของสูตร สารปรับสภาพผมไม่ให้แห้งหลังสระและสารเพิ่มความนุ่มลื่นของเส้นผม เป็นต้น นอกจากนั้นยังพัฒนาสูตรน้ำหอมจากการผสมน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือและน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลไม้จนได้กลิ่นที่เหมาะสมและได้สูตรที่มีความคงตัวดีโดยมีส่วนผสมธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปแชมพู ชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้   1)    ส่วนผสมธรรมชาติ         ผงมุก ลาโนลีน น้ำผึ้ง น้ำมันงาสกัดเย็น มะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดหลินจือ สารสกัดหนานเฉาเหว่ย สารสกัดใบขี้เหล็ก สารสกัดอินทนิลน้ำ ใบหมี่ เกลือแกง สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ สำหรับใช้เป็นสารกันเสีย และน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติจากดอกไม้กลิ่นตามความชอบ    2)    ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปแชมพู         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบเมี่ยงสดที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0 ครีมนวดผมชาเมี่ยง        สำหรับส่วนผสมธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้ 1)    สารสกัดสมุนไพร         สารสกัดว่านหางจระเข้ สารสกัดมะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดอัญชัน สารสกัดอินทนิลน้ำ      2)    สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ         มะขามป้อม มะคำดีควาย ส้มป่อย บอระเพ็ด หนานเฉาเหว่ย หลินจือ ในปริมาณที่เหมาะสม 3)    สารอื่นๆ          Wax AB น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ผงมุก      ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยง         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบชาเมี่ยงที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0  4)    ผลการสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2      การสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผลการสำรวจ แบ่งออกเป็น 6  ส่วน ดังนี้     ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2     ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจในคุณสมบัติของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 3 ผลหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 5 การตัดสินใจหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 6 ข้อเสนอแนะสำหรับผลิตภัณฑ์ ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวด สมุนไพร สูตร 2   ตารางที่ 33  เพศของผู้ทดลองใช้
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

บทที่5

สรุปและข้อเสนอแนะ สรุปผลการศึกษา        การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ พื้นที่สวนชาเมี่ยง พื้นที่หย่อมป่า พื้นที่สวนเกษตร และพื้นที่สวนหลังบ้าน ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากสวนชาเมี่ยงทั้ง 3 พื้นที่มีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน และมีการเหลือไว้ซึ่งต้นไม้ใหญ่เป็นที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเนื่องจากชาเมี่ยงต้องการร่มเงาเพื่อการเติบโตค่อนข้างสูง และจะได้ผลผลิตของชาเมี่ยงจำนวนมาก ถ้ามีต้นไม้ใหญ่มากจนเกินไปก็จะทำให้ผลผลิตของชาเมี่ยงลดลง ถ้าไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเลยก็จะทำให้ไม่ได้ผลผลิต สายลม และคณะ (2551) และพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังเป็นพื้นที่แนวกันชนระหว่างพื้นที่ทำการเกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี มีการป้องกันพื้นที่ ทำแนวกันไฟ อนุรักษ์พื้นที่ป่า รักษ์และหวงแหนในพื้นที่ป่าที่ตนทำสวนชาเมี่ยง ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางเคมี พบว่าทั้ง 3 พื้นที่ คุณสมบัติของดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร        การนำสารสกัดชั้นเอทานอลของใบชาเมี่ยงอบแห้ง (Camellia sinensis var. assamica) มาศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นในฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans และ Lactobacillus spp. และนำสารสกัดไปตรวจสอบองค์ประกอบในใบชาเมี่ยงอบแห้ง จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp.  สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.80 และ 18.00± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบชาเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ สำหรับงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพของใบเมี่ยงอบแห้งได้และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงอบแห้ง        การหาสภาวะการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC จากตัวอย่างใบเมี่ยง โดยการสกัดแบบรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากและเหมาะสมที่สุด คือ ใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล 1:25 (g/mL) กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด 350 วัตต์ และสกัดโดยใช้เวลา 20 นาที         การวิเคราะห์หาปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) พบว่าใบชาเมี่ยงจากจังหวัดเชียงราย มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 5.27 และ 2.51 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ ใบชาเมี่ยงจากจังหวัดพะเยา มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 11.71 และ 0.33 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ และใบชาเมี่ยงจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 10.11 และ 1.50 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ       การแยกองค์ประกอบทางเคมีของใบชาเมี่ยง ด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล แยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟี และการยืนยันโครงสร้างสารด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโกปี พบว่าสามารถแยกสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ได้น้ำหนัก 0.7293 กรัม และสารคาเทชิน (catechin) ได้น้ำหนัก 0.8951 กรัม ข้อเสนอแนะ     1. ควรมีการศึกษาการเพิ่มมูลค่าในพื้นที่สวนชาเมี่ยงรูปแบอื่นๆ เช่นการปลูกกาแฟ การเลี้ยงผึ้ง และ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

แบคทีเรียก่อโรคฟันผุ

      โรคทางช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น การเกิดกลิ่นปาก เป็นต้น ซึ่งโรคทางช่องปากที่พบบ่อย คือ ฟันผุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม เป็นต้น โดยสาเหตุสำคัญ คือ แบคทีเรียกลุ่มสเตรปโตค็อกไค (Streptococci) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก เช่น Streptococcus mutans, S. oralis, S. sanguinis, S. sobrinus และ Lactobacillus spp. เป็นต้น ที่ทำให้เกิดฟันผุได้เนื่องจากแบคทีเรียย่อยน้ำตาลที่ติดอยู่เป็นคราบบนฟันในคนที่ทำความสะอาดหรืออาหารติดซอกฟันเพื่อเอาไปใช้ในการสร้างกลูแคน (glucan) โดยการย่อยสลายทำให้ pH ต่ำ ซึ่งสภาวะเป็นกรดทำให้เคลือบฟันเสียแร่ธาตุในที่สุดสูญเสียเนื้อฟัน ผลที่เกิด คือ มีกลิ่นปาก ทำให้เหงือกอักเสบและปวดฟัน การเบาเทาอาการเบื้องต้น คือ ทานยาแก้ปวด หรือใช้น้ำยาบ้วนปากซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฆ่าแบคทีเรียซึ่งลดกลิ่นปากได้ (Papapanou et.al., 1998) นอกจากนี้โรคทางช่องปากที่พบบ่อยอีกชนิดหนึ่ง คือ การเจ็บคอซึ่งสาเหตุเกิดจากแบคทีเรียหลายๆ ชนิด ที่พบบ่อย คือ Group A beta haemolytic Streptococcus, Staphylococcus aureus ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบากร้าวไปถึงหู ทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่คางบวมโต ซึ่งการรักษา คือ ใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มเพนนิซิลิน (กรีฑาและคณะ, 2548) สำหรับแบคทีเรียที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นแบคทีเรียแกรมบวก คือ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp.  Streptococcus mutans   ลักษณะทั่วไป     Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม (Gram-positive cocci) ขนาด 0.5-0.75 µm เรียงตัวเป็นสายสั้นๆหรือสายยาวปานกลาง ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ (non-motile) เมื่อทดสอบ catalase ให้ผลลบ ถ้าเพาะเลี้ยงบนอาหาร blood agar (BA) และบ่มในสภาวะไม่มีออกซิเจน (anaerobic) เป็นเวลา 2 วัน โคโลนีจะมีสีขาวหรือเทา รูปร่างกลมหรือไม่แน่นอน (irregular) ขนาด 0.5-1.0 µm (ภาพ 1) บางครั้งโคโลนีจะค่อนข้างแข็ง มีแนวโน้มที่จะเกาะติดบนผิวอาหาร ไม่สลายเม็ดเลือดแดง (alpha or non-hemolytic) แต่มีโอกาสพบ beta-hemolytic บนอาหารที่มีส่วนผสมของ sucrose เช่น mitis salivarius agar (MSA) หรือ trytone, yeast extract, cystine (TYC) agar ซึ่งโคโลนีจะมีรูปร่างขรุขระกองทับกัน ขนาด 1.0 µm บางครั้งจะพบโคโลนีมีลักษณะคล้ายเม็ดบีดส์ droplets หรือของเหลวซึ่งเกิดจากเชื้อสร้าง extracellular polysaccharide หรือ glucan ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้อยู่รอบๆโคโลนี แต่บางครั้งจะพบเป็นแบบผงเรียบๆหรือเป็นเมือก (Sneath et al. 1986) S. mutans ส่วนใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีอากาศ หรือ มี N2 + CO2 หรือ CO2 เป็นหลัก แต่จะเจริญได้ดีในสภาวะที่ไม่มีอากาศ อุณหภูมิที่ทำให้สามารถเจริญได้ดี คือ 37?C และสามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิสูงสุด 45?C และต่ำสุดที่ 10?C (Sneath et. al. 1986)    ความสำคัญทางการแพทย์     Streptococcus mutans มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นทำให้เกิดโรคฟันผุที่ผิวฟันและรากฟัน (Takahashi and Nyvad, 2010) โรคฟันผุ     โรคฟันผุเป็นโรคที่พบบ่อยในช่องปากจัดเป็นโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียประจำถิ่นในช่องปาก  โรคฟันผุเกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อของฟันเฉพาะที่โดยเกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (demineralization) จากภาวะความเป็นกรดที่เกิดจากการย่อยสลายอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตของแบคทีเรียบางชนิดในคราบจุลินทรีย์ (dental plaque) หรือ biofilm ได้แก่ mutans streptococci (S. mutans และ S. sobrinus) และ lactobacilli (Loesche, 2007) กลไกการก่อโรคฟันผุของ Streptococcus mutans 1. Adhesion     ความสามารถในการยึดเกาะของเชื้อ S. mutans เป็นปัจจัยหลักในการเกิดคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm ที่ผิวฟัน ซึ่งจะเกิดฟันผุตามมาโดยจะขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการ ดังนี้    1.1.    Sucrose – independent adhesion      เป็นการยึดเกาะโดยใช้โปรตีนที่เรียกว่า antigen I / II เป็นโปรตีนที่มีขนาด 185 kDa โปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน Streptococcus sp. ที่อยู่ในช่องปากสายพันธุ์อื่นๆได้ด้วย (Ma et al., 1995) โดยมีระบบเรียกแตกต่างออกไป เช่น P1, Spa, O, Sr, Pac และ antigen B โปรตีนในกลุ่ม antigen I / II จะมีโครงสร้างของส่วนที่เหมือนกันแต่มีบางส่วนที่ต่างกันจึงทำให้ความสามารถในการยึดเกาะกับโปรตีนต่างๆในน้ำลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 1* และคณะ Thanakorn Lattirasuvan1*  1*สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 ……………………………………………………………….. บทคัดย่อ             การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ โดยทำการเลือกพื้นที่ 3 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดประกอบด้วย บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านกอก จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่สุ่มเลือกตัวแทนพื้นที่ละ 5 แปลง  วางแปลงสำรวจพืชที่ขึ้นร่วมกับสวนชาเมี่ยง เก็บตัวอย่างดิน ทั้งดินชั้นบน (0-5 cm) และดินชั้นล่าง (20-25 cm) วิเคราะห์สมบัติดินทั้งทางเคมีและกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางด้านเคมี พบว่าดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร     กิจกรรมนี้มีการวิจัยด้านค้นคว้าหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans โดยใช้สารสกัดจาก ใบเมี่ยงอบแห้งโดยสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ คำสำคัญ: ชาเมี่ยง สารต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรียสาเหตุโรคทางเดินอาหาร คาเทซิน กรรมวิธีการสกัด นิเวศวิทยา ภาคเหนือประเทศไทย การใช้ประโยชน์   ABSTRACT The study of “The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern” was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) and 2) to research the isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 1* และคณะ Thanakorn Lattirasuvan1*  1*สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 ……………………………………………………………….. บทคัดย่อ             การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ โดยทำการเลือกพื้นที่ 3 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดประกอบด้วย บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านกอก จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่สุ่มเลือกตัวแทนพื้นที่ละ 5 แปลง  วางแปลงสำรวจพืชที่ขึ้นร่วมกับสวนชาเมี่ยง เก็บตัวอย่างดิน ทั้งดินชั้นบน (0-5 cm) และดินชั้นล่าง (20-25 cm) วิเคราะห์สมบัติดินทั้งทางเคมีและกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางด้านเคมี พบว่าดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร     กิจกรรมนี้มีการวิจัยด้านค้นคว้าหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans โดยใช้สารสกัดจาก ใบเมี่ยงอบแห้งโดยสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ คำสำคัญ: ชาเมี่ยง สารต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรียสาเหตุโรคทางเดินอาหาร คาเทซิน กรรมวิธีการสกัด นิเวศวิทยา ภาคเหนือประเทศไทย การใช้ประโยชน์   ABSTRACT The study of “The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern” was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) and 2) to research the isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

แบคทีเรียก่อโรคฟันผุ

      โรคทางช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น การเกิดกลิ่นปาก เป็นต้น ซึ่งโรคทางช่องปากที่พบบ่อย คือ ฟันผุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม เป็นต้น โดยสาเหตุสำคัญ คือ แบคทีเรียกลุ่มสเตรปโตค็อกไค (Streptococci) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก เช่น Streptococcus mutans, S. oralis, S. sanguinis, S. sobrinus และ Lactobacillus spp. เป็นต้น ที่ทำให้เกิดฟันผุได้เนื่องจากแบคทีเรียย่อยน้ำตาลที่ติดอยู่เป็นคราบบนฟันในคนที่ทำความสะอาดหรืออาหารติดซอกฟันเพื่อเอาไปใช้ในการสร้างกลูแคน (glucan) โดยการย่อยสลายทำให้ pH ต่ำ ซึ่งสภาวะเป็นกรดทำให้เคลือบฟันเสียแร่ธาตุในที่สุดสูญเสียเนื้อฟัน ผลที่เกิด คือ มีกลิ่นปาก ทำให้เหงือกอักเสบและปวดฟัน การเบาเทาอาการเบื้องต้น คือ ทานยาแก้ปวด หรือใช้น้ำยาบ้วนปากซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฆ่าแบคทีเรียซึ่งลดกลิ่นปากได้ (Papapanou et.al., 1998) นอกจากนี้โรคทางช่องปากที่พบบ่อยอีกชนิดหนึ่ง คือ การเจ็บคอซึ่งสาเหตุเกิดจากแบคทีเรียหลายๆ ชนิด ที่พบบ่อย คือ Group A beta haemolytic Streptococcus, Staphylococcus aureus ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบากร้าวไปถึงหู ทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่คางบวมโต ซึ่งการรักษา คือ ใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มเพนนิซิลิน (กรีฑาและคณะ, 2548) สำหรับแบคทีเรียที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นแบคทีเรียแกรมบวก คือ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp.  Streptococcus mutans   ลักษณะทั่วไป     Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม (Gram-positive cocci) ขนาด 0.5-0.75 µm เรียงตัวเป็นสายสั้นๆหรือสายยาวปานกลาง ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ (non-motile) เมื่อทดสอบ catalase ให้ผลลบ ถ้าเพาะเลี้ยงบนอาหาร blood agar (BA) และบ่มในสภาวะไม่มีออกซิเจน (anaerobic) เป็นเวลา 2 วัน โคโลนีจะมีสีขาวหรือเทา รูปร่างกลมหรือไม่แน่นอน (irregular) ขนาด 0.5-1.0 µm (ภาพ 1) บางครั้งโคโลนีจะค่อนข้างแข็ง มีแนวโน้มที่จะเกาะติดบนผิวอาหาร ไม่สลายเม็ดเลือดแดง (alpha or non-hemolytic) แต่มีโอกาสพบ beta-hemolytic บนอาหารที่มีส่วนผสมของ sucrose เช่น mitis salivarius agar (MSA) หรือ trytone, yeast extract, cystine (TYC) agar ซึ่งโคโลนีจะมีรูปร่างขรุขระกองทับกัน ขนาด 1.0 µm บางครั้งจะพบโคโลนีมีลักษณะคล้ายเม็ดบีดส์ droplets หรือของเหลวซึ่งเกิดจากเชื้อสร้าง extracellular polysaccharide หรือ glucan ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้อยู่รอบๆโคโลนี แต่บางครั้งจะพบเป็นแบบผงเรียบๆหรือเป็นเมือก (Sneath et al. 1986) S. mutans ส่วนใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีอากาศ หรือ มี N2 + CO2 หรือ CO2 เป็นหลัก แต่จะเจริญได้ดีในสภาวะที่ไม่มีอากาศ อุณหภูมิที่ทำให้สามารถเจริญได้ดี คือ 37?C และสามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิสูงสุด 45?C และต่ำสุดที่ 10?C (Sneath et. al. 1986)    ความสำคัญทางการแพทย์     Streptococcus mutans มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นทำให้เกิดโรคฟันผุที่ผิวฟันและรากฟัน (Takahashi and Nyvad, 2010) โรคฟันผุ     โรคฟันผุเป็นโรคที่พบบ่อยในช่องปากจัดเป็นโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียประจำถิ่นในช่องปาก  โรคฟันผุเกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อของฟันเฉพาะที่โดยเกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (demineralization) จากภาวะความเป็นกรดที่เกิดจากการย่อยสลายอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตของแบคทีเรียบางชนิดในคราบจุลินทรีย์ (dental plaque) หรือ biofilm ได้แก่ mutans streptococci (S. mutans และ S. sobrinus) และ lactobacilli (Loesche, 2007) กลไกการก่อโรคฟันผุของ Streptococcus mutans 1. Adhesion     ความสามารถในการยึดเกาะของเชื้อ S. mutans เป็นปัจจัยหลักในการเกิดคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm ที่ผิวฟัน ซึ่งจะเกิดฟันผุตามมาโดยจะขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการ ดังนี้    1.1.    Sucrose – independent adhesion      เป็นการยึดเกาะโดยใช้โปรตีนที่เรียกว่า antigen I / II เป็นโปรตีนที่มีขนาด 185 kDa โปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน Streptococcus sp. ที่อยู่ในช่องปากสายพันธุ์อื่นๆได้ด้วย (Ma et al., 1995) โดยมีระบบเรียกแตกต่างออกไป เช่น P1, Spa, O, Sr, Pac และ antigen B โปรตีนในกลุ่ม antigen I / II จะมีโครงสร้างของส่วนที่เหมือนกันแต่มีบางส่วนที่ต่างกันจึงทำให้ความสามารถในการยึดเกาะกับโปรตีนต่างๆในน้ำลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

แบคทีเรียสาเหตุการเกิดแผลติด และ เชื้อการติดเชื้อผิวหนัง

แบคทีเรียสาเหตุการเกิดแผลติดเชื้อ            แผลเรื้อรัง  เป็นอาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ภายในเวลา 4-6 สัปดาห์  โดยทั่วไป การสมานแผลมีการเชื่อมโยงกับกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีประสิทธิภาพ  แผลเรื้อรังมักปรากฎการปนเปื้อนของจุลินทรีย์เสมอ ซึ่งที่มีเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปที่เป็นเชื้อประจำถิ่นบริเวณผิวหนัง เช่น Staphylococcus  epidermidis, Coagulase negative Staphylococcus อื่นๆ, Corynebacterium spp., Proprionibacterium acnes เป็นต้น และ พบเชื้อที่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพ เช่น Staphylococcus aureus, E. coli, Proteus spp., Pseudomonas spp. และ Acinetobacter spp. นอกจากนี้ ยังมีรายงาน ระยะสั้น พบ S. aureus เป็นเชื้อแกรมบวก มักพบในผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวาน โดยหลังจากระยะเวลา 4 สัปดาห์ เริ่มพบแบคทีเรียแกรมลบ เช่น Proteus spp., E. coli และ Klebsiella spp. จากนั้น ระยะยาว พบเชื้อ Pseudomonas spp. และ Acinetobacter spp. (Charmberlain, 2007) Staphylococcus aureus (วารีรัตน์, 2557)             แบคทีเรียรูปร่างกลม ติดสีแกรมบวก ขนาดสม่ำเสมอ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ไมโครเมตร เรียงตัวเป็นกลุ่มๆ คล้ายพวงองุ่น แต่จะพบเป็น เซลล์เดี่ยว เซลล์คู่ และ เป็นสายสั้นๆ (โดยมากไม่เกิน 4 เซลล์) อยู่ปะปนด้วยเสมอ แบคทีเรียชนิด ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนไหว ไม่มีแคปซูล ให้ผลบวกในการทดสอบ Catalase และ ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จะสลายน้ำตาลให้กรด สามารถสร้าง coagulase ได้ ซึ่งเป็นการทดสอบที่สำคัญที่ใช้ในการแยก Staphylococcus aureus ออกจาก Staphylococcus สายพันธุ์อื่นๆ โดย coagulase ทำให้พลาสมาเกิดการแข็งตัว โดยอาศัย coagulase reaction factor (RCF) ซึ่งมีอยู่ในพลาสมาของคน และ สัตว์บางชนิด เป็นตัวกระตุ้นการสร้างไฟบริน และ การแข็งตัวของพลาสมา โดยมีบทบาทในการก่อโรค คือ ไฟบรินจะไปหุ้มรอบแบคทีเรีย ทำให้เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำลายแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ ยังพบการสร้างเอนไซม์ penicilinase หรือ β-lactamase ออกฤทธิ์ทำลายยากลุ่ม penicillins เช่น ampicillin, carbenicillin, methicillin และ amoxicillin เป็นต้น โดยเอนไซม์นี้สามารถทำลาย β-lactam ring ของยาดังกล่าวได้             Staphylococcus aureus ส่วนใหญ่ไม่มีแคปซูล ให้โคโลนีสีเหลืองทอง หรือ ทอง เป็นเชื้อที่เจริญได้ง่ายบนอาหารเลี้ยงเชื้อธรรมดา ไม่ต้องการอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ เป็นแบคทีเรียที่มีความทนทานมาก สามารถทนต่ออุณหภูมิ 60ºC เป็นเวลา 30 นาที และ ตายที่อุณหภูมิ 100ºC ภายใน 2-3 นาที S. aureus พบ เป็นเชื้อประจำถิ่นได้มากกว่า 60 % ของประชากร โดยพบที่ โพรงจมูกส่วนหน้า ถึง 20 % อาจพบได้ที่ รักแร้ ขาหนีบ คอหอย และ มือ เป็นต้น ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน  โรคตับ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต  ผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) แบคทีเรียนี้ก่อโรคในคนได้บ่อยที่สุด เนื่องจาก สามารถสร้างสารพิษ และ เอนไซม์ได้หลายชนิด เช่น α-toxin, exfoliatin, superantigen toxins, enterotoxin เป็นต้น ทำให้สามารถต่อสู้กับกลไกที่ร่างกายใช้ในการกำจัดจุลชีพ และ ก่อโรคติดเชื้อผิวหนังที่รุนแรง เช่น Staphylococcal scalded-skin syndrome และ toxic shock syndrome ได้อีกด้วย S. aureus พบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง (pyoderma) ได้บ่อยที่สุด ทั้งแบบ ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ (primary and secondary pyodermas) ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือด (bacteremia) และ ติดเชื้อในระบบอื่น เช่น กระดูก (osteomyelitis) และ หัวใจ (infective endocarditis) ได้อีกด้วย การติดเชื้อมีสาเหตุจาก S. aureus มักเกี่ยวกับทางผิวหนัง เช่น ฝี  รูขุมขนอักเสบ  สิว  รวมถึงการติดเชื้อที่แผลหลังการผ่าตัด             การติดต่อของเชื้อกลุ่มนี้มาสู่คน ติดต่อโดยการรับประทาน หรือ ดื่มน้ำที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนเข้าไปประมาณ 1-6 ชั่วโมง เนื่องจาก Staphylococcus aureus สร้างสารพิษ (toxin) ชนิดเอนเทอโรทอกซิน (enterotoxin) สารพิษที่สร้าง มีสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อน ออกฤทธิ์ที่เยื่อบุลำไส้ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และ ท้องเดิน ส่วนมาก ไม่มีไข้ ในรายที่รุนแรงอาจช็อกได้ หรือ บางชนิดทำให้เกิดสิวได้ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 8-24 ชั่วโมง อาการรุนแรงของโรคนี้ ขึ้นอยู่กับ ปริมาณของสารพิษที่ปนเปื้อน S. aureus เป็นแบคทีเรียที่ผลิตสารพิษ และ สามารถสังเคราะห์เอนไซม์ coagulase ได้    Staphylococcus epidermidi
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 1* และคณะ Thanakorn Lattirasuvan1*  1*สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 ……………………………………………………………….. บทคัดย่อ             การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ โดยทำการเลือกพื้นที่ 3 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดประกอบด้วย บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านกอก จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่สุ่มเลือกตัวแทนพื้นที่ละ 5 แปลง  วางแปลงสำรวจพืชที่ขึ้นร่วมกับสวนชาเมี่ยง เก็บตัวอย่างดิน ทั้งดินชั้นบน (0-5 cm) และดินชั้นล่าง (20-25 cm) วิเคราะห์สมบัติดินทั้งทางเคมีและกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางด้านเคมี พบว่าดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร     กิจกรรมนี้มีการวิจัยด้านค้นคว้าหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans โดยใช้สารสกัดจาก ใบเมี่ยงอบแห้งโดยสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ คำสำคัญ: ชาเมี่ยง สารต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรียสาเหตุโรคทางเดินอาหาร คาเทซิน กรรมวิธีการสกัด นิเวศวิทยา ภาคเหนือประเทศไทย การใช้ประโยชน์   ABSTRACT The study of “The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern” was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) and 2) to research the isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (ต่อ 3)

4.4) การหาปริมาณองค์ประกอบหลักทางเคมีของสารสกัดจากตัวอย่างใบชาเมี่ยงโดยใช้เทคนิคโคร                            มาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High performance liquid chromatography, HPLC)             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดปริมาณสารสำคัญ คือ คาเฟอีน (CAF), อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) จากใบชาเมี่ยงโดยวิธีรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) และทำการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด คือ ชนิดของตัวทำละลาย อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด (วัตต์) และ เวลาในการสกัด (นาที) จากนั้นนำสกัดที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญด้วยเทคนิค HPLC 4.5) การหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) จากใบชาเมี่ยงโดยกระบวนการสกัดแบบรีฟลัก (reflux) โดยใช้เครื่องไมโครเวฟ            ในการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารสารคาเฟอีน (CAF), อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) ได้ทำการหาสภาวะที่เหมาะสมของตัวแปร ดังต่อไปนี้ -    ชนิดของตัวทำละลาย คือ เมทานอล (MeOH) เอทานอล (EtOH) อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O) -    อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย คือ 1:15, 1:20, 1:25, 1:30 และ 1:35 g/mL -    กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด คือ 70, 210, 350, 490 และ 630 วัตต์ -    เวลาในการสกัด (นาที) คือ 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที      โดยขั้นตอนในการสกัดแสดงดังภาพที่ 144 1.1) การหาสภาวะที่เหมาะสมของชนิดของตัวทำละลาย             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยง 5.00xx กรัม มาสกัดโดยวิธีรีฟลักโดยใช้เครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) ด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน คือ เมทานอล (MeOH), เอทานอล (EtOH), อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O) ซึ่งใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย 1:30 (g/mL) โดยใช้กำลังไฟฟ้าในการสกัด คือ 280 วัตต์ เป็นเวลา 10 นาที ทำการกรองสารสกัดที่ได้ออกจากตัวอย่าง จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ 2 mL มาเจือจางด้วยเอทานอลในขวดวัดปริมาตรขนาด 10 mL นำสารสกัดไปทำการกรองผ่านแผ่นเมมเบรนที่มีขนาดของรูพรุน 0.45 ไมโครเมตร ก่อนนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC แล้วนำผลการวิเคราะห์จากสารสกัดมาเทียบกับกราฟมาตรฐานเพื่อหาปริมาณสารสารคาเฟอีน อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลตและอิพิคาเทชินที่มีอยู่ในตัวอย่างใบชาเมี่ยงเพื่อหาตัวทำละลายที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดสารดังกล่าวเพื่อใช้ในการหาสภาวะต่อไป โดยขั้นตอนการสกัดแสดงดังภาพที่144 1.2) การหาสภาวะที่เหมาะสมของอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย                 เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน  อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และ อิพิคาเทชินในใบชาเมี่ยง โดยการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายที่แตกต่างกัน คือ 1:15, 1:20, 1:25, 1:30 และ 1:35 (g/mL) โดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลทำการสกัดเป็นระยะเวลา 10 นาที และ ใช้กำลังไฟฟ้า คือ 280 วัตต์ โดยวิธีการสกัดแสดงดังภาพที่ 144                                                                                                                                                                            1.3) การหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด              เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และ อิพิคาเทชิน ในการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล คือ 1:25 (g/mL) โดยใช้เวลาในการสกัด คือ 10 นาที แต่ใช้กำลังไฟฟ้าในการสกัดแตกต่างกันออกไป คือ 70, 210, 350, 490 และ 630 วัตต์ โดยวิธีการสกัดแสดงดังภาพที่ 144 1.4) การหาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัด             เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และ อิพิคาเทชินในใบชา
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การหาปริมาณองค์ประกอบหลักทางเคมีของสารสกัดจากตัวอย่างใบชาเมี่ยง โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพื่อให้ปริมาณสารสำคัญ คาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) ที่สูงจากใบชาเมี่ยง โดยวิธีรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) และทำการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด คือ ชนิดของตัวทำละลาย อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด (วัตต์) และเวลาในการสกัด (นาที) จากนั้นนำสกัดที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญด้วยเทคนิค HPLC 1.    การหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) จากใบชาเมี่ยง โดยกระบวนการสกัดแบบรีฟลัก (reflux) โดยใช้เครื่องไมโครเวฟ ในการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารสารคาเฟอีน (CAF), อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) ได้ทำการหาสภาวะที่เหมาะสมของตัวแปรดังต่อไปนี้    -    ชนิดของตัวทำละลาย คือ เมทานอล (MeOH) เอทานอล (EtOH) อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O)    -    อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย คือ 1:15, 1:20, 1:25, 1:30 และ 1:35 g/mL    -    กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด คือ 70, 210, 350, 490 และ 630 วัตต์    -    เวลาในการสกัด (นาที) คือ 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที  โดยขั้นตอนในการสกัดแสดงดังรูปที่ 1        1.1     การหาสภาวะที่เหมาะสมของชนิดของตัวทำละลาย นำตัวอย่างใบชาเมี่ยง 5.00xx กรัม มาสกัดโดยวิธีรีฟลักโดยใช้เครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) ด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน คือ เมทานอล (MeOH), เอทานอล (EtOH), อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O) ซึ่งใช้อัตรส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย 1:30 (g/mL) โดยใช้กำลังไฟฟ้าในการสกัดของ คือ 280 วัตต์ เป็นเวลา 10 นาที ทำการกรองสารสกัดที่ได้ออกจากตัวอย่าง จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ 2 mL มาเจือจางด้วยเอทานอลในขวดวัดปริมาตรขนาด 10 mL จากนั้นนำสารสกัดไปทำการกรองผ่านแผ่นเมมเบรนที่มีขนาดของรูพรุน 0.45 ไมโครเมตร ก่อนนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC แล้วนำผลการวิเคราะห์จากสารสกัดมาเทียบกับกราฟมาตรฐานเพื่อหาปริมาณสารสารคาเฟอีน, อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และอิพิคาเทชิน ที่มีอยู่ในตัวอย่างใบชาเมี่ยง เพื่อหาตัวทำละลายที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดสารดังกล่าวเพื่อใช้ในการหาสภาวะต่อไป โดยขั้นตอนการสกัดแสดงดังรูปที่ 1        1.2     การหาสภาวะที่เหมาะสมของอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย     เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย ที่ใช้ในการสกัดสาร คาเฟอีน, อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และอิพิคาเทชิน ในใบชาเมี่ยง โดยการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายที่แตกต่างกัน คือ 1:15, 1:20, 1:25, 1:30 และ 1:35 (g/mL) โดยใช้ตัวทำละลายเอทานอล ทำการสกัดเป็นระยะเวลา 10 นาที และใช้กำลังไฟฟ้า คือ 280 วัตต์ โดยวิธีการสกัดแสดงดังรูปที่ 1        1.3     การหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด  เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน, อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และอิพิคาเทชิน ในการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล คือ 1:25 (g/mL) โดยใช้เวลาในการสกัดคือ 10 นาที แต่ใช้กำลังไฟฟ้าในการสกัดแตกต่างกันออกไปคือ 70, 210, 350, 490 และ 630 วัตต์ โดยวิธีการสกัดแสดงดังรูปที่ 1       1.4    การหาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัด เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน, อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และอิพิคาเทชิน ในใบชาเมี่ยง โดยการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล คือ 1:25 (g/mL) ใช้กำลังไฟฟ้า คือ 350 วัตต์ แต่ใช้เวลาที่ใช้ในการสกัดแตกต่างกันออกไปคือ 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที โดยวิธีการสกัดแสดงดังภาพที่ 1
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 1* และคณะ Thanakorn Lattirasuvan1*  1*สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 ……………………………………………………………….. บทคัดย่อ             การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ โดยทำการเลือกพื้นที่ 3 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดประกอบด้วย บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านกอก จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่สุ่มเลือกตัวแทนพื้นที่ละ 5 แปลง  วางแปลงสำรวจพืชที่ขึ้นร่วมกับสวนชาเมี่ยง เก็บตัวอย่างดิน ทั้งดินชั้นบน (0-5 cm) และดินชั้นล่าง (20-25 cm) วิเคราะห์สมบัติดินทั้งทางเคมีและกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางด้านเคมี พบว่าดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร     กิจกรรมนี้มีการวิจัยด้านค้นคว้าหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans โดยใช้สารสกัดจาก ใบเมี่ยงอบแห้งโดยสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ คำสำคัญ: ชาเมี่ยง สารต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรียสาเหตุโรคทางเดินอาหาร คาเทซิน กรรมวิธีการสกัด นิเวศวิทยา ภาคเหนือประเทศไทย การใช้ประโยชน์   ABSTRACT The study of “The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern” was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) and 2) to research the isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (ต่อ)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ            งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน            ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview)  2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ 3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method 3.1 การเตรียมแบคทีเรีย           นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M  3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง          นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง          นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) 4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ     งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน           ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ            งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน            ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview)  2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ 3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method 3.1 การเตรียมแบคทีเรีย           นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M  3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง          นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง          นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) 4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ     งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน           ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบชาเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion

    จากการทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดชาเมี่ยงในการต้านเชื้อ S. mutans และ Lactobacillus spp. (ตารางที่ 10 และ ภาพที่ 9) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ 80 % โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (inhibition zone) อยู่ในช่วง 14.5- 11.1 mm และ 21.3-15.4 mm ตามลำดับ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 1* และคณะ Thanakorn Lattirasuvan1*  1*สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 ……………………………………………………………….. บทคัดย่อ             การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ โดยทำการเลือกพื้นที่ 3 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดประกอบด้วย บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านกอก จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่สุ่มเลือกตัวแทนพื้นที่ละ 5 แปลง  วางแปลงสำรวจพืชที่ขึ้นร่วมกับสวนชาเมี่ยง เก็บตัวอย่างดิน ทั้งดินชั้นบน (0-5 cm) และดินชั้นล่าง (20-25 cm) วิเคราะห์สมบัติดินทั้งทางเคมีและกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางด้านเคมี พบว่าดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร     กิจกรรมนี้มีการวิจัยด้านค้นคว้าหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans โดยใช้สารสกัดจาก ใบเมี่ยงอบแห้งโดยสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ คำสำคัญ: ชาเมี่ยง สารต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรียสาเหตุโรคทางเดินอาหาร คาเทซิน กรรมวิธีการสกัด นิเวศวิทยา ภาคเหนือประเทศไทย การใช้ประโยชน์   ABSTRACT The study of “The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern” was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) and 2) to research the isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์และวิธีการ               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย 1.การเลือกพื้นที่ศึกษา             การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 4 ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหมู่บ้านทั้ง  หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A  สภาพที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในหุบเขา มีลำห้วยไหลผ่าน สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่อ ยางปาย ทะโล้ เป็นต้น เป็นชุมชนคนป่าเมี่ยง มีอาชีพหลักในการทำเมี่ยง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากภาพที่ 8-10 ความแข็งของดินของบ้านป่าเหมี้ยง แปลงที่ 1.1-1.3 พบว่าความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 2 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 3-7 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 8 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.2 ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 2 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 3-5 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 6 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 4 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 5-10 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 11 เซนติเมตรลงไป
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

          5.)    การบรรจุและจัดจำหน่าย  ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงถูกบรรจุลงในตะกร้าไม้ไผ่ ขนาดกว้าง 65 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร โดยจะมีการนำถุงพลาสติกมาลองในเข่งที่บรรจุชาเมี่ยงได้ประมาณ 100 กำ (ประมาณ 50 กิโลกรัม) ก่อนปิดฝาด้านบน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงส่วนใหญ่จะขายชาเมี่ยงนึ่ง และชาเมี่ยงหมักราคาขายในแต่ละปีจะไม่เท่ากันเพราะความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นและจำนวนชาเมี่ยงที่เก็บได้น้อยลง จะอยู่ในช่วงประมาณ 24-26 บาทต่อกิโลกรัม                 การจัดการห่วงโซ่อุทานการผลิตชาเมี่ยง ในจังหวัดลำปาง แสดงในภาพที่ 19 จะเห็นว่า ในกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ภายในห่วงโซ่มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ เกษตรกรผู้ทำการปลูก เก็บเกี่ยวและกระบวนการนึ่งที่เป็นเฉพาะครัวเรือน, เกษตรกรผู้รับซื้อของเพื่อนบ้านมาหมักต่อ, ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่ง และ ลูกค้า เมื่อเปรียบเทียบกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรในระดับพื้นฐาน การผลิตชาเมี่ยงในบริเวณนี้ยังถือว่าเป็นลักษณะห่วงโซ่ที่ไม่มีความซับซ้อนแต่จะแตกต่างจากจังหวัดแพร่ คือมีลักษณะของผู้แปรรูปในกระบวนการหมักแยกจากกลุ่มผู้ปลูกและผู้เก็บเกี่ยว มีการวางแผนการรับซื้อ และมีการลงทุนในอุปกรณ์การแปรรูปอย่างชัดเจน การตลาดยังคงมีลักษณะการผลิตแบบกึ่งพันธสัญญา จากการที่เกษตรกร ส่งให้กับพ่อค้าคนกลางรายเดิมทุกปี และมีบางส่วนที่เกษตรกรเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าของตนเอง โดยมีแหล่งลูกค้าประจำ ยังไม่พบในลักษณะการซื้อขายแบบประกันราคา การจัดสมดุลระหว่างระดับอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของชาเมี่ยงถือว่ามีความสมดุล คือไม่เกิดเหตุการณ์สินค้าขาดแคลน หรือสินค้าล้นตลาด แต่บางครั้งพบว่ามีการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

4.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่