โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


       โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีสายพระเนตรยาวไกล โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และทรงมีโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากร พัฒนาแหล่งน้ำ การอนุรักษ์ และพัฒนาดิน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช ให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ เพื่อปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าธรรมชาติ การสำรวจรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูก และรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพ และปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช ทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย
       การดําเนินงานโดย ความร่วมมือของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ อพ.สธ. และหน่วยงานรวมสนองพระราชดําริ อพ.สธ. หรือ สมาชิกและนักวิจัยในชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ในหน่วยงานที่เข้าร่วมสนอง พระราชดําริ อพ.สธ. มีจํานวนหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดําริในกิจกรรมนี้ 80 หน่วยงาน ได้ดําเนินงานวิจัยมากกว่า 1,000 เรื่อง พืชที่ได้วิจัยค้นคว้าศึกษาประเมินพันธุกรรมพืชที่สํารวจ เก็บรวบรวมและปลูกรักษาไว้ได้ดําเนินการไปแล้วจํานวนมากกว่า 20 สกุล ได้แก่ ทุเรียน มะตูม มะเกี๋ยง ก่อ มะแขว่น มะพอก มะม่วง หว้า ขนุน อ้อย ดองดึง หวาย มังคุด กระเจียว บุกคางคก ผักลิ้นห่าน ฮ่อม ผักเค็ด กล้วยไม้ป่า พืชสกุลอบเชย ผักพื้นเมือง พืชสมุนไพร ฯลฯ และศึกษา ด้านชีวโมเลกุล การทํา DNA Fingerprint ใน มะตูม หวาย กล้วยไม้ม้าวิ่ง ทุเรียน ขนุน ฯลฯ และ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อพ.สธ. ได้ขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยในการตั้งคณะกรรมการกํากับ ดูแลการดําเนินงานการอนุรักษ์ และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชอนุรักษ์ อพ.สธ. 8 ชนิดได้แก่ ทุเรียน มะเกี๋ยง สัก มะกิ๊ง น้อยหน่าเครือ ตีนฮุ้งดอย กล้วยไม้ และชาเมี่ยง และเพิ่มพืชที่ 9 คือ ยางนา ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 และมีแนวโน้มที่จะดําเนินการให้พรรณพืชที่มีคุณค่าเพื่อการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ต่อไป
       ผานิตย์ (2549) ได้ศึกษาเรื่องการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยพรรณไม้โครงสร้างบางชนิดต่อระบบนิเวศป่าดิบเขา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ป่าโครงสร้างมีชนิดพรรณไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหลากชนิดกว่าป่าเสื่อมโทรม ชนิดพรรณไม้ที่ขึ้นเป็นพรรณไม้ดัชนีในพื้นที่ป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นเท่านั้น คือ สารภีป่า ส่วนชนิดพรรณไม้ธรรมชาติที่ขึ้นบริเวณที่โล่งแจ้งและแห้งแล้งกว่า เช่น มะขามป้อม และเมื่อเปรียบเทียบการเจริญของไม้ปลูกเฉพาะในป่าโครงสร้างทั้ง 3 แปลง พบว่าการเจริญเติบโตด้านความสูงสัมพัทธ์และอัตราการล้มตายของพรรณไม้ทุกชนิดรวมกันไม่มีค่าความแตกต่างทางสถิติ ส่วนการเจริญเติบโตด้านความโตของเส้นผ่าศูนย์กลางระดับคอรากแตกต่างกันในทุกแปลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยแปลงป่าโครงสร้าง 2 มีการเจริญเติบโตสัมพันธ์ทั้งความโตและความสูงมากที่สุด แต่อัตราการรอดตายอยู่อันดับสอง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่และแปลง พบว่าแปลงป่าโครงสร้าง 2 มีหน้าดินลึกถึง 32 เซนติเมตร มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดสูงกว่าทุกแปลง ซึ่งสัมพันธ์กับค่าอินทรียวัตถุในดินและน้ำหนักซากพืชที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับป่าโครงสร้างปีเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับป่าอนุรักษ์ของชุมชนบ้านแม่สาใหม่ พบว่าป่าโครงสร้างมีชนิดพรรณไม้ที่ขึ้นในแปลงและลักษณะทางกายภาพของดินใกล้เคียงกับป่าอนุรักษ์มากกว่าป่าเสื่อมโทรม
        อัตถ์ (2561) ได้ทำการศึกษาศักยภาพการให้ผลผลิตและลักษณะการเจริญเติบโตของชาเมี่ยง (camellia sinensis var. assamica) ในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาศักยภาพในการเจริญเติบโตของต้นชาเมี่ยง พบว่า 1) ความสูงของต้นชาเมี่ยงมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 1 เดือน โดยเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตร 2) มีจำนวนใบที่แตกใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2 ใบ และ 3) ความยาวของใบที่แตกใหม่โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.7 เซนติเมตร สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพในการให้ผลผลิตของต้นชาเมี่ยงในแปลงสาธิตที่มีอายุมากกว่า 10 ปี พบว่า มีขนาดทรงพุ่ม (กว้าง X ยาว) โดยเฉลี่ยเท่ากับ (70 X 80) เซนติเมตร มีความสูงของต้นโดยเฉลี่ย เท่ากับ 180 เซนติเมตร และมีจำนวนกิ่งแขนงหลักที่ให้ผลผลิตได้โดยเฉลี่ย 13 กิ่งต่อต้น สำหรับผลผลิตของใบเมี่ยงสดโดยเฉลี่ยครั้งละ 1.2 กิโลกรัมต่อต้น ขึ้นอยู่กับฤดูกาลที่มีผลต่อการแตกใบอ่อนของต้นชาเมี่ยง การเขตกรรมชาเมี่ยงของเกษตรกรหมู่ที่ 2 บ้านปางมะกล้วย ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิถีชีวิตของชุมชนมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ทำให้รู้ถึงวิธีการปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว และแปรรูป ทำได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้ได้บรรลุเป้าหมายที่นำไปสู่การอนุรักษ์พันธุกรรมชาเมี่ยงให้คงอยู่ในชุมชนต่อไป
       ปัญหาทางทันตสาธารณสุขของไทยที่พบได้ในช่วงอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ คือ สุขภาวะช่องปาก โดยโรคที่มักเป็นสาเหตุหลัก คือ ฟันผุ ซึ่งมีสาเหตุหนึ่งจากแบคทีเรีย นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในช่องปากก็มีความสำคัญที่ส่งเสริมโรคฟันผุ เช่น การสร้างสารอนุมูลอิสระของแบคทีเรีย ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคฟันผุ รวมถึงข้อมูลพฤกษเคมีและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของใบเมี่ยง (Camellia sinensis var. asammica) ที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัย 
 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความสำคัญของปัญหา

      ป่าเมี่ยง เป็นระบบวนเกษตร ที่มีการทำการเกษตรภายใต้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการรักษาต้นไม้ การทำแนวกันไฟ การไม่ใช้สารเคมีในการจัดการ ซึ่ง Preechapanya (1996) ได้ทำการสำรวจตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ป่าเมี่ยง ลุ่มน้ำแม่ตอนหลวง พบว่าป่าเมี่ยง ประกอบด้วยความหลายหลายทางชีวมากกมาย จากนั้นพรชัย และพงษ์ศักดิ์ (2542) กล่าวว่าป่าเมี่ยงมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีตจันถึงปัจจุบัน เป็นการระบบวนเกตรดั้งเดิมที่เก่าแก่ ที่บรรพบุรุษของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือเรียนรู้จากธรรมชาติ และนำมาปฏิบัติมาช้านานเป็นระบบเพาะปลูกที่ผสมผสานระหว่างป่าไม้ เกษตร และเลี้ยงสัตว์ ที่มุ่งการผลิตอาหาร สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต และรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตสินค้า หมู่บ้านป่าเมี่ยงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายรอบป่าใหญ่ ประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านเหล่านี้ทำหน้าที่ผู้รักษาปกปักรักษาผืนป่า เป็นบ้านเล็กในป่าใหญ่ เป็นตัวอย่างของคนกับป่าที่อยู่กันได้เกื้อกูลซึ่งกันและกันประชาชนเหล่านี้ประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจเลี้ยงตนเอง ควบคู่ไปกับรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ป่าเมี่ยงเป็นพื้นที่ป่ากันชนที่ปกป้องป่าดิบเขาที่ควรศึกษาเรียนรู้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแบบอย่างของภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวกับระบบวนเกษตร เพื่อการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กในเขตภูเขา หมู่บ้านป่าเมี่ยง ตั้งอยู่กระจายล้อมรอบบริเวณเทือกเขาผีปันน้ำบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นเขตกันชนระหว่างพื้นที่เกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี ป้องกันการบุกรุกของคนที่ใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหนึ่งบุกรุกเขาไปทำประโยชน์ที่ดินข้างเคียงตัวอย่าง เช่น เป็นพื้นที่ป้องกันชาวไร่ที่ทำไร่เลื่อนลอยบุกรุกเข้าไปทำลายป่าธรรมชาติ หรือเป็นเขตที่ป้องกันภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ จากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งอาทิ เช่น เป็นแนวป้องกันไฟป่า ความรุนแรงของลมกระแสน้ำในลำธาร การซะล้างพังทลายของหน้าดิน การขยายตัวของความแห้งแล้ง เป็นต้น ในปัจจุบันบางส่วนกลายเป็นอุทยานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา เป็นต้น เป็นแหล่งต้นนำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำปิงตอนบน บริเวณที่ผ่านอำเภอเชียงดาว แม่น้ำแม่งัด กวง ลาว อิง วัง และยม เมี่ยงยังเป็นพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญ และทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ในปัจจุบันสวนเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ค่อยๆ เริ่มหายออกไปจากพื้นที่ที่เคยเป็นสวนเมี่ยงมาก่อน เพราะราคาเมี่ยงในปัจจุบันมีราคาที่ต่ำ เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการบริโภค อีกทั้งยังขาดแคลนแรงงาน และมีพืชเกษตรชนิดอื่นเข้ามาแล้วมีราคาสูงกว่า เช่น กาแฟ ยางพารา เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงสนใจที่จะทำการศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชในเมี่ยง คุณสมบัติดิน เพื่อที่จะเป็นแนวทางการฟื้นฟู และอนุรักษ์สวนเมี่ยงให้คงอยู่ต่อไป      Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในช่องปากโดยเฉพาะที่ผิวฟันและเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดฟันผุโดยเฉพาะในเด็กเพราะเชื้อสามารถสร้าง extracellular polysaccharide (EPS) ได้ทั้งแบบละลายน้ำ (soluble) และไม่ละลายน้ำ (insoluble) จากการใช้น้ำตาล sucrose ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ (plaque formation) หรือ biofilm ที่ผิวฟัน นอกจากนี้ S. mutans สามารถสร้างกรดจากการใช้น้ำตาลและทนกรดได้ดีจึงทำให้สามารถอยู่รอดในสภาวะที่มีค่า pH ต่ำ กรดที่เชื้อสร้างขึ้นภายในช่องปากจะไปสลายผิวฟันเป็นผลทำให้เกิดฟันผุตามมา (Loesche, 2007)         การป้องกันการเกิดฟันผุสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้น้ำตาลเทียมทดแทนน้ำตาล sucrose การใช้ fluoride การใช้ sealants เคลือบหลุมร่องฟัน การใช้สารป้องกันการก่อคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากที่มี chlorhexidine เป็นส่วนประกอบ แต่ในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุนั้นต้องใช้ต้นทุนสูงและเชื้อก่อโรคในช่องปากหลายชนิดมีความสามารถในการดื้อยาเพิ่มขึ้นและยาปฎิชีวนะหลายชนิดเริ่มใช้ไม่ได้ผล เช่น penicillin, erythromycin, tetracycline, cephalosporins และ metronidazole (Bidault et. al., 2007) อีกทั้งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการอาเจียน ท้องเสียและมีคราบสีเกิดขึ้นที่ฟัน หลายประเทศจึงต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคในช่องปากที่มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง มีประสิทธิภาพในการรักษาและราคาถูก (Palombo, 201
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

       โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีสายพระเนตรยาวไกล โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และทรงมีโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากร พัฒนาแหล่งน้ำ การอนุรักษ์ และพัฒนาดิน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช ให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ เพื่อปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าธรรมชาติ การสำรวจรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูก และรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพ และปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช ทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย        การดําเนินงานโดย ความร่วมมือของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ อพ.สธ. และหน่วยงานรวมสนองพระราชดําริ อพ.สธ. หรือ สมาชิกและนักวิจัยในชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ในหน่วยงานที่เข้าร่วมสนอง พระราชดําริ อพ.สธ. มีจํานวนหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดําริในกิจกรรมนี้ 80 หน่วยงาน ได้ดําเนินงานวิจัยมากกว่า 1,000 เรื่อง พืชที่ได้วิจัยค้นคว้าศึกษาประเมินพันธุกรรมพืชที่สํารวจ เก็บรวบรวมและปลูกรักษาไว้ได้ดําเนินการไปแล้วจํานวนมากกว่า 20 สกุล ได้แก่ ทุเรียน มะตูม มะเกี๋ยง ก่อ มะแขว่น มะพอก มะม่วง หว้า ขนุน อ้อย ดองดึง หวาย มังคุด กระเจียว บุกคางคก ผักลิ้นห่าน ฮ่อม ผักเค็ด กล้วยไม้ป่า พืชสกุลอบเชย ผักพื้นเมือง พืชสมุนไพร ฯลฯ และศึกษา ด้านชีวโมเลกุล การทํา DNA Fingerprint ใน มะตูม หวาย กล้วยไม้ม้าวิ่ง ทุเรียน ขนุน ฯลฯ และ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อพ.สธ. ได้ขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยในการตั้งคณะกรรมการกํากับ ดูแลการดําเนินงานการอนุรักษ์ และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชอนุรักษ์ อพ.สธ. 8 ชนิดได้แก่ ทุเรียน มะเกี๋ยง สัก มะกิ๊ง น้อยหน่าเครือ ตีนฮุ้งดอย กล้วยไม้ และชาเมี่ยง และเพิ่มพืชที่ 9 คือ ยางนา ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 และมีแนวโน้มที่จะดําเนินการให้พรรณพืชที่มีคุณค่าเพื่อการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ต่อไป        ผานิตย์ (2549) ได้ศึกษาเรื่องการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยพรรณไม้โครงสร้างบางชนิดต่อระบบนิเวศป่าดิบเขา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ป่าโครงสร้างมีชนิดพรรณไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหลากชนิดกว่าป่าเสื่อมโทรม ชนิดพรรณไม้ที่ขึ้นเป็นพรรณไม้ดัชนีในพื้นที่ป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นเท่านั้น คือ สารภีป่า ส่วนชนิดพรรณไม้ธรรมชาติที่ขึ้นบริเวณที่โล่งแจ้งและแห้งแล้งกว่า เช่น มะขามป้อม และเมื่อเปรียบเทียบการเจริญของไม้ปลูกเฉพาะในป่าโครงสร้างทั้ง 3 แปลง พบว่าการเจริญเติบโตด้านความสูงสัมพัทธ์และอัตราการล้มตายของพรรณไม้ทุกชนิดรวมกันไม่มีค่าความแตกต่างทางสถิติ ส่วนการเจริญเติบโตด้านความโตของเส้นผ่าศูนย์กลางระดับคอรากแตกต่างกันในทุกแปลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยแปลงป่าโครงสร้าง 2 มีการเจริญเติบโตสัมพันธ์ทั้งความโตและความสูงมากที่สุด แต่อัตราการรอดตายอยู่อันดับสอง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่และแปลง พบว่าแปลงป่าโครงสร้าง 2 มีหน้าดินลึกถึง 32 เซนติเมตร มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดสูงกว่าทุกแปลง ซึ่งสัมพันธ์กับค่าอินทรียวัตถุในดินและน้ำหนักซากพืชที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับป่าโครงสร้างปีเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับป่าอนุรักษ์ของชุมชนบ้านแม่สาใหม่ พบว่าป่าโครงสร้างมีชนิดพรรณไม้ที่ขึ้นในแปลงและลักษณะทางกายภาพของดินใกล้เคียงกับป่าอนุรักษ์มากกว่าป่าเสื่อมโทรม         อัตถ์ (2561) ได้ทำการศึกษาศักยภาพการให้ผลผลิตและลักษณะการเจริญเติบโตของชาเมี่ยง (camellia sinensis var. assamica) ในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาศักยภาพในการเจริญเติบโตของต้นชาเมี่ยง พบว่า 1) ความสูงของต้นชาเมี่ยงมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 1 เดือน โดยเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตร 2) มีจำนวนใบที่แตกใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2 ใบ และ 3) ความยาวของใบที่แตกใหม่โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.7 เซนติเมตร สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพในการให้ผลผลิตของต้นชาเมี่ยงในแปลงสาธิตที่มีอายุมากกว่า 10 ปี พบว่า มีขนาดทรงพุ่ม (กว้าง X ยาว) โดยเฉลี่ยเท่ากับ (70
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1. การสำรวจแหล่งผลิตเมี่ยงแบบดั้งเดิมในภาคเหนือตอนบน              งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจแหล่งปลูกเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นต้นแบบในการศึกษาแหล่งเพาะปลูกเมี่ยง ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่จะเป็นพื้นที่สูง มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำไหลตลอดทั้งปี (ภาพที่ 111)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

พลวัตรของชาเมี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเหนือของประเทศไทย

พลวัตรของชาเมี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเหนือของประเทศไทย Dynamics of Miang tea under Climate changed in Northern Thailand  ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ1* มธุรส ชัยหาญ4  อารีกมล ต ไชยสุวรรณ1  วรรณา มังกิตะ1   ธีระพล เสนพันธุ์3  วชิระ ชุ่มมงคล4   เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์4  และสิริยุพา เลิศกาญจนาพร1 Thanakorn Lattirasuvan1* Mathurot Chaiharn4 Areekamol Tor.Chaisuwan1  Wanna Mangkita1 Theeraphol Senphan3   Vachira Choommongkol4  Permsak Supapornhemin4 and Siriyupa Lerdkanjanaporn1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 50290 กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ จ.เชียงใหม่ 50290 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 50290 ………………………………………………………………..   บทคัดย่อ             การศึกษาพลวัตรของชาเมี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเหนือของประเทศไทยวิจัยในประเด็น 3 เรื่องหลักคือ 1) ลักษณะนิเวศสวนชาเมี่ยง 2) การใช้ประโยชน์เมี่ยงหมักทางการแพทย์และเภสัชกรรม และ 3) การศึกษาห่วงโซ่อุปทานในการผลิตเมี่ยง ในพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัดได้แก่ บ้านเหล่า จ. เชียงใหม่ บ้านป่าเหมี้ยง จ.ลำปาง บ้านแม่ลัว จ. แพร่ และ บ้านศรีนาป่าน จ.น่าน พบว่า พบพรรณไม้จำนวน 14-22 ชนิด สมบัติดินชั้นบนมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าดินชั้นล่าง ผลการวิเคราะห์การต้านจุลินทรีย์ของสารสกัด พบว่า สารสกัดใบเมี่ยงหมักและใบเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ทุกชนิด ได้แก่ Bacillus cereus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Propionibacterium acnes, Staphylococcus aureus และ S. epidermidis โดยใบเมี่ยงสดแสดงฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรีย P. acnes ได้ดีที่สุด และใบเมี่ยงหมักแสดงฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย P. acnes ได้ดีที่สุด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทาน พบว่าทุกจังหวัดมีผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเมี่ยงอาจจำเป็นต้องใช้ห่วงโซ่อุปทานส่วนขยายเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิม        และนำแนวคิดในการหาผู้ร่วมทุนทำโครงการการรับซื้อผลผลิตแบบองค์รวมมาปรับใช้เพื่อรักษาสมดุลของพื้นที่ให้มีความยั่งยืน คำสำคัญ: ลักษณะนิเวศ, ชาเมี่ยง, พฤกษเคมี ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ,ห่วงโซ่อุปทาน ABSTRACT             Dynamics of “Miang” under climate changed in Northern Thailand was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) 2) application of fermented tea leave and fermented tea processing water for medicinal and pharmaceutical potential and 3) the supply chain analysis of Miang in northern of Thailand. The four villages of study sites. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Eight types of crude extract including ethanol crude extract of pickled tea leave and ethanol crude extract of fresh tea leave were investigated to antibacterial activity. Antibacterial of all crude extracts were inhibited the growth of bacteria including Bacillus cereus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Propionibacterium acnes, Staphylococcus aureus and S. epidermidis. The highest inhibition effect of ethanol crude extract of pickled tea leave were P. acnes and the strongest inhibition effect of ethanolic crude extract of fresh tea leave were P. acnes, followed by S. epidermidis, B. cereus, S. aureus and E. coli. The analysis is interpreted both quality and quantitative form. It can be shown that the return is worthiness to investment in all areas. The study of supply chain in those found that the complexity of supply chains is not complicate, the stakeholder within supply chain composed of the farmer. The extended supply chain might be used for development of supply chain of Miang to manage the risk of cultural impact. Moreover, the concept of investor
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ( Return on Investment : ROI) และ จุดคุ้มทุน (Break Even Point)

            ผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ( Return on Investment : ROI)หมายถึง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ที่จะเปรียบเทียบระหว่าง เงินลงทุน กับกำไร ที่ได้จากการลงทุน สามารถคำนวณได้จากสูตร ดังนี้
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การสกัดและแยกสารให้บริสุทธิ์จากสมุนไพร

การสกัดและแยกสารให้บริสุทธิ์จากสมุนไพร              การสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยอาศัยสมบัติการละลายของสารแต่ละชนิดในตัวทำละลายที่ต่างกัน จะได้สารสกัดหยาบ (Crude extraction) จากนั้นทำการแยกสารให้บริสุทธิ์จะใช้เทคนิคทางโครมาโทกราฟี (Chromatography) ทั้ง โครมาโทกราฟีแบบผิวบาง (Thin Layer Chromatography) และ คอลัมโครมาโทกราฟี (Column Chromatography) เป็นการแยกสารตามขั้วของสาร โดยใช้ ซิลิกาเจล (silica gel) เป็น วัฏภาคคงที่ (Stationary phase) เมื่อได้สารที่บริสุทธิ์นำไปยืนยันโครงสร้างด้วยเทคนิค สเปกโทรเมตรีอินฟราเรด (IR) นิวเคลียร์ แมกเนติกเรโซแนนซ์ (Nuclear magnetic Resonance; NMR) และ สเปกโทรเมตรีชนิดมวล (Mass spectrometry, MS) จะเป็นประโยชน์ในการพิสูจน์โครงสร้างทางเคมีของอินทรีย์ (อรอุมา  2547)