พลวัตรของชาเมี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเหนือของประเทศไทย

พลวัตรของชาเมี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเหนือของประเทศไทย
Dynamics of Miang tea under Climate changed in Northern Thailand 

ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ1* มธุรส ชัยหาญ4  อารีกมล ต ไชยสุวรรณ1  วรรณา มังกิตะ1  
ธีระพล เสนพันธุ์3  วชิระ ชุ่มมงคล4   เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์4  และสิริยุพา เลิศกาญจนาพร1
Thanakorn Lattirasuvan1* Mathurot Chaiharn4 Areekamol Tor.Chaisuwan1 
Wanna Mangkita1 Theeraphol Senphan3   Vachira Choommongkol4 
Permsak Supapornhemin4 and Siriyupa Lerdkanjanaporn1

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 50290
กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ จ.เชียงใหม่ 50290
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 50290

………………………………………………………………..

 


บทคัดย่อ


            การศึกษาพลวัตรของชาเมี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเหนือของประเทศไทยวิจัยในประเด็น 3 เรื่องหลักคือ 1) ลักษณะนิเวศสวนชาเมี่ยง 2) การใช้ประโยชน์เมี่ยงหมักทางการแพทย์และเภสัชกรรม และ 3) การศึกษาห่วงโซ่อุปทานในการผลิตเมี่ยง ในพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัดได้แก่ บ้านเหล่า จ. เชียงใหม่ บ้านป่าเหมี้ยง จ.ลำปาง บ้านแม่ลัว จ. แพร่ และ บ้านศรีนาป่าน จ.น่าน พบว่า พบพรรณไม้จำนวน 14-22 ชนิด สมบัติดินชั้นบนมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าดินชั้นล่าง ผลการวิเคราะห์การต้านจุลินทรีย์ของสารสกัด พบว่า สารสกัดใบเมี่ยงหมักและใบเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ทุกชนิด ได้แก่ Bacillus cereus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Propionibacterium acnes, Staphylococcus aureus และ S. epidermidis โดยใบเมี่ยงสดแสดงฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรีย P. acnes ได้ดีที่สุด และใบเมี่ยงหมักแสดงฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย P. acnes ได้ดีที่สุด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทาน พบว่าทุกจังหวัดมีผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเมี่ยงอาจจำเป็นต้องใช้ห่วงโซ่อุปทานส่วนขยายเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิม        และนำแนวคิดในการหาผู้ร่วมทุนทำโครงการการรับซื้อผลผลิตแบบองค์รวมมาปรับใช้เพื่อรักษาสมดุลของพื้นที่ให้มีความยั่งยืน
คำสำคัญ: ลักษณะนิเวศ, ชาเมี่ยง, พฤกษเคมี ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ,ห่วงโซ่อุปทาน

ABSTRACT


            Dynamics of “Miang” under climate changed in Northern Thailand was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) 2) application of fermented tea leave and fermented tea processing water for medicinal and pharmaceutical potential and 3) the supply chain analysis of Miang in northern of Thailand. The four villages of study sites. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Eight types of crude extract including ethanol crude extract of pickled tea leave and ethanol crude extract of fresh tea leave were investigated to antibacterial activity. Antibacterial of all crude extracts were inhibited the growth of bacteria including Bacillus cereus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Propionibacterium acnes, Staphylococcus aureus and S. epidermidis. The highest inhibition effect of ethanol crude extract of pickled tea leave were P. acnes and the strongest inhibition effect of ethanolic crude extract of fresh tea leave were P. acnes, followed by S. epidermidis, B. cereus, S. aureus and E. coli. The analysis is interpreted both quality and quantitative form. It can be shown that the return is worthiness to investment in all areas. The study of supply chain in those found that the complexity of supply chains is not complicate, the stakeholder within supply chain composed of the farmer. The extended supply chain might be used for development of supply chain of Miang to manage the risk of cultural impact. Moreover, the concept of investor for joint venture should be applied to the project for maintain the balance of sustainable development. 
Keywords:  Ecological Characteristics, Miang, Phytochemicals, Antibacterial, Antioxidant, Supply Chain 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

พลวัตรของชาเมี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเหนือของประเทศไทย

พลวัตรของชาเมี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเหนือของประเทศไทย Dynamics of Miang tea under Climate changed in Northern Thailand  ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ1* มธุรส ชัยหาญ4  อารีกมล ต ไชยสุวรรณ1  วรรณา มังกิตะ1   ธีระพล เสนพันธุ์3  วชิระ ชุ่มมงคล4   เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์4  และสิริยุพา เลิศกาญจนาพร1 Thanakorn Lattirasuvan1* Mathurot Chaiharn4 Areekamol Tor.Chaisuwan1  Wanna Mangkita1 Theeraphol Senphan3   Vachira Choommongkol4  Permsak Supapornhemin4 and Siriyupa Lerdkanjanaporn1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 50290 กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ จ.เชียงใหม่ 50290 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 50290 ………………………………………………………………..   บทคัดย่อ             การศึกษาพลวัตรของชาเมี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคเหนือของประเทศไทยวิจัยในประเด็น 3 เรื่องหลักคือ 1) ลักษณะนิเวศสวนชาเมี่ยง 2) การใช้ประโยชน์เมี่ยงหมักทางการแพทย์และเภสัชกรรม และ 3) การศึกษาห่วงโซ่อุปทานในการผลิตเมี่ยง ในพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัดได้แก่ บ้านเหล่า จ. เชียงใหม่ บ้านป่าเหมี้ยง จ.ลำปาง บ้านแม่ลัว จ. แพร่ และ บ้านศรีนาป่าน จ.น่าน พบว่า พบพรรณไม้จำนวน 14-22 ชนิด สมบัติดินชั้นบนมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าดินชั้นล่าง ผลการวิเคราะห์การต้านจุลินทรีย์ของสารสกัด พบว่า สารสกัดใบเมี่ยงหมักและใบเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ทุกชนิด ได้แก่ Bacillus cereus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Propionibacterium acnes, Staphylococcus aureus และ S. epidermidis โดยใบเมี่ยงสดแสดงฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรีย P. acnes ได้ดีที่สุด และใบเมี่ยงหมักแสดงฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย P. acnes ได้ดีที่สุด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทาน พบว่าทุกจังหวัดมีผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเมี่ยงอาจจำเป็นต้องใช้ห่วงโซ่อุปทานส่วนขยายเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิม        และนำแนวคิดในการหาผู้ร่วมทุนทำโครงการการรับซื้อผลผลิตแบบองค์รวมมาปรับใช้เพื่อรักษาสมดุลของพื้นที่ให้มีความยั่งยืน คำสำคัญ: ลักษณะนิเวศ, ชาเมี่ยง, พฤกษเคมี ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ,ห่วงโซ่อุปทาน ABSTRACT             Dynamics of “Miang” under climate changed in Northern Thailand was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) 2) application of fermented tea leave and fermented tea processing water for medicinal and pharmaceutical potential and 3) the supply chain analysis of Miang in northern of Thailand. The four villages of study sites. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Eight types of crude extract including ethanol crude extract of pickled tea leave and ethanol crude extract of fresh tea leave were investigated to antibacterial activity. Antibacterial of all crude extracts were inhibited the growth of bacteria including Bacillus cereus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Propionibacterium acnes, Staphylococcus aureus and S. epidermidis. The highest inhibition effect of ethanol crude extract of pickled tea leave were P. acnes and the strongest inhibition effect of ethanolic crude extract of fresh tea leave were P. acnes, followed by S. epidermidis, B. cereus, S. aureus and E. coli. The analysis is interpreted both quality and quantitative form. It can be shown that the return is worthiness to investment in all areas. The study of supply chain in those found that the complexity of supply chains is not complicate, the stakeholder within supply chain composed of the farmer. The extended supply chain might be used for development of supply chain of Miang to manage the risk of cultural impact. Moreover, the concept of investor
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ3)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ2)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ             สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อภิปรายผล

อภิปรายผล                 ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ อาจไม่สามารถนำไปเป็นต้นแบบของการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่เป็นหลักสำคัญของชาติ และอาจไม่ใช่แม่บทสำหรับการบริหารห่วงโซ่อุปทานที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับสินค้าชนิดอื่นได้ เนื่องจากชาเมี่ยง เป็นผลผลิตทางการเกษตรเชิงวัฒนธรรม ในพื้นที่สูงเข้าถึงได้ยากซึ่งไม่ได้มีพื้นที่ในลักษณะนี้มากนักในประเทศไทย ผืนป่าชาเมี่ยงแต่ละแห่งเป็นการรับสืบทอดมรดกจากบรรพบุรุษกันมามากกว่า 3 รุ่น หรือมากกว่า 200 ปี ป่าชาเมี่ยงมักมีลักษณะที่เป็นวนเกษตรที่สมดุล และเป็นระบบที่รักษาสภาพแวดล้อมปกป้องผืนป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำและทรัพยากรที่มีคุณค่า  ป่าชาเมี่ยงเป็นพื้นที่กันชน ป้องกันแหล่งต้นน้ำ ป้องกันการบุกรุกของกลุ่มคนที่เข้าไปยึดครองใช้ประโยชน์ภายในเขตป่า และยังป้องกันภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ  สภาพป่าชาเมี่ยงเป็นโครงสร้างที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ พบพืชพันธุ์ พืชอาหารและสัตว์อื่นอีกมากมาย               การพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เกิดจากการออกแบบกระบวนการใหม่กับพันธมิตรธุรกิจ การบริการรูปแบบใหม่ หรือ การร่วมมือกันเพื่อเกิดโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ แต่ในประเด็นของความยั่งยืนของการผลิตชาเมี่ยงอาจมีความแตกต่างออกไปเนื่องจากควรมุ่งเน้นให้เกิดการจัดการวัฒนธรรมดั่งเดิมที่ทำให้ชุมชนยังคงอยู่ ฉนั้นหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการที่จะเข้ามาพัฒนา อาจจำเป็นต้องวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานส่วนขยาย (Extended Supply Chain) โดยมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าของลูกค้า เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม อาจเป็นลักษณะการหาผู้ร่วมทุนทำโครงการ โดยนำแนวคิด Farmer Equity มาปรับใช้ เพื่อรักษาผืนแผ่นดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์ทรัพย์ยากรน้ำ และพลังงาน การจ่ายค่าตอบแทนที่สูงกว่าการขายให้กับ สหกรณ์หรือพ่อค้าคนกลาง การสร้างความโปร่งใสให้เกิดการรับจ่ายเงินจนถึงเกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อสร้างความมั่นใจในตลาดให้กับเกษตรกร นอกจากนั้นควรมีการดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน รวมถึงการให้ทุนการศึกษาแก่บุตรหลานของคนในพื้นที่ เพื่อให้คนรุ่นหลังตระหนักถึงการอนุรักษ์และควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์และเรียนรู้วัฒนธรรมในพื้นที่ร่วมกัน   ข้อเสนอแนะ                       หน่วยงานรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนช่วยในการสร้างเครือข่ายเกษตรกรในแต่ละชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม อาจเริ่มจากการพัฒนาวิสาหกิจที่มีอยู่เดิมของชุมชน ให้มีความเข้มแข็งจากกลไกเศรษฐกิจฐานราก โดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ทุนนิยม แต่คำนึกถึงสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชุมชนเป็นหลัก มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจผลิตแบบพึ่งตนเอง การสร้างกองทุนในชุมชน จนเชื่อมเป็นเครือข่ายการผลิตชาเมี่ยงระหว่างจังหวัด แบบพหุภาคี สู่การพัฒนาเครือข่ายผลผลิตทางการเกษตรเชิงวัฒนธรรมที่มั่นคง ตามความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป                     ออกแบบเครื่องมือดัชนีชี้วัดความสุขของคนในชุมชน เปรียบเทียบกับผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ ศึกษาความต้องการของชุมชนอย่างลึกซึ่งก่อนการพัฒนาในเชิงเศรษฐศาสตร์ สร้างวิธีการให้เกิดการจัดการอย่างสร้างสรรค์โดยชุมชน ให้มีการจัดการทุนธรรมชาติ ทุนทรัพยากร ทุนที่เป็นผลผลิตที่เกิดจากชาเมี่ยง ทุนทางภูมิปัญญาในการผลิตชาเมี่ยง รวมถึงทุนทางสังคมในชุมชน เพื่อเสริมสร้างพลังและชีวิตที่ดีให้กับชุมชน  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

หน้าที่ของระบบนิเวศ

หน้าที่ของระบบนิเวศ             Odum et al. (1962) ได้แบ่งหน้าที่ที่สำคัญของระบบนิเวศออกเป็น 3 ประเภทคือ 1.    การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ  2.    การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุต่างๆ ในระบบนิเวศ   3.    กลไกการควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยปัจจัยแวดล้อม ความต้องการแสงสว่างของพืชและการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมจากการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่น การตรึงไนโตรเจนด้วยจุลินทรีย์บางชนิด เป็นต้น การจำแนกทำนองนี้ทำให้สะดวกต่อการศึกษาหน้าที่ของระบบนิเวศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างของระบบที่แตกต่างกันย่อมมีผลให้อัตราการถ่ายทอด การสะสมพลังงาน การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุอาหารผิดแปลกแตกต่างกันไปอีกด้วย (นิวัติ, 2541) 1.การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตในระบบนิเวศ เริ่มต้นจากการถ่ายทอดพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของพลังงานแสง (photo energy) พืชสีเขียวจะตรึงพลังงานจากแสงมาแปรสภาพเป็นแป้ง และน้ำตาลสะสมในรูปมวลชีวภาพของพืช จากนั้นพลังงานบางส่วนในพืชจะสูญเสียไปในกระบวนการการหายใจ บางส่วนจะถ่ายทอดผ่านผู้บริโภคและจุลินทรีย์ในดิน ทุกขั้นตอนที่มีการถ่ายทอดพลังงานผ่านระดับชีวิตจะเกิดการสูญเสียพลังงานไปจากระบบนิเวศในรูปของความร้อน การถ่ายเทวัตถุและพลังงานทำให้ระบบนิเวศมีการเคลื่อนไหวถ่ายเท เช่น การดูดซับแสงโดยพื้นดินและพื้นน้ำทำให้เกิดบริเวณที่ร้อนและเย็นขึ้นจึงทำให้              5.3) พืชที่ต้องการน้ำปริมาณน้อย เป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในที่ที่ปริมาณฝนตกน้อย ขาดแคลนน้ำ หรือในที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายซึ่งอุ้มน้ำได้ไม่ดี เช่น มันสำปะหลัง ป่านศรนารายณ์ กระบองเพชร เป็นต้น              5.4) พืชที่มีระบบรากพิเศษ คือ พืชที่มีส่วนประกอบบางส่วน    เปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปดูดซึมความชื้นในอากาศไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้พืชสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี เช่น กล้วยไม้ สกุลต่างๆ เป็นต้น      2.3 อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช และมีผลต่อขบวนการต่างๆ ของพืช เช่น ขบวนการหายใจ ขบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช เป็นต้น พืชแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิสูงต่ำแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเราแบ่งพืชออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้             1) พืชเมืองหนาวเป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20 องศาเซลเซียส เช่น แอปเปิล พลับ ท้อ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง ข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี เป็นต้น แต่ถ้านำพืชเหล่านี้มาปลูกในท้องถิ่นที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิดอาการใบไหม้ เนื่องจากมีการคายน้ำมากหรือเกิดการแข็งตัวของโปรโตพลาสซึมในเซลล์    ใบพืช             2) พืชเมืองร้อน เป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน ส้ม มะขาม ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง  หางนกยูง ราชพฤกษ์ ขี้เหล็ก สัก เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำไปปลูกในอุณหภูมิต่ำกว่านี้   จะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง 2.4 แสงสว่าง (Light) แสงสว่างที่ได้จากดวงอาทิตย์ จัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะแสงสว่างเป็นปัจจัยควบคุมสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ การหมุนเวียนของอากาศ การเกิดลมและฝน เป็นต้น สำหรับพืช แสงสว่างจัดเป็นพลังงานที่พืชนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล นอกจากแสงจะมีผลโดยตรงต่อขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นขบวนการ รากฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน และเป็นแหล่งของสารประกอบขั้นต้น เพื่อน ามาสังเคราะห์เป็น สารประกอบอินทรีย์ในพืช อันเป็นปัจจัยโดยตรงในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชแล้ว แสง ยังควบคุมขบวนการรากฐานของการเจริญเติบโตในระดับต่าง ๆ จนได้ผลรวมออกมาในรูปการ เจริญและเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง นอกจากนี้ แสงยังมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ใน การเจริญเติบโตของพืชด้วย เช่น การงอกของเมล็ด การพักตัวของเมล็ด การออกดอก แสงสว่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้ 1) แสงมีความสำคัญต่อพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด 2) แสงมีอิทธิพลต่อกำรสร้างผลผลิตพืช 3) คุณภาพของแสง 4) ความเข้มของแสง 2.5 อากาศ (Air) อากาศ คือ กลุ่มก๊าซชนิดต่ำงๆ ที่อยู่ในบรรยากาศทั่วไปและในดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซอื่นๆ มีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในดินในการหายใจ ถ้าในดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้รากพืชไม่เจริญเติบโต มีผลโดยตรงต่อการดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารพืช ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นพิษต่อพืช รากพืชดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อยลงเช่นกัน พืชใช้ก๊าซออกซิเจนเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อกระบวนการหายใจและใ