นิเวศวิทยา และ องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา และ หน้าที่ของระบบนิเวศ

นิเวศวิทยา
            คำว่านิเวศวิทยา เริ่มใช้ในจดหมายเหตุของ Henry Thoreau ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 ต่อมา Reiter ได้นำคำนี้มาใช้ในผลงานของเขาซึ่งพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานในปี ค.ศ. 1865 โดยนิเวศวิทยา มาจากรากศัพท์เดิมในภาษากรีก จากคำว่า oikos ซึ่งแปลว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัย ผสมกับคำว่า logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา รวมเป็น oecology และต่อมาได้เขียนตามหลักภาษาอังกฤษว่า ecology ใช้เรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย แม้ว่าวิชานิเวศวิทยาได้แยกตัวออกมาจากวิชาชีววิทยาแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักและสนใจกันเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี ค.ศ.1866 นักสัตววิทยาท่านหนึ่งคือ Ernst Haeckel ได้หยิบยกเอาคำนี้ขึ้นมาใช้และให้คำนิยามไว้ว่า "นิเวศวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ อย่างประหยัดของธรรมชาติ คือการศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ทั้งมวลของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ" จากคำนิยามนี้จึงเป็นการกำหนดแนวทางการศึกษาทางนิเวศวิทยาแก่นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในแนวดังกล่าว จึงยกย่องให้ Haeckel เป็นบิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านนี้
             Charles Elton (1927)"นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านประวัติศาสตร์ของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของสัตว์"
Shelford (1911) "นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านสังคม" 
E. P. Odum (1971) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาทางโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ" 
H. J. Oosting (1956) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของมัน"
            Kimmins (1987) กล่าวว่าป่ามิใช่เป็นเพียงการมีต้นไม้มายืนร่วมกันแต่ยังประกอบด้วย (1) ต้นไม้ (2) วัตถุสารที่ต้นไม้และสัตว์ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ธาตุอาหารและความชื้น (3) พันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มาร่วมกระทำกันก่อให้เกิดร่มเงาต่อกัน แก่งแย่งกัน อาศัยประโยชน์ต่อกัน หรือทำลายกัน (4) สัตว์ที่ใช้อาหารจากพืช อาศัยประโยชน์และให้ประโยชน์ต่อพืช (5) จุลินทรีย์ที่ได้และให้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อต้นไม้ (6) ดินและบรรยากาศรวมถึงไฟป่าและความชื้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในป่า
           Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก ecological system นี้ว่า ecosystem ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้ว แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า Tansley เป็นเวลาช้านาน เพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า microcosm หรือ biosystem เป็นต้น สำหรับนักนิเวศวิทยาชาวรัสเซียนิยมเรียกระบบนิเวศว่า biogeocoenoses หรือ biocoenosis คำว่า ecosystem ของ Tansley เป็นคำที่กะทัดรัดและเป็นที่ยอมรับกัน จึงเป็นที่นิยมใช้กันตั้งแต่นั้นมา การยอมรับระบบนิเวศว่าเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา นับเป็นประโยชน์และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการศึกษา และพัฒนาการในด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อ มาอย่างรวดเร็ว
โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นจะต้องศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง (structure)  และหน้าที่ (function) ต่างๆ ของระบบนิเวศนั้นซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของแต่ละระบบนิเวศซึ่งไม่เหมือนกัน 

 

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา

            องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้ 
1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต
            สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน (carnivore) มนุษย์กินสัตว์เป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งเรียกว่า top carnivore การบริโภคแบบต่อเนื่องในลักษณะดังกล่าวก็คือห่วงโซ่อาหาร (food chain) ซึ่งหมายถึงการบริโภคอย่างมีขั้นตอนจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งไม่มีความยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน เช่น แพลงค์ตอนปรุงอาหารได้เอง ปลาเล็กกินแพลงค์ตอน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และมนุษย์กินปลาใหญ่ เป็นต้น บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามลำดับแต่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่าใยอาหาร (food web)  
ส่วนประกอบที่มีชีวิตซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะกิจกรรมในระบบนิเวศหนึ่งๆ   มีดังนี้ 
1.1.ผู้ผลิต (producer organism) หรือพวก autotrophs ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีเพียงพืชสีเขียวที่มีสารคลอโรฟิลล์ในตัวเองและสามารถตรึงพลังงานแสงอาทิตย์มาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับวัตถุดิบในธรรมชาติ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และธาตุอาหารที่ละลายน้ำให้กลายเป็นสารมวลชีวภาพหรือสารประกอบอินทรีย์เคมีในรูปต่างๆ ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับส่วนประกอบอื่นที่ไม่มีชีวิตในแต่ละระบบนิเวศ
1.2.ผู้บริโภค (consumer organism) หรือพวก herbivore และ carnivore ด้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่จะบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่งในลักษณะที่มีระดับชั้นการกินอาหาร (trophic level) และถ่ายเทเป็นทอดๆ ผ่านไปในระบบนิเวศทำให้เกิดการไหลของพลังงานและสารในระบบ ผู้บริโภคสามารถแบ่งตามลำดับขั้นได้ดังนี้
1.2.1 ผู้บริโภคระดับปฐมภูมิ (primary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร  (herbivores) สามารถนำเอาพลังงานที่อยู่ในรูปเนื้อเยื่อพืชมาใช้ได้ ได้แก่ แมลงต่างๆ เป็นต้น
1.2.2   ผู้บริโภคระดับทุติยภูมิ (secondary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ (carnivore) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่หรือแข็งแรงกว่าเหยื่อร่างกายมีพัฒนาเพื่อเหมาะแก่การล่า เช่น มีเขี้ยวเล็บแหลมคม มีพิษ ได้แก่ เสือ สิงโต งู และเหยี่ยว เป็นต้น 
1.2.3  ผู้บริโภคระดับตติยภูมิ (tertiary consumer) หมายถึง สัตว์กินสัตว์ที่กินสัตว์อีกทีหนึ่ง (top carnivore) หรือเป็นพวกที่สามารถกินสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นของอาหารได้มากกว่าหนึ่งลำดับขั้น คือ อาจกินได้ทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) หลายชนิดก็ได้
1.2.4  ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตพวก heterotrophic organism ที่สามารถย่อยสลายซากสารอินทรีย์ของสิ่งที่ตายแล้วให้เน่าเปื่อย และเปลี่ยนกลับไปเป็นสารอิสระหรือสารอนินทรีย์กลับคืนสู่สภาพแวดล้อมได้ ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ พวกแบคทีเรียหรือเห็ดราต่างๆ เป็นต้น ผู้ย่อยสลายนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะมีหน้าที่เป็นผู้ทำลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป และยังเป็นผู้ที่ทำให้มีสารอินทรีย์กลับกลายเป็นสารอิสระหรือสาร อนินทรีย์ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการถ่ายเทสารกลับสู่สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ย่อยสลายจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic components) กับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components) ในระบบนิเวศนั่นเอง 
การนำเอาขั้นการกินอาหารที่ระดับต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมาสร้างเป็นกราฟแท่งรูปทรงปิรามิด โดยที่มีระดับของผู้ผลิตอยู่ตรงฐานของปิรามิดถัดขึ้นไปเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่งและปลายสุดจะเป็นผู้บริโภคอันดับที่สูงกว่าเรียกกราฟแท่งเหล่านี้ว่าปิรามิดทางนิเวศวิทยา (ecological pyramid) ซึ่งจะสามารถแบ่งปิรามิดออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
    ปิรามิดของจำนวน (pyramid of number) บอกถึงจำนวนของสิ่งมีชีวิตในแต่ละระดับขั้นการกินอาหาร เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบในธรรมชาติตามสภาพแว.2คล้อม รูปแบบที่ผู้ผลิตขนาดเล็ก ผู้บริโภคในลำดับต่อๆไป ส่วนใหญ่เป็นพวกสัตว์กินเนื้อ เมื่อผู้ผลิตมีขนาดใหญ่จะสามารถรองรับผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อมีปรสิตเข้ามาเกี่ยวข้อง ปิรามิดจะมีลักษณะคว่ำหัวลงได้เนื่องจากมีปรสิตที่เข้าเบียนจำนวนมากนั่นเอง
   ปิรามิดของมวลชีวภาพ (pyramid of biomass) บอกถึงขนาดของน้ำหนักแห้งของแต่ละระดับขั้นอาหาร โดยทั่วไปถ้าขนาดของสิ่งมีชีวิตที่ระดับการกินต่างๆ ไม่แตกต่างกันจนเกิน ไปปิรามิดของมวลชีวภาพนั้นมักจะเป็นรูปฐานกว้างปลายเล็ก ซึ่งจะแตกต่างจากปิระมิดของจำนวนเมื่อเป็นสิ่งมีชิวิตชนิดเดียวกัน
ปิรามิดพลังงาน (pyramid of energy) บอกถึงอัตราการถ่ายเทพลังงานของแต่ละระดับขั้นอาหารซึ่งเป็นแสดงถึงการส่งพลังงานผ่านทางห่วงโซ่อาหาร โดยขนาดและอัตราการเผาผลาญของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวจะไม่มีอิทธิพลต่อรูปร่างปิรามิดของพลังงาน 
2.องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components)
         สิ่งไม่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนประกอบที่อยู่ในรูปของธาตุ สารประกอบและของผสม รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ลักษณะต่างๆ ตามธรรมชาติองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตมีดังนี้
2.1  สารที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม (abiotic substance) แบ่งออกเป็น
         กลุ่มอินทรีย์สาร (organic substance) ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และ ฮิวมัส รวมทั้งซากพืชซากสัตว์ต่างๆ ที่ยังไม่สลายตัว
         กลุ่มอนินทรีย์สาร (inorganic substance)  ได้แก่ ธาตุและสารประกอบในธรรมชาติทุกชนิดได้แก่ คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำในธรรมชาติ ดิน หิน และแร่ธาตุต่างๆ

2.2   สภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ฯลฯ
         สภาพทางกายภาพ ได้แก่ พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ  พื้นฐานสำคัญที่สุดที่เป็นต้นกำเนิดของส่วนประกอบต่างๆ ข้างต้นรวมทั้งสภาวะทางกายภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาวะอุณหภูมิ และความกดดัน ตลอดจนความชื้นของอากาศ กระแสน้ำในมหาสมุทร เป็นต้น 

 

หน้าที่ของระบบนิเวศ
            Odum et al. (1962) ได้แบ่งหน้าที่ที่สำคัญของระบบนิเวศออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.    การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ 
2.    การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุต่างๆ ในระบบนิเวศ  
3.    กลไกการควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยปัจจัยแวดล้อม
           ความต้องการแสงสว่างของพืชและการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมจากการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่น การตรึงไนโตรเจนด้วยจุลินทรีย์บางชนิด เป็นต้น การจำแนกทำนองนี้ทำให้สะดวกต่อการศึกษาหน้าที่ของระบบนิเวศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างของระบบที่แตกต่างกันย่อมมีผลให้อัตราการถ่ายทอด การสะสมพลังงาน การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุอาหารผิดแปลกแตกต่างกันไปอีกด้วย (นิวัติ, 2541)
1.การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตในระบบนิเวศ
       เริ่มต้นจากการถ่ายทอดพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของพลังงานแสง (photo energy) พืชสีเขียวจะตรึงพลังงานจากแสงมาแปรสภาพเป็นแป้ง และน้ำตาลสะสมในรูปมวลชีวภาพของพืช จากนั้นพลังงานบางส่วนในพืชจะสูญเสียไปในกระบวนการการหายใจ บางส่วนจะถ่ายทอดผ่าน  ผู้บริโภคและจุลินทรีย์ในดิน ทุกขั้นตอนที่มีการถ่ายทอดพลังงานผ่านระดับชีวิตจะเกิดการสูญเสียพลังงานไปจากระบบนิเวศในรูปของความร้อน การถ่ายเทวัตถุและพลังงานทำให้ระบบนิเวศมีการเคลื่อนไหวถ่ายเท เช่น การดูดซับแสงโดยพื้นดินและพื้นน้ำทำให้เกิดบริเวณที่ร้อนและเย็นขึ้นจึงทำให้
        5.3) พืชที่ต้องการน้ำปริมาณน้อย เป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในที่ที่ปริมาณฝนตกน้อย ขาดแคลนน้ำ หรือในที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายซึ่งอุ้มน้ำได้ไม่ดี เช่น มันสำปะหลัง ป่านศรนารายณ์ กระบองเพชร เป็นต้น
        5.4) พืชที่มีระบบรากพิเศษ คือ พืชที่มีส่วนประกอบบางส่วน เปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปดูดซึมความชื้นในอากาศไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้พืชสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี เช่น กล้วยไม้ สกุลต่างๆ เป็นต้น
    
2.3 อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช และมีผลต่อขบวนการต่างๆ ของพืช เช่น ขบวนการหายใจ ขบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช เป็นต้น พืชแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิสูงต่ำแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเราแบ่งพืชออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
            1) พืชเมืองหนาวเป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20 องศาเซลเซียส เช่น แอปเปิล พลับ ท้อ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง ข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี เป็นต้น แต่ถ้านำพืชเหล่านี้มาปลูกในท้องถิ่นที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิดอาการใบไหม้ เนื่องจากมีการคายน้ำมากหรือเกิดการแข็งตัวของโปรโตพลาสซึมในเซลล์ใบพืช
            2) พืชเมืองร้อน เป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน ส้ม มะขาม ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หางนกยูง ราชพฤกษ์ ขี้เหล็ก สัก เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำไปปลูกในอุณหภูมิต่ำกว่านี้ จะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง
2.4 แสงสว่าง (Light) แสงสว่างที่ได้จากดวงอาทิตย์ จัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะแสงสว่างเป็นปัจจัยควบคุมสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ การหมุนเวียนของอากาศ การเกิดลมและฝน เป็นต้น สำหรับพืช แสงสว่างจัดเป็นพลังงานที่พืชนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล นอกจากแสงจะมีผลโดยตรงต่อขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นขบวนการ รากฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน และเป็นแหล่งของสารประกอบขั้นต้น เพื่อน ามาสังเคราะห์เป็น สารประกอบอินทรีย์ในพืช อันเป็นปัจจัยโดยตรงในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชแล้ว แสง ยังควบคุมขบวนการรากฐานของการเจริญเติบโตในระดับต่าง ๆ จนได้ผลรวมออกมาในรูปการ เจริญและเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง นอกจากนี้ แสงยังมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ใน การเจริญเติบโตของพืชด้วย เช่น การงอกของเมล็ด การพักตัวของเมล็ด การออกดอก แสงสว่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้
1) แสงมีความสำคัญต่อพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
2) แสงมีอิทธิพลต่อกำรสร้างผลผลิตพืช
3) คุณภาพของแสง
4) ความเข้มของแสง

2.5 อากาศ (Air) อากาศ คือ กลุ่มก๊าซชนิดต่ำงๆ ที่อยู่ในบรรยากาศทั่วไปและในดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซอื่นๆ มีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในดินในการหายใจ ถ้าในดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้รากพืชไม่เจริญเติบโต มีผลโดยตรงต่อการดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารพืช ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นพิษต่อพืช รากพืชดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อยลงเช่นกัน พืชใช้ก๊าซออกซิเจนเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อกระบวนการหายใจและใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงหรือการปรุงอาหารของพืช เพื่อให้ได้แป้งและน้ำตาล ในขณะที่ลมพัด โมเลกุลของก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และโมเลกุลของน้ำจะเคลื่อนที่เข้าและออกทางปากใบพืช ทำให้เกิดขบวนการและปฏิกิริยาต่างๆ ในพืช เช่น การหายใจ การคายน้ำ การสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชที่ปลูกอยู่ในที่ลมสงบ นอกจากนี้ ลมยังช่วยการผสมเกสรของพืชได้เป็นอย่างดี และช่วยทำให้เมล็ดปลิวกระจายไปกับสายลม เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้มีการกระจายพันธุ์พืชได้เป็นอย่างดี แต่ในบางครั้งลมก็มีโทษก็พืชเช่นกัน บางครั้งเมื่อเกิดพายุความแรงของลมทำให้ต้นไม้โค่นล้ม เสียหาย และยังเป็นปัจจัยการแพร่กระจายเชื้อโรคของพืชได้ เช่น รา สามารถฟุ้งกระจายไปในระยะไกล ก็ให้เกิดความเสียกายต่อพืชได้

2.6 แร่ธาตุอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช เนื่องจากแร่ธาตุอาหารเป็นส่วนประกอบของอาหาร เป็นส่วนประกอบของสารอินทรีย์ในขบวนการ สังเคราะห์แสงและการหายใจ และเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในกิจกรรมการสังเคราะห์แสงและ การหายใจ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่าแร่ธาตุใดจัดเป็นแร่ธาตุอาหารของพืช คือ 
1) ธาตุนั้นต้องมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และการสืบพันธุ์ ของพืช ถ้าขาดธาตุหนึ่งธาตุใด จะทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการ และการสืบพันธุ์ไม่สมบูรณ์ 
2) ความต้องการธาตุแต่ละธาตุต้องมีขอบเขตจ ากัด และไม่สามารถทดแทนกันได้ 
3) ธาตุเหล่านั้นต้องมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และไม่เป็น สาเหตุที่ไม่ททำให้ธาตุชนิดอื่น เกิดความเหมาะสม หรือเป็นอันตรายต่อพืช 
แร่ธาตุอาหารของพืช มีอยู่ด้วยกัน 16 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส เหล็ก ทองแดง กำมะถัน โมลิบดีนัม สังกะสี คลอรีน โบรอน แคลเซียม นอกจากนี้ วิทยาการสมัยใหม่ ยังค้นพบว่า ยังมีอีกหลายธาตุที่ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชเช่นกัน แต่ไม่ถูกจัดไว้ในบัญชีรายชื่อแร่ ธาตุอาหาร เช่น นิเกิล เป็นต้น กลุ่มของรายชื่อแร่ธาตุอาหารที่ระบุข้างต้นนี้ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 
1) ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก หรือธาตุอาหารหลัก มี 10 ธาตุ เรียกว่า Macronutrients ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แคลเซียม กำมะถัน 
2) ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย หรือธาตุอาหารรอง มี 6 ธาตุ เรียกว่า Micronutrients ได้แก่ แมงกานีส ทองแดง โมลิบดีนัม สังกะสี คลอรีน โบรอน อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าธาตุอาหารพืชใด จัดอยู่ในกลุ่มธาตุอาหารหลักหรือธาตุ อาหารรอง จะต้องพิจารณาจากพืชแต่ละชนิดเป็นสำคัญ เนื่องจากวิทยาการสมัยใหม่ กลับพบว่า ธาตุอาหารพืชบางชนิด อาจเป็นธาตุอาหารรองในพืชชนิดหนึ่ง แต่อาจเป็นธาตุอาหารหลักในพืช อีกชนิดหนึ่งก็ได้ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน (Carbon, C; Hydrogen, H, O) ; Oxygen ธาตุอาหารหลักทั้ง 3 นี้ เป็นองค์ประกอบของทุกสารประกอบ โดยประกอบกัน เป็นสารประกอบ hydrocarbon และทุกเซลล์ของพืช โดยเป็นส่วนต่าง ๆ ในระดับเซล ธาตุทั้ง 3 พืช มักไม่ขาดแคลน เพราะสามารถแสวงหาได้เอง จากอากาศ (สังคม,2558)
 

 



 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การตรวจเอกสาร

ระบบนิเวศ     ระบบนิเวศเป็นกระบวนการของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในระบบนิเวศ ได้แก่ กระบวนการสังเคราะห์แสง การผุสลายตัวของอินทรียวัตถุ กิจกรรมในการดำเนินชีวิตในฐานะเป็นผู้ล่า เป็นเหยื่อ เป็นสัตว์กินพืช กินเนื้อ เป็นพวกคอยเกาะกินผู้อื่น หรือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ปฏิกริยาร่วม (interaction) ภายในหรือระหว่างระดับชีวิต (trophic levels) ที่จัดเรียงตามลำดับขั้นของการบริโภคต่าง ๆ ดังกล่าวล้วนถือได้ว่าเป็นกระบวนการชีวิตที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเท และการสะสมพลังงานสาร และแร่ธาตุอาหาร  รวมทั้งการกระจายผ่านไปในวงจรต่าง ๆ ห่วงโซ่อาหารเป็นตัวอย่างอย่างดีในเรื่องของการถ่ายทอดพลังงาน และการหมุนเวียนของสาร และแร่ธาตุอาหารจากระดับชีวิตหนึ่งไปยังอีกระดับชีวิตหนึ่ง     นอกจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวแล้ว สิ่งไม่มีชีวิตในระบบนิเวศต่างก็ทำหน้าที่ช่วยให้เกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเท การสะสมพลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหารโดยผ่านกระบวนการทางกายภาพเช่นการหมุนเวียนของน้ำในโลกการพังทลายของดินการตกตะกอนการหมุนเวียนเปลี่ยนสภาพของสารและแร่ธาตุอาหารโดยกระบวนการทางกายภาพและธรณีเคมีอื่น ๆ เป็นต้นดังนั้นนักนิเวศวิทยาจึงมักเกี่ยวข้องและมุ่งศึกษาถึงปริมาณและอัตราที่พลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหารผ่านเข้ามาสะสมไว้และปลดปล่อยออกไปจากระบบ นิเวศการศึกษาถึงชนิดและบทบาทของสังคมชีวิตระดับต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบนิเวศแต่ละระบบรวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมในการดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่จึงมีความสำคัญต่อปริมาณคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตของระบบนิเวศแต่ละระบบซึ่งไม่เหมือนกัน     ลักษณะที่สำคัญของระบบนิเวศอีกอย่างหนึ่ง คือ ระบบนิเวศแต่ละระบบมีกลไกการควบคุมตัวเองอย่างสลับซับซ้อนที่สามารถ จำกัด จำนวนประชากรให้สมดุลกับสภาวะแวดล้อม และมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางสรีรวิทยา และพฤติกรรมของชีวิต รวมทั้งควบคุมปริมาณ และอัตราการเคลื่อนย้ายถ่ายเทพลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหาร กระบวนการเจริญเติบโตการสืบพันธุ์อัตราการตายแบบแผนการอพยพเข้า อพยพออก อุปนิสัย และความสามารถในการปรับตัว ล้วนเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลไกในการควบคุมตนเองของระบบ ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศทั้งสิ้น     ตามปกติพืชและสัตว์ซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของระบบนิเวศ มักจะมีด้วยกันมากมายหลายชนิดแต่ละต้นแต่ละตัวของแต่ละชนิดต่างก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชากรนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ประชากรแต่ละประชากรถือได้ว่าเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจัดได้ว่าเป็นหน่วยหนึ่งของระบบนิเวศที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือมองในอีกด้านหนึ่งจะเห็นว่าสัตว์และพืชแต่ละตัวแต่ละต้น เมื่อรวมเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบก็ถือได้ว่าเป็นระบบนิเวศย่อย ๆ หน่วยหนึ่งหรือถ้าหากรวมเอาทุกชีวิตในโลกเข้ากับสิ่งแวดล้อมทั้งหมดในชีวภพ (biosphere) ก็เป็นระบบนิเวศอีกลักษณะหนึ่งที่มีขอบเขตกว้างขวางออกไป ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวของสังคมชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ณ ที่หนึ่งที่ใด และจะมากน้อยขนาดไหนก็จัดเป็นระบบนิเวศได้ทั้งสิ้น ระบบนิเวศจึงมีรูปลักษณะโครงสร้างขนาดใหญ่หรือเล็กแค่ไหนอย่างไรก็ได้ แต่ระบบนิเวศทุกระบบจะเป็นหน่วยที่สำคัญในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา ซึ่งเปรียบความสำคัญได้เท่ากับชนิด (species) พืชและสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยที่สำคัญมากในการศึกษาด้านอนุกรมวิธานของพืชและสัตว์ เป็นต้น     อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศระดับใด ระบบนิเวศนั้นจะไม่ใช่ระบบปิด แต่จะเป็นระบบเปิดเสมอ พลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหาร จะสูญเสียไปจากระบบโดยผ่านกระบวนการชีวิตและกระบวนการทางกายภาพ พลังงาน สาร และแร่ธาตุอาหาร ที่สูญเสียไปจะถูกแทนที่เข้ามาใหม่อีกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มิฉะนั้นระบบนิเวศนั้นจะไม่สามารถดำรงสภาพอยู่ได้ทางผ่านที่ทำให้เกิดการสูญเสียและการเข้ามาแทนที่ของพลังงานสารและแร่ธาตุอาหารเป็นสะพานเชื่อมระหว่างระบบนิเวศแต่ละระบบเข้าด้วยกัน จึงเป็นการยากที่จะกำหนดขอบเขตของระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่งให้แน่นอนลงไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีนักนิเวศวิทยาบางท่านไม่ยอมรับแนวความคิดเรื่องระบบนิเวศ เพราะเป็นหน่วยที่ปราศจากขอบเขตที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่ลืมว่า ความจริงแล้วก็เป็นการยากที่จะไปกำหนดพืชและสัตว์ว่าเป็นชนิดนั้นชนิดนี้ให้แตกต่างไปจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของมันโดยเด็ดขาดได้เหมือนกัน ดังนั้นแนวความคิดเรื่องระบบนิเวศจึงยังคงมีประโยชน์และใช้ได้อยู่ แต่เหมาะที่จะใช้ในระดับของสังคมชีวิต (community) มากกว่าในระดับประชากร (population) หรือในระดับแต่ละชีวิต (individual) ของชนิดประชากร อย่างไรก็ดี แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศนี้ก็ยังคงสามารถนำไปประยุกต์ในทุกระดับสังคมชีวิตได้อยู่ดี     Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก อีโคโลจิคอลซิสเต็ม (ecological system) นี้ว่าอีโคซีสเต็ม (ecosystem) ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้วแนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้าทานส
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง กิ่งกนก พิทยานุคุณ และคณะ. 2527. การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.หน้า 152 – 160. กรมส่งเสริมสหกรณ์. 2559.  ประวัติการส่งเสริมสหกรณ์. [ระบบออน์ไลน์]. แหล่งที่มา             http://www.cpd.go.th/web_cpd/cpd_Allabout.html. (22 มิถุนายน 2560). โกมล วงศ์อนันต์ และ อภิชา ประกอบเส้ง. 2559.  SWOT Analysis ด้าน Planning [ระบบออน์ไลน์]. แหล่งที่มา  http://promrucsa-dba04.blogspot.com/2012/10/swot-analysis-swot-swot-humphrey-swot-2.html. (11 มิถุนายน 2562). กัลทิมา พิชัย และคณะ 2551. เพิ่มศักยภาพผู้ผลิตชาชาเมี่ยงโดยการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในการผลิตพืชให้ประโยชน์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เขตพื้นที่ปลูกชาเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. 2555. การเงินธุรกิจ. ซีเอ็ดยูเคชั่น. ชวลิต และคณะ. 2553 ความหลากหลายของชาพื้นเมืองบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ดวงใจ และคณะ. 2558.คู่มือการศึกษาป่าไม้ไทย. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ดอกรัก มารอด. 2555. นิเวศวิทยาป่าไม้ประยุกต์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์. 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. กองทุนจัดพิมพ์ตำราคณะ วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 532 หน้า เดชา อินเด. 2545. การบัญชีต้นทุน. ธนาเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. นิวัติ เรืองพานิช. 2541. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินิเวศวิทยา. นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. บุญธรรม บุญเลา ประสิทธิ์ กาบจันทร์ และสมยศ มีสุข. 2553. การวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ของชาจีนในพื้นที่สูง. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://librae.mju.ac.th/goverment/20111119104834_librae/26169.pdf. (16 สิงหาคม 2562). ปฐวี แสงฉาย. 2536. ทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกชา (เมี่ยง) ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปิ่นมณี  ขวัญเมือง. (2547). แบคทีเรียกรดแลคติกในผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 3 : 62-69. พุทธพงษ์ และคณะ 2561 การศึกษาความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์ของเมี่ยง จังหวัดสุโขทัย ตาก แพร่ และน่าน วิทยาศาสตร์เกษตร พรชัย ปรีชาปัญญา และคณะ 2528. ระบบวนเกษตรที่สูง. โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน, เชียงใหม่. 153 หน้า. พรชัย ปรีชาปัญญาและ พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. 2542. ภูมิปัญญาชาวป่าเมี่ยง (ชา) เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการจัดการลุ่มน้ำที่สูงภาคเหนือ ประเทศไทย. [ระบบออนไลน์]. แหล่ง                                                   ที่มาhttp://frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/ws_document/R044202.pdf. (20 สิงหาคม 2562). พรชัย และคณะ 2546. การจัดการลุ่มน้ำป่าเมี่ยงโดยชุมชนมีส่วนร่วม สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่มวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม เพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. 2533. การงบประมาณ กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 152  - 154. ลัดดา ปินตา. 2560. การพัฒนาสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาชีพทำสวนเมี่ยง กรณีศึกษา ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เยาวพา ณ นคร. 2545. การบัญชีต้นทุน 1 กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. วารีรัตน์ หนูหตี. (2557). การยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนพื้นผิวสัมผัสโดยใช้สารสกัดจากพืชตระกูลขิง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงคลานครินทร์ ศุภชัย ปทุมนากุล และคณะ. 2552. โซ่อุปทานสินค้าเกษตรเล่มที่ 1 การจัดการซัพพลายเออร์ (Agricultural Supply Chain). กลุ่มวิจัยระบบโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2550. แนวทางในกาลดต้นทุน. โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน SMEs Projects. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาด               กลางและย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 1 สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. 2538. ศัพท์บัญชี. กรุงเทพฯ: บริษัทพี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด, หน้า 25. สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, ธีรพงธ์  เทพกรณ์, พนม  วิญญายอง และ ประภัสสร  อึ้งวณิชยพันธ์. (
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ 1* และคณะ Thanakorn Lattirasuvan1*  1*สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ. แพร่ 54140 ……………………………………………………………….. บทคัดย่อ             การศึกษาลักษณะนิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ โดยทำการเลือกพื้นที่ 3 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัดประกอบด้วย บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านกอก จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่สุ่มเลือกตัวแทนพื้นที่ละ 5 แปลง  วางแปลงสำรวจพืชที่ขึ้นร่วมกับสวนชาเมี่ยง เก็บตัวอย่างดิน ทั้งดินชั้นบน (0-5 cm) และดินชั้นล่าง (20-25 cm) วิเคราะห์สมบัติดินทั้งทางเคมีและกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรากฎในสวนเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางด้านเคมี พบว่าดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร     กิจกรรมนี้มีการวิจัยด้านค้นคว้าหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans โดยใช้สารสกัดจาก ใบเมี่ยงอบแห้งโดยสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ คำสำคัญ: ชาเมี่ยง สารต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรียสาเหตุโรคทางเดินอาหาร คาเทซิน กรรมวิธีการสกัด นิเวศวิทยา ภาคเหนือประเทศไทย การใช้ประโยชน์   ABSTRACT The study of “The Utilities and Ecological of Miang tea garden in northern” was investigated 3 mains proposes were 1) the study of ecological characteristics of Camellia sinensis var. assamica (Miang tea) and 2) to research the isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The result shown that; species composition in “Miang” tea garden found vegetation species around 14 to 22 species. Soil fertility at surface soil was higher than sub-surface soil. Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

บทที่5

สรุปและข้อเสนอแนะ สรุปผลการศึกษา        การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ พื้นที่สวนชาเมี่ยง พื้นที่หย่อมป่า พื้นที่สวนเกษตร และพื้นที่สวนหลังบ้าน ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากสวนชาเมี่ยงทั้ง 3 พื้นที่มีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน และมีการเหลือไว้ซึ่งต้นไม้ใหญ่เป็นที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเนื่องจากชาเมี่ยงต้องการร่มเงาเพื่อการเติบโตค่อนข้างสูง และจะได้ผลผลิตของชาเมี่ยงจำนวนมาก ถ้ามีต้นไม้ใหญ่มากจนเกินไปก็จะทำให้ผลผลิตของชาเมี่ยงลดลง ถ้าไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเลยก็จะทำให้ไม่ได้ผลผลิต สายลม และคณะ (2551) และพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังเป็นพื้นที่แนวกันชนระหว่างพื้นที่ทำการเกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี มีการป้องกันพื้นที่ ทำแนวกันไฟ อนุรักษ์พื้นที่ป่า รักษ์และหวงแหนในพื้นที่ป่าที่ตนทำสวนชาเมี่ยง ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางเคมี พบว่าทั้ง 3 พื้นที่ คุณสมบัติของดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร        การนำสารสกัดชั้นเอทานอลของใบชาเมี่ยงอบแห้ง (Camellia sinensis var. assamica) มาศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นในฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans และ Lactobacillus spp. และนำสารสกัดไปตรวจสอบองค์ประกอบในใบชาเมี่ยงอบแห้ง จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp.  สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.80 และ 18.00± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบชาเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ สำหรับงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพของใบเมี่ยงอบแห้งได้และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงอบแห้ง        การหาสภาวะการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC จากตัวอย่างใบเมี่ยง โดยการสกัดแบบรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากและเหมาะสมที่สุด คือ ใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล 1:25 (g/mL) กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด 350 วัตต์ และสกัดโดยใช้เวลา 20 นาที         การวิเคราะห์หาปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) พบว่าใบชาเมี่ยงจากจังหวัดเชียงราย มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 5.27 และ 2.51 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ ใบชาเมี่ยงจากจังหวัดพะเยา มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 11.71 และ 0.33 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ และใบชาเมี่ยงจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 10.11 และ 1.50 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ       การแยกองค์ประกอบทางเคมีของใบชาเมี่ยง ด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล แยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟี และการยืนยันโครงสร้างสารด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโกปี พบว่าสามารถแยกสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ได้น้ำหนัก 0.7293 กรัม และสารคาเทชิน (catechin) ได้น้ำหนัก 0.8951 กรัม ข้อเสนอแนะ     1. ควรมีการศึกษาการเพิ่มมูลค่าในพื้นที่สวนชาเมี่ยงรูปแบอื่นๆ เช่นการปลูกกาแฟ การเลี้ยงผึ้ง และ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

เอกสารอ้างอิง

    นิวัติ เรืองพานิช. 2558. นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. กองทุนจัดพิมพ์ตำราป่าไม้.           ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเพพฯ 258 หน้า ณัฐธัญ เจริญศรีวิไลวัฒน์ (2562) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดชันชันโรงโครงการวิจัยประเภทงบประมาณรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำ                 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ปฐวี แสงฉาย. 2536. ทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกชา (เมี่ยง) ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตำบล            ป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ผานิตย์ นาขยัน.  2549.  การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยพรรณไม้โครงสร้างบางชนิดต่อระบบนิเวศป่าดิบ เขา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัด                                         เชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.  มหาวิทยาลัยแม่โจ้. พรชัย ปรีชาปัญญา, ชลาธร  จูเจริญ, มงคล  โกไคยพิพัฒน์ และ กาญจนา  ขันคำ.  2547.           การจัดการลุ่มน้ำป่าเมี่ยงโดยชุมชนมีส่วนร่วม. เชียงใหม่: สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่ม วิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติ และ              สิ่งแวดล้อม. พรชัย ปรีชาปัญญา, ชลาธร จูเจริญ, มงคล โภไคยพิพัฒน์, ปภาดา อุทุมพันธ์, วารินทร์ จิระสุขทวีกุล และ อินทร สิงห์คํา. 2546. ภูมิปัญญานิเวศท้องถิ่นเกี่ยวกับวนเกษตรและการจัดการลุ่มน้ำที่สูง. กรุงเทพฯ: สถานีวิจัย                ลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่มวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. ศิวาพร ศิวเวช. (2546). วัตถุเจือปนอาหาร. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ. นครปฐม. 380 หน้า.                                                                                                                            สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, พนม  วิญญายอง, ธีรพงษ์  เทพกรณ์ และ ประภัสสร  ดำรงกุล อึ้งวณิชยพันธ์. 2551. การศึกษาสถานภาพปัจจุบันของชาในประเทศไทย.  กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัย สนับสนุนโดยสำนักงาน                  กองทุนสนับสนุนการวิจัย Abdullah, A. R., Bakhari, N. A., & Osman, H. (2013). Study on the relationship of the phenolic, flavonoid and tannin content to the antioxidant activity of Garcinia atroviridis. Universal Journal of                  Applied Science, 1(3), 95-100.                                                                                                                                              Aliaga, C., & Lissi, E. (1998). Reactio
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความแข็งของดินในแนวนอน ความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน

    สมบัติดินทางกายภาพสมบัติดินทางกายภาพพื้นที่สวนชาเมี่ยงบ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พบว่า ค่าความแข็งของดิน (Soil hardness) ที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีความแข็งมากกว่าดินที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร เนื่องจากดินชั้นบนมีการทับถมของซากพืช และมีการย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ ค่าความชื้นของดิน (Soil moisture) ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีค่าความชื้นมากกว่าดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร เพราะดินชั้นบน มีการระเหยของน้ำ สัมผัสลม และสัมผัสแสงแดดอยู่ตลอดเวลา และค่าการนำไฟฟ้าของดิน (CEC) ที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร มีค่าการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าดินที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร ตารางที่ 18
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

       ความหนาแน่นของสวนชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ทั้งหมด 7 ตำบล 128 หมู่บ้าน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพบว่า มีการทำสวนชาเมี่ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน เพื่อเป็นรายได้หลัก และรายได้เสริมให้กับครอบครัว มีการปลูกเพิ่มเติมในพื้นที่โดยนำเมล็ดจากต้นมาเพาะ แล้วนำไปปลูกแซมภายในพื้นที่ และยังมีการปลูกพืชเกษตรอื่นควบคู่ไปกับสวนชาเมี่ยง เช่น บ๊วย เชอรี่ กาแฟ อะโวคาโด โดยชาเมี่ยงจะมีรูปแบบการเก็บผลผลิตในรูปแบบของชาสั้น 1 ยอด 2 ใบ และเก็บเป็นชายาว โดยจะมีกรรมวิธีที่แตกต่างกัน โดยกรรมวิธีหลักที่มีความคล้ายคลึงกันคือ การขั้วใบชาเมี่ยง การนวดใบชาเมี่ยง และการตากใบชาเมี่ยงให้แห้ง ชาเมี่ยงสั้นแห้งกิโลกรัมละ 150-300 บาท และชาเมี่ยงยาวแห้งกิโลกรัมละ 50-100 บาท หมู่บ้านในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ที่ทำสวนชาเมี่ยงมีจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่บ้านดอยงาม มีทั้งหมด 160 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยงทุกครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 400 ไร่ บ้านห้วยน้ำขุ่น มีทั้งหมด 400 ครัวเรือน ทำสวชาเมี่ยง 350 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 3,000 ไร่ บ้านลอจอ มีทั้งหมด 90 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยง 20 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 200 ไร่ บ้านพนาเสรี มีทั้งหมด 122 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยงทุกหลังคาเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 130 ไร่ และบ้านใหม่จะคะ มีทั้งหมด 170 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยง 100 ครัวเรือน มีพื้นที่สวนชาเมี่ยงทั้งหมด 1,000 ไร่ ปัจจุบันสวนชาเมี่ยงยังเป็นที่นิยมของเกษตรกร เนื่องจากยังมีความต้องการของผู้บริโภคสูง ส่วนด้านการจัดการและการดูแลสวนชาเมี่ยง มีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ชาเมี่ยงแตกยอดใหม่ ตัดลำต้นให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บผลผลิต และต้นชาเมี่ยงจะมีทรงพุ่มและยอดที่สวยงาม โดยการจัดการนั้นจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง และมีการตัดหญ้าก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ปีละ 3-4 ครั้ง ไม่มีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และใช้สารเคมีในการดูแล โดยปล่อยให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตตามธรรมชาติ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งทั้งปี ตารางที่ 12 ภาพที่ 28
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (ต่อ 4)

6. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบชาเมี่ยง 6.1) การผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง คณะผู้วิจัยทำการออกแบบผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง 4 ชนิด ได้แก่ 1)    แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วง สูตร 1 ชาเมี่ยง (ภาพที่ 64)        การปรับสูตรโดยการคัดเลือกวัตถุดิบชนิดต่างๆ ได้แก่ สารชำระล้าง สารเพิ่มความหนืด สารเพิ่มความคงตัวของสูตร สารปรับสภาพผมไม่ให้แห้งหลังสระและสารเพิ่มความนุ่มลื่นของเส้นผม เป็นต้น นอกจากนั้นยังพัฒนาสูตรน้ำหอมจากการผสมน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือและน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลไม้จนได้กลิ่นที่เหมาะสมและได้สูตรที่มีความคงตัวดีโดยมีส่วนผสมธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปแชมพู ชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้   1)    ส่วนผสมธรรมชาติ         ผงมุก ลาโนลีน น้ำผึ้ง น้ำมันงาสกัดเย็น มะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดหลินจือ สารสกัดหนานเฉาเหว่ย สารสกัดใบขี้เหล็ก สารสกัดอินทนิลน้ำ ใบหมี่ เกลือแกง สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ สำหรับใช้เป็นสารกันเสีย และน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติจากดอกไม้กลิ่นตามความชอบ    2)    ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปแชมพู         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบเมี่ยงสดที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0 ครีมนวดผมชาเมี่ยง        สำหรับส่วนผสมธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้ 1)    สารสกัดสมุนไพร         สารสกัดว่านหางจระเข้ สารสกัดมะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดอัญชัน สารสกัดอินทนิลน้ำ      2)    สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ         มะขามป้อม มะคำดีควาย ส้มป่อย บอระเพ็ด หนานเฉาเหว่ย หลินจือ ในปริมาณที่เหมาะสม 3)    สารอื่นๆ          Wax AB น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ผงมุก      ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยง         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบชาเมี่ยงที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0  4)    ผลการสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2      การสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผลการสำรวจ แบ่งออกเป็น 6  ส่วน ดังนี้     ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2     ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจในคุณสมบัติของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 3 ผลหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 5 การตัดสินใจหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 6 ข้อเสนอแนะสำหรับผลิตภัณฑ์ ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวด สมุนไพร สูตร 2   ตารางที่ 33  เพศของผู้ทดลองใช้
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความแข็งของดินในแนวนอน ความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน

    จากการศึกษาสมบัติดินทางกายภาพสมบัติดินทางกายภาพพื้นที่สวนชาเมี่ยงบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ค่าความแข็งของดิน (Soil hardness) ที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีความแข็งมากกว่าดินที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร เนื่องจากดินชั้นบนมีการทับถมของซากพืช และมีการย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ ค่าความชื้นของดิน (Soil moisture) ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีค่าความชื้นมากกว่าดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร เพราะดินชั้นบน มีการระเหยของน้ำ สัมผัสลม และสัมผัสแสงแดดอยู่ตลอดเวลา และค่าการนำไฟฟ้าของดิน (CEC) ที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีค่าการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าดินที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร ตารางที่ 28
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การวิเคราะห์ข้อมูล และ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง

การวิเคราะห์ข้อมูล            วิธีการวิเคราะข้อมูลในงานวิจัย ครั้งนี้จะสรุปผลจากการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน คือผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชี และการวิเคราห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทาน อธิบายได้ดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชี การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative analysis)             เป็นการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยรวบรวมข้อมูล จากข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รวบรวมจากแบบสัมภาษณ์จากผู้ผลิตเมี่ยง โดยการบรรยายสรุปและใช้สถิติในรูปของค่าเฉลี่ยและร้อยละในการอธิบาย เพื่อให้ทราบถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเมี่ยงของผู้ผลิต การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)               นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเมี่ยงเพื่อคำนวณหาต้นทุน รายได้ และกำไรจากAการลงทุนการผลิตเมี่ยง ซึ่งจะคำนวณผลตอบแทนดังนี้ 1.    ต้นทุนคงที่ (Total Fixed Cost : TFC)      
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน (carnivore) มนุษย์กินสัตว์เป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งเรียกว่า top carnivore การบริโภคแบบต่อเนื่องในลักษณะดังกล่าวก็คือห่วงโซ่อาหาร (food chain) ซึ่งหมายถึงการบริโภคอย่างมีขั้นตอนจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งไม่มีความยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน เช่น แพลงค์ตอนปรุงอาหารได้เอง ปลาเล็กกินแพลงค์ตอน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และมนุษย์กินปลาใหญ่    เป็นต้น บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามลำดับแต่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่าใยอาหาร (food web)   ส่วนประกอบที่มีชีวิตซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะกิจกรรมในระบบนิเวศหนึ่งๆ   มีดังนี้  1.1.ผู้ผลิต (producer organism) หรือพวก autotrophs ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีเพียงพืชสีเขียวที่มีสารคลอโรฟิลล์ในตัวเองและสามารถตรึงพลังงานแสงอาทิตย์มาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับวัตถุดิบในธรรมชาติ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และธาตุอาหารที่ละลายน้ำให้กลายเป็นสารมวลชีวภาพหรือสารประกอบอินทรีย์เคมีในรูปต่างๆ ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับส่วนประกอบอื่นที่ไม่มีชีวิตในแต่ละระบบนิเวศ 1.2.ผู้บริโภค (consumer organism) หรือพวก herbivore และ carnivore ได้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่จะบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่งในลักษณะที่มีระดับชั้นการกินอาหาร (trophic level) และถ่ายเทเป็นทอดๆ ผ่านไปในระบบนิเวศทำให้เกิดการไหลของพลังงานและสารในระบบ ผู้บริโภคสามารถแบ่งตามลำดับขั้นได้ดังนี้ 1.2.1 ผู้บริโภคระดับปฐมภูมิ (primary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร  (herbivores) สามารถนำเอาพลังงานที่อยู่ในรูปเนื้อเยื่อพืชมาใช้ได้ ได้แก่ แมลงต่างๆ เป็นต้น 1.2.2   ผู้บริโภคระดับทุติยภูมิ (secondary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ (carnivore) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่หรือแข็งแรงกว่าเหยื่อร่างกายมีพัฒนาเพื่อเหมาะแก่การล่า เช่น มีเขี้ยวเล็บแหลมคม มีพิษ ได้แก่ เสือ สิงโต งู และเหยี่ยว เป็นต้น  1.2.3  ผู้บริโภคระดับตติยภูมิ (tertiary consumer) หมายถึง สัตว์กินสัตว์ที่กินสัตว์อีกทีหนึ่ง (top carnivore) หรือเป็นพวกที่สามารถกินสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นของอาหารได้มากกว่าหนึ่งลำดับขั้น คือ อาจกินได้ทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) หลายชนิดก็ได้ 1.2.4  ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตพวก heterotrophic organism ที่สามารถย่อยสลายซากสารอินทรีย์ของสิ่งที่ตายแล้วให้เน่าเปื่อย และเปลี่ยนกลับไปเป็นสารอิสระหรือสาร   อนินทรีย์กลับคืนสู่สภาพแวดล้อมได้ ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ พวกแบคทีเรียหรือเห็ดราต่างๆ เป็นต้น ผู้ย่อยสลายนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะมีหน้าที่เป็นผู้ทำลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป และยังเป็นผู้ที่ทำให้มีสารอินทรีย์กลับกลายเป็นสารอิสระหรือสาร     อนินทรีย์ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการถ่ายเทสารกลับสู่สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ย่อยสลายจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic components) กับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components) ในระบบนิเวศนั่นเอง  การนำเอาขั้นการกินอาหารที่ระดับต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมาสร้างเป็นกราฟแท่งรูปทรงปิรามิด โดยที่มีระดับของผู้ผลิตอยู่ตรงฐานของปิรามิดถัดขึ้นไปเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่งและปลายสุดจะเป็นผู้บริโภคอันดับที่สูงกว่า เรียกกราฟแท่งเหล่านี้ว่าปิรามิดทางนิเวศวิทยา (ecological pyramid) ซึ่งจะสามารถแบ่งปิรามิดออกได้เป็น 3 ประเภท คือ &
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

นิเวศวิทยา และ องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา และ หน้าที่ของระบบนิเวศ

นิเวศวิทยา             คำว่านิเวศวิทยา เริ่มใช้ในจดหมายเหตุของ Henry Thoreau ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 ต่อมา Reiter ได้นำคำนี้มาใช้ในผลงานของเขาซึ่งพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานในปี ค.ศ. 1865 โดยนิเวศวิทยา มาจากรากศัพท์เดิมในภาษากรีก จากคำว่า oikos ซึ่งแปลว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัย ผสมกับคำว่า logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา รวมเป็น oecology และต่อมาได้เขียนตามหลักภาษาอังกฤษว่า ecology ใช้เรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย แม้ว่าวิชานิเวศวิทยาได้แยกตัวออกมาจากวิชาชีววิทยาแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักและสนใจกันเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี ค.ศ.1866 นักสัตววิทยาท่านหนึ่งคือ Ernst Haeckel ได้หยิบยกเอาคำนี้ขึ้นมาใช้และให้คำนิยามไว้ว่า "นิเวศวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ อย่างประหยัดของธรรมชาติ คือการศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ทั้งมวลของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ" จากคำนิยามนี้จึงเป็นการกำหนดแนวทางการศึกษาทางนิเวศวิทยาแก่นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในแนวดังกล่าว จึงยกย่องให้ Haeckel เป็นบิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านนี้              Charles Elton (1927)"นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านประวัติศาสตร์ของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของสัตว์" Shelford (1911) "นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านสังคม"  E. P. Odum (1971) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาทางโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ"  H. J. Oosting (1956) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของมัน"             Kimmins (1987) กล่าวว่าป่ามิใช่เป็นเพียงการมีต้นไม้มายืนร่วมกันแต่ยังประกอบด้วย (1) ต้นไม้ (2) วัตถุสารที่ต้นไม้และสัตว์ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ธาตุอาหารและความชื้น (3) พันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มาร่วมกระทำกันก่อให้เกิดร่มเงาต่อกัน แก่งแย่งกัน อาศัยประโยชน์ต่อกัน หรือทำลายกัน (4) สัตว์ที่ใช้อาหารจากพืช อาศัยประโยชน์และให้ประโยชน์ต่อพืช (5) จุลินทรีย์ที่ได้และให้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อต้นไม้ (6) ดินและบรรยากาศรวมถึงไฟป่าและความชื้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในป่า            Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก ecological system นี้ว่า ecosystem ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้ว แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า Tansley เป็นเวลาช้านาน เพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า microcosm หรือ biosystem เป็นต้น สำหรับนักนิเวศวิทยาชาวรัสเซียนิยมเรียกระบบนิเวศว่า biogeocoenoses หรือ biocoenosis คำว่า ecosystem ของ Tansley เป็นคำที่กะทัดรัดและเป็นที่ยอมรับกัน จึงเป็นที่นิยมใช้กันตั้งแต่นั้นมา การยอมรับระบบนิเวศว่าเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา นับเป็นประโยชน์และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการศึกษา และพัฒนาการในด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อ มาอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นจะต้องศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง (structure)  และหน้าที่ (function) ต่างๆ ของระบบนิเวศนั้นซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของแต่ละระบบนิเวศซึ่งไม่เหมือนกัน    องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต             สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กิ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (ต่อ 4)

6. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบชาเมี่ยง 6.1) การผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง คณะผู้วิจัยทำการออกแบบผลิตภัณฑ์สปาต้นแบบชาเมี่ยง 4 ชนิด ได้แก่ 1)    แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วง สูตร 1 ชาเมี่ยง (ภาพที่ 64)        การปรับสูตรโดยการคัดเลือกวัตถุดิบชนิดต่างๆ ได้แก่ สารชำระล้าง สารเพิ่มความหนืด สารเพิ่มความคงตัวของสูตร สารปรับสภาพผมไม่ให้แห้งหลังสระและสารเพิ่มความนุ่มลื่นของเส้นผม เป็นต้น นอกจากนั้นยังพัฒนาสูตรน้ำหอมจากการผสมน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือและน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลไม้จนได้กลิ่นที่เหมาะสมและได้สูตรที่มีความคงตัวดีโดยมีส่วนผสมธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปแชมพู ชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้   1)    ส่วนผสมธรรมชาติ         ผงมุก ลาโนลีน น้ำผึ้ง น้ำมันงาสกัดเย็น มะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดหลินจือ สารสกัดหนานเฉาเหว่ย สารสกัดใบขี้เหล็ก สารสกัดอินทนิลน้ำ ใบหมี่ เกลือแกง สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ สำหรับใช้เป็นสารกันเสีย และน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติจากดอกไม้กลิ่นตามความชอบ    2)    ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปแชมพู         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบเมี่ยงสดที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0 ครีมนวดผมชาเมี่ยง        สำหรับส่วนผสมธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ มีส่วนประกอบ ดังนี้ 1)    สารสกัดสมุนไพร         สารสกัดว่านหางจระเข้ สารสกัดมะกรูด สารสกัดชาเมี่ยง สารสกัดอัญชัน สารสกัดอินทนิลน้ำ      2)    สารสกัดสมุนไพรอื่นๆ         มะขามป้อม มะคำดีควาย ส้มป่อย บอระเพ็ด หนานเฉาเหว่ย หลินจือ ในปริมาณที่เหมาะสม 3)    สารอื่นๆ          Wax AB น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ผงมุก      ส่วนผสมพื้นสำหรับขึ้นรูปครีมนวดผมชาเมี่ยง         DI Water, Sodium Laureth Sulfate, Glycerin, Cocoamphodiacetate, Lauryl glucoside, Acrylate copolymer, Disodium EDTA, Cocamidopropyl betaine, Polyquaternium-7, Panthenol, Honey, Preservative, Citric acid, BHT, Propylene glycol, PEG-40 hydrogenated castor oil, Orange oil, Lemon oil, น้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้พื้นถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ กาสะลอง แก้ว ลีลาวดี อินทนิลน้ำและ เปลือกมะกรูด มะนาวและเติมสารสกัดใบชาเมี่ยงที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.0  4)    ผลการสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2      การสำรวจความพึงพอใจการใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผลการสำรวจ แบ่งออกเป็น 6  ส่วน ดังนี้     ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวดสมุนไพร สูตร 2     ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจในคุณสมบัติของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 3 ผลหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ของแชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 5 การตัดสินใจหลังการทดลองใช้แชมพูและครีมนวด     ส่วนที่ 6 ข้อเสนอแนะสำหรับผลิตภัณฑ์ ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการใช้แชมพูและครีมนวดและสภาพเส้นผมของผู้ทดลองใช้แชมพูและครีมนวด สมุนไพร สูตร 2   ตารางที่ 33  เพศของผู้ทดลองใช้
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของชาเมี่ยง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชาเมี่ยง

           ชาเป็นพืชในวงศ์ (family)  Theaceae  สกุล (genus) Camellia ที่มีมากกกว่า 300 ชนิด (species)  ชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่มาจาก 2 สายพันธุ์ คือ Camellia sinensis var. sinensis (Chinese tea) และ Camellia sinensis var. assamica (Assam tea  หรือ Indian tea) ชาสายพันธุ์จีนเป็นชาที่ใบมีขนาดเล็ก และแคบ  การจำแนกสายพันธุ์ชานอกจากพันธุ์ชาทางการค้า 2 กลุ่มหลักที่กล่าวไว้แล้วยังพบสายพันธุ์ลูกผสม (hybrid) ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ทำให้ได้ชาลูกผสมที่มีลักษณะทางฟีโนไทป์แตกต่างกัน (heterogeneous) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ การปรับปรุงพันธุ์ชา (tea breeding)  การปรับปรุงพันธุ์ชาทำให้ได้พันธุ์ชามีลักษณะทางกายภาพ ขนาดและลักษณะใบที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งให้รสชาติของน้ำชาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน ประเทศไทยได้ทดลองนำเอาชาสายพันธุ์จีนที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศไต้หวันเข้ามาปลูก แล้วขยายพันธุ์ พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง      1.ต้นชาเมี่ยง ต้นชาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้         1.1 ราก ชาเป็นพืชที่มีรากแก้วและรากฝอย แต่ไม่มีรากขน ต้นชาที่ได้จากการปักชำจะไม่มีรากแก้ว รากชาจะมีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตในรูปของแป้ง การแตกยอดของต้นชาขึ้นอยู่กับอาหารสำรองคาร์โบไฮเดรตในราก         1.2 ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง-ใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ต้นใหญ่สูงประมาณ 6-18 เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มชาจีนอย่างเด่นชัด กิ่งที่มีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา         1.3 ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับและเวียน (spiral) ใบมีความกว้างประมาณ 3.0-6.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.0-16.0 เซนติเมตร แต่อาจพบใบที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กล่าว คือใบมีความกว้าง 5.6-7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 17.0-22.0 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด จำนวนหยักฟันเลื่อยเฉลี่ยประมาณ 9 หยัก/ความกว้างของใบ 1.0 นิ้ว ส่วนของก้านใบและด้านท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม        1.4 ดอก เจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง ในแต่ละตาประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา ส่วนใหญ่ดอกออกติดกันเป็นกลุ่ม ช่อละประมาณ 2-4 ดอก/ตา ก้านดอกยาวประมาณ 10.0-12.0 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมนยาว กลีบดอกติดอยู่กับวง corolla ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยหงาย กลีบดอกมีจำนวน 5-6 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก วงเกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 5.0 มิลลิเมตร เกสรตัวเมีย (style) มีลักษณะเป็นก้านกลม ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 1-3 ช่อง ดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.65 เซนติเมตร         1.5 ผล เป็นแคปซูล เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-4.0 เซนติเมตร         1.6 เมล็ด ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11.0-12.0 มิลลิเมตร ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ      2 พันธุ์ชาที่ปลูกทางการค้าของไทย โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ ได้แก่         2.1 กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. assamica สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น ชาเมี่ยง ชาพื้นเมือง ชาป่า หรือชาเมี่ยง เป็นต้น ชาเมี่ยงเป็นพันธุ์ชาที่ใบใหญ่กว่าชาพันธุ์จีน เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในป่าเขตร้อนชื้นที่มีร่มไม้และแสงแดดพอประมาณ ชาพันธุ์อัสสัม พบมากบนเขตพื้นที่สูงแถบภาคเหนือของไทยในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และแพร่          2.2 กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea) กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. sinensis เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน และจีน เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 หรืออู่หลงก้านอ่อน (Chin Shin Oolong No.17) อู่หลงเบอร์ 12 (Chin Hsuan Oolong No.12) พันธุ์สี่ฤดู (Si Ji  หรือ Four Season) พันธุ์ถิกวนอิม (Tieguanyin) เป็นต้น เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเนื่องจากให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การปลูกจะปลูกเป็นแถวแบบขั้นบันได มีการจ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

เอกสารอ้างอิง

    นิวัติ เรืองพานิช. 2558. นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. กองทุนจัดพิมพ์ตำราป่าไม้.           ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเพพฯ 258 หน้า ณัฐธัญ เจริญศรีวิไลวัฒน์ (2562) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากจากสารสกัดชันชันโรงโครงการวิจัยประเภทงบประมาณรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำ                 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ปฐวี แสงฉาย. 2536. ทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกชา (เมี่ยง) ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตำบล            ป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ผานิตย์ นาขยัน.  2549.  การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยพรรณไม้โครงสร้างบางชนิดต่อระบบนิเวศป่าดิบ เขา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัด                                         เชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.  มหาวิทยาลัยแม่โจ้. พรชัย ปรีชาปัญญา, ชลาธร  จูเจริญ, มงคล  โกไคยพิพัฒน์ และ กาญจนา  ขันคำ.  2547.           การจัดการลุ่มน้ำป่าเมี่ยงโดยชุมชนมีส่วนร่วม. เชียงใหม่: สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่ม วิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติ และ              สิ่งแวดล้อม. พรชัย ปรีชาปัญญา, ชลาธร จูเจริญ, มงคล โภไคยพิพัฒน์, ปภาดา อุทุมพันธ์, วารินทร์ จิระสุขทวีกุล และ อินทร สิงห์คํา. 2546. ภูมิปัญญานิเวศท้องถิ่นเกี่ยวกับวนเกษตรและการจัดการลุ่มน้ำที่สูง. กรุงเทพฯ: สถานีวิจัย                ลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่มวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. ศิวาพร ศิวเวช. (2546). วัตถุเจือปนอาหาร. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ. นครปฐม. 380 หน้า.                                                                                                                            สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, พนม  วิญญายอง, ธีรพงษ์  เทพกรณ์ และ ประภัสสร  ดำรงกุล อึ้งวณิชยพันธ์. 2551. การศึกษาสถานภาพปัจจุบันของชาในประเทศไทย.  กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัย สนับสนุนโดยสำนักงาน                  กองทุนสนับสนุนการวิจัย Abdullah, A. R., Bakhari, N. A., & Osman, H. (2013). Study on the relationship of the phenolic, flavonoid and tannin content to the antioxidant activity of Garcinia atroviridis. Universal Journal of                  Applied Science, 1(3), 95-100.                                                                                                                                              Aliaga, C., & Lissi, E. (1998). Reactio
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สรุป สาระสำคัญ และ ลักษณะทางเคมีของดินบริเวณป่าเมี่ยงและใบชาเมี่ยง

สรุป สาระสำคัญ ดังนี้                 พื้นที่ปลูกเมี่ยงส่วนใหญ่กระจายบนที่สูงประมาณ 1000-1600 เมตร (ภาพที่ 122)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

นิเวศวิทยา และ องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา และ หน้าที่ของระบบนิเวศ

นิเวศวิทยา             คำว่านิเวศวิทยา เริ่มใช้ในจดหมายเหตุของ Henry Thoreau ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 ต่อมา Reiter ได้นำคำนี้มาใช้ในผลงานของเขาซึ่งพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานในปี ค.ศ. 1865 โดยนิเวศวิทยา มาจากรากศัพท์เดิมในภาษากรีก จากคำว่า oikos ซึ่งแปลว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัย ผสมกับคำว่า logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา รวมเป็น oecology และต่อมาได้เขียนตามหลักภาษาอังกฤษว่า ecology ใช้เรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย แม้ว่าวิชานิเวศวิทยาได้แยกตัวออกมาจากวิชาชีววิทยาแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักและสนใจกันเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี ค.ศ.1866 นักสัตววิทยาท่านหนึ่งคือ Ernst Haeckel ได้หยิบยกเอาคำนี้ขึ้นมาใช้และให้คำนิยามไว้ว่า "นิเวศวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ อย่างประหยัดของธรรมชาติ คือการศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ทั้งมวลของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ" จากคำนิยามนี้จึงเป็นการกำหนดแนวทางการศึกษาทางนิเวศวิทยาแก่นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในแนวดังกล่าว จึงยกย่องให้ Haeckel เป็นบิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านนี้              Charles Elton (1927)"นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านประวัติศาสตร์ของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของสัตว์" Shelford (1911) "นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านสังคม"  E. P. Odum (1971) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาทางโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ"  H. J. Oosting (1956) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของมัน"             Kimmins (1987) กล่าวว่าป่ามิใช่เป็นเพียงการมีต้นไม้มายืนร่วมกันแต่ยังประกอบด้วย (1) ต้นไม้ (2) วัตถุสารที่ต้นไม้และสัตว์ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ธาตุอาหารและความชื้น (3) พันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มาร่วมกระทำกันก่อให้เกิดร่มเงาต่อกัน แก่งแย่งกัน อาศัยประโยชน์ต่อกัน หรือทำลายกัน (4) สัตว์ที่ใช้อาหารจากพืช อาศัยประโยชน์และให้ประโยชน์ต่อพืช (5) จุลินทรีย์ที่ได้และให้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อต้นไม้ (6) ดินและบรรยากาศรวมถึงไฟป่าและความชื้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในป่า            Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก ecological system นี้ว่า ecosystem ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้ว แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า Tansley เป็นเวลาช้านาน เพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า microcosm หรือ biosystem เป็นต้น สำหรับนักนิเวศวิทยาชาวรัสเซียนิยมเรียกระบบนิเวศว่า biogeocoenoses หรือ biocoenosis คำว่า ecosystem ของ Tansley เป็นคำที่กะทัดรัดและเป็นที่ยอมรับกัน จึงเป็นที่นิยมใช้กันตั้งแต่นั้นมา การยอมรับระบบนิเวศว่าเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา นับเป็นประโยชน์และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการศึกษา และพัฒนาการในด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อ มาอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นจะต้องศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง (structure)  และหน้าที่ (function) ต่างๆ ของระบบนิเวศนั้นซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของแต่ละระบบนิเวศซึ่งไม่เหมือนกัน    องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต             สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กิ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

หน้าที่ของระบบนิเวศ

หน้าที่ของระบบนิเวศ             Odum et al. (1962) ได้แบ่งหน้าที่ที่สำคัญของระบบนิเวศออกเป็น 3 ประเภทคือ 1.    การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ  2.    การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุต่างๆ ในระบบนิเวศ   3.    กลไกการควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยปัจจัยแวดล้อม ความต้องการแสงสว่างของพืชและการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมจากการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่น การตรึงไนโตรเจนด้วยจุลินทรีย์บางชนิด เป็นต้น การจำแนกทำนองนี้ทำให้สะดวกต่อการศึกษาหน้าที่ของระบบนิเวศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างของระบบที่แตกต่างกันย่อมมีผลให้อัตราการถ่ายทอด การสะสมพลังงาน การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุอาหารผิดแปลกแตกต่างกันไปอีกด้วย (นิวัติ, 2541) 1.การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตในระบบนิเวศ เริ่มต้นจากการถ่ายทอดพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของพลังงานแสง (photo energy) พืชสีเขียวจะตรึงพลังงานจากแสงมาแปรสภาพเป็นแป้ง และน้ำตาลสะสมในรูปมวลชีวภาพของพืช จากนั้นพลังงานบางส่วนในพืชจะสูญเสียไปในกระบวนการการหายใจ บางส่วนจะถ่ายทอดผ่านผู้บริโภคและจุลินทรีย์ในดิน ทุกขั้นตอนที่มีการถ่ายทอดพลังงานผ่านระดับชีวิตจะเกิดการสูญเสียพลังงานไปจากระบบนิเวศในรูปของความร้อน การถ่ายเทวัตถุและพลังงานทำให้ระบบนิเวศมีการเคลื่อนไหวถ่ายเท เช่น การดูดซับแสงโดยพื้นดินและพื้นน้ำทำให้เกิดบริเวณที่ร้อนและเย็นขึ้นจึงทำให้              5.3) พืชที่ต้องการน้ำปริมาณน้อย เป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในที่ที่ปริมาณฝนตกน้อย ขาดแคลนน้ำ หรือในที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายซึ่งอุ้มน้ำได้ไม่ดี เช่น มันสำปะหลัง ป่านศรนารายณ์ กระบองเพชร เป็นต้น              5.4) พืชที่มีระบบรากพิเศษ คือ พืชที่มีส่วนประกอบบางส่วน    เปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปดูดซึมความชื้นในอากาศไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้พืชสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี เช่น กล้วยไม้ สกุลต่างๆ เป็นต้น      2.3 อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช และมีผลต่อขบวนการต่างๆ ของพืช เช่น ขบวนการหายใจ ขบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช เป็นต้น พืชแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิสูงต่ำแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเราแบ่งพืชออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้             1) พืชเมืองหนาวเป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20 องศาเซลเซียส เช่น แอปเปิล พลับ ท้อ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง ข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี เป็นต้น แต่ถ้านำพืชเหล่านี้มาปลูกในท้องถิ่นที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิดอาการใบไหม้ เนื่องจากมีการคายน้ำมากหรือเกิดการแข็งตัวของโปรโตพลาสซึมในเซลล์    ใบพืช             2) พืชเมืองร้อน เป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน ส้ม มะขาม ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง  หางนกยูง ราชพฤกษ์ ขี้เหล็ก สัก เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำไปปลูกในอุณหภูมิต่ำกว่านี้   จะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง 2.4 แสงสว่าง (Light) แสงสว่างที่ได้จากดวงอาทิตย์ จัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะแสงสว่างเป็นปัจจัยควบคุมสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ การหมุนเวียนของอากาศ การเกิดลมและฝน เป็นต้น สำหรับพืช แสงสว่างจัดเป็นพลังงานที่พืชนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล นอกจากแสงจะมีผลโดยตรงต่อขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นขบวนการ รากฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน และเป็นแหล่งของสารประกอบขั้นต้น เพื่อน ามาสังเคราะห์เป็น สารประกอบอินทรีย์ในพืช อันเป็นปัจจัยโดยตรงในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชแล้ว แสง ยังควบคุมขบวนการรากฐานของการเจริญเติบโตในระดับต่าง ๆ จนได้ผลรวมออกมาในรูปการ เจริญและเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง นอกจากนี้ แสงยังมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ใน การเจริญเติบโตของพืชด้วย เช่น การงอกของเมล็ด การพักตัวของเมล็ด การออกดอก แสงสว่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้ 1) แสงมีความสำคัญต่อพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด 2) แสงมีอิทธิพลต่อกำรสร้างผลผลิตพืช 3) คุณภาพของแสง 4) ความเข้มของแสง 2.5 อากาศ (Air) อากาศ คือ กลุ่มก๊าซชนิดต่ำงๆ ที่อยู่ในบรรยากาศทั่วไปและในดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซอื่นๆ มีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในดินในการหายใจ ถ้าในดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้รากพืชไม่เจริญเติบโต มีผลโดยตรงต่อการดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารพืช ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นพิษต่อพืช รากพืชดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อยลงเช่นกัน พืชใช้ก๊าซออกซิเจนเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อกระบวนการหายใจและใ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วัตถุประสงค์

                                                                                                                                               1. เพื่อศึกษานิเวศของสวนเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม                                                                                                      2. เพื่อศึกษาสมบัติดินจากสวนเมี่ยงและพืชเกษตรและป่าไม้รูปแบบอื่นๆ                                                                                                      3. เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง และมาตรการช่วยลดหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือประเทศ                                                                                                      4. เพื่อศึกษากรรมวิธีการสกัดสาร catechins ที่เหมาะสม จากชาเมี่ยงให้ได้ปริมาณสูง                                                                                                      5. เพื่อศึกษาความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ ความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์  ก่อโรคท้องร่วงของสาร catechins ที่สกัด                                                                                                           จากชาเมี่ยง                                                                                                     6. เพื่อแยกองค์ประกอบทางเคมี และ พิสูจน์เอกลักษณ์ของสาร catechins ที่แยกได้จากชาเมี่ยง โดย การใช้เทคนิคทางโครมาโตกราฟฟี                                                                                                              และ สเปกโตรสโคปี     
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของชาเมี่ยง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชาเมี่ยง

           ชาเป็นพืชในวงศ์ (family)  Theaceae  สกุล (genus) Camellia ที่มีมากกกว่า 300 ชนิด (species)  ชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่มาจาก 2 สายพันธุ์ คือ Camellia sinensis var. sinensis (Chinese tea) และ Camellia sinensis var. assamica (Assam tea  หรือ Indian tea) ชาสายพันธุ์จีนเป็นชาที่ใบมีขนาดเล็ก และแคบ  การจำแนกสายพันธุ์ชานอกจากพันธุ์ชาทางการค้า 2 กลุ่มหลักที่กล่าวไว้แล้วยังพบสายพันธุ์ลูกผสม (hybrid) ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ทำให้ได้ชาลูกผสมที่มีลักษณะทางฟีโนไทป์แตกต่างกัน (heterogeneous) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ การปรับปรุงพันธุ์ชา (tea breeding)  การปรับปรุงพันธุ์ชาทำให้ได้พันธุ์ชามีลักษณะทางกายภาพ ขนาดและลักษณะใบที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งให้รสชาติของน้ำชาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน ประเทศไทยได้ทดลองนำเอาชาสายพันธุ์จีนที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศไต้หวันเข้ามาปลูก แล้วขยายพันธุ์ พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง      1.ต้นชาเมี่ยง ต้นชาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้         1.1 ราก ชาเป็นพืชที่มีรากแก้วและรากฝอย แต่ไม่มีรากขน ต้นชาที่ได้จากการปักชำจะไม่มีรากแก้ว รากชาจะมีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตในรูปของแป้ง การแตกยอดของต้นชาขึ้นอยู่กับอาหารสำรองคาร์โบไฮเดรตในราก         1.2 ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง-ใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ต้นใหญ่สูงประมาณ 6-18 เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มชาจีนอย่างเด่นชัด กิ่งที่มีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา         1.3 ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับและเวียน (spiral) ใบมีความกว้างประมาณ 3.0-6.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.0-16.0 เซนติเมตร แต่อาจพบใบที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กล่าว คือใบมีความกว้าง 5.6-7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 17.0-22.0 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด จำนวนหยักฟันเลื่อยเฉลี่ยประมาณ 9 หยัก/ความกว้างของใบ 1.0 นิ้ว ส่วนของก้านใบและด้านท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม        1.4 ดอก เจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง ในแต่ละตาประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา ส่วนใหญ่ดอกออกติดกันเป็นกลุ่ม ช่อละประมาณ 2-4 ดอก/ตา ก้านดอกยาวประมาณ 10.0-12.0 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมนยาว กลีบดอกติดอยู่กับวง corolla ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยหงาย กลีบดอกมีจำนวน 5-6 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก วงเกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 5.0 มิลลิเมตร เกสรตัวเมีย (style) มีลักษณะเป็นก้านกลม ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 1-3 ช่อง ดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.65 เซนติเมตร         1.5 ผล เป็นแคปซูล เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-4.0 เซนติเมตร         1.6 เมล็ด ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11.0-12.0 มิลลิเมตร ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ      2 พันธุ์ชาที่ปลูกทางการค้าของไทย โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ ได้แก่         2.1 กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. assamica สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น ชาเมี่ยง ชาพื้นเมือง ชาป่า หรือชาเมี่ยง เป็นต้น ชาเมี่ยงเป็นพันธุ์ชาที่ใบใหญ่กว่าชาพันธุ์จีน เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในป่าเขตร้อนชื้นที่มีร่มไม้และแสงแดดพอประมาณ ชาพันธุ์อัสสัม พบมากบนเขตพื้นที่สูงแถบภาคเหนือของไทยในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และแพร่          2.2 กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea) กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. sinensis เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน และจีน เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 หรืออู่หลงก้านอ่อน (Chin Shin Oolong No.17) อู่หลงเบอร์ 12 (Chin Hsuan Oolong No.12) พันธุ์สี่ฤดู (Si Ji  หรือ Four Season) พันธุ์ถิกวนอิม (Tieguanyin) เป็นต้น เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเนื่องจากให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การปลูกจะปลูกเป็นแถวแบบขั้นบันได มีการจ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (ต่อ1)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ3)