วิธีการดำเนินวิจัย

 

การเลือกพื้นที่ศึกษา
   การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

ภาพที่ 4 พื้นที่ศึกษา

 

การเก็บและรวบรวมข้อมูล
2.1 ในการศึกษาการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ นั้นได้ทำการศึกษาทั้ง 3 หมู่บ้าน โดยคัดเลือกแปลงทำการศึกษาในหมู่บ้านละ 5 พื้นที่ แต่ละพื้นที่กำหนดทำการวางแปลงตัวอย่างขนาด 10 x 10 เมตร จำนวน 15 แปลง 
2.2 ภายในแปลงตัวอย่าง ขนาด 10 x 10 เมตร ทำการวางแปลงตัวอย่างเพื่อศึกษาชนิดพรรณไม้ที่พบในแปลงตัวอย่าง ทำการบันทึกชนิดพรรณไม้ที่พบ และทำการวัดความโตระดับอกที่ 130 เซนติเมตร ความสูงทั้งหมด ทรงพุ่ม

ภาพที่ 5 การวางแปลงในพื้นที่สวนเมี่ยงขนาด 10 X 10 เมตร จำนวน 3 แปลงต่อ 1 พื้นที่

 

2.3 ภายในแปลง ตัวอย่างขนาด 10 x 10 เมตร เก็บข้อมูลมิติการเจริญเติบโตของต้นเมี่ยง โดยทำการบันทึกขนาดความโตที่คอราก หรือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอก ความสูงทั้งหมด และความกว้างของทรงพุ่ม
2.4 จดบันทึกชนิดพรรณไม้และพืชอื่นที่อยู่ในแปลงตัวอย่าง
2.5 ทำการวางแปลงรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แต่ละด้านห่างกัน 5 เมตร เก็บตัวอย่างดินที่มุมทั้งสี่มุม และตรงกึ่งกลางแปลง น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งในระดับดินชั้นบน (0-5 เซนติเมตร) และดินชั้นล่าง (20-25 เซนติเมตร)
2.6 ทำการวัดค่าความแข็งของดินทั้งแนวตั้งและแนวนอน
2.7 ทำการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และ ทางเคมีของดิน ในห้องปฏิบัติการทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง                                                                                                                                            2.8 ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยดินที่เมี่ยงเจริญเติบโต และจัดกลุ่มธาตุอาหารที่มีผลต่อเมี่ยงโดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบ PCA analysis
2.9 ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) โดยสัมภาษณ์เจ้าของสวนเมี่ยงแต่ละแปลง 
 

1. สารสกัดจากใบเมี่ยง
    สารสกัดเอทานอลใบเมี่ยงละลายใน dimethyl sulfoxide (DMSO) เก็บไว้ที่ -4ºC
2. การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดใบเมี่ยงต่อการต้านเชื้อ Streptococcus mutans และ Lactobacillus spp. โดยวิธี disc diffusion (CLSI, 2009)
    2.1 การเตรียมเชื้อ
        เลี้ยงเชื้อบนอาหาร brain heart infusion broth (BHI) บ่มที่อุณหภูมิ 37 ºCที่มี 5 % CO2 นาน 18-24 ชั่วโมง ปรับความขุ่นให้ได้เท่ากับ McFarland no. 0.5 ด้วย 0.85 % normal saline solution (0.85 % NSS) จะมีเชื้อประมาณ 1.5 x 108 CFU/ml
    2.2 การเตรียมสารสกัด
        ละลายสารสกัดใน DMSO ให้มีความเข้มข้น 250 mg/mL หยดสารสกัด 10 µL ลงบนแผ่น disc ปราศจากเชื้อ ทิ้งไว้ให้แห้ง จะได้สารสกัดความเข้มข้น 2.5 mg/disc
    2.3 การเตรียมเชื้อแบคทีเรียและทดสอบโดย Disc diffusion วิธีนี้ดัดแปลงจาก Arul (2011) 
    2.3.1 นำเชื้อจาก stock culture มาเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Brain Heart Infusion medium สำหรับแบคทีเรีย Streptococcus mutans และอาหารเลี้ยงเชื้อ MRS agar สำหรับแบคทีเรีย Lactobacillus spp.  นำเชื้อไปบ่มที่     37 ºC ที่ 5 % CO2 เป็นเวลา 18-24 ชั่วโมง 
        2.3.2 เตรียมความเข้มข้นของสารสกัดหยาบใบเมี่ยงอบแห้งและเจือจางสารสกัดกับ DMSO ในอัตราส่วน 1:2 ปริมาตรของสารสกัดที่ใช้สำหรับ 1 disc คือ 20 ?l 
        2.3.3 นำเชื้อแบคทีเรียที่เพาะไว้มาปรับความขุ่นใน normal saline ให้เท่ากับ McFarland standard No. 0.5 (ภาพที่ 6)

ภาพที่ 6 ปรับความขุ่นของเชื้อด้วยน้ำเกลือความเข้มข้น 0.85 %

 

        2.3.4 ใช้ไม้พันสำลีที่ปราศจากเชื้อ (cotton swab) จุ่มแบคทีเรียทดสอบที่ปรับความขุ่นแล้วมาเกลี่ยบนอาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง (Agar plate) รอให้ plate แห้ง ประมาณ 10-15 นาที (ภาพ 7)

 

ภาพที่ 7 สารละลายแบคทีเรีย ปริมาตร 0.1 mL เกลี่ย (spread) บนอาหารแข็ง

 

        2.3.6 วางแผ่น disc บน อาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง (Agar plate) โดยวาง 5 disc ต่อ plate และมี negative control เป็น DMSO และ positive control เป็นยาปฎิชีวนะเตตระไซคลิน (tetracycline) บ่ม plate ที่อุณหภูมิ 37 ºC ที่ 5 % CO2 เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง (ภาพ 8)

ภาพ 8 วางแผ่น disc บน อาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง (Agar plate)

        2.3.7 วัดเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างสมบูรณ์ (complete inhibition zone)

3. การทดสอบหาค่า MIC และ MBC โดยวิธี broth microdilution (CLSI, 2009)
    3.1 การเตรียมเชื้อ
    เลี้ยงเชื้อบนอาหาร BHI บ่มที่อุณหภูมิ 37?C ที่มี 5 % CO2 นาน 18-24 ชั่วโมง ปรับความขุ่นให้ได้เท่ากับ McFarland no. 0.5 หลังจากนั้นนำไปเจือจางให้มีเชื้อประมาณ 1.0 x 106 CFU/ml ด้วย BHI broth
    3.2 การเตรียมสารสกัด
    เตรียมสารสกัดจาก stock solution ให้ได้ความเข้มข้นเป็น 10 เท่า หาความเข้มข้นสุดท้ายที่ต้องการ โดยนำสารสกัดมาละลายด้วยตัวทำละลาย DMSO สำหรับยา tetracycline ละลายด้วยน้ำกลั่นปราศจากเชื้อ                                                     

     3.3 การทดสอบหาค่า MIC โดยวิธี broth microdilution (CLSI, 2009)
        3.3.1 การเตรียมเชื้อ
                 เลี้ยงเชื้อบนอาหาร BHI บ่มที่อุณหภูมิ 37?C ที่มี 5 % CO2 นาน 18-24 ชั่วโมง ปรับความขุ่นให้ได้เท่ากับ McFarland no. 0.5 หลังจากนั้นนำไปเจือจางให้มีเชื้อประมาณ 1.0 x 106 CFU/ml ด้วย BHI broth

ภาพที่ 9 การเจริญของแบคทีเรียสาเหตุฟันผุ Streptococcus mutans ในอาหารเหลว

 

        3.3.2 การเตรียมสารสกัด
                 เตรียมสารสกัดจาก stock solution ให้ได้ความเข้มข้นเป็น 10 เท่า หาความเข้มข้นสุดท้ายที่ต้องการ โดยนำสารสกัดมาละลายด้วยตัวทำละลาย DMSO (ภาพ 10) สำหรับยาปฎิชีวนะ tetracycline ละลายด้วยน้ำกลั่น  ปราศจากเชื้อ

ภาพที่ 10 สารสกัดใบเมี่ยงของแต่ละความเข้มข้น

 

ทำการเจือจางสารสกัดแบบลำดับส่วนกับ 10 % DMSO ให้มีความเข้มข้น 1,024-0.5 µg/mL ใน microliter plate แบบ 96 หลุม ให้มีปริมาตรหลุมละ 20 µL ดูด BHI broth ใส่หลุมละ 80 µL  ดูดเชื้อจากข้อ 3.1 ใส่ลงในแต่ละหลุม หลุมละ 100 µL เขย่าให้เข้ากัน บ่มที่สภาวะเดียวกัน นาน 24 ชั่วโมง
  

 การอ่านผล 
    บันทึกความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้
    ในการหาค่า MIC positive control จะเป็นยา tetracycline และ 1 % DMSO เป็น negative control
    3.4 การทดสอบหาค่า MBC
        ดูดเชื้อจากหลอดที่ใสจากการทดสอบหาค่า MIC มา 10 µL หยดลงบนอาหาร BHI นำไปบ่มที่สภาวะเดียวกัน
การอ่านผล
    บันทึกความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่แบคทีเรียไม่สามารถเจริญได้เป็นค่า MBC
    4. วิธีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ: ยาสีฟันใบเมี่ยงและน้ำยาบ้วนใบเมี่ยงสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์

การดำเนินงานประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 
1. ประชุมร่วมระหว่างผู้วิจัยและภาคเอกชนเพื่อเตรียมการและกำหนดแนวทางการดำเนินการผลิต ยาสีฟันใบเมี่ยงและน้ำยาบ้วนปากใบเมี่ยงในเชิงพาณิชย์ 
2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสีฟันใบเมี่ยงและน้ำยำบ้วนปากใบเมี่ยงเพื่อการต่อยอด
3. การเตรียมวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์เพื่อผลิตยาสีฟันใบเมี่ยงและน้ำยาบ้วนปากใบเมี่ยงโดยภาคเอกชน 
4. การผลิตสินค้าสำเร็จรูปยาสีฟันใบเมี่ยงและน้ำยาบ้วนปากใบเมี่ยงขนาดทดลองโดยภาคเอกชน 
6. การวิเคราะห์การยอมรับผลิตภัณฑ์ยาสีฟันใบเมี่ยงและน้ำยาบ้วนปากใบเมี่ยง
5. การพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรใบเมี่ยงและน้ำยาบ้วนปากใบเมี่ยง
   5.1 การเตรียมน้ำยาบ้วนปากใบเมี่ยง 

   5.2 การเตรียมยาสีฟันสมุนไพรใบชาเมี่ยง 
         ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมี 3 ชนิด คือ ชนิดเป็นครีมขาว (toothpaste) ชนิดผง (toothpowder) และชนิดเจล (gel) 

 

วิธีการเตรียมน้ำยาบ้วนปากใบชาเมี่ยง
1. เตรียมสารละลายของสารใบชาเมี่ยงในเอทานอล ให้มีความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร 
2. ชั่งหรือตวงกลีเซอรีนตามปริมาณที่คำนวณได้ ใส่ลงในภาชนะ (1) ผสม พอลิซอเบท 80 โซเดียม เบน โซเอทและโซเดียม แซคคาริน ที่ชั่งไว้แล้วและผสมน้ำบริสุทธ์ ลงไป ¾ ของตำรับ 
3. ชั่งน้ำมันสะระแหน่ตามปริมาตรที่กำหนดใส่ลงในภาชนะ (2) 
4. คำนวณปริมาณสารสกัดตามสูตรตำรับใส่ลงในภาชนะ (2) คนผสมให้เข้ากัน 
5. ค่อยๆ เทสารละลายจากภาชนะ (1) ลงภาชนะ (2) ช้าๆ คนตลอดเวลา 
6. ปรับปริมาตรด้วยน้ำบริสุทธิ์จนได้ปริมาตรที่ต้องการ

 

วิธีการเตรียมยาสีฟันสมุนไพรใบชาเมี่ยง
1. เตรียมสารละลายของสารสกัดใบชาเมี่ยงในเอทานอล ให้มีความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร 
2. ชั่งสารคาร์บอกซีเมทิล เซลลูโลส ตามที่คำนวณได้ บดในภาชนะ (1) ผสมกลีเซอรีนที่ชั่งไว้ลงไป 
3. เติมน้ำบริสุทธิ์ ตามที่คำนวณได้ลงในภาชนะ (1) เติม ไซลิทอลและโซเดียม แซคคาริน ที่ชั่งไว้ลงไป 
4. หยดน้ำมันสะระแหน่และพาราเบนลงไปในภาชนะ (1) 
5. เติม แคลเซียม คาร์โบเนต ที่ชั่งไว้ลงในภาชนะ (1) 
6. คำนวณปริมาณสารสกัดตามสูตรตำรับใส่ลงในภาชนะ (1) คนผสมให้เข้ากัน 
7. เติม โซเดียม ลอริล ซัลเฟต ที่ชั่งไว้ ลงในภาชนะ (1) ค่อยๆ คนเบาๆ


การพัฒนาเป็นสูตรตำรับและทดสอบ ดังนี้ 
Specification ของยาสีฟันใบชาเมี่ยงและน้ำยาบ้วนปากใบชาเมี่ยง แสดงในตาราง 1 และตาราง 2 ประกอบด้วยลักษณะทางกายภาพและสูตร 
การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การตรวจลักษณะภายนอก เช่น สี กลิ่น และตะกอน เป็นต้น
การทดสอบคุณสมบัติทางเคมีของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การตรวจค่า pH และการตรวจ Thin layer Chromatogram ของวัตถุดิบใบชาเมี่ยงอบแห้ง
 

สภาวะการศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก 
ตำรับน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันใบชาเมี่ยงจะบรรจุอยู่ในภาชนะกันแสงและปิดสนิท โดยมีสภาวะการเก็บ 2 สภาวะ คือ 
1) สภาวะปกติ อุณหภูมิ 30ºC 
2) สภาวะเร่ง อุณหภูมิ 45ºC

การตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก 
1 ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก 
   ลักษณะภายนอกของตำรับน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันสมุนไพรใบชาเมี่ยง ประเมินโดยการสังเกตลักษณะ สีของตำรับ ความใส เป็นต้น 
2 ค่าความเป็นกรดด่างของผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก 
   ค่าความเป็นกรดด่างของตำรับน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันสมุนไพรใบชาเมี่ยง ตรวจสอบด้วยเครื่องวัดความเป็นกรดด่าง (pH meter) วัดตัวอย่างละ 3 ครั้ง 
3 การหาปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก 
  นำตำรับน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันสมุนไพรใบชาเมี่ยงที่เตรียมได้มาชั่งน้ำหนักที่แน่นอน ละลายใน ethanol ปั่นด้วย magnetic stirrer เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำสารละลายที่ได้ไปกรองผ่าน membrane ขนาด 0.45 micron เพื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณคาเทชิน (Catechine) ด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง โดยใช้ C18 column reverse phase (4.6 x 250 มิลลิเมตร, 5 ไมโครเมตร) อัตราการไหล (Flow rate) เท่ากับ 1 มิลลิลิตร/นาที, ปริมาตรที่ใช้ฉีดเท่ากับ 20 ไมโครลิตร วิเคราะห์โดยยูวี สเปกโตรสโกปี (UV Spectroscopy) ความยาวคลื่น 320 นาโนเมตร
4 การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก ด้วย DPPH assay 
  เตรียม DPPH (MW 394.32) ความเข้มข้น 200 ไมโครโมลาร์ โดยชั่งผง DPPH 7.89 มิลลิกรัม ละลายในเอทานอลปริมาตร 100 มิลลิลิตร เตรียมสารตัวอย่าง ได้แก่ น้ำยายาบ้วนปากใบชาเมี่ยงจะนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยแสดงผลเป็นค่าร้อยละการยับยั้ง ส่วนยาสีฟันสมุนไพรใบชาเมี่ยงจะเตรียมให้ได้ความเข้มข้น 1000, 800, 600, 400, 200 และ 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และนำไปทดสอบสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH โดยใส่สารละลายตัวอย่าง 100 ไมโครลิตร ใน 96 well plate จากนั้นใส่สารละลาย 200 ไมโครโม ลาร์DPPH แล้วนำไป incubate อุณหภูมิ 37?C เป็นเวลา 30 นาที  นำไปวัดค่าการดูดกลืนแสง (Absorbance) ที่ความยาวคลื่น 520 นาโนเมตร ด้วยเครื่อง microplate reader คำนวณหาค่า % Inhibition ตามสมการ

6. การวิเคราะห์การยอมรับผลิตภัณฑ์ยาสีฟันใบชาเมี่ยงและน้ำยาบ้วนปากใบชาเมี่ยง 
สำรวจตลาดเบื้องต้นเพื่อประเมินกลุ่มเป้าหมายและเป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป วัตถุประสงค์เพื่อเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในด้านต่างๆดังต่อไปนี้
 – คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (Product Attributes) 
 – ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ (Factors Influencing Purchase Decision) 

   6.1 ยาสีฟันสมุนไพรใบชาเมี่ยง 
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative concept and product test) 
โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้ใช้สินค้าจริง (In-use Test) บันทึกผลด้วยการสังเกตและสัมภาษณ์ 
• ขนาดกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 30 คน 
• การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง: ใช้หลักการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 
• คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง                                                                                                                                                                                                                                                                                   o ทุกคนจะต้องเป็นคนที่ใช้ยาสีฟันสมุนไพรเป็นประจำ อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวันและใช้ยาสีฟันสมุนไพร ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ขึ้นไป 
o เป็นคนตัดสินใจเลือกซื้อและเลือกใช้ยาสีฟันสมุนไพรด้วยตัวเอง 
o ผู้ชายและผู้หญิง อายุ 20-60 ปี 
o ไม่ปฏิเสธที่จะใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทุกประเภท 
o ไม่ทำงานในกลุ่มอาชีพต้องห้าม ได้แก่ พนักงานฝ่ายใดๆ ก็ตามของธุรกิจยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก และไม่ทำงานในสายงานการตลาด การประชาสัมพันธ์และงานวิจัยทุกประเภท 
o ต้องไม่เคยเข้าร่วมกลุ่มทดสอบผลิตภัณฑ์ประเภทยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากใน 6 เดือน ที่ผ่านมา ยกเว้นงานวิจัยครั้งนี้
 

6.2 น้ำยาบ้วนปากใบชาเมี่ยง
     การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative concept and product test) โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้ใช้สินค้าจริง (In-use Test) บันทึกผลด้วยการสังเกตและสัมภาษณ์ 
• ขนาดกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 30 คน 
• การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง: ใช้หลักการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 
• คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง 
o ทุกคนจะต้องเป็นคนที่ใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นประจำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวันและใช้น้ำยาบ้วนปากอย่าง ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ขึ้นไป 
o เป็นคนตัดสินใจเลือกซื้อและเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากด้วยตัวเอง 
o ผู้ชายและผู้หญิง  อายุ 25-65 ปี 
o ไม่ปฏิเสธที่จะใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทุกประเภท 
o ไม่ทำงานในกลุ่มอาชีพต้องห้าม ได้แก่ พนักงานฝ่ายใดๆก็ตามของธุรกิจยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากและไม่ทำงานในสายงานการตลาด การประชาสัมพันธ์และงานวิจัยทุกประเภท 
o ต้องไม่เคยเข้าร่วมกลุ่มทดสอบผลิตภัณฑ์ประเภทยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากใน 6 เดือนที่ผ่านมา ยกเว้นงานวิจัยครั้งนี้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
1) แบบสอบถามที่ใช้ในการทดสอบ การยอมรับแนวคิดผลิตภัณฑ์โดยมีลักษณะเป็นแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) และคำถามปลายเปิด (Open-ended question) 
2) แบบสอบถามที่ใช้ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ (Product In-use Test) โดยมีลักษณะเป็นแบบมาตร ประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) และคำถามปลายเปิด (Open-ended question) 
เครื่องมือแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ในการวัดความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากของผู้บริโภค ซึ่งแบบสอบถามที่สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ประกอบด้วย 
ส่วนที่ 1 เป็นคำถามด้านประชากรศาสตร์ 
ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามโดยเป็นคำถามแบบให้เลือกตอบเพียงคำตอบเดียว ได้แก่ 
1. เพศ เป็นระดับการวัดข้อมูลประเภทนามบัญญัติ (Nominal Scale) 
2. อายุ เป็นระดับการวัดข้อมูลประเภทเรียงลำดับ (Ordinal Scale) 
3. ระดับการศึกษา เป็นระดับกำรวัดข้อมูลประเภทเรียงลำดับ (Ordinal Scale) 
4. สถานภาพสมรส เป็นระดับกำรวัดข้อมูลประเภทนามบัญญัติ (Nominal Scale) 
5. อาชีพ เป็นระดับกำรวัดข้อมูลประเภทนามบัญญัติ (Nominal Scale) 
6. ระดับรายได้ เป็นระดับกำรวัดข้อมูลประเภทเรียงลำดับ (Ordinal Scale) 
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับการวัดระดับในด้านต่างๆ 
เช่น ความพึงพอใจ พฤติกรรมและแนวโน้ม พฤติกรรม เป็นการให้คะแนนแบบ Likert scale โดยมีสเกลอยู่ 5 ระดับ ดังนี้

 

ตอนนที่ 1 การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ
1.1 การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ
               งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่
               1.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
               2.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่
               3.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน
               4.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่

      ขนส่งมายังสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อนแบบถาด (tray dryer) (Teunaks, Ts7472, Bergen, Norway) ที่อุณหภูมิ 60?C เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ก่อนนำตัวอย่างชาเมี่ยงทั้ง 4 จังหวัด มาบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบด (BE-120, OTTO, Bangkok, Thailand) จะได้ชาเมี่ยงาผง จากนั้นนำไปเก็บในถุงโพลีเอททีลีนก่อนนำเข้าเก็บในตู้แช่แข็ง (-20 ?C) เพื่อรอการวิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระต่อไป
1.2 การเตรียมสารสกัดชาเมี่ยงด้วยตัวทำละลายน้ำและเอทานอล
       เตรียมสารสกัดจากชาเมี่ยงโดยดัดแปลงวิธีของ Buamard and Benjakul (2015) โดยนำชาเมี่ยง มาผสมกับตัวทำละลายน้ำและเอทานอลที่มีมีความเข้มข้น 80 % (v/v) ในอัตราส่วน 1: 10 (w/v) จากนั้นกวนเป็นเวลา 30 นาทีโดยเครื่องกวนสารละลาย magnetic stirrer (model BIG SQUID, IKA-Werke GmbH & CO.KG, Staufen, Germany) จากนั้นนำตัวอย่างทั้งสามชุดการทดลองไปทำการโฮโมจีไนส์ด้วยเครื่องโฮโมจีไนส์เซอร์ (IKA-Labortechnik homogenize, Starfeh, Germany) ที่ความเร็ว 13500 rpm เป็นเวลา 4 นาที แล้วนำส่วนผสมไปทำการปั่นเหวี่ยงด้วยเครื่องเซนติฟิวส์ (SORVALL RC50, N.Y.R, Bangkok, Thailand) ที่ความเร็ว 5000 ×g  เป็นเวลา 10 นาที เพื่อแยกเอาส่วนใส (supernatant) และนำส่วนใสที่ได้มากรองด้วยกระดาษกรองเบอร์ 4 Whatman No.4 (Whatman International Ltd., Maid stone, England) จากนั้นนำไประเหยตัวทำละลายเอทานอลออกด้วยเครื่องระเหยแบบหมุน (VV 2000 LIFT, Heiodolph, Germany) จะได้สารสกัดชาเมี่ยง จากนั้นบรรจุสารสกัดที่ได้ในถุงโพลีเอทีลีน และนำไปเก็บที่อุณหภูมิ -20 ?C ก่อนเพื่อรอการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระต่อไป

ภาพที่ 11 สารสกัดชาเมี่ยงที่ทำกการเจือจางด้วยตัวทำละลายเอทานอลก่อนการวิคราะห์ปริมาสารฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระทั้ง 4 วิธี

 

1.3 การวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำลละลายน้ำและเอทานอล
    1.3.1 วิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด (Total Phenolic content)
    นำสารสกัดชาเมี่ยง (10 mg/ml) ปริมาตร 100 µl ผสมกับ Folin – Ciocalteau reagent ปริมาณ 0.75 ml  ซึ่งผ่านการเจือจางด้วยน้ำ DI 10 เท่า หลังจากผสมแล้วตั้งทิ้งไว้  5 นาที จากนั้นเติมสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต (6 %, w/v) ปริมาตร 0.75 ml  ผสมให้เข้ากัน บ่มเป็นเวลา 1 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง  วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 760 nm โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer (Confirm 800 VA, Bangkok, Thailand) โดยใช้ gallic acid เป็นสารมาตรฐาน  และรายงานความเข้มข้นในหน่วย catechin equivalent/g sample (Buamard & Benjakul, 2015)
     1.3.2 วิเคราะห์ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (Total Flavonoid content)
      วิเคราะห์ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ของสารสกัดชาเมี่ยงโดยวิธี aluminum chloride colorimetry ดัดแปลงวิธีจาก Do และคณะ (2014) โดยใช้เคอร์ซิตินเป็นสารมาตรฐาน (ความเข้มข้น 12.5-100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร)ละลายสารสกัดดัวยเมทานอล นําสารสกัดแต่ละชนิดมา 0.5 มิลลิลิตร ความเข้มข้นของสารสกัด 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร แล้วเติมเอทานอล 95 % ลงไป 1.5 มิลลิลิตร จากนั้นเติม 10 % aluminum chloride 0.1 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากันแล้วนําไปเติม 1 M potassium acetate 0.1 มิลลิลิตร แล้วปรับปริมาตร ด้วยน้ำกลั่นจนครบ 5 มิลลิลิตรตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 30 นาทีนําสารละลายที่ได้ไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 415 นาโนเมตร คํานวณหาปริมาณสารฟลาโวนอยด์ในสารสกัดโดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานของสารมาตรฐานเคอร์ซิติน ในหน่วยมิลลิกรัมสมมูลของเคอร์ซิตินต่อกรัมสารสกัด (mg of quercetin equivalent / g extract)
     1.3.3 วิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• (DPPH radical scavenging activity) 
     นำตัวอย่างสารสกัดชาเมี่ยง (5 mg/ml) ปริมาตร 1.5 ml ผสมกับสารละลาย DPPH เข้มข้น 0.15 mmol ในเมทานอลเข้มข้น 95% ปริมาตร 1.5 ml ผสมให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้อุณหภูมิห้อง 30 นาทีในที่มืด วัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่อง Spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 517 nm และเตรียม Blank โดยใช้น้ำกลั่นแทนตัวอย่าง จากนั้นเตรียมกราฟมาตรฐานซึ่งถูกเตรียมโดยใช้ Trolox ในช่วงความเข้มข้น 10-60 µmol และรายงานผลในหน่วย µmol Trolox equivalent/g sample (Senphan & Benjakul, 2014)
    1.3.4 วิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• (ABTS radical scavenging activity) 
    เตรียม Stock Solution ที่มี 7.4  mmol ของสารละลาย ABTS  และ  2.6  mmol ของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์ซัลเฟต ซึ่งสารละลายจะถูกเตรียมโดยผสมสารละลาย ABTS และสารละลายโพแทสเซียมเปอร์ซัลเฟตที่เท่ากัน และตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 12 ชั่วโมงในที่มืด จากนั้นทำการเจือจางสารละลายโดยผสมสารละลาย ABTS 1 ml ด้วย เมทานอล 50 ml เพื่อให้ได้ค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 734 nmเท่ากับ ของ 1.1 ± 0.02 โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer นำสารสกัดชาเมี่ยง 150 µl ผสมกับ 2850 µl ของสารละลาย ABTS และตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 2 ชั่วโมงในที่มืด นำไปวัดค่าการดูดกลืนแสง ที่ 734 nm โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer  จากนั้นเตรียมกราฟมาตรฐานของ Trolox ช่วง 50 ถึง 600 µmolและรายงานผลในหน่วย µmol Trolox equivalent/g sample ตามวิธีของ Senphan and Benjakul (2014)
    1.3.5 วิเคราะห์ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก FRAP (Ferric reducing antioxidant power; FRAP) 
    เตรียม Stock Solution ของอะซิเตตบัฟเฟอร์ที่มีความเข้มข้น 300 mmol (pH 3.6) โดยการเติม 10 mmol ของสารละลาย TPTZ (2,4,6-tripyridyl-s-triazine) ใน HCl ปริมาตร 40 mmol และ 20 mmol ของสารละลาย FeCl3 .6H2O  และเตรียม working solution โดยการผสม 25 ml ของ acetate buffer   2.5 ml TPTZ solution  และ 2.5 ml ของ FeCl3 .6H2O  และนำไปบ่มที่ 37 ?C เป็นเวลา 30 นาที นำตัวอย่างสารสกัดชาเมี่ยง (10mg/ ml; 150 µmol) ผสมกับ 2850 µl ของสารละลาย FRAP และเก็บไว้ 30 นาทีในที่มืดตรวจสอบปริมาณของ  ferrous tripyridyltriazine complex (coloured product) โดยวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 593 nm และกราฟมาตรฐานของ Trolox ช่วง 50 ถึง 600 µmol และรายงานผลในหน่วย µmol Trolox equivalent/g sample ตามวิธีของ Benzie and Strain (1996)
    1.3.6 วิเคราะห์ความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส (Metal Chelating activity) 
    นำสารสกัดตัวอย่างสาสกัดชาเมี่ยง (10 mg/ ml) ปริมาตร 4.7 ml ผสมกับ 0.1 ml ของ 2 mmol FeCl2 และ 0.2 ml ของ 5 โมลาร์ Ferrozine ตั้งทิ้งไว้ 20 นาที ที่อุณหภูมิห้อง วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 562 nm โดยใช้เครื่อง  Spectrophotometer เตรียม Blank เช่นเดียวกัน โดยใช้น้ำกลั่นแทนตัวอย่าง เทียบกราฟมาตรฐานความเข้มข้น 0-50 µmol โดยมี EDTA เป็นสารมาตรฐาน และรายงานผลในหน่วย µmol EDTA equivalent/ g sampleตามวิธีของ Senphan and Benjakul (2014)

1.4.การวิเคราะห์ทางสถิติ
       ทำการทดลอง 3 ซ้ำในแต่ละปัจจัยที่ศึกษาวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลด้วย ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่ศึกษาด้วย Duncans Multiple Range Test วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อประมวลผลทางสถิติ SPSS (SPSS 11.0 for Windows, SPSS Inc, Chicago, IL, USA) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
ตอนที่ 2 การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์จากชาอัญสัม 
    ศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ขากชาอัญสัม จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง      (ภาพที่ 2)  และผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง (ภาพที่ 3)  

ภาพที่ 12 น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง

 

ภาพที่ 13 ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง

 

2.1 การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ขากชาอัญสัม
    2.1 วิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด (Total Phenolic content)
    2.2 วิเคราะห์ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (Total Flavonoid content)
    2.3 วิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• (DPPH radical scavenging activity) 
    2.4 วิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• (ABTS radical scavenging activity) 
    2.5 วิเคราะห์ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก FRAP (Ferric reducing antioxidant power; FRAP) 
    2.6 วิเคราะห์ความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส (Metal Chelating activity) 
    2.7 การวิเคราะห์ทางสถิติ

 

การวิเคราะห์ข้อมูล
       3.1 ทำการคำนวณหาค่าความหนาแน่น ความเด่นด้านพื้นที่หน้าตัด และความถี่ พร้อมกับหาค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความเด่นสัมพัทธ์ และความถี่สัมพัทธ์ โดยใช้สูตรดังนี้
       1. ความหนาแน่น (density, D) คือ จำนวนต้นไม้ทั้งหมดของชนิดที่กำหนดที่ปรากฏในแปลงตัวอย่างต่อหน่วยพื้นที่ที่ทำการสำรวจ

       2. ความเด่น (dominance, Do) ในที่นี้จะใช้ความเด่นด้านพื้นที่หน้าตัด (basal area, BA) คือ พื้นที่หน้าตัดของลำต้นไม้ชนิดที่กำหนด ที่ได้จากการวัดที่ระดับความสูง 1.30 เมตร จากพื้นดินต่อหน่วยพื้นที่ที่ทำการสำรวจ

       3. ความถี่ (frequency, F) คือ อัตราร้อยละของจำนวนแปลงตัวอย่างที่ปรากฏพันธุ์ไม้ชนิดที่กำหนดต่อจำนวนแปลงตัวอย่างทั้งหมดที่ทำการสำรวจ

       4. ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของชนิดไม้ (relative density, RD) คือ สัดส่วนของความหนาแน่นของชนิดไม้ที่ต้องการต่อค่าความหนาแน่นทั้งหมดของไม้ทุกชนิดในสังคม คิดเป็นค่าร้อยละ

       5. ค่าความเด่นสัมพัทธ์ของชนิดไม้ (relative dominance, RDo) คือ ค่าสัดส่วนของความเด่นของชนิดไม้ที่ต้องการต่อค่าความเด่นทั้งหมดของไม้ทุกชนิดในสังคม คิดเป็นค่าร้อยละ

       6. ค่าความถี่สัมพัทธ์ของชนิดไม้ (relative frequency, RF) คือ สัดส่วนของความถี่ของชนิดไม้ที่ต้องการต่อค่าความถี่ทั้งหมดของไม้ทุกชนิดในสังคม คิดเป็นค่าร้อยละ

       7. หาค่าดัชนีความสำคัญของชนิดไม้ (importance value index, IVI) คือ ผลรวมของค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความเด่นสัมพัทธ์ และความถี่สัมพัทธ์ ของชนิดไม้นั้นในสังคม ซึ่งหาได้จากสูตร

         3.2 ลักษณะเชิงสังเคราะห์ของสังคม (synthetical characteristics) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้
                         3.2.1 ดัชนีความหลากหลาย (Shannon-Wiener index of diversity) คำนวณตามวิธีการของ Krebs (1972) ดังนี้

       การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของระดับคะแนนระหว่างกลุ่มย่อย Significantly test     (T-test)
เป้าหมายและตัวชี้วัด 

       ได้ผลการศึกษาการรับรู้และทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อแนวคิดผลิตภัณฑ์ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากใบชาเมี่ยงและได้ผลการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ของยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากใบชาเมี่ยง

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ            งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน            ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview)  2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ 3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method 3.1 การเตรียมแบคทีเรีย           นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M  3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง          นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง          นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) 4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ     งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน           ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ1)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินการวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย และ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการดำเนินการวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย ประชากร              ขอบเขตประชากรที่นำมาคัดเลือกเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่เพาะปลูกเมี่ยง 890 ไร่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 178 ครัวเรือน, เกษตรกร บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง มีพื้นที่เพาะปลูกเมี่ยง 995 ไร่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 199 ครัวเรือน และเกษตรกรบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูกเมี่ยง 805 ไร่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 161 ครัวเรือน  กลุ่มตัวอย่าง              เนื่องจากประชากรในแต่ละชุมชนอาศัยอยู่แบบกระจายตัวและลักษณะของพื้นที่เข้าถึงได้ยาก การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการแนะนำของผู้นำชุมชน และหน่วยตัวอย่างที่ได้เก็บข้อมูลก่อนหน้าที่มีการเก็บข้อมูลจากผู้ที่ผลิตเมี่ยงโดยการสัมภาษณ์และสอบถามแล้วขอคำแนะนำ ให้ติดต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมี่ยงรายอื่นๆ ต่อไป จึงได้กลุ่มตัวอย่างใน 3 พื้นที่ ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่ม บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่ม และบ้านเหล่า ตำบลเหมืองก่าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีทั้งหมด 2 ชุด เพื่อให้ได้ข้อมูลครบสมบูรณ์ ทั้งด้านโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน และ ด้านต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตเมี่ยง มีรายละเอียดดังนี้ เครื่องมือชุดที่ 1 ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) กับผู้นำชุมชนและกลุ่มเกษตรกร โดยกำหนดข้อคำถามจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ และปฐมภูมิ และการใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การกำหนดหัวข้อในการสนทนากำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์ประเด็นร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกเมี่ยง ข้อมูลด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการจดบันทึก การถ่ายภาพ และเครื่องบันทึกเสียงระหว่างการสัมภาษณ์และการสนทนา              งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยข้อมูลที่ได้จากการถอดเทปสัมภาษณ์จะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบสรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถามถูกนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)  ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่เป็นจำนวนร้อยละ (Percentage) และการหาค่าเฉลี่ย (Mean)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทาน สภาพแวดล้อมและการบริหารงาน ได้แก่ แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งแบ่งแบบสัมภาษณ์ ออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับข้อมูลการปลูกเมี่ยง ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของการปลูกเมี่ยง  พื้นที่ในการปลูก การดูแลรักษาเมี่ยง ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวเมี่ยง ได้แก่  อุปกรณ์ วิธีเก็บเมี่ยง  ผลผลิต  ส่วนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเมี่ยง ได้แก่ การเตรียมการนึ่งเมี่ยง การบ่มเมี่ยง การหมักเมี่ยง เวลา อุณหภูมิ การรักษาสินค้าคงคลัง ส่วนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับกระบวนการจัดจำหน่ายจากการผลิตเมี่ยง และปริมาณ          การผลผลิตการผลิตเมี่ยง ส่วนที่ 5 คำถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และศักยภาพ ได้แก่ จุดแข็งสภาพแวดล้อมภูมิอากาศ พื้นที่ในการปลูกเมี่ยง จุดอ่อนปัญหาเกี่ยวกับการเก็บ ปัญหาเกี่ยวกับการขาย การควบคุมราคาขาย เครื่องมือชุดที่ 2 ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง โดยแบ่งแบบสัมภาษณ์ออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้         ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์         ส่วนที่ 2 ต้นทุนและผลตอบแทน         การสร้างเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโดยใช้วิธีการคำนวณตามพฤติกรรมของต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร ผลผลิตทางการเกษตร รวมเป็นต้นทุนรวม อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน และจุดคุ้มทุน ประกอบไปด้วย             1. ต้นทุนจากการดูแลรักษาเมี่ยง            &nbs
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของสมบัติดินทางฟิสิกส์และทางเคมีในสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

-บ้านเหล่า (BL) ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 23 ถึง ภาพที่ 44) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 30 ถึง ภาพที่ 40) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ประวัติการปลูกชา

    แหล่งกำเนิดชาตามธรรมชาติ มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิระวดี แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ ลักษณะคล้ายรูปพัด จากด้านทิศตะวันตก ระหว่างเทือกเขานากามานิปุริและลูไซ่ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัมและสหภาพพม่า ไปยังมณฑลซีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออกแล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของสหภาพพม่าตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนามโดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกกว้างถึง 1,500 ไมล์ หรือ 2,400 กิโลเมตร ระหว่างเส้นลองจิจูด 95 -120 องศาตะวันออก และจากทิศเหนือ จรดทิศใต้ ยาว 1,200 ไมล์หรือ 1,920 กิโลเมตร ระหว่างเส้นละติจูดที่ 29 -11 องศาเหนือ  ประวัติการปลูกชาของโลก      การดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาลตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่า จักรพรรดิเสินหนงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชา โดยบังเอซ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชาขณะรอคอยให้น้ำเดือดกิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชาสักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมาเมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่มชากันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้วพระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์ อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึง นักบวชชื่อธรรม ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียวได้เดินทางมาจาริกบุญ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีน ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ. 519 จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองนานกิง ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เกิดเผลอหลับไปทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะเพื่อเป็นการลงโทษตนเองมิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก ท่านธรรมจึงตัดหนังตาของตนทิ้งเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชาชาวจีนจึงเก็บชามาชงดื่มเพื่อรักษาโรค นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกว่าในสมัยหนึ่งได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดในเมืองจีนผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมากเกี้ยอุยซินแสพบว่าสาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนพากันดื่มน้ำสกปรกจึงแนะน่าให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่มและเพื่อให้ชาวบ้านเชื่อจึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ชาลงไปในน้ำต้มเกี้ยอุยซินแสดพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำ ตามซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง เรื่องชาถูกบันทึกไว้ในหนังสือจีนโบราณชื่อเอ๋อหยา (Er Ya : On Tea) โดยขุนนางในจักรพรรดิ Zhou โดยให้คำจำกัดความของคำว่าชาคือสมุนไพรรสขมชนิดหนึ่งจากบันทึกของมณฑลหัวหยางปัจจุบัน คือ มณฑลซิฉวน) ในช่วงการทำสงครามระหว่างกษัตริย์วู (Wu) ในราชวงศ์ Zhou กับจักรพรรพิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Shang (ในปี 1066 ก่อนคริสตกาล) ทหารจากมณฑลซู (Shu) ซึ่งมาร่วมรบได้น้ำชาและผึ้งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์ด้วยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ "คัมภีร์ชาของหลูอยู่ (Lu Yu)" โดยหลูอยู่เกิดในมณฑลเหอเป่อระหว่าง ค.ศ. 728 - 804 หลูอยู่มีความสนใจในเรื่องชามาก ได้เขียนตำราไว้ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 780 ชื่อว่า "ชาชิง" (Tea classic ซึ่งเป็นตำราที่ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง 10 บท ถือว่าเป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก โดยเนื้อหาในหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของการดื่มชาเครื่องมือการผลิตชา อุปกรณ์การชงชา การชงชาที่ถูกวิธี วิธีการดื่มชา ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชา แหล่งกำเนิดของชา การแบ่งคุณภาพของชาและธรรมเนียมการชงชา สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 618 - 1260) การดื่มชาเป็นที่นิยมมาก มีร้านน้ำชาอยู่ทุกหนทุกแห่งในแต่ละมณฑลจนถึงเมืองหลวง แต่กรรมวิธีชงชาในสมัยราชวงศ์พังจะผิดแผกแตกต่างจากการชงชาที่รู้จักกันสมัยนั้นจะนำใบชาไปนึ่งกับข้าวแล้วเติมเกลือขิง เปลือกส้มและเครื่องเทศ จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนไว้สำหรับละลายน้ำดื่มส่วนในสมัยราชวงศ์ซ้อง การชงได้เปลี่ยนจากก้อนชานึ่งมาเป็นใบชาแห้งโดยนำใบชามาโม่จนเป็นผงแล้วชงกับน้ำร้อน ในยุคนี้เองที่คนจีนเริ่มมีวัฒนธรรมจิบน้ำชา พระสงฆ์หันมาใช้การชงชาเพื่อสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญาจนกระทั่งเมื่อชาวตาดรุกรานจีนจนราชวงศ์ซ้องถูกท่าลายไปท่าให้การท่าและชงชาสูญสิ้นไปด้วย ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1208 - 1368) คนจีนหันมาชงชาด้วยใบซึ่งต้องชงชาในป้าน (กาน้ำชา) ป้านชาจะช่วยกรองเศษชาไม่ให้หล่นลงจอกในขณะรินจากประเทศจีนชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเซียเช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีนโดยเริ่มรู้จักและมีการนำ ชาเข้าญี่ปุ่น โดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูตเพื่อมาศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingaken ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1191 การปลูกชาได้กระจายทั่วไปและพระชาวญี่ปุ่น ชื่อไปไซ (Eisai) ได้ไปเยือนจีนในปี ค.ศ. 1196 และ 1192 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preserving.Health.in Drinking Tea) เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับชาที่เกิดขึ้นในญี
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สรุป สาระสำคัญ และ ลักษณะทางเคมีของดินบริเวณป่าเมี่ยงและใบชาเมี่ยง

สรุป สาระสำคัญ ดังนี้                 พื้นที่ปลูกเมี่ยงส่วนใหญ่กระจายบนที่สูงประมาณ 1000-1600 เมตร (ภาพที่ 122)