โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)

 

                         

ความแข็งของดินในแนวตั้งของสวนหลังบ้าน แปลงที่ 1 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 10 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 11 เซนติเมตรลงไปมีลักษณะดินแข็งระดับปานกลาง แปลงที่ 2 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 4 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 5 เซนติเมตรลงไปมีลักษณะดินแข็งระดับปานกลาง และมีลักษณะเป็นโพรง และแปลงที่ 3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 10 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 11-30 เซนติเมตรลงไปมีลักษณะดินแข็งระดับปานกลาง และตั้งแต่ 31 เซนติเมตรลงไปดินมีลักษณะแข็งมาก

 

 

 

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 4-27 เมตรขึ้นไป ลักษณะของการปกคลุมของเรือนยอดของไม้ใหญ่ที่โดดเด่นไม่ต่อเนื่องกัน ปรากฏเป็นเรือนยอดชั้นบนสุดซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ คอแลน มะแขว่น มะขม ยางพารา เก็ดดำ เป็นต้น เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร ลักษณะของไม้ในชั้นเรือนยอดนี้มีการปกคลุมของเรือนยอด ที่ไม่ต่อเนื่องกันหรือมีความต่อเนื่องกันเล็กน้อย พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ได้แก่ ชาเมี่ยง เป็นต้น ตารางที่ 16 ภาพที่ 29  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)

                           
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 4-27 เมตรขึ้นไป ลักษณะของการปกคลุมของเรือนยอดของไม้ใหญ่ที่โดดเด่นไม่ต่อเนื่องกัน ปรากฏเป็นเรือนยอดชั้นบนสุดซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ คอแลน มะแขว่น มะขม ยางพารา เก็ดดำ เป็นต้น เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร ลักษณะของไม้ในชั้นเรือนยอดนี้มีการปกคลุมของเรือนยอด ที่ไม่ต่อเนื่องกันหรือมีความต่อเนื่องกันเล็กน้อย พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ได้แก่ ชาเมี่ยง เป็นต้น ตารางที่ 16 ภาพที่ 29  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

บทที่5

สรุปและข้อเสนอแนะ สรุปผลการศึกษา        การใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ พื้นที่สวนชาเมี่ยง พื้นที่หย่อมป่า พื้นที่สวนเกษตร และพื้นที่สวนหลังบ้าน ด้านพรรณไม้บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.78 พรรณไม้บ้านกอก จังหวัดพะเยา ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 14 ชนิด 14 สกุล 12 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.92 และพรรณไม้บ้านไม้ฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปารกฎในสวนชาเมี่ยงเท่ากับ 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ ความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นค่อนข้างน้อยมีค่าเท่ากับ 0.34 เนื่องจากสวนชาเมี่ยงทั้ง 3 พื้นที่มีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดสางต้นไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วน และมีการเหลือไว้ซึ่งต้นไม้ใหญ่เป็นที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเนื่องจากชาเมี่ยงต้องการร่มเงาเพื่อการเติบโตค่อนข้างสูง และจะได้ผลผลิตของชาเมี่ยงจำนวนมาก ถ้ามีต้นไม้ใหญ่มากจนเกินไปก็จะทำให้ผลผลิตของชาเมี่ยงลดลง ถ้าไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงาแก่ต้นชาเมี่ยงเลยก็จะทำให้ไม่ได้ผลผลิต สายลม และคณะ (2551) และพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังเป็นพื้นที่แนวกันชนระหว่างพื้นที่ทำการเกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี มีการป้องกันพื้นที่ ทำแนวกันไฟ อนุรักษ์พื้นที่ป่า รักษ์และหวงแหนในพื้นที่ป่าที่ตนทำสวนชาเมี่ยง ส่วนด้านคุณสมบัติของดินทางเคมี พบว่าทั้ง 3 พื้นที่ คุณสมบัติของดินมีความเป็นกรดสูง ถึงกรดจัด ดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินชั้นล่าง ส่วนธาตุอาหารหลักและธาตอาหารรอง มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 พื้นที่ และแสดงออกเด่นชัดในคุณสมบัติของดินเหนียว และคุณสมบัติของดินทางกายภาพ ความแข็งของดินในแนวนอน พบว่าชั้นล่างมีความแข็งของดินมากกว่าชั้นบน ส่วนความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้า ดินชั้นล่างที่ความลึกดินที่ระดับ 20-25 เซนติเมตร มีค่ามากกว่า ดินชั้นบนที่ความลึกดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร        การนำสารสกัดชั้นเอทานอลของใบชาเมี่ยงอบแห้ง (Camellia sinensis var. assamica) มาศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นในฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans และ Lactobacillus spp. และนำสารสกัดไปตรวจสอบองค์ประกอบในใบชาเมี่ยงอบแห้ง จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp.  สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบชาเมี่ยงอบแห้งจากจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.80 และ 18.00± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยมียาปฎิชีวนะเตตระไซคลินเป็นสารมาตรฐานแสดงการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด เท่ากับ 15.50 ± 0.57 และ 18.25 ± 0.45 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ (MIC) และการฆ่าเชื้อ (MBC) พบว่าสารสกัดเอทานอลให้ค่า MIC และ MBC อยู่ระหว่าง 16-125 µg/mL สารสกัดใบชาเมี่ยงอบแห้งจึงมีประโยชน์ในการควบคุมการสร้างคราบจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดโรคฟันผุ สำหรับงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพของใบเมี่ยงอบแห้งได้และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงอบแห้ง        การหาสภาวะการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC จากตัวอย่างใบเมี่ยง โดยการสกัดแบบรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสาร CAF, EGCG และ EC ได้มากและเหมาะสมที่สุด คือ ใช้ตัวทำละลายเอทานอล อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล 1:25 (g/mL) กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด 350 วัตต์ และสกัดโดยใช้เวลา 20 นาที         การวิเคราะห์หาปริมาณสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) พบว่าใบชาเมี่ยงจากจังหวัดเชียงราย มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 5.27 และ 2.51 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ ใบชาเมี่ยงจากจังหวัดพะเยา มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 11.71 และ 0.33 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ และใบชาเมี่ยงจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปริมาณสารสำคัญ CAF และ EGCG เท่ากับ 10.11 และ 1.50 mg ต่อ 1 g ของใบชาเมี่ยงแห้ง ตามลำดับ       การแยกองค์ประกอบทางเคมีของใบชาเมี่ยง ด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล แยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟี และการยืนยันโครงสร้างสารด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโกปี พบว่าสามารถแยกสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ได้น้ำหนัก 0.7293 กรัม และสารคาเทชิน (catechin) ได้น้ำหนัก 0.8951 กรัม ข้อเสนอแนะ     1. ควรมีการศึกษาการเพิ่มมูลค่าในพื้นที่สวนชาเมี่ยงรูปแบอื่นๆ เช่นการปลูกกาแฟ การเลี้ยงผึ้ง และ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    ความหนาแน่นของสวนชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทั้งหมด 10 ตำบล 117 หมู่บ้าน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพบว่า ในอดีตมีการทำสวนชาเมี่ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน             เพื่อเป็นรายได้ในครอบครัว แต่ปัจจุบัน เนื่องจากราคาของชาเมี่ยงที่ตกต่ำ ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ตัดต้นชาเมี่ยงออกจากพื้นที่แล้วหันมาปลูกพืชเกษตรชนิดอื่นที่ให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าแทน เช่น ข้าวโพด ยางพารา ข้าวไร่ ลำไย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดเชียงคำมีการทำสวนชาเมี่ยงลดลง เหลืออยู่เพียง 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ตำบลแม่ลาว หมู่ที่ 5  บ้านแฮะ มีทั้งหมด 160 ครัวเรือน มีการปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 6 บ้านน้ำมิน มีทั้งหมด 180 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 10 บ้านคะแนง มีทั้งหมด 110 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 งาน หมู่ที่ 11 บ้านกอก มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ และหมู่ที่ 13 บ้านน้ำมินเหนือ มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ปัจจุบันสวนชาเมี่ยงที่ยังมีการเก็บผลผลิตอยู่ ด้านการจัดการและการดูแลสวนชาเมี่ยง จะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ชาเมี่ยงแตกยอดใหม่ 1-2 ปีต่อ 1ครั้ง โดยจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง มีการตัดหญ้าก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ปีละ 3-4 ครั้ง ไม่มีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และใช้สารเคมี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งทั้งปี แต่ยังคงเป็นเพียงอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน และยังขาดการสืบทอดให้รุ่นลูกหลาน เนื่องจากมีราคาที่ต่ำ เป็นผลทำให้สวนชาเมี่ยงนั้นเริ่มหายไป ส่วนสวนชาเมี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่บางส่วนชาวบ้านจะปล่อยให้พื้นที่อนุรักษ์ของหมู่บ้านและเป็นป่าต้นน้ำต่อไป ตารางที่ 22 ภาพที่ 43
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความแข็งของดินในแนวนอน ความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน

    สมบัติดินทางกายภาพสมบัติดินทางกายภาพพื้นที่สวนชาเมี่ยงบ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พบว่า ค่าความแข็งของดิน (Soil hardness) ที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีความแข็งมากกว่าดินที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร เนื่องจากดินชั้นบนมีการทับถมของซากพืช และมีการย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ ค่าความชื้นของดิน (Soil moisture) ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีค่าความชื้นมากกว่าดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร เพราะดินชั้นบน มีการระเหยของน้ำ สัมผัสลม และสัมผัสแสงแดดอยู่ตลอดเวลา และค่าการนำไฟฟ้าของดิน (CEC) ที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร มีค่าการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าดินที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร ตารางที่ 18
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)

                           
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 4-27 เมตรขึ้นไป ลักษณะของการปกคลุมของเรือนยอดของไม้ใหญ่ที่โดดเด่นไม่ต่อเนื่องกัน ปรากฏเป็นเรือนยอดชั้นบนสุดซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ คอแลน มะแขว่น มะขม ยางพารา เก็ดดำ เป็นต้น เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร ลักษณะของไม้ในชั้นเรือนยอดนี้มีการปกคลุมของเรือนยอด ที่ไม่ต่อเนื่องกันหรือมีความต่อเนื่องกันเล็กน้อย พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ได้แก่ ชาเมี่ยง เป็นต้น ตารางที่ 16 ภาพที่ 29  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 4-27 เมตรขึ้นไป ลักษณะของการปกคลุมของเรือนยอดของไม้ใหญ่ที่โดดเด่นไม่ต่อเนื่องกัน ปรากฏเป็นเรือนยอดชั้นบนสุดซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ คอแลน มะแขว่น มะขม ยางพารา เก็ดดำ เป็นต้น เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร ลักษณะของไม้ในชั้นเรือนยอดนี้มีการปกคลุมของเรือนยอด ที่ไม่ต่อเนื่องกันหรือมีความต่อเนื่องกันเล็กน้อย พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ได้แก่ ชาเมี่ยง เป็นต้น ตารางที่ 16 ภาพที่ 29  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)

                           
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)

                           
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)