แบคทีเรียสาเหตุการเกิดแผลติด และ เชื้อการติดเชื้อผิวหนัง

แบคทีเรียสาเหตุการเกิดแผลติดเชื้อ
           แผลเรื้อรัง  เป็นอาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ภายในเวลา 4-6 สัปดาห์  โดยทั่วไป การสมานแผลมีการเชื่อมโยงกับกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีประสิทธิภาพ  แผลเรื้อรังมักปรากฎการปนเปื้อนของจุลินทรีย์เสมอ ซึ่งที่มีเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปที่เป็นเชื้อประจำถิ่นบริเวณผิวหนัง เช่น Staphylococcus  epidermidis, Coagulase negative Staphylococcus อื่นๆ, Corynebacterium spp., Proprionibacterium acnes เป็นต้น และ พบเชื้อที่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพ เช่น Staphylococcus aureus, E. coli, Proteus spp., Pseudomonas spp. และ Acinetobacter spp. นอกจากนี้ ยังมีรายงาน ระยะสั้น พบ S. aureus เป็นเชื้อแกรมบวก มักพบในผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวาน โดยหลังจากระยะเวลา 4 สัปดาห์ เริ่มพบแบคทีเรียแกรมลบ เช่น Proteus spp., E. coli และ Klebsiella spp. จากนั้น ระยะยาว พบเชื้อ Pseudomonas spp. และ Acinetobacter spp. (Charmberlain, 2007)
Staphylococcus aureus (วารีรัตน์, 2557)
            แบคทีเรียรูปร่างกลม ติดสีแกรมบวก ขนาดสม่ำเสมอ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ไมโครเมตร เรียงตัวเป็นกลุ่มๆ คล้ายพวงองุ่น แต่จะพบเป็น เซลล์เดี่ยว เซลล์คู่ และ เป็นสายสั้นๆ (โดยมากไม่เกิน 4 เซลล์) อยู่ปะปนด้วยเสมอ แบคทีเรียชนิด ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนไหว ไม่มีแคปซูล ให้ผลบวกในการทดสอบ Catalase และ ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จะสลายน้ำตาลให้กรด สามารถสร้าง coagulase ได้ ซึ่งเป็นการทดสอบที่สำคัญที่ใช้ในการแยก Staphylococcus aureus ออกจาก Staphylococcus สายพันธุ์อื่นๆ โดย coagulase ทำให้พลาสมาเกิดการแข็งตัว โดยอาศัย coagulase reaction factor (RCF) ซึ่งมีอยู่ในพลาสมาของคน และ สัตว์บางชนิด เป็นตัวกระตุ้นการสร้างไฟบริน และ การแข็งตัวของพลาสมา โดยมีบทบาทในการก่อโรค คือ ไฟบรินจะไปหุ้มรอบแบคทีเรีย ทำให้เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำลายแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ ยังพบการสร้างเอนไซม์ penicilinase หรือ β-lactamase ออกฤทธิ์ทำลายยากลุ่ม penicillins เช่น ampicillin, carbenicillin, methicillin และ amoxicillin เป็นต้น โดยเอนไซม์นี้สามารถทำลาย β-lactam ring ของยาดังกล่าวได้
            Staphylococcus aureus ส่วนใหญ่ไม่มีแคปซูล ให้โคโลนีสีเหลืองทอง หรือ ทอง เป็นเชื้อที่เจริญได้ง่ายบนอาหารเลี้ยงเชื้อธรรมดา ไม่ต้องการอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ เป็นแบคทีเรียที่มีความทนทานมาก สามารถทนต่ออุณหภูมิ 60ºC เป็นเวลา 30 นาที และ ตายที่อุณหภูมิ 100ºC ภายใน 2-3 นาที S. aureus พบ เป็นเชื้อประจำถิ่นได้มากกว่า 60 % ของประชากร โดยพบที่ โพรงจมูกส่วนหน้า ถึง 20 % อาจพบได้ที่ รักแร้ ขาหนีบ คอหอย และ มือ เป็นต้น ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน  โรคตับ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต  ผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) แบคทีเรียนี้ก่อโรคในคนได้บ่อยที่สุด เนื่องจาก สามารถสร้างสารพิษ และ เอนไซม์ได้หลายชนิด เช่น α-toxin, exfoliatin, superantigen toxins, enterotoxin เป็นต้น ทำให้สามารถต่อสู้กับกลไกที่ร่างกายใช้ในการกำจัดจุลชีพ และ ก่อโรคติดเชื้อผิวหนังที่รุนแรง เช่น Staphylococcal scalded-skin syndrome และ toxic shock syndrome ได้อีกด้วย S. aureus พบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง (pyoderma) ได้บ่อยที่สุด ทั้งแบบ ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ (primary and secondary pyodermas) ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือด (bacteremia) และ ติดเชื้อในระบบอื่น เช่น กระดูก (osteomyelitis) และ หัวใจ (infective endocarditis) ได้อีกด้วย การติดเชื้อมีสาเหตุจาก S. aureus มักเกี่ยวกับทางผิวหนัง เช่น ฝี  รูขุมขนอักเสบ  สิว  รวมถึงการติดเชื้อที่แผลหลังการผ่าตัด
            การติดต่อของเชื้อกลุ่มนี้มาสู่คน ติดต่อโดยการรับประทาน หรือ ดื่มน้ำที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนเข้าไปประมาณ 1-6 ชั่วโมง เนื่องจาก Staphylococcus aureus สร้างสารพิษ (toxin) ชนิดเอนเทอโรทอกซิน (enterotoxin) สารพิษที่สร้าง มีสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อน ออกฤทธิ์ที่เยื่อบุลำไส้ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และ ท้องเดิน ส่วนมาก ไม่มีไข้ ในรายที่รุนแรงอาจช็อกได้ หรือ บางชนิดทำให้เกิดสิวได้ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 8-24 ชั่วโมง อาการรุนแรงของโรคนี้ ขึ้นอยู่กับ ปริมาณของสารพิษที่ปนเปื้อน S. aureus เป็นแบคทีเรียที่ผลิตสารพิษ และ สามารถสังเคราะห์เอนไซม์ coagulase ได้   


Staphylococcus epidermidis (วารีรัตน์, 2557)
            แบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม ขนาด 0.5-1.5 µM อาจอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว หรือ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่น ลักษณะโคโลนีขนาดเล็ก สีขาว สามารถเจริญได้ทั้งภาวะที่มีออกซิเจน หรือ มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 37ºC เป็นแบคทีเรียที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่ม Staphylococcus sp. ไม่ผลิตเอนไซม์ coagulase ไม่ผลิตแอลฟาท็อกซิน (α-toxin) เอกซ์โพลิเอติน (exfoliatin) และ ซุปเปอร์แอนติเจนท็อกซิน (superantigen toxins) ได้ 
            Staphylococcus epidermidis เป็นเชื้อประจำถิ่น (normal flora) พบ บริเวณผิวหนัง โพรงจมูก รูหู และ ทางเดินปัสสาวะส่วนปลาย ในอดีตไม่ค่อยเป็นสาเหตของการติดเชื้อ แต่เนื่องจากมีการใช้ catheters และ prosthesis กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น จึงพบว่า มีความสำคัญในการก่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลมากขึ้น นอกจากนี้ ยากต่อการรักษา เนื่องจาก S. epidermisdis สามารถสร้างไบโอฟิลม์ได้ และ มีแบบแผนการดื้อยาไม่แน่นอน และ แตกต่างกับ S. aureus ที่พบการดื้อยาต่อกลุ่ม penicilinase-resistant penicillin และ cephalosporin มากกว่า ซึ่งยาทั้ง 2 กลุ่ม นี้ ได้ผลดีกับ S. aureus เท่านั้น

 

การติดเชื้อผิวหนัง
           Staphylococcus spp. พบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง (pyoderma) ได้บ่อยที่สุด ทั้งแบบปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ (primary and secondary pyodermas) (Craft et al. 2008) การติดเชื้อดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
Impetigo
           เป็นการติดเชื้อในผิวหนังชั้นต้นที่พบบ่อยมากทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อน พบมาก ในเด็ก และ พบได้ทุกกลุ่มอายุ แบ่งตามอาการทางคลีนิค ได้ 2 ประเภท ได้แก่
Non-bullous impetigo
           พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 70% ของการติดเชื้อผิวหนังชนิดนี้ใช้เวลา ประมาณ 11 วัน ในการกระจายของแบคทีเรียจากโพรงจมูกมายังผิวหนัง และ ก่อให้เกิดรอยโรคขึ้น มักพบบริเวณใบหน้าโดยเฉพาะรอบจมูก เนื่องจาก โพรงจมูกเป็นบริเวณที่พบการเจริญของ S. aureus มากที่สุด แต่อาจพบได้ บริเวณแขนขา หากมีการบาดเจ็บของผิวหนังด้วย นอกจากนี้ พบว่า โรค และ ภาวะที่ก่อให้เกิดการลดลงของความแข็งแรงของผิวหนัง เช่น การติดเชื้อรา เริม อีสุกอีใส การถูกแมลงกัด รอยถลอก บาดแผล อาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อผิวหนังชนิดนี้ อาการมักเริ่มต้นเป็นตุ่มใส (vesicles) หรือ ตุ่มหนอง (pustules) จากนั้น จะเปลี่ยนเป็นสเก็ดสีน้ำตาล (honey-colored crusted plaque) อย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเกิดต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงโตได้ (regional lymphadenopathy) และ รอยโรคอาจขยายขนาด และ ลงลึกถึงชั้นหนังแท้ ก่อให้เกิดแผลได้ (ulcer)
Ecthyma
           เกิดจาก Staphylococcus aureus และ group A Streptococcus อาการแสดงเป็นรอยถลอก หรือ แผลที่ปกคลุมด้วยสะเก็ดหนาสีเหลืองเท่า แผลมีลักษณะ ‘punched out’ ขอบยกนูนหนา อยู่ในบริเวณที่มีการกดทับอับชื้น พบมาก ในผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น มักพบรอยโรคบริเวณ ขา และ เท้า

Furunole และ Carbuncle
           Furuncle หรือ ฝี คือ deep-seated inflammatory nodule ที่เกิดขึ้นรอบๆ hair follicle ส่วน carbuncle หรือ ฝีฝักบัว เป็นรอยโรคที่มีความรุนแรงมากกว่า ลึกกว่า มักมีช่องทางเชื่อมต่อกันเป็นโพรงขนาดใหญ่ มักเกิดจาก furuncles จำนวนมากอยู่ใกล้กันมาเชื่อมต่อกัน (Ryan and Ray, 2010)
          Furuncle มักเริ่มด้วย hard, tender, red folliculocentric nodule ในบริเวณที่มีขน หลายวันต่อมา จะเริ่มกลายเป็นฝีหนอง เจ็บ และ แตกออกในที่สุด 
          Carbuncle มักพบบริเวณท้ายทอย หลัง ต้นขา โดยพบเป็นฝีขนาดใหญ่ ลึก มีการอักเสบ และ เจ็บมาก มักมีไข้ และ ปวดเมื่อยร่วมด้วย


Escherichia coli (วารีรัตน์, 2557)
           จุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่แหล่งอาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ และ สัตว์เลือดอุ่น อีกทั้งยังพบในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ พืช อากาศ และ ดิน E. coli เป็นแบคทีเรียในวงศ์ Enterobecteriaceae สกุล Escherichia เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มคลอลิฟอร์ม E. coli รูปร่างเป็นแท่ง ติดสีแกรมลบ  สามารถเจริญได้ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน เคลื่อนที่โดยใช้ Peritrichous flagella ไม่สร้างสปอร์ สามารถเจริญได้ในช่วงอุณหภูมิ 10-40ºC โดยมีอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 35-37ºC ก่อให้เกิดโรค ภายหลังได้รับเชื้อ 18-24 ชั่วโมง สายพันธุ์ที่สร้างสารพิษ enterotoxin ผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระร่วงบ่อยครั้ง อุจจาระเป็นมูกเลือด ปวดท้อง มีอาการซีด เนื่องจาก สารพิษของเชื้อไปทำลายเม็ดเลือดแดงจึงเกิดสภาวะไตวายได้ ผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่แสดงอาการของโรคแต่สามารถถ่ายทอดเชื้อก่อโรคให้ผู้อื่นได้ 
Bacillus cereus (วารีรัตน์, 2557)
           แบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างแท่ง เรียงตัวเป็นสาย และ สร้างเอนโดสปอร์ เจริญได้ดีทั้งสภาวะที่มี และ ไม่มีออกซิเจน แหล่งที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียกลุ่ม Bacillus sp. ในธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ พืช และ อาหาร Bacillus sp. สายพันธุ์ก่อโรค ได้แก่ B. cereus เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อความสะอาดของ อาหารน้ำ และ เครื่องดื่ม เพราะ สามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการของโรคอาหารเป็นพิษ ภายใน 8-16 ชั่งโมง และ ต่อเนื่องจนถึง 12-24 ชั่วโมง โดยการเกิดพิษมี 2 ลักษณะอาการ คือ ทำให้อาเจียน (Emetic illness) และ ทำให้ท้องเสีย (Diarrhea illness) ทำให้ผู้ป่วยที่รับสารพิษมีอาการท้องร่วง ผู้ป่วยจะเป็นตะคริวที่ท้อง ทำให้มีอาการปวดท้องรุนแรง และ อุจจาระเหลวเป็นน้ำ ไม่ค่อยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และ อีกแบบหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางครั้งรุนแรง เป็นแบคทีเรียที่สามารถอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมได้นาน เนื่องจาก มีการผลิตสปอร์ (endospore)  แหล่งที่พบ Bacillus cereus พบได้ทั่วไป ในธรรมชาติ ในดิน ฝุ่นละออง ผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น ข้าว ธัญพืช แป้ง ผลิตภัณฑ์จากแป้ง เครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และ  เครื่องปรุงรสต่างๆ ทำให้สามารถปนเปื้อนอาหารได้ง่าย เป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งคนสามารถรับเข้าสู่ร่างกายโดยการสัมผัสอาหาร ภาชนะที่ใส่อาหารอาหาร และ การสัมผัสจากอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือที่ปนเปื้อน Bacillus cereus เข้าสู่ร่างกายก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้
Propionibacterium acnes (Sharon and Bernard, 1995)
           Genus Propionibacterium แบคทีเรียเป็นชนิด anaerobes  เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปแท่งขนาดเล็ก ไม่มีสปอร์ พบมีการแตกแขนงได้บางครั้ง เป็นเชื้อประจำถิ่น (normal flora) ที่ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่มีไขมันมาก เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จะพบเชื้อได้ที่ความหนาแน่น 105-107 เซลล์ ต่อ ตารางเซนติเมตร ลักษณะโคโลนีเป็นโดมสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 0.5 mm เจริญเติบโตบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีไขมัน ในสภาวะที่มีมีออกซิเจน ที่อุณหภูมิ 37ºC ในเวลา 3 วัน สามารถทำการทดสอบคุณสมบัติทางเคมีต่างๆ เพื่อตรวจสอบ ยืนยันว่า เป็น P. acnes กล่าวคือ DNase ให้ ผลลบ gelatinase, casein hydrolase และ indole ให้ผลบวก แบคทีเรียชนิดนี้เดิมจัดอยู่ในสกุล Corynebacterium เนื่องจาก มีรูปร่างคล้าย diphteroid  ปัจจุบัน จัดอยู่ในสกุล Propionibacterium เนื่องจาก ลักษณะโครงสร้าง ส่วนประกอบของผนังเซลล์ DNA และ ให้ผลผลิตของเมแทบอลิซึม เป็น กรดโพรพิโอนิค และ แอซีติก ซึ่งแตกต่างจาก Corynebacterium แบคทีเรียสกุลนี้พบได้ทั่วไปตามผิวหนัง ผม ขน ช่องปาก ระบบทางเดินอาหารของคน และ สัตว์ มีอยู่ทั้งหมด 8 ชนิด แต่ที่พบบ่อย ได้แก่ P. acnes, P. granulosum และ P. avidum 
Propionibacterium acnes ผลิตกรดโพรพิโอนิคชอบอาศัยอยู่บริเวณจมูก สามารถใช้น้ำตาลกลูโคสแบบไม่ใช้ ออกซิเจน เป็นต้นเหตุสำคัญของสิว และ บางครั้งอาจทำให้เกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบ 
     P. avidum มีขนาด 0.3 – 1.3 x 1 – 10 ไมโครเมตร อาจมีรูปร่างหลายแบบ คือ คล้ายกระบองลักษณะเป็น coccobacilli คล้ายอักษรจีน บางครั้งต่อเป็นกิ่งก้านสายสั้นๆ 
    P. granulosum มีขนาด 0.3-1.3 x 1-10 ไมโครเมตร อาจมีรูปร่างหลายแบบ คือ คล้ายกระบองลักษณะ เป็น coccobacilli คล้ายอักษรจีน บางครั้งต่อเป็นกิ่งก้านสายสั้น ๆ หากพบ แสดงว่ามีการปนเปื้อนที่ผิวหนังเกิดขึ้น
Pseudomonas aeruginosa
        Pseudomonas aeruginosa เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ในวงศ์ Pseudomonadaceae ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต (Aerobic bacteria) ซึ่งมีรูปแท่ง สามารถเคลื่อนที่ได้โดย flagellum 1 เส้น ที่ติดบริเวณหัว โดยปกติ พบการกระจายเชื้อ P. aeruginosa ใน ดิน น้ำ หรือ ในพืช และ เป็น normal flora ในลำไส้คน นอกจากนี้ พบว่า Pseudomonas aeruginosa เป็นเชื้อฉวยโอกาส สามารถทำให้เกิดโรคทั้งในคน และ สัตว์ (Tyrone and Andrew, 2005) โดยเฉพาะ ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลจะมีการติดเชื้อง่าย และ รุนแรง เช่น ติดเชื้อในแผลไฟไหม้ และ แผลอื่นๆ โดยการติด P. aeruginosa infection ของแผลไฟไหม้ และ แผลอื่นๆ จะทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย และ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด septic shock (Schaber et al., 2007) P. aeruginosa มักเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (nosocomial infection)  สามารถแพร่กระจายในโรงพยาบาลโดยบุคคลากร  อุปกรณ์การแพทย์  ผิวหนัง  น้ำยาฆ่าเชื้อ และ อาหาร จะพบว่า โรคติดเชื้อนี้เป็นปัญหาที่รุนแรงมากในโรงพยาบาล (Obritsch et al., 2005)
       การติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ได้แก่ ความสามารถในการยึดเกาะกับเยื่อบุผิว  การดื้อยาปฎิชีวนะ  การสร้างโปรตีนทำลายเนื้อเยื่อ และ การมี protective outer coat นอกจากนี้ แบคทีเรีย ดังกล่าว สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้เกือบทุกอวัยวะ เช่น ผิวหนัง  แก้วตา  หู  ทางเดินหายใจ  กระดูก  กระแสโลหิต  เป็นต้น (Tielker et al., 2005) P. aeruginosa มักเป็นสายพันธุ์ที่ดื้อยาต้านจุลชีพหลายชนิด (Multidrug-resistance) กลไกการดื้อยา จุลชีพใน P. aeruginosa มีความหลากหลาย อาจเกิดจาก ดื้อยาโดยธรรมชาติ จนถึง การได้รับยีนดื้อยาผ่านทาง genetic mobile element โดย plasmid, conjugative transposons และ intergron ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สำคัญ ในการช่วยเคลื่อนย้าย และ แพร่กระจายของยีนดื้อยา (Sritippayawan et al., 2008) 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

แบคทีเรียสาเหตุการเกิดแผลติด และ เชื้อการติดเชื้อผิวหนัง

แบคทีเรียสาเหตุการเกิดแผลติดเชื้อ            แผลเรื้อรัง  เป็นอาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ภายในเวลา 4-6 สัปดาห์  โดยทั่วไป การสมานแผลมีการเชื่อมโยงกับกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีประสิทธิภาพ  แผลเรื้อรังมักปรากฎการปนเปื้อนของจุลินทรีย์เสมอ ซึ่งที่มีเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปที่เป็นเชื้อประจำถิ่นบริเวณผิวหนัง เช่น Staphylococcus  epidermidis, Coagulase negative Staphylococcus อื่นๆ, Corynebacterium spp., Proprionibacterium acnes เป็นต้น และ พบเชื้อที่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพ เช่น Staphylococcus aureus, E. coli, Proteus spp., Pseudomonas spp. และ Acinetobacter spp. นอกจากนี้ ยังมีรายงาน ระยะสั้น พบ S. aureus เป็นเชื้อแกรมบวก มักพบในผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวาน โดยหลังจากระยะเวลา 4 สัปดาห์ เริ่มพบแบคทีเรียแกรมลบ เช่น Proteus spp., E. coli และ Klebsiella spp. จากนั้น ระยะยาว พบเชื้อ Pseudomonas spp. และ Acinetobacter spp. (Charmberlain, 2007) Staphylococcus aureus (วารีรัตน์, 2557)             แบคทีเรียรูปร่างกลม ติดสีแกรมบวก ขนาดสม่ำเสมอ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ไมโครเมตร เรียงตัวเป็นกลุ่มๆ คล้ายพวงองุ่น แต่จะพบเป็น เซลล์เดี่ยว เซลล์คู่ และ เป็นสายสั้นๆ (โดยมากไม่เกิน 4 เซลล์) อยู่ปะปนด้วยเสมอ แบคทีเรียชนิด ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนไหว ไม่มีแคปซูล ให้ผลบวกในการทดสอบ Catalase และ ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จะสลายน้ำตาลให้กรด สามารถสร้าง coagulase ได้ ซึ่งเป็นการทดสอบที่สำคัญที่ใช้ในการแยก Staphylococcus aureus ออกจาก Staphylococcus สายพันธุ์อื่นๆ โดย coagulase ทำให้พลาสมาเกิดการแข็งตัว โดยอาศัย coagulase reaction factor (RCF) ซึ่งมีอยู่ในพลาสมาของคน และ สัตว์บางชนิด เป็นตัวกระตุ้นการสร้างไฟบริน และ การแข็งตัวของพลาสมา โดยมีบทบาทในการก่อโรค คือ ไฟบรินจะไปหุ้มรอบแบคทีเรีย ทำให้เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำลายแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ ยังพบการสร้างเอนไซม์ penicilinase หรือ β-lactamase ออกฤทธิ์ทำลายยากลุ่ม penicillins เช่น ampicillin, carbenicillin, methicillin และ amoxicillin เป็นต้น โดยเอนไซม์นี้สามารถทำลาย β-lactam ring ของยาดังกล่าวได้             Staphylococcus aureus ส่วนใหญ่ไม่มีแคปซูล ให้โคโลนีสีเหลืองทอง หรือ ทอง เป็นเชื้อที่เจริญได้ง่ายบนอาหารเลี้ยงเชื้อธรรมดา ไม่ต้องการอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ เป็นแบคทีเรียที่มีความทนทานมาก สามารถทนต่ออุณหภูมิ 60ºC เป็นเวลา 30 นาที และ ตายที่อุณหภูมิ 100ºC ภายใน 2-3 นาที S. aureus พบ เป็นเชื้อประจำถิ่นได้มากกว่า 60 % ของประชากร โดยพบที่ โพรงจมูกส่วนหน้า ถึง 20 % อาจพบได้ที่ รักแร้ ขาหนีบ คอหอย และ มือ เป็นต้น ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน  โรคตับ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต  ผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) แบคทีเรียนี้ก่อโรคในคนได้บ่อยที่สุด เนื่องจาก สามารถสร้างสารพิษ และ เอนไซม์ได้หลายชนิด เช่น α-toxin, exfoliatin, superantigen toxins, enterotoxin เป็นต้น ทำให้สามารถต่อสู้กับกลไกที่ร่างกายใช้ในการกำจัดจุลชีพ และ ก่อโรคติดเชื้อผิวหนังที่รุนแรง เช่น Staphylococcal scalded-skin syndrome และ toxic shock syndrome ได้อีกด้วย S. aureus พบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง (pyoderma) ได้บ่อยที่สุด ทั้งแบบ ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ (primary and secondary pyodermas) ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือด (bacteremia) และ ติดเชื้อในระบบอื่น เช่น กระดูก (osteomyelitis) และ หัวใจ (infective endocarditis) ได้อีกด้วย การติดเชื้อมีสาเหตุจาก S. aureus มักเกี่ยวกับทางผิวหนัง เช่น ฝี  รูขุมขนอักเสบ  สิว  รวมถึงการติดเชื้อที่แผลหลังการผ่าตัด             การติดต่อของเชื้อกลุ่มนี้มาสู่คน ติดต่อโดยการรับประทาน หรือ ดื่มน้ำที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนเข้าไปประมาณ 1-6 ชั่วโมง เนื่องจาก Staphylococcus aureus สร้างสารพิษ (toxin) ชนิดเอนเทอโรทอกซิน (enterotoxin) สารพิษที่สร้าง มีสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อน ออกฤทธิ์ที่เยื่อบุลำไส้ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และ ท้องเดิน ส่วนมาก ไม่มีไข้ ในรายที่รุนแรงอาจช็อกได้ หรือ บางชนิดทำให้เกิดสิวได้ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 8-24 ชั่วโมง อาการรุนแรงของโรคนี้ ขึ้นอยู่กับ ปริมาณของสารพิษที่ปนเปื้อน S. aureus เป็นแบคทีเรียที่ผลิตสารพิษ และ สามารถสังเคราะห์เอนไซม์ coagulase ได้    Staphylococcus epidermidi
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา

    การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา มักแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิต (biotic factors) ซึ่งได้แก่ มนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมพืช และปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic factors) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากนั้นปัจจัยแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายประการดังนี้    1. ปัจจัยที่เกี่ยวกับดิน (edaphic factors) ดินเป็นเทหวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติปกคลุมผิวโลกอยู่บาง ๆ เกิดจากการแปรสภาพหรือผุสลายของหิน แร่ และอินทรีย์วัตถุ ผสมคลุกเคล้ากัน(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536) ดินเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวของพืชส่วนใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงมักถือเป็นสิ่งวัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งต่าง ๆ ได้ นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ความชื้นของดินก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพืชในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฤดูแล้งเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นจุดวิกฤติสำหรับการรอดตายของพืช (Sakurai et al., 1991) สอดคล้องกับรายงานของ Marod et al. (2002) ที่พบว่ากล้าไม้สำคัญในป่าผสมผลัดใบส่วนใหญ่มีอัตราการรอดตายลดต่ำลงมากเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งโดยทั่วไปพรรณไม้ส่วนใหญ่มีการพักตัวในฤดูแล้ง ซึ่งจะมีการผลัดใบและจัดสภาพทางสรีระวิทยาเพื่อการเจริญเติบโตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อย่างไรก็ตามการออกดอกออกผลของไม้ป่าหลายชนิดเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งทั้งนี้เพื่อการโปรยเมล็ดในจังหวะที่พอเหมาะกับการมีความชื้นที่ผิวดินเพื่อการงอกและเจริญเติบโตของกล้าไม้(Marod et al., 2002) ปริมาณน้ำในดินยังเป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดรากพืชตามธรรมชาติ (Donahue et al., 1971) นอกจากนั้นความชื้นในดินยังเป็นตัวควบคุมชนิดและการกระจายของพันธุ์พืช (อมลรัตน์, 2544)และยังจำเป็นต่อกระบวนการต่าง ๆ ของพืช กล่าวคือ น้ำ เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้เซลล์เต่ง และเป็นตัวกลางในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร อีกทั้งยังเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิภายในเซลล์พืช(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536)    2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ (topographic factor) สภาพภูมิประเทศนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทางอ้อมต่อสังคมพืช โดยเฉพาะมีผลต่อความแปรผันของปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ดิน และพลังงานที่ได้รับ การกระจายของสังคมพืชและพรรณพืชบางชนิดสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่กับภูมิประเทศ ในขณะที่ อุทิศ (2542) ได้อธิบายลักษณะภูมิประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ดังนี้         2.1 ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล (altitude) สภาพภูมิอากาศบางพื้นที่มีความผันแปรอย่างใกล้ชิดกับระดับความสูง ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศในระดับต่ำของโลกคือในชั้น troposphere มีอุณหภูมิลดลงตามความสูง โดยในสภาพอากาศที่แห้งอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 1 องศาเซลเซียส ต่อ 100 เมตร นอกจากนั้นอิทธิพลของความสูงที่มีผลต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายและการเจริญเติบโตของพรรณพืชโดยตรง แสดงให้เห็นทั้งในระดับกว้างและระดับแคบเฉพาะท้องถิ่น ในระดับกว้างแสดงให้เห็นได้ชัดจากการกระจายของสังคมพืชต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะการเรียงตัวของป่าชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนในระดับแคบแสดงให้เห็นการจากกระจายของสังคมพืชชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนถึงยอดเขาซึ่งมีความแตกต่างกัน (สคาร และ พงษ์ศักดิ์, 2546)            2.2 ความลาดชัน (slope) ความลาดเอียงของพื้นที่ มีผลโดยตรงต่อสังคมพืชน้อย แต่มีผลต่อปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและโอกาสของการปรากฏของไม้แต่ละชนิด และต่อโครงสร้างสังคมพืชส่วนรวม ระบบการระบายน้ำทั้งในผิวดินและส่วนลึกของดินขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ น้ำที่ไหลตามผิวดินมีความเร็วสูงเมื่อมีความลาดชันสูง ฉะนั้นโอกาสการซึมลงส่วนลึกของดินมีน้อย ในที่ลาดชันมากความชื้นค่อนข้างต่ำ ดินตื้นเนื่องจากการกัดชะของน้ำผิวดิน สังคมพืชคลุมดินจึงเป็นสังคมที่ต้องปรับตัวกับความแห้งแล้งได้ดี การจำแนกความลาดชันของพื้นที่ทางด้านป่าไม้นิยมแบ่งเป็นสี่ระดับคือ  1)  ระดับความลาดชันน้อย 5 – 10 องศา  2)  ความลาดชันปานกลาง 11 – 20 องศา  3)  ความลาดชันมาก 21 – 30 องศา และ  4)  ที่ลาดชันมาก ๆ 31 – 45 องศา (นิพนธ์, 2545)            2.3 ทิศด้านลาด (aspect) มีผลต่อการได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ปริมาณฝนที่ตกและลมที่พัดเอาความแห้งแล้งเข้ามาในพื้นที่ โดยปกติทิศด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกย่อมได้รับพลังงานมากกว่าทางทิศเหนือและทิศใต้ แต่เนื่องจากแกนโลกเอียงฉะนั้นในทางซีกโลกเหนือด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะได้รับพลังงานสูงสุด ในขณะที่ด้านที่หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับพลังงานน้อยที่สุด ในประเทศไทยทิศด้านลาดของภูเขามีผลอย่างยิ่งต่อการได้รับปริมาณน้ำฝน ซึ่งจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างของระบบนิเวศ

        ตามความหมายของ Odum (1962) โครงสร้างของระบบนิเวศหมายถึง (1) องค์ประกอบของสังคมชีวิตซึ่ง ได้แก่ ชนิด จำนวน ความหนาแน่น มวลชีวภาพ รูปชีวิต ชั้นอายุ และการกระจายของประชากรของทั้งพืชและสัตว์ รวมตลอดถึงมนุษย์ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศที่สำคัญยิ่ง (2) ปริมาณและการกระจายของสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ ดิน หิน น้ำ แร่ธาตุอาหาร รวมทั้งลักษณะสภาพภูมิประเทศต่าง ๆ และ (3) สภาพและช่วงความแตกต่างในด้านปัจจัยแวดล้อม เช่นอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ปริมาณน้ำฝน และสภาพลมฟ้าอากาศอื่น ๆ จะเห็นว่าระบบนิเวศแต่ละระบบจะมีลักษณะโครงสร้างแตกต่างกัน การจำแนกลักษณะโครงสร้างของระบบนิเวศออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังกล่าวช่วยให้การศึกษาและวิเคราะห์ระบบนิเวศได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี โครงสร้างของระบบนิเวศไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศบนบก หรือ ระบบนิเวศในน้ำต่างก็มีลักษณะหลาย ๆ อย่างที่คล้าย ๆ กันและบางอย่างก็แตกต่างกันไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่างก็มีองค์ประกอบของชีวิตที่สำคัญแบ่งตามลักษณะการบริโภคอยู่ 3 ระดับชีวิต (trophic levels) ด้วยกันคือ     1) ผู้ผลิต (primary producers) ได้แก่ พืชใบเขียวทุกชนิดที่สามารถปรุงอาหารเองได้เราเรียกพวกนี้ว่าออโตทรอพฟิค (autotrophic) พืชพวกนี้จะตรึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง แล้วเปลี่ยนพลังงานแสงมาเป็นพลังงานทางชีวเคมีในรูปของแป้งและน้ำตาลที่อยู่ในพืชซึ่งใช้สำหรับการดำรงชีพของพืชเองและใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ด้วย      2) ผู้บริโภค (Consumers) ได้แก่ สัตว์ที่บริโภคแยกแยะและกระจายพลังงานที่พืชตรึงเอาไว้โดยทางตรงและทางอ้อม พวกกินพืชโดยตรงเรียกเฮอร์บีวอร์ (herbivores) หรือผู้บริโภคขั้นปฐมภูมิ (primary consumers) พวกนี้ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ควาย แพะ แกะ กวาง และกระต่าย เป็นต้น สำหรับสัตว์ที่ไม่กินพืชโดยตรง แต่อาศัยพลังงานจากพืชทางอ้อมด้วยการกินเนื้อของสัตว์ที่กินพืชอีกทอดหนึ่ง พวกนี้เรียกว่าคาร์นิวอร์ (carnivores) หรือผู้บริโภคขั้นทุติยภูมิ (secondary consumers) เช่นสุนัขจิ้งจอก เสือ และสิงโต เป็นต้น สำหรับสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่กว่าบริโภคสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดเล็กกว่า กรณีเช่นนี้อาจจัดสัตว์ที่บริโภคสัตว์กินเนื้อด้วยกันเองไว้เป็นผู้บริโภคขั้นตติยภูมิ (tertiary Consumers) ก็ได้สำหรับมนุษย์เราซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการควบคุมและเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศนั้น เป็นผู้บริโภคได้ทั้งพืชและสัตว์จึงเรียกพวกที่บริโภคได้ทั้งพืชและสัตว์นี้ว่า โอมนิวอร์ (omivores) จะเห็นว่าผู้บริโภคระดับต่าง ๆ ดังกล่าวไม่สามารถปรุงอาหารไว้กินเองเหมือนผู้ผลิตได้ พวกนี้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งจัดเป็นอาหารสำเร็จรูปแล้วเราจึงเรียกพวกนี้ ว่าเฮทเทอโรทรอพฟิค (heterotrophic)      3) ผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร (decomposers) ได้แก่ พวกเห็ดรา จุลินทรีย์ หรือบักเตรีบางชนิด เป็นพวกที่ดำรงชีวิตโดยการดูดซับอาหารจากซากพืชและสัตว์ จัดเป็นพวกเฮทเทอโรทรอพฟิค ที่ช่วยให้ซากพืชและสัตว์ผสลายและปลดปล่อยธาตุต่าง ๆ กลับสู่ดินไปเป็นอาหารแก่พืชหรือผู้ผลิตอีกครั้งหนึ่ง    นอกจากจะมีองค์ประกอบของชีวิตเหมือนกันแล้ว ระบบนิเวศบนบกและในน้ำยังต้องการสารและแร่ธาตุอาหารที่คล้าย ๆ กัน เช่นในโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกทั้งถูก จำกัด และควบคุมโดยปัจจัยแวดล้อมที่คล้าย ๆ กัน เช่นอุณหภูมิ และแสงสว่าง เป็นต้น ประการสุดท้ายระบบนิเวศทั้งบนบก และในน้ำ ยังมีการจัดเรียงหน่วยของสังคมชีวิตในแนวตั้งแบบเดียวกันด้วย คือจะมีพวกออโตทรอพฟิคอยู่ชั้นบน และเฮทเทอโรทรอพรีคอยู่ชั้นล่าง กระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งกระทำโดยผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงเกิดในชั้นบนที่ได้รับแสงสว่าง ขณะที่กิจกรรมของผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารจะดำเนินอยู่ในระดับที่ต่ำลงมา และขอเน้นในที่นี้ว่าถึงชั้นความหนาในแนวตั้งของระบบนิเวศจะแตกต่างกันไปมากก็ตาม แต่พลังงานจากแสงที่ระบบนิเวศได้รับในแนวระดับจะเท่ากันหมด ดังนั้นการศึกษาเปรียบเทียบระบบนิเวศต่าง ๆ จึงควรเปรียบเทียบต่อหน่วยพื้นที่มากกว่าต่อหน่วยปริมาตร     อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศบนบกและในน้ำต่างก็มีโครงสร้างทั้งที่แตกต่างกันและเหมือนกัน เช่น องค์ประกอบชนิดพืชและสัตว์มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บทบาทของผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายอินทรียสาร มีความแตกต่างกันมากตามความสามารถในการปรับตัวและจากผลของการวิวัฒนาการ โครงสร้างระหว่างระดับชีวิตที่จัดเรียงตามลำดับขั้นของการบริโภคก็แตกต่างกันมาก โดยที่ผู้ผลิตในระบบนิเวศบนบกส่วนมากจะมีขนาดใหญ่ แต่มีจำนวนน้อยขณะที่ผู้ผลิตของระบบนิเวศในน้ำส่วนมากมีขนาดเล็ก แต่มีเป็นจำนวนมากปกติระบบนิเวศบนบกหรือ โดยทั่วไปจะมีมวลชีวภาพของผู้ผลิตมากที่สุดและมวลชีวภาพของผู้บริโภคในระดับสวดถัดขึ้นไปจะลดน้อยลงตามลำดับ สำหรับระบบนิเวศในน้ำมวลชีวภาพของผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นพวกแพลงตอนพืช ซึ่งอาจมีน้อยกว่ามวลชีวภาพของผู้บริโภคได้เ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของสมบัติดินทางฟิสิกส์และทางเคมีในสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

-บ้านเหล่า (BL) ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 23 ถึง ภาพที่ 44) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 30 ถึง ภาพที่ 40) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สมบัติดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงบ้านห้วยน้ำขุ่น ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

       สมบัติดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยง พื้นที่หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร มีความเป็นกรดสูง ทั้งดินชั้นล่างและดินชั้นบน สมบัติดินชั้นบนมีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าดินชั้นล่าง ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) เป็นความสามารถของสารในการดูดยึดและแลกเปลี่ยนประจุบวก พบว่า หย่อมป่ามีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) มากที่สุด ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) พบฟอสฟอรัส (P) ของพื้นที่ทั้ง 3 พื้นที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน ส่วนธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) พบว่าพื้นที่เกษตรมีค่าสูงที่สุดและเนื้อดิน (Soil texture) แสดงองค์ประกอบเชิงกายภาพของดิน ที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดคืออนุภาคทราย (Sand) รองลงมาคืออนุภาคทรายแป้ง (Silt) และอนุภาคขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว (Clay) พบว่าทั้ง 3 พื้นที่แสดงออกเด่นชัดในลักษณะของอนุภาคดินเหนียวมีสัดส่วนที่สูงทั้ง 3 พื้นที่ ตารางที่ 7 ภาพที่ 15
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

แบคทีเรียสาเหตุการเกิดแผลติด และ เชื้อการติดเชื้อผิวหนัง

แบคทีเรียสาเหตุการเกิดแผลติดเชื้อ            แผลเรื้อรัง  เป็นอาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ภายในเวลา 4-6 สัปดาห์  โดยทั่วไป การสมานแผลมีการเชื่อมโยงกับกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีประสิทธิภาพ  แผลเรื้อรังมักปรากฎการปนเปื้อนของจุลินทรีย์เสมอ ซึ่งที่มีเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปที่เป็นเชื้อประจำถิ่นบริเวณผิวหนัง เช่น Staphylococcus  epidermidis, Coagulase negative Staphylococcus อื่นๆ, Corynebacterium spp., Proprionibacterium acnes เป็นต้น และ พบเชื้อที่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพ เช่น Staphylococcus aureus, E. coli, Proteus spp., Pseudomonas spp. และ Acinetobacter spp. นอกจากนี้ ยังมีรายงาน ระยะสั้น พบ S. aureus เป็นเชื้อแกรมบวก มักพบในผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวาน โดยหลังจากระยะเวลา 4 สัปดาห์ เริ่มพบแบคทีเรียแกรมลบ เช่น Proteus spp., E. coli และ Klebsiella spp. จากนั้น ระยะยาว พบเชื้อ Pseudomonas spp. และ Acinetobacter spp. (Charmberlain, 2007) Staphylococcus aureus (วารีรัตน์, 2557)             แบคทีเรียรูปร่างกลม ติดสีแกรมบวก ขนาดสม่ำเสมอ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ไมโครเมตร เรียงตัวเป็นกลุ่มๆ คล้ายพวงองุ่น แต่จะพบเป็น เซลล์เดี่ยว เซลล์คู่ และ เป็นสายสั้นๆ (โดยมากไม่เกิน 4 เซลล์) อยู่ปะปนด้วยเสมอ แบคทีเรียชนิด ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนไหว ไม่มีแคปซูล ให้ผลบวกในการทดสอบ Catalase และ ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จะสลายน้ำตาลให้กรด สามารถสร้าง coagulase ได้ ซึ่งเป็นการทดสอบที่สำคัญที่ใช้ในการแยก Staphylococcus aureus ออกจาก Staphylococcus สายพันธุ์อื่นๆ โดย coagulase ทำให้พลาสมาเกิดการแข็งตัว โดยอาศัย coagulase reaction factor (RCF) ซึ่งมีอยู่ในพลาสมาของคน และ สัตว์บางชนิด เป็นตัวกระตุ้นการสร้างไฟบริน และ การแข็งตัวของพลาสมา โดยมีบทบาทในการก่อโรค คือ ไฟบรินจะไปหุ้มรอบแบคทีเรีย ทำให้เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำลายแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ ยังพบการสร้างเอนไซม์ penicilinase หรือ β-lactamase ออกฤทธิ์ทำลายยากลุ่ม penicillins เช่น ampicillin, carbenicillin, methicillin และ amoxicillin เป็นต้น โดยเอนไซม์นี้สามารถทำลาย β-lactam ring ของยาดังกล่าวได้             Staphylococcus aureus ส่วนใหญ่ไม่มีแคปซูล ให้โคโลนีสีเหลืองทอง หรือ ทอง เป็นเชื้อที่เจริญได้ง่ายบนอาหารเลี้ยงเชื้อธรรมดา ไม่ต้องการอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ เป็นแบคทีเรียที่มีความทนทานมาก สามารถทนต่ออุณหภูมิ 60ºC เป็นเวลา 30 นาที และ ตายที่อุณหภูมิ 100ºC ภายใน 2-3 นาที S. aureus พบ เป็นเชื้อประจำถิ่นได้มากกว่า 60 % ของประชากร โดยพบที่ โพรงจมูกส่วนหน้า ถึง 20 % อาจพบได้ที่ รักแร้ ขาหนีบ คอหอย และ มือ เป็นต้น ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน  โรคตับ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต  ผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) แบคทีเรียนี้ก่อโรคในคนได้บ่อยที่สุด เนื่องจาก สามารถสร้างสารพิษ และ เอนไซม์ได้หลายชนิด เช่น α-toxin, exfoliatin, superantigen toxins, enterotoxin เป็นต้น ทำให้สามารถต่อสู้กับกลไกที่ร่างกายใช้ในการกำจัดจุลชีพ และ ก่อโรคติดเชื้อผิวหนังที่รุนแรง เช่น Staphylococcal scalded-skin syndrome และ toxic shock syndrome ได้อีกด้วย S. aureus พบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง (pyoderma) ได้บ่อยที่สุด ทั้งแบบ ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ (primary and secondary pyodermas) ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือด (bacteremia) และ ติดเชื้อในระบบอื่น เช่น กระดูก (osteomyelitis) และ หัวใจ (infective endocarditis) ได้อีกด้วย การติดเชื้อมีสาเหตุจาก S. aureus มักเกี่ยวกับทางผิวหนัง เช่น ฝี  รูขุมขนอักเสบ  สิว  รวมถึงการติดเชื้อที่แผลหลังการผ่าตัด             การติดต่อของเชื้อกลุ่มนี้มาสู่คน ติดต่อโดยการรับประทาน หรือ ดื่มน้ำที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนเข้าไปประมาณ 1-6 ชั่วโมง เนื่องจาก Staphylococcus aureus สร้างสารพิษ (toxin) ชนิดเอนเทอโรทอกซิน (enterotoxin) สารพิษที่สร้าง มีสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อน ออกฤทธิ์ที่เยื่อบุลำไส้ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และ ท้องเดิน ส่วนมาก ไม่มีไข้ ในรายที่รุนแรงอาจช็อกได้ หรือ บางชนิดทำให้เกิดสิวได้ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 8-24 ชั่วโมง อาการรุนแรงของโรคนี้ ขึ้นอยู่กับ ปริมาณของสารพิษที่ปนเปื้อน S. aureus เป็นแบคทีเรียที่ผลิตสารพิษ และ สามารถสังเคราะห์เอนไซม์ coagulase ได้    Staphylococcus epidermidi
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1. การสำรวจแหล่งผลิตเมี่ยงแบบดั้งเดิมในภาคเหนือตอนบน              งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจแหล่งปลูกเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นต้นแบบในการศึกษาแหล่งเพาะปลูกเมี่ยง ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่จะเป็นพื้นที่สูง มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำไหลตลอดทั้งปี (ภาพที่ 111)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านกอก ตําบลแม่ลาว อําเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา(ต่อ)

                           
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค

2). การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค     2.1 ค่าความเป็นกรดด่างของตัวอย่างน้ำเมี่ยง             ทำการเก็บตัวอย่างน้ำเมี่ยงจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่และน่าน จำนวน 10 ตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างน้ำเมี่ยงที่เก็บมาได้จากการไปซื้อจากชาวบ้านที่หมักเองโดยตรงมีลักษณะดังภาพที่126 จากนั้นทำการบันทึกสถานที่เก็บ ลักษณะทางกายภาพ สีของน้ำเมี่ยงและวัดค่า pH ของน้ำเมี่ยง (ตารางที่ 24) และนำตัวอย่าง น้ำเมี่ยงมาคั้นเอาเฉพาะส่วนน้ำเก็บไว้ในหลอดไมโครเซ็นตริฟิวก์ นำไปปั่นเหวี่ยงให้ตกตะกอนใส่หลอด tube จากนั้นเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4oC เพื่อรอใช้งาน (ภาพที่ 127)  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ2)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชในสวนชามี่ยงบ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย              พบชนิดพรรณไม้ทั้งหมด 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ มีความหนาแน่นเท่ากับ 1,066 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 0.40 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ ความหลากหลายของพรรณไม้ตามดัชนีของ Shannon-Weiner เท่ากับ 0.78 ไม้ที่มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ชาเมี่ยง ทะโล้ บ๊วย เชอรี่ และอะโวคาโด มีค่าเท่ากับ 82.50, 5.00, 3.12, 2.50 และ2.50 ไม้ที่มีค่าความเด่นสัมพัทธ์ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ทะโล้ มะขามแป ชาเมี่ยง ปอหูช้าง และเหมือดโลด มีค่าเท่ากับ 66.27, 12.69, 10.58, 6.60 และ2.29 ตามลำดับ มีพันธุ์ไม้เด่นที่พิจารณาจาก ค่าดัชนีความสำคัญ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ชาเมี่ยง ทะโล้ มะขามแป ปอหูช้าง และเชอรี่ มีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 131.97, 93.49, 22.90, 13.40 และ11.88 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ พบว่าในพื้นที่บ้านห้วยน้ำขุ่น ที่ทำสวนชาเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่จะปลูกพืชชนิดอื่นขึ้นมาแทนชาเมี่ยง เช่น มีเชอรี่ บ๊วย อะโวคาโด เข้ามาในแปลงโดยมีการมาปลูกแซมในพื้นที่สวนชาเมี่ยง และกันพื้นที่ไว้ปลูกไม้ผล เช่น การถางป่าเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกพืชชนิดใหม่ มีการใช้สารเคมีในแปลง เป็นการทำลายระบบนิเวศเดิม หรือเป็นการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้น ทำลายป่าต้นน้ำ (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ค่าความหนาแน่น (D; ต้น/เฮกแตร์) ความเด่น (Do; ตรม/เฮกแตร์) ความถี่ (F; %) ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (RD; %) ความเด่นสัมพัทธ์ (RDo; %) ความถี่สัมพัทธ์ (RF; %) และ ดัชนีความสำคัญ (IVI; %) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย