ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา และ ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา
            ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 81.9 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.051 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 19) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 133.4 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.083 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 20) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 115.7 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.072 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 21)ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 132.0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.082 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 22)

ตารางที่ 19 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ตารางที่ 20 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ตารางที่ 21 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ตารางที่ 22 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

             จากผลการศึกษาสวนชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ โดยชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ พบว่าบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน มีสวนชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่มากกว่าพื้นที่อื่น เพราะบ้านศรีนาป่าน มีการดูแลรักษาป่า และดูแลรักษาสวนชาเมี่ยงของตนเอง ซึ่งชาเมี่ยงเป็นรายได้หลักของชุมชน เป็นวิถีชีวิต รวมทั้งความเชื่อ ประเพณีของหมู่บ้าน ในพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปปลูกพืชชนิดอื่น และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งต้นน้ำที่หมู่บ้านใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และลองลงมาคือ บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านแม่ลัวก็ยังมีการจัดการสวนชาเมี่ยงที่ดี มีการดูแลและบำรุงรักษาสวนชาเมี่ยงอยู่ตลอดเวลา ในการจัดการสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่ลัวจะมีการตัดไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วนเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ชาเมี่ยง จึงทำให้ความชื้นลดลงและทำให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตได้ช้าลง บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเริมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินกันเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกกาแฟ ส้ม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี่ทำให้มีการตัดไม้ใหญ่หรือไม้ดังเดิมของพื้นที่ออกเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ กาแฟ และส้ม ซึ่งมีแสงแดดมากๆทำให้ต้นชาเมี่ยงเติบโตได้ช้า และให้ผลผลิตที่ต่ำ สายลม และคณะ (2551) และบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปาง พบว่าสวนชาเมี่ยงนั้นมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดแต่งทรงพุ่ม และปลูกพืชอื่นแซม หรือมีการเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น กาแฟ จึงทำให้ต้นชาเมี่ยงในพื้นที่มีน้อย ไม่มีการกระจาย และทำให้มีลำต้นขนาดเล็ก

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา และ ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา             ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 81.9 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.051 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 19) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 133.4 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.083 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 20) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 115.7 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.072 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 21)ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 132.0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.082 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 22)   ตารางที่ 19 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การหาปริมาณองค์ประกอบหลักทางเคมีของสารสกัดจากตัวอย่างใบชาเมี่ยง โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High performance liquid chromatography, HPLC)

ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) จากตัวอย่างใบชาเมี่ยง หาตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารสำคัญ 3 ชนิด คือ คาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และอิพิคาเทชิน (EC) จากตัวอย่างใบชาเมี่ยง โดยใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกันทั้งหมด 4 ชนิด คือ เมทานอล (MeOH) เอทานอล (EtOH) อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O) โดยผลการทดลองแสดงดังภาพที่ 4  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคม

ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษาบ้านไม้ฮุง ตําบลปางมะผ้า อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมี 53.1 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนเพศชายมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 40.6 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 34.4 และอายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 25.0      ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3       อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0     รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ รายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 และรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 96.3 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 และย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ตารางที่ 23
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชาเมี่ยง

    ชาเป็นพืชในวงศ์ (family)  Theaceae  สกุล (genus) Camellia ที่มีมากกกว่า 300 ชนิด (species)  ชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่มาจาก 2 สายพันธุ์ คือ Camellia sinensis var. sinensis (Chinese tea) และ Camellia sinensis var. assamica (Assam tea  หรือ Indian tea) ชาสายพันธุ์จีนเป็นชาที่ใบมีขนาดเล็ก และแคบ  การจำแนกสายพันธุ์ชานอกจากพันธุ์ชาทางการค้า 2 กลุ่มหลักที่กล่าวไว้แล้วยังพบสายพันธุ์ลูกผสม (hybrid) ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ทำให้ได้ชาลูกผสมที่มีลักษณะทางฟีโนไทป์แตกต่างกัน (heterogeneous) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ การปรับปรุงพันธุ์ชา (tea breeding)  การปรับปรุงพันธุ์ชาทำให้ได้พันธุ์ชามีลักษณะทางกายภาพ ขนาดและลักษณะใบที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งให้รสชาติของน้ำชาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน ประเทศไทยได้ทดลองนำเอาชาสายพันธุ์จีนที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศไต้หวันเข้ามาปลูก แล้วขยายพันธุ์ พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง      1.ต้นชาเมี่ยง ต้นชาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้      1.1 ราก ชาเป็นพืชที่มีรากแก้วและรากฝอย แต่ไม่มีรากขน ต้นชาที่ได้จากการปักชำจะไม่มีรากแก้ว รากชาจะมีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตในรูปของแป้ง การแตกยอดของต้นชาขึ้นอยู่กับอาหารสำรองคาร์โบไฮเดรตในราก       1.2 ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง-ใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ต้นใหญ่สูงประมาณ 6-18 เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มชาจีนอย่างเด่นชัด กิ่งที่มีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา        1.3 ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับและเวียน (spiral) ใบมีความกว้างประมาณ 3.0-6.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.0-16.0 เซนติเมตร แต่อาจพบใบที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กล่าว คือใบมีความกว้าง 5.6-7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 17.0-22.0 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด จำนวนหยักฟันเลื่อยเฉลี่ยประมาณ 9 หยัก/ความกว้างของใบ 1.0 นิ้ว ส่วนของก้านใบและด้านท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม      1.4 ดอก เจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง ในแต่ละตาประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา ส่วนใหญ่ดอกออกติดกันเป็นกลุ่ม ช่อละประมาณ 2-4 ดอก/ตา ก้านดอกยาวประมาณ 10.0-12.0 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมนยาว กลีบดอกติดอยู่กับวง corolla ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยหงาย กลีบดอกมีจำนวน 5-6 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก วงเกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 5.0 มิลลิเมตร เกสรตัวเมีย (style) มีลักษณะเป็นก้านกลม ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 1-3 ช่อง ดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.65 เซนติเมตร         1.5 ผล เป็นแคปซูล เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-4.0 เซนติเมตร         1.6 เมล็ด ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11.0-12.0 มิลลิเมตร ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ     2. พันธุ์ชาที่ปลูกทางการค้าของไทย โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ ได้แก่        2.1 กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. assamica สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น ชาเมี่ยง ชาพื้นเมือง ชาป่า หรือชาเมี่ยง เป็นต้น ชาเมี่ยงเป็นพันธุ์ชาที่ใบใหญ่กว่าชาพันธุ์จีน เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในป่าเขตร้อนชื้นที่มีร่มไม้และแสงแดดพอประมาณ ชาพันธุ์อัสสัม พบมากบนเขตพื้นที่สูงแถบภาคเหนือของไทยในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และแพร่        2.2 กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea) กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. sinensis เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน และจีน เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 หรืออู่หลงก้านอ่อน (Chin Shin Oolong No.17) อู่หลงเบอร์ 12 (Chin Hsuan Oolong No.12) พันธุ์สี่ฤดู (Si Ji  หรือ Four Season) พันธุ์ถิกวนอิม (Tieguanyin) เป็นต้น เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเนื่องจากให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การปลูกจะปลูกเป็นแถวแบบขั้นบันได มีการจัดการแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ และตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ชาแตกยอดใหม่และส
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ              สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา และ ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา             ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 81.9 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.051 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 19) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 133.4 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.083 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 20) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 115.7 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.072 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 21)ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 132.0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.082 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 22)   ตารางที่ 19 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง              จากผลการศึกษาสวนชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ โดยชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ พบว่าบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน มีสวนชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่มากกว่าพื้นที่อื่น เพราะบ้านศรีนาป่าน มีการดูแลรักษาป่า และดูแลรักษาสวนชาเมี่ยงของตนเอง ซึ่งชาเมี่ยงเป็นรายได้หลักของชุมชน เป็นวิถีชีวิต รวมทั้งความเชื่อ ประเพณีของหมู่บ้าน ในพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปปลูกพืชชนิดอื่น และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งต้นน้ำที่หมู่บ้านใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และลองลงมาคือ บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านแม่ลัวก็ยังมีการจัดการสวนชาเมี่ยงที่ดี มีการดูแลและบำรุงรักษาสวนชาเมี่ยงอยู่ตลอดเวลา ในการจัดการสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่ลัวจะมีการตัดไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วนเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ชาเมี่ยง จึงทำให้ความชื้นลดลงและทำให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตได้ช้าลง บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเริมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินกันเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกกาแฟ ส้ม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี่ทำให้มีการตัดไม้ใหญ่หรือไม้ดังเดิมของพื้นที่ออกเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ กาแฟ และส้ม ซึ่งมีแสงแดดมากๆทำให้ต้นชาเมี่ยงเติบโตได้ช้า และให้ผลผลิตที่ต่ำ สายลม และคณะ (2551) และบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปาง พบว่าสวนชาเมี่ยงนั้นมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดแต่งทรงพุ่ม และปลูกพืชอื่นแซม หรือมีการเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น กาแฟ จึงทำให้ต้นชาเมี่ยงในพื้นที่มีน้อย ไม่มีการกระจาย และทำให้มีลำต้นขนาดเล็ก