ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา และ ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา
            ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 81.9 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.051 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 19) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 133.4 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.083 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 20) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 115.7 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.072 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 21)ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 132.0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.082 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 22)

ตารางที่ 19 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ตารางที่ 20 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ตารางที่ 21 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ตารางที่ 22 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

             จากผลการศึกษาสวนชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ โดยชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ พบว่าบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน มีสวนชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่มากกว่าพื้นที่อื่น เพราะบ้านศรีนาป่าน มีการดูแลรักษาป่า และดูแลรักษาสวนชาเมี่ยงของตนเอง ซึ่งชาเมี่ยงเป็นรายได้หลักของชุมชน เป็นวิถีชีวิต รวมทั้งความเชื่อ ประเพณีของหมู่บ้าน ในพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปปลูกพืชชนิดอื่น และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งต้นน้ำที่หมู่บ้านใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และลองลงมาคือ บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านแม่ลัวก็ยังมีการจัดการสวนชาเมี่ยงที่ดี มีการดูแลและบำรุงรักษาสวนชาเมี่ยงอยู่ตลอดเวลา ในการจัดการสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่ลัวจะมีการตัดไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วนเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ชาเมี่ยง จึงทำให้ความชื้นลดลงและทำให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตได้ช้าลง บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเริมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินกันเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกกาแฟ ส้ม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี่ทำให้มีการตัดไม้ใหญ่หรือไม้ดังเดิมของพื้นที่ออกเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ กาแฟ และส้ม ซึ่งมีแสงแดดมากๆทำให้ต้นชาเมี่ยงเติบโตได้ช้า และให้ผลผลิตที่ต่ำ สายลม และคณะ (2551) และบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปาง พบว่าสวนชาเมี่ยงนั้นมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดแต่งทรงพุ่ม และปลูกพืชอื่นแซม หรือมีการเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น กาแฟ จึงทำให้ต้นชาเมี่ยงในพื้นที่มีน้อย ไม่มีการกระจาย และทำให้มีลำต้นขนาดเล็ก

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา และ ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา             ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 81.9 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.051 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 19) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 133.4 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.083 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 20) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 115.7 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.072 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 21)ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 132.0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.082 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 22)   ตารางที่ 19 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความต้องการของชาและการดูแลรักษา

        ชาเจริญเติบโตได้ดีในภูมิประเทศต่าง ๆ กัน กล่าวคือ สามารถเจริญได้ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาว ยกเว้นในพื้นที่ที่มีน้ำแข็ง ซึ่งได้แก่บริเวณเส้นรุ้งที่ 29 องศาเหนือ กับเส้นแวงที่  98 องศาตะวันออก ปัจจัยสำคัญในการปลูกชา ควรพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้คือ ดิน ชาเจริญงอกงามในดินร่วนที่มีการระบายน้ำได้ดี หน้าดินมีอินทรียวัตถุสูง มีธาตุไนโตรเจนมาก และดินเป็นกรดเล็กน้อย มี pH 4.5-6.0 ความลาดชันไม่ควรเกิน 45°  ความชื้นและปริมาณน้ำฝน ควรเป็นพื้นทีที่มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ปริมาณน้ำฝนอย่างต่ำควรอยู่ในช่วง 40-50 นิ้ว/ปี หรือ 1,140-1,270 มิลลิเมตร/ปี เพราะถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นชาชะงักการเจริญเติบโต ไม่แตกยอด ทำให้ผลผลิตลดลง     อุณหภูมิ ชาสามารถเจริญได้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยชาจะเจริญเติบโตดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ตลอดปี ทำให้ชาสร้างยอดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ความสูง จากระดับน้ำทะเล ชาที่ปลูกในพื้นที่สูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป มีอากาศเย็นจะทำให้ผลผลิตใบชาที่ได้มีคุณภาพสูง ใบชามีกลุ่นและรสชาติดี แต่ปริมาณผลผลิตที่ได้จะต่ำ ส่วนการปลูกชาในที่ต่ำ อากาศค่อนข้างร้อน ชาจะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพต่ำกว่าชาที่ปลูกในที่สูง 1.ปัจจัยที่ไม่เหมาะสมในการปลูกชา        1.1 ดินชั้นล่างเป็นหิน หรือลูกรัง ทำให้ชาหยั่งรากลงไปหาอาหารได้ตื้น        1.2 เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการระบายน้ำ เป็นหนองบึง และที่ ๆ มีน้ำขัง        1.3 เป็นพื้นที่ที่มีหินปูนและมี pH เกินกว่า 6        1.4 พื้นที่มีความลาดชันมาก        1.5 ดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย และไม่สามาถเก็บความชุ่มชื้นได้        1.6 บริเวณที่มีลมแรง จนไม่สามารถทำที่บังลมได้        1.7 เป็นแหล่งที่มีไส้เดือนฝอย     2.การดูแล         2.1 การให้น้ำ ชาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอตลอดปี เพื่อให้มีการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบ การให้น้ำในสวนชามี 3 แบบ คือ             2.1.1 การให้น้ำแบบปล่อยให้ท่วมแปลง พื้นที่ที่ปลูกชาจะต้องมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์และควรมีความลาดเทเล็กน้อย เพื่อการกระบายน้ำ             2.1.2 การให้น้ำแบบพ่นฝอย เป็นการให้น้ำที่นอยมกันมากในพื้นที่ปลูกชาใหญ่ๆ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน วิธีนี้ต้องลงทุนสูงแต่ให้ผลคุ้มค่า             2.1.3 การให้น้ำแบบหยด เหมาะสำหรับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ เช่น การปลูกชาบนที่สูง เพราะเป็นการใช้น้ำแบบประหยัด แต่การลงทุนค่อนข้างสูง        2.2 การทำไม้บังร่ม ชามีความต้องการร่วมเงา เหมือนกับโกโก้และกาแฟ การทำไม้บังร่มจะช่วยลดอุณหภูมิในช่วงกลางวันลง ลดปริมาณของแสงแดดที่ส่องยังต้นชาโดยตรง ทำให้ใบชาสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น เพราะถ้าต้นชาได้รับแสงแดดจัดเต็มที่โดยตรงจะทำให้ใบมีขนาดเล็ก เหลือง หรือทำให้เกิดใบไหม้ ใบชาไม่มีการปรุงอาหาร ต้นจะโทรมและตายในที่สุด การปลูกไม้บังร่ม ควรปลูกระหว่างแถวชา ซึ่งไม้บังร่มชาที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ             2.2.1 ไม้บังร่มชั่วคราว เมื่อปลูกชาใหม่ๆ ต้นชายังมีขนาดเล็กอยู่ และในบริเวณนั้นไม่มีไม้บังร่มป่าธรรมชาติอยู่ และไม่ได้ปลูกไม้บังร่มถาวรไว้ก่อน การปลูกไม้บังร่มชั่วคราวจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ พืชที่ใช้เป็นไม้บังร่มชั่วคราว ได้แก่ ถั่วแระหรือมะแฮะ ปอเทือง กล้วย ฯลฯ การปลูกไม้บังชั่วคราวควรปลูกระหว่างแถวต้นชา โดยปลูกในแนวขวางกับแสงแดด และควรปลูกก่อนปลูกชาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี             2.2.2 ไม้บังร่มถาวร อาจเป็นไม้บังร่มป่าตามธรรมชาติ หรือจะปลูกในแปลงไว้ก่อนปลูกชาประมาณ 1 ปี คือปลูกให้ไม้บังร่มมีพุ่มใบพอที่จะเป็นร่มชาได้ หรือจะปลูกไม้บังร่มถาวรร่วมกับการปลูกไม้บังร่มชั่วคราวก็ได้ เมื่อไม้บังร่มถาวรโตพอที่จะเป็นร่มชาได้ก็ค่อยๆ ตัดไม้บังร่มชั่วคราวออก พืชที่ใช้เป็นไม้บังร่มถาวรได้แก่ แคฝรั่ง ทองหลาง กระถิน เหรียง สะตอ            2.2.3 การกำจัดวัชพืช วัชพืชต่าง ๆ เป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของต้นชาโดยเฉพาะต้นชาที่ยังเล็กดังนั้นการกำจัดวัชพืชจึงเป็นเรื่องสำคัญในการปลูกสร้างสวนชา ควรกระทำอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง โดยการพรวนดินในระดับตื้นๆ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบรากของเขา การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชก็เป็นวิธีการที่สะดวกและได้ผลดี นอกจา
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ข้อเสนอแนะสำหรับครีมนวด สมุนไพร สูตร 2

ข้อเสนอแนะสำหรับครีมนวด สมุนไพร สูตร 2           ควรเพิ่มความเข้มข้นและความหอมในครีมนวดและลดความมันของครีมนวดลง เนื่องจาก ใช้แล้วมีความรู้สึกผมลีบแบนและผมมีความมันที่ไวมากกว่าการใช้แชมพูที่ใช้อยู่ประจำ ข้อแนะนำสำหรับสถานที่ในการจำหน่าย          ควรจำหน่ายในร้านขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร ร้านค้าสหกรณ์ชุมชน และร้านขายยาสมุนไพร (แผนโบราณ) ข้อเสนอแนะสำหรับการส่งเสริมการขาย          ควรจัดโปรโมชั่นแบบ ซื้อ 1 แถม 1 ในปริมาณที่เท่ากัน และไม่ควรติดราคาเต็มแล้วใช้วิธีการลดราคาลง          เมื่อสอบถามความพึงพอใจของอาสาสมัครต่อแชมพูและครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดการหลุดร่วงของเส้นผมและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่ พบว่า สารสกัดชาเมี่ยงเข้มข้นร้อยละ 2.0 มีสีใส ซึ่งผ่านการทดสอบความคงตัวเหมาะสมที่สุดและเลือกใช้เป็นสูตรตำรับแชมพูของงานวิจัย เพื่อการขยายกำลังการผลิตต่อไป สูตรแชมพูทั้ง 2 สูตรนี้ ผ่านการทดสอบการระคายเคืองใน อาสาสมัคร จำนวน 25 คน ด้วยวิธี Single Patch Test และได้รับคะแนนความพึงพอใจจากอาสาสมัครอยู่ในระดับดี โดยมีต้นทุนการพัฒนาสูตร 650 บาท/กก.
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

นิเวศวิทยา และ องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา และ หน้าที่ของระบบนิเวศ

นิเวศวิทยา             คำว่านิเวศวิทยา เริ่มใช้ในจดหมายเหตุของ Henry Thoreau ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 ต่อมา Reiter ได้นำคำนี้มาใช้ในผลงานของเขาซึ่งพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานในปี ค.ศ. 1865 โดยนิเวศวิทยา มาจากรากศัพท์เดิมในภาษากรีก จากคำว่า oikos ซึ่งแปลว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัย ผสมกับคำว่า logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา รวมเป็น oecology และต่อมาได้เขียนตามหลักภาษาอังกฤษว่า ecology ใช้เรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย แม้ว่าวิชานิเวศวิทยาได้แยกตัวออกมาจากวิชาชีววิทยาแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักและสนใจกันเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี ค.ศ.1866 นักสัตววิทยาท่านหนึ่งคือ Ernst Haeckel ได้หยิบยกเอาคำนี้ขึ้นมาใช้และให้คำนิยามไว้ว่า "นิเวศวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ อย่างประหยัดของธรรมชาติ คือการศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ทั้งมวลของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ" จากคำนิยามนี้จึงเป็นการกำหนดแนวทางการศึกษาทางนิเวศวิทยาแก่นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในแนวดังกล่าว จึงยกย่องให้ Haeckel เป็นบิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านนี้              Charles Elton (1927)"นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านประวัติศาสตร์ของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของสัตว์" Shelford (1911) "นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านสังคม"  E. P. Odum (1971) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาทางโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ"  H. J. Oosting (1956) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของมัน"             Kimmins (1987) กล่าวว่าป่ามิใช่เป็นเพียงการมีต้นไม้มายืนร่วมกันแต่ยังประกอบด้วย (1) ต้นไม้ (2) วัตถุสารที่ต้นไม้และสัตว์ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ธาตุอาหารและความชื้น (3) พันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มาร่วมกระทำกันก่อให้เกิดร่มเงาต่อกัน แก่งแย่งกัน อาศัยประโยชน์ต่อกัน หรือทำลายกัน (4) สัตว์ที่ใช้อาหารจากพืช อาศัยประโยชน์และให้ประโยชน์ต่อพืช (5) จุลินทรีย์ที่ได้และให้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อต้นไม้ (6) ดินและบรรยากาศรวมถึงไฟป่าและความชื้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในป่า            Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก ecological system นี้ว่า ecosystem ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้ว แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า Tansley เป็นเวลาช้านาน เพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า microcosm หรือ biosystem เป็นต้น สำหรับนักนิเวศวิทยาชาวรัสเซียนิยมเรียกระบบนิเวศว่า biogeocoenoses หรือ biocoenosis คำว่า ecosystem ของ Tansley เป็นคำที่กะทัดรัดและเป็นที่ยอมรับกัน จึงเป็นที่นิยมใช้กันตั้งแต่นั้นมา การยอมรับระบบนิเวศว่าเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา นับเป็นประโยชน์และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการศึกษา และพัฒนาการในด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อ มาอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นจะต้องศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง (structure)  และหน้าที่ (function) ต่างๆ ของระบบนิเวศนั้นซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของแต่ละระบบนิเวศซึ่งไม่เหมือนกัน    องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต             สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กิ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สรุป สาระสำคัญ และ ลักษณะทางเคมีของดินบริเวณป่าเมี่ยงและใบชาเมี่ยง

สรุป สาระสำคัญ ดังนี้                 พื้นที่ปลูกเมี่ยงส่วนใหญ่กระจายบนที่สูงประมาณ 1000-1600 เมตร (ภาพที่ 122)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม และ ข้อเสนอแนะ

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม             ชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือมีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ เหมาะแก่การนำมาบริโภคเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุจากอนุมูลอิสระ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งต่างๆ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาชาเมี่ยงในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ในกระบวนการผลิตชาควรมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทางด้าน GAP และ GMP เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่สำคัญหากจะให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนต่อประเทศในอนาคต ควรมีการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจในคุณประโยชน์ของชาเมี่ยงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมิติทางสังคม วัฒนธรรม มิติทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางวิทยาศาสตร์ ควรมีการสนับสนุนงานวิจัยต่อยอดในการประยุกต์เอาคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพของชาเมี่ยงที่ค้นพบดังได้กล่าวไว้ข้างต้นไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ใช้ในวงการยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เวชสำอางต่อไป ข้อเสนอแนะ             จากการที่ชาเมี่ยงมีสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อในเครื่องสำอางโดยใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ แชมพูสระผม ครีมนวดผม ลิปปาล์ม และ ยาสีฟัน เป็นต้น หรือ ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่มากขึ้น เนื่องจาก สารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ที่สกัดได้จากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยสูงในการนำไปใช้ รวมทั้งการที่สารอิพิคาเทชินมีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีความสำคัญมิใช่เฉพาะต่อวงการแพทย์เท่านั้น แต่มีความสำคัญในระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งจะเห็นได้จากงานวิจัยต่างๆที่นำสารคาเทชินมาทำการทดลองในการลดการเกิดออกซิเดชันที่จะทำให้เกิดกลิ่นหืนขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมันเป็นองค์ประกอบซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง              จากผลการศึกษาสวนชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ โดยชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ พบว่าบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน มีสวนชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่มากกว่าพื้นที่อื่น เพราะบ้านศรีนาป่าน มีการดูแลรักษาป่า และดูแลรักษาสวนชาเมี่ยงของตนเอง ซึ่งชาเมี่ยงเป็นรายได้หลักของชุมชน เป็นวิถีชีวิต รวมทั้งความเชื่อ ประเพณีของหมู่บ้าน ในพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปปลูกพืชชนิดอื่น และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งต้นน้ำที่หมู่บ้านใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และลองลงมาคือ บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านแม่ลัวก็ยังมีการจัดการสวนชาเมี่ยงที่ดี มีการดูแลและบำรุงรักษาสวนชาเมี่ยงอยู่ตลอดเวลา ในการจัดการสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่ลัวจะมีการตัดไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วนเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ชาเมี่ยง จึงทำให้ความชื้นลดลงและทำให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตได้ช้าลง บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเริมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินกันเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกกาแฟ ส้ม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี่ทำให้มีการตัดไม้ใหญ่หรือไม้ดังเดิมของพื้นที่ออกเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ กาแฟ และส้ม ซึ่งมีแสงแดดมากๆทำให้ต้นชาเมี่ยงเติบโตได้ช้า และให้ผลผลิตที่ต่ำ สายลม และคณะ (2551) และบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปาง พบว่าสวนชาเมี่ยงนั้นมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดแต่งทรงพุ่ม และปลูกพืชอื่นแซม หรือมีการเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น กาแฟ จึงทำให้ต้นชาเมี่ยงในพื้นที่มีน้อย ไม่มีการกระจาย และทำให้มีลำต้นขนาดเล็ก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา และ ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา             ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 81.9 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.051 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 19) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 133.4 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.083 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 20) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 115.7 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.072 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 21)ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 132.0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.082 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 22)   ตารางที่ 19 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง และ ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)             จะนำข้อมูลที่เก็บรวมรวมได้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการถอดเทปสัมภาษณ์และการค้นหาเอกสารอ้างอิง ถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบสรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) และอธิบายสรุป เป็นข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมและศักยภาพในการผลิต ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเมี่ยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในห่วงโซ่อุปทานการเพาะปลูกชาเมี่ยง รวมถึงการหาแนวทางในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานของการผลิตเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)   โดยการบรรยายสรุปข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้สถิติในรูปของค่าเฉลี่ย (Mean) และร้อยละ(Percentage) เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการผลิตเป็นเมี่ยงหมัก ปริมาณผลผลิต   ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย             วิธีดำเนินงานศึกษาศึกษาการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย มีขั้นตอนดังต่อไปนี้  1.)    การสร้างแบบสัมภาษณ์ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง 2.)    นำแบบสัมภาษณ์มาตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมในประเด็นคำถาม และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในงานวิจัย 3.)   นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง 4.)    นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  5.)    สรุปผลจากการศึกษา 6.)    จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา และ ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา             ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 81.9 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.051 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 19) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 133.4 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.083 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 20) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 115.7 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.072 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 21)ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 132.0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.082 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 22)   ตารางที่ 19 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์และวิธีการ               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย 1.การเลือกพื้นที่ศึกษา             การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 4 ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหมู่บ้านทั้ง  หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A  สภาพที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในหุบเขา มีลำห้วยไหลผ่าน สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่อ ยางปาย ทะโล้ เป็นต้น เป็นชุมชนคนป่าเมี่ยง มีอาชีพหลักในการทำเมี่ยง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วิธีการดำเนินวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1.การเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ            งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยง จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลเมืองก๋าย    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเรือง   อำเภอเมืองน่าน      จังหวัดน่าน            ดำเนินการโดยลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยงใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งในมิติวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชาเมี่ยง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชนชาเมี่ยง โดยศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบซึ่งใช้การศึกษา ภาคสนาม (Field studies) ในการรวบรวมข้อมูล โดย เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ (Interview)  2. การสกัดชาเมี่ยง ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ             นำตัวอย่างใบชาเมี่ยงแห้งสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน สกัดโดยใช้กรวยแยกที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเฮกเซนและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยแบบสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเฮกเซนและนำตัวอย่างเดิมสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตรตที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นเอทิลอะซิเตรตไประเหยด้วยเครื่องสุญญากาศจะได้สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตรตและนำส่วนใบชาเมี่ยงแห้งไปสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น เก็บชั้นของเอทานอลและนำไประเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ เก็บตัวอย่างสารสกัดไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4°C จนกว่าจะนำสารสกัดมาใช้ทดสอบ 3. การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบชาเมี่ยง ด้วยวิธี Ager disc diffusion method 3.1 การเตรียมแบคทีเรีย           นำแบคทีเรียทดสอบ นำมาเลี้ยงในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) เขย่าที่อุณหภูมิ 37°C  เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำมาเจือจางด้วยน้ำเกลือ ความเข้มข้น 1 M  3.2 การเตรียม paper disc สารสกัดหยาบชาเมี่ยง          นำสารสกัดหยาบชั้น Hexane, EtOAc และ EtOH ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด แล้วนำ paper disc จุ่มในสารสกัดหยาบ แต่ละชนิดจำนวน 2 ครั้ง นำไปดึงตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศ (Vacuum pomp) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3.3 การทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียจากใบชาเมี่ยง และน้ำเมี่ยง          นำแบคทีเรียที่เตรียมจากข้อ 3.1 ใช้ไม้พันสำลี (swab) ที่ฆ่าเชื้อแล้วจุ่มลงแบคทีเรียที่เจือจางไว้ นำมาเกลี่ย ให้ทั่ว บนอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) ทับไปมา 3-4 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นใช้คีม (forceps) ปราศจากเชื้อหยิบแผ่น paper disc วางบนผิวอาหาร TSA ที่ระยะห่าง 2 cm กดแผ่น paper disc ให้ติดกับผิวอาหาร บ่มที่ อุณหภูมิ 37°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าสารสกัดหยาบเมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง สามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ จะเห็นบริเวณใสรอบแผ่น disc เรียกว่า clear zone หรือ inhibition zone วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณวงใส และ บันทึกผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) 4.การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4.1.การเตรียมตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ     งานวิจัยนี้ ทำการเก็บตัวอย่างชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.    บ้านแม่ลัว  ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง      จังหวัดแพร่ 2.    บ้านป่าเมี่ยง ตำบลเจ้ซ้อน   อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 3.    บ้านเหล่า   ตำบลสบเปิง    อำเภอแม่แตง    จังหวัดเชียงใหม่ 4.    บ้านศรีนาป่าน ตำบลเวียง   อำเภอเมือง      จังหวัดน่าน           ขนส่งมายังสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นนำไปเรียงในถาดก่อนนำไปอบ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของสมบัติดินทางฟิสิกส์และทางเคมีในสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

-บ้านเหล่า (BL) ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 23 ถึง ภาพที่ 44) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 30 ถึง ภาพที่ 40) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)