ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1. การสำรวจแหล่งผลิตเมี่ยงแบบดั้งเดิมในภาคเหนือตอนบน
             งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจแหล่งปลูกเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นต้นแบบในการศึกษาแหล่งเพาะปลูกเมี่ยง ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่จะเป็นพื้นที่สูง มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำไหลตลอดทั้งปี (ภาพที่ 111)

ภาพที่ 112  ลักษณะบริเวณพื้นที่ปลูกเมี่ยง

            การเพาะปลูกชาเมี่ยง จากการตรวจสอบพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้บริเวณพื้นที่สูงมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิม ซึ่งต้นเมี่ยงเป็นไม้ยืนต้นและพืชกึ่งร้อนสามารถขึ้นได้ดีในเขตอบอุ่นและมีฝน ชาเมี่ยงปลูกได้ดีในพื้นที่สูง และจากการตรวจสอบความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่เพาะปลูก พบว่ามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900-1,400 m มีลักษณะอากาศแห้งสลับชื้น เมื่อวัดความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ประมาณ 71-85% และเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกสม่ำเสมอปริมาณน้ำฝน 1,500-2,500 mm. อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25 - 30oC (ภาพที่ 112) 

 

ภาพที่ 113  ลักษณะการปลูกต้นเมี่ยงบริเวณพื้นที่สูงของชาวบ้าน

            การขยายพันธุ์ชาเมี่ยงอาจทำได้โดยหยอดเมล็ดหรือนำกล้ามาเพาะในถุง ผลชาเมี่ยงมีเมล็ด 1-3 เมล็ด (300-600 เมล็ดต่อกิโลกรัม) ผลมีเปลือกหนา สีน้ำตาลอมเขียวแบ่งเป็น 3 ช่อง ผลชาเมี่ยงสมบูรณ์เต็มที่ในเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคมของทุกปี (ภาพที่ 113) และ ปัจจุบันมีชาวบ้านได้มีนำเมล็ดชาเมี่ยงมาเพาะปลูกแซมบริเวณร่องสวนยางพาราเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง (ภาพที่ 114)

ภาพที่ 114  ลักษณะของเมล็ด ดอกและใบชาเมี่ยง 

ภาพที่ 115 การปลูกต้นชาเมี่ยงแซมบริเวณร่องสวนยางพาราของเกษตรกร

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง
              ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115

ภาพที่ 116 พื้นที่ปลูกเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่าง ๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ

 

            โดยคนเมืองล้านนาจะเรียกต้นชาและใบชาว่า “เมี่ยง” ต้นเมี่ยงของคนล้านนาจะเป็นต้นชาพันธุ์อัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) ซึ่งจะปลูกในลักษณะสวนป่า หรือ “ป่าเมี่ยง” (ภาพที่ 116) ที่ชุมชนจะทำเมี่ยงโดยการปลูกและปล่อยให้ต้นเมี่ยงเติบโตเองตามธรรมชาติโดยอาศัยร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ดังนั้น “ป่าเมี่ยง” จึงเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นป่าที่มีชีวิตและจิตวิญญานของชุมชนที่อาศัยอยู่กับป่าอย่างอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

    

ภาพที่ 117 ป่าเมี่ยงพื้นที่ชุมชนทำเมี่ยงโดยการปลูกและปล่อยให้ต้นชาเมี่ยงเติบโตเองตามธรรมชาติ


            ชาวสวนเมี่ยงจะเก็บเมี่ยงจากป่าเมี่ยง (ภาพที่ 116) และนำมาหมักแต่ก็ยังคงเรียกว่า “เมี่ยง” โดยอาจเพิ่มคำขยายรสชาติที่เปลี่ยนแปลงไปของเมี่ยง เช่น “เมี่ยงส้ม”หรือ“เมี่ยงฝาด” เป็นต้น จากนั้นจะนำเมี่ยงที่ผ่านกรรมวิธีการหมักเหล่านี้ไปจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมผลผลิตและนำไปจำหน่ายต่อให้กับพ่อค้ารายย่อยและผู้บริโภคในลำดับถัดไป (ภาพที่ 117)

ภาพที่ 118  การรวบรวมผลผลิตเมี่ยงหมักเพื่อรอจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางรายย่อยในจังหวัดแพร่

  

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1. การสำรวจแหล่งผลิตเมี่ยงแบบดั้งเดิมในภาคเหนือตอนบน              งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจแหล่งปลูกเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นต้นแบบในการศึกษาแหล่งเพาะปลูกเมี่ยง ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่จะเป็นพื้นที่สูง มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำไหลตลอดทั้งปี (ภาพที่ 111)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

ด้านวัฒนธรรม                  “เมี่ยง” นำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆโดยคนล้านนานิยมนำเมี่ยงมาอมหรือเคี้ยวหลังอาหารหรือยามว่าง ตัวอย่างวิถีล้านนากับการทานเมี่ยงแสดงดังภาพเขียนโบราณ “บ่าว-สาว ทานเมี่ยง” ที่ปรากฏเป็นภาพเขียนสีในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 118)  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การหาปริมาณองค์ประกอบหลักทางเคมีของสารสกัดจากตัวอย่างใบชาเมี่ยง โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพื่อให้ปริมาณสารสำคัญ คาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) ที่สูงจากใบชาเมี่ยง โดยวิธีรีฟลักซ์ด้วยเครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) และทำการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด คือ ชนิดของตัวทำละลาย อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด (วัตต์) และเวลาในการสกัด (นาที) จากนั้นนำสกัดที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญด้วยเทคนิค HPLC 1.    การหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารคาเฟอีน (CAF) อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) จากใบชาเมี่ยง โดยกระบวนการสกัดแบบรีฟลัก (reflux) โดยใช้เครื่องไมโครเวฟ ในการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารสารคาเฟอีน (CAF), อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG) และ อิพิคาเทชิน (EC) ได้ทำการหาสภาวะที่เหมาะสมของตัวแปรดังต่อไปนี้    -    ชนิดของตัวทำละลาย คือ เมทานอล (MeOH) เอทานอล (EtOH) อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O)    -    อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย คือ 1:15, 1:20, 1:25, 1:30 และ 1:35 g/mL    -    กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด คือ 70, 210, 350, 490 และ 630 วัตต์    -    เวลาในการสกัด (นาที) คือ 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที  โดยขั้นตอนในการสกัดแสดงดังรูปที่ 1        1.1     การหาสภาวะที่เหมาะสมของชนิดของตัวทำละลาย นำตัวอย่างใบชาเมี่ยง 5.00xx กรัม มาสกัดโดยวิธีรีฟลักโดยใช้เครื่องไมโครเวฟ (Microwave-assisted extraction) ด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน คือ เมทานอล (MeOH), เอทานอล (EtOH), อะซีโตน (Acetone) และ น้ำ (H2O) ซึ่งใช้อัตรส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย 1:30 (g/mL) โดยใช้กำลังไฟฟ้าในการสกัดของ คือ 280 วัตต์ เป็นเวลา 10 นาที ทำการกรองสารสกัดที่ได้ออกจากตัวอย่าง จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ 2 mL มาเจือจางด้วยเอทานอลในขวดวัดปริมาตรขนาด 10 mL จากนั้นนำสารสกัดไปทำการกรองผ่านแผ่นเมมเบรนที่มีขนาดของรูพรุน 0.45 ไมโครเมตร ก่อนนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC แล้วนำผลการวิเคราะห์จากสารสกัดมาเทียบกับกราฟมาตรฐานเพื่อหาปริมาณสารสารคาเฟอีน, อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และอิพิคาเทชิน ที่มีอยู่ในตัวอย่างใบชาเมี่ยง เพื่อหาตัวทำละลายที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดสารดังกล่าวเพื่อใช้ในการหาสภาวะต่อไป โดยขั้นตอนการสกัดแสดงดังรูปที่ 1        1.2     การหาสภาวะที่เหมาะสมของอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย     เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมอัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลาย ที่ใช้ในการสกัดสาร คาเฟอีน, อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และอิพิคาเทชิน ในใบชาเมี่ยง โดยการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายที่แตกต่างกัน คือ 1:15, 1:20, 1:25, 1:30 และ 1:35 (g/mL) โดยใช้ตัวทำละลายเอทานอล ทำการสกัดเป็นระยะเวลา 10 นาที และใช้กำลังไฟฟ้า คือ 280 วัตต์ โดยวิธีการสกัดแสดงดังรูปที่ 1        1.3     การหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัด  เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน, อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และอิพิคาเทชิน ในการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล คือ 1:25 (g/mL) โดยใช้เวลาในการสกัดคือ 10 นาที แต่ใช้กำลังไฟฟ้าในการสกัดแตกต่างกันออกไปคือ 70, 210, 350, 490 และ 630 วัตต์ โดยวิธีการสกัดแสดงดังรูปที่ 1       1.4    การหาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัด เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการสกัดสารคาเฟอีน, อิพิแกลโลคาเทชินแกลเลต และอิพิคาเทชิน ในใบชาเมี่ยง โดยการสกัดจะใช้อัตราส่วนตัวอย่างใบชาเมี่ยงต่อตัวทำละลายเอทานอล คือ 1:25 (g/mL) ใช้กำลังไฟฟ้า คือ 350 วัตต์ แต่ใช้เวลาที่ใช้ในการสกัดแตกต่างกันออกไปคือ 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที โดยวิธีการสกัดแสดงดังภาพที่ 1
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชาเมี่ยง

    ชาเป็นพืชในวงศ์ (family)  Theaceae  สกุล (genus) Camellia ที่มีมากกกว่า 300 ชนิด (species)  ชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่มาจาก 2 สายพันธุ์ คือ Camellia sinensis var. sinensis (Chinese tea) และ Camellia sinensis var. assamica (Assam tea  หรือ Indian tea) ชาสายพันธุ์จีนเป็นชาที่ใบมีขนาดเล็ก และแคบ  การจำแนกสายพันธุ์ชานอกจากพันธุ์ชาทางการค้า 2 กลุ่มหลักที่กล่าวไว้แล้วยังพบสายพันธุ์ลูกผสม (hybrid) ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ทำให้ได้ชาลูกผสมที่มีลักษณะทางฟีโนไทป์แตกต่างกัน (heterogeneous) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ การปรับปรุงพันธุ์ชา (tea breeding)  การปรับปรุงพันธุ์ชาทำให้ได้พันธุ์ชามีลักษณะทางกายภาพ ขนาดและลักษณะใบที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งให้รสชาติของน้ำชาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน ประเทศไทยได้ทดลองนำเอาชาสายพันธุ์จีนที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศไต้หวันเข้ามาปลูก แล้วขยายพันธุ์ พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง      1.ต้นชาเมี่ยง ต้นชาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้      1.1 ราก ชาเป็นพืชที่มีรากแก้วและรากฝอย แต่ไม่มีรากขน ต้นชาที่ได้จากการปักชำจะไม่มีรากแก้ว รากชาจะมีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตในรูปของแป้ง การแตกยอดของต้นชาขึ้นอยู่กับอาหารสำรองคาร์โบไฮเดรตในราก       1.2 ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง-ใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ต้นใหญ่สูงประมาณ 6-18 เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มชาจีนอย่างเด่นชัด กิ่งที่มีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา        1.3 ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับและเวียน (spiral) ใบมีความกว้างประมาณ 3.0-6.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.0-16.0 เซนติเมตร แต่อาจพบใบที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กล่าว คือใบมีความกว้าง 5.6-7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 17.0-22.0 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด จำนวนหยักฟันเลื่อยเฉลี่ยประมาณ 9 หยัก/ความกว้างของใบ 1.0 นิ้ว ส่วนของก้านใบและด้านท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม      1.4 ดอก เจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง ในแต่ละตาประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา ส่วนใหญ่ดอกออกติดกันเป็นกลุ่ม ช่อละประมาณ 2-4 ดอก/ตา ก้านดอกยาวประมาณ 10.0-12.0 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมนยาว กลีบดอกติดอยู่กับวง corolla ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยหงาย กลีบดอกมีจำนวน 5-6 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก วงเกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 5.0 มิลลิเมตร เกสรตัวเมีย (style) มีลักษณะเป็นก้านกลม ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 1-3 ช่อง ดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.65 เซนติเมตร         1.5 ผล เป็นแคปซูล เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-4.0 เซนติเมตร         1.6 เมล็ด ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11.0-12.0 มิลลิเมตร ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ     2. พันธุ์ชาที่ปลูกทางการค้าของไทย โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ ได้แก่        2.1 กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. assamica สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น ชาเมี่ยง ชาพื้นเมือง ชาป่า หรือชาเมี่ยง เป็นต้น ชาเมี่ยงเป็นพันธุ์ชาที่ใบใหญ่กว่าชาพันธุ์จีน เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในป่าเขตร้อนชื้นที่มีร่มไม้และแสงแดดพอประมาณ ชาพันธุ์อัสสัม พบมากบนเขตพื้นที่สูงแถบภาคเหนือของไทยในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และแพร่        2.2 กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea) กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. sinensis เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน และจีน เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 หรืออู่หลงก้านอ่อน (Chin Shin Oolong No.17) อู่หลงเบอร์ 12 (Chin Hsuan Oolong No.12) พันธุ์สี่ฤดู (Si Ji  หรือ Four Season) พันธุ์ถิกวนอิม (Tieguanyin) เป็นต้น เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเนื่องจากให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การปลูกจะปลูกเป็นแถวแบบขั้นบันได มีการจัดการแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ และตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ชาแตกยอดใหม่และส
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของชาเมี่ยง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชาเมี่ยง

           ชาเป็นพืชในวงศ์ (family)  Theaceae  สกุล (genus) Camellia ที่มีมากกกว่า 300 ชนิด (species)  ชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่มาจาก 2 สายพันธุ์ คือ Camellia sinensis var. sinensis (Chinese tea) และ Camellia sinensis var. assamica (Assam tea  หรือ Indian tea) ชาสายพันธุ์จีนเป็นชาที่ใบมีขนาดเล็ก และแคบ  การจำแนกสายพันธุ์ชานอกจากพันธุ์ชาทางการค้า 2 กลุ่มหลักที่กล่าวไว้แล้วยังพบสายพันธุ์ลูกผสม (hybrid) ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ทำให้ได้ชาลูกผสมที่มีลักษณะทางฟีโนไทป์แตกต่างกัน (heterogeneous) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ การปรับปรุงพันธุ์ชา (tea breeding)  การปรับปรุงพันธุ์ชาทำให้ได้พันธุ์ชามีลักษณะทางกายภาพ ขนาดและลักษณะใบที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งให้รสชาติของน้ำชาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน ประเทศไทยได้ทดลองนำเอาชาสายพันธุ์จีนที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศไต้หวันเข้ามาปลูก แล้วขยายพันธุ์ พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง      1.ต้นชาเมี่ยง ต้นชาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้         1.1 ราก ชาเป็นพืชที่มีรากแก้วและรากฝอย แต่ไม่มีรากขน ต้นชาที่ได้จากการปักชำจะไม่มีรากแก้ว รากชาจะมีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตในรูปของแป้ง การแตกยอดของต้นชาขึ้นอยู่กับอาหารสำรองคาร์โบไฮเดรตในราก         1.2 ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง-ใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ต้นใหญ่สูงประมาณ 6-18 เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มชาจีนอย่างเด่นชัด กิ่งที่มีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา         1.3 ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับและเวียน (spiral) ใบมีความกว้างประมาณ 3.0-6.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.0-16.0 เซนติเมตร แต่อาจพบใบที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กล่าว คือใบมีความกว้าง 5.6-7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 17.0-22.0 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด จำนวนหยักฟันเลื่อยเฉลี่ยประมาณ 9 หยัก/ความกว้างของใบ 1.0 นิ้ว ส่วนของก้านใบและด้านท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม        1.4 ดอก เจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง ในแต่ละตาประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา ส่วนใหญ่ดอกออกติดกันเป็นกลุ่ม ช่อละประมาณ 2-4 ดอก/ตา ก้านดอกยาวประมาณ 10.0-12.0 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมนยาว กลีบดอกติดอยู่กับวง corolla ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยหงาย กลีบดอกมีจำนวน 5-6 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก วงเกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 5.0 มิลลิเมตร เกสรตัวเมีย (style) มีลักษณะเป็นก้านกลม ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 1-3 ช่อง ดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.65 เซนติเมตร         1.5 ผล เป็นแคปซูล เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-4.0 เซนติเมตร         1.6 เมล็ด ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11.0-12.0 มิลลิเมตร ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ      2 พันธุ์ชาที่ปลูกทางการค้าของไทย โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ ได้แก่         2.1 กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. assamica สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น ชาเมี่ยง ชาพื้นเมือง ชาป่า หรือชาเมี่ยง เป็นต้น ชาเมี่ยงเป็นพันธุ์ชาที่ใบใหญ่กว่าชาพันธุ์จีน เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในป่าเขตร้อนชื้นที่มีร่มไม้และแสงแดดพอประมาณ ชาพันธุ์อัสสัม พบมากบนเขตพื้นที่สูงแถบภาคเหนือของไทยในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และแพร่          2.2 กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea) กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. sinensis เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน และจีน เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 หรืออู่หลงก้านอ่อน (Chin Shin Oolong No.17) อู่หลงเบอร์ 12 (Chin Hsuan Oolong No.12) พันธุ์สี่ฤดู (Si Ji  หรือ Four Season) พันธุ์ถิกวนอิม (Tieguanyin) เป็นต้น เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเนื่องจากให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การปลูกจะปลูกเป็นแถวแบบขั้นบันได มีการจ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

ด้านวัฒนธรรม                  “เมี่ยง” นำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆโดยคนล้านนานิยมนำเมี่ยงมาอมหรือเคี้ยวหลังอาหารหรือยามว่าง ตัวอย่างวิถีล้านนากับการทานเมี่ยงแสดงดังภาพเขียนโบราณ “บ่าว-สาว ทานเมี่ยง” ที่ปรากฏเป็นภาพเขียนสีในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 118)  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม และ ข้อเสนอแนะ

สรุปผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม             ชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือมีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ เหมาะแก่การนำมาบริโภคเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุจากอนุมูลอิสระ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งต่างๆ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาชาเมี่ยงในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ในกระบวนการผลิตชาควรมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทางด้าน GAP และ GMP เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่สำคัญหากจะให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนต่อประเทศในอนาคต ควรมีการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจในคุณประโยชน์ของชาเมี่ยงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมิติทางสังคม วัฒนธรรม มิติทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางวิทยาศาสตร์ ควรมีการสนับสนุนงานวิจัยต่อยอดในการประยุกต์เอาคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพของชาเมี่ยงที่ค้นพบดังได้กล่าวไว้ข้างต้นไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ใช้ในวงการยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เวชสำอางต่อไป ข้อเสนอแนะ             จากการที่ชาเมี่ยงมีสารอิพิคาเทชิน (epicatechin) เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อในเครื่องสำอางโดยใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ แชมพูสระผม ครีมนวดผม ลิปปาล์ม และ ยาสีฟัน เป็นต้น หรือ ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่มากขึ้น เนื่องจาก สารอิพิคาเทชิน (epicatechin) ที่สกัดได้จากธรรมชาติจึงมีความปลอดภัยสูงในการนำไปใช้ รวมทั้งการที่สารอิพิคาเทชินมีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีความสำคัญมิใช่เฉพาะต่อวงการแพทย์เท่านั้น แต่มีความสำคัญในระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งจะเห็นได้จากงานวิจัยต่างๆที่นำสารคาเทชินมาทำการทดลองในการลดการเกิดออกซิเดชันที่จะทำให้เกิดกลิ่นหืนขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมันเป็นองค์ประกอบซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม (ต่อ1)

2. ภูมิปัญญาพื้นถิ่นกับการปลูกชาเมี่ยง               ใบชาเมี่ยง หรือ“เมี่ยง”เป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันกับคนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือ อาณาจักรล้านนาในอดีตซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และลำพูน มาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในภาคเหนือตอนบนกระจายตามจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดภาคเหนือ แสดงดังภาพที่ 115
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อภิปรายผลงานวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

ด้านวิทยาศาสตร์               ได้ข้อมูลสำคัญหลายประการ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่ปลูกและคุณภาพทางเคมีกายภาพของใบชาเมี่ยงและได้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ของใบเมี่ยงหมัก (คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีและทางจุลชีววิทยา รวมถึงข้อมูลทางสุขอนามัยของเมี่ยงหมัก) สรุปสาระสำคัญดังนี้  1)    พื้นที่ปลูกเมี่ยง     เมี่ยงหมักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เมี่ยงฝาด และเมี่ยงส้ม โดยเมี่ยงฝาดจะมีการนำใบชาเมี่ยงมานึ่งและหมัก ประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถนำออกจำหน่ายได้ สำหรับเมี่ยงส้ม (ชาเมี่ยงที่มีการหมักจนกระทั่งความฝาดหายไปและเกิดรสเปรี้ยว) ได้จากการหมักใบชาเมี่ยง โดยใช้ระเวลานานหลายเดือน หรือ อาจถึง 1 ปี  2)    การวิเคราะห์ทางเคมี                เมี่ยงฝาด มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 4.5-6.0 และ เมี่ยงส้ม มีค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ในช่วง 3.0–4.0                 ปริมาณสารคาเทชินและอนุพันธ์ในตัวอย่างเมี่ยง พบว่า ใบชาเมี่ยงสดมีปริมาณสารคาเทชินมากกว่าใบเมี่ยงหมัก ซึ่งสารคาเทชินและอนุพันธ์ที่พบในใบชาเมี่ยงช่วยให้คำตอบคนที่อมเมี่ยงกล่าวว่า กินเมี่ยง แล้วรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิธีการหมักเมี่ยง ระยะเวลาและสถานที่ สภาพแวดล้อม ส่งผล โดยตรงต่อสารสำคัญในใบชาเมี่ยงสดและใบเมี่ยงหมัก 3)    ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย                องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมี่ยงในงานวิจัยนี้ พบว่า สารสกัดจากใบชาเมี่ยงสดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาเหตุแผลอักเสบได้ดีกว่าแบคทีเรียสาเหตุการเกิดท้องเสีย เมื่อปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ระหว่างจุลินทรีย์แกรมบวกและแกรมลบ มีแนวโน้มว่าสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแกรมลบ (โดยเฉพาะ Escherichia coli) สารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงยับยั้งการเจริญได้น้อย ทั้งนี้สารสกัดจากใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงสามารถยับยั้งการเจริญของ Propionibacterium acnes> Staphylococcus epidermidis > Bacillus cereus > S. aureus > Escherichia coli โดยให้ผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ Ikigai และคณะ (1993) ซึ่งพบว่า แบคทีเรียแกรมลบสามารถต้านทานต่อการทำลายชั้นไขมันที่ผนังเซลล์จากคาเทชินได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวก ถึงแม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้ Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์แกรมลบมีความสามารถในการต้านทานสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงได้ดีพอๆกับ Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก คุณสมบัติของสารสกัดใบชาเมี่ยงและน้ำเมี่ยงที่ได้จากพื้นที่ปลูกชาเมี่ยงในประเทศไทยแตกต่างจากแหล่งปลูกชาเมี่ยงอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาเมี่ยงต่อไปได้เป็นอย่างดี รวมถึง เป็นข้อมูลสนับสนุนหรือส่งเสริมให้คนกลับมาบริโภคเมี่ยงกันมากขึ้น               ในโครงการวิจัยนี้นอกจากจะชี้ให้เห็นประโยชน์อันทรงคุณค่าของชาเมี่ยงแล้ว ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของใบชาเมี่ยงในส่วนของใบชาเมี่ยงอ่อนโดยนำไปสกัดด้วยตัวทำละลายเพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในสารสกัด รวมถึง การใช้ใบชาเมี่ยงอ่อนไปทำแห้งแบบพ่นฝอยเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และนำสารคาเทชินไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตภัณฑ์จากใบชาเมี่ยงที่พัฒนาขึ้น ได้แก่       (1) ผลิตภัณฑ์สปา                 แชมพูและครีมนวดผมสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และสบู่สำหรับบำรุงผิวหน้า ลดรอยด่างดำ เพื่อผิวหน้ากระจ่างใส                 สารสกัดจากใบชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus,S. epidermidis และ Propionibacterium acnes เมื่อนำผลิตภัณฑ์สปาทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ แชมพูและครีมนวดผมชาเมี่ยงสำหรับลดผมหลุดร่วงและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่และทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ใน อาสาสมัคร จำนวน 25 คน ด้วยวิธี Single Patch Test พบว่า ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากอาสาสมัครอยู่ในระดับมาก ในอนาคตองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สปาจากชาเมี่ยงควรนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาเมี่ยงในจังหวัดต่างๆ โดยสามารถใช้ข้อมูลที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้สนับสนุนการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้โดยชาวบ้านมามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยงโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำเสนอในที่พักแบบโฮมสเตย์ ตลอดจนจัดจำหน่ายเป็นของที่ระลึก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากภาพที่ 11-13 ความแข็งของดินของบ้านแม่ลัว แปลงที่ 1.1-1.3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 5 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 6-10 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 11 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.2 ความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 80 เซนติเมตร ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 81 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 1-2 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 3-10 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 11 เซนติเมตรลงไป   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์และวิธีการ               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย 1.การเลือกพื้นที่ศึกษา             การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 4 ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหมู่บ้านทั้ง  หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A  สภาพที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในหุบเขา มีลำห้วยไหลผ่าน สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่อ ยางปาย ทะโล้ เป็นต้น เป็นชุมชนคนป่าเมี่ยง มีอาชีพหลักในการทำเมี่ยง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านแม่ลัว (ML) ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ (ต่อ2)