ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

             จากผลการศึกษาสวนชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ โดยชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ พบว่าบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน มีสวนชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่มากกว่าพื้นที่อื่น เพราะบ้านศรีนาป่าน มีการดูแลรักษาป่า และดูแลรักษาสวนชาเมี่ยงของตนเอง ซึ่งชาเมี่ยงเป็นรายได้หลักของชุมชน เป็นวิถีชีวิต รวมทั้งความเชื่อ ประเพณีของหมู่บ้าน ในพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปปลูกพืชชนิดอื่น และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งต้นน้ำที่หมู่บ้านใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และลองลงมาคือ บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านแม่ลัวก็ยังมีการจัดการสวนชาเมี่ยงที่ดี มีการดูแลและบำรุงรักษาสวนชาเมี่ยงอยู่ตลอดเวลา ในการจัดการสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่ลัวจะมีการตัดไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วนเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ชาเมี่ยง จึงทำให้ความชื้นลดลงและทำให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตได้ช้าลง บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเริมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินกันเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกกาแฟ ส้ม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี่ทำให้มีการตัดไม้ใหญ่หรือไม้ดังเดิมของพื้นที่ออกเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ กาแฟ และส้ม ซึ่งมีแสงแดดมากๆทำให้ต้นชาเมี่ยงเติบโตได้ช้า และให้ผลผลิตที่ต่ำ สายลม และคณะ (2551) และบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปาง พบว่าสวนชาเมี่ยงนั้นมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดแต่งทรงพุ่ม และปลูกพืชอื่นแซม หรือมีการเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น กาแฟ จึงทำให้ต้นชาเมี่ยงในพื้นที่มีน้อย ไม่มีการกระจาย และทำให้มีลำต้นขนาดเล็ก

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง              จากผลการศึกษาสวนชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ โดยชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ พบว่าบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน มีสวนชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่มากกว่าพื้นที่อื่น เพราะบ้านศรีนาป่าน มีการดูแลรักษาป่า และดูแลรักษาสวนชาเมี่ยงของตนเอง ซึ่งชาเมี่ยงเป็นรายได้หลักของชุมชน เป็นวิถีชีวิต รวมทั้งความเชื่อ ประเพณีของหมู่บ้าน ในพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปปลูกพืชชนิดอื่น และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งต้นน้ำที่หมู่บ้านใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และลองลงมาคือ บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านแม่ลัวก็ยังมีการจัดการสวนชาเมี่ยงที่ดี มีการดูแลและบำรุงรักษาสวนชาเมี่ยงอยู่ตลอดเวลา ในการจัดการสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่ลัวจะมีการตัดไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วนเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ชาเมี่ยง จึงทำให้ความชื้นลดลงและทำให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตได้ช้าลง บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเริมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินกันเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกกาแฟ ส้ม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี่ทำให้มีการตัดไม้ใหญ่หรือไม้ดังเดิมของพื้นที่ออกเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ กาแฟ และส้ม ซึ่งมีแสงแดดมากๆทำให้ต้นชาเมี่ยงเติบโตได้ช้า และให้ผลผลิตที่ต่ำ สายลม และคณะ (2551) และบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปาง พบว่าสวนชาเมี่ยงนั้นมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดแต่งทรงพุ่ม และปลูกพืชอื่นแซม หรือมีการเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น กาแฟ จึงทำให้ต้นชาเมี่ยงในพื้นที่มีน้อย ไม่มีการกระจาย และทำให้มีลำต้นขนาดเล็ก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา และ ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา             ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 81.9 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.051 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 19) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 133.4 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.083 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 20) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 115.7 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.072 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 21)ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 132.0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.082 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 22)   ตารางที่ 19 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่