ประวัติการปลูกชา


    แหล่งกำเนิดชาตามธรรมชาติ มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิระวดี แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ ลักษณะคล้ายรูปพัด จากด้านทิศตะวันตก ระหว่างเทือกเขานากามานิปุริและลูไซ่ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัมและสหภาพพม่า ไปยังมณฑลซีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออกแล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของสหภาพพม่าตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนามโดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกกว้างถึง 1,500 ไมล์ หรือ 2,400 กิโลเมตร ระหว่างเส้นลองจิจูด 95 -120 องศาตะวันออก และจากทิศเหนือ จรดทิศใต้ ยาว 1,200 ไมล์หรือ 1,920 กิโลเมตร ระหว่างเส้นละติจูดที่ 29 -11 องศาเหนือ 


ประวัติการปลูกชาของโลก
     การดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาลตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่า จักรพรรดิเสินหนงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชา โดยบังเอซ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชาขณะรอคอยให้น้ำเดือดกิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชาสักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมาเมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่มชากันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้วพระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์ อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึง นักบวชชื่อธรรม ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียวได้เดินทางมาจาริกบุญ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีน ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ. 519 จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองนานกิง ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เกิดเผลอหลับไปทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะเพื่อเป็นการลงโทษตนเองมิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก ท่านธรรมจึงตัดหนังตาของตนทิ้งเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชาชาวจีนจึงเก็บชามาชงดื่มเพื่อรักษาโรค นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกว่าในสมัยหนึ่งได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดในเมืองจีนผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมากเกี้ยอุยซินแสพบว่าสาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนพากันดื่มน้ำสกปรกจึงแนะน่าให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่มและเพื่อให้ชาวบ้านเชื่อจึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ชาลงไปในน้ำต้มเกี้ยอุยซินแสดพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำ ตามซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง เรื่องชาถูกบันทึกไว้ในหนังสือจีนโบราณชื่อเอ๋อหยา (Er Ya : On Tea) โดยขุนนางในจักรพรรดิ Zhou โดยให้คำจำกัดความของคำว่าชาคือสมุนไพรรสขมชนิดหนึ่งจากบันทึกของมณฑลหัวหยางปัจจุบัน คือ มณฑลซิฉวน) ในช่วงการทำสงครามระหว่างกษัตริย์วู (Wu) ในราชวงศ์ Zhou กับจักรพรรพิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Shang (ในปี 1066 ก่อนคริสตกาล) ทหารจากมณฑลซู (Shu) ซึ่งมาร่วมรบได้น้ำชาและผึ้งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์ด้วยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ "คัมภีร์ชาของหลูอยู่ (Lu Yu)" โดยหลูอยู่เกิดในมณฑลเหอเป่อระหว่าง ค.ศ. 728 - 804 หลูอยู่มีความสนใจในเรื่องชามาก ได้เขียนตำราไว้ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 780 ชื่อว่า "ชาชิง" (Tea classic ซึ่งเป็นตำราที่ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง 10 บท ถือว่าเป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก โดยเนื้อหาในหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของการดื่มชาเครื่องมือการผลิตชา อุปกรณ์การชงชา การชงชาที่ถูกวิธี วิธีการดื่มชา ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชา แหล่งกำเนิดของชา การแบ่งคุณภาพของชาและธรรมเนียมการชงชา สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 618 - 1260) การดื่มชาเป็นที่นิยมมาก มีร้านน้ำชาอยู่ทุกหนทุกแห่งในแต่ละมณฑลจนถึงเมืองหลวง แต่กรรมวิธีชงชาในสมัยราชวงศ์พังจะผิดแผกแตกต่างจากการชงชาที่รู้จักกันสมัยนั้นจะนำใบชาไปนึ่งกับข้าวแล้วเติมเกลือขิง เปลือกส้มและเครื่องเทศ จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนไว้สำหรับละลายน้ำดื่มส่วนในสมัยราชวงศ์ซ้อง การชงได้เปลี่ยนจากก้อนชานึ่งมาเป็นใบชาแห้งโดยนำใบชามาโม่จนเป็นผงแล้วชงกับน้ำร้อน ในยุคนี้เองที่คนจีนเริ่มมีวัฒนธรรมจิบน้ำชา พระสงฆ์หันมาใช้การชงชาเพื่อสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญาจนกระทั่งเมื่อชาวตาดรุกรานจีนจนราชวงศ์ซ้องถูกท่าลายไปท่าให้การท่าและชงชาสูญสิ้นไปด้วย ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1208 - 1368) คนจีนหันมาชงชาด้วยใบซึ่งต้องชงชาในป้าน (กาน้ำชา) ป้านชาจะช่วยกรองเศษชาไม่ให้หล่นลงจอกในขณะรินจากประเทศจีนชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเซียเช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีนโดยเริ่มรู้จักและมีการนำ ชาเข้าญี่ปุ่น โดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูตเพื่อมาศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingaken ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1191 การปลูกชาได้กระจายทั่วไปและพระชาวญี่ปุ่น ชื่อไปไซ (Eisai) ได้ไปเยือนจีนในปี ค.ศ. 1196 และ 1192 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preserving.Health.in Drinking Tea) เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับชาที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นจึงทำให้เกิดประเพณีการดื่มชาในประเทศญี่ปุ่นซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นประเพณีการชงชาของญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในประเทศมาเลเซียชาพันธุ์จีนถูกนำเข้าไปปลูกในปี ค.ศ. 1802 ต่อมา ปี ค.ศ. 1822 ได้นำไปปลูกที่สิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์ได้จัดซื้อต้นชาเพิ่มเติมจากประเทศและอินเดียใน ปี ค.ศ. 1893 การปลูกชาในลักษณะเป็นสวนขนาดใหญ่เริ่มประสบผลสำเร็จที่รัฐยะโฮว์และเปรัคปี ค.ศ. 1910 ได้มีการทดลองปลูกชาที่ Gunong Angsi และชาวจีนได้นำเมล็ดชาจากประเทศจีนมาทดลองปลูกที่รัฐเซลังงอต่อมากระทรวงเกษตรของมาเลเซียได้นำเมล็ดชาจากอินเดียมาทดลองปลูกบริเวณที่ต่ำของรัฐเซอร์ดังและบนที่สูงคาเมอรอน Comeron Highlands ในประเทศอินเดีย ช่วงศตวรรษที่ 18 - 19 บริษัท West India ได้นำเมล็ดชาจีนมาทดลองปลูกตามไหล่เขาหิมาลัย ส่วนการขยายตัวของอุตสาหกรรมชาเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1818.-.1834 บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการพบชาป่าแถบเนปาลและมานิเปอร์เป็นเหตุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลและมีการปลูกชาขึ้นที่กัลกัตตาในปี ค.ศ. 1834 และได้มีการค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับชาที่สวนพฤกษศาสตร์แห่งกัลกัตตาโดยได้รับความช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์จากประเทศจีนต่อมาจีนงดส่งพันธุ์ชามาให้เนื่องจากกลับว่าอินเดียจะผลิตชามาแข่งขัน อินเดียจึงต้องดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์ชาขึ้นมาเองโดยใช้พันธุ์ชาที่ปลูกอยู่แล้วและพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชายแดนเนปาลจนถึงพรมแดนประเทศจีนแถบมณฑลยูนาน ในประเทศอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1690 ได้มีการนำชาต้นแรกมาปลูกและในปี ค.ศ. 1824 ได้นำเมล็ดพันธุ์ชาจากประเทศญี่ปุ่นมาปลูก ต่อมาในปี ค.ศ. 1827.-.1833 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อเก็บรวบรวมเมล็ดชาและนำคนงานเข้ามาทำงานการปลูกชาได้ถูกผูกขาดโดยรัฐมาจนถึงปี ค.ศ. 1860 ต่อมาในปี ค.ศ. 1872 ได้มีการนำชาพันธุ์อัสสัมมาปลูกแต่ยังไม่ได้ผลจริงจังจนกระทั่งปี ค.ศ. 1878 ได้มีการเปลี่ยนกระบวนการผลิตชาจากการใช้มือมาเป็นเครื่องจักรมีการปรับปรุงคุณภาพและนำเมล็ดชามาจากศรีลังกา ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 บริษัทชาของอังกฤษได้มาวางรากฐานการปลูกชาบนเกาะสุมาตราแต่พอถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อุตสาหกรรมชาถูกละเลย ทำให้ผู้ผลิตชาประสบปัญหาจนกระทั่งในช่วง ปี ค.ศ. 1941 - 1973 พื้นที่ปลูกชาถูกรื้อถอนตัดทิ้งไปปลูกพืชอื่นๆ เป็นจำนวนมากถึง 70% 
      ในประเทศศรีลังกา ปี ค.ศ. 1824 ได้นำเมล็ดชาจากประเทศจีนเข้ามาปลูกและนำมาจากอัสสัมใน ปี ค.ศ. 1839 แต่ไม่ได้มีการปลูกอย่างจริงจังจนในปี ค.ศ. 1867 ได้เริ่มมีการปลูกชาที่ใช้เมล็ดพันธุ์จากจีนโดยพี่น้อง Soloman และ Gabrid ที่เมือง Rambodo ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 เกิดการระบาดของโรคราสนิมทำให้กาแฟได้รับความเสียหายมากจึงมีการปลูกชาทดแทนกาแฟ 5 ปีต่อมาจึงมีพื้นที่ปลูกชามากกว่า 150,000 เอเคอร์ และมีการบุกเบิกพื้นที่ใหม่ จึงทำให้ปัจจุบันนี้ประเทศศรีลังกามีพื้นที่ปลูกชาประมาณ 220,000 เอเคอร์
    ในทวีปยุโรป อังกฤษเป็นประเทศแรกที่รู้จักนำใบชามาใช้ประโยชน์โดยมีการนำใบชามาจากประเทศจีนในปี ค.ศ. 1657 และในช่วงปี ค.ศ. 1657 - 1833 บริษัทอินเดียวตะวันออกของอังกฤษได้เป็นผู้ผูกขาดการนำเข้าชาและชาวอังกฤษก็ยอมรับการบริโภคชาได้เร็วกว่าชาติอื่นๆ โดยมี เซอร์โทมัส การ์ราเวย์ เป็นผู้บุกเบิกวงการอุตสาหกรรมชาของอังกฤษต่อมานายทอมมี่ ลิปตันและนายดาเนียล ทวินนิ่ง ได้จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตชายี่ห้อลิปตันหรือทวินนิ่งที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันนี้
    ในประเทศฝรั่งเศสชาถูกยอมรับเป็นเครื่องดื่มในศตวรรษที่ 17 สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเสวยชาเพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นและแรงเสริมอีกอย่างคืออุตสาหกรรมชาในอังกฤษเข้ามาตีตลาดในฝรั่งเศส
    ในประเทศรัสเซีย เริ่มปลูกชาครั้งแรกที่ Sukhum Botonic Gardens บนฝั่งทะเลดำในปี ค.ศ. 1847 โดยอุปราชของเมืองคอเคซัสเมื่อต้นชาเริ่มให้ผลผลิตทำให้ความนิยมปลูกชาเพิ่มมากขึ้นปี ค.ศ. 1884 มีการนำต้นกล้าชาจากประเทศจีนมาปลูกในเนื้อที่ประมาณ 5.5 เอเคอร์ หลังจากนั้นได้มีกลุ่มผู้สนับสนุนการปลูกชาขึ้นโดยจัดซื้อสวนบนฝั่งทะเลดำจำนวน 3 สวน เพื่อปลูกชาจำนวน 385 เอเคอร์ ใช้เมล็ดพันธุ์จากประเทศจีน อินเดีย และศรีลังกา รวมทั้งจ้างคนชำนาญเรื่องขากับคนงานจากประเทศจีนมาฝึกสอนโดยจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำชามาจากประเทศอังกฤษต่อมาในปี ค.ศ. 1900 กระทรวงเกษตรของรัฐเริ่มได้จัดตั้งสถานีทดลองและผลิตต้นพันธุ์แจกจ่าย โดยไม่คิดมูลค่าจากการส่งเสริมนี้ทำให้การปลูกชาขยายตัวมากขึ้นจนในปัจจุบันประเทศรัสเซียจัดได้ว่ามีการปลูกชากันมากในรัฐจอร์เจีย Georgia ชายฝั่งทะเลดำ
    ในทวีปแอฟริกา การปลูกชาเริ่มต้นที่ Durban Botanic Gradens ในปี ค.ศ. 1850 โดยปลูกทดแทนกาแฟที่ประสบความล้มเหลวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกาใต้สำหรับอุตสาหกรรมชาที่เก่าแก่ที่สุดของแอฟริกาเริ่มที่มาลาวีโดยมีการนำเมล็ดชามาทดลองปลูกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1878 แต่ชาตายหมด ต่อมาในปี ค.ศ. 1886 - 1888 นักบวชชาวอังกฤษเป็นผู้นำ เมล็ดชาจาก Kew และ Edinburgh Botanic Gradens มาปลูกได้สำเร็จจากนั้นได้มีการนำต้นพันธุ์ไปปลูกที่เคนยา อูกันดา และแทนซาเนีย และในช่วงปี ค.ศ. 1920 - 1930 การพัฒนาอุตสาหกรรมชาจึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยระหว่างปี ค.ศ. 1921 - 1925 บริษัทเอกชน 3 แห่ง ได้เริ่มปลูกชาขึ้นที่ Rift Valley ในเคนยา ปี ค.ศ. 1924 อุตสาหกรรมชาของแทนซาเนียได้เริ่มขึ้นที่ Tukuyu บริเวณเขตที่สูงทางตอนใต้ของประเทศจากนั้นได้ขยายมายังเทือกเขา Usambara ในปี ค.ศ. 1931 ส่วนในยูกันดานั้นมีการปลูกชาเริ่มค่อนข้างล่าช้าโดยมีการเริ่มปลูกชาในปี ค.ศ. 1930
    ในทวีปออสเตรเลียมีการนำเมล็ดพันธุ์ชาจาก Kew Botanic Gardens ประเทศอังกฤษเข้ามาทดลองปลูกที่รัฐควีนส์แลนด์ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 สถานีวิจัย South Johnstone ได้นำ เมล็ดพันธุ์จากไร่ทดลองนำมาเพาะ และในปี ค.ศ. 1942 จึงได้ทำการทดลองปลูกชาขึ้นในสถานีทดลองพื้นที่ครึ่งเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1950 และ 1960 ได้เกิดบริษัทชาขึ้น 3 บริษัท ตั้งอยู่ที่ Nerada และ Tully และได้มีการคิดวิธีเก็บชาโดยใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน


ประวัติการปลูกชาของไทย
 ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนพบว่าได้มีการดื่มชากันแต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไรและเมื่อใดแต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปี พ.ศ. 2530 ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้วโดยนิยมชงชาเพื่อรับแขกการดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล
    สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศโดยจะกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปางและตากจากการสำรวจของคณะทำงานโครงการหลวงวิจัยชาได้พบแหล่งชาป่าที่บ้างไม้ฮุง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนบริเวณเขตติดต่อชายแดนประเทศพม่า ต้นชาป่าที่พบเป็นชาเมี่ยง (Assam tea) อายุหลายร้อยปี เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 0.5 เมตร ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกต้นชาพันปี เข้าใจว่าต้นชาป่าขนาดใหญ่ สามารถพบได้อีกตามบริเวณเทือกเขาสูงของจังหวัดแพร่และน่านโดยสวนชาส่วนใหญ่ทางภาคเหนือจะเป็นส่วนเก่าที่ได้จากการถางต้นไม้ชนิดอื่นออกเหลือไว้แต่ต้นชาป่าที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ต้นเมี่ยง จำนวนต้นต่อไร่ต่ำ ประมาณ 50 - 200 ต้น/ไร่ ผลผลิตใบชาสดต่ำเพียง 100 - 140 กิโลกรัม/ไร่ ชาวบ้านจะเก็บใบชาป่าด้วยมือโดยการรูดใบทิ้งกิ่งแล้วนำใบมาผลิตเป็นเมี่ยง ในปัจจุบันช่วงใดที่เมี่ยงมีราคาสูงใบชาป่าจะถูกนำมาผลิตเป็นเมี่ยงแต่เมื่อเมี่ยงมีราคาถูก ใบชาป่าจะถูกนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตชาจีนขนาดเล็กท่าให้ชาจีนที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำ การพัฒนาอุตสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2480 โดย นายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้งบริษัทใบชาตราภูเขาจำกัดและสร้างโรงงานชาขนาดเล็กขึ้นที่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้วแต่ปรากฏว่าพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำปริมาณไม่เพียงพอชาวบ้านขาดความรู้ความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชาและการตัดแต่งต้นชา ส่วนที่อำเภอฝางนั้น นายพร เกี่ยวการค้า ได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชาชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้อง ตระกูลพุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบโดยเริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเองใช้เมล็ดพันธุ์ชาพื้นเมืองมาเพาะสวนขาตั้งอยู่ที่แก่งพันท้าว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ และต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมาที่บ้านเหมืองกึด และบ้านช้าง ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งเสริมการผลิตมากขึ้นโดยขอสัมปทานทำสวนชาจากกรมป่าไม้จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านบางห้วยตาก ตำบลอินทขิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในนามของบริษัทชาระมิงค์และท่าสวนชาที่ตำบลสันมหาพน อำเภทแม่แตง ในนามของบริษัทชาบุญประธานชาที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นชาฝรั่งต่อมาเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสาหกรรมการผลิตชามากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2530 บริษัทชาระมิงค์ได้ขายสัมปทานสวนชาให้แก่บริษัทชาสยามจากนั้นชาสยามได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียงปลูกสวนชาแบบใหม่และรับซื้อใบชาสดจากเกษตรกรนำมาผลิตชาฝรั่งในนามชาลิปตัน จนกระทั่งปัจจุบันนี้ สำหรับภาครัฐนั้นการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2483 โดยปลัดกระทรวงเกษตร (ม.ล.เพช สนิทวงศ์) อธิบดีกรมเกษตร (คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ) และหัวหน้ากองพืชสวน (ม.จ.ลักษณากร เกษมสันต์) ได้เดินทางไปสำรวจหาแหล่งที่จะทำการปลูกและปรับปรุงชาที่อำเภอฝาง จังหวัด เชียงใหม่ ในที่สุดได้เลือกบริเวณโป่งน้ำร้อนเป็นที่ทดลองปลูกชา โดยตั้งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝางมี นายพ่วง สุวรรณธาดา เป็นหัวหน้าสถานีระยะแรกเมล็ดพันธุ์ชาที่นำมาปลูก ได้ทำการเก็บมาจากท้องที่ตำบลม่อนบินและดอยขุนสวยที่มีต้นชาป่าขึ้นอยู่ต่อมามีการนำชาพันธุ์ดีจากประเทศอินเดียไต้หวันและญี่ปุ่นมาทดลองปลูก เพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยต่อไป ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรนั้นได้ขยายการศึกษาทดลองเกี่ยวกับชาออกไปยังสถานีเกษตรที่สูงหลายแห่ง เช่น สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2518 ฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้เริ่มโครงการปลูกชาในพื้นที่หมู่บ้านอพยพ 6 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองอุ แกน้อย แม่แอบ ถ้ำงอบ ถ้ำเปรียงหลวง และแม่สลอง โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวันจัดส่งเมล็ดพันธุ์ชาลูกผสมมาให้ทดลองปลูกพร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดเทคนิคการปลูกและการผลิตให้ด้วยต่อมาอีก 3 ปีมีการสร้างแปลงสาธิตการปลูกชาขึ้นที่บ้านแม่สลองหนองอุและแกน้อยในปี พ.ศ. 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ใบชาแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทำให้สมาชิกที่ปลูกใบชาได้รับความช่วยเหลือในด้านการเงินและการแนะน่าด้านต่างๆ ในปี พ.ศ. 2525 กองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียได้จัดทุนดูงานด้านอุตสาหกรรมชาแก่ผู้ประกอบกิจการชาจำนวน 12 คน ณ ประเทศไต้หวันและศรีลังกาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2526 ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านชาจีนจากประเทศไต้หวัน 2 คน คือ นายซูหยิงเลียน และนายจางเหลียนฟูมาให้คำแนะนำด้านการทำสวนชาและเทคนิคการผลิตชาจีน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527 ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญสวนชาฝรั่งจากประเทศศรีลังกา คือ นายเจซี รามานาเคน มาให้คำแนะนำและ สาธิตเทคนิคการผลิตชาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2530 กรมวิชาการเกษตรได้ขอผู้เชี่ยวชาญจาก F.A.O. มาส่ารวจและศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตอุตสาหกรรมชาซึ่งทาง F.A.O. ได้ส่ง Dr..A..K..Aich ผู้เชี่ยวชาญชาฝรั่งจากประเทศอินเดียเข้ามาศึกษาเป็นเวลา 1 เดือน และมีการส่งนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรไปดูงานด้านการปลูกและการผลิตชาฝรั่งที่ประเทศอินเดียการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกและการผลิตชานอกจากกรมวิชาการเกษตรที่รับผิดชอบโดยตรงแล้ว ในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัยนั้น ในปีพ.ศ. 2520 งานเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศาสตราจารย์ปวิน ปุณศรี ได้ขอผู้เชี่ยวชาญจากสถานีทดลองชาไต้หวัน คือ Dr.Juan I - Ming เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชาของไทยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในขณะเดียวกันทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ.ดร.วิเชียร ภู่สว่าง ก็ได้เริ่มงานศึกษาวิจัยทางด้านสรีรวิทยาของชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 สาขาไม้ผล สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้โดยการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากโครงการหลวงได้เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาชาขึ้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อท่าการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ชาจีน ศึกษาวิธีขยายพันธุ์ ผลิตต้นกล้าชาพันธุ์ดีและปรับปรุงขบวนการผลิตใบชาให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่างๆซึ่งอีก 3 ปีต่อมา ม.จ. ภีศเดช รัรชนี ผู้อำนวยการโครงการหลวงได้ทรงอนุมัติให้จัดตั้งสถานีวิจัยชาขึ้นที่บ้านห้วยน้ำขุ่น อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันทางสถานีได้ทำการผลิตต้นกล้าชาจีนพันธ์ห้วยน้ำขุ่น เบอร์ 3 (HK. NO. 3) ที่คัดเลือกจากแม่พันธุ์ชาจีนลูกผสมของไต้หวันเพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในโครงการและหน่วยงานที่สนใจ ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยจัดทำแปลงขยายพันธุ์ชาพันธุ์ดีที่ศูนย์ส่งเสริมผลิตพันธุ์พืชสวนเชียงรายจัดทำแปลงส่งเสริมการปลูกชาพันธุ์ดีเป็นสวนแก่เกษตรกร และส่งเสริมการปรับปรุงสวนชาเก่าโดยส่งเสริมให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ดูแล รักษาและปลูกต้นชาเสริมในแปลงสวนชาเก่า พร้อมทั้งฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกและการผลิตชาแก่เกษตรกรผู้สนใจ พร้อมทั้งจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกชา และประสานงานด้านการตลาดระหว่างเกษตรกรและพ่อค้าผู้รับซื้อใบชาด้วย 


 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ประวัติการปลูกชา

    แหล่งกำเนิดชาตามธรรมชาติ มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิระวดี แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ ลักษณะคล้ายรูปพัด จากด้านทิศตะวันตก ระหว่างเทือกเขานากามานิปุริและลูไซ่ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัมและสหภาพพม่า ไปยังมณฑลซีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออกแล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของสหภาพพม่าตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนามโดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกกว้างถึง 1,500 ไมล์ หรือ 2,400 กิโลเมตร ระหว่างเส้นลองจิจูด 95 -120 องศาตะวันออก และจากทิศเหนือ จรดทิศใต้ ยาว 1,200 ไมล์หรือ 1,920 กิโลเมตร ระหว่างเส้นละติจูดที่ 29 -11 องศาเหนือ  ประวัติการปลูกชาของโลก      การดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาลตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่า จักรพรรดิเสินหนงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชา โดยบังเอซ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชาขณะรอคอยให้น้ำเดือดกิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชาสักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมาเมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่มชากันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้วพระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์ อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึง นักบวชชื่อธรรม ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียวได้เดินทางมาจาริกบุญ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีน ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ. 519 จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองนานกิง ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เกิดเผลอหลับไปทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะเพื่อเป็นการลงโทษตนเองมิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก ท่านธรรมจึงตัดหนังตาของตนทิ้งเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชาชาวจีนจึงเก็บชามาชงดื่มเพื่อรักษาโรค นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกว่าในสมัยหนึ่งได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดในเมืองจีนผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมากเกี้ยอุยซินแสพบว่าสาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนพากันดื่มน้ำสกปรกจึงแนะน่าให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่มและเพื่อให้ชาวบ้านเชื่อจึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ชาลงไปในน้ำต้มเกี้ยอุยซินแสดพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำ ตามซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง เรื่องชาถูกบันทึกไว้ในหนังสือจีนโบราณชื่อเอ๋อหยา (Er Ya : On Tea) โดยขุนนางในจักรพรรดิ Zhou โดยให้คำจำกัดความของคำว่าชาคือสมุนไพรรสขมชนิดหนึ่งจากบันทึกของมณฑลหัวหยางปัจจุบัน คือ มณฑลซิฉวน) ในช่วงการทำสงครามระหว่างกษัตริย์วู (Wu) ในราชวงศ์ Zhou กับจักรพรรพิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Shang (ในปี 1066 ก่อนคริสตกาล) ทหารจากมณฑลซู (Shu) ซึ่งมาร่วมรบได้น้ำชาและผึ้งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์ด้วยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ "คัมภีร์ชาของหลูอยู่ (Lu Yu)" โดยหลูอยู่เกิดในมณฑลเหอเป่อระหว่าง ค.ศ. 728 - 804 หลูอยู่มีความสนใจในเรื่องชามาก ได้เขียนตำราไว้ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 780 ชื่อว่า "ชาชิง" (Tea classic ซึ่งเป็นตำราที่ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง 10 บท ถือว่าเป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก โดยเนื้อหาในหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของการดื่มชาเครื่องมือการผลิตชา อุปกรณ์การชงชา การชงชาที่ถูกวิธี วิธีการดื่มชา ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชา แหล่งกำเนิดของชา การแบ่งคุณภาพของชาและธรรมเนียมการชงชา สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 618 - 1260) การดื่มชาเป็นที่นิยมมาก มีร้านน้ำชาอยู่ทุกหนทุกแห่งในแต่ละมณฑลจนถึงเมืองหลวง แต่กรรมวิธีชงชาในสมัยราชวงศ์พังจะผิดแผกแตกต่างจากการชงชาที่รู้จักกันสมัยนั้นจะนำใบชาไปนึ่งกับข้าวแล้วเติมเกลือขิง เปลือกส้มและเครื่องเทศ จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนไว้สำหรับละลายน้ำดื่มส่วนในสมัยราชวงศ์ซ้อง การชงได้เปลี่ยนจากก้อนชานึ่งมาเป็นใบชาแห้งโดยนำใบชามาโม่จนเป็นผงแล้วชงกับน้ำร้อน ในยุคนี้เองที่คนจีนเริ่มมีวัฒนธรรมจิบน้ำชา พระสงฆ์หันมาใช้การชงชาเพื่อสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญาจนกระทั่งเมื่อชาวตาดรุกรานจีนจนราชวงศ์ซ้องถูกท่าลายไปท่าให้การท่าและชงชาสูญสิ้นไปด้วย ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1208 - 1368) คนจีนหันมาชงชาด้วยใบซึ่งต้องชงชาในป้าน (กาน้ำชา) ป้านชาจะช่วยกรองเศษชาไม่ให้หล่นลงจอกในขณะรินจากประเทศจีนชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเซียเช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีนโดยเริ่มรู้จักและมีการนำ ชาเข้าญี่ปุ่น โดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูตเพื่อมาศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingaken ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1191 การปลูกชาได้กระจายทั่วไปและพระชาวญี่ปุ่น ชื่อไปไซ (Eisai) ได้ไปเยือนจีนในปี ค.ศ. 1196 และ 1192 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preserving.Health.in Drinking Tea) เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับชาที่เกิดขึ้นในญี
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

4.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ              สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

หน้าที่ของระบบนิเวศ

หน้าที่ของระบบนิเวศ             Odum et al. (1962) ได้แบ่งหน้าที่ที่สำคัญของระบบนิเวศออกเป็น 3 ประเภทคือ 1.    การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ  2.    การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุต่างๆ ในระบบนิเวศ   3.    กลไกการควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยปัจจัยแวดล้อม ความต้องการแสงสว่างของพืชและการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมจากการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่น การตรึงไนโตรเจนด้วยจุลินทรีย์บางชนิด เป็นต้น การจำแนกทำนองนี้ทำให้สะดวกต่อการศึกษาหน้าที่ของระบบนิเวศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างของระบบที่แตกต่างกันย่อมมีผลให้อัตราการถ่ายทอด การสะสมพลังงาน การหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุอาหารผิดแปลกแตกต่างกันไปอีกด้วย (นิวัติ, 2541) 1.การถ่ายทอดพลังงานภายในและระหว่างระดับชีวิตในระบบนิเวศ เริ่มต้นจากการถ่ายทอดพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของพลังงานแสง (photo energy) พืชสีเขียวจะตรึงพลังงานจากแสงมาแปรสภาพเป็นแป้ง และน้ำตาลสะสมในรูปมวลชีวภาพของพืช จากนั้นพลังงานบางส่วนในพืชจะสูญเสียไปในกระบวนการการหายใจ บางส่วนจะถ่ายทอดผ่านผู้บริโภคและจุลินทรีย์ในดิน ทุกขั้นตอนที่มีการถ่ายทอดพลังงานผ่านระดับชีวิตจะเกิดการสูญเสียพลังงานไปจากระบบนิเวศในรูปของความร้อน การถ่ายเทวัตถุและพลังงานทำให้ระบบนิเวศมีการเคลื่อนไหวถ่ายเท เช่น การดูดซับแสงโดยพื้นดินและพื้นน้ำทำให้เกิดบริเวณที่ร้อนและเย็นขึ้นจึงทำให้              5.3) พืชที่ต้องการน้ำปริมาณน้อย เป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในที่ที่ปริมาณฝนตกน้อย ขาดแคลนน้ำ หรือในที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายซึ่งอุ้มน้ำได้ไม่ดี เช่น มันสำปะหลัง ป่านศรนารายณ์ กระบองเพชร เป็นต้น              5.4) พืชที่มีระบบรากพิเศษ คือ พืชที่มีส่วนประกอบบางส่วน    เปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปดูดซึมความชื้นในอากาศไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้พืชสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี เช่น กล้วยไม้ สกุลต่างๆ เป็นต้น      2.3 อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช และมีผลต่อขบวนการต่างๆ ของพืช เช่น ขบวนการหายใจ ขบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของพืช เป็นต้น พืชแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิสูงต่ำแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเราแบ่งพืชออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้             1) พืชเมืองหนาวเป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20 องศาเซลเซียส เช่น แอปเปิล พลับ ท้อ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง ข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี เป็นต้น แต่ถ้านำพืชเหล่านี้มาปลูกในท้องถิ่นที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิดอาการใบไหม้ เนื่องจากมีการคายน้ำมากหรือเกิดการแข็งตัวของโปรโตพลาสซึมในเซลล์    ใบพืช             2) พืชเมืองร้อน เป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน ส้ม มะขาม ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง  หางนกยูง ราชพฤกษ์ ขี้เหล็ก สัก เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำไปปลูกในอุณหภูมิต่ำกว่านี้   จะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง 2.4 แสงสว่าง (Light) แสงสว่างที่ได้จากดวงอาทิตย์ จัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะแสงสว่างเป็นปัจจัยควบคุมสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ การหมุนเวียนของอากาศ การเกิดลมและฝน เป็นต้น สำหรับพืช แสงสว่างจัดเป็นพลังงานที่พืชนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล นอกจากแสงจะมีผลโดยตรงต่อขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นขบวนการ รากฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน และเป็นแหล่งของสารประกอบขั้นต้น เพื่อน ามาสังเคราะห์เป็น สารประกอบอินทรีย์ในพืช อันเป็นปัจจัยโดยตรงในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชแล้ว แสง ยังควบคุมขบวนการรากฐานของการเจริญเติบโตในระดับต่าง ๆ จนได้ผลรวมออกมาในรูปการ เจริญและเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง นอกจากนี้ แสงยังมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ใน การเจริญเติบโตของพืชด้วย เช่น การงอกของเมล็ด การพักตัวของเมล็ด การออกดอก แสงสว่างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้ 1) แสงมีความสำคัญต่อพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด 2) แสงมีอิทธิพลต่อกำรสร้างผลผลิตพืช 3) คุณภาพของแสง 4) ความเข้มของแสง 2.5 อากาศ (Air) อากาศ คือ กลุ่มก๊าซชนิดต่ำงๆ ที่อยู่ในบรรยากาศทั่วไปและในดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อากาศในดินส่วนใหญ่ประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนก๊าซอื่นๆ มีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย รากพืชใช้ก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในดินในการหายใจ ถ้าในดินมีก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้รากพืชไม่เจริญเติบโต มีผลโดยตรงต่อการดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารพืช ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน ถ้ามีมากเกินไปก็จะเป็นพิษต่อพืช รากพืชดูดน้ำและธาตุอาหารได้น้อยลงเช่นกัน พืชใช้ก๊าซออกซิเจนเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อกระบวนการหายใจและใ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง กิ่งกนก พิทยานุคุณ และคณะ. 2527. การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.หน้า 152 – 160. กรมส่งเสริมสหกรณ์. 2559.  ประวัติการส่งเสริมสหกรณ์. [ระบบออน์ไลน์]. แหล่งที่มา             http://www.cpd.go.th/web_cpd/cpd_Allabout.html. (22 มิถุนายน 2560). โกมล วงศ์อนันต์ และ อภิชา ประกอบเส้ง. 2559.  SWOT Analysis ด้าน Planning [ระบบออน์ไลน์]. แหล่งที่มา  http://promrucsa-dba04.blogspot.com/2012/10/swot-analysis-swot-swot-humphrey-swot-2.html. (11 มิถุนายน 2562). กัลทิมา พิชัย และคณะ 2551. เพิ่มศักยภาพผู้ผลิตชาชาเมี่ยงโดยการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในการผลิตพืชให้ประโยชน์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เขตพื้นที่ปลูกชาเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. 2555. การเงินธุรกิจ. ซีเอ็ดยูเคชั่น. ชวลิต และคณะ. 2553 ความหลากหลายของชาพื้นเมืองบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ดวงใจ และคณะ. 2558.คู่มือการศึกษาป่าไม้ไทย. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ดอกรัก มารอด. 2555. นิเวศวิทยาป่าไม้ประยุกต์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์. 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. กองทุนจัดพิมพ์ตำราคณะ วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 532 หน้า เดชา อินเด. 2545. การบัญชีต้นทุน. ธนาเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. นิวัติ เรืองพานิช. 2541. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินิเวศวิทยา. นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. บุญธรรม บุญเลา ประสิทธิ์ กาบจันทร์ และสมยศ มีสุข. 2553. การวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ของชาจีนในพื้นที่สูง. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://librae.mju.ac.th/goverment/20111119104834_librae/26169.pdf. (16 สิงหาคม 2562). ปฐวี แสงฉาย. 2536. ทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกชา (เมี่ยง) ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปิ่นมณี  ขวัญเมือง. (2547). แบคทีเรียกรดแลคติกในผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 3 : 62-69. พุทธพงษ์ และคณะ 2561 การศึกษาความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์ของเมี่ยง จังหวัดสุโขทัย ตาก แพร่ และน่าน วิทยาศาสตร์เกษตร พรชัย ปรีชาปัญญา และคณะ 2528. ระบบวนเกษตรที่สูง. โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน, เชียงใหม่. 153 หน้า. พรชัย ปรีชาปัญญาและ พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. 2542. ภูมิปัญญาชาวป่าเมี่ยง (ชา) เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการจัดการลุ่มน้ำที่สูงภาคเหนือ ประเทศไทย. [ระบบออนไลน์]. แหล่ง                                                   ที่มาhttp://frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/ws_document/R044202.pdf. (20 สิงหาคม 2562). พรชัย และคณะ 2546. การจัดการลุ่มน้ำป่าเมี่ยงโดยชุมชนมีส่วนร่วม สถานีวิจัยลุ่มน้ำดอยเชียงดาว กลุ่มวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม เพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. 2533. การงบประมาณ กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 152  - 154. ลัดดา ปินตา. 2560. การพัฒนาสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาชีพทำสวนเมี่ยง กรณีศึกษา ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เยาวพา ณ นคร. 2545. การบัญชีต้นทุน 1 กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. วารีรัตน์ หนูหตี. (2557). การยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนพื้นผิวสัมผัสโดยใช้สารสกัดจากพืชตระกูลขิง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงคลานครินทร์ ศุภชัย ปทุมนากุล และคณะ. 2552. โซ่อุปทานสินค้าเกษตรเล่มที่ 1 การจัดการซัพพลายเออร์ (Agricultural Supply Chain). กลุ่มวิจัยระบบโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2550. แนวทางในกาลดต้นทุน. โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน SMEs Projects. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาด               กลางและย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 1 สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. 2538. ศัพท์บัญชี. กรุงเทพฯ: บริษัทพี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด, หน้า 25. สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, ธีรพงธ์  เทพกรณ์, พนม  วิญญายอง และ ประภัสสร  อึ้งวณิชยพันธ์. (
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 2 การประยุกต์ใช้เมี่ยงหมักและน้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

1. การสำรวจแหล่งผลิตเมี่ยงแบบดั้งเดิมในภาคเหนือตอนบน              งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจแหล่งปลูกเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นต้นแบบในการศึกษาแหล่งเพาะปลูกเมี่ยง ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่จะเป็นพื้นที่สูง มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำไหลตลอดทั้งปี (ภาพที่ 111)