ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย

 

            เมี่ยง  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในเขต พื้นที่ภาคเหนือมาช้านาน เมี่ยงทำจากชาหมักพันธุ์อัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) สามารถแบ่ง เมี่ยง เป็น 2 แบบ คือ เมี่ยงที่ทำจากใบชาอ่อน เรียกว่า ประเทศไทย มีการผลิตเมี่ยงในหลายๆ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน เป็นต้น การสำรวจรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมการผลิตเมี่ยงหมักพื้นบ้าน ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา “เมี่ยงฝาด” และ เมี่ยงที่ทำจากใบชาแก่ เรียกว่า “เมี่ยงส้ม” (สายลม และ คณะ, 2551) มีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย เช่นมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้เมี่ยงยังสร้างรายได้มูลค่าถึง 229,360,251 บาท ในปี พ.ศ. 2550 (สายลม และ คณะ, 2551)
สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ศึกษาห่วงโซ่อุปทาน และประเมินมูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เมี่ยง เพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากเมี่ยง ต่อยอดสร้างอาชีพและรายได้จากการทำอาชีพเมี่ยงให้มีความยั่งยืน มี 3 โครงการย่อยดังนี้
 
            โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาถึงลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของสวนเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า บางพื้นที่ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง ศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง


           โครงการวิจัยย่อยที่ 2 เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากเมี่ยงหมัก เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยทำการศึกษาการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม มีที่มาและความสำคัญดังนี้ เมี่ยงหมัก และ ผลิตภัณฑ์ชาหมักต่างๆมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจาก เมี่ยงมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ antimicrobial มีจุลินทรีย์ชนิด probiotic เป็นองค์ประกอบหลัก (Klayraung et al., 2008) การศึกษาโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากน้ำหมักเมี่ยง จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก สาร caffeine และ catechins เป็นสารที่พบมากในชา แต่ยังไม่มีการนำผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง มาสกัดและผสมเป็นตำรับยา เพื่อใช้ในการรักษาแผลเรื้อรังที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย ในโครงการย่อยที่ 1 นี้จะทำการศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลติดเชื้อเรื้อรัง และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยเตรียมสารสกัดเมี่ยงหมัก หรือ น้ำเมี่ยง ที่มีคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลเรื้อรัง นำมาแยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการรักษาเชื้อดื้อยาปฎิชีวนะ


             โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ทำการศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของเมี่ยงหมัก การวิเคราะห์การไหลของกระแสเงินและสินค้า โดยใช้ทฤษฎีการบริการจัดการและการออกแบบโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีทางการบัญชีบริหาร การบัญชีต้นทุน เพื่ออธิบายกิจกรรมทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขายและความต้องการของ        ผู้บริโภคใช้วิธีการเปรียบเทียบกับปีฐาน และใช้การลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเมี่ยงในเชิงพาณิชย์
 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย

              เมี่ยง  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในเขต พื้นที่ภาคเหนือมาช้านาน เมี่ยงทำจากชาหมักพันธุ์อัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) สามารถแบ่ง เมี่ยง เป็น 2 แบบ คือ เมี่ยงที่ทำจากใบชาอ่อน เรียกว่า ประเทศไทย มีการผลิตเมี่ยงในหลายๆ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน เป็นต้น การสำรวจรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมการผลิตเมี่ยงหมักพื้นบ้าน ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา “เมี่ยงฝาด” และ เมี่ยงที่ทำจากใบชาแก่ เรียกว่า “เมี่ยงส้ม” (สายลม และ คณะ, 2551) มีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย เช่นมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้เมี่ยงยังสร้างรายได้มูลค่าถึง 229,360,251 บาท ในปี พ.ศ. 2550 (สายลม และ คณะ, 2551) สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ศึกษาห่วงโซ่อุปทาน และประเมินมูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เมี่ยง เพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากเมี่ยง ต่อยอดสร้างอาชีพและรายได้จากการทำอาชีพเมี่ยงให้มีความยั่งยืน มี 3 โครงการย่อยดังนี้               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาถึงลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของสวนเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย สวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า บางพื้นที่ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง ศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง            โครงการวิจัยย่อยที่ 2 เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากเมี่ยงหมัก เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยทำการศึกษาการประยุกต์ใช้เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยงให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม มีที่มาและความสำคัญดังนี้ เมี่ยงหมัก และ ผลิตภัณฑ์ชาหมักต่างๆมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจาก เมี่ยงมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และ antimicrobial มีจุลินทรีย์ชนิด probiotic เป็นองค์ประกอบหลัก (Klayraung et al., 2008) การศึกษาโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากน้ำหมักเมี่ยง จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก สาร caffeine และ catechins เป็นสารที่พบมากในชา แต่ยังไม่มีการนำผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก และ น้ำเมี่ยง มาสกัดและผสมเป็นตำรับยา เพื่อใช้ในการรักษาแผลเรื้อรังที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย ในโครงการย่อยที่ 1 นี้จะทำการศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลติดเชื้อเรื้อรัง และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยเตรียมสารสกัดเมี่ยงหมัก หรือ น้ำเมี่ยง ที่มีคุณสมบัติการต้านแบคทีเรียก่อโรคแผลเรื้อรัง นำมาแยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการรักษาเชื้อดื้อยาปฎิชีวนะ              โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ทำการศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของเมี่ยงหมัก การวิเคราะห์การไหลของกระแสเงินและสินค้า โดยใช้ทฤษฎีการบริการจัดการและการออกแบบโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีทางการบัญชีบริหาร การบัญชีต้นทุน เพื่ออธิบายกิจกรรมทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขายและความต้องการของ        ผู้บริโภคใช้วิธีการเปรียบเทียบกับปีฐาน และใช้การลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเมี่ยงในเชิงพาณิชย์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

-บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 45 ถึง ภาพที่ 66) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 52 ถึง ภาพที่ 62) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ              สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง และ ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)             จะนำข้อมูลที่เก็บรวมรวมได้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการถอดเทปสัมภาษณ์และการค้นหาเอกสารอ้างอิง ถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบสรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) และอธิบายสรุป เป็นข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมและศักยภาพในการผลิต ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเมี่ยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในห่วงโซ่อุปทานการเพาะปลูกชาเมี่ยง รวมถึงการหาแนวทางในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานของการผลิตเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)   โดยการบรรยายสรุปข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้สถิติในรูปของค่าเฉลี่ย (Mean) และร้อยละ(Percentage) เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการผลิตเป็นเมี่ยงหมัก ปริมาณผลผลิต   ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย             วิธีดำเนินงานศึกษาศึกษาการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย มีขั้นตอนดังต่อไปนี้  1.)    การสร้างแบบสัมภาษณ์ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง 2.)    นำแบบสัมภาษณ์มาตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมในประเด็นคำถาม และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในงานวิจัย 3.)   นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง 4.)    นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  5.)    สรุปผลจากการศึกษา 6.)    จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของสมบัติดินทางฟิสิกส์และทางเคมีในสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

-บ้านเหล่า (BL) ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่            ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) ระหว่าง pH, CEC และ OM โดยเฉพาะ ปัจจัยธาตุอาหารหลัก K, Na และปัจจัยธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 23 ถึง ภาพที่ 44) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 30 ถึง ภาพที่ 40) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูงในขณะที่ความแข็งของดินสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และ ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง         การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลถูกแบ่งส่วนอธิบายผลลัพธ์ตามพื้นที่ศึกษาวิจัย ตามลำดับดังนี้ 1.2.1    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.2    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง 1.2.3    ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวมรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง          ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะอธิบายถึง ข้อมูลจำเพาะ ผลการวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง และผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม  (SWOT Analysis)ในการผลิตชาเมี่ยงในแต่ละพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้ 4.2.1     ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่