องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา

            องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้ 
1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต
สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน (carnivore) มนุษย์กินสัตว์เป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งเรียกว่า top carnivore การบริโภคแบบต่อเนื่องในลักษณะดังกล่าวก็คือห่วงโซ่อาหาร (food chain) ซึ่งหมายถึงการบริโภคอย่างมีขั้นตอนจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งไม่มีความยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน เช่น แพลงค์ตอนปรุงอาหารได้เอง ปลาเล็กกินแพลงค์ตอน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และมนุษย์กินปลาใหญ่    เป็นต้น บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามลำดับแต่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่าใยอาหาร (food web)  
ส่วนประกอบที่มีชีวิตซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะกิจกรรมในระบบนิเวศหนึ่งๆ   มีดังนี้ 
1.1.ผู้ผลิต (producer organism) หรือพวก autotrophs ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีเพียงพืชสีเขียวที่มีสารคลอโรฟิลล์ในตัวเองและสามารถตรึงพลังงานแสงอาทิตย์มาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับวัตถุดิบในธรรมชาติ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และธาตุอาหารที่ละลายน้ำให้กลายเป็นสารมวลชีวภาพหรือสารประกอบอินทรีย์เคมีในรูปต่างๆ ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับส่วนประกอบอื่นที่ไม่มีชีวิตในแต่ละระบบนิเวศ
1.2.ผู้บริโภค (consumer organism) หรือพวก herbivore และ carnivore ได้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่จะบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่งในลักษณะที่มีระดับชั้นการกินอาหาร (trophic level) และถ่ายเทเป็นทอดๆ ผ่านไปในระบบนิเวศทำให้เกิดการไหลของพลังงานและสารในระบบ ผู้บริโภคสามารถแบ่งตามลำดับขั้นได้ดังนี้
1.2.1 ผู้บริโภคระดับปฐมภูมิ (primary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร  (herbivores) สามารถนำเอาพลังงานที่อยู่ในรูปเนื้อเยื่อพืชมาใช้ได้ ได้แก่ แมลงต่างๆ เป็นต้น
1.2.2   ผู้บริโภคระดับทุติยภูมิ (secondary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ (carnivore) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่หรือแข็งแรงกว่าเหยื่อร่างกายมีพัฒนาเพื่อเหมาะแก่การล่า เช่น มีเขี้ยวเล็บแหลมคม มีพิษ ได้แก่ เสือ สิงโต งู และเหยี่ยว เป็นต้น 
1.2.3  ผู้บริโภคระดับตติยภูมิ (tertiary consumer) หมายถึง สัตว์กินสัตว์ที่กินสัตว์อีกทีหนึ่ง (top carnivore) หรือเป็นพวกที่สามารถกินสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นของอาหารได้มากกว่าหนึ่งลำดับขั้น คือ อาจกินได้ทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) หลายชนิดก็ได้
1.2.4  ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตพวก heterotrophic organism ที่สามารถย่อยสลายซากสารอินทรีย์ของสิ่งที่ตายแล้วให้เน่าเปื่อย และเปลี่ยนกลับไปเป็นสารอิสระหรือสาร   อนินทรีย์กลับคืนสู่สภาพแวดล้อมได้ ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ พวกแบคทีเรียหรือเห็ดราต่างๆ เป็นต้น ผู้ย่อยสลายนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะมีหน้าที่เป็นผู้ทำลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป และยังเป็นผู้ที่ทำให้มีสารอินทรีย์กลับกลายเป็นสารอิสระหรือสาร     อนินทรีย์ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการถ่ายเทสารกลับสู่สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ย่อยสลายจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic components) กับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components) ในระบบนิเวศนั่นเอง 
การนำเอาขั้นการกินอาหารที่ระดับต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมาสร้างเป็นกราฟแท่งรูปทรงปิรามิด โดยที่มีระดับของผู้ผลิตอยู่ตรงฐานของปิรามิดถัดขึ้นไปเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่งและปลายสุดจะเป็นผู้บริโภคอันดับที่สูงกว่า เรียกกราฟแท่งเหล่านี้ว่าปิรามิดทางนิเวศวิทยา (ecological pyramid) ซึ่งจะสามารถแบ่งปิรามิดออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
    ปิรามิดของจำนวน (pyramid of number) บอกถึงจำนวนของสิ่งมีชีวิตในแต่ละระดับขั้นการกินอาหาร เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบในธรรมชาติตามสภาพแว.2คล้อม รูปแบบที่ผู้ผลิตขนาดเล็ก ผู้บริโภคในลำดับต่อๆไป ส่วนใหญ่เป็นพวกสัตว์กินเนื้อ เมื่อผู้ผลิตมีขนาดใหญ่จะสามารถรองรับผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อมีปรสิตเข้ามาเกี่ยวข้อง ปิรามิดจะมีลักษณะคว่ำหัวลงได้เนื่องจากมีปรสิตที่เข้าเบียนจำนวนมากนั่นเอง
    ปิรามิดของมวลชีวภาพ (pyramid of biomass) บอกถึงขนาดของน้ำหนักแห้งของแต่ละระดับขั้นอาหาร โดยทั่วไปถ้าขนาดของสิ่งมีชีวิตที่ระดับการกินต่างๆ ไม่แตกต่างกันจนเกิน ไปปิรามิดของมวลชีวภาพนั้นมักจะเป็นรูปฐานกว้างปลายเล็ก ซึ่งจะแตกต่างจากปิระมิดของจำนวนเมื่อเป็นสิ่งมีชิวิตชนิดเดียวกัน
ปิรามิดพลังงาน (pyramid of energy) บอกถึงอัตราการถ่ายเทพลังงานของแต่ละระดับขั้นอาหารซึ่งเป็นแสดงถึงการส่งพลังงานผ่านทางห่วงโซ่อาหาร โดยขนาดและอัตราการเผาผลาญของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวจะไม่มีอิทธิพลต่อรูปร่างปิรามิดของพลังงาน 
2.องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components)
         สิ่งไม่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนประกอบที่อยู่ในรูปของธาตุ สารประกอบและของผสม รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ลักษณะต่างๆ ตามธรรมชาติองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตมีดังนี้
2.1  สารที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม (abiotic substance) แบ่งออกเป็น
    กลุ่มอินทรีย์สาร (organic substance) ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และ ฮิวมัส รวมทั้งซากพืชซากสัตว์ต่างๆ ที่ยังไม่สลายตัว
    กลุ่มอนินทรีย์สาร (inorganic substance)  ได้แก่ ธาตุและสารประกอบในธรรมชาติทุกชนิดได้แก่ คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำในธรรมชาติ ดิน หิน และแร่ธาตุต่างๆ

2.2   สภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ฯลฯ
         สภาพทางกายภาพ ได้แก่ พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ  พื้นฐานสำคัญที่สุดที่เป็นต้นกำเนิดของส่วนประกอบต่างๆ ข้างต้นรวมทั้งสภาวะทางกายภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาวะอุณหภูมิ และความกดดัน ตลอดจนความชื้นของอากาศ กระแสน้ำในมหาสมุทร เป็นต้น 
 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา

องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน (carnivore) มนุษย์กินสัตว์เป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งเรียกว่า top carnivore การบริโภคแบบต่อเนื่องในลักษณะดังกล่าวก็คือห่วงโซ่อาหาร (food chain) ซึ่งหมายถึงการบริโภคอย่างมีขั้นตอนจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งไม่มีความยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน เช่น แพลงค์ตอนปรุงอาหารได้เอง ปลาเล็กกินแพลงค์ตอน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และมนุษย์กินปลาใหญ่    เป็นต้น บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามลำดับแต่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่าใยอาหาร (food web)   ส่วนประกอบที่มีชีวิตซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะกิจกรรมในระบบนิเวศหนึ่งๆ   มีดังนี้  1.1.ผู้ผลิต (producer organism) หรือพวก autotrophs ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีเพียงพืชสีเขียวที่มีสารคลอโรฟิลล์ในตัวเองและสามารถตรึงพลังงานแสงอาทิตย์มาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับวัตถุดิบในธรรมชาติ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และธาตุอาหารที่ละลายน้ำให้กลายเป็นสารมวลชีวภาพหรือสารประกอบอินทรีย์เคมีในรูปต่างๆ ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับส่วนประกอบอื่นที่ไม่มีชีวิตในแต่ละระบบนิเวศ 1.2.ผู้บริโภค (consumer organism) หรือพวก herbivore และ carnivore ได้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่จะบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่งในลักษณะที่มีระดับชั้นการกินอาหาร (trophic level) และถ่ายเทเป็นทอดๆ ผ่านไปในระบบนิเวศทำให้เกิดการไหลของพลังงานและสารในระบบ ผู้บริโภคสามารถแบ่งตามลำดับขั้นได้ดังนี้ 1.2.1 ผู้บริโภคระดับปฐมภูมิ (primary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร  (herbivores) สามารถนำเอาพลังงานที่อยู่ในรูปเนื้อเยื่อพืชมาใช้ได้ ได้แก่ แมลงต่างๆ เป็นต้น 1.2.2   ผู้บริโภคระดับทุติยภูมิ (secondary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ (carnivore) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่หรือแข็งแรงกว่าเหยื่อร่างกายมีพัฒนาเพื่อเหมาะแก่การล่า เช่น มีเขี้ยวเล็บแหลมคม มีพิษ ได้แก่ เสือ สิงโต งู และเหยี่ยว เป็นต้น  1.2.3  ผู้บริโภคระดับตติยภูมิ (tertiary consumer) หมายถึง สัตว์กินสัตว์ที่กินสัตว์อีกทีหนึ่ง (top carnivore) หรือเป็นพวกที่สามารถกินสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นของอาหารได้มากกว่าหนึ่งลำดับขั้น คือ อาจกินได้ทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) หลายชนิดก็ได้ 1.2.4  ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตพวก heterotrophic organism ที่สามารถย่อยสลายซากสารอินทรีย์ของสิ่งที่ตายแล้วให้เน่าเปื่อย และเปลี่ยนกลับไปเป็นสารอิสระหรือสาร   อนินทรีย์กลับคืนสู่สภาพแวดล้อมได้ ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ พวกแบคทีเรียหรือเห็ดราต่างๆ เป็นต้น ผู้ย่อยสลายนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะมีหน้าที่เป็นผู้ทำลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป และยังเป็นผู้ที่ทำให้มีสารอินทรีย์กลับกลายเป็นสารอิสระหรือสาร     อนินทรีย์ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการถ่ายเทสารกลับสู่สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ย่อยสลายจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic components) กับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic components) ในระบบนิเวศนั่นเอง  การนำเอาขั้นการกินอาหารที่ระดับต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมาสร้างเป็นกราฟแท่งรูปทรงปิรามิด โดยที่มีระดับของผู้ผลิตอยู่ตรงฐานของปิรามิดถัดขึ้นไปเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่งและปลายสุดจะเป็นผู้บริโภคอันดับที่สูงกว่า เรียกกราฟแท่งเหล่านี้ว่าปิรามิดทางนิเวศวิทยา (ecological pyramid) ซึ่งจะสามารถแบ่งปิรามิดออกได้เป็น 3 ประเภท คือ &
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

นิเวศวิทยา และ องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา และ หน้าที่ของระบบนิเวศ

นิเวศวิทยา             คำว่านิเวศวิทยา เริ่มใช้ในจดหมายเหตุของ Henry Thoreau ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858 ต่อมา Reiter ได้นำคำนี้มาใช้ในผลงานของเขาซึ่งพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานในปี ค.ศ. 1865 โดยนิเวศวิทยา มาจากรากศัพท์เดิมในภาษากรีก จากคำว่า oikos ซึ่งแปลว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัย ผสมกับคำว่า logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา รวมเป็น oecology และต่อมาได้เขียนตามหลักภาษาอังกฤษว่า ecology ใช้เรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย แม้ว่าวิชานิเวศวิทยาได้แยกตัวออกมาจากวิชาชีววิทยาแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักและสนใจกันเท่าที่ควรจนกระทั่งในปี ค.ศ.1866 นักสัตววิทยาท่านหนึ่งคือ Ernst Haeckel ได้หยิบยกเอาคำนี้ขึ้นมาใช้และให้คำนิยามไว้ว่า "นิเวศวิทยาเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สิ่งต่าง ๆ อย่างประหยัดของธรรมชาติ คือการศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ทั้งมวลของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ" จากคำนิยามนี้จึงเป็นการกำหนดแนวทางการศึกษาทางนิเวศวิทยาแก่นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในแนวดังกล่าว จึงยกย่องให้ Haeckel เป็นบิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาและเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านนี้              Charles Elton (1927)"นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านประวัติศาสตร์ของธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของสัตว์" Shelford (1911) "นิเวศวิทยา คือวิทยาการด้านสังคม"  E. P. Odum (1971) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาทางโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ"  H. J. Oosting (1956) "นิเวศวิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของมัน"             Kimmins (1987) กล่าวว่าป่ามิใช่เป็นเพียงการมีต้นไม้มายืนร่วมกันแต่ยังประกอบด้วย (1) ต้นไม้ (2) วัตถุสารที่ต้นไม้และสัตว์ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ธาตุอาหารและความชื้น (3) พันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มาร่วมกระทำกันก่อให้เกิดร่มเงาต่อกัน แก่งแย่งกัน อาศัยประโยชน์ต่อกัน หรือทำลายกัน (4) สัตว์ที่ใช้อาหารจากพืช อาศัยประโยชน์และให้ประโยชน์ต่อพืช (5) จุลินทรีย์ที่ได้และให้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อต้นไม้ (6) ดินและบรรยากาศรวมถึงไฟป่าและความชื้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในป่า            Tansley (1935) นักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่เรียก ecological system นี้ว่า ecosystem ที่แปลว่า ระบบนิเวศ แต่ความจริงแล้ว แนวความคิดเรื่องระบบนิเวศได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า Tansley เป็นเวลาช้านาน เพียงแต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า microcosm หรือ biosystem เป็นต้น สำหรับนักนิเวศวิทยาชาวรัสเซียนิยมเรียกระบบนิเวศว่า biogeocoenoses หรือ biocoenosis คำว่า ecosystem ของ Tansley เป็นคำที่กะทัดรัดและเป็นที่ยอมรับกัน จึงเป็นที่นิยมใช้กันตั้งแต่นั้นมา การยอมรับระบบนิเวศว่าเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชานิเวศวิทยา นับเป็นประโยชน์และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการศึกษา และพัฒนาการในด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อ มาอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นจะต้องศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง (structure)  และหน้าที่ (function) ต่างๆ ของระบบนิเวศนั้นซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของแต่ละระบบนิเวศซึ่งไม่เหมือนกัน    องค์ประกอบของระบบนิเวศวิทยา             องค์ประกอบของระบบนิเวศนั้นมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องผสมเข้าด้วยกัน โดยมีการกระจายอย่างได้สัดส่วนของปริมาณสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ระบบนิเวศต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโลกทั้งที่อยู่บนพื้นดินหรือในน้ำ ต่างมีขนาดและขอบเขตบริเวณที่แตกต่างกันออกไป แต่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทุกระบบจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนี้  1.องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต             สิ่งที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนที่สามารถปรุงอาหารเองได้ เรียกว่า autotrophic component โดยหลักการแล้วสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (บางประเภทใช้ความร้อน)  ปรุงอาหารจากสาร  อนินทรีย์ สร้างสารอินทรีย์ขึ้น ได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งสาหร่ายสีเขียว (blue-green algae) บักเตรี และบักเตรีที่ปรุงอาหารได้ (photosynthetic bacteria) ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่พวก heterotrophs เป็นพวกที่บริโภคพืชสีเขียวหรือพวก autotrophs เป็นผู้ผลิตขึ้น ได้แก่พวกสัตว์กินพืช (herbivore)  ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ และอาจหมายถึงพวกสัตว์ที่กิ