วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. ลักษณะนิเวศของเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม ประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง โดยใช้ปัจจัย เช่น สมบัติของดิน และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
2. สร้างทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากเมี่ยง เพื่อรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มเกษตรกรที่ทำสวนเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย
3.แยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก โดยการใช้เทคนิคทางโครมาโตกราฟฟี และ พัฒนาตำรับสารสกัดขากผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก เป็นเวชภัณฑ์ต้นแบบที่ใช้เป็นทางเลือกในการรักษาแผลติดเชื้อเรื้อรังที่มีการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
4. ศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ของเมี่ยงหมักในพื้นที่ภาคเหนือประเทศไทยและวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณและพฤติกรรมของผู้บริโภค

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. ลักษณะนิเวศของเมี่ยง เช่น สมบัติดิน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และชนิดของพืชพันธุ์ที่ขึ้นร่วม ประเมินศักยภาพของพื้นที่ปลูกเมี่ยงและประเมินผลผลิตเมี่ยง โดยใช้ปัจจัย เช่น สมบัติของดิน และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง 2. สร้างทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากเมี่ยง เพื่อรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มเกษตรกรที่ทำสวนเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย 3.แยกองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก โดยการใช้เทคนิคทางโครมาโตกราฟฟี และ พัฒนาตำรับสารสกัดขากผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมัก เป็นเวชภัณฑ์ต้นแบบที่ใช้เป็นทางเลือกในการรักษาแผลติดเชื้อเรื้อรังที่มีการติดเชื้อจากแบคทีเรีย 4. ศึกษารูปแบบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ของเมี่ยงหมักในพื้นที่ภาคเหนือประเทศไทยและวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณและพฤติกรรมของผู้บริโภค  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (ต่อ1)

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ประโยชน์ของชาเมี่ยง

      1.ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (fitness) ต่อต้านโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ชาพุเออ ที่ผลิตในยูนาน มีชื่อเสียงในด้านสรรพคุณทางเภสัชกรรม จากการวิจัยพบว่า ชาเถา (Tuocha).เป็นชาที่ช่วยลดความอ้วน และช่วยรักษาโรคหลอดเลือดอุดตันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการดื่มชาเถา จะช่วยลดปริมาณสารประกอบ antilipoidic แก่บุคคลที่มีปัญหาเรื่องอ้วน เครียดและโรคหลอดเลือดอุดตัน     2.ช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ ช่วยสมานแผล ช่วยในการขับถ่ายและชะล้างสารพิษในร่างกาย เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (colon bacillus).เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ฯลฯ โดยทำให้โปรตีนของเชื้อแบคทีเรียนั้นแข็งตัว(solidifying) จากหลักฐานโบราณของจีน พบว่า น้ำชาแก่ 1 ถ้วย ใช้รักษาโรคบิดได้อย่างดี ช่วยรักษาบาดแผลลดความเป็นพิษและอาการอักเสบ ดังนั้น บริษัทผลิตยาสำเร็จรูปจึงใช้ชาเป็นองค์ประกอบในการผลิตยาสำหรับรักษาโรคบิดและหวัด สารโพลีฟีนอล ในใบชาสามารถย่อย (decompose). อะลูนิเนียม สังกะสี และสารอัลคาลอยที่อยู่ในน้ำได้ ช่วยให้น้ำสะอาดขึ้น นอกจากนี้ชายังสามารถช่วยรักษาโรคพิษสุราเรื้องรังและสารพิษในบุหรี่ น้ำชาแก่ 1 หรือ 2 ถ้วย ช่วยละลายสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปโดยสารคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะทำปฏิกิริยาเป็นกลางกับอัลกอฮอล์ (neutralization)   3.ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากชามีสารคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบซึ่งคาเฟอีนนี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบหมุนเวียนของโลหิต ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมีอิทธิพลต่อขบวนการเมตตาโบลิซึมของเซลล์ร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือดและป้องกันโรคใจตีบตัน นอกจากนี้ชายังสามารถรักษาอาการเจ็บหน้าอก และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง รักษาโรคหวัด โรคปวดหัวโดยไม่มีผลข้างเคียงช่วยแก้กระหายและช่วยในการย่อยอาหาร ในช่วงอากาศร้อน การดื่มชาจะช่วยให้มีความรู้สึกสดชื่นขึ้น เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล (polyphenol)คาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบ เมื่อสารเหล่านี้เกิดปฏิกิริยากับน้ำลาย จะช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่างกาย พร้อมกับชะล้างสารพิษต่างๆ ออกไป ช่วยเร่งให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ขับสารเมตตาโบลิซึม เกิดความสมดุล หรือในช่วงหลังตื่นนอน เรามักรู้สึกขมปาก และกระหายน้ำ การดื่มชาถ้วยหนึ่งจะช่วยล้างปาก และกระตุ้นให้มีความอยากรับประทาน นอกจากนั้นชายังให้สารไอโอดีน และฟลูออไรด์ที่เป็นสารป้องกันภาวะไทรอยด์ผิดปกติ (hyperthyroidism) ซึ่งฟลูออไรด์เพียงพอกับความต้องการจะช่วยป้องกันฟันผุ หรือ หลังจากรับประทานอาหารแล้วดื่มชาแก่ๆ สักถ้วย จะช่วยกระตุ้นการหลั่ง น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารจ่าพวกวิตามินกลุ่มต่างๆ เช่น inositol folio acid, pantothenic acid เป็นต้น นอกจากนี้ใบชายังมีสารประกอบอื่นอีก เช่น methionine thenylcyoteine ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมขบวนการเมตตาโบลิซึมเพื่อย่อยไขมัน ส่วนสารให้กลิ่น (aromatic) ที่เป็นองค์ประกอบในชาจะช่วยย่อยอาหารและระงับกลิ่นปาก เพราะว่าไขมันสามารถละลายในสารให้กลิ่นเหล่านี้ ดังนั้น ชาจึงเป็นเครื่องดื่มของชนชาติที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ และเนยเป็นอาหารหลัก      4.ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะชาเขียวจะมีวิตามินซี วิตามินบีคอมเพล็คและกรดเพนโทเทนิค รวมทั้งวิตามินบี ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยคาเทคชิน (catechine) ที่เป็นองค์ประกอบใน polyphenol เช่น วิตามินพี ช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (permeable) ช่วยไม่ให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย, กรด pantothenic ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น, วิตามินบี 1 สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล็ดเลือด, วิตามินบี 2 ช่วยลดการอักเสบ เช่น การอักเสบที่ผิวหนัง เป็นต้น ชาฝรั่ง (black tea) มีวิตามินเอมาก การดื่มชาฝรั่งวันละ 5 ถ้วย จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินเอ พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย (สถาบันชา, 2555)   
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก            การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน   สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย       ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้   สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50         ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดล