ความสำคัญของปัญหา

      ป่าเมี่ยง เป็นระบบวนเกษตร ที่มีการทำการเกษตรภายใต้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการรักษาต้นไม้ การทำแนวกันไฟ การไม่ใช้สารเคมีในการจัดการ ซึ่ง Preechapanya (1996) ได้ทำการสำรวจตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ป่าเมี่ยง ลุ่มน้ำแม่ตอนหลวง พบว่าป่าเมี่ยง ประกอบด้วยความหลายหลายทางชีวมากกมาย จากนั้นพรชัย และพงษ์ศักดิ์ (2542) กล่าวว่าป่าเมี่ยงมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีตจันถึงปัจจุบัน เป็นการระบบวนเกตรดั้งเดิมที่เก่าแก่ ที่บรรพบุรุษของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือเรียนรู้จากธรรมชาติ และนำมาปฏิบัติมาช้านานเป็นระบบเพาะปลูกที่ผสมผสานระหว่างป่าไม้ เกษตร และเลี้ยงสัตว์ ที่มุ่งการผลิตอาหาร สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต และรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตสินค้า หมู่บ้านป่าเมี่ยงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายรอบป่าใหญ่ ประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านเหล่านี้ทำหน้าที่ผู้รักษาปกปักรักษาผืนป่า เป็นบ้านเล็กในป่าใหญ่ เป็นตัวอย่างของคนกับป่าที่อยู่กันได้เกื้อกูลซึ่งกันและกันประชาชนเหล่านี้ประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจเลี้ยงตนเอง ควบคู่ไปกับรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ป่าเมี่ยงเป็นพื้นที่ป่ากันชนที่ปกป้องป่าดิบเขาที่ควรศึกษาเรียนรู้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแบบอย่างของภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวกับระบบวนเกษตร เพื่อการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กในเขตภูเขา หมู่บ้านป่าเมี่ยง ตั้งอยู่กระจายล้อมรอบบริเวณเทือกเขาผีปันน้ำบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นเขตกันชนระหว่างพื้นที่เกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี ป้องกันการบุกรุกของคนที่ใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหนึ่งบุกรุกเขาไปทำประโยชน์ที่ดินข้างเคียงตัวอย่าง เช่น เป็นพื้นที่ป้องกันชาวไร่ที่ทำไร่เลื่อนลอยบุกรุกเข้าไปทำลายป่าธรรมชาติ หรือเป็นเขตที่ป้องกันภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ จากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งอาทิ เช่น เป็นแนวป้องกันไฟป่า ความรุนแรงของลมกระแสน้ำในลำธาร การซะล้างพังทลายของหน้าดิน การขยายตัวของความแห้งแล้ง เป็นต้น ในปัจจุบันบางส่วนกลายเป็นอุทยานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา เป็นต้น เป็นแหล่งต้นนำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำปิงตอนบน บริเวณที่ผ่านอำเภอเชียงดาว แม่น้ำแม่งัด กวง ลาว อิง วัง และยม เมี่ยงยังเป็นพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญ และทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ในปัจจุบันสวนเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ค่อยๆ เริ่มหายออกไปจากพื้นที่ที่เคยเป็นสวนเมี่ยงมาก่อน เพราะราคาเมี่ยงในปัจจุบันมีราคาที่ต่ำ เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการบริโภค อีกทั้งยังขาดแคลนแรงงาน และมีพืชเกษตรชนิดอื่นเข้ามาแล้วมีราคาสูงกว่า เช่น กาแฟ ยางพารา เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงสนใจที่จะทำการศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชในเมี่ยง คุณสมบัติดิน เพื่อที่จะเป็นแนวทางการฟื้นฟู และอนุรักษ์สวนเมี่ยงให้คงอยู่ต่อไป
     Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในช่องปากโดยเฉพาะที่ผิวฟันและเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดฟันผุโดยเฉพาะในเด็กเพราะเชื้อสามารถสร้าง extracellular polysaccharide (EPS) ได้ทั้งแบบละลายน้ำ (soluble) และไม่ละลายน้ำ (insoluble) จากการใช้น้ำตาล sucrose ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ (plaque formation) หรือ biofilm ที่ผิวฟัน นอกจากนี้ S. mutans สามารถสร้างกรดจากการใช้น้ำตาลและทนกรดได้ดีจึงทำให้สามารถอยู่รอดในสภาวะที่มีค่า pH ต่ำ กรดที่เชื้อสร้างขึ้นภายในช่องปากจะไปสลายผิวฟันเป็นผลทำให้เกิดฟันผุตามมา (Loesche, 2007)
        การป้องกันการเกิดฟันผุสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้น้ำตาลเทียมทดแทนน้ำตาล sucrose การใช้ fluoride การใช้ sealants เคลือบหลุมร่องฟัน การใช้สารป้องกันการก่อคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากที่มี chlorhexidine เป็นส่วนประกอบ แต่ในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุนั้นต้องใช้ต้นทุนสูงและเชื้อก่อโรคในช่องปากหลายชนิดมีความสามารถในการดื้อยาเพิ่มขึ้นและยาปฎิชีวนะหลายชนิดเริ่มใช้ไม่ได้ผล เช่น penicillin, erythromycin, tetracycline, cephalosporins และ metronidazole (Bidault et. al., 2007) อีกทั้งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการอาเจียน ท้องเสียและมีคราบสีเกิดขึ้นที่ฟัน หลายประเทศจึงต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคในช่องปากที่มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง มีประสิทธิภาพในการรักษาและราคาถูก (Palombo, 2011) การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของธรรมชาติที่แยกได้จากพืชในการป้องกันโรคฟันผุจึงเป็นทางเลือกที่ดีแทนการใช้ยาหรือสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากกระบวนการทางเคมี (Prabu et al., 2006)
มีการใช้ชาเมี่ยง(Camellia sinensis var. assamica)  ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก โรคฟันผุและโรคปริทันต์ยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย จากข้อมูลสถานการณ์ทันตสุขภาพของประเทศคนไทยยังมีโรคฟันผุและโรคปริทันต์มากโดยวัยผู้ใหญ่มีฟันผุถึงร้อยละ 80 (Islam et.al., 2007) ในผู้สูงอายุมีปัญหาทั้งโรคฟันผุ โรคปริทันต์และปากแห้ง (Patersen and Yamamoto, 2005) แบคทีเรียที่สร้างกรดพบได้ในช่องปากปกติร่วมกับแบคทีเรียชนิดอื่นๆโดยอยู่ในลักษณะสมดุลของสปีชีส์ต่างๆ เมื่อได้รับอาหารแบคทีเรียที่สร้างกรดจะย่อยคาร์โบไฮเดรตทำให้เกิดแลคติกแอซิก (Lactic acid) ซึ่งลดระดับ pH ในช่องปากโดยปกติแล้วน้ำลายในช่องปากจะช่วยลดความเป็นกรด แต่ในกรณีที่ปากแห้งความสามารถของร่างกายจะสูญเสียไปทำให้ช่องปากมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อแบคทีเรียที่สร้างกรด Streptococcus mutans และ Lactobacillus เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดฟันผุระดับของแบคทีเรียเหล่านี้จะสูงขึ้นในผู้ที่น้ำลายน้อย ได้มีการนำน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อมาใช้เพื่อเสริมในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ (Chanda and Dave, 2009) จากการศึกษาพบว่าแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ P. gingivalis, B. forsythus, Campylobacter rectus และ T. denticola สัมพันธ์กับร่องลึกปริทันต์ที่เพิ่มขึ้น (Su et.al., 2011) ประกอบกับประชากรของไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยเนื่องจากมีประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาปากแห้งซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแสบและเจ็บในช่องปากทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ปากแห้งที่พบในผู้สูงอายุมีหลายสาเหตุที่พบบ่อยเป็นผลจากยาที่ได้รับเนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับยาอย่างน้อยหนึ่งชนิดที่เป็นสาเหตุให้น้ำลายหลั่งน้อยลง ทั้งนี้ผู้ที่ปากแห้งจะมีความเสี่ยงที่สูงต่อการติดเชื้อราในช่องปาก รวมทั้งอาจมีอาการแสบร้อนในช่องปาก นอกจากนี้ยังพบฟันผุได้ง่ายจึงควรใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดการเกิดฟันผุ น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ รวมทั้งน้ำลายเทียมและสารหล่อลื่นในปาก (Oral lubricant/moisturizer) เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในช่องปาก (Papapanou et.al., 1998) 
     ดังนั้นถ้าสามารถป้องกันการเกิดโรคโดยการกำจัดหรือลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคได้ก่อนที่จะเกิดโรคจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาโรคในช่องปาก การดูแลสุขภาพอนามัยภายในช่องปากได้ดีย่อมส่งผลให้การทำหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆเป็นไปโดยสมบูรณ์ส่งผลต่อการมีสุขภาพโดยรวมของร่างกายดีด้วย ทำให้มีความมั่นใจในบุคลิกภาพและการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ทั้งนี้การใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากอย่างเหมาะสม เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาปัญหาในช่องปาก จากการวิจัยที่ได้ดำเนินการแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในช่องปาก ได้แก่ ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของชาชนิดต่างๆมีความปลอดภัยและคงตัว และมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุและโรคปริทันต์ จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ให้พร้อมที่จะออกสู่ตลาดเพื่อการบริโภคต่อไป 
ประเทศไทย มีการผลิตเมี่ยงในหลายๆ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน เป็นต้น การสำรวจรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมการผลิตเมี่ยงหมักพื้นบ้าน ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา    เมี่ยงหมัก  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในเขตพื้นที่ภาคเหนือมาช้านาน เมี่ยงทำจากชาหมักพันธุ์อัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) สามารถแบ่ง เมี่ยง เป็น 2 แบบ คือ เมี่ยงที่ทำจากใบชาอ่อน เรียกว่า “เมี่ยงฝาด” และ เมี่ยงที่ทำจากใบชาแก่ เรียกว่า “เมี่ยงส้ม” (สายลม และ คณะ, 2551) มีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย เช่นมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้เมี่ยงยังสร้างรายได้มูลค่าถึง 229,360,251 บาท ในปี พ.ศ. 2550 (สายลม และ คณะ, 2551)
        ปัจจุบันการทำสวนเมี่ยงได้ลดจำนวนลงจากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า บางพื้นที่ขาดการจัดการสวนเมี่ยง และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะผู้ทำการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะนิเวศโดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณสมบัติดิน สภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของเมี่ยง และการจัดการสวนเมี่ยงที่ถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตเมี่ยง สร้างมูลค่าเพิ่มและทำให้เกิดความยั่งยืนเป็นทางเลือกหนึ่งที่อนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความสำคัญของปัญหา

      ป่าเมี่ยง เป็นระบบวนเกษตร ที่มีการทำการเกษตรภายใต้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการรักษาต้นไม้ การทำแนวกันไฟ การไม่ใช้สารเคมีในการจัดการ ซึ่ง Preechapanya (1996) ได้ทำการสำรวจตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ป่าเมี่ยง ลุ่มน้ำแม่ตอนหลวง พบว่าป่าเมี่ยง ประกอบด้วยความหลายหลายทางชีวมากกมาย จากนั้นพรชัย และพงษ์ศักดิ์ (2542) กล่าวว่าป่าเมี่ยงมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีตจันถึงปัจจุบัน เป็นการระบบวนเกตรดั้งเดิมที่เก่าแก่ ที่บรรพบุรุษของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือเรียนรู้จากธรรมชาติ และนำมาปฏิบัติมาช้านานเป็นระบบเพาะปลูกที่ผสมผสานระหว่างป่าไม้ เกษตร และเลี้ยงสัตว์ ที่มุ่งการผลิตอาหาร สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต และรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตสินค้า หมู่บ้านป่าเมี่ยงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายรอบป่าใหญ่ ประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านเหล่านี้ทำหน้าที่ผู้รักษาปกปักรักษาผืนป่า เป็นบ้านเล็กในป่าใหญ่ เป็นตัวอย่างของคนกับป่าที่อยู่กันได้เกื้อกูลซึ่งกันและกันประชาชนเหล่านี้ประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจเลี้ยงตนเอง ควบคู่ไปกับรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ป่าเมี่ยงเป็นพื้นที่ป่ากันชนที่ปกป้องป่าดิบเขาที่ควรศึกษาเรียนรู้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแบบอย่างของภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวกับระบบวนเกษตร เพื่อการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กในเขตภูเขา หมู่บ้านป่าเมี่ยง ตั้งอยู่กระจายล้อมรอบบริเวณเทือกเขาผีปันน้ำบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นเขตกันชนระหว่างพื้นที่เกษตรกับพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นอย่างดี ป้องกันการบุกรุกของคนที่ใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหนึ่งบุกรุกเขาไปทำประโยชน์ที่ดินข้างเคียงตัวอย่าง เช่น เป็นพื้นที่ป้องกันชาวไร่ที่ทำไร่เลื่อนลอยบุกรุกเข้าไปทำลายป่าธรรมชาติ หรือเป็นเขตที่ป้องกันภัยพิบัติรูปแบบต่างๆ จากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งอาทิ เช่น เป็นแนวป้องกันไฟป่า ความรุนแรงของลมกระแสน้ำในลำธาร การซะล้างพังทลายของหน้าดิน การขยายตัวของความแห้งแล้ง เป็นต้น ในปัจจุบันบางส่วนกลายเป็นอุทยานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา เป็นต้น เป็นแหล่งต้นนำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำปิงตอนบน บริเวณที่ผ่านอำเภอเชียงดาว แม่น้ำแม่งัด กวง ลาว อิง วัง และยม เมี่ยงยังเป็นพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญ และทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลง และเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านาน แต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ในปัจจุบันสวนเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ค่อยๆ เริ่มหายออกไปจากพื้นที่ที่เคยเป็นสวนเมี่ยงมาก่อน เพราะราคาเมี่ยงในปัจจุบันมีราคาที่ต่ำ เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการบริโภค อีกทั้งยังขาดแคลนแรงงาน และมีพืชเกษตรชนิดอื่นเข้ามาแล้วมีราคาสูงกว่า เช่น กาแฟ ยางพารา เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงสนใจที่จะทำการศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชในเมี่ยง คุณสมบัติดิน เพื่อที่จะเป็นแนวทางการฟื้นฟู และอนุรักษ์สวนเมี่ยงให้คงอยู่ต่อไป      Streptococcus mutans เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในช่องปากโดยเฉพาะที่ผิวฟันและเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดฟันผุโดยเฉพาะในเด็กเพราะเชื้อสามารถสร้าง extracellular polysaccharide (EPS) ได้ทั้งแบบละลายน้ำ (soluble) และไม่ละลายน้ำ (insoluble) จากการใช้น้ำตาล sucrose ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ (plaque formation) หรือ biofilm ที่ผิวฟัน นอกจากนี้ S. mutans สามารถสร้างกรดจากการใช้น้ำตาลและทนกรดได้ดีจึงทำให้สามารถอยู่รอดในสภาวะที่มีค่า pH ต่ำ กรดที่เชื้อสร้างขึ้นภายในช่องปากจะไปสลายผิวฟันเป็นผลทำให้เกิดฟันผุตามมา (Loesche, 2007)         การป้องกันการเกิดฟันผุสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้น้ำตาลเทียมทดแทนน้ำตาล sucrose การใช้ fluoride การใช้ sealants เคลือบหลุมร่องฟัน การใช้สารป้องกันการก่อคราบจุลินทรีย์ หรือ biofilm เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากที่มี chlorhexidine เป็นส่วนประกอบ แต่ในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุนั้นต้องใช้ต้นทุนสูงและเชื้อก่อโรคในช่องปากหลายชนิดมีความสามารถในการดื้อยาเพิ่มขึ้นและยาปฎิชีวนะหลายชนิดเริ่มใช้ไม่ได้ผล เช่น penicillin, erythromycin, tetracycline, cephalosporins และ metronidazole (Bidault et. al., 2007) อีกทั้งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการอาเจียน ท้องเสียและมีคราบสีเกิดขึ้นที่ฟัน หลายประเทศจึงต้องหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาโรคในช่องปากที่มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง มีประสิทธิภาพในการรักษาและราคาถูก (Palombo, 201
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านแม่ลัว (ML) ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

-บ้านแม่ลัว (ML) ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่             ด้วยข้อจำกัดของการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านแม่ลัวมีพื้นที่สวนชาเมี่ยง สวนหลังบ้าน และพื้นที่หย่อมป่า ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง (Mg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบหย่อมป่า (Rf) สวนหลังบ้าน (Hg) และพื้นที่เกษตร (Af) คล้ายกับบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่บ้านป่าแหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 67 ถึง ภาพที่ 88) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 74 ถึง ภาพที่ 84) แสดงถึงพื้นที่สวนชาเมี่ยงมีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่สูง ในขณะที่ความแข็งของดินสูง สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดิน และ สมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง

ความสัมพันธ์ของปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง             การวิเคราะห์ปัจจัย โดยใช้การวิเคราะห์แบบ PCA (Principle Component Analysis) โดยใช้ปัจจัยทางเคมีของดิน ทั้ง 11 ปัจจัย ได้แก่ pH, CEC, OM, P, K, Na, Ca, Mg, Sand , Silt และ Clay  สำหรับพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยทางเคมีดินในพื้นที่สวนเมี่ยงที่แดสงออกเด่นชัดได้แก่ Ca, Mg และ K (รายละเอียดในตารางที่ 11 และภาพที่ 20) ตารางที่ 11 ปัจจัยดินและสมบัติดินภายใต้สวนชาเมี่ยง ของบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง และ สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ทำสวนชาเมี่ยง                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบว่าเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยง มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ป่าสวนชาเมี่ยงให้ห่างไกลจากการใช้สารเคมี จึงเป็นส่วนที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่ลัวยังรักพื้นที่ป่าและไม่ยอมย้ายถิ่นฐานหรือเปลี่ยนอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าก็ยังเลือกที่จะทำอาชีพสวนชาเมี่ยง ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูกชาเมี่ยง เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ชาวบ้าน  ในพื้นที่บ้านแม่ลัว ที่อยู่อย่างพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีรายได้จากการผลิตชาเมี่ยงมากกว่ารายจ่าย ดังนั้น    เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงอย่างมาก            การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรประกอบอาชีพผลิตชาเมี่ยงของบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พบว่า เกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนชาเมี่ยงมีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์ป่าไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในการทำสวนชาเมี่ยงนั้นไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลุกชาเมี่ยง เพราะเช่นเดียวกับพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้บ้านป่าเหมี้ยง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี                การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมการปลูกชาเมี่ยง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ     สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ และการปลูกชาเมี่ยงไม่ได้มีการเสียต้นทุนในการปลูก เพราะมีต้นชาเมี่ยงที่ได้รับสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง เพราะไม่ได้มีการลงทุนในส่วนของการปลูกชาเมี่ยงจะลงทุนแค่ในส่วนของการขายแต่ก็ยังเพียงพอต่อการใช้จ่ายของชาวบ้าน   สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย       ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วยส่วนสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง และผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือ โดยมีขอบเขตของประชากรอยู่ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงจำนวน 10 กลุ่ม ได้ผลสรุปดังนี้   สรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือของประเทศ ในส่วนของข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 62.50 ส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.50 และสืบทอดการทำชาเมี่ยงมาจากบรรพบุรุษ โดยมีประสบการณ์การผลิต อยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.50         ผลจากการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 4,970-17,040 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 14,140-14,640 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือนและ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 1,285-12,301 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน มีต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการผลิตชาเมี่ยงของเกษตรกรจังหวัดแพร่ อยู่ระหว่าง 683-4,604 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนเครื่องตัดหญ้าและถังหมักที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ, จังหวัดลำปาง อยู่ระหว่าง 2,635-2,900 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ลำปางส่วนใหญ่เกษตรกรจะลงทุนเครื่องตัดหญ้าเป็นของตนเอง และจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ระหว่าง 273-575 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน ในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่มีการลงทุนเครื่องตัดหญ้า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) พบว่า จังหวัดแพร่ มีต้นทุนวัตถุดิบทางตรงอยู่ระหว่าง 150-800 บาทต่อพื้นที่ต่อครัวเรือน, จังหวัดล
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง และ ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)             จะนำข้อมูลที่เก็บรวมรวมได้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการถอดเทปสัมภาษณ์และการค้นหาเอกสารอ้างอิง ถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบสรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) และอธิบายสรุป เป็นข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมและศักยภาพในการผลิต ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเมี่ยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในห่วงโซ่อุปทานการเพาะปลูกชาเมี่ยง รวมถึงการหาแนวทางในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานของการผลิตเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)   โดยการบรรยายสรุปข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้สถิติในรูปของค่าเฉลี่ย (Mean) และร้อยละ(Percentage) เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการผลิตเป็นเมี่ยงหมัก ปริมาณผลผลิต   ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย             วิธีดำเนินงานศึกษาศึกษาการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย มีขั้นตอนดังต่อไปนี้  1.)    การสร้างแบบสัมภาษณ์ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง 2.)    นำแบบสัมภาษณ์มาตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมในประเด็นคำถาม และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในงานวิจัย 3.)   นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง 4.)    นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  5.)    สรุปผลจากการศึกษา 6.)    จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง