การวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีการวิเคราะข้อมูลในงานวิจัย ครั้งนี้จะสรุปผลจากการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน คือผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชี และการวิเคราห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทาน อธิบายได้ดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชี
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative analysis)
เป็นการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยรวบรวมข้อมูล จากข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รวบรวมจากแบบสัมภาษณ์จากผู้ผลิตเมี่ยง โดยการบรรยายสรุปและใช้สถิติในรูปของค่าเฉลี่ยและร้อยละในการอธิบาย เพื่อให้ทราบถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเมี่ยงของผู้ผลิต
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)
นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเมี่ยงเพื่อคำนวณหาต้นทุน รายได้ และกำไรจากAการลงทุนการผลิตเมี่ยง ซึ่งจะคำนวณผลตอบแทนดังนี้
1. ต้นทุนคงที่ (Total Fixed Cost : TFC)
2. ค่าเสื่อมราคาต่อปี (Depreciation)
3. ต้นทุนผันแปร (Total Variable Cost : TVC)
4. ค่าแรงงาน (Labor)
1. อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
2. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return On Investment : ROI)
3. จุดคุ้มทุน
4. กำไรสุทธิ (Net Profit)
5. ต้นทุนรวม (Total Cost: TC)
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง
1. ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material Cost : DM) หมายถึง สิ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อการแปรสภาพหรือประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์อย่างใด อย่างหนึ่งที่ต้องการโดยส่วนประกอบของสิ่งนี้ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ หรือเป็นองค์ประกอบหลักของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นโดยวัตถุดิบทางตรงในการผลิตเมี่ยง ได้แก่ เกลือและตอก
2. ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor cost : DL) หมายถึง ค่าจ้างแรงงานในการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนโดยตลอดช่วงเวลาการผลิตช่วงหนึ่ง ได้แก่ ค่าแรงเก็บเมี่ยง ค่าแรงตัดหญ้า และค่าขนส่งฟืน
3. ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead : OH) หมายถึง ทรัพยากรอื่นที่นอกเหนือจากวัตถุดิบทางตรงและค่าแรงงานทางตรงโดยนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการผลิตเมี่ยง ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเครื่องตัดหญ้า และค่าน้ำมันรถ