ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย

ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย

วิธีดำเนินงานศึกษาศึกษาการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. การสร้างแบบสัมภาษณ์ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง
  2. นำแบบสัมภาษณ์มาตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมในประเด็นคำถาม และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในงานวิจัย
  3. นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง
  4. นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
  5. สรุปผลจากการศึกษา
  6. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง และ ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)             จะนำข้อมูลที่เก็บรวมรวมได้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการถอดเทปสัมภาษณ์และการค้นหาเอกสารอ้างอิง ถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบสรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) และอธิบายสรุป เป็นข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมและศักยภาพในการผลิต ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเมี่ยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในห่วงโซ่อุปทานการเพาะปลูกชาเมี่ยง รวมถึงการหาแนวทางในการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานของการผลิตเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)   โดยการบรรยายสรุปข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้สถิติในรูปของค่าเฉลี่ย (Mean) และร้อยละ(Percentage) เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการผลิตเป็นเมี่ยงหมัก ปริมาณผลผลิต   ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย             วิธีดำเนินงานศึกษาศึกษาการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย มีขั้นตอนดังต่อไปนี้  1.)    การสร้างแบบสัมภาษณ์ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง 2.)    นำแบบสัมภาษณ์มาตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมในประเด็นคำถาม และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในงานวิจัย 3.)   นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง 4.)    นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  5.)    สรุปผลจากการศึกษา 6.)    จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย

ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย วิธีดำเนินงานศึกษาศึกษาการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ การสร้างแบบสัมภาษณ์ตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเมี่ยง และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง นำแบบสัมภาษณ์มาตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมในประเด็นคำถาม และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในงานวิจัย นำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง และ บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 กลุ่มตัวอย่าง นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สรุปผลจากการศึกษา จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์และวิธีการ               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย 1.การเลือกพื้นที่ศึกษา             การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 4 ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหมู่บ้านทั้ง  หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A  สภาพที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในหุบเขา มีลำห้วยไหลผ่าน สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่อ ยางปาย ทะโล้ เป็นต้น เป็นชุมชนคนป่าเมี่ยง มีอาชีพหลักในการทำเมี่ยง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

          5.)    การบรรจุและจัดจำหน่าย  ผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงถูกบรรจุลงในตะกร้าไม้ไผ่ ขนาดกว้าง 65 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร โดยจะมีการนำถุงพลาสติกมาลองในเข่งที่บรรจุชาเมี่ยงได้ประมาณ 100 กำ (ประมาณ 50 กิโลกรัม) ก่อนปิดฝาด้านบน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงส่วนใหญ่จะขายชาเมี่ยงนึ่ง และชาเมี่ยงหมักราคาขายในแต่ละปีจะไม่เท่ากันเพราะความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นและจำนวนชาเมี่ยงที่เก็บได้น้อยลง จะอยู่ในช่วงประมาณ 24-26 บาทต่อกิโลกรัม                 การจัดการห่วงโซ่อุทานการผลิตชาเมี่ยง ในจังหวัดลำปาง แสดงในภาพที่ 19 จะเห็นว่า ในกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ภายในห่วงโซ่มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ เกษตรกรผู้ทำการปลูก เก็บเกี่ยวและกระบวนการนึ่งที่เป็นเฉพาะครัวเรือน, เกษตรกรผู้รับซื้อของเพื่อนบ้านมาหมักต่อ, ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่ง และ ลูกค้า เมื่อเปรียบเทียบกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรในระดับพื้นฐาน การผลิตชาเมี่ยงในบริเวณนี้ยังถือว่าเป็นลักษณะห่วงโซ่ที่ไม่มีความซับซ้อนแต่จะแตกต่างจากจังหวัดแพร่ คือมีลักษณะของผู้แปรรูปในกระบวนการหมักแยกจากกลุ่มผู้ปลูกและผู้เก็บเกี่ยว มีการวางแผนการรับซื้อ และมีการลงทุนในอุปกรณ์การแปรรูปอย่างชัดเจน การตลาดยังคงมีลักษณะการผลิตแบบกึ่งพันธสัญญา จากการที่เกษตรกร ส่งให้กับพ่อค้าคนกลางรายเดิมทุกปี และมีบางส่วนที่เกษตรกรเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าของตนเอง โดยมีแหล่งลูกค้าประจำ ยังไม่พบในลักษณะการซื้อขายแบบประกันราคา การจัดสมดุลระหว่างระดับอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของชาเมี่ยงถือว่ามีความสมดุล คือไม่เกิดเหตุการณ์สินค้าขาดแคลน หรือสินค้าล้นตลาด แต่บางครั้งพบว่ามีการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการศึกษาวิจัยโครงการย่อยที่ 3 การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย             ผลลัพธ์จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ผลจากการศึกษาต้นทุน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง และผลการศึกษาด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้งสิ้น 10 กลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของนักวิจัย นอกเหนือจากการประชุมกลุ่มย่อยกับเกษตรกรแล้ว นักวิจัยยังได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร โดยทำกิจกรรมทางการเกษตรร่วมกัน เช่น การมีส่วนช่วยในการเก็บเกี่ยว และดูแลต้นชาเมี่ยงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว ยังจะช่วยให้ไม่เกิดผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของเกษตรกร และได้มีโอกาสเข้าสังเกตเส้นทางการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ผลการศึกษาข้อมูลในแต่ละส่วนงานแสดงได้ดังนี้  ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยง              ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 3 กลุ่มตัวอย่าง บ้านป่าชาเมี่ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2 กลุ่มตัวอย่าง และบ้านแม่เหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่าง รวม 8 กลุ่มตัวอย่าง            ผู้ศึกษานำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับดังนี้ 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง 4.1.2    ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตชาเมี่ยง  4.1.3    ผลการศึกษาผลตอบแทนในการผลิตชาเมี่ยง 4.1.1    ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ผลิตชาเมี่ยง   ตารางที่ 46 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ข้อมูลทางด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (ต่อ2)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านป่าเหมี้ยง (PM) ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (ต่อ3)