ค้นหาข้อมูล

ผลการค้นหาประมาณ 3 รายการ

ความแข็งของดินในแนวนอน ความชื้นของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน

    สมบัติดินทางกายภาพสมบัติดินทางกายภาพพื้นที่สวนชาเมี่ยงบ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พบว่า ค่าความแข็งของดิน (Soil hardness) ที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีความแข็งมากกว่าดินที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร เนื่องจากดินชั้นบนมีการทับถมของซากพืช และมีการย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ ค่าความชื้นของดิน (Soil moisture) ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร มีค่าความชื้นมากกว่าดินที่ระดับ 0-5 เซนติเมตร เพราะดินชั้นบน มีการระเหยของน้ำ สัมผัสลม และสัมผัสแสงแดดอยู่ตลอดเวลา และค่าการนำไฟฟ้าของดิน (CEC) ที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร มีค่าการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าดินที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร ตารางที่ 18
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

วิธีการดำเนินวิจัย

  การเลือกพื้นที่ศึกษา    การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านกอก ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

    ความหนาแน่นของสวนชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทั้งหมด 10 ตำบล 117 หมู่บ้าน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพบว่า ในอดีตมีการทำสวนชาเมี่ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน             เพื่อเป็นรายได้ในครอบครัว แต่ปัจจุบัน เนื่องจากราคาของชาเมี่ยงที่ตกต่ำ ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ตัดต้นชาเมี่ยงออกจากพื้นที่แล้วหันมาปลูกพืชเกษตรชนิดอื่นที่ให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าแทน เช่น ข้าวโพด ยางพารา ข้าวไร่ ลำไย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดเชียงคำมีการทำสวนชาเมี่ยงลดลง เหลืออยู่เพียง 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ตำบลแม่ลาว หมู่ที่ 5  บ้านแฮะ มีทั้งหมด 160 ครัวเรือน มีการปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 6 บ้านน้ำมิน มีทั้งหมด 180 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หมู่ที่ 10 บ้านคะแนง มีทั้งหมด 110 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 งาน หมู่ที่ 11 บ้านกอก มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 6 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ และหมู่ที่ 13 บ้านน้ำมินเหนือ มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน ปลูกชาเมี่ยงอยู่ 3 ครัวเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ปัจจุบันสวนชาเมี่ยงที่ยังมีการเก็บผลผลิตอยู่ ด้านการจัดการและการดูแลสวนชาเมี่ยง จะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ชาเมี่ยงแตกยอดใหม่ 1-2 ปีต่อ 1ครั้ง โดยจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง มีการตัดหญ้าก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ปีละ 3-4 ครั้ง ไม่มีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และใช้สารเคมี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งทั้งปี แต่ยังคงเป็นเพียงอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน และยังขาดการสืบทอดให้รุ่นลูกหลาน เนื่องจากมีราคาที่ต่ำ เป็นผลทำให้สวนชาเมี่ยงนั้นเริ่มหายไป ส่วนสวนชาเมี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่บางส่วนชาวบ้านจะปล่อยให้พื้นที่อนุรักษ์ของหมู่บ้านและเป็นป่าต้นน้ำต่อไป ตารางที่ 22 ภาพที่ 43
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ