ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคม

ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษาบ้านไม้ฮุง ตําบลปางมะผ้า อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้
    เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมี 53.1 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนเพศชายมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 
    อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 40.6 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 34.4 และอายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 25.0 
    ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3  
    อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0
    รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ รายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 และรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6
    ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 96.3 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 และย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ตารางที่ 23

 

ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชในสวนชามี่ยงบ้านไม้ฮุง ตําบลปางมะผ้า อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    บ้านไม้ฮุง ตําบลปางมะผ้า อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    พบชนิดพรรณไม้ทั้งหมด 15 ชนิด 15 สกุล 11 วงศ์ มีความหนาแน่นเท่ากับ 3,042 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 9.52 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ ความหลากหลายของพรรณไม้ตามดัชนีของ Shannon-Weiner เท่ากับ 0.34 ไม้ที่มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ชาเมี่ยง มะกล่ำต้น หว้า มะไฟ และเพกา มีค่าเท่ากับ 94.60, 0.94, 0.70, 0.47 และ0.47 ไม้ที่มีค่าความเด่นสัมพัทธ์ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ชาเมี่ยง มะขามป้อม เม่าไข่ปลา มะกล่ำต้น และมะไฟ มีค่าเท่ากับ 87.59, 3.61, 1.14, 1.24 และ1.23 ตามลำดับ มีพันธุ์ไม้เด่นที่พิจารณาจาก ค่าดัชนีความสำคัญ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ชาเมี่ยง มะกล่ำต้น หว้า มะไฟ และมะขามป้อม มีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 223.37, 11.00, 10.53, 7.58 และ6.79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ พบว่าในพื้นที่บ้านไม้ฮุง ยังมีการอนุรักษ์ต้นชามี่ยงอยู่เนื่องจากยังมีการเก็บผลผลิต และผลผลิตยังมีราคาที่สูง และจะเริ่มมีการปลูกไม้ผลแซมเข้าไปในพื้นที่สวนชาเมี่ยง ตารางที่ 24

 

 

ความหลากหลายในภาพรวมทั้งพื้นที่ศึกษา
    พบชนิดพืชในพื้นที่ศึกษาจำนวน 15 ชนิด จำนวนวงศ์ เท่ากับ 11 วงศ์ ความเท่ากับ 3,042  ต้นต่อเฮกแตร์ และพื้นที่หน้าตัด 9.52 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยง (IVI) เท่ากับ 223.37 ดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 0.34 บ้านไม้ฮุง ตําบลปางมะผ้า อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล (1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง) ตารางที่ 25


 

โครงสร้างสวนชาเมี่ยง บ้านไม้ฮุง ตําบลปางมะผ้า อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 3-8 เมตรขึ้นไป ลักษณะของการปกคลุมของเรือนยอดของไม้ใหญ่ที่โดดเด่นไม่ต่อเนื่องกัน ปรากฏเป็นเรือนยอดชั้นบนสุดซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ ประดู่ มะกล่ำต้น มะไฟ มะกอก เป็นต้น เรือนยอดที่มีความสูงตั้งแต่ 2-6 เมตร ลักษณะของไม้ในชั้นเรือนยอดนี้มีการปกคลุมของเรือนยอด ที่ไม่ต่อเนื่องกันหรือมีความต่อเนื่องกันเล็กน้อย พรรณไม้ในชั้นเรือนยอดนี้ได้แก่ ชาเมี่ยง เป็นต้น ตารางที่ 26 ดังภาพที่ 44
 

ภาพที่ 44 โครงสร้างสวนชาเมี่ยงบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

หมายเหตุ ชนิดไม้ที่ปรากฏในสังคมสวนชาเมี่ยงบ้านไม้ฮุง ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    - 1, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 30, 31, 32, 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39, 40, 42, 43, 44, 45, 47, 48, 49, 50, 51, 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60, 61, 62, 63, 64, 65, 66, 67, 68, 69, 70, 71, 73, 75, 76, 77, 78, 79, 80, 81, 82, 83, 84, 85, 87, 88, 89, 92, 93, 94, 95, 96, 97, 98, 99, 100, 101, 102, 103, 104, 105, 106, 107, 109, 110, 111, 112 Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica (J.W. Mast.) Kitam.
    - 2 Baccaurea ramiflora Lour.
    - 3, 41, 72 Syzygium cumini (L.) Skeels
    - 4 Antidesma ghaesembilla Gaertn.
    - 29, 46, 113 Jatropha curcas Linn.
    - 74 Spondias pinnata (L.f.) Kurz
    - 86, 91, 108 Adenanthera pavonina L.
    - 90 Pterocarpus macrocarpus Kurz
 

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ผลการวิจัย

  ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษาบ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเพศชายมี 56 คน คิดเป็นร้อยละ 64.4 ส่วนเพศหญิงมี 31 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 47.1 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 26.4 และอายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 26.4     ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 70.0 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 8.0 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 และการศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรี จำนวน 3 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 3.4     อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 95.4 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ ประกออบอาชีพรับราชการ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 และประกอบอาชีพรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 1.1       รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้มากกว่า 90,001 บาทขึ้นไป จำนวน 41 คิดเป็นร้อยละ 16.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ มีรายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 18.4 มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 16.1 รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6.9 รายได้ 50,001-70,000 บาท มีจำนวน 5 คน คิดเป็ยร้อยละ 5.7 และรายได้ 70,001-90,000 จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 80.5 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 16.1 และย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 (ตารางที่ 3)  
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคม

ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษาบ้านไม้ฮุง ตําบลปางมะผ้า อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมี 53.1 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนเพศชายมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 40.6 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 34.4 และอายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 25.0      ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3       อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0     รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ รายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 และรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 96.3 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 และย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ตารางที่ 23
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคม

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมี 53.1 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนเพศชายมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 40.6 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 34.4 และอายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 25.0      ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3       อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0     รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ รายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 และรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 96.3 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 และย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ตารางที่ 23
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลการวิจัย

ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา             ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน พื้นที่ในการทำสนเมี่ยง ความสูงจากระดับน้ำทะเล ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้             ผู้ให้ข้อมูลจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง    อายุ ผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 61 ปีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 คนต่อครัวเรือน              พื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง โดยเฉลี่ยของแต่ละหมู่บ้าน ณบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ  13.20 ไร่/ครัวเรือน รองลงคือบ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เท่ากับ  4.60 ไร่/ครัวเรือน บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยง 4.24 ไร่/ครัวเรือน และมีพื้นที่น้อยที่สุด เท่ากับ 2.2 ไร่/ครัวเรือน ที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางของสวนเมี่ยงมีค่าเฉลี่ย ระหว่าง 819-1,028 เมตร และบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านมีความสูง 379 เมตร ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะมีภูมิลำเนาในหมู่บ้านที่ทำสวนเมี่ยง ระยะเวลาในการทำสวนเมี่ยง ทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนมีระยะเวลาในการทำมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป (ตารางที่ 2)   ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษา
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคม

ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรทำสวนชาเมี่ยงที่ศึกษาบ้านไม้ฮุง ตําบลปางมะผ้า อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิลำเนา และระยะเวลาในการทำพื้นที่เกษตร ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้     เพศ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมี 53.1 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 ส่วนเพศชายมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9      อายุ พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 41-60 ปี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 40.6 รองลงมาตามลำดับได้แก่ อายุระหว่าง 21-40 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 34.4 และอายุมากกว่า 61 ปี มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 25.0      ระดับการศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียนหนังสือหรือศึกษาไม่จบ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตามภาคบังคับ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3       อาชีพหลัก พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ การทำการเกษตร จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0     รายได้ของครัวเรือนในปีที่ผ่านมา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-30,000 บาท จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ รายได้ 30,001-50,000 บาท มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 และรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6     ภูมิลำเนา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเกิดในหมู่บ้านนี้ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 96.3 รองลงมาตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ย้ายตามครอบครัว/ย้ายเนื่องจากแต่งงาน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 และย้ายเนื่องจากหน้าที่การงาน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ตารางที่ 23
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชในสวนชามี่ยงบ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย              พบชนิดพรรณไม้ทั้งหมด 8 ชนิด 8 สกุล 7 วงศ์ มีความหนาแน่นเท่ากับ 1,066 ต้นต่อเฮกแตร์ และมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 0.40 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ ความหลากหลายของพรรณไม้ตามดัชนีของ Shannon-Weiner เท่ากับ 0.78 ไม้ที่มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ชาเมี่ยง ทะโล้ บ๊วย เชอรี่ และอะโวคาโด มีค่าเท่ากับ 82.50, 5.00, 3.12, 2.50 และ2.50 ไม้ที่มีค่าความเด่นสัมพัทธ์ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ทะโล้ มะขามแป ชาเมี่ยง ปอหูช้าง และเหมือดโลด มีค่าเท่ากับ 66.27, 12.69, 10.58, 6.60 และ2.29 ตามลำดับ มีพันธุ์ไม้เด่นที่พิจารณาจาก ค่าดัชนีความสำคัญ 5 ชนิดแรก ได้แก่ ชาเมี่ยง ทะโล้ มะขามแป ปอหูช้าง และเชอรี่ มีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 131.97, 93.49, 22.90, 13.40 และ11.88 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ พบว่าในพื้นที่บ้านห้วยน้ำขุ่น ที่ทำสวนชาเมี่ยงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่จะปลูกพืชชนิดอื่นขึ้นมาแทนชาเมี่ยง เช่น มีเชอรี่ บ๊วย อะโวคาโด เข้ามาในแปลงโดยมีการมาปลูกแซมในพื้นที่สวนชาเมี่ยง และกันพื้นที่ไว้ปลูกไม้ผล เช่น การถางป่าเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกพืชชนิดใหม่ มีการใช้สารเคมีในแปลง เป็นการทำลายระบบนิเวศเดิม หรือเป็นการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้น ทำลายป่าต้นน้ำ (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ค่าความหนาแน่น (D; ต้น/เฮกแตร์) ความเด่น (Do; ตรม/เฮกแตร์) ความถี่ (F; %) ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (RD; %) ความเด่นสัมพัทธ์ (RDo; %) ความถี่สัมพัทธ์ (RF; %) และ ดัชนีความสำคัญ (IVI; %) ในพื้นที่สวนชาเมี่ยง บ้านห้วยน้ำขุ่น ตําบลท่าก๊อ อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย  
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

คุณประโยชน์ใบชา

คุณประโยชน์ใบชา (สถาบันชา, 2555)             องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่มีอยู่ในใบชา ได้แก่ สารกลุ่มคาเทชิน เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญของใบชา ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ผลิตจากใบชา จึงประกอบด้วย สารสำคัญที่มีคุณประโยชน์ เช่นเดียวกัน คุณประโยชน์ของเมี่ยงหมักสามารถจำแนกตามฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้ดังต่อไปนี้  1. ชากับการต้านอนุมูลอิสระ             ชา ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ประเภท ฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า คาเทชิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง  โรคหัวใจ  และ ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้ 2. ชากับโรคมะเร็ง             การดื่มน้ำชาเป็นประจำสามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งเต้านม สารคาเทชิน (Catechins) ในชามีผลยับยั้งมะเร็ง ด้วยกลไกที่หลากหลาย คาเทชินที่ ออกฤทธิ์ต้านมะเร็งที่สำคัญคือ Epigallocatechin gallate (EGCG) 3. ชากับโรคหัวใจ             คาเทชิน (Catechins)  ช่วยลดการเกร็งของเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอนในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด อัมพฤษ์ และ อัมพาฒจากเส้นเลือดตีบตัน นอกจากนี้ Epigallocatechin gallate (EGCG) ยังช่วยลด                       การเกิดออกซิเดชันของโคเลสเตอรอล ลดการสะสม และ การสร้างตะกอนในเส้นเลือดจากโคเลสเตอรอล ลดการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน และ ลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 4. ชากับโรคเบาหวาน           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยแป้ง คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ทั้งในน้ำลายและลำไส้  ทำให้แป้งถูกย่อยได้ช้าลง ช่วยให้การเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ นอกจากนั้น ชาเขียวยังลดการดูดซึมของกลูโคสที่ลำไส้ 5. ชากับสุขภาพช่องปาก           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากซึ่งมีทั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องปาก Porphyromonas gingivilis และ แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ Stretococcus mutans คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย ทำให้มีปริมาณกลูโคส และ มอลโตสน้อยลง ซึ่งเป็นผลลดปริมาณอาหารของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้ คาเทชินยังช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ป้องกันฟันผุ 6. ชากับโรคอุจจาระร่วง             Polyphenols มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย โดย Polyphenols สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย การดื่มชา สามารถใช้รักษาโรคอุจจาระร่วงได้ และ สามารถฆ่าสปอร์ของ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ และ สามารถฆ่าแบคทีเรียที่ทนความร้อน เช่น Bacillus subtilis, B. cereus, Vibrio parahaemolyticus และ Clostridium perfringens 7. ชากับโรคอ้วน             ชา ประกอบด้วยสารสำคัญ เรียกว่า โพลิฟีนอล (Polyphenols) ที่มีความสามารถยับยั้งเอนไซม์ Catechol-O-methyl transferase จึงช่วยกระตุ้นการสร้างความร้อนของร่างกาย มีส่วนช่วยเผาผลาญพลังงาน และ ช่วยจัดการกับโรคอ้วน ทั้งยังมีคุณสมบัติในการชะลอการปล่อยกลูโคส (Glucose) สู่กระแสเลือด ทำให้ชะลอการสร้างอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้ร่างกายสะสมไขมัน ดังนั้น ร่างกายจึงเผาผลาญไขมันแทนที่จะสะสมไขมัน 8. ชากับการผ่อนคลายของระบบประสาท
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา

    การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา มักแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิต (biotic factors) ซึ่งได้แก่ มนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมพืช และปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic factors) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากนั้นปัจจัยแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายประการดังนี้    1. ปัจจัยที่เกี่ยวกับดิน (edaphic factors) ดินเป็นเทหวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติปกคลุมผิวโลกอยู่บาง ๆ เกิดจากการแปรสภาพหรือผุสลายของหิน แร่ และอินทรีย์วัตถุ ผสมคลุกเคล้ากัน(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536) ดินเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวของพืชส่วนใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงมักถือเป็นสิ่งวัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งต่าง ๆ ได้ นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ความชื้นของดินก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพืชในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฤดูแล้งเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นจุดวิกฤติสำหรับการรอดตายของพืช (Sakurai et al., 1991) สอดคล้องกับรายงานของ Marod et al. (2002) ที่พบว่ากล้าไม้สำคัญในป่าผสมผลัดใบส่วนใหญ่มีอัตราการรอดตายลดต่ำลงมากเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งโดยทั่วไปพรรณไม้ส่วนใหญ่มีการพักตัวในฤดูแล้ง ซึ่งจะมีการผลัดใบและจัดสภาพทางสรีระวิทยาเพื่อการเจริญเติบโตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อย่างไรก็ตามการออกดอกออกผลของไม้ป่าหลายชนิดเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งทั้งนี้เพื่อการโปรยเมล็ดในจังหวะที่พอเหมาะกับการมีความชื้นที่ผิวดินเพื่อการงอกและเจริญเติบโตของกล้าไม้(Marod et al., 2002) ปริมาณน้ำในดินยังเป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดรากพืชตามธรรมชาติ (Donahue et al., 1971) นอกจากนั้นความชื้นในดินยังเป็นตัวควบคุมชนิดและการกระจายของพันธุ์พืช (อมลรัตน์, 2544)และยังจำเป็นต่อกระบวนการต่าง ๆ ของพืช กล่าวคือ น้ำ เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้เซลล์เต่ง และเป็นตัวกลางในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร อีกทั้งยังเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิภายในเซลล์พืช(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536)    2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ (topographic factor) สภาพภูมิประเทศนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทางอ้อมต่อสังคมพืช โดยเฉพาะมีผลต่อความแปรผันของปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ดิน และพลังงานที่ได้รับ การกระจายของสังคมพืชและพรรณพืชบางชนิดสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่กับภูมิประเทศ ในขณะที่ อุทิศ (2542) ได้อธิบายลักษณะภูมิประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ดังนี้         2.1 ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล (altitude) สภาพภูมิอากาศบางพื้นที่มีความผันแปรอย่างใกล้ชิดกับระดับความสูง ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศในระดับต่ำของโลกคือในชั้น troposphere มีอุณหภูมิลดลงตามความสูง โดยในสภาพอากาศที่แห้งอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 1 องศาเซลเซียส ต่อ 100 เมตร นอกจากนั้นอิทธิพลของความสูงที่มีผลต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายและการเจริญเติบโตของพรรณพืชโดยตรง แสดงให้เห็นทั้งในระดับกว้างและระดับแคบเฉพาะท้องถิ่น ในระดับกว้างแสดงให้เห็นได้ชัดจากการกระจายของสังคมพืชต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะการเรียงตัวของป่าชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนในระดับแคบแสดงให้เห็นการจากกระจายของสังคมพืชชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนถึงยอดเขาซึ่งมีความแตกต่างกัน (สคาร และ พงษ์ศักดิ์, 2546)            2.2 ความลาดชัน (slope) ความลาดเอียงของพื้นที่ มีผลโดยตรงต่อสังคมพืชน้อย แต่มีผลต่อปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและโอกาสของการปรากฏของไม้แต่ละชนิด และต่อโครงสร้างสังคมพืชส่วนรวม ระบบการระบายน้ำทั้งในผิวดินและส่วนลึกของดินขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ น้ำที่ไหลตามผิวดินมีความเร็วสูงเมื่อมีความลาดชันสูง ฉะนั้นโอกาสการซึมลงส่วนลึกของดินมีน้อย ในที่ลาดชันมากความชื้นค่อนข้างต่ำ ดินตื้นเนื่องจากการกัดชะของน้ำผิวดิน สังคมพืชคลุมดินจึงเป็นสังคมที่ต้องปรับตัวกับความแห้งแล้งได้ดี การจำแนกความลาดชันของพื้นที่ทางด้านป่าไม้นิยมแบ่งเป็นสี่ระดับคือ  1)  ระดับความลาดชันน้อย 5 – 10 องศา  2)  ความลาดชันปานกลาง 11 – 20 องศา  3)  ความลาดชันมาก 21 – 30 องศา และ  4)  ที่ลาดชันมาก ๆ 31 – 45 องศา (นิพนธ์, 2545)            2.3 ทิศด้านลาด (aspect) มีผลต่อการได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ปริมาณฝนที่ตกและลมที่พัดเอาความแห้งแล้งเข้ามาในพื้นที่ โดยปกติทิศด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกย่อมได้รับพลังงานมากกว่าทางทิศเหนือและทิศใต้ แต่เนื่องจากแกนโลกเอียงฉะนั้นในทางซีกโลกเหนือด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะได้รับพลังงานสูงสุด ในขณะที่ด้านที่หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับพลังงานน้อยที่สุด ในประเทศไทยทิศด้านลาดของภูเขามีผลอย่างยิ่งต่อการได้รับปริมาณน้ำฝน ซึ่งจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การตรวจเอกสาร

ประโยชน์ของชาเมี่ยง     1.ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (fitness) ต่อต้านโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ชาพุเออ ที่ผลิตในยูนาน มีชื่อเสียงในด้านสรรพคุณทางเภสัชกรรม จากการวิจัยพบว่า ชาเถา (Tuocha).เป็นชาที่ช่วยลดความอ้วน และช่วยรักษาโรคหลอดเลือดอุดตันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการดื่มชาเถา จะช่วยลดปริมาณสารประกอบ antilipoidic แก่บุคคลที่มีปัญหาเรื่องอ้วน เครียดและโรคหลอดเลือดอุดตัน     2.ช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ ช่วยสมานแผล ช่วยในการขับถ่ายและชะล้างสารพิษในร่างกาย เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (colon bacillus).เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ฯลฯ โดยทำให้โปรตีนของเชื้อแบคทีเรียนั้นแข็งตัว(solidifying) จากหลักฐานโบราณของจีน พบว่า น้ำชาแก่ 1 ถ้วย ใช้รักษาโรคบิดได้อย่างดี ช่วยรักษาบาดแผลลดความเป็นพิษและอาการอักเสบ ดังนั้น บริษัทผลิตยาสำเร็จรูปจึงใช้ชาเป็นองค์ประกอบในการผลิตยาสำหรับรักษาโรคบิดและหวัด สารโพลีฟีนอล ในใบชาสามารถย่อย (decompose). อะลูนิเนียม สังกะสี และสารอัลคาลอยที่อยู่ในน้ำได้ ช่วยให้น้ำสะอาดขึ้น นอกจากนี้ชายังสามารถช่วยรักษาโรคพิษสุราเรื้องรังและสารพิษในบุหรี่ น้ำชาแก่ 1 หรือ 2 ถ้วย ช่วยละลายสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปโดยสารคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะทำปฏิกิริยาเป็นกลางกับอัลกอฮอล์ (neutralization)     3.ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากชามีสารคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบซึ่งคาเฟอีนนี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบหมุนเวียนของโลหิต ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมีอิทธิพลต่อขบวนการเมตตาโบลิซึมของเซลล์ร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือดและป้องกันโรคใจตีบตัน นอกจากนี้ชายังสามารถรักษาอาการเจ็บหน้าอก และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง รักษาโรคหวัด โรคปวดหัวโดยไม่มีผลข้างเคียงช่วยแก้กระหายและช่วยในการย่อยอาหาร ในช่วงอากาศร้อน การดื่มชาจะช่วยให้มีความรู้สึกสดชื่นขึ้น เนื่องจากในชามีสารโพลีฟีนอล (polyphenol)คาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบ เมื่อสารเหล่านี้เกิดปฏิกิริยากับน้ำลาย จะช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่างกาย พร้อมกับชะล้างสารพิษต่างๆ ออกไป ช่วยเร่งให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ขับสารเมตตาโบลิซึม เกิดความสมดุล หรือในช่วงหลังตื่นนอน เรามักรู้สึกขมปาก และกระหายน้ำ การดื่มชาถ้วยหนึ่งจะช่วยล้างปาก และกระตุ้นให้มีความอยากรับประทาน นอกจากนั้นชายังให้สารไอโอดีน และฟลูออไรด์ที่เป็นสารป้องกันภาวะไทรอยด์ผิดปกติ (hyperthyroidism) ซึ่งฟลูออไรด์เพียงพอกับความต้องการจะช่วยป้องกันฟันผุ หรือ หลังจากรับประทานอาหารแล้วดื่มชาแก่ๆ สักถ้วย จะช่วยกระตุ้นการหลั่ง น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารจ่าพวกวิตามินกลุ่มต่างๆ เช่น inositol folio acid, pantothenic acid เป็นต้น นอกจากนี้ใบชายังมีสารประกอบอื่นอีก เช่น methionine thenylcyoteine ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมขบวนการเมตตาโบลิซึมเพื่อย่อยไขมัน ส่วนสารให้กลิ่น (aromatic) ที่เป็นองค์ประกอบในชาจะช่วยย่อยอาหารและระงับกลิ่นปาก เพราะว่าไขมันสามารถละลายในสารให้กลิ่นเหล่านี้ ดังนั้น ชาจึงเป็นเครื่องดื่มของชนชาติที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ และเนยเป็นอาหารหลัก      4.ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะชาเขียวจะมีวิตามินซี วิตามินบีคอมเพล็คและกรดเพนโทเทนิค รวมทั้งวิตามินบี ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยคาเทคชิน (catechine) ที่เป็นองค์ประกอบใน polyphenol เช่น วิตามินพี ช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (permeable) ช่วยไม่ให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย, กรด pantothenic ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น, วิตามินบี 1 สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล็ดเลือด, วิตามินบี 2 ช่วยลดการอักเสบ เช่น การอักเสบที่ผิวหนัง เป็นต้น ชาฝรั่ง (black tea) มีวิตามินเอมาก การดื่มชาฝรั่งวันละ 5 ถ้วย จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินเอ พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย (สถาบันชา, 2555)   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

กระบวนการผลิตเมี่ยง (ต่อ)

กระบวนการผลิตเมี่ยง               กระบวนการผลิตเมี่ยงเป็นความรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ  ในแต่ละพื้นที่จึงอาจมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ วัตถุดิบที่เป็นใบเมี่ยงสด วิธีการเก็บใบเมี่ยงสด การหมักเมี่ยง รวมถึง ภาชนะบรรจุ ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียด ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิต ดังนี้ 1. การเก็บใบเมี่ยงสด การเก็บใบเมี่ยงสดอาจเก็บโดยใช้มือเด็ด หรือ อาจใช้ปลอกใบมีดสวมติดนิ้วมือในการตัด การเก็บใบเมี่ยงสดมักจะมี 2 แบบ กล่าวคือ แบบแรกจะเก็บในส่วนของใบเมี่ยงอ่อน (ใบที่ 4-6) โดยตัดเอาส่วนปลายใบประมาณ 2 ในสามส่วนมัดเป็นก้อนให้ได้ขนาดประมาณ 400-500 กรัม จะพบได้ในแหล่งผลิตเมี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และ เชียงราย อีกแบบหนึ่ง คือ การเก็บใบเมี่ยงทั้งใบ เก็บทั้งส่วนที่เป็นใบอ่อน และ การเก็บส่วนยอด รวบมัดเป็นกำๆ เรียงใบ เรียกว่า เมี่ยงแหลบ ส่วนยอด สามารถเก็บรวมมากับใบเมี่ยงได้ ขนาดประมาณ 150 - 200 กรัม พบได้ในแหล่งผลิตเมี่ยง ในพื้นที่จังหวัดแพร่ และ น่าน    2. การนึ่งเมี่ยง ใบเมี่ยงสด ที่รวบมัดเป็นกำในขั้นตอนแรก จะนำมาเรียงในไหนึ่งเมี่ยง แล้วนึ่งด้วยไอน้ำร้อนจนสุก ใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับ จำนวนเมี่ยงสดที่นึ่งแต่ละครั้ง เมี่ยงสุกได้ที่ จะมีลักษณะสีเหลืองนิ่ม ถ้านึ่งเมี่ยงไม่สุก จะทำให้ใบเมี่ยงมีสีเข้มแดงหลังหมัก จากนั้น เทเมี่ยงที่นึ่งเสร็จแล้วออกจากไหลงบนพื้นที่ปูด้วยพลาสติกสะอาด ผึ่งให้เย็น แล้ว มัดเมี่ยงอีกครั้งให้แน่น หรือ มัดใหม่ให้ได้กำเมี่ยงที่เล็กลง เมี่ยงที่มัดได้ในขั้นตอนนี้จะเป็นมัดที่จะใช้จำหน่ายในขั้นตอนสุดท้าย   3. การหมักเมี่ยง เมี่ยงสุกที่ผ่านการนึ่งแล้ว จะนำมาหมักในสภาวะไร้อากาศ ซึ่งเป็นการหมักโดยแบคทีเรียแลคติก (Lactic acid bacteria) โดยระหว่างการหมัก แบคทีเรียแลคติคจะผลิตสารต่าง ๆ เช่น กรดอินทรีย์ต่าง ๆ เอนไซม์โปรติเอส สารให้กลิ่นรส และ สารที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียอื่น เช่น bacteriocin จึงทำให้เมี่ยงหมักมีรสเปรี้ยว   การหมักเมี่ยงสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ              “แบบที่ไม่ใช้รา” กล่าวคือ เมี่ยงนึ่งจะถูกอัดเรียงลงไปในภาชนะตะกร้าไม้ไผ่ซึ่งรองด้วยพลาสติกหนา และ ใบตองจนแน่น (ภาพที่ 3) จากนั้น เติมน้ำให้ท่วม แล้วมัดหรือปิดภาชนะให้แน่น หากอัดเมี่ยงไม่แน่นน้ำจะซึมเข้าไปในเนื้อเมี่ยงมากเกินไปทำให้เกิดรสเปรี้ยวไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค การหมักเมี่ยงแบบนี้พบในพื้นที่แหล่งผลิตในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย              “แบบที่ใช้รา” กล่าวคือ จะนำเมี่ยงนึ่งใส่ตะกร้าทิ้งไว้ให้เกิดราขาวก่อนที่จะนำไปหมัก (ภาพที่ 3) เหมือนแบบแรก ซึ่งการหมักเมี่ยงแบบหลังนี้ จะใช้หมักเมี่ยงแหลบที่ผลิตในจังหวัดแพร่ การหมักเมี่ยงจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่  1 เดือน ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ได้จะนำไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่ายสู่ผู้บริโภคต่อไป