การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด


    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)

ภาพที่ 60 ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

2.2 ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (Total Flavonoid content)

ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 5 พบว่า ปริมาณปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg mg quercetin eqi/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg quercetin eqi/g extract ตามลำดับ ซึ่งหลักการของ Al-flavonoid complexation reaction คือ การทำปฏิกิริยากันระหว่างอะลูมิเนียมไอออน และกลุ่ม o-dihydroxyl (3', 4'-OH) ในวงแหวน B และ o-dihydroxy ในโมเลกุลของสารประกอบฟลาโวนอยด์ซึ่งสามารถประสานกันช่วยเสริมให้จับกับอะลูมิเนียมไอออนได้ดียิ่งขึ้นเกิดผลิตภัณฑ์เป็นสารประกอบเชิงซ้อนของอะลูมิเนียมกับฟลาโวนอยด์ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ ฟลาโวนอยด์เป็นสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระพบในเม็ดสีชนิดละลายในน้ำของผักผลไม้เมล็ดธัญพืช ใบไม้และเปลือกไม้ฟลาโวนอยด์มีอยู่มากมายหลายชนิด และพืชแต่ละชนิดจะมีฟลาโวนอยด์แต่ละประเภทในความเข้มข้นที่ต่างกันไป แท้จริงแล้วมีการศึกษาหลายชิ้นพบว่าฟลาโวนอยด์บางชนิดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเหนือกว่าวิตามินซีหรือวิตามินอีถึง 50 เท่า และฟลาโวนอยด์ในองุ่นแดงมีความสามารถในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันแอลดีแอล (LDL-fat) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการอุดตันของเส้นเลือดแดงและการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าวิตามินอีถึงกว่าหนึ่งพันเท่า ในการการศึกษาทางคลินิกสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ได้ถูกพัฒนาเป็นยารักษาโรคมะเร็งซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์และชักนำการตายของเซลล์มะเร็งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติ และมีการออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุลบ่งชี้ว่าการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งของฟลาโวนอยด์ ได้แก่ การยับยั้งการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งซึ่งเป็นผลมาจากการหยุดวงวัฏจักรของเซลล์ และชักนำการตายแบบอะพอพโตซิส โดยกลไกการออกฤทธิ์ของสารกลุ่มฟลาโวนอยด์เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการส่งสัญญาณภายในเซลล์ และการแสดงออกของยีนส์ที่ขึ้นอยู่กับทรานสคริปชันแฟคเตอร์ NFKB รวมถึงการทำให้เกิดความเสียหายที่ระดับไมโทคอนเดรียของซึ่งส่งผลต่อสถานะเชิงพลังงานของเซลล์มะเร็ง (Rice-Evans, 2001)

ภาพที่ 61 ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

 

2.3 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• (DPPH radical scavenging activity) 
    ค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 6 พบว่า กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ของชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 322.16 224.29 225.00 และ 172.87 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 550.71 415.25 274.82 และ 200.35 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ สารประกอบฟีนอลิกใชชาเมี่ยงที่มีความสามารถในการให้ไฮโดรเจนอะตอมเพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชันของอนุมูลอิสระในขั้นต่อเนื่อง (chain reaction) ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงซึ่งทำ ปฏิกิริยากับ DPPH•  (2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl) ซึ่งเป็นแรดิคัลในตัวทำละลายเอทานอล สารละลายนี้มีสีม่วงซึ่งดูดกลืนแสงได้ดีที่ความยาวคลื่น 515-517 นาโนเมตร โดยเมื่อ DPPH• ทำปฏิกิริยากับสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สีของสารละลายสีม่วงจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยสามารถเปรียบเทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน Trolox (XJ Li & Cui, 2011) นอกจากนั้นยัง พบว่า สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดที่สูงจะมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมากตามไปด้วย  จากการทดลองนี้พบว่าปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมีความสัมพันธ์กับค่าความสามารถในการจับกับอนุมูลอิสระ DPPH•  โดยถ้ามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมาก จะทําให้มีความสามารถในการจับกับอนุมูลอิสระ DPPH•  ได้มากไปด้วย (Kim และคณะ 2007)

 

ภาพที่ 62 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH•  ของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

 

2.4 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• (ABTS radical scavenging activity)
กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 7 พบว่า กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ของชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน น่าน โดยมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 8,043.33 5,876.67 4,743.33 และ 3,843.33 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 5,154.67 4,141.33 4,008.00 และ 888.00 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ อย่างไรก็ตามกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ของชาเมี่ยงของจังหวัดแพร่และจังหวัดลำปางไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ซึ่งความสามารถในกำจัดอนุมูลอิสระ ABTS [2,2’-azinobis-(3-ethyl-benzothiazoline-6-sulfonic acid)] ใช้หลักการเหมือนกับการลดลงของอนุมูลอิสระ DPPH• แต่ในกรณี ABTS•  เป็นอนุมูลอิสระที่มีประจุเป็นบวก ในสารละลายจะมีสีเขียวเข้มและมีค่าการดูดกลืนแสงความยาวคลื่นสูงสุด 734 นาโนเมตร ในการติดตามปฏิกิริยา โดยในการลดลงของการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นดังกล่าว จะใช้เป็นตัวชี้วัดปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น (สีเขียวของสารละลายจางลง) ในการเตรียมอนุมูลอิสระของ ABTS เพื่อใช้ทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าในกรณีของ DPPH นั่นคือ ต้องนำเอา ABTS ไปบ่มกับ potassium persulfate ด้วยอัตราส่วน 1:0.5 (stoichiometry ratio) ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา12-16 ชั่วโมง เพื่อให้ได้อนุมูลอิสระที่เป็นประจุบวกของ ABTS•  ก่อนนำไปใช้ในการทดสอบปฏิกิริยาการต้านอนุมูลอิสระต่อไป (Aliaga & Lissi, 1998) ส่วนคาเทชิน (catechins) เป็นสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยคาเทชินมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant capacity) ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการบริโภคชา สมบัติการต้านอนุมูลอิสระทำให้คาเทชินมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง ได้แก่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง (Suganuma และคณะ 2011) ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (Matsuyama และคณะ 2008) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของในโรคเบาหวาน (Kao และคณะ 2006) และช่วยลดความอ้วน (Liu และคณะ 2014) เป็นต้น อย่างไรก็ตามการบริโภคชาเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณคาเทชิน รวมทั้งชีวปริมาณสารออกฤทธิ์หรือชีวประสิทธิผล (bioavailability) (Mukhtar and Ahmad, 2000) จากการศึกษา พบว่าการดื่มชาเขียวมีส่วนช่วยลดสภาวะ oxidative stress และเป็นการป้องกันการเกิด Erba และคณะ (2005) ออกซิเดชันในคน เนื่องจากคาเทชินในชามีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ (Reactive oxygen species: ROS) จำพวก superoxide radical, singlet oxygen, hydroxyl radical, peroxyl radical, nitric oxide, nitrogen dioxide และ peroxy nitrite ซึ่งจะช่วยลดการถูกทำลายในเนื้อเยื่อไขมัน โปรตีน และกรดนิวคลีอิคในเซลล์

ภาพที่ 63 กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS•  ของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

 

2.5 ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (Ferric Reducing Antioxidant Power; FRAP) 
ค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (FRAP) ของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 8 ค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกของชาเมี่ยงของจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 11,562.22  9,362.22 8,362.22 และ 5,006.67 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 14,984.44 10,384.44 9,095.56 และ 5,251.11 µmol Trolox equivalent/g extract ตามลำดับ Ferric Reducing Ability Power (FRAP) Assay เป็นวิธีการวัดสมบัติการต้านออกซิเดชันโดยอาศัยหลักการวาสารต้านออกซิเดชันให้อิเล็กตรอนจึงจัดเป็นสารรีดิวซ์ (reducing agent) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า Total Antioxidant Capacity (TAC) เป็นการวัดความสามารถรวมในการรีดิวซ์ โดยใช้สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กเฟอริ ค Fe3+ ซึ่ง TPTZ (ferric tripyridyltriazine) เป็นสารทดสอบอะตอมของเหล็กในสารนี้จะถูกรีดิวซ์โดยสารต้านออกซิเดชัน ได้สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็ก Fe2+ และ TPTZ ซึ่งมีสีน้ำเงิน ดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 593 นาโนเมตรการวัดด้วย FRAP assayได้ FRAP value ออกมา เป็นวิธีการวัดค่าออกซิเดชันโดยทางอ้อม ว่าชาเมี่ยงมีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการอ๊อกซิเดชันโดยอาศัยการทำงานของกราฟมาตรฐานของ Trolox ในการเทียบ ถ้า Trolox อยู่สูง ฤทธิ์ต้านอนูมูลอิสระอยู่สูงเช่นกัน (Gliszczy?ska-?wig?o, 2006)

ภาพที่ 64 ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (FRAP) ของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

 

2.6 ความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส (Metal chelating activity)
ค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัสของชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 9 ค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัสของชาเมี่ยงของจังหวัดเชียงใหม่สูงกว่าจังหวัดน่าน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่ โดยมีค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัสที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 164.69 138.90 135.47 และ 106.35 µmol EDTA equivalent/g sample ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัสที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 173.02 142.73 140.08 และ 115.18 µmol EDTA equivalent/g sample การศึกษาความสามารถในการจับโลหะ (Metal Chelating Activity) ด้วยวิธี Ferrous Metal Chelating เป็นตรวจสอบหาสารสกดัที่สามารถลดการเกิดปฏิกิริยาของสารเฟอร์โรซีน (Ferrozine) กับไอออนของ(Xican Li และคณะ 2011) Ebrahimzadeh และคณะ (2008) พบว่า สารประเภทฟลาโวนอยด์และแทนนินมีฤทธิ์ในการจับโลหะได้ดี นอกจากนี้ Mohan และคณะ (2012) รายงานว่าสารกลุ่มแทนนินและฟีนอลิกมีฤทธิ์ในการจับโลหะได้เช่นกัน

ภาพที่ 65 ค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส ของสารสกัดชาเมี่ยงที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ (A) และเอทานอล (B) จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ 4 จังหวัด (ลำปาง เชียงใหม่ น่าน และ แพร่) แถบความคลาดเคลื่อนแสดงถึงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (n=3) ค่าเฉลี่ยที่มีตัวอักษรแตกต่างกันบนกราฟแท่ง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P≤0.05)

 

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์จากชาเมี่ยง
    ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ขากชาอัญสัม จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง และผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยงแสดงดังตารางที่ 1 พบว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง มีปริมาณฟีนิลิกทั้งหมด 40.19±0.42 mg gallic eqi/ กรัม ตัวอย่าง ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด 17.17±0.54 mg quercetin eqi/กรัม ตัวอย่าง กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• 6.44±0.31 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าง กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• 160.87±1.26 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าง ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก 231.24±2.43 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่างและค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส 3.29±0.12 μM EDTA eqi/กรัมตัวอย่าง ขณะที่ ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของสารคาเทชินจากใบชาเมี่ยง มีปริมาณฟีนิลิกทั้งหมด 66.98±0.64 mg gallic eqi/ กรัม ตัวอย่าง ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด 28.62±0.52mg quercetin eqi/กรัม ตัวอย่าง กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ DPPH• 10.74±0.22 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าง กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ABTS• 268.11±1.45 μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าง ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก385.41±2.87μM Trolox eqi/กรัม ตัวอย่าและค่าความสามารถในการจับโลหะเฟอร์รัส 5.49±0.14 μM EDTA eqi/กรัม ตัวอย่าง มีรายงานว่าณัฐธัญ เจริญศรีวิไลวัฒน์ (2562)  เตรียมตำรับน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันที่ใส่สารสกัดชันของชันโรง โดยศึกษาความคงตัวของตำรับที่อุณหภูมิ 30 องศาเซสเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60% (สภาวะปกติ) และอุณหภูมิ 45 องศาเซสเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75% (สภาวะเร่ง) เป็นเวลา 12 เดือน และประเมินลักษณะคุณภาพ พบว่าตำรับที่มีสารสกัดชันของชันโรงจะมีสีเหลือง เมื่อเก็บไว้มากกว่า 6 เดือนจะมีสีเหลืองเข้มข้น ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำยาบ้วนปากอยู่ในช่วง 5.87 – 6.15 และลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ในช่วง 4.60 – 5.01 เมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน เมื่อเก็บไว้ในสภาวะเร่งเป็นเวลา 6 เดือน น้ำยาบ้วนปากแสดงค่าร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH อยู่ในช่วง ร้อยละ 20.2 – 79.5 ตำรับยาสีฟันและเจลทาแผลในปาก มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง 7.62 – 7.93 และ 6.63 – 7.25 ตามลำดับ ร้อยละที่ระบุ ไว้ในฉลากของยาสีฟันและเจลทาแผลในปาก ลดลงจากช่วงร้อยละ 99 – 102.1 และ 105.9 – 109.1 อยู่ ในช่วง ร้อยละ 79.1 – 81 และ 88.2 – 90.3 เมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน ที่สภาวะเร่ง ค่า IC50 ตำรับยาสีฟัน และเจลทาแผลในปาก อยู่ในช่วง 73.01 – 488.15 และ 75.72 – 490.69 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เมื่อเก็บไว้ ในทั้งสองสภาวะเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งน้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟันและ เจลทาแผลในปากที่มีสารสกัดชันชันโรงที่ทราบปริมาณสารสกัดได้สำเร็จมีความคงตัวที่ดีในระยะเวลา 6 เดือน
 

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด

    ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือครอบคลุม 4  จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่านแสดงดังภาพที่ 4 พบว่า ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดชาเมี่ยงจากจังหวัดแพร่สูงกว่าจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน โดยมีปริมาณของสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เท่ากับ 2,492.35 2,166.42 1,965.39 และ 1,931.6 mg catechin acid equivalent/g extract ตามลำดับ และสารสกัดชาเมี่ยงมีค่าปริมาณสารฟีนอลิกที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลเท่ากับ 2,009.26 1,917.90 1,550.00 และ 1,441.36 mg catechin equivalent/g extract ตามลำดับ Abdullah และคณะ (2013) พบว่าปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของของชาเมี่ยงพบว่า สารประกอบฟีนอลิกในของชาเมี่ยงละลายได้เอทานอล 80% และแปรผันตรงต่อฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Sánchez-Salcedo และคณะ (2015) ที่รายงานว่าใบหม่อนสกัดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพดีกว่า การสกัดในตัวทำละลายน้ำ และบิวทานอล นอกจากนนี้จากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดต่างๆมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกแตกต่างกันเนื่องจากชาเมี่ยงผ่านกระบวนการหมักที่ต่างกัน ทำให้มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไปส่งผลให้ชาแต่ละชนิดมีสีกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่จะคล้ายยอดใบชาสด โดยมีสารโพลิฟีนอลในกลุ่มคาเทชินอยู่ (catechins) มากที่สุด ชาอู่หลงมการหมักบางส่วน และชาดำมีการหมักอย่างสมบูรณ์การหมักทำให้ เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) เร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาเทชิน และเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันเป็นสารในกลุ่มทีเอฟลาวิน (theaflavins, TFs) และทีอะรูบิจิน (thearubigins, TRs) (Graham, 1992)
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

สำรวจเส้นทางชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย        ความหนาแน่นของสวนชาเมี่ยง ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ทั้งหมด 7 ตำบล 128 หมู่บ้าน โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพบว่า มีการทำสวนชาเมี่ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน เพื่อเป็นรายได้หลัก และรายได้เสริมให้กับครอบครัว มีการปลูกเพิ่มเติมในพื้นที่โดยนำเมล็ดจากต้นมาเพาะ แล้วนำไปปลูกแซมภายในพื้นที่ และยังมีการปลูกพืชเกษตรอื่นควบคู่ไปกับสวนชาเมี่ยง เช่น บ๊วย เชอรี่ กาแฟ อะโวคาโด โดยชาเมี่ยงจะมีรูปแบบการเก็บผลผลิตในรูปแบบของชาสั้น 1 ยอด 2 ใบ และเก็บเป็นชายาว โดยจะมีกรรมวิธีที่แตกต่างกัน โดยกรรมวิธีหลักที่มีความคล้ายคลึงกันคือ การขั้วใบชาเมี่ยง การนวดใบชาเมี่ยง และการตากใบชาเมี่ยงให้แห้ง ชาเมี่ยงสั้นแห้งกิโลกรัมละ 150-300 บาท และชาเมี่ยงยาวแห้งกิโลกรัมละ 50-100 บาท หมู่บ้านในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ที่ทำสวนชาเมี่ยงมีจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่บ้านดอยงาม มีทั้งหมด 160 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยงทุกครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 400 ไร่ บ้านห้วยน้ำขุ่น มีทั้งหมด 400 ครัวเรือน ทำสวชาเมี่ยง 350 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 3,000 ไร่ บ้านลอจอ มีทั้งหมด 90 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยง 20 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 200 ไร่ บ้านพนาเสรี มีทั้งหมด 122 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยงทุกหลังคาเรือน มีพื้นที่ทำสวนชาเมี่ยงประมาณ 130 ไร่ และบ้านใหม่จะคะ มีทั้งหมด 170 ครัวเรือน ทำสวนชาเมี่ยง 100 ครัวเรือน มีพื้นที่สวนชาเมี่ยงทั้งหมด 1,000 ไร่ ปัจจุบันสวนชาเมี่ยงยังเป็นที่นิยมของเกษตรกร เนื่องจากยังมีความต้องการของผู้บริโภคสูง ส่วนด้านการจัดการและการดูแลสวนชาเมี่ยง มีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ชาเมี่ยงแตกยอดใหม่ ตัดลำต้นให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บผลผลิต และต้นชาเมี่ยงจะมีทรงพุ่มและยอดที่สวยงาม โดยการจัดการนั้นจะขึ้นอยู่กับเจ้าของแปลง และมีการตัดหญ้าก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ปีละ 3-4 ครั้ง ไม่มีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และใช้สารเคมีในการดูแล โดยปล่อยให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตตามธรรมชาติ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งทั้งปี ตารางที่ 12 ภาพที่ 28
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ความแข็งของดินในแนวตั้งที่บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากภาพที่ 11-13 ความแข็งของดินของบ้านแม่ลัว แปลงที่ 1.1-1.3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 5 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 6-10 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 11 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.2 ความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 80 เซนติเมตร ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 81 เซนติเมตรลงไป แปลงที่ 1.3 พบว่าที่ความแข็งของดินที่เป็นดินอ่อนอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ระดับผิวหน้าดินถึงระดับลึก 1-2 เซนติเมตร และตั้งแต่ระดับลึก 3-10 เซนติเมตร ความแข็งของดินเป็นดินแข็ง ส่วนความแข็งของดินที่เป็นดินแข็งมากตั้งแต่ระดับ 11 เซนติเมตรลงไป   
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน และ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน

1.    แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุน ความหมายการผลิต             การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ อันได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน วัตถุดิบและผู้ประกอบการ ไปผ่านกระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีในการผลิต โดยใช้เครื่องจักร เครื่องมือและแรงงานในการผลิตสินค้าจากการใช้แรงงานจนถึงเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยการผลิตในงานอุตสาหกรรมสามารถแปรเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ อาหาร อาหารกระป๋อง วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเรือน ยารักษาโรค เหล็กแผ่น และเหล็กเส้น เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการสำเร็จรูปเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค (บุญธรรม ภัทราจารุกุล, 2554)             ทฤษฎีต้นทุนการผลิตการที่ผู้ผลิตจะตัดสินใจทำการผลิตสินค้าหรือบริการเป็นจำนวนเท่าใดจากปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะได้รับกำไรสูงสุดหรือขาดทุนน้อยที่สุด ที่ผู้ผลิตจะต้องนำต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิตมาเปรียบเทียบกัน การศึกษาทฤษฎีต้นทุนการผลิต รายรับและกำไรจากการผลิต จึงเป็นการศึกษาทางด้านอุปทานของสินค้าหรือบริการซึ่งเป็นการพิจารณาทางด้านพฤติกรรมของผู้ผลิต เช่น เดียวกันกับทฤษฎีการผลิตซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางด้านทฤษฎีการผลิตเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์            ต้นทุนการผลิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดว่าสินค้าจะมีราคาถูกหรือแพง เพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิตทั้งวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ดังนั้นการลดต้นทุนการผลิตจึงสำคัญอย่างมากในการทำให้สินค้ามีต้นทุนที่ต่ำลงหรือกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด            ต้นทุนการผลิต (Cost of Production) เป็นต้นทุนทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การวางแผนการนำวัตถุดิบมาเปลี่ยนสภาพตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการผลิตจนกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นบรรจุหีบห่อที่สวยงามพร้อมที่จะนำออกจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจได้ ซึ่งจะวัดมูลค่าต้นทุนจากค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิตที่เกิดขึ้นทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่งในการผลิตผลิตภัณฑ์ของกิจการอุตสาหกรรม การผลิตอาจจะนำเอาวัตถุดิบมาประกอบหรือแปรสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยการใช้แรงงานและมีค่าใช้จ่ายการผลิตอื่น ๆ เกิดขึ้นด้วย ได้แก่ ค่าวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเสื่อมราคา-เครื่องจักร ค่าเสื่อมราคา-อาคารโรงงานและค่าวัสดุโรงงาน เป็นต้น (เยาวพา  ณ นคร)   ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน             ต้นทุนมีความหมายสำหรับฝ่ายบริหารเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตหรือการซื้อสินค้า การกำหนดราคา การยกเลิกผลิตภัณฑ์ การเลือกกรรมวิธีการผลิต และประเภทสินค้า ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าจะต้องแสดงต้นทุนอย่างละเอียด จะช่วยผู้บริหาร           ให้สามารถวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิสูงสุด (เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์, 2554)แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ความหมายของต้นทุนการจำแนกประเภทต้นทุนตามพฤติกรรมต้นทุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้               ต้นทุน (Cost) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการ โดยมูลค่านั้นจะต้องสามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตรา ซึ่งเป็นลักษณะของการลดลงในสินทรัพย์หรือเพิ่มขึ้นในหนี้สิน ต้นทุนที่เกิดขึ้นอาจจะให้ประโยชน์ในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ได้ เมื่อต้นทุนใดที่เกิดขึ้นแล้วและกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปทั้งสิ้นแล้ว ต้นทุนนั้นก็จะถือเป็น ค่าใช้จ่าย (Expense) ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจึงหมายถึง ต้นทุนที่ได้ให้ประโยชน์และกิจการได้ใช้ประโยชน์ไปแล้วในขณะนั้นและสำหรับต้นทุนที่กิจการสูญเสียไป แต่จะให้ประโยชน์แก่กิจการในอนาคตเรียกว่า สินทรัพย์ (Asset)  (สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, 2551)            ต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำต้นทุนไปใช้ของฝ่ายบริการ ต้นทุนมีความหมายกว้างและครอบคลุมไปถึงการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่างๆ  และมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้ความหมายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของ องค์กรธุรกิจและวัตถุประสงค์ของการใช้ต้นทุน ซึ่งในแต่ละลักษณะต่างก็มุ่งที่จะช่วยผู้บริหารให้ทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกประเภทต้นทุนตามวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลไปใช้ได้หลายประการ             การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน การจำแนกต้นทุนตามลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน (Cost Behavior) มีลัก
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา

    การจำแนกปัจจัยแวดล้อมในทางนิเวศวิทยา มักแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิต (biotic factors) ซึ่งได้แก่ มนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมพืช และปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic factors) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากนั้นปัจจัยแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายประการดังนี้    1. ปัจจัยที่เกี่ยวกับดิน (edaphic factors) ดินเป็นเทหวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติปกคลุมผิวโลกอยู่บาง ๆ เกิดจากการแปรสภาพหรือผุสลายของหิน แร่ และอินทรีย์วัตถุ ผสมคลุกเคล้ากัน(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536) ดินเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวของพืชส่วนใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงมักถือเป็นสิ่งวัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งต่าง ๆ ได้ นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ความชื้นของดินก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพืชในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฤดูแล้งเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นจุดวิกฤติสำหรับการรอดตายของพืช (Sakurai et al., 1991) สอดคล้องกับรายงานของ Marod et al. (2002) ที่พบว่ากล้าไม้สำคัญในป่าผสมผลัดใบส่วนใหญ่มีอัตราการรอดตายลดต่ำลงมากเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งโดยทั่วไปพรรณไม้ส่วนใหญ่มีการพักตัวในฤดูแล้ง ซึ่งจะมีการผลัดใบและจัดสภาพทางสรีระวิทยาเพื่อการเจริญเติบโตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อย่างไรก็ตามการออกดอกออกผลของไม้ป่าหลายชนิดเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งทั้งนี้เพื่อการโปรยเมล็ดในจังหวะที่พอเหมาะกับการมีความชื้นที่ผิวดินเพื่อการงอกและเจริญเติบโตของกล้าไม้(Marod et al., 2002) ปริมาณน้ำในดินยังเป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดรากพืชตามธรรมชาติ (Donahue et al., 1971) นอกจากนั้นความชื้นในดินยังเป็นตัวควบคุมชนิดและการกระจายของพันธุ์พืช (อมลรัตน์, 2544)และยังจำเป็นต่อกระบวนการต่าง ๆ ของพืช กล่าวคือ น้ำ เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้เซลล์เต่ง และเป็นตัวกลางในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร อีกทั้งยังเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิภายในเซลล์พืช(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2536)    2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ (topographic factor) สภาพภูมิประเทศนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทางอ้อมต่อสังคมพืช โดยเฉพาะมีผลต่อความแปรผันของปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ดิน และพลังงานที่ได้รับ การกระจายของสังคมพืชและพรรณพืชบางชนิดสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่กับภูมิประเทศ ในขณะที่ อุทิศ (2542) ได้อธิบายลักษณะภูมิประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ดังนี้         2.1 ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล (altitude) สภาพภูมิอากาศบางพื้นที่มีความผันแปรอย่างใกล้ชิดกับระดับความสูง ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศในระดับต่ำของโลกคือในชั้น troposphere มีอุณหภูมิลดลงตามความสูง โดยในสภาพอากาศที่แห้งอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 1 องศาเซลเซียส ต่อ 100 เมตร นอกจากนั้นอิทธิพลของความสูงที่มีผลต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายและการเจริญเติบโตของพรรณพืชโดยตรง แสดงให้เห็นทั้งในระดับกว้างและระดับแคบเฉพาะท้องถิ่น ในระดับกว้างแสดงให้เห็นได้ชัดจากการกระจายของสังคมพืชต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะการเรียงตัวของป่าชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนในระดับแคบแสดงให้เห็นการจากกระจายของสังคมพืชชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนถึงยอดเขาซึ่งมีความแตกต่างกัน (สคาร และ พงษ์ศักดิ์, 2546)            2.2 ความลาดชัน (slope) ความลาดเอียงของพื้นที่ มีผลโดยตรงต่อสังคมพืชน้อย แต่มีผลต่อปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและโอกาสของการปรากฏของไม้แต่ละชนิด และต่อโครงสร้างสังคมพืชส่วนรวม ระบบการระบายน้ำทั้งในผิวดินและส่วนลึกของดินขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ น้ำที่ไหลตามผิวดินมีความเร็วสูงเมื่อมีความลาดชันสูง ฉะนั้นโอกาสการซึมลงส่วนลึกของดินมีน้อย ในที่ลาดชันมากความชื้นค่อนข้างต่ำ ดินตื้นเนื่องจากการกัดชะของน้ำผิวดิน สังคมพืชคลุมดินจึงเป็นสังคมที่ต้องปรับตัวกับความแห้งแล้งได้ดี การจำแนกความลาดชันของพื้นที่ทางด้านป่าไม้นิยมแบ่งเป็นสี่ระดับคือ  1)  ระดับความลาดชันน้อย 5 – 10 องศา  2)  ความลาดชันปานกลาง 11 – 20 องศา  3)  ความลาดชันมาก 21 – 30 องศา และ  4)  ที่ลาดชันมาก ๆ 31 – 45 องศา (นิพนธ์, 2545)            2.3 ทิศด้านลาด (aspect) มีผลต่อการได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ปริมาณฝนที่ตกและลมที่พัดเอาความแห้งแล้งเข้ามาในพื้นที่ โดยปกติทิศด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกย่อมได้รับพลังงานมากกว่าทางทิศเหนือและทิศใต้ แต่เนื่องจากแกนโลกเอียงฉะนั้นในทางซีกโลกเหนือด้านลาดที่หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะได้รับพลังงานสูงสุด ในขณะที่ด้านที่หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับพลังงานน้อยที่สุด ในประเทศไทยทิศด้านลาดของภูเขามีผลอย่างยิ่งต่อการได้รับปริมาณน้ำฝน ซึ่งจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ