ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

             จากผลการศึกษาสวนชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ โดยชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ พบว่าบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน มีสวนชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่มากกว่าพื้นที่อื่น เพราะบ้านศรีนาป่าน มีการดูแลรักษาป่า และดูแลรักษาสวนชาเมี่ยงของตนเอง ซึ่งชาเมี่ยงเป็นรายได้หลักของชุมชน เป็นวิถีชีวิต รวมทั้งความเชื่อ ประเพณีของหมู่บ้าน ในพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปปลูกพืชชนิดอื่น และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งต้นน้ำที่หมู่บ้านใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และลองลงมาคือ บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านแม่ลัวก็ยังมีการจัดการสวนชาเมี่ยงที่ดี มีการดูแลและบำรุงรักษาสวนชาเมี่ยงอยู่ตลอดเวลา ในการจัดการสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่ลัวจะมีการตัดไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วนเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ชาเมี่ยง จึงทำให้ความชื้นลดลงและทำให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตได้ช้าลง บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเริมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินกันเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกกาแฟ ส้ม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี่ทำให้มีการตัดไม้ใหญ่หรือไม้ดังเดิมของพื้นที่ออกเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ กาแฟ และส้ม ซึ่งมีแสงแดดมากๆทำให้ต้นชาเมี่ยงเติบโตได้ช้า และให้ผลผลิตที่ต่ำ สายลม และคณะ (2551) และบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปาง พบว่าสวนชาเมี่ยงนั้นมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดแต่งทรงพุ่ม และปลูกพืชอื่นแซม หรือมีการเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น กาแฟ จึงทำให้ต้นชาเมี่ยงในพื้นที่มีน้อย ไม่มีการกระจาย และทำให้มีลำต้นขนาดเล็ก

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง              จากผลการศึกษาสวนชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ โดยชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของชาเมี่ยงทั้ง 4 พื้นที่ พบว่าบ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่าน มีสวนชาเมี่ยงที่มีจำนวนต้นมาก หรือกระจายกว้าง และมีขนาดลำต้นใหญ่มากกว่าพื้นที่อื่น เพราะบ้านศรีนาป่าน มีการดูแลรักษาป่า และดูแลรักษาสวนชาเมี่ยงของตนเอง ซึ่งชาเมี่ยงเป็นรายได้หลักของชุมชน เป็นวิถีชีวิต รวมทั้งความเชื่อ ประเพณีของหมู่บ้าน ในพื้นที่สวนชาเมี่ยงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปปลูกพืชชนิดอื่น และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งต้นน้ำที่หมู่บ้านใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และลองลงมาคือ บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านแม่ลัวก็ยังมีการจัดการสวนชาเมี่ยงที่ดี มีการดูแลและบำรุงรักษาสวนชาเมี่ยงอยู่ตลอดเวลา ในการจัดการสวนชาเมี่ยงของบ้านแม่ลัวจะมีการตัดไม้ใหญ่ออกเป็นบางส่วนเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ชาเมี่ยง จึงทำให้ความชื้นลดลงและทำให้ต้นชาเมี่ยงเจริญเติบโตได้ช้าลง บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเริมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินกันเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกกาแฟ ส้ม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี่ทำให้มีการตัดไม้ใหญ่หรือไม้ดังเดิมของพื้นที่ออกเพื่อเปิดร่มเงาให้แก่ กาแฟ และส้ม ซึ่งมีแสงแดดมากๆทำให้ต้นชาเมี่ยงเติบโตได้ช้า และให้ผลผลิตที่ต่ำ สายลม และคณะ (2551) และบ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปาง พบว่าสวนชาเมี่ยงนั้นมีการจัดการโดยเจ้าของแปลงมีการตัดแต่งทรงพุ่ม และปลูกพืชอื่นแซม หรือมีการเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน เช่น กาแฟ จึงทำให้ต้นชาเมี่ยงในพื้นที่มีน้อย ไม่มีการกระจาย และทำให้มีลำต้นขนาดเล็ก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา และ ศักยภาพของพื้นที่ภายใต้การทำสวนชาเมี่ยง

ผลผลิตของชาเมี่ยงในพื้นที่ศึกษา             ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านเหล่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 81.9 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.051 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 19) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปางให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 133.4 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.083 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 20) ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 115.7 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.072 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 21)ผลผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่บ้านศรีนาป่าน จังหวัดน่านให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 132.0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 0.082 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 22)   ตารางที่ 19 ผลผลิตชาเมี่ยง บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

คุณประโยชน์ใบชา

คุณประโยชน์ใบชา (สถาบันชา, 2555)             องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่มีอยู่ในใบชา ได้แก่ สารกลุ่มคาเทชิน เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญของใบชา ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เมี่ยงหมักที่ผลิตจากใบชา จึงประกอบด้วย สารสำคัญที่มีคุณประโยชน์ เช่นเดียวกัน คุณประโยชน์ของเมี่ยงหมักสามารถจำแนกตามฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้ดังต่อไปนี้  1. ชากับการต้านอนุมูลอิสระ             ชา ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ประเภท ฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า คาเทชิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง  โรคหัวใจ  และ ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้ 2. ชากับโรคมะเร็ง             การดื่มน้ำชาเป็นประจำสามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งเต้านม สารคาเทชิน (Catechins) ในชามีผลยับยั้งมะเร็ง ด้วยกลไกที่หลากหลาย คาเทชินที่ ออกฤทธิ์ต้านมะเร็งที่สำคัญคือ Epigallocatechin gallate (EGCG) 3. ชากับโรคหัวใจ             คาเทชิน (Catechins)  ช่วยลดการเกร็งของเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอนในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด อัมพฤษ์ และ อัมพาฒจากเส้นเลือดตีบตัน นอกจากนี้ Epigallocatechin gallate (EGCG) ยังช่วยลด                       การเกิดออกซิเดชันของโคเลสเตอรอล ลดการสะสม และ การสร้างตะกอนในเส้นเลือดจากโคเลสเตอรอล ลดการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน และ ลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 4. ชากับโรคเบาหวาน           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยแป้ง คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ทั้งในน้ำลายและลำไส้  ทำให้แป้งถูกย่อยได้ช้าลง ช่วยให้การเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ นอกจากนั้น ชาเขียวยังลดการดูดซึมของกลูโคสที่ลำไส้ 5. ชากับสุขภาพช่องปาก           สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในชาช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากซึ่งมีทั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องปาก Porphyromonas gingivilis และ แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ Stretococcus mutans คาเทชิน ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย ทำให้มีปริมาณกลูโคส และ มอลโตสน้อยลง ซึ่งเป็นผลลดปริมาณอาหารของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้ คาเทชินยังช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ป้องกันฟันผุ 6. ชากับโรคอุจจาระร่วง             Polyphenols มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย โดย Polyphenols สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย การดื่มชา สามารถใช้รักษาโรคอุจจาระร่วงได้ และ สามารถฆ่าสปอร์ของ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ และ สามารถฆ่าแบคทีเรียที่ทนความร้อน เช่น Bacillus subtilis, B. cereus, Vibrio parahaemolyticus และ Clostridium perfringens 7. ชากับโรคอ้วน             ชา ประกอบด้วยสารสำคัญ เรียกว่า โพลิฟีนอล (Polyphenols) ที่มีความสามารถยับยั้งเอนไซม์ Catechol-O-methyl transferase จึงช่วยกระตุ้นการสร้างความร้อนของร่างกาย มีส่วนช่วยเผาผลาญพลังงาน และ ช่วยจัดการกับโรคอ้วน ทั้งยังมีคุณสมบัติในการชะลอการปล่อยกลูโคส (Glucose) สู่กระแสเลือด ทำให้ชะลอการสร้างอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้ร่างกายสะสมไขมัน ดังนั้น ร่างกายจึงเผาผลาญไขมันแทนที่จะสะสมไขมัน 8. ชากับการผ่อนคลายของระบบประสาท
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

โครงสร้างของระบบนิเวศ

        ตามความหมายของ Odum (1962) โครงสร้างของระบบนิเวศหมายถึง (1) องค์ประกอบของสังคมชีวิตซึ่ง ได้แก่ ชนิด จำนวน ความหนาแน่น มวลชีวภาพ รูปชีวิต ชั้นอายุ และการกระจายของประชากรของทั้งพืชและสัตว์ รวมตลอดถึงมนุษย์ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศที่สำคัญยิ่ง (2) ปริมาณและการกระจายของสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ ดิน หิน น้ำ แร่ธาตุอาหาร รวมทั้งลักษณะสภาพภูมิประเทศต่าง ๆ และ (3) สภาพและช่วงความแตกต่างในด้านปัจจัยแวดล้อม เช่นอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ปริมาณน้ำฝน และสภาพลมฟ้าอากาศอื่น ๆ จะเห็นว่าระบบนิเวศแต่ละระบบจะมีลักษณะโครงสร้างแตกต่างกัน การจำแนกลักษณะโครงสร้างของระบบนิเวศออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังกล่าวช่วยให้การศึกษาและวิเคราะห์ระบบนิเวศได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี โครงสร้างของระบบนิเวศไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศบนบก หรือ ระบบนิเวศในน้ำต่างก็มีลักษณะหลาย ๆ อย่างที่คล้าย ๆ กันและบางอย่างก็แตกต่างกันไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่างก็มีองค์ประกอบของชีวิตที่สำคัญแบ่งตามลักษณะการบริโภคอยู่ 3 ระดับชีวิต (trophic levels) ด้วยกันคือ     1) ผู้ผลิต (primary producers) ได้แก่ พืชใบเขียวทุกชนิดที่สามารถปรุงอาหารเองได้เราเรียกพวกนี้ว่าออโตทรอพฟิค (autotrophic) พืชพวกนี้จะตรึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง แล้วเปลี่ยนพลังงานแสงมาเป็นพลังงานทางชีวเคมีในรูปของแป้งและน้ำตาลที่อยู่ในพืชซึ่งใช้สำหรับการดำรงชีพของพืชเองและใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ด้วย      2) ผู้บริโภค (Consumers) ได้แก่ สัตว์ที่บริโภคแยกแยะและกระจายพลังงานที่พืชตรึงเอาไว้โดยทางตรงและทางอ้อม พวกกินพืชโดยตรงเรียกเฮอร์บีวอร์ (herbivores) หรือผู้บริโภคขั้นปฐมภูมิ (primary consumers) พวกนี้ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ควาย แพะ แกะ กวาง และกระต่าย เป็นต้น สำหรับสัตว์ที่ไม่กินพืชโดยตรง แต่อาศัยพลังงานจากพืชทางอ้อมด้วยการกินเนื้อของสัตว์ที่กินพืชอีกทอดหนึ่ง พวกนี้เรียกว่าคาร์นิวอร์ (carnivores) หรือผู้บริโภคขั้นทุติยภูมิ (secondary consumers) เช่นสุนัขจิ้งจอก เสือ และสิงโต เป็นต้น สำหรับสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่กว่าบริโภคสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดเล็กกว่า กรณีเช่นนี้อาจจัดสัตว์ที่บริโภคสัตว์กินเนื้อด้วยกันเองไว้เป็นผู้บริโภคขั้นตติยภูมิ (tertiary Consumers) ก็ได้สำหรับมนุษย์เราซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการควบคุมและเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศนั้น เป็นผู้บริโภคได้ทั้งพืชและสัตว์จึงเรียกพวกที่บริโภคได้ทั้งพืชและสัตว์นี้ว่า โอมนิวอร์ (omivores) จะเห็นว่าผู้บริโภคระดับต่าง ๆ ดังกล่าวไม่สามารถปรุงอาหารไว้กินเองเหมือนผู้ผลิตได้ พวกนี้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งจัดเป็นอาหารสำเร็จรูปแล้วเราจึงเรียกพวกนี้ ว่าเฮทเทอโรทรอพฟิค (heterotrophic)      3) ผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร (decomposers) ได้แก่ พวกเห็ดรา จุลินทรีย์ หรือบักเตรีบางชนิด เป็นพวกที่ดำรงชีวิตโดยการดูดซับอาหารจากซากพืชและสัตว์ จัดเป็นพวกเฮทเทอโรทรอพฟิค ที่ช่วยให้ซากพืชและสัตว์ผสลายและปลดปล่อยธาตุต่าง ๆ กลับสู่ดินไปเป็นอาหารแก่พืชหรือผู้ผลิตอีกครั้งหนึ่ง    นอกจากจะมีองค์ประกอบของชีวิตเหมือนกันแล้ว ระบบนิเวศบนบกและในน้ำยังต้องการสารและแร่ธาตุอาหารที่คล้าย ๆ กัน เช่นในโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกทั้งถูก จำกัด และควบคุมโดยปัจจัยแวดล้อมที่คล้าย ๆ กัน เช่นอุณหภูมิ และแสงสว่าง เป็นต้น ประการสุดท้ายระบบนิเวศทั้งบนบก และในน้ำ ยังมีการจัดเรียงหน่วยของสังคมชีวิตในแนวตั้งแบบเดียวกันด้วย คือจะมีพวกออโตทรอพฟิคอยู่ชั้นบน และเฮทเทอโรทรอพรีคอยู่ชั้นล่าง กระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งกระทำโดยผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงเกิดในชั้นบนที่ได้รับแสงสว่าง ขณะที่กิจกรรมของผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารจะดำเนินอยู่ในระดับที่ต่ำลงมา และขอเน้นในที่นี้ว่าถึงชั้นความหนาในแนวตั้งของระบบนิเวศจะแตกต่างกันไปมากก็ตาม แต่พลังงานจากแสงที่ระบบนิเวศได้รับในแนวระดับจะเท่ากันหมด ดังนั้นการศึกษาเปรียบเทียบระบบนิเวศต่าง ๆ จึงควรเปรียบเทียบต่อหน่วยพื้นที่มากกว่าต่อหน่วยปริมาตร     อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศบนบกและในน้ำต่างก็มีโครงสร้างทั้งที่แตกต่างกันและเหมือนกัน เช่น องค์ประกอบชนิดพืชและสัตว์มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บทบาทของผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายอินทรียสาร มีความแตกต่างกันมากตามความสามารถในการปรับตัวและจากผลของการวิวัฒนาการ โครงสร้างระหว่างระดับชีวิตที่จัดเรียงตามลำดับขั้นของการบริโภคก็แตกต่างกันมาก โดยที่ผู้ผลิตในระบบนิเวศบนบกส่วนมากจะมีขนาดใหญ่ แต่มีจำนวนน้อยขณะที่ผู้ผลิตของระบบนิเวศในน้ำส่วนมากมีขนาดเล็ก แต่มีเป็นจำนวนมากปกติระบบนิเวศบนบกหรือ โดยทั่วไปจะมีมวลชีวภาพของผู้ผลิตมากที่สุดและมวลชีวภาพของผู้บริโภคในระดับสวดถัดขึ้นไปจะลดน้อยลงตามลำดับ สำหรับระบบนิเวศในน้ำมวลชีวภาพของผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นพวกแพลงตอนพืช ซึ่งอาจมีน้อยกว่ามวลชีวภาพของผู้บริโภคได้เ
การวิจัยการใช้ประโยชน์และนิเวศวิทยาของชาเมี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือ

องค์ประกอบทางเคมีของใบชาสด

    ชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่มาจาก 2 สายพันธ์ุ คือ Camellia sinensis var. sinensis (ชาจีน, Chinese tea) และ Camellia sinensis var. assamica (ชาเมี่ยง หรือ ชาเมี่ยง, Assam tea) การเก็บใบชาสดที่มีคุณภาพเพื่อนำมาเข้ากระบวนการผลิตจะใช้แรงงานคนในการเก็บ โดยเลือกเก็บเฉพาะยอดชาที่ตูมและใบที่ต่ำจากยอดตูมลงมา 2-3 ใบ (1 ยอด 2-3 ใบ) โดยทั่วไป      ยอดใบชาสด ประกอบด้วย ความชื้นประมาณ 75-80 % โดยน้ำหนัก ส่วนที่เหลือ (20-25 %) เป็นของแข็งทั้งหมด      ของแข็งทั้งหมด ประกอบด้วย ส่วนที่ไม่ละลายน้ำ (insoluble matter) และส่วนที่ละลายน้ำ (soluble matter) องค์ประกอบทางเคมีของส่วนที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ได้แก่     องค์ประกอบสำคัญในส่วนที่ละลายน้ำ คือ โพลิฟีนอล (polyphenols) มีอยู่ประมาณ 10-25 % โดยน้ำหนักแห้ง (Haslam, 2003) โพลิฟีนอล เป็นองค์ประกอบในใบชาสด ประกอบด้วย กลุ่มของสารประกอบ 6 กลุ่ม คือ flavanols, hydroxy-4-flavonols, anthocyanins, flavones, flavonols และ phenolic acids โดยฟลาวานอล (flavanols) เป็นองค์ประกอบที่พบมากที่สุด (60-80 % ของโพลิฟีนอล) เรียกว่า คาเทชิน (catechins) คาเทชินที่พบมากในชา ได้แก่ (-)-Epigallocatechin-3-gallate (EGCG), (-)-Epigallocatechin (EGC), (-)-Epicatechin-3-gallate (ECG) และ (-)-Epicatechin (EC) คาเทชินเหล่านี้มีอยู่ประมาณ 90 % ของ คาเทชินทั้งหมดและกลุ่มของคาเทชินที่พบในปริมาณน้อย ได้แก่ (+)-Gallocatechin (GC), (+)-Catechin (C) และคาเทชินอื่นๆ เช่น (-)-Gallocatechin gallate (GCG) และ (-)-Catechin gallate (CG) (Zhen et. al., 2002) หน้าที่หลักของสารประกอบฟลาโวนอยด์ในใบชา (Major functions of tea flavonoids)    1. Antioxidant activity      สารประกอบฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) โดยทำหน้าที่เป็นตัวขัดขวางหรือหยุดปฏิกิริยาต่อเนื่องของอนุมูลอิสระ (free radical chain terminator) ตัวจับออกซิเจน (oxygen scavenger) หรือเป็น chelating agent ของโลหะ เป็นต้น กลไกการทำงานของสารต้านออกซิเดชัน (Antioxidant)      จะทำหน้าที่เป็นสารรีดิวซ์ (reducing agent) ถ่ายเทไฮโดรเจนอะตอมออกจากโมเลกุลและให้กับออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาได้ ถ้าเป็นในอาหารออกซิเจนจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่างๆของอาหาร เช่น สี กลิ่นและคุณค่าทางอาหาร เป็นต้น แต่ถ้าเป็นในร่างกายจะทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (free radicals) ในร่างกาย ส่งผลให้เนื้อเยื่อหรือเซลล์ต่างๆ ในร่างกายถูกทำลาย ยิ่งปริมาณอนุมูลอิสระสูงมากเพียงใดก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ รอยเหี่ยวย่นและความแก่ จากการศึกษาพบว่าระดับความเครียดจะส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระกับออกซิเจนสูงขึ้น นอกจากนั้นอายุยิ่งมากขึ้นการสะสมของอนุมูลอิสระก็จะสูงเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นการรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) จะสามารถช่วยปกป้องจากการท้าลายของอนุมูลอิสระได้     จากการศึกษา พบว่าสารประกอบฟลาโวนอยด์ในใบชามีศักยภาพในการเป็นสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) และเป็นตัวจับอนุมูลอิสระ (free radical scavenging) ได้สูงกว่าวิตามินซี (vitamin C หรือ ascorbic acid) และวิตามินอี (vitamin E หรือ tocopherol) เพื่อป้องกันการเสื่อมของเซลล์จากอนุมูลอิสระ (Vison et. al.1995) การที่สารที่มีอยู่ในธรรมชาติสามารถแสดงสมบัติการเป็นสารต้านออกซิเดชันได้นั้นจะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการให้ไฮโดรเจนอิออน (H+) ของหมู่ไฮดรอกซิล (OH) ในสารประกอบฟีนอล ความสามารถในการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารต้านการเกิดออกซิเดชัน (antioxidant activity; AOA) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและจำนวนของหมู่ไฮดรอกซิล รวมทั้งโครงสร้างอื่นๆ ในโมเลกุลด้วย     สารประกอบฟีนอลที่มีหมู่แทนที่เป็นหมู่ให้อิเล็คตรอน (electron donating group) เช่น หมู่ไฮดรอกซิล (-OH) หมู่เมธอกซิล (-OCH3) หมู่เมธิล (-CH3) หมู่เอธิล (-C2H5) หรือ หมู่ t-butyl (-C(CH3)3) อยู่ที่ตำแหน่งออร์โท (ortho) หรือพารา (para) จะเพิ่ม ค่า AOA สารต้านออกซิเดชัน (antioxidants) กลุ่มที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ ได้แก่ กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ฟลาโวนอยด์ในพืชเป็นสารอินทรีย์ประเภทโพลีฟีนอล (polyphenol) มีโครงสร้างเป็นไดฟีนิลโพรเพน (diphenylpropane) มีการจัดเรียงตัวเป็นแบบ C6-C3-C6 ฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่มีสมบัติในการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่มีในอาหารประเภทไขมันและไขมัน โครงสร้างของสารในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออก
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

สมบัติดินภายใต้การทำสวนชาเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ

            สมบัติดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นกรด เบสของดิน (pH) ในพื้นที่สวนเมี่ยงเป็นกรดเล็กน้อย และมีความแตกต่างที่สูงกว่าหย่อมป่า และแตกต่างน้อยกว่า พื้นที่เกษตร (Agriculture) และไม่แตกต่างกันในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Home garden) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไอออนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (CEC) ภายใต้สวนเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าสวนหลังบ้าน แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับ หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร อินทรียสาร (OM) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างสมบัติดินในสวนเมี่ยงและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (Available P) พบว่าสวนชาเมี่ยงมีความแตกต่างน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพื้นที่เกษตร และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสิถิติกับ สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า โปตัสเซี่ยม (Exch. K) ภายในสวนชาเมี่ยงมีค่าแตกต่างที่สูงกว่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับ พื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน และหย่อมป่า เช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง Ca และ Mg ลักษณะเนื้อดินในพื้นที่สวนชาเมี่ยงที่แสดงออกชัดเจนและมีค่าแตกต่างทางสถิติที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (Clay) (ตารางที่ 15)   ตารางที่ 15 สมบัติดินภายใต้การสวนเมี่ยงและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค

2). การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำเมี่ยงในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค     2.1 ค่าความเป็นกรดด่างของตัวอย่างน้ำเมี่ยง             ทำการเก็บตัวอย่างน้ำเมี่ยงจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่และน่าน จำนวน 10 ตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างน้ำเมี่ยงที่เก็บมาได้จากการไปซื้อจากชาวบ้านที่หมักเองโดยตรงมีลักษณะดังภาพที่126 จากนั้นทำการบันทึกสถานที่เก็บ ลักษณะทางกายภาพ สีของน้ำเมี่ยงและวัดค่า pH ของน้ำเมี่ยง (ตารางที่ 24) และนำตัวอย่าง น้ำเมี่ยงมาคั้นเอาเฉพาะส่วนน้ำเก็บไว้ในหลอดไมโครเซ็นตริฟิวก์ นำไปปั่นเหวี่ยงให้ตกตะกอนใส่หลอด tube จากนั้นเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4oC เพื่อรอใช้งาน (ภาพที่ 127)