อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์และวิธีการ

              โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

1.การเลือกพื้นที่ศึกษา
            การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 4 ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหมู่บ้านทั้ง  หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A  สภาพที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในหุบเขา มีลำห้วยไหลผ่าน สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่อ ยางปาย ทะโล้ เป็นต้น เป็นชุมชนคนป่าเมี่ยง มีอาชีพหลักในการทำเมี่ยง


        ภาพที่ 5 พื้นที่ศึกษา

 

2.การเก็บและรวบรวมข้อมูล
2.1 ในการศึกษาลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของสวนเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย นั้นได้ทำการศึกษาทั้ง 4 หมู่บ้าน โดยคัดเลือกแปลงทำการศึกษาในหมู่บ้านละ 5 พื้นที่ แต่ละพื้นที่กำหนดทำการวางแปลงตัวอย่างขนาด 10 x 10 เมตร จำนวน 15 แปลง 
2.2 ภายในแปลงตัวอย่าง ขนาด 10 x 10 เมตร ทำการวางแปลงตัวอย่างเพื่อศึกษาชนิดพรรณไม้ที่พบในแปลงตัวอย่าง ทำการบันทึกชนิดพรรณไม้ที่พบ และทำการวัดความโตระดับอกที่ 130 เซนติเมตร ความสูงทั้งหมด ทรงพุ่ม 
 

ภาพที่ 6 การวางแปลงในพื้นที่สวนเมี่ยงขนาด 10 X 10 เมตร จำนวน 3 แปลงต่อ 1 พื้นที่


2.3 ภายในแปลง ตัวอย่างขนาด 10 x 10 เมตร เก็บข้อมูลมิติการเจริญเติบโตของต้นเมี่ยง โดยทำการบันทึกขนาดความโตที่คอราก หรือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอก ความสูงทั้งหมด และความกว้างของทรงพุ่ม
2.4 จดบันทึกชนิดพรรณไม้และพืชอื่นที่อยู่ในแปลงตัวอย่าง
2.5 ทำการวางแปลงรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แต่ละด้านห่างกัน 5 เมตร เก็บตัวอย่างดินที่มุมทั้งสี่มุม และตรงกึ่งกลางแปลง น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งในระดับดินชั้นล่าง (0-5 เซนติเมตร) และดินชั้นบน (20-25 เซนติเมตร)
2.6 ทำการวัดค่าความแข็งของดินทั้งแนวตั้งและแนวนอน
2.7 ทำการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และ ทางเคมีของดิน ในห้องปฏิบัติการทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง
2.8 ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยดินที่เมี่ยงเจริญเติบโต และจัดกลุ่มธาตุอาหารที่มีผลต่อเมี่ยงโดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบ PCA analysis 
2.9 ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) โดยสัมภาษณ์เจ้าของสวนเมี่ยงแต่ละแปลง 


3. การวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 ทำการคำนวณหาค่าความหนาแน่น ความเด่นด้านพื้นที่หน้าตัด และความถี่ พร้อมกับหาค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความเด่นสัมพัทธ์ และความถี่สัมพัทธ์ โดยใช้สูตรดังนี้
1. ความหนาแน่น (density, D) คือ จำนวนต้นไม้ทั้งหมดของชนิดที่กำหนดที่ปรากฏในแปลงตัวอย่างต่อหน่วยพื้นที่ที่ทำการสำรวจ
 

2. ความเด่น (dominance, Do) ในที่นี้จะใช้ความเด่นด้านพื้นที่หน้าตัด (basal area, BA) คือ พื้นที่หน้าตัดของลำต้นไม้ชนิดที่กำหนด ที่ได้จากการวัดที่ระดับความสูง 1.30 เมตร จากพื้นดินต่อหน่วยพื้นที่ที่ทำการสำรวจ

 

3. ความถี่ (frequency, F) คือ อัตราร้อยละของจำนวนแปลงตัวอย่างที่ปรากฏพันธุ์ไม้ชนิดที่กำหนดต่อจำนวนแปลงตัวอย่างทั้งหมดที่ทำการสำรวจ

 

4. ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของชนิดไม้ (relative density, RD) คือ สัดส่วนของความหนาแน่นของชนิดไม้ที่ต้องการต่อค่าความหนาแน่นทั้งหมดของไม้ทุกชนิดในสังคม คิดเป็นค่าร้อยละ

 

            

5. ค่าความเด่นสัมพัทธ์ของชนิดไม้ (relative dominance, RDo) คือ ค่าสัดส่วนของความเด่นของชนิดไม้ที่ต้องการต่อค่าความเด่นทั้งหมดของไม้ทุกชนิดในสังคม คิดเป็นค่าร้อยละ

 

6. ค่าความถี่สัมพัทธ์ของชนิดไม้ (relative frequency, RF) คือ สัดส่วนของความถี่ของชนิดไม้ที่ต้องการต่อค่าความถี่ทั้งหมดของไม้ทุกชนิดในสังคม คิดเป็นค่าร้อยละ

 

 

7. หาค่าดัชนีความสำคัญของชนิดไม้ (importance value index, IVI) คือ ผลรวมของค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความเด่นสัมพัทธ์ และความถี่สัมพัทธ์ ของชนิดไม้นั้นในสังคม ซึ่งหาได้จากสูตร

 

3.2 ลักษณะเชิงสังเคราะห์ของสังคม (synthetical characteristics) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้
        3.2.1 ดัชนีความหลากหลาย (Shannon-Wiener index of diversity) คำนวณตามวิธีการของ Krebs (1972) ดังนี้


                                                                                                                                เมื่อ     H'  =   ค่าดัชนีความหลากชนิดของ Shannon – Wiener
                                                                                                                                          S   =   จำนวนชนิดพืชพรรณ
                                                                                                                                          Pi  =   สัดส่วนของจำนวนชนิดที่ i ต่อผลรวมของจำนวนทั้งหมดทุกชนิดในสังคม 
 

 

 

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์และวิธีการ               โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ลักษณะนิเวศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย 1.การเลือกพื้นที่ศึกษา             การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้านได้แก่ บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 4 ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ 4 ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และบ้านเหล่า ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหมู่บ้านทั้ง  หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A  สภาพที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในหุบเขา มีลำห้วยไหลผ่าน สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่อ ยางปาย ทะโล้ เป็นต้น เป็นชุมชนคนป่าเมี่ยง มีอาชีพหลักในการทำเมี่ยง
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ1)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ 1 )

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

-บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน             ดินชั้นบน (surface soil, 0-5 cm) จากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินทางฟิสิกส์โดยเฉพาะความแข็งดินและปัจจัยทางเคมีดินพบว่า ความแข็งดิน (soil hardness) ในพื้นที่สวนหลังบ้าน (Hg) จะแสดงออกอย่างเด่นชัดที่จัดกลุ่มสูงกว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบสวนเมี่ยง (Mg) พื้นที่การเกษตร (Ag)  และหย่อมป่า (Rf) ความสัมพันธ์ดินชั้นบน (ภาพที่ 85 ถึง ภาพที่ 95) และความสัมพันธ์ดินชั้นล่าง (ภาพที่ 89 ถึง ภาพที่ 110) สอดคล้องกับการศึกษาของ Tanaka et.al (2010).และ Lattirasuvan et al. (2010)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ2)

การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตชาเมี่ยงในภาคเหนือประเทศไทย

บ้านศรีนาป่าน (SP) ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน (ต่อ3)